ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 639 640 [641] 642 643 ... 708
25601  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สอนตนเองให้ได้ เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 12:11:28 pm

สอนตนเองให้ได้

 

บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากการศึกษา

          บุคคลที่จะประสบความสำเร็จ  ในการสร้างบารมีจะต้องรักในการฝึกฝนตนเองทั้งกาย  วาจา  และใจ  หมั่นปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ได้ก่อนในทุกรูปแบบ  เพราะถ้าเราสามารถสอนตนเองได้  มีความอดทน  รู้จักยกใจตนเอง  ให้สูงขึ้นเหนืออุปสรรคทั้งมวล  และรักษาใจให้ผ่องใสเป็นประจำ  ไม่ยอมรอคอยกำลังใจจากใคร  เราก็จะประสบความสำเร็จในการสร้างบารมีอย่างแน่นอน
 
          เหมือนดังเรื่องของหญิงสาวคนหนึ่ง  ผู้เป็นธิดาของนายช่างหูก  ผู้รู้จักสอนตนเองด้วยการทำตามโอวาทของพระบรมศาสดา  จนประสบความสำเร็จในการสร้างบารมีในที่สุด  มีเรื่องราวดังนี้
 
          ในสมัยหนึ่ง  พระบรมศาสดาเสด็จไปเมืองอาฬวี  ได้ทรงประทานโอวาทให้แก่มหาชนว่า  “ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณานุสสติว่า  ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน  ความตายของเราแน่นอน  เราพึงตายแน่แท้  ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด  ชีวิตของเราไม่เที่ยง  แต่ความตายเที่ยง  เพราะฉะนั้น...พวกท่านทั้งหลายพึงเจริญมรณานุสสติเถิด”  เมื่อทรงประทานโอวาทเสร็จ  พระบรมศาสดาก็เสด็จกลับวัดพระเชตะวัน
 
          มหาชนครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว  บางส่วนก็ปฎิบัติตาม  บางส่วนก็ไม่ค่อยนำไปปฏิบัติเท่าที่ควร  ยังมัวประมาทในชีวิตเหมือนเดิม  ส่วนธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่งนางอายุเพียง  ๑๖  ปี  แต่มีปัญญาสอนตนเองได้  นางได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเอง  เมื่อกลับมาที่บ้านก็ได้ทำการบ้านที่พระบรมศาสดาทรงประทานให้  ด้วยการเจริญมรณานุสสติอยู่ตลอดเวลา

 

ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน  ความตายของเราแน่นอน

          สามปีต่อมา  พระบรมศาสดาเสด็จไปโปรดชาวเมืองอาฬวีอีกครั้ง  ธิดาช่างหูกก็มีโอกาสมาเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเหมือนเดิม  ในครั้งนั้น...พระบรมศาสดาถามเธอในท่ามกลางบริษัทว่า
 
          พ.  “กุมาริกา  เธอมาจากไหน?”
          ธ.  “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”
          พ.  “เธอจะไปไหน?”
          ธ.   “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”
          พ.   “เธอไม่ทราบหรือ?”
          ธ.   “ทราบพระเจ้าข้า”
          พ.   “เธอทราบหรือ?”
          ธ.  “ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า”

 
          เมื่อธิดาช่างหูกตอบปัญหาเพียงคำว่า  “ทราบ”  กับ  “ไม่ทราบ”  เท่านั้น  ทำให้มหาชนเกิดความไม่พอใจกันใหญ่  เพราะคิดว่า  ธิดาช่างหูกพูดเล่นลิ้นกับพระพุทธเจ้า  ดังนั้นเพื่อคลายความสงสัยของมหาชน  พระบรมศาสดาจึงตรัสถามต่อไปว่า
 
          “กุมาริกา  เมื่อเราถามว่า  “เธอมาจากไหน?”  ทำไมเธอจึงตอบว่า  ไม่ทราบ”
           กุมาริกาผู้มีปัญญาลึกซึ้งได้ทูลคอบว่า  “หม่อมฉันไม่ทราบว่า  ตัวเองเกิดมาจากไหน  จึงตอบว่า  ไม่ทราบ”

 

ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด

 
          พระบรมศาสดาทรงประทานสาธุการว่า  “ดีละ  กุมาริกาเธอมีปัญญาแก้ปัญหาที่ตถาคตถามได้ดีแล้ว”

          ทรงถามข้อต่อไปว่า  “เมื่อเราถามว่า  “เธอจะไปไหน?”  ทำไมจึงกล่าวว่า  ไม่ทราบ”
         กุมาริกาก็ทูลตามที่เข้าใจว่า  “เมื่อหม่อมฉันตายจากโลกนี้แล้วไม่ทราบว่า  จะไปเกิดที่ไหน”

 
          ทรงถามว่า  “แล้วเมื่อเราถามว่า  “เธอไม่ทราบหรือ?”  ทำไมจึงตอบว่า  ทราบ  ล่ะ”
          กุมาริกาทูลตอบว่า  “พระเจ้าข้า  หม่อมฉันทราบว่า  ตัวเองต้องตายอย่างแน่นอน  จึงตอบว่า  ทราบ  เจ้าข้า“
 
           “แล้วเมื่อตถาคตถามว่า  ”เธอย่อมทราบหรือ?”  ทำจึงตอบว่า  ไม่ทราบ”
           กุมาริกาก็ทูลตอบว่า  “หม่อมฉันทราบแต่เพียงว่าจะต้องตาย  แต่ไม่ทราบว่าจะตายเวลาไหน  จึงตอบเช่นนั้นพระเจ้าข้า”

 

ไม่มีใครที่จะสอนตัวเราได้ดีเท่ากับตัวของเราเอง
   
          พระบรมศาสดาทรงชมเชยธิดาช่างหูกในความเป็นผู้มีใจจดจ่อต่อการเจริญมรณานุ สสติ  สามารถตักเตืยนตนเองได้ไม่มัวรอให้คนอื่นมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช  แล้วตรัสเตือนพุทธบริษัทว่า
 
          “พวกท่านไม่ทราบถ้อยคำที่กุมาริกานี้กล่าว  จึงกล่าวตู่ธิดาของเราผู้มีปัญญา”
 
          แล้วทรงแสดงธรรม  เรื่องมรณานุสสติอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อสิ้นพระธรรมเทศนา  ธิดาช่างหูกก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  เป็นผู้ไม่ตกต่ำในชีวิตอีกต่อไป
 
          แต่...  เนื่องจากวิบากกรรมเก่าตามมาทัน  เมื่อนางเดินทางกลับไปบ้านแล้ว  เห็นพ่อกำลังนอนหลับอยู่ข้างเครื่องทอหูก  นางจึงได้ปลุกพ่อให้ตื่น  ฝ่ายพ่อกำลังนอนหลับเพลิน  มือจึงไปกระทบด้ามฟืมเครื่องทอผ้าอย่างแรง  นางล้มลงกับพื้นแล้วสิ้นใจ  ณ  ตรงนั้นเอง  เมื่อละโลกแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
 
          จาก เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า...  การรู้จักสอนตนเอง  เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากของนักสร้างบารมี  เพราะในโลกนี้  ไม่มีใครที่จะสอนตัวเราได้ดีเท่ากับตัวของเราเอง  และเมื่อเราสอนตัวเองได้ดี
แล้ว  การที่จะทำหน้าที่สั่งสอนผู้อื่นก็จะสมบรูณ์ตามมาด้วย

 
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dmc.tv/page_print.php?p =แรงบันดาลใจ-จากพระไตรปิฎก/สอนตนเองให้ได้.html
25602  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เมื่อคนใกล้ตัวชอบเอาเรื่องความเชื่อที่ขัดความรู้สึกมาพูดย้ำๆ เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 12:03:27 pm

การพูด การอธิบายหรือการสอนของแต่ละคน เป็นไปตามจริตวาสนาของแต่ละคน เราจะไปเปลี่ยนเค้าไม่ได้
 คนเราหากไม่ได้สร้างบุญบารมีร่วมกันมาก่อน คงยากที่จะมาเป็นศิษย์อาจารย์กัน พูดง่ายก็คือ โอกาสที่จะสร้างบารมีธรรมร่วมกัน ยากครับ

การสงสัยลังเลเป็นเรื่องปรกติของปุถุชน วิจิกิจฉา(สงสัยลังเลในพระรัตนตรัย)เป็นสังโยชน์ข้อสาม โสดาบันเท่านั้นที่ละได้
การจะเข้าใจข้อธรรมต่างๆได้อย่างแทงตลอด มีอยู่ทางเดียวก็คือ ต้องปฏิบัติ ขอให้พิจารณาสังโยชน์ข้อสุดท้าย คือ อวิชชา การสำเร็จอรหันต์ต้องแทงทะลุอวิชชา


ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งเชี่ยวชาญปริยัติ มีลูกศิษย์มากมาย แต่ตัวเองไม่ได้มรรคผลแต่ประการใด
พระพุทธเจ้าเห็นภิกษุรูปนี้แล้ว ก็กล่าวตำหนิให้ได้อายโดยเรียกภิกษุรูปนี้ว่า โปฏิละ แปลว่า ใบลานเปล่า
สุดท้ายภิกษุรูปนี้ก็อาย ต้องยอมละทิฏฐิมานะของตนเอง ไปกราบสามเณรให้สอนกรรมฐานให้ จนได้สำเร็จ
อรหันต์

พุทธบริษัททุกคนมีเป้าหมายต่างกัน บางคนก็แค่หวังทำบุญเพื่อความสบายใจ กลุ่มนี้คติเบื้องหน้าก็คือเทวดา
บางคนก็ปรารถนาเป็นโพธิสัตว์ กลุ่มนี้ต้องสร้างบารมีเยอะๆ ต้องเสียสละทุกอย่าง บางคนก็เบื่อสังสารวัฏนี้เต็มทน ขอนิพพานในชาติหรือชาติหน้า ขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมา

ผมคงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ ประเด็นที่คุณสุนีย์ยกมาดีมากครับ ขอชื่นชม
:s_good:
25603  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฟ้อนภูไท ต่อหน้าพระพักตร์ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ งามขั้นเทพ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 02:34:06 pm





 


     คณะการแสดงชุดนี้มาจากเรณูนคร นครพนม เข้าใจว่า ชาวคณะส่วนใหญ่เป็นคนภูไทแท้ๆ ไฮไลท์ของการแสดงชุดนี้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า อยู่ที่การโชว์ฟ้อนของหญิงชายคู่หนึ่ง ที่เห็นในวิดีโอนั่นแหละครับ ทั้งสองฟ้อนได้สวยงามมาก โดยเฉพาะฝ่ายหญิง ฟ้อนได้งามมากๆ จนผมอดคิดไม่ได้ว่า หญิงนางนี้ต้องเป็นเทพอัปสรมาจาก"สวรรค์ชั้นจาตุมมาราชิกา"เป็นแน่

     ที่สำคัญขอให้สังเกตพระราชีนี ท่านแย้มพระสรวลอย่างมีความสุข แสดงให้เห็นว่า ท่านทรงชื่นชอบการแสดงชุดนี้มาก

     พระหนักภูพานนี้อยู่ที่จังหวัดสกลนคร ผมยังไม่เคยไป หากใครมีโอกาสได้ไป อย่าลืมไปไหว้พระธาตเชิงชุมนะครับ ผมขอเชิญชวนเพื่อนๆ ช่วยกันอนุรักษ์ความเป็นไทยของเรา ใช้ความเป็นอยู่อย่างไทย เที่ยวอย่างไทย 
ที่สำคัญต้องเที่ยวในไทย เป็นคนไทยควรส่งเสริมเที่ยวภายในประเทศไทย

      :welcome: :49: :s_good:
25604  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: น้องน้ำ กะ น้องหนาว คนไหนถูกสเปคมากกว่ากัน เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 01:51:52 pm





เพลง : หนาวลมที่เรณู
ศิลปิน : ศรคีรี ศรีประจวบ
คำร้อง+ทำนอง : สุรินทร์ ภาคศิริ


..เรณูนคร ถิ่นนี้ช่างมีมนต์ขลัง
ได้พบนวลนาง ดั่งเหมือนต้องมนต์แน่นิ่ง
น้องนุ่งซิ่นไหม ไว้ผมมวยสวยเพริด พริ้ง
พี่รักเจ้าแล้วแท้จริง สาวเวียงพิงค์แห่งแดนอิสาน

..เราเคยสัมพันธ์ พรอดรักเมื่อคราวหน้าหนาว
คืนฟ้าสกาว เหน็บหนาวน้ำค้างเหลือนั่น
เพราะได้เคียงน้อง ถึงต้องหนาวตายไม่หวาดหวั่น
รุ่งรางต้องร้างไกลกัน สุดหวั่นไหว ก่อนลา

..ผ้าผวยร้อยผืน ไม่ชื่นเหมือนน้องอยู่ใกล้
ดูดอุร้อยไห ไม่คลายหนาวได้หรอกหนา
ห่าง...น้อง พี่ต้องหนาวหนักอุรา
คอยนับวันเวลา จะกลับมาอบไอรักเก่า

..เย็นลมเหมันต์ ผ่านพ้นยิ่งพาสะท้อน
โธ่น้องบังอร ก่อนนั้นเคยคลอเคียงเจ้า
ครั้งเที่ยวชมงานพระธาตุพนม ยามหน้าหนาว
พี่ยังไม่ลืมนงเยาว์ โอ้แม่สาว เรณู.


