ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนั่งสมาธิ เพื่อสำรวจ ความคิดผู้อื่น ( เจโตปริยญาณ ) ต้องทำอย่างไร  (อ่าน 4194 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือผมเวลานั่งสมาธิ ภาวนา มีความปรารถนา เรื่อง ญาณ เหล่านี้มากกว่า เรื่อง อาสวักขยญาณ ครับ

การนั่งสมาธิ เพื่อสำรวจ ความคิดผู้อื่น ( เจโตปริยญาณ ) ต้องทำอย่างไร

  thk56
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้ารู้ใจ คนอื่น แล้ว มีประโยชน์ อะไรคะ ยิ่งรู้ใจ ก็ยิ่งเหนื่อยนะคะ

  การเป็นคนที่รู้ใจ เหนื่อย นะจะบอกให้ .......

 
 :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

เจโตปริจจสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น

      [๑๒๘๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
      จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ
      ..........ฯลฯ....................
      จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น
      เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๔๘๕ - ๗๕๕๗. หน้าที่ ๓๑๒ - ๓๑๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7485&Z=7557&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1285


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
(จิตตานุปัสสนา)

     [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
     จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
     จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
     จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
     จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
     จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
     จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
     จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
     จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


     ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
     พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
     พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในจิตบ้าง
     พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่
     อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
     เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ


     จบจิตตานุปัสสนา


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

๒. สามัญญผลสูตร
เจโตปริยญาณ

      [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
      อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ

      เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
      จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
      จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
      จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
      จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่  หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
      จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต
      จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
      จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
      จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


      ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
      เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
      ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
      จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
      จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะหรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
      จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ.....
     ...ฯลฯ........


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๐๗๒ - ๑๙๑๙. หน้าที่ ๔๕ - ๗๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91
ขอบคุณภาพจาก http://www.buriramtime.com/, http://www.bloggang.com/

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๓. อุปกิเลสสูตร
     
      อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส
      เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน
      อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉนคือ
      กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑

      อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อนใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส
      เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
      แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน
      ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ
      และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน


      ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในอิทธิวิธีนั้นๆ โดยแน่นอน

     .......ฯลฯ..........................

     ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
     จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
     จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
     จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
     จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
     จิตเป็นมหรคต ๑- ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
     จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
     จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
     จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
     เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณนั้นๆ ๒- โดยแน่นอน


@๑. มหรคต จิตถึงความเป็นจิตใหญ่ คือจิตที่ประกอบด้วยฌาน
@๒. เจโตปริยญาณ ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ใจผู้อื่น


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๓๔๗ - ๔๑๘.  หน้าที่  ๑๖ - ๑๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=347&Z=418&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=23



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    [๒๕๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณอย่างไร ฯ
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ...
    ครั้นแล้วย่อมรู้อย่างนี้ว่า
    รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์
    ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ

    เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจของตนคือ
    จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น
    จิตน้อมไปก็รู้ว่า จิตน้อมไป หรือจิตไม่น้อมไปก็รู้ว่า จิตไม่น้อมไป ฯ


    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท
    และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๒๘๓๘ - ๒๘๕๘.  หน้าที่  ๑๑๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2838&Z=2858&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=255
ขอบคุณภาพจาก http://upic.me/,http://images.palungjit.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 08:13:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เจโตปริยญาณ
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

      เจโตปริยญาณ คือ ทิพจักขุญาณ นั่นเอง รู้วาระน้ำจิตของคนอื่น ดูกระแสจิตเขาสุขหรือเขาทุกข์ เขาสะอาดหรือเขาสกปรก พอได้ยินชื่อคน หรือว่ารู้เรื่องราวของคน เห็นหน้าคนให้ดูจิตก่อน อย่าไปดูหน้าดูตา ฟังเสียง อันนี้ไม่แน่นอน คนมีกิเลสอย่างพวกเรา ๆ โกหกได้ แต่ว่าจิตของคนโกหกไม่ได้

เจโตปริยญาณ
    เจโตปริยญาณ คือ ทิพจักขุญาณ นั่นเอง รู้วาระน้ำจิตของคนอื่น ดูกระแสจิตเขาสุขหรือเขาทุกข์
    เขาสะอาดหรือเขาสกปรก อันนี้เรารู้ได้อีกเหมือนกัน
    แต่ว่าต้องพยายามฝึกดูจิตของตนให้เข้าใจชัด ดูจิต มีกิเลสหรือไม่มีกิเลส สกปรกมากหรือน้อย


