ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา....คำนี้มีที่มา  (อ่าน 1465 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28510
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา....คำนี้มีที่มา
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2011, 06:46:31 am »
0


ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
โดย คุณครูลิลลี่
 
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ทุกท่าน เข้าสู่ต้นเดือนธันวาคม เดือนสุดท้ายของปี คุณครูลิลลี่มีคำถามมาถามคุณผู้อ่านให้ได้บริหารสมองกันสักนิดนะคะ ถามว่าในช่วงเวลานี้ คำพูดใดที่เราๆ ท่านๆ ได้ยินได้ฟังกันบ่อยที่สุด ติ๊กต่อกๆ ๆ ๆ ...คิดกันออกไหมคะ

ถ้าปลายเดือนก็คงไม่มีคำไหนได้ยินบ่อยเท่าคำว่า “สวัสดีปีใหม่” แน่นอน แต่ถ้าเป็นช่วงต้นเดือนแบบนี้แล้วล่ะก็ คำพูดที่คนไทยจะร่วมกันเปล่งเสียงอย่างพร้อมเพรียงและกึกก้องไปทั่วทั้งแผ่นดิน ต้องหนีไม่พ้นคำพูดว่า “ทรงพระเจริญ” แน่นอนค่ะ

และอีกหนึ่งคำพูดที่เรามักจะได้ยินควบคู่กับคำว่า ทรงพระเจริญ ก็คือ คำว่า "ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา” คุณผู้อ่านหลายท่านยังคงสงสัยกันอยู่ว่า คำๆ นี้เขียนแบบใดกันแน่ ระหว่าง ทีฆายุโก กับ ฑีฆายุโก คำที่เขียนถูกต้องก็คือ ทีฆายุโก ค่ะ ใช้ ท.ทหาร นะคะ



คำๆ นี้เป็นภาษาบาลีมาจากคำว่า ทีฆ + อายุ เมื่อเติมคำว่า “ก” ที่แปลว่า “ ผู้”  ไปที่ท้ายคำ ก็จะกลายเป็นคำว่า ทีฆายุก ซึ่งเมื่อเรานำมาใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเติม ( โ ) สระโอ ลงไป ดังนั้น เมื่อรวมแล้วจึงเป็นคำว่า “ทีฆายุโก” สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะใช้ ( า ) สระอา เป็นคำว่า “ทีฆายุกา”

คำว่า ทีฆ แปลว่า ยั่งยืน ส่วนคำว่า “ก” แปลว่า ผู้ เมื่อเติมเข้าไปข้างหลัง ตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีสันสกฤตจะแปลจากหลังไปหน้า เพราะฉะนั้น คำนี้ก็จะแปลว่า ผู้ที่มีอายุยืน มาให้ความรู้ทางหลักภาษากันอีกสักนิดนะคะ ในส่วนของคำว่า “ก” นั้น เราเรียกว่า ปัจจัย ซึ่งเป็นคำที่นำมาเติมท้ายคำอื่น เช่นคำว่า นายกรัฐมนตรี หรือ นายก เป็นต้น คำนี้ก็มาจากคำว่า นาย+ก ซึ่งแปลจากหลังมาหน้าตามหลักภาษา ก็จะแปลว่า “ผู้ที่เป็นนาย”

กลับมาที่คำว่า “ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา” กันอีกครั้งดีกว่า อย่างที่คุณครูลิลลี่ได้บอกไปนะคะว่า ตามหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤตแล้วเราจะแปลจากหลังไปหน้า เพราะฉะนั้น มหาราชา แปลว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ส่วนคำว่า โหตุ แปลว่า จงเป็น เมื่อไปรวมกับคำว่า ทีฆายุโก ที่ได้อธิบายกันไปข้างต้น เราจึงสามารถแปลความหมายได้ว่า “ขอพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่จงเป็นผู้ที่มีพระชนมายุยั่งยืนนาน” นั่นเอง



เขียนได้ถูกต้อง สะกดได้ถูกต้อง และเข้าใจความหมายของคำว่า “ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา” อย่างถ่องแท้กันแล้ว ก็อยากฝากถึงพี่น้องลูกหลานไทยทุกคนว่า นอกจากพวกเราจะร่วมกันเปล่งเสียงออกมาอย่างสุดพลังแล้ว ข้างในจิตใจก็ต้องเปี่ยมไปด้วยแนวคิดที่พระองค์ทรงวางแนวทางให้แก้พสกนิกรชาวไทยด้วยเช่นกัน คำอวยพรใดๆ ก็ไม่เท่ากับหนึ่งการกระทำของเรา

เพราะฉะนั้น หากเราร่วมกันน้อมนำคำสอนของพ่อหลวงมาปฏิบัติและยึดเป็นแนวทางอย่างชัดเจน นั่นแหละคือ คำอวยพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะทำให้พระองค์ทรงสบายพระราชหฤทัย ทรงทุเลาจากอาการพระประชวร และจะทรงมีความสุขอย่างแท้จริง กับการที่ได้เห็นลูกของพ่อเชื่อฟังคำสอนและพร้อมเดินตามแนวทางที่พ่อวางไว้ ด้วยใจเป็นสุข...........ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/220618
http://i816.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