ที่มา http://lyrics.ohozaa.com/


     พูดถึงความหนาวที่โรแมนติกแบบบ้านๆ ผมนึกถึงเพลงนี้ได้เป็นเพลงแรก ชอบครับ ชอบมาก พระธาตุพนมก็ไปกราบมาแล้ว แต่สาวเรณูแท้ๆก็ยังไม่เคยเห็นกะตาซะที ทีได้เห็นก็เป็นวิดีโอเท่านั้น
     หน้าหนาวเป็นฤดูทีี่ผมชอบที่สุด ไม่ได้ชอบเพราะเห็นสาวแต่งตัวสวยๆหรอกครับ ชอบเพราะเวลานอนใต้ผ้าห่มอุ่นๆจะรู้สึกมีความสุขมาก

     ถึงตรงนี้ก็เพียงพอที่จะเป็นคำตอบได้แล้วว่า ผมชอบน้องหนาวมากกว่า
     อย่างไรก็ตาม ก็ยืนยันว่า ไม่ได้รังเกลียดน้องน้ำแต่ประการใด

     จุดประสงค์หลักที่โพสต์ก็คือ อยากให้เพื่อนๆไปเที่ยวพักผ่อนรับลมหนาวในที่ต่างๆกันบ้าง อย่างน้อยก็จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น ไม่เห็นด้วยกันการไปเที่ยวต่างประเทศ

      :welcome: :49: :s_good:
25605  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / น้องน้ำ กะ น้องหนาว คนไหนถูกสเปคมากกว่ากัน เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 01:24:40 pm



เนื้อเพลง  : Bridge Over Troubled Water
เพลงของ  : Simon and Garfunkel


Bridge over trouble water             
สะพานข้ามความทุกข์ใจ

When you're weary, feeling small    เมื่อยามที่เธอเหนื่อยใจรู้สึกกลายเป็นคนไร้ความสำคัญ
When tears are in your eyes I will dry them all   เมื่อต้องร้องไห้หนัก ฉันจะช่วยซับน้ำตาทุกหยาดหยด
I'm on your side, oh, When times get rough     ฉันจะอยู่เคียงข้าง ในยามที่พายุกระหน่ำ
(แปลเป็นไทยน้าอ้อก็ใช้สำนวนไทย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราทราบว่าไม่ได้หมายถึงพายุฝน แม่นบ่?)

And friends just can't be found    และจะหันหาใครก็ไม่มี

Like a bridge over troubled water,   เหมือนสะพานทอดข้ามความทุกข์ใจ
I will lay me down,        จะอุทิศตัวฉันนี้...
Oh, like a bridge over troubled water  ให้เป็นเหมือนสะพาน นำผ่านพ้นความทุกข์ใจ
I will lay me down ซ้ำ

When you're down and out, when you're on the streets   เมื่อใดหมดเรี่ยวแรง, สิ้นหวังและถูกทอดทิ้ง
When evening falls so hard, I will comfort you        ยามเย็นย่ำอ้างว้าง ฉันจะช่วยปลอบประโลมใจ
(บรรทัดนี้ให้นึกถึงเพลงไทยที่ว่า ค่ำคืนฉันยืนอยู่เดียวดาย...ซึ่งเวลาเย็นย่ำค่ำสลัวจะรู้สึกอ้างว้างมากกว่าช่วงเวลาอื่น)
I'll take your part when the darkness falls and pain is all around ในความมืดมนและความทุกข์ทรมาน ของเธอ ฉันจะขอรับไว้เองทั้งหมด

Yes, like a bridge over troubled water ซ้ำ
I will lay me down ซ้ำ
Oh, like a bridge over troubled water ซ้ำ
I will lay me down ซ้ำ

Sail on, silver girl, sail on by         ก้าวต่อเถอะคนดี ก้าวต่ออย่างมั่นใจ
Your time has come to shine        ถึงเวลาแห่งความยินดีปรีดา
All your dreams are on their way   ความฝันทั้งหลายกำลังจะเป็นจริง
See how they shine                    ส่องแสงเฉิดฉาย
Oh, if you need a friend,              ถ้าต้องการใครสักคน
I'm sailing right behind                 ฉันอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

Yes, like a bridge over troubled water    เหมือนสะพานทอดข้ามความทุกข์ใจ
I, I will ease your mind                         จะช่วยผ่อนภาระทางใจให้เธอ
Like a bridge over troubled water ซ้ำ
I will easy your mind ซ้ำ


ขอบคุณข้อมูลจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2f3184f1f60d33e9


    ประเทศเราทุกข์เพราะน้ำมามากแล้ว หากเราจะเอาวิกฤตินี้เป็นโอกาส ก็ต้องสร้างสะพานข้ามห้วงน้ำแห่งทุกข์นี้ไป สะพานนี้เราสร้างคนเดียวไม่ได้ คงต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ต้องสร้างกำลังใจให้กันและักัน ต้องรู้จักอภัย ต้องรู้รักษ์สามัคคี
   
    ขอให้ตระหนักว่า เรามีของรักของห่วงที่เหมือนกัน ก็คือ ประเทศไทย
    น้ำทำลายประเทศไทยได้เพียงภายนอก ภายในของเรา ใครฤาจะทำร้ายได้ นอกจากพวกเราเอง


     :49:
25606  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไม่มีตัวตนแล้วที่ยืนอยู่นี้เป็นอะไร เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 12:51:05 pm

คติของพุทธศาสนา สอนให้ละความเป็นตัวตน คือ ให้ละอุปทานขันธ์ ๕
 พระพุทธเจ้าตรัสสรุปไว้ว่า อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

 อุปทานขันธ์ ๕ คือ ความยึดมั่นถือมั่นใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
 หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ การยึดมั่นในกายและใจของตนนั่นเอง

 คนที่ไ่ม่มีอุปทานขันธ์ ๕ ก็คือ พระอรหันต์
 พระอรหันต์จะมองโลกราบเรียบเสมอกัน ไม่มีสัตว์ บุคคล เรา เขา
 อาจจะมองเห็นทุกสิ่ง เป็นเพียงรูป เป็นเพียงสี เป็นเพียงธาตุ(ดิน น้ำ ไฟ ลม)
 สิิ่งที่ท่านเห็นล้วนมีความแปรปรวน ทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกข์ ควบคุบไม่ได้ เป็นของชั่วคราว
 ไ่ม่สามารถยึดเป็นแก่นสารได้ หากใครยึดถือเป็นแก่นสาร เห็นว่ามันมีตัวตน จะทำให้เกิดทุกข์
 การจะทำไม่ให้เกิดทุกข์ มีทางเดียวก็คือ ต้องเห็นว่า"มันไม่มีตัวตน"
 นั่นคือที่มา ของคำว่า"ไม่มีตัวตน"

  สรุปก็คือ ปุถุชน ไม่อาจเห็นความไม่มีตัวตนได้ การที่จะนำความไม่มีตัวตนไปอธิบายให้คนนอกศาสนา
หรือปุถชนทั่วไปฟัง เพื่อให้มีความเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องยาก เพราะสิงที่อรหันต์เห็นเป็นปัจจัตตัง เป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน ไม่อาจทำให้คนอื่นรู้ได้ (แต่บอกทางให้รู้อย่างตนได้)

 :49:
25607  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ประชาธิปไตย กับ ธรรมาธิปไตย ไปด้วยกันได้หรือไม่ ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 12:08:55 pm

   ในแง่จริยธรรม(ระดับปุถุชน) มีกฏหมายและวัฒนธรรม ขนบ ทำเนียม ประเพณีบังคับอยู่แล้ว
   ในแต่ละวัฒนธรรม ก็มีข้อห้ามของศาสนาที่ตนนับถือแทรกอยู่ในกฏหมาย
   ประเทศอิสลามบางประเทศ ก็เอาความเชื่อและข้อห้ามต่างๆบัญญัติเป็นกฏหมาย
   ถึงตรงนี้จะตอบได้ว่า จริยธรรมมีอยู่ในกฏหมายของประเทศประชาธิปไตยอยู่แล้ว

   แต่ปัญหาก็คือ ธรรมะระดับโลกุตรธรรม(ธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์) ไม่สามารถนำมา
   เป็นกฏหมายได้ เพราะเป็นะธุระของบรรพชิต ตัวอย่างเช่น ศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ
   ภิกษุดำรงตนอยู่ด้วยการขอ(บิณฑบาต)จากปุถุชน หากทุกคนเป็นภิกษุกันหมด
   แล้วภิกษุจะดำรงชีวิตได้อย่างไร จะไปบิณฑบาตกับใครที่ไหน

   หลายคนอาจนึกถึงพระในฝ่ายมหายานที่ปลูกข้าวเองทำกับข้าวเอง เรื่องนี้ขอให้เข้าใจว่า
   พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ดำรงชีพอย่างงั้น พระองค์สอนให้ดำรงตนอย่างเปรต คือ อยู่ด้วยการขอ

   ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
:49:
25608  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สมาธิ ใน พุทธศาสนา นั้นจริง ๆ หวังผล แต่นั้นในการภาวนา เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 01:17:51 pm
 สัมมาสมาธิ เป็นข้อสุดท้าย ของมรรคมีองค์ ๘ มรรคนี้เป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์
 ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า สัมมาสมาธิ ก็คือ ฌาน ๔
 ดังนั้น เบื้องต้นเราต้องเชื่อพระพุทธเจ้าก่อน คือ ต้องฝึกสมาธิให้ได้ฌาน


    ขอแนะนำให้อ่านลิงค์นี้ครับ
    สัมมาสมาธิ โดยพิสดาร
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5592.0

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ทีฆนิกาย มหาวรรค
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๗๒๑ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๗๖ - ๒๗๗.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6721&Z=6764&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
25609  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 01:02:26 pm
อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) หรือ พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง)

๑. สัทธา (ความเชื่อ)
๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. สติ (ความระลึกได้)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)


ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ

ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง


อ้างอิง ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


     ถ้าอ้างถึงมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ต้องกล่าวว่า "สัมมาทิฏฐิ" มาก่อน
     แต่ถ้าเอาอินทรีย์หรือพละเป็นที่ตั้ง คงต้องบอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายกเอาสัทธามาเป็นข้อแรก ก็คงต้องเดาว่า "สัทธา" ต้องมาก่อน


     อย่างไรก็ตาม ข้อธรรมของพุทธศาสนา มีัลักษณะเกี่ยวโยงกันทั้งหมด เปรียบเสมือนล้อเกวียน(ธรรมจักร)
เมื่อเข้าถึงธรรมระดับหนึ่ง ทุกข้อสำคัญเหมือนกัน ดุจล้อเกวียนที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ หากขาดไปจะไม่สามารถดำรงสภาพเป็นล้อเกวียนได้(ล้อจะพัง)


     :49:



ลิงค์แนะนำ
บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.0
25610  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ (ตถาคตก็ยังต้องการกัลยาณมิตร) เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 12:34:38 pm


"กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"

ข้างบนคือคำที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ซึ่งคำว่า “พรหมจรรย์” หมายถึง การประพฤติธรรมอันประเสริฐ หรือ การครองชีวิตประเสริฐ ส่วน “กัลยาณมิตร” หมายถึง เพื่อนที่ดีมีคุณธรรม

เหตุที่ทรงตรัสเช่นนั้นก็เพราะการคบหาคลุกคลีกับผู้ใดย่อมส่งผลต่อเราอย่างมาก อย่างบางคนที่เคยมีความประพฤติดี แต่เมื่อไปคบหากับคนพาล นิสัยใจคอก็ค่อยเปลี่ยนไปในทางไม่ดีโดยไม่รู้ตัว เช่น จากที่ไม่เคยดูถูกคน ก็กลายเป็นคนเย่อหยิ่งถือตัว จากไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ก็เริ่มดื่มเหล้า เล่นการพนัน หรือเที่ยวกลางคืน เป็นต้น

นอกจากนี้การคบคนพาลยังนำมาซึ่งความฉิบหาย ไม่ว่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เสียทรัพย์เพราะมั่วอบายมุข และที่สำคัญคือ ทำให้เรามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งล้วนเป็นทางแห่งความเสื่อมทั้งสิ้น

ด้วยหนทางในสังสารวัฏนั้นยาวไกลนัก การมีเพื่อนที่ดีนอกจากจะคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเราได้แล้ว ยังสามารถช่วยตักเตือน ให้กำลังใจ ชักนำหรือแนะนำเราได้เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นอีกด้วย

ดังนั้นการคบเพื่อนที่ดีมีคุณธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต หน้าที่การงาน และที่สำคัญสุดคือการประพฤติธรรม เพราะจะช่วยทำให้เรามีความเห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนกระทั่งสามารถบรรลุมรรคผลได้

ทุกวันนี้กัลยาณมิตรอาจหาได้ยาก แต่ด้วยกุศลที่ได้ทำแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เราพบมิตรแบบนี้ได้เมื่อถึงเวลา หากไม่สามารถหากัลยาณมิตรได้ ก็ไม่ควรไปคบคนพาล ไม่มีเพื่อนเสียเลยยังดีกว่า แต่ควรให้พระธรรมเป็นกัลยาณมิตรแทน เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถือเป็นกัลยาณมิตรได้เช่นกัน



กัลยาณมิตรสมัยพุทธกาล

กัลยาณมิตร มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังเช่นในอดีตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดมาแล้วเป็นผู้มีความเห็นผิด จนเกือบจะไม่ได้พบกับหนทางของพระนิพพาน แต่เนื่องจากพระองค์ได้คบหากับบุคคลอันเป็นกัลยาณมิตร พระองค์จึงได้ก้าวเข้ามาสู่หนทางของการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

พระองค์ทรงระลึกชาติในหนหลัง ตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ในสมัยนั้นเป็นสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ณ ตำบล บ้านเวภฬิคะ มีชายหนุ่ม ๒ คนเป็นเพื่อนรักกัน คนหนึ่ง ชื่อ ฆฏิการะ อีกคนหนึ่ง ชื่อ โชติปาละ ทั้งสองคนนี้แม้จะเป็นเพื่อนที่รักกันมาก แต่กลับมีอุปนิสัยในทางธรรมที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

ฆฏิการะนั้นเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เขาได้ชื่อว่าเป็นอุปัฏฐากที่ดีเลิศของพระพุทธเจ้ากัสสปะ แต่โชติปาละเป็นผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเลย เขาไม่เคยไปฟังธรรม ไม่เคยแม้แต่จะไปกราบพระพุทธเจ้า ฆฏิการะก็พยายามชักชวนอยู่เสมอ แม้ว่าความปรารถนาดีของเขาจะถูกปฏิเสธเสียทุกครั้งไป

จนกระทั่งวันหนึ่ง ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละไปอาบน้ำยังท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พออาบน้ำชำระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวนโชติปาละว่า "โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงนี้เอง"

โชติปาละกล่าวตอบว่า "อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการที่จะได้เห็นสมณะโล้น สู้ไปเที่ยวยังจะสนุกเสียกว่า" ฆฏิการะก็บอกว่า "มีประโยชน์สิ เพราะการเห็นสมณะนั้นเป็นมงคล ไปกันเถอะ" โชติปาละก็ปฏิเสธอีก ฆฏิการะจึงเดินเข้าไปจับมือของโชติปาละ โชติปาละสะบัดมือออก ฆฏิการะเปลี่ยนมาจับชายพกของโชติปาละ โชติปาละก็ดึงมือออกอีก

ฆฏิการะไม่ละความพยายามหันมาดึงมวยผม พร้อมกับกล่าวชวนซ้ำอีก คราวนี้โชติปาละรู้สึกขัดใจขึ้นมาทันที
"เอ๊ะ! ทำไมต้องมาดึงมวยผมกันด้วยละ สมณะโล้นน่ะ มีดีอย่างไรหรือ ท่านจึงอยากให้ข้าพเจ้าไปเฝ้านัก"

และ ด้วยอานุภาพแห่งกัลยาณมิตร โชติปาละก็รำลึกได้ว่า โดยปกติแล้ว ฆฏิการะเป็นเพื่อนที่หวังดีกับเขาเสมอมา ไม่เคยเลยที่จะชักนำไปในทางที่เสียหาย เขาเริ่มคิดได้ว่า การที่ฆฏิการะชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอนี้ ก็คงจะเป็นการชักนำไปในทางที่ดีอีกเช่นเคย ดังนั้นโชติปาละจึงยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เมื่อไปถึงพระอาราม ทั้งสองกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงปฏิสันถารด้วยพระทัยที่เปี่ยมด้วยความเมตตา แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ แสดงธรรมที่ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย หลั่งธรรมธาราให้รินไหลเข้าสู่กระแสใจของโชติปาละ

โชติปาละได้ฟังธรรมแล้ว ใจของเขาก็ผ่องใส เหมือนคนที่เดินหลงทางอยู่ในทะเลทรายมาเป็นเวลานาน แล้วได้พบกับบ่อน้ำที่ให้ทั้งความเย็นกายเย็นใจ ใจของเขาดื่มด่ำในรสแห่งอมตธรรมยิ่งนัก แล้วด้วยใจที่ศรัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลน โชติปาละจึงขอออกบวชอุทิศตนเป็นพุทธบูชาตลอดชีวิต


แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวกับพระอานนท์สืบไปว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้พึงคิดเลยว่าเราคือ ฆฏิการะ บุรุษผู้มีความเห็นถูก แต่แท้ที่จริงแล้วเราคือ โชติปาละ บุรุษผู้มีความเห็นผิดคนนั้น แต่เนื่องจากเราได้คบหากับบุคคลอันเป็นยอดกัลยาณมิตร คือ ฆฏิการะ เราจึงได้กลับมาเป็นผู้มีความเห็นถูก ก้าวเข้ามาสู่หนทางแห่งการสร้างความดี มาสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ในที่สุด

อานนท์ แม้เราตถาคตก็ยังต้องการกัลยาณมิตร เป็นผู้ชี้หนทางแห่งความดีให้ ดังนั้น เราจึงได้กล่าวกับเธอว่า "กัลยาณมิตรนั้นเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"


หมายเหตุ
ฆฏิการะในกาลนั้น ซึ่งเป็นพระอนาคามี ได้ไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นที่ 5 อกนิฏฐภูมิ
เมื่อครั้นพระมหาโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเปลื้องฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียร โยนขึ้นไปในอากาศ ท้าวฆฏิการพรหมก็ได้รับไว้ แล้วนำพระอัฏฐบริขาร มีบาตรและจีวรเป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์ และรับฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียรไปประดิษฐานไว้ในทุสสะเจดีย์ ที่เนรมิตสร้างไว้ในชั้นอกนิฏฐภพ นี้เอง.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=thammakittakon&date=02-08-2009&group=1&gblog=6
http://www.igetweb.com/
25611  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สติปัฏฐาน มีหลาย บรรพหลายหมวด เอาแค่ปฏิบัติ เลือกอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 12:20:57 pm

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่าง ก็เพราะทรงเกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์ที่มีจริตต่างกัน คือ

๑. ตัณหาจริตอย่างอ่อน มีกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ที่หยาบจะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในหมวดที่มีนิมิตเกิดขึ้นได้ไม่ยากนักก็เหมาะสมกับพวกสมถยานิกะประเภทยังอ่อน (พวกที่ปฏิบัติสมถะ)

๒. ตัณหาจริตอย่างกล้า มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ละเอียดจะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับพวกสมถยานิกะประเภทแก่กล้า

๓. ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน มีจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ละเอียดแต่ก็แยกรายละเอียดออกไปไม่มากนัก จะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทยังอ่อน

๔. ทิฏฐิจริตแก่กล้า มีธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์อันละเอียดลึกซึ้งแยกประเภทออกไปมาก จะเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติแล้วเกิดผลได้ และเหมาะสมกับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทแก่กล้า

อ้างอิง
สติปัฏฐาน แบ่งตาม "จ ริ ต" ?..และ อ า นิ ส ส ง ส์.. ๗ ๖ ๕ ๔..?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3485.msg12459#msg12459


     ควรเสาะหากัลยาณมิตรก่อนนะครับ

     บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดีงาม

       กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ
       ๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา
       ๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่น เป็นที่พึงอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
       ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
       ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
       ๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากย์วิจารณ์
       ๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
       ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
25612  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รวมมิตร "สติปัฏฐาน" เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 12:13:41 pm

ภาพหลวงพ่อใส จากเว็บ http://bubbubz.multiply.com/photos/album/20/20

สั ม ม า ส ติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4561.0

ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4401.0

สัมมาสติ โดยพิสดาร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5529.0

สิ่งควรรู้ก่อนการเจริญวิปัสสนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3197.0

แผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3414.0

  ผมรวบรวมลิงค์ที่ว่าด้วยสติปัฏฐานเอาไว้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและอ่านกันตามอัธยาศัย

 :25:
25613  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พลังจิต กับ สมาธิ เหมือนกันหรือไม่ คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 11:52:29 am
    คุยเป็นเพื่อนนะครับ พลังจิตน่าจะเป็นผลของสมาธิ คงตอบได้กว้างๆแบบนี้ หากอธิบายให้พิสดารกว่านี้ ผมว่ามันจะเฟือน เรื่องนี้หากปฎิบัติไม่ถึง พูดไปก็เหมือนดูคนอื่นเค้ากินข้าว
:49:
25614  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เชิญเที่ยวหนองคาย "สัมผัส 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก" เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 11:41:24 am

"สัมผัส 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก"

      หนองคาย นอกจากเป็นจังหวัดสุดเขตชายแดนประเทศไทยที่ริมโขง...และเป็นประตูสู่อินโดจีนแล้ว..จังหวัดหนองคาย ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ดังนั้น 7 สิ่งมหัศจรรย์ที่ชวนมาสัมผัส จึงมีมากกว่า 7 สิ่ง ดังนี้


สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 1

    1 ปีมีครั้งเดียว ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องขอชม “บั้งไฟพญานาค” ลูกไฟประหลาดสีแดงส้มที่พวยพุ่งขึ้นจากใต้ลำน้ำโขง เฉพาะในวันออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 เท่านั้น ที่มาของภาพยนตร์ที่โด่งดังไปทั่วโลก สาเหตุของรถติดยาวและนานที่สุดในประเทศ(รถติดทั้งคืน ยาวกว่า 50 กิโลเมตร)

    ปัจจุบันมีการขยายถนนและมีการจัดการจราจรที่ดี นักล่าฝัน ชมรมกอดลม แก๊งค์รถโบราณ หรือแม้แต่ครอบครัวนักเที่ยว ก็สามารถสัมผัสสิ่งมหัศจรรย์นี้ได้ไม่ยากนัก โดยเลือกที่พักได้ทั้งแบบบ้านเช่าเป็นหลัง โรงแรม โฮมสเตย์  หรือจะกางเต็นท์นอน

(เวลาน่าเที่ยว 2 วัน 1 คืน พร้อมทั้งพบกับการแสดงแสงสีเสียงพิธีบูชาพญานาค การแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน การประกวดนางนพมาศ และการลอยกระทง)



  อีก 1 เดียวในโลก สำหรับนักอนุรักษ์ หรือนักนิยมไพร “กิ้งก่าภูวัว” กิ้งก่านิสัยตุ๊กแกที่ชอบหลบอยู่ในถ้ำแทนที่จะอยู่ตามต้นไม้ และถ้าหางขาดก็สามารถงอกได้เหมือนตุ๊กแก คือสิ่งที่ไม่ควรพลาด เพราะไม่สามารถหาดูได้ที่ไหนอีกแล้ว นอกจากที่นี่

“เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว” ที่มีพนักงานต้อนรับเป็นนกเงือกตัวโต ในเขตอำเภอบุงคล้า-บึงโขงหลง แหล่งค้นพบ
สมุนไพรชื่อพระราชทาน “สิรินธรวัลลี” หรือ สามสิบสองประดง ...กางเต้นนอนนับดาวหลังเขา ฟังเสียงช้างป่าร้องแอบมองกระทิงป่าที่มาเกี้ยวพาราสีวัวตัวเมียชาวบ้าน หรือจะเล่นน้ำตกสบาย ๆ ..เก็บภาพดอกไม้ป่าหลากหลาย ศึกษาสมุนไพรหายาก..เป็นอีกทริปที่ลืมไม่ลง(เวลากินโป่ง 2 วัน 1 คืน)



สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 2                               

    ถึงแม้เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศ  แต่สำคัญยิ่งใหญ่ระดับโลก “พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง” ในอำเภอบึงโขงหลง ด้วยพื้นที่ 8,062 ไร่ มีนกประจำถิ่นและนก อพยพ อย่างน้อย 29 ชนิด พบปลาที่บันทึกแล้ว กว่า 25 ชนิด ทั้งนกและปลาหลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ หาดูที่อื่นยาก มีพันธุ์พืชแปลก ๆมากมาย เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง...หมอกบ่วาย สมุนไพรที่โด่งดัง ...ฯลฯ

บึงโขงหลง จึงเป็นแหล่งที่นักดูนกต้องไม่พลาด..นักท่องเที่ยวต้องไปยล (เวลาส่องนก 2 วัน : เวลาล่องแพ ขี่เรือเร็ว สกูตเตอร์ 1 วัน)

และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก จังหวัดหนองคายก็จะมีพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งที่ 2 อีกแห่ง คือ
“พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่ากุดทิง” อำเภอบึงกาฬ



สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 3

       3 สิ่งที่เป็นคำขวัญของจังหวัดหนองคาย ถ้าดูส่วนที่ 3 “สะพานไทยลาว” ซึ่งหมายถึง “สะพานมิตรภาพไทย-ลาว” สร้างจากความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และออสเตเลีย พี่น้องชาวลาวเรียกสะพานนี้ว่า “ขัวใหญ่มิตรภาพ” เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ไทยลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นประตูก้าวแรกสู่อินโดจีน

       ตัวสะพานยาว 2.5 กิโลเมตร กว้าง 15 เมตร มีรางรถไฟตรงกลาง สามารถเดินขึ้นสะพานเพื่อชมวิวสองฝั่งแม่น้ำโขงได้ฟรี.. หรือจะเสียเวลาทำหนังสือผ่านแดนนิดหน่อยก็ไปเที่ยวต่างประเทศได้อย่างไม่ยากเย็นถึง 7 วัน ยิ่งถ้ามีพาสปอร์ตติดมาด้วยก็ท่องเที่ยวได้เป็นเดือน



สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 4

      สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 4 ก็ปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดเช่นกัน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน
ใช่แล้วครับ “หลวงพ่อพระใส” วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวงนั่นเอง พระพุธรูปปางมารวิชัยที่กล่าวขานถึงการปกป้องแคล้วคลาดปลอดภัย บนบานศาลกล่าวสัมฤทธิ์ผลดังใจนึก จากธิดากษัตริย์ล้านช้าง 3 พระองค์ได้หล่อพระพุทธรูปตามนามของตน คือ พระเสริม พระสุก และพระใส


      โดยในระหว่างอัญเชิญมาประเทศไทยพระสุกได้แหกแพจมลงแม่น้ำโขง(เวินพระสุก) คงเหลือพระเสริมและพระใสมาประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย และวัดหอก่องจนสมัยรัชกาลที่ 4 ได้อัญเชิญพระใสมาจากวัดหอก่องมาวัดโพธิ์ชัยเพื่ออัญเชิญพร้อมพระเสริมเข้ากรุงเทพฯปรากฏเป็นอัศจรรย์ว่าเกวียนที่อัญเชิญพระใสเกิดหัก(อีกนามหนึ่งคือหลวงพ่อเกวียนหัก) 

      เมื่อเปลี่ยนเกวียนใหม่ก็หักอีกไม่สามารถอัญเชิญไปได้ จึงได้อัญเชิญประดิษฐานไว้วัดโพธิ์ชัยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระเสริมปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดประทุมวนารามกรุงเทพ           

                               

สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 5

     คราวนี้มาถึงประเพณีสนุกสนานกันบ้าง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย” คือชื่องานใหญ่ งานปีใหม่ของชาวอีสานที่จัดขึ้นในเดือน 5 ของทุกปี พบกับประเพณีสงกรานต์ 2 ฝั่งโขง พิธีสมโภชหลวงพ่อพระใส แข่งขันว่ายน้ำข้ามโขง การประกวดอาหารจากปลาน้ำโขง การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง แข่งขันกีฬาชายหาด และสนุกสุดยอดกับการเล่นน้ำสงกรานต์ชายหาด

ในบรรยากาศ พัทยาอีสาน.....อันซีน..อันซีน...
(เวลาสบาย ๆ 3-5 วัน พร้อมสัมผัส  สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 3 และ 4 ในเขตอำเภอเมืองไปพร้อม ๆกัน)



สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 6

     สุดอลังการอีกครั้งกับ “เมืองหลวงแห่งบาดาล”  หรือ “พิภพพญานาค”บริเวณวัดอาฮง อำเภอบึงกาฬ แก่งอาฮง คือแก่งขนาดใหญ่ที่มีน้ำลึกมากที่สุดของแม่น้ำโขง วัดความลึกในหน้าแล้งได้มากกว่า 96 วา จนได้รับขนานนามว่าเป็น “สะดือแม่น้ำโขง” มีลานหินกว้างเกือบ 600 เมตร มีถ้ำขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่าทะลุไปถึงภูเขางูที่ฝั่งประเทศลาว และที่แปลกอีกอย่างคือ “บั้งไฟพญานาค” ที่ขึ้นที่แก่งอาฮงจะมีลูกไฟสีเขียว แทนที่จะเป็นสีแดงส้ม แปลก สวย อลังการ ทั้งบริเวณวัด และตำนาน (เวลานั่งดูสะดือ 1 วัน)



สิ่งมหัศจรรย์หมายเลข 7

    มาหนองคาย..ได้ขึ้น “สวรรค์ชั้น 7” รึยัง…ถ้ายัง..ขอเสนอ “ภูทอก” หรือ “วัดเจติยาศิริวิหาร” วัดที่มีความสูง 460 เมตร กว้างวัดรอบได้ 800 เมตร ใช้เวลาสร้างบันไดนาน 5 ปี แห่งอำเภอศรีวิไล วัดที่อยู่บนภูเขาหลังตัดที่ สร้างบันไดไม้เวียนรอบหน้าผา 7 ชั้น แต่ละชั้นได้เห็นทิวทัศน์ที่แตกต่างกันไป แต่ได้ความหวาดเสียวไม่แพ้กัน เมื่อขึ้นถึงชั้นที่ 7 จะสามารถเห็นทิวทัศน์ที่เรียกได้ว่า... “พานอรามา” สวยงาม...โอ...สวรรค์ชัดๆ...(เวลาท่องสวรรค์ 1 วัน)


ด้วย 7 สิ่งมหัศจรรย์ดังกล่าว ส่งผลให้ “หนองคาย..เป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก”   และเพราะเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก...หนองคาย..จึงเป็นเมืองที่มีสิ่งมหรรศจรรย์..ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/157133
25615  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 11:24:34 am



    จังหวัดหนองคาย ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Moderm Maturity ว่าเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองติดอันดับสถานที่ดีที่สุดในโลก สำหรับผู้สูงอายุชาวอเมริกัน

    จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศ สปป.ลาว โดยห่างจากเมืองหลวงของ สปป.ลาว คือ กรุงเวียงจันทน์ เพียง 30 ก.ม. ซึ่งได้รับการจัดอันดับในลำดับที่ 7 จากเมืองที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด 15 แห่ง ที่แนะนำให้ผู้อ่านพิจารณาเป็นแหล่งพักผ่อนที่สองนอกจากบ้านตนเอง

    จากการสำรวจแหล่งพักผ่อนทั้งหมด 40 แห่ง โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 12 ตัว ได้แก่ลักษณะภูมิอากาศ, ค่าครองชีพ, วัฒนธรรม, สาธารณูปโภค,สถานที่พัก, ระบบการขนส่ง, การบริการด้านสาธารณสุข,สภาพแวดล้อม, กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ, ความปลอดภัย, ความมั่นคงทางการเมือง และเทคโนโลยี

สำหรับเมืองที่ได้รับการจัดอันดับ 10 เมืองแรก มีดังนี้ค่ะ

     1. เมืองคอสตาเดลโซล ประเทศสเปน
     2. เมืองแซงค์เทียร์ ประเทศอิตาลี
     3. เมืองโพรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
     4. เมืองบูแกต ประเทศปานามา
     5. เมืองวิเซนต์ เกรนาดีน
     6. เมืองเคาร์ตี้แคร์ ประเทศไอร์แลนด์
     7. จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
     8. เมืองครีท ประเทศกรีซ
     9. เมืองแอมแบร์กริส เคร์ ประเทสเบลิตซ์
     10. เมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย


การจัดอันดับข้างต้นถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในแมกกาซีน Moderm Maturityฉบับเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

    นายภราเดช พยัคฆ์วิเชียร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เห็นว่าการสำรวจของนิตยสารดังกล่าว นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงอย่างมาก ให้แก่จังหวัดหนองคายและประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะดำเนินการประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคายผ่านสำนักงานสาขาในต่างประเทศ และร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในจังหวัด เพื่อรักษาความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด และคงไว้ซึ่งการเป็นแหล่งพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับพลเมืองผู้สูงอายุ

    แมกกาซีน Moderm Maturity เป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์โดยสมาคมชาวอเมริกันผู้เกษียณอายุ อันเป็นสมาคมที่มิได้หวังผลกำไร แต่มุ่งเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่พลเมืองอเมริกัน อายุ 50 ปี ขึ้นไป


ที่มา http://www.esanclick.com/news.php?Category=ent&No=6774
25616  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 11:00:32 am



จังหวัดหนองคาย
มหาประตูสู่อินโดจีน ถิ่นวีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส
บั้งไฟพญานาคราช สะพานสองชาติ ไทย-ลาว ฝั่งโขงยาวที่สุดในสยาม วัฒนธรรมล้ำค่า

          คำขวัญประจำจังหวัด : วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
          ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกชิงชัน
          ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นชิงชัน (ประดู่ชิงชัน หรือ ดู่สะแดน)

หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย

ดอกชิงชัน

ต้นชิงชัน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดหนองคาย
ขอบคุณภาพจาก http://www.hotsia.com/,http://wiki.moohin.com/,http://tonkla.tht.in/
25617  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / VDO สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 3 นครพนม - คำม่วน เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2011, 09:10:41 pm

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 3 นครพนม - คำม่วน
25618  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไม่มีตัวตนแล้วที่ยืนอยู่นี้เป็นอะไร เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2011, 03:04:07 pm

ไม่มีตัวตนแล้วที่ยืนอยู่นี้เป็นอะไร โดยอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์



อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

     อ.สุจินต์ เชี่ยวชาญด้านอภิธรรม เป็นศิษย์ของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ผมเคยฟังคำบรรยายของท่านรู้สึกทึ่งในความสามารถ ท่านเชี่ยวชาญจริงๆ คำบรรยายของ อ.สุจินต์ อยู่ที่เว็บไซต์บ้านธัมมะ หรือ http://www.dhammahome.com/home.php

     เพื่อนๆครับ คำว่า"ไม่มีตัวตนแล้วที่ยืนอยู่นี้เป็นอะไร" เป็นคำถามที่น่าสนใจ ขอให้ทุกท่านช่วยกันแสดงความคิดเห็นตามบารมีธรรมของแต่ละคน เชิญตามอัธยาศัยเลยครับ

      :25:
25619  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บุคคลผู้ไม่ควรแก่ "การบรรลุมรรคผล" เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2011, 12:45:55 pm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในประเด็น เรื่อง ภัพพสัตว์ และ อภัพพสัตว์

     ภัพพสัตว์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น
     ส่วน อภัพพสัตว์ คือ เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น   
     ดังนั้นจากข้อความที่คุณหมอยกมาที่ว่า


     [๒๘] อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน?
     บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
     บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.


     บุคคลที่ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ ในชาตินั้นเพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องกั้น ธรรมที่เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล มี ดังนี้
     1. กรรม
     2. กิเลส
     3. วิบาก
     4. ไม่มีศรัทธา
     5. ไม่มีฉันทะ
     6. มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา



     กรรมเป็นเครื่องกั้น ต่อการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น เป็น อภัพพสัตว์ คือ การกระทำกรรม ทำอนันตริยกรรม 5 ประการ  มีการฆ่าบิดา มารดา เป็นต้น เพราะการทำอันนตริยกรรม อันเป็นกรรมที่กั้นการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น  แม้จะฟังมาก  อบรมปัญญาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลได้

     กิเสส คือ ความเป็นผุ้มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น มีความเห็นผิดที่มีกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนี้เองที่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ จึงเป็นอภัพพสัตว์ เพราะด้วยอำนาจกิเลส คือ ความเห็นผิดครับ

     วิบาก หมายถึง วิบาก คือ ปฏิสนธิจิต คือ การเกิด บุคคลทีเกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้นครับ

     ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์  ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะไมได้อบรม สะสมมาในอดีตชาติ จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงเป็นพวก อภัพพสัตว์ครับ

    ความเป็นผุ้ไม่มีฉันทะ หมายถึงไม่มีฉันทะ ความพอใจ ใคร่ที่จะฟังพระธรรม อบรมปัญญา ไม่มีฉันทะในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลายในอดีต จึงไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้

     ความเป็นผู้มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา เพราะไมได้สะสมปัญญามาในอดีต จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อไม่ได้สะสมปัญญามา ก็ย่อมทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จึงจัดเป็นพวกอภัพพสัตว์ครับ

     ส่วนสัตว์พวก ภัพพสัตว์ก็ตรงกันข้าม คือ สามารถบรรลุ มรรคผลได้ เพราะไม่มีธรรม 6 ประการตามที่กล่าวมาเป็นเครื่องกั้น เพราะไม่มีการทำอนันตริยกรรม ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่ง และเกิดด้วยวิบากที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยและกุศลธรรมทั้งหลาย  เป็นผู้มีฉันทะในการอบรมปัญญา และมีปัญญาที่สะสม ก็สามารถบรรลุธรรมได้เป็นภัพพสัตว์ครับ

     ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ อบรมเหตุคือการฟังพระธรรมต่อไป เมื่อสะสมเหตุไปเรื่อยๆก็สามารถถึงการบรรลุธรรม เป็นภัพพสัตว์ในอนาคตได้ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ



ที่มา ความเห็นของอาจารย์เผดิม จากเว็บไซต์บ้านธัมมะ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=19996
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://images.palungjit.com/


อ่านรายละเอียดเรื่องอภัพพสัตว์ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๑๒๑ - ๓๑๒๙. หน้าที่ ๑๒๗ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3121&Z=3129&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277
25620  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 'แม่คะนิ้ง'แรกของปี ยอดดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวแห่จองที่พัก70% เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 09:02:55 pm


'แม่คะนิ้ง'แรกของปี ยอดดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวแห่จองที่พัก70%

"แม่คะนิ้้ง" แรกของปีบนยอดดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ อุณหภูมิลดฮวบที่กิ่วแม่ปาน 1.5 องศาฯ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักท่องเที่ยวที่ไปชมทะเลหมอกอย่างคึกคัก...

เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 11 พ.ย. ที่ จ.เชียงใหม่ นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 06.00 น. ได้เกิดปรากฏการณ์แม่คะนิ้ง ขึ้นที่บริเวณยอดดอยอินทนนท์ ถือเป็นแม่คะนิ้งแรกของฤดูหนาวปี 2554 โดยพบตามพื้นหญ้าและใบไม้ ที่บริเวณเส้นทางศึกษากิ่วแม่ปาน ที่มีอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่ขึ้นไปในช่วงเช้าได้ชมทั้งทะเลหมอก และแม่คะนิ้ง



     สำหรับอากาศบนดอยอินทนนท์เริ่มเย็นลงตามลำดับ และคาดว่าจะหนาวมากกว่าทุกปี ที่บริการที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีอุณหภูมิ 8.5 องศา และในขณะนี้มีนักท่องเที่ยวจองที่พักเข้ามาแล้วกว่า 70%  แต่ในช่วงฤดูการท่องเที่ยวทางอุทยานฯ ได้เตรียมที่รองรับนักท่องเที่ยวที่ชอบกางเต็นท์นอนไว้จำนวนมาก จึงขอเชิญชวนขึ้นมาสัมผัสอากาศที่หนาวเย็นและชมความงดงามของดอยอินทนนท์ และขอให้ตรวจสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และขอให้ปฏิบัติตามกฎของอุทยานฯอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะของมึนเมาห้ามนำขึ้นมาอย่างเด็ดขาด


    สำหรับในตัวเมืองเชียงใหม่ อุณหภูมิในตอนเช้าวันนี้ วัดได้ 17 องศาฯ กำลังหนาวเย็นสบาย ทางด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้พยากรณ์อากาศในเช้าวันที่ 11 พ.ย. ว่าบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบนแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า.



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thairath.co.th/content/region/215940
25621  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 08:41:18 pm

พระแก้วมรกตที่วัดพระแก้ว
เครื่องทรงฤดูร้อน / เครื่องทรงฤดูฝน / เครื่องทรงฤดูหนาว ( ตามลำดับจากซ้ายไปขวา )

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.7wondersthailand.com/showdetail.asp?boardid=1038
25622  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คู่รักจีนแห่แต่งงานวันเลขมงคล 11/11/11 ล้นหลาม เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 08:35:32 pm


คู่รักชาวจีนพากันไปจดทะเบียนสมรสในวันนี้ เพราะเชื่อว่าวันที่ 11/11/11 เป็นวันมงคลที่สุดในรอบศตวรรษ

ชาวจีนหลายคนถือว่าวันที่ 11 พฤศจิกายนเป็นวันคนโสดมาตั้งแต่หลังคริสต์ทศวรรษปี 1990 เพราะมีเลข 1 ซึ่งหมายถึงการเป็นโสด และถือเป็นวันดีที่จะแต่งงาน และทิ้งชีวิตโสดไว้เบื้องหลัง

แต่ปีนี้มีความพิเศษมากกว่าทุกปี เนื่องจากเลขปี ค.ศ.ลงท้ายด้วย 11 รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงเช้าวันนี้ ที่สำนักงานเขตนครเซี่ยงไฮ้ มีคู่รักไปจดทะเบียนสมรสมากกว่า 200 คู่ในเช้าวันนี้ บางคู่ไปรอตั้งแต่หลายชั่วโมงตั้งแต่ประตูสำนักงานยังไม่เปิด เพื่อให้ตนเองได้รับทะเบียนสมรสที่เป็นเลขมงคล



ว่าที่เจ้าสาววัย 26 ปีรายหนึ่งกล่าวว่า เดิมที่เดียวเธอวางแผนที่จะจัดพิธีสมรสขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แต่เธอเลื่อนขึ้นมาจัดในวันนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นวันพิเศษ และไม่อยากพลาดโอกาส"วันแห่งคนโสด"ครั้งพิเศษ ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิต


ข้าราชการในนครเซี่ยงไฮ้คนหนึ่งเผยว่า เฉพาะในเซี่ยงไฮ้ มีคู่รักจองจดทะเบียนสมรสในวันนี้มากกว่า 3,300 คู่ และคาดว่าตัวเลขทั้งวันจะสูงกว่านี้ เพราะหลายคู่มาโดยไม่ได้จองล่วงหน้า ส่วนที่เมืองนานจิง ทางตะวันออกของประเทศก็มีคู่รักเตรียมจัดพิธีสมรสไม่ต่ำกว่า 3,000 คู่ มากกว่าวันธรรมดาถึง 10 เท่า ขณะที่ที่เมืองหางโจวมีกว่า 1,300 คู่


ทั้งนี้ สื่อของจีนได้ใช้โอกาสสำคัญครั้งนี้ในการตรวจสอบปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ผู้หญิงถูกทิ้ง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่อยู่ในวัย 30 ปีหรือมากกว่า ที่ยังไม่มีคู่รัก หรือไม่ปรารถนาที่จะแต่งงาน ขณะที่การศึกษาที่สูงขึ้น รายได้ที่มากขึ้น และโอกาสในการแข่งขันในตลาดแรงงานสำหรับผู้หญิงที่เปิดกว้างมากขึ้น อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สตรีแต่งงานช้าลง หรือหันมาพึ่งพาตนเองมากขึ้นแทนที่จะคอยพึ่งพาฝ่ายชายแต่เพียงฝ่ายเดียว



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321002905&grpid=03&catid=&subcatid=
25623  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนกรุงแห่จดทะเบียนสมรส ฤกษ์ดี 11-11-11 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 08:27:01 pm


คนกรุงแห่จดทะเบียนสมรส ฤกษ์ดี 11-11-11

      วันที่ 11 พ.ย. ที่ศาลาว่าการกทม. นายศุภพงษ์ กฤษณพันธุ์  ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า เนื่องจากในวันนี้เป็นวันที่ 11 เดือน 11(พ.ย.) ปี 2011 ซึ่งถือเป็นวันพิเศษ ที่เป็นตัวเลข 11 ทั้งวันเดือนและปี

      ทำให้มีประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯถือเป็นฤกษ์ดี และมีการเข้าจดทะเบียนสมรสในสำนักงานเขตพิ้นที่กรุงเทพฯเป็นจำนวนมาก โดยในวันนี้(11พ.ย.)มีประชาชนเข้าจดทะเบียนสมรส ทั้งสิ้น 517 คู่   ซึ่งสำนักงานเขตที่คนนิยมมาจดทะเบียนมากที่สุดก็คือเขตที่มีชื่อดีและเป็นมงคล

    อันดับ 1 ได้แก่ เขตบางรัก จำนวน 110 คู่
    อันดับ 2.เขตบางซื่อจำนวน  38 คู่ และ
    อันดับ 3 เขตวังทองหลาง จำนวน 25 คู่


     ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีการจดทะเบียนนั้นมีทั้งสิ้น  9 เขต  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมได้แก่ เขตตลิ่งชัน เขตภาษีเจริญ  เขตหนองแขม เขตบางพลัด เขตดอนเมือง เขตบางแค เขตทวีวัฒนา เขตคลองสามวา และเขตหลักสี่


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1UQXhORFl6TlE9PQ==&sectionid=
25624  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 08:17:18 pm
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

วันนี้ ( 11 พ.ย.) เวลา 13.57 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์  พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว  ณ  พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   ในพระบรมมหาราชวัง





ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=553&contentID=175515
25625  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระเทพฯ ทรงเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๓ นครพนม-คำม่วน เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 08:03:25 pm

พระเทพฯ ทรงเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3

เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่จ.นครพนม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) โดยเมื่อเสด็จไปถึงทรงตัดแถบแพรเปิดอาคารที่ทำการด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 และเปิดนิทรรศการเชื่อมสัมพันธ์สองแผ่นดิน พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และข้าราชการเฝ้ารับเสด็จ

 จากนั้นเสด็จจากห้องรับรองอาคารไปยังพลับพลาพิธี กลางสะพานมิตรภาพ 3 นายกรัฐมนตรี และพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม รวมถึงเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต เฝ้าฯรับเสด็จ

เมื่อเสด็จเข้าภายในพลับพลาพิธี ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ ฯพณฯท่านบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อนประทับพระอาสน์ พร้อมรองประธานประเทศฯ นายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กราบบังคมทูลรายงาน

เวลา 11.11 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) พร้อมกับรองประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พระสงฆ์ไทย-ลาว ฝ่ายละ 11 รูป เจริญชัยมงคลคาถา

ก่อนเสด็จไปยังบริเวณหน้าป้ายสะพาน ฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับรองประธานประเทศฯและคณะ จากนั้นเสด็จต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทรงเป็นประธานพิธีมอบอาคารด่านพรมแดน ณ ด่านพรมแดน แขวงคำม่วน สปป.ลาว


 สำหรับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย (นครพนม) กับประเทศลาว (คำม่วน) ฝั่งไทยตั้งอยู่ที่บ้านห้อม หมู่ 1 ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน

ใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยจำนวน 1,723 ล้านบาท ความยาวรวม 1,423 เมตร ความกว้าง 13 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย สาย AH 15 เป็นประตูสู่อินโดจีนด้านการคมนาคม ขนส่งการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากไทย-ลาว-เวียดนามและภาคใต้ของจีน
 
ทั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานแห่งนี้ เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2552





ขอบคุณข้อมูล http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1UQXdPVGN4TUE9PQ==&sectionid=
ขอบคุณภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/royal/215848}http://www.nakhonphanom.co/
25626  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 12:08:12 pm


อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ

คำว่า"ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป
"Let it go and get it out!"


ก่อนมันจะเกิดต้อง "Let it go"
ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้

ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้
พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจต้อง Get it out!
ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ
มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอด
ทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว


เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร
ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ
เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส
เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส


ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่
ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว
ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์
เป็นสุขสบายอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ "Enjoy living"
มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน
จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย
เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น



ที่มา :  โดย ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://variety.teenee.com/saladharm/17124.html
ขอบคุณภาพจาก http://images.rakdhamma.multiply.com/,http://www.watpanamjone.org/
25627  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ภูมิปัญญาสร้างบ้านของไทย เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 10:56:19 am


ภูมิปัญญาสร้างบ้านของไทย เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา

พระอาจารย์ กล่าวว่า "ภูมิปัญญาโบราณที่สั่งสมมานั้น ทำให้การกินการอยู่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา พอมารุ่นใหม่นี่เห่อบ้านตามแบบฝรั่ง ปลูกบ้านติดพื้นดิน ที่ฝรั่งเขาปลูกบ้านติดดินแล้วอับทึบมาก เพราะว่าหน้าหนาวเขาจะได้เอาไว้หลบความหนาว และหลังคาจะได้ไม่รับน้ำหนักหิมะมากจนถล่มลงมา

แต่คนไทยเราไปเห็นดีเห็นงามสร้างตามแบบเขา พอขาดเครื่องปรับอากาศก็อยู่ไม่ได้ เมื่อฝนมา น้ำท่วม ก็ไม่มีที่ให้หลบ เพราะบางทีหลังคาก็ไม่เหลือ

โบราณสร้างบ้านใต้ถุนสูง มีเรือขึ้นคานรอไว้ หน้าน้ำก็ยาเรือเอาลง ปล่อยให้น้ำท่วมข้างล่างแล้วก็อยู่ชั้นบนตามปกติ พอหน้าแล้งเอาเรือขึ้นคาน ชั้นล่างก็เอาไว้ทำงานทำการสารพัด ดังนั้น..ถ้าใครสร้างบ้านก็เอาแบบโบราณนะ บ้านใต้ถุนสูงจะปลอดภัยและเหมาะกับบ้านเรามากกว่า

คุณหมอประสิทธิ์ สร้างบ้านหมดเงินไป ๗๐ ล้านบาท พอไปเจออาคารเรือนไม้ที่ เกาะพระฤๅษี คุณหมออยากได้มาก ถามว่าราคาเท่าไร อาตมาบอกว่าต่อเติมมา ๒ ครั้งแล้ว อยู่ในงบประมาณ ๒.๔ ล้านบาท คุณหมอคงกลับไปตีอกชกหัวตัวเอง ๒.๔ ล้านบาท กับ ๗๐ ล้านบาทนี่ต่างกันมหาศาล เพราะบ้านที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างเขาคิดราคามักจะสูงเกินจริงไปเยอะ

ภูมิปัญญาโบราณเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า อย่างช่วงนี้อากาศเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีแกงส้มดอกแค กินแก้ไข้หัวลม ยิ่งถ้าซดร้อนๆ เหงื่อแตกเลยยิ่งดี จะได้เป็นสิวน้อยลงด้วย"

"ฝรั่งเข้ามาทำวิจัยอาหารไทย ว่าประกอบไปด้วยเครื่องสมุนไพรรักษาได้สารพัดโรค แต่ปรากฏว่าคนไทยไปเห่อเคเอฟซี เห่อแฮมเบอร์เกอร์ เป็นอะไรที่กลับข้างกันมาก ถามคนไปเมืองฝรั่งเถอะ อาหารบ้านเขาอร่อยสู้บ้านเราไม่ได้ จะซื้ออาหารไทยที่นั่นก็ยิ่งแย่ใหญ่ เพราะราคาแพงมาก

ตอนนี้ฝรั่งเขาบอกว่า มัสมั่นไทยอร่อยที่สุดในโลก ต้นตำรับมาจาก อินเดีย ไม่รู้ว่าจำได้หรือเปล่า ? เพราะบ้านเราพอของต่างชาติเข้ามาแล้ว มักจะนำมาดัดแปลงให้เข้ากับลิ้นคนไทย



เรากินอาหารจีนในบ้านเราว่าอร่อย ลองไป ฮ่องกง หรือไม่ก็ จีน ดูสิ ไปสั่งอาหารจีนบ้านเขาดูว่าจะกินลงไหม ? กินไม่ลงหรอก เพราะมีแต่มันๆ เลี่ยนๆ ในไทยเราเอามาปรับให้เข้ากับลิ้นของเรา ก็แปลว่าอร่อยที่บ้านเราไม่ได้แปลว่าจะอร่อยที่บ้านเขา

อาหารหลายต่อหลายอย่างบ้านเราดัดแปลงจนต้นตำรับเขาจำไม่ได้ พวกทองหยิบ ฝอยทองอะไรพวกนั้น คุณหญิงกีมาร์ (Marie Guimar de Pinha) ฟื้นขึ้นมาใหม่ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะจำหน้าตาได้หรือเปล่าว่าสอนลูกหลานไทยเอาไว้เอง

คุณหญิงกีมาร์เป็นโปรตุเกส แต่งงานกับ ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ที่เป็นกรีก ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเมืองไทย แล้วรับราชการสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นออกญาหรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ภรรยาเป็นคุณท้าว คราวนี้ท่านชื่อกีมาร์ คนไทยเลยเรียกว่า "ท้าวทองกีบม้า"

"อาตมาเห็นคนไทยสมัยก่อนอ่านหนังสือแล้วกลุ้มใจ เขาอ่านตามสบายใจฉัน อย่างเช่น "แฮรี่ เบอร์นี่" คนไทยอ่านเป็น “หันแตร บารนี” ชื่อเป็นไทยมาก "เซอร์ เจมส์ บรู๊ก" คนไทยอ่านเป็น “เย สัปบุรุษ” เขาเปลี่ยนเป็นชื่อไทยได้หมด

"หมอบรัดเลย์" กลายเป็น “ปลัดเล” สถานีเขาเรียก “กะเตชั่น” แบ็ดมินตันเขาเรียก “ปั๊กกะตั้น” "เทเลกราฟ" (โทรเลข) เขาเรียกเป็น “ตะแล็บแก๊บ”



ธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ก็คือ สยามกัมมาจล ก่อนหน้านั้นเขากลัวว่าการตั้งธนาคารจะทำให้เป็นที่เพ่งเล็งของต่างชาติ เขาก็เลยตั้งเป็น "บุคคลัภย์" มาจากคำว่า Book Club เขาสามารถแปลงให้กลายเป็นภาษาไทยได้

สังเกตไหมว่าเด็กรุ่นใหม่ออกเสียง “จ” ไม่ได้ ออกเสียงเป็นตัว J หมด ปกติ จ.จานไม่ต้องห่อลิ้นนะ แต่สมัยนี้ออกเสียง จ.จาน แบบห่อลิ้น แก้ไขไม่ได้ด้วย เพราะเสียมาหลายรุ่นแล้ว

นอกจากนี้ เรายังไปออกเสียง “ญ” กับ “ย” เป็นเสียงเดียวกัน ออกเสียง “น” กับ “ณ” เป็นเสียงเดียวกัน ซึ่งแท้จริงเขาแยกเสียงได้ “น” เขาออกเสียงขึ้นจมูก ถ้า “ณ” ถึงจะออกเสียงปกติ

ลองไปฟังเพลงสาวเชียงใหม่ของ สุนทรี เวชานนท์ ดูสิ เขาออกเสียง ย. ยักษ์ชัดมากเลย “เยือกเย็นสดใสเหมือนน้ำแม่ปิง” นั่นแหละเสียง “ย” แท้"


สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๔


ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...?t=2938&page=3
ขอบคุณภาพจาก http://www.bannsongthai.com/,http://etatjournal.files.wordpress.com/,http://www.tripsthailand.com/
25628  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสมาธิ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 10:34:29 am


นี้เป็นตัวอย่างการใช้ประโยชน์ต่างๆ จากการฝึกอบรมสมาธิ

   แบบที่ ๑ ได้แก่การเจริญรูปฌาณ ๔ ซึ่งเป็นวิธีเสวยความสุขแบบหนึ่ง ตามหลักที่แบ่งความสุขเป็น ๑๐ ขั้น ประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ กามสุข สุขในรูปฌาน ๔ ขั้น สุขในอรูปฌาน ๔ ขั้น และสุขในนิโรธสมาบัติ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ส่วนมากนิยมเจริญฌาน ๔ นี้ ในโอกาสว่าง เพื่อพักผ่อนอย่างสุขสบาย เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร
   แบบที่ ๒ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงการได้ทิพยจักษุ จึงเป็นตัวอย่างการนำสมาธิไปใช้ เพื่อผลทางความสามารถพิเศษประเภทปาฏิหาริย์ต่างๆ
   แบบที่ ๓ มีความหมายชัดอยู่แล้ว
   แบบที่ ๔ คือการใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ทางปัญญา หรือเป็นบาทฐานของวิปัสสนาโดยตรง เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นสิ้นอาสวะ


   ความเข้าใจในเรื่องประโยชน์หรือความมุ่งหมายในการเจริญสมาธินี้ จะช่วยป้องกันและกำจัดความเข้าใจผิดพลาด เกี่ยวกับเรื่องสมาธิ และชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้เป็นอันมาก เช่น ความเข้าใจผิดว่าการบำเพ็ญสมาธิเป็นเรื่องของการถอนตัวไม่เอาใจใส่ในกิจการของสังคม หรือว่าชีวิตพระสงฆ์เป็นชีวิตที่ปลีกตัวโดยสิ้นเชิง ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

   ข้อพิจารณาต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดความเข้าใจผิดที่กล่าวแล้วนั้น
   - สมาธิ เป็นวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย ไม่ใช่ตัวจุดหมาย ผู้เริ่มปฏิบัติอาจต้องปลีกตัวออกไป มีความเกี่ยวข้องกับสังคมน้อยเป็นพิเศษ เพื่อการปฏิบัติฝึกอบรมช่วงพิเศษระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงออกมามีบทบาททางสังคมตามความเหมาะสมของตนต่อไป
   อีกประการหนึ่ง การเจริญสมาธิโดยทั่วไป ก็มิใช่จะต้องมานั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน และวิธีปฏิบัติก็มีมากมาย เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับจริยา เป็นต้น

   - การดำเนินปฏิปทาของพระสงฆ์ ขึ้นต่อความถนัด ความเหมาะสมของลักษณะนิสัย และความพอใจส่วนตนด้วย บางรูปอาจพอใจและเหมาะสมที่จะอยู่ป่า บางรูปถึงอยากไปอยู่ป่า ก็หาสมควรไม่ มีตัว
อย่างที่พระพุทธจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุบางรูปไปปฏิบัติธรรมในป่า  และแม้ภิกษุที่อยู่ป่า ในทางพระวินัยของสงฆ์ก็หาได้อนุญาตให้ตัดขาดจากความรับผิดชอบทางสังคมโดยสิ้นเชิงอย่างฤาษีชีไพรไม่


        - ประโยชน์ของสมาธิและฌานที่ต้องการในพุทธธรรม ก็คือภาวะจิตที่เรียกว่า “นุ่มนวล ควรแก่งาน” ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาต่อไปดังกล่าวแล้ว ส่วนการใช้สมาธิและฌานเพื่อประโยชน์อื่นจากนี้ ถือเป็นผลได้พิเศษ และบางกรณีกลายเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน ตัวอย่างเช่น ผู้ใดบำเพ็ญสมาธิเพื่อต้องการอิทธิปาฏิหาริย์ ผู้นั้นชื่อว่าตั้งความดำริผิดอิทธิปาฏิหาริย์นั้นอาจก่อให้เกิดผลร้ายได้มากมาย เสื่อมได้ และไม่ทำให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้เลย 

   ส่วนผู้ใดปฏิบัติเพื่อจุดหมายทางปัญญา ผ่านทางวิธีสมาธิ และได้อิทธิปาฏิหาริย์ด้วย ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษที่พลอยได้ไป
      - อย่างไรก็ดี แม้ในกรณีปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายที่ถูกต้อง แต่ตราบใดยังไม่บรรลุจุดหมาย การได้อิทธิปาฏิหาริย์ย่อมเป็นอันตรายได้เสมอ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความหลงเพลิน และความติดหมกมุ่น ทั้งแก่ตนและคนอื่น เป็นปลิโพธอย่างหนึ่ง และอาจเป็นเหตุพอกพูนกิเลสจนถ่วงให้ดำเนินต่อไปไม่ได้ หรือถึงกับไถลออกจากทางพระพุทธเจ้า แม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย แต่ไม่ทรงสนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์ เพราะไม่ใช่วิถีแห่งปัญญาและความหลุดพ้นเป็นอิสระ



        ตามพุทธประวัติจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในกรณีที่ต้องกำราบผู้ลำพองในฤทธิ์ ให้หมดพยศ แล้วสงบลง และพร้อมที่จะรับฟังธรรม

     - สำหรับท่านผู้ฝึกอบรมก้าวหน้าไปในมรรคแล้ว หรือสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้ว มักนิยมใช้การเจริญสมาธิขั้นฌาน เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างเป็นสุขในโอกาสว่าง เช่น พระพุทธองค์เอง แม้จะเสด็จจาริกสั่งสอนประชาชนเป็นอันมาก เกี่ยวข้องกับคนทุกชั้นวรรณะ และทรงปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่

     แต่ก็ทรงมีพระคุณสมบัติอย่างหนึ่ง คือ ฌานสี หมายความว่า ทรงนิยมฌาน ทรงพอพระทัยเจริญฌานเป็นที่พักผ่อนในโอกาสว่าง เช่นเดียวกับพระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง ๓ เดือน  เพื่อเจริญสมาธิ ก็เคยมี

     - การนิยมหาความสุขจากฌาน หรือเสวยสุขในสมาธิ บุคคลใดจะทำแค่ไหนเพียงใด ย่อมเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล แต่สำหรับผู้ยังปฏิบัติ ยังไม่บรรลุจุดหมาย หากติดชอบเพลินมากไป อาจกลายเป็นความประมาท ที่กีดกั้นหรือทำลายความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และอาจเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้ ถึงแม้จะเป็นความติดหมกมุ่นในขั้นประณีตก็ตาม

     อีกทั้งระบบชีวิตของภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ว่าตามหลักบทบัญญัติในทางวินัย ย่อมถือเอาความรับผิดชอบต่อสงฆ์ คือ ส่วนรวมเป็นหลักสำคัญ ความเจริญรุ่งเรืองก็ดี ความเสื่อมโทรมก็ดี ความตั้งอยู่ได้และไม่ได้ก็ดี ของสังฆะ ย่อมขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อส่วนรวมนั้น เป็นข้อสำคัญประการหนึ่ง ดังจะเห็นได้ในภาคว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทาในแง่ประยุกต์ต่อไป


               
อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://images.palungjit.com/,http://talk.mthai.com/
25629  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสมาธิ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 10:25:45 am


ขอบเขตความสำคัญของสมาธิ

ก)   ประโยชน์ที่แท้ และผลจำกัดของสมาธิ
สมาธิเป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุตติ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม ขอบเขตความสำคัญนี้ อาจสรุปดังนี้


   ๑. ประโยชน์แท้ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น อยู่ที่ทำให้จิตเหมาะแก่งาน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลดีที่สุด และสมาธิที่ใช้เพื่อการนี้ก็ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นสูงสุด
   ในทางตรงข้าม ลำพังสมาธิอย่างเดียว แม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด หากไม่ก้าวไปสู่ขั้นการใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้เป็นอันขาด

   ๒.ฌานต่างๆ ทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียว ก็ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดหมายของพุทธธรรมหาได้ไม่

   ๓.หลุดพ้นได้ชั่วคราว กล่าวคือ ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆ สงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน ท่านจึงเรียกความหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกิยวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) และกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบ คือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)  และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)


   จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า
   - ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้าย จะต้องเป็น ปัญญา และ
   - ปัญญาที่ใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า “วิปัสสนา”
ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ ส่วนสมาธิ แม้จะจำเป็น แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้ เริ่มแต่ขั้นต้นๆ  เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ  (ท่านแสดงไว้ในระดับเดียวกับ ขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ ดู หน้า ๓๓๑)


ข) สมถะ-วิปัสสนา
   โดยนัยนี้ วิถีแห่งการเข้าถึงจุดหมายแห่งพุทธธรรมนั้น แม้จะมีสาระสำคัญว่า ต้องประกอบพร้อมด้วยองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อเหมือนกัน แต่ก็อาจแยกได้โดยวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาธิ เหมือนเป็น ๒ วิถี หรือวิธี คือ

   ๑.วิธีการที่มุ่งเฉพาะด้านปัญญา คือการปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้บ้างแล้วในเรื่องสัมมาสติ เป็นวิธีปฏิบัติที่สติมีบทบาทสำคัญ คือ ใช้สมาธิแต่เพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติ หรือใช้สมาธิเป็นเพียงตัวช่วย แต่ใช้สติเป็นหลักสำคัญ สำหรับยึดจับหรือมัดสิ่งที่ต้องการกำหนดไว้ ให้ปัญญาตรวจพิจารณา นี้คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนา

   แท้จริงนั้น ในการปฏิบัติวิธีที่ ๑ นี้ สมถะก็มีอยู่ คือการใช้สมาธิขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นแก่การทำงานของปัญญาที่เป็นวิปัสสนา แต่เพราะการฝึกตามวิธีของสมถะไม่ปรากฏเด่นออกมา เมื่อพูดอย่างเทียบกันกับวิธีที่ ๒ จึงเรียกการปฏิบัติในวิธีที่ ๑ นี้ว่าเป็นแบบ วิปัสสนาล้วน


   ๒.วิธีการที่เน้นการใช้สมาธิ เป็นวิธีปฏิบัติที่สมาธิมีบทบาทสำคัญ คือบำเพ็ญสมาธิให้จิตสงบแน่วแน่ จนเข้าถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน หรือสมาบัติ ขั้นต่างๆ เสียก่อน ทำให้จิตดื่มด่ำแน่นแฟ้นอยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้นๆ จนมีความพร้อมอยู่โดยตัวของมันเอง ที่จะใช้ปฏิบัติการต่างๆ อย่างที่เรียกว่าจิตนุ่มนวล ควรแก่การงาน โน้มไปใช้ในกิจที่ประสงค์อย่างได้ผลดีที่สุด

   ในสภาพจิตเช่นนี้ กิเลสอาสวะต่างๆ ซึ่งตามปรกติฟุ้งขึ้นรบกวนและบีบคั้นบังคับจิตใจพล่านอยู่ ก็ถูกควบคุมให้สงบนิ่งอยู่ในเขตจำกัด เหมือนผงธุลีที่ตกตะกอนในเวลาน้ำนิ่ง และมองเห็นได้ชัดเพราะน้ำใส เหมาะสมอย่างยิ่งแก่การที่จะก้าวต่อไป สู่ขั้นใช้ปัญญาจัดการกำจัดตะกอนเหล่านั้นให้หมดไปโดยสิ้นเชิง การปฏิบัติในชั้นนี้ทั้งหมดเรียกว่าเป็น สมถะ

   ถ้าไม่หยุดเพียงนี้ ก็จะก้าวต่อไปสู่ขั้นใช้ปัญญากำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นเชิง คือ ขั้นวิปัสสนา คล้ายกับในวิธีที่ ๑ แต่กล่าวตามหลักการว่า ทำได้ง่ายขึ้นเพราะจิตพร้อมอยู่แล้ว การปฏิบัติอย่างนี้ คือ วิธีที่เรียกว่าใช้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา



ค) เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ; ปัญญาวิมุต-อุภโตภาควิมุต
   ผลสำเร็จของการปฏิบัติตามวิถีที่ ๑ เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้น (เป็นอิสระสิ้นอาสวะ) ด้วยปัญญา เมื่อปัญญาวิมุตติเกิดขึ้น สมาธิขั้นเบื้องต้นที่ใช้เป็นฐานของการปฏิบัติมาแต่เริ่มแรก ก็จะมั่นคงและบริสุทธิ์สมบูรณ์เข้าควบคู่กับปัญญา กลายเป็น เจโตวิมุตติ แต่เจโตวิมุตติในกรณีนี้ไม่โดดเด่น เพราะเป็นเพียงสมาธิขั้นต้นเท่าที่จำเป็น ซึ่งพ่วงมาด้วยแต่ต้น แล้วพลอยถึงจุดสิ้นสุดบริบูรณ์ไปด้วยเพราะปัญญาวิมุตตินั้น

   ผลสำเร็จของการปฏิบัติตามวิถีที่ ๒ แบ่งได้เป็น ๒ ตอน
   ตอนแรก ที่เป็นผลสำเร็จของสมถะ เรียกว่า เจโตวิมุตติ คือ ความหลุดพ้น (เป็นอิสระพ้นอำนาจกิเลส-ชั่วคราว-เพราะคุมไว้ได้ด้วยกำลังสมาธิ) ของจิต และ
   ตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ เหมือนอย่างวิถีแรก  เมื่อถึงปัญญาวิมุตติแล้ว เจโตวิมุตติที่ได้มาก่อนซึ่งเสื่อมถอยได้ ก็จะพลอยมั่นคงสมบูรณ์กลายเป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กลับกลายอีกต่อไป


   เมื่อแยกโดยบุคคลผู้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติตามวิถีทั้งสองนี้
   ๑. ผู้ได้รับผลสำเร็จตามวิถีแรก ซึ่งมีปัญญาวิมุตติเด่นชัดออกหน้าอยู่อย่างเดียว เรียกว่า “ปัญญาวิมุต” คือผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา
   ๒. ส่วนผู้ได้รับผลสำเร็จตามวิถีที่ ๒ เรียกว่า “อุภโตภาควิมุต” คือผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน (ทั้งด้วยสมาบัติและอริยมรรค)


   ข้อที่ควรทราบเพิ่มเติมและเน้นไว้เกี่ยวกับวิถีที่สอง คือ วิถีที่ใช้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ซึ่งผู้ปฏิบัติได้ผลสำเร็จเป็นอุภโตภาควิมุตนั้น มีว่า

   ๑. ผู้ปฏิบัติตามวิถีนี้ อาจประสบผลได้พิเศษในระหว่าง คือความสามารถต่างๆ ที่เกิดจากฌานสมาบัติด้วย โดยเฉพาะที่เรียกว่า อภิญญา ซึ่งมี ๖ อย่าง  คือ
   ๑)อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้- magical powers)
   ๒)ทิพพโสต (หูทิพย์- clairaudience หรือ divine ear)
   ๓)เจโตปริยญาณ (กำหนดใจหรือความคิดผู้อื่นได้- telepathy หรือ mind-reading)
   ๔)ทิพพจักขุ หรือ จุตูปปาตญาณ (ตาทิพย์ หรือ รู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามกรรมของตน- divine eye หรือ clairvoyance หรือ knowledge of the decease and rebirth of beings)
   ๕)ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การระลึกชาติได้- reminiscence of previous lives)
   ๖)อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ- knowledge of the extinction of all cankers)


   จะต้องทราบว่า ความรู้ความสามารถพิเศษ ที่เป็นผลได้ในระหว่าง ซึ่งท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต(อาจจะ)สำเร็จนั้น หมายถึงอภิญญา ๕ ข้อแรก อันเป็นอภิญญาขั้นโลกีย์ (โลกิยอภิญญา)

   ส่วนอภิญญา ข้อที่ ๖ คือ อาสวักขยญาณ ข้อเดียว ซึ่งเป็นโลกุตตร- อภิญญา เป็นผลสำเร็จสุดท้ายที่เป็นจุดหมาย ทั้งของพระปัญญาวิมุต และพระอุภโตภาควิมุต อันให้สำเร็จความเป็นพุทธะ และเป็นพระอรหันต์

   ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติไม่ว่าวิถีแรก หรือวิถีที่ ๒ คือ ไม่ว่าจะเป็นปัญญาวิมุต หรืออุภโตภาควิมุต  ก็ต้องได้บรรลุอภิญญา ข้อที่ ๖ ที่เป็นโลกุตตระ คือ อาสวักขยญาณ

   แต่ท่านผู้อุภโตภาควิมุต อาจจะได้อภิญญาขั้นโลกีย์ ๕ ข้อแรกด้วย
   ส่วนท่านผู้ปัญญาวิมุต (วิถีแรก) จะได้เพียงอภิญญา ข้อที่ ๖ คือความสิ้นอาสวะอย่างเดียว ไม่ได้โลกิยอภิญญา ๕ ที่เป็นผลสำเร็จพิเศษอันเกิดจากฌาน
   โลกิยอภิญญา ๕ นั้น ฤาษีโยคีก่อนพุทธกาลได้กันมาแล้วมากมาย
   ความเป็นพุทธะ ความเป็นพระอรหันต์ ความเป็นผู้ประเสริฐ อยู่ที่ความสิ้นอาสวกิเลสด้วยอาสวักขยญาณ ซึ่งทั้งพระปัญญาวิมุต และพระอุภโต-ภาควิมุต มีเสมอเท่ากัน


   ๒. ผู้ปฏิบัติตามวิถีที่ ๒ จะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๒ ขั้นของกระบวนการปฏิบัติ
   การปฏิบัติตามวิถีของสมถะอย่างเดียว แม้จะได้ฌาน ได้สมาบัติขั้นใดก็ตาม ตลอดจนสำเร็จอภิญญาขั้นโลกีย์ทั้ง ๕ ตาทิพย์ หูทิพย์ อ่านใจผู้อื่นได้ มีฤทธิ์ต่างๆ ก็เป็นได้แค่ฤาษีโยคีก่อนพุทธกาล ที่พระโพธิสัตว์เห็นว่ามิใช่ทางแล้ว จึงเสด็จปลีกออกมา


   ถ้าไม่ก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นวิปัสสนา หรือควบคู่ไปกับวิปัสสนาด้วยแล้ว จะไม่สามารถเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมเป็นอันขาดการใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ต่างๆ
   การฝึกอบรมเจริญสมาธินั้น ย่อมมีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ต่างๆ กัน ขอให้พิจารณาตัวอย่างการใช้ประโยชน์ ดังนี้

   “ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี ๔ อย่าง ดังนี้ คือ
   ๑.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรม-สุขวิหาร (การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
   ๒.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
   ๓.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
   ๔.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”



อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://j5.tagstat.com/,http://2.bp.blogspot.com/
25630  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สัมมาสมาธิ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 10:02:02 am

๘.  สัมมาสมาธิ

   สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติ ที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน เป็นจุดบรรจบ หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ
   ในการบรรยายเรื่องนี้ เห็นว่า ถ้าจะแสดงเนื้อหาไปตามลำดับอย่างในองค์มรรคข้อก่อนๆ จะทำให้เข้าใจยาก จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีสรุปข้อควรทราบ ให้เห็นใจความไว้ก่อน แล้วจึงแสดงเนื้อหาต่อภายหลัง



ความหมาย และระดับของสมาธิ
   “สมาธิ” แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ “จิตตัสเสกัคคตา”  หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เอกัคคตา” ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป

   สมาธิ นั้น แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ
   ๑. ขณิกสมาธิ    สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่กิจการงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ได้ผลดี
   ๒. อุปจารสมาธิ    สมาธิเฉียดๆ  หรือจวนจะแน่วแน่  (neighborhood concentration)
   ๓. อัปปนาสมาธิ  สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท  (attainment concentration) สมาธิในขั้นฌาน เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ


   “สัมมาสมาธิ” ตามคำจำกัดความในพระสูตรต่างๆ เจาะจงว่าได้แก่ ฌาน ๔  อย่างไรก็ดี คำจำกัดความนี้ ถือได้ว่าเป็นการให้ความหมายโดยยกหลักใหญ่เต็มรูปขึ้นมาตั้งเป็นแบบไว้ ให้รู้ว่าการปฏิบัติสมาธิที่ถูก จะต้องดำเนินไปในแนวนี้ ดังที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ (ท่านลำดับไว้ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิ)


ผลสำเร็จในระดับต่างๆ ของการเจริญสมาธิ
   การเจริญสมาธินั้น จะประณีตขึ้นไปเป็นขั้นๆ โดยลำดับ ภาวะจิต ที่มีสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว  เรียกว่า “ฌาน” (absorption) ฌานมีหลายขั้น ยิ่งเป็นขั้นสูงขึ้นไป องค์ธรรมต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่
ประกอบอยู่กับสมาธิ ก็ยิ่งลดน้อยลงไป
   ฌาน  โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับใหญ่ๆ และแบ่งย่อยออกไปอีก ระดับละ ๔ รวมเป็น ๘ อย่าง เรียกว่าฌาน ๘ หรือสมาบัติ ๘ คือ

   ๑.รูปฌาน ๔ ได้แก่
      ๑)ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ประกอบ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
      ๒)ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ประกอบ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
      ๓)ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ประกอบ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
      ๔)จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ประกอบ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
   ๒.อรูปฌาน ๔ ได้แก่
      ๑)อากาสานัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดอากาศ-space อันอนันต์)
      ๒)วิญญาณัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดวิญญาณอันอนันต์)
      ๓)อากิญจัญญายตนะ (ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใดๆ)
      ๔)เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)


        การเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิ โดยใช้วิธีการใดๆ ก็ตาม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สมถะ”
มนุษย์ปุถุชนเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิเพียงใดก็ตาม ย่อมได้ผลสำเร็จอย่างสูงสุดเพียงเท่านี้ หมายความว่า สมถะล้วนๆ ย่อมนำไปสู่ภาวะจิตที่เป็นสมาธิได้สูงสุด ถึงฌาน เพียงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้น

   แต่ท่านผู้บรรลุผลสำเร็จควบทั้งฝ่ายสมถะ และวิปัสสนา เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ สามารถเข้าถึงภาวะที่ประณีตสูงสุดอีกขั้นหนึ่ง นับเป็นขั้นที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ  หรือนิโรธสมาบัติ เป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ คือหยุดปฏิบัติหน้าที่ และเป็นความสุขขั้นสูงสุด



วิธีเจริญสมาธิ
   การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิ จนเป็นผลสำเร็จต่างๆ อย่างที่กล่าวแล้วนั้น ย่อมมีวิธีการหรืออุบายสำหรับเหนี่ยวนำสมาธิมากมายหลายอย่าง พระอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมข้อปฏิบัติที่เป็นวิธีการต่างๆ เหล่านี้วางไว้ มีทั้งหมดถึง ๔๐ อย่าง คือ

   ๑.กสิณ ๑๐ เป็นการใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยการเพ่งเพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง วัตถุที่ใช้เพ่ง ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อากาศ (ช่องว่าง) และแสงสว่าง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการใช้เพ่งโดยเฉพาะ
   ๒.อสุภะ ๑๐ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ รวม ๑๐ ประเภท
   ๓.อนุสติ ๑๐ ระลึกถึงอารมณ์ที่สมควรชนิดต่างๆ เช่น พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ศีล จาคะ เป็นต้น
   ๔.อปปมัญญา ๔ เจริญธรรมที่เรียกว่าพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยใช้วิธีแผ่ไปอย่างกว้างขวางไม่มีขอบเขต
   ๕.อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ กำหนดความเป็นปฏิกูลในอาหาร
   ๖.ธาตุววัฏฐาน ๑ กำหนดพิจารณาธาตุ ๔
   ๗.อรูป ๔ กำหนดอารมณ์ของอรูปฌาน ๔


   วิธีปฏิบัติ ๔๐ อย่างนี้ เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐  การปฏิบัติกรรมฐานเหล่านี้ต่างกันโดยผลสำเร็จ ที่วิธีนั้นๆ สามารถให้เกิดขึ้น สูงต่ำ มากน้อยกว่ากัน และต่างโดยความเหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยความโน้มเอียงที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล ที่เรียกว่า “จริยา”  ต่างๆ เช่น อสุภะเหมาะสำหรับคนหนักทางราคะ เมตตา เหมาะสำหรับคนหนักในโทสะ เป็นต้น จริยา มี ๖ คือ

   ๑.ราคจริยา ลักษณะนิสัยที่หนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม
   ๒.โทสจริยา ลักษณะนิสัยที่หนักไปทางโทสะ ใจร้อนหุนหัน
   ๓.โมหจริยา ลักษณะนิสัยที่หนักไปทางโมหะ มักหลงลืม ซึมงง
   ๔.สัทธาจริยา ลักษณะนิสัