ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยู่อุโบสถ ที่วัด จำเป็นต้อง รักษาศีล 8 ด้วยหรือไม่คะ  (อ่าน 6617 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่อุโบสถ ที่วัด จำเป็นต้อง รักษาศีล 8 ด้วยหรือไม่คะ บางครั้งชวนญาติ ๆ ไป แต่ก็จะได้รับการปฏิเสธว่า ไม่อยากถือศีล 8 ไม่อยากอดมื้อเย็น ไม่อยากแต่งชุดขาว ก็เลยคิดว่าถ้าเป็นการชักชวน เด็ก ๆ เหล่านี้ไปวัดบ้างน่าจะดี แต่ไม่ต้องให้ถือศีล 8 ถือศีล 5 ก็น่าจะได้ใช่หรือไม่คะ ส่วนการแต่งกายถ้าเราให้แต่งชุดสุภาพ แต่อาจจะไม่ใช่ชุดขาวแบบเรา เพราะเขายังอายอยู่

  ที่ถามคือว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ เราเป็นบาปหรือไม่คะ ที่ละเมิดกติกาของวัด อย่างนี้ เพื่อส่งเสริมเด็กๆ ญาติ ๆ ให้ไปเอาดีที่วัดบ้าง คะ

  :c017:  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปรึกษาเจ้าอาวาส ที่วัดนั้นดูก็ได้นะครับ เรื่องจะง่ายขึ้น แต่บางทีผมลองไปถามแล้วท่านก็บอกว่า รักษาระเบียบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกับผู้ปฏิบ้ัติธรรมกันจริงๆ

 :88:
บันทึกการเข้า

konsrilom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 69
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่อุโบสถ ที่บ้านลองดูก่อนก็ได้คะ ยังไม่ต้องพาไปวัดคะ เพราะไปแล้วอาจจะได้ไม่คุ้มเสียนะคะ ถ้าเกิดคนที่เราพาไปไปล่วงเกิน หรือ ปรามาส พระรัตนตรัย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะเป็นโทษ ก่อนนะคะ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ศีล ๘ คือ ศีลอุโบสถ เป็นศีลเบื้องต้นเพื่อละทิ้งในความยึดมั่นถือมั่น โดยปกติจะถือกันเมื่อวันพระ เดือนหนึ่งมีไม่เกิน 4 วัน หรือ เวลาปฏิบัติธรรม เพื่อลดละความเป็นตัวตนลง
ศีล ๕ คือ เป็นของฆราวาสคนปกติ ผู้มีศีล๕ ย่อมีความปกติสุข ผ่องใส อยู่โดยไม่หวาดระแวงเกรงกลัวใดๆ

หากถือศีล ๕ ก็แสดงว่าตนเองยังมีสักกายทิฐิ มีอัตตาที่ยึดมั่น ถือมั่นอยู่มาก คือ อดข้าวเย็นไม่ได้เพราะหิว อยู่เพื่อกินเป็นนิจ หยุดขัยร้องประโคมดนตรีไม่ได้เพราะชีวิตชอบความบันเทิงใจ นอนเสื่อหรือฟูงที่ต่ำไม่ได้เพราะนอนลำบากไม่นุ่ม นี่คือตัวตนที่ถือว่าสิ่งนี้มีอยู่เพื่อความพอใจตน ดังนั้นศีลอุโบสถจึงมีความสำคัญให้เราลดความถือมั่น ยึดมั่นลง

นี่คือเบื้องต้นของศีล ๘ กับศีล ๕ เพียงเบื้องต้นเท่านั้น จริงๆหากคนยังมีบุญในศีลไม่มากพอก็ไม่มีโอกาสได้ทำอะครับ แม้ได้ทำแล้วพอมาถือก็อึดอัดใจ อัดอั้นกาย-ใจ

ลองเริ่มให้ญาติๆคุณทำดังนี้ดูนะครับ

- การเปิดทางเริ่มแรกให้ญาติๆของคุณ ก็เริ่มจากเช่น ทุกวันพระนี่ให้เขาอยู่บ้านนั่นแหละ
- แต่เริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆโดยมีศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ก่อน แล้วสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกลม นอนทำสมาธิ ในวันพระ เฉพาะวันพระใหญ่ คือ ทุกวันพระ 14-15 ค่ำ ก็ได้ครับ แล้ว เมื่อทำในวันพระใหญ่เป็นนิจแล้วค่อยคืบมาทำทุกวันพระทั้ง 14-15 ค่ำ และ 8 ค่ำ
- เมื่อถือศีล ๕ ได้เป็นนิจทุกวันพระแล้ว ก็เริ่มต้นศีล ๘ ทีละข้อในทุกวันพระดังนี้ คือ ให้เขาลองนอนโดยปูเสื่อนอน โดยเอาผ้าห่มมาปูบนเสื่อเพื่อนอนก่อนก็ได้ จนเมื่อชินแล้วให้นอนกับเสื่ออย่างเดียว
- เมื่อนอนเสื่อได้แล้ว ก็ให้เพิ่มการหยุดฟ้อนรำ หยุดการขับร้องประโคมดนตรีเพิ่มเติมเข้าไปด้วย
- เมื่อญาติคุณสามารถ หยุดฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีได้แล้ว นอนที่นอนที่สูงไม่เกิดซัก 1 ตืบ หรือ นอนเสื่อได้แล้ว ก็ให้เริ่มศีล วิกาลโภชนา คือไม่กินข้าวตั้งเวลาเที่ยงตรง 12.00 น. ไปจนกว่าจะเช้ามามองเห็นเงามือตนเอง แต่สมัยนี้ซัก 7.00 น. ก็คงได้แล้วเพราะสมัยนี้นับนาฬิกาเอา เรื่มแรกอาจจะทำทุกวันพระใหญ่ แล้วค่อยทำเริ่มทำทุกวันพระ

- ให้เริ่มอย่างนี้ที่บ้านก่อนจนกว่าจะทำได้ เพราะจะง่ายมากเมื่อเริ่มทีละนิดจนชินในชีวิตประจำวันแล้วจึงเพิ่มขึ้นตามลำดับ จะช่วยให้ความอึดอัดกาย-ใจ ความอัดอั้นคับแค้นกาย-ใจจะน้อยลงตามไปด้วย
- แต่หากแม้ทำอย่างนี้ก็ยังไม่ได้ก็แสดงว่าญาติคุณยังไม่มีบารมีมากพอจะถือศีล หรือ ยังไม่มีเจตนาจริงที่จะถือศีล และ เพราะยังไม่เห็นโทษของการละเมิดศีล ไม่เห็นข้อดีของศีล ต้องค่อยๆขลัดเกลาไปซักระยะเมื่อจิตเขาเต็มแล้ว เจตนาในการมีศีลจะเหกิดขึ้นแก่จิตเขาเองอัตโนมัติ หรือ เขาอาจจะเห็นข้อดีข้อเสียของการมีศีลและไม่มีศีล..ก็เป็นได้ครับ

ลองทำดุครับแนวทางนี้ง่ายสุดแล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2012, 10:30:55 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคำแนะนำที่ดี ครับ
 แต่โดยส่วนตัวผมที่เป็นคนไม่ค่อยถูกกับวัด และ พระ เท่าใด นั้น คิดว่าการบังคับให้ไปถือศีล อุโบสถที่วัด ก็ไม่ใช่เป็นหนทางออกที่ดีครับ ยังมีวิธีที่ดีกว่าเช่น

   ชวนไปฟังธรรม ให้หนังสือธรรม ให้แผ่นซีดี คลิปธรรมะ เหล่านี้เป็นต้น ครับคิดว่า น่าจะมีประโยชน์มากกว่า ที่จะพาเข้าไปโดยตรง ธรรมชาติของคนที่ยังไม่เห็นทุกข์ นั้น จะชอบธรรมะ หรือ ภาวนา เลยเป็นไปได้ยาก

    แต่ก็เป็นกำลังใจให้ครับ ขอให้คุณทำได้สำเร็จนะครับ
    ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จและล้มเหลว ก็อยู่ตรงนั้นครับ

   :13: :13: :13: :49:
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อุโปสถสูตร

    ทรงแสดงธรรมแก่นางวิสาขา เรื่องอุโบสถ ๓ อย่าง คือ   
       ๑. โคปาลอุโปสถ (อุปโบสถ หรือการรักษาศีล หรือจำศีลแบบคนเลี้ยงโค) ได้แก่การรักษาอุโบสถด้วยความโลภ คิดแต่จะกินสิ่งนั้นสิ่งนี้ เหมือนคนเลี้ยงโค  คิดแต่เรื่องการหากินของโค  

       ๒. นิคคัณฐอุโบสถ (อุโบสถของนักบวชพวกนิครนถ์ ) ได้แก่อุโบสถแบบนิครนถ์ คือ เว้นชักชวนให้จากการฆ่าสัตว์เจาะจงอุทิศ เจาะจงบางประเภท ไม่นุ่งผ้าด้วยคิดว่าหมดกิเลส ชักชวนให้พูดปดในสมัยที่ควรชักจูงให้พูดจริง บริโภคของที่ไม่มีผู้อื่นให้ ( ไม่ได้ประเคน ) ในเวลารุ่งเช้า อุโบสถทั้งสองแบบนี้ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก.

       ๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถแบบพระอริยเจ้า) ได้แก่ เพียรชำระจิตที่เศร้าหมองด้วยความพยายาม
       และระลึกถึง(คุณของ)พระพุทธเจ้า ,ระลึกถึง(คุณของ)พระธรรม ,ระลึกถึง(คุณของ)พระสงฆ์ ,ระลึกถึงศีลของตน ,
       ระลึกคุณที่ทำให้เป็นเทวดา และพิจารณาองค์อุโบสถทีละข้อ
       ซึ่งตนตั้งใจรักษาคืนหนึ่งกับวันหนึ่งเทียบกับพระอรหันต์.
       แล้วตรัสแสดงอานิสงส์ของอริยอุโบสถว่า มากยิ่งกว่าการครองราชย์ในชนบททั้งสิบหก.



ที่มา http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
อ่านข้อธรรมเต็มๆได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๔๒๑ - ๕๖๖๖. หน้าที่ ๒๓๒ - ๒๔๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5421&Z=5666&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=510
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ภาพที่ 3 ชวนพระสวามีรักษาอุโบสถศีล
    เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์แล้ว ก็รู้ตัวว่าจะต้องทำความดีเพื่อลูกในท้อง จึงได้ชักชวนพระเจ้าสุทโธทนะว่า เสด็จพี่ ตอนนี้น้องมีท้องแล้ว อยากจะให้ลูกในท้องนี่มีศีลธรรมโดยสายเลือด ฉะนั้น เราควรจะต้องแวดล้อมด้วยการมีคุณธรรมกัน ช่วยกันถือศีล งดเว้นประเวณี ถืออุโบสถศีล
 
   เพื่อจะได้ลูกในท้องที่มีคุณธรรมมาเกิด ว่านอนสอนง่าย พระนางได้ชวนพระสวามี พระเจ้าสุทโธทนะก็ยินดีปรีดาจะร่วมรักษาศีลอุโบนถเพื่อแวดล้อมพระราชโอรสให้ มีคุณงามความดีมาเกิด ผู้หญิงสมัยก่อนนี้ส่วนใหญ่เมื่อตั้งครรภ์ มักจะชวนสามีทำความดี อาตมาจึงขอเตือนว่า พ่อแม่นี่ควรจะทำแต่สิ่งที่ดีงาม ให้ซึมซาบเข้าไปในสายเลือด จะได้ลูกดี ๆ มาเกิด



ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=angelina-jerrry&month=08-02-2011&group=23&gblog=3



อุโบสถ

       1. การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ

           แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะ ท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ

           ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐาน คือตั้งใจกำหนดจิตต์ว่า วันนี้เป็นอุโบสถของเรา (“อชฺช เม อุโปสโถ”) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ;
           อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก
           ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก
           ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ


       2. การอยู่จำรักษาองค์ ๘ ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า ศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกานั้น จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. ปกติอุโบสถ อุโบสถที่รักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมรักษากันเฉพาะในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันจันทร์ดับ คือ แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (ปกติอุโบสถอย่างเต็ม มี ๘ วัน คือ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของทุกปักษ์ ถ้าเดือนขาดรักษาในวันแรม ๑๓ ค่ำเพิ่มด้วย)
           ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นอยู่ (คือผู้กระตือรือร้นขวนขวายในกุศล ไม่หลับใหลด้วยความประมาท) ได้แก่ อุโบสถที่รักษาครั้งหนึ่งๆ ถึง ๓ วัน คือ รักษาในวันอุโบสถตามปกติ พร้อมทั้งวันหน้าและวันหลังของวันนั้น ซึ่งเรียกว่า วันรับและวันส่งด้วย เช่น อุโบสถที่รักษาในวัน ๘ ค่ำ มีวัน ๗ ค่ำเป็นวันรับ วัน ๙ ค่ำเป็นวันส่ง (เดือนหนึ่งๆ จะมีวันรับและวันส่งรวม ๑๑ วัน, วันที่มิใช่วันอุโบสถ ในเดือนขาดมี ๑๐ วัน เดือนเต็ม ๑๑ วัน)
           ๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถที่พึงนำไปคือให้เป็นไปตรงตามกำหนดเป็นประจำในแต่ละปี หมายความว่าในแต่ละปีมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะที่จะรักษาอุโบสถประเภทนี้ อย่างสามัญ ได้แก่ อุโบสถที่รักษาเป็นประจำตลอด ๓ เดือน ในพรรษา (อย่างเต็มได้แก่ รักษาตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, ถ้าไม่สามารถรักษาตลอด ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน จะรักษาเพียง ๑ เดือน ระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ก็ได้, อย่างต่ำสุดพึงรักษากึ่งเดือนต่อจากวันปวารณาแรกไป คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑);