    จิตของ ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ก็เป็นจิตที่มีสีเนื้อ เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ไม่สะอาดไม่ผ่องใส

    จิตของคนที่ได้ ปฐมฌาน จะมีอาการเหมือนแก้วเคลือบ ปฐมฌานละเอียด เป็นเนื้อแก้วลึกลงไปประมาณสัก ๒๕ เปอร์เซ็นต์
    จิตของคนที่ได้ ฌาน ๒ จะเป็นแก้วลึกลงไป ประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
    จิตของคนที่ได้ ฌาน ๓ ละเอียด จะเป็นแก้วทั้งดวง มีแกนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง
    จิตของคนที่ได้ ฌาน ๔ จะเป็นแก้วทั้งดวงสะอาดมาก แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีประกาย


    แต่จิตของ พระโสดาบัน จะเป็นประกายออกไปประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์
    (นี่เราฝึกดูจิต)
    จิตของ พระสกิทาคามี จะเป็นประกายเข้าไปประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
    จิตของ พระอนาคามี จะเป็นประกายทั้งดวงจะมีแกนข้างใน
    ถ้าจิตของ พระอรหันต์ จะเป็นดาวทั้งดวงไม่มีแกนเลย



    อันนี้เป็นสภาพของ การดูจิต ที่มีกิเลสหรือไม่มีกิเลส สกปรกมากหรือสกปรกน้อย
    ฉะนั้น พอได้ยินชื่อคน หรือว่ารู้เรื่องราวของคน เห็นหน้าคนให้ดูจิตก่อน อย่าไปดูหน้าดูตา ฟังเสียง อันนี้ไม่แน่นอน คนมีกิเลสอย่างพวกเรา ๆ โกหกได้ แต่ว่าจิตของคนโกหกไม่ได้

    ดูความสุขความทุกข์ของจิต
    ความจริงท่านแยกไว้เป็น ๖ ผมขอย่อเป็น ๓
    คนมีทุกข์มาก จิตสีดำมาก มีทุกข์น้อย จิตสีดำน้อย จางลงไป
    ถ้าคนมีความสุขเพราะอามิสมาก จิตจะมีสีแดงมาก หากคนที่มีความสุขจากอามิสน้อย จิตมีสีแดงน้อย
    แต่คนมีจิตสบาย ๆ ไม่กระทบกระทั่งกับอารมณ์ดีหรือไม่ดี จิตเป็นสุขมีจิตสีขาว
    อันนี้เป็นจิตของปุถุชนคนธรรมดา


    ก็เป็นที่น่าสังเกต เจโตปริยญาณ นี้ ก็น่าจะฝึกฝนกันเข้าไว้ เป็นการดูจิตของเราเองว่า สกปรกมาก หรือสกปรกน้อย ถ้าสกปรกมากพยายามแก้ไขให้สกปรกน้อย จะได้ไม่มีความประมาทในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่อย่างนั้น เข้าใจว่าตัวดีไว้เสมอ อันนี้ใช้ไม่ได้


ที่มา buddhasattha.com/2010/05/08/มโนมยิทธิ-2-4#more-2519
ขอบคุณภาพจาก http://www.jaowka.com/,http://www.vcharkarn.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือผมเวลานั่งสมาธิ ภาวนา มีความปรารถนา เรื่อง ญาณ เหล่านี้มากกว่า เรื่อง อาสวักขยญาณ ครับ

การนั่งสมาธิ เพื่อสำรวจ ความคิดผู้อื่น ( เจโตปริยญาณ ) ต้องทำอย่างไร

  thk56

   ans1 ans1 ans1

   การได้มาของ เจโตปริยญาณ ต้องใช้ "จิตตานุปัสสนา" กระทำจนจิตเป็นสมาธิ
   สมาธินี้ต้องอยู่ในขั้นฌาน คือ จิตไม่มีอุปกิเลสหรือนิวรณ์นั่นเอง


   คีย์เวิร์ดของเจโตปริยญาณ อยู่ที่ประโยคนี้ครับ
   "เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ"

   เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมตีความจากพระสูตรตามที่ผมเข้าใจ
   ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้

    :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