ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีไล่น้ำ และพิธีฟันน้ำ  (อ่าน 2362 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พิธีไล่น้ำ และพิธีฟันน้ำ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 10:52:35 am »
0

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ทำพิธีไล่น้ำ โดยทำพิธีจัดบวงสรวง พระแม่คงคา บูชาพระห้ามสมุทรที่ศาลหลักเมือง

พิธีไล่น้ำ และพิธีฟันน้ำ

    ธรรมชาติของน้ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยที่ยังเต็มไปด้วยนาข้าว ความเปลี่ยน แปลงเป็นไปตามช่วงเวลา มีบทลำนำคำขับ ราษฎรร้องกันว่า “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง”

     แต่ในบางปี ช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเปลี่ยนไป เรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่
     สมัยโบราณ เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์

    กฎหมายตราสามดวง ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ระบุอัตราโทษ ผู้ที่ทำระดับน้ำในท้องนา สร้างความเสียหาย ไว้หลายมาตรา...
     มาตราหนึ่ง ผู้ใดลักไขน้ำในนาท่านไปนาตน ให้ไหม 120000 ถ้าฟันคันนาท่านให้น้ำออกเสีย ให้ไหมร่องละ 130000
     มาตราหนึ่ง ผู้ใดลักน้ำฟ้าน้ำท่าในนาท่านไปนาตน ท่านให้ไหม 110000 เป็นสินไหมกึ่ง พิไนยกึ่ง ฯลฯ

     ศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือน พ.ย.2554 มีเรื่อง จากไล่น้ำ ในอดีต ถึงไล่น้ำ ยุคมหาอุทกภัย ฯลฯ
     นนทพร อยู่มั่งมี เขียนถึงพิธีไล่น้ำ หรือพิธีไล่เรือไว้ว่า

    พิธีน้ำกระทำในช่วงเวลาที่ข้าวสุกเต็มที่ ใกล้เก็บเกี่ยว หากระดับน้ำยังไม่ลดจากเดือนที่ผ่านมา อาจเกิดความเสียหายได้ ก่อนหน้านั้นได้มีการเซ่นสรวงพลีกรรม แสดงความเคารพน้ำ ใช้ไม้อ่อนไปแล้ว...จึงจำเป็นต้องใช้ไม้แข็ง
     ตามกฎมณเฑียรบาล พระมหากษัตริย์เสด็จลงเรือพระที่นั่ง พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ครั้นถึงบริเวณ “ท้ายบ้านรุน” ทรงถือพัชนี (พัด) และกระทุ้งส้าว (ไม้มีพู่ประดับสำหรับกระทุ้ง)


    โคลงทวาทศมาส บทหนึ่ง มีความว่า
    "ชลธีปละปลั่งค้าง ทางสินธุ์ นาเวศนาวาวาง วาดน้ำ ตกบางขดานดิน สดือแม่ ดลฤดูสั่งน้ำ ไล่ชล"
    โคลงบทนี้ เรียกพิธีไล่น้ำ หรือไล่เรือ นี้ว่า “ไล่ชล” ทั้งยังระบุสถานที่ประกอบพิธี ว่าทำที่บางขดาน

    บริเวณบางขดาน ถือเป็น “ดินสะดือ” หมายถึง บริเวณที่มีน้ำวนเป็นเกลียวลึกลงไป เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ เป็นทางลงไปถึงเมืองบาดาลของพญานาค
    ความเชื่อนี้ เป็นที่มาของการทำพิธี เพื่อที่ผีหรือนาค จะกระทำให้น้ำลดระดับลง





     ยังมีอีกพิธี ที่คล้ายคลึง และทำในช่วงเวลาเดียวกัน คือ พิธีฟันน้ำ
     ระบุว่าเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า