           อย่างไรก็ตาม มติในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุโบสถ ๒ ประเภทหลังนี้ คัมภีร์ต่างๆ ยังแสดงไว้แตกต่างไม่ลงกันบ้าง ท่านว่าพอใจอย่างใด ก็พึงถือเอาอย่างนั้น เพราะแท้จริงแล้ว จะรักษาอุโบสถในวันใดๆ ก็ใช้ได้ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้ารักษาได้ในวันตามนิยมก็ย่อมควร




     
       3. วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก่ วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ

       4. สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคาร หรือ อุโปสถัคคะ,
           ไทยมักตัดเรียกว่า โบสถ์


อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://bodhidhamm.de/,http://lh5.ggpht.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

๕. เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑]
             
     ข้อความเบื้องต้น               
     พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรมของอุบาสิกาทั้งหลาย มีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา ทณฺเฑน โคปาโล" เป็นต้น.

     หญิงรักษาอุโบสถมุ่งผลต่างๆ กัน               
    ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ ๕๐๐ คนในนครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร.
     นางวิสาขาเข้าไปหาหญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง ๕๐๐ นั้นแล้ว

     ถามว่า "แน่ะแม่ทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร?"
     เมื่อหญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า "พวกฉันปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ"

     ถามพวกหญิงกลางคน, เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการพ้นจากการอยู่กับหญิงร่วมสามี"

     ถามพวกหญิงสาวๆ, เมื่อพวกเขาบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก."

     ถามพวกหญิงสาวน้อย, เมื่อพวกเขาบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาวๆ"


     (นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของหญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.





     สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอดๆ               
     พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "วิสาขา ธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มีท่อนไม้ในมือ, ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวาน แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ย่อมไม่มี มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น" ดังนี้แล้ว

               เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
               ๕.    ยถา ทณฺเฑน โคปาโล       คาโว ปาเชติ โคจรํ
                  เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ       อายุ ํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
                  นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด,
                  ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.

     แก้อรรถ               
     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาดกันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้นนั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่งมีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.

     สองบทว่า อายุ ํ ปาเชนฺติ ความว่า ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป.
     ในพระคาถานี้ มีคำอุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า
     ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบเหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน.
     บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ, มรณะนั้นแลตัด (ชีวิตินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) ไป เหมือนบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวานฉะนั้น.


     ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องอุโบสถกรรม จบ. 
             


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=5
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=618&Z=661
ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/,http://3.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่อุโบสถ ที่วัด จำเป็นต้อง รักษาศีล 8 ด้วยหรือไม่คะ บางครั้งชวนญาติ ๆ ไป แต่ก็จะได้รับการปฏิเสธว่า ไม่อยากถือศีล 8 ไม่อยากอดมื้อเย็น ไม่อยากแต่งชุดขาว ก็เลยคิดว่าถ้าเป็นการชักชวน เด็ก ๆ เหล่านี้ไปวัดบ้างน่าจะดี แต่ไม่ต้องให้ถือศีล 8 ถือศีล 5 ก็น่าจะได้ใช่หรือไม่คะ ส่วนการแต่งกายถ้าเราให้แต่งชุดสุภาพ แต่อาจจะไม่ใช่ชุดขาวแบบเรา เพราะเขายังอายอยู่

  ที่ถามคือว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ เราเป็นบาปหรือไม่คะ ที่ละเมิดกติกาของวัด อย่างนี้ เพื่อส่งเสริมเด็กๆ ญาติ ๆ ให้ไปเอาดีที่วัดบ้าง คะ

  :c017:  :smiley_confused1:

   การถือศีลเป็นเรื่องความสมัครใจ การละเมิดศีลเป็นบาปอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับกติกาของวัด
   แต่บาปที่ได้ จะมีผลต่างกัน เช่น การดูหนังดูละคร (เป็นการละเมิดศีล ๘)
   จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิไม่ค่อยได้ เป็นต้น

   คนทั่วไปคิดว่า การทำบาปจะต้องได้รับกรรมหนักๆ อุปสรรคเล็กๆน้อยๆไม่ใช่บาป

   ผมเคยไปอยู่วัดอินทร์ บางขุนพรหม ประมาณ ๘ วัน เค้าให้เลือกถือตามอัธยาศัย ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้
   ผมคิดว่า วัดเค้าไม่มีกติกาหร็อกครับ แต่อาจเป็นเงื่อนไขของการปฏิบัติธรรมในแต่ละวาระ(คอร์ส)
   การเข้าปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ตาม ควรยอมรับเงื่อนไขของที่นั้นๆ ควรถือเป็นมารยาทและให้เกียรติ์สถานที่

    :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2012, 01:38:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ เป็น คำตอบที่แน่นมากครับ สำหรับ คุณ nathaponson นะครับ ไม่เป็นที่ผิดหวัง ที่รออ่านนะครับ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีสาระมากครับ สาธุ สาธุ สาธุ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่