    “พระองค์ก็เสด็จลงทรงเรือเอกไชย แล้วจึงพายลงไปถึงท่าเกาะพระ
    แล้วจึงเอาพระขรรค์ชัยศรีนั้นตีลงที่ในคงคา แล้วไล่น้ำลงมาถึงหน้าฉนวนใหญ่
    ด้วยพระเดชของพระองค์นั้น อันน้ำที่ในแม่น้ำ ก็ขึ้นมาตามพระทัยปรารถนา
    ถ้าน้ำนั้นขึ้นมาเหลือกำหนดไปนัก พระองค์ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกไชย
    แล้วพายเสด็จขึ้นไปเหนือน้ำ ถึงบ้านหลวง พร้อมกันแล้ว
    จึงพายเสด็จต้อนน้ำลงมา จนถึงหน้าฉนวนใหญ่.
    อันน้ำที่ในแม่น้ำก็ลงตามพระทัย”


    เนื้อความจากเอกสารดังกล่าว แม้จะเจือไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์อย่างมาก
    แต่ส่วนหนึ่งก็แสดงคุณลักษณะของผู้นำ ที่ต้องมี บารมี หรือบุญญาธิการ
    ที่สามารถสื่อสารจนไปถึงการต่อกรกับ “ผี” หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติได้


   พิธีฟันน้ำ เป็นพิธีเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำทุกที และได้ยกเลิกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นิโกลาส์ แชรแวส บันทึกไว้ ว่า

    “มีอยู่วันหนึ่ง ในรอบปีที่ประชาชนจะแลเห็นพระเจ้าแผ่นดิน คือในวันแข่งเรือ อันลือกันว่าเป็นงานเอิกเกริกยิ่ง เมื่อก่อนนี้ยังมีโอกาสที่จะได้เห็น ในวันเสด็จไปประกอบพระราชพิธีฟันน้ำ แต่ปัจจุบันนี้ได้ยุบเลิกขนบประเพณีที่ว่านี้เสียแล้ว”

    นนทพร อยู่มั่งมี ทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันความเป็นสังคมเมือง มนุษย์ห่างหายจากความผูกพันกับสายน้ำ ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ เมื่อประสบกับปัญหาน้ำท่วม จึงมีความเดือดร้อนต่อการดำรงชีพหลายด้าน เคยมีการจัดพิธีที่เรียกว่า “ไล่น้ำ”  ขึ้นมา แต่ดูเหมือนว่าจะไร้พลัง ทางจิตใจไม่เหมือนครั้งในอดีตอีกแล้ว.


อ้างอิง
คอลัมภ์ : คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย บาราย
http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/286222
ขอบคุณภาพจาก http://p1.s1sf.com/,http://www.prachachat.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิธีไล่น้ำ และพิธีฟันน้ำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 05:06:39 pm »
0
แสดงว่าสมัย ก่อน กษัตริย์ ต้องมีบุญญฤทธิ์ มากนะคะ
จึงสามารถ บันดาลธรรมชาติ ให้ทำตามประสงค์ได้

  :c017: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิธีไล่น้ำ และพิธีฟันน้ำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 01:04:54 am »
0
ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์ สมัยก่อน นั้นส่วนใหญ่ท่านจะมีบุญญาธิการมากนะคะ
 ดูง่าย ๆ ยุค สุโขทัย พ่อขุน พระร่วง สิคะ สาปขอมดำดินให้เป็นหิน ( ว่าแต่หินขอมดำดินอยู่ที่ไหน ใครทราบบ้างคะ)  ดังนั้น กษัตริย์ในสมัยก่อนต้องไปศึกษา เรื่องฤทธิ์ ศิลปะการต่อสู้ และรบ กัน ดูละคร เรื่อง จักร ๆ วงศ์ เป็นตัวอย่้างสิคะ จะเห็นว่า ลูกกษัตริย์ ต้องเดินทางเข้าป่าไปเรียนวิชากับ ฤาษี นะคะ

   :c017: :49:
บันทึกการเข้า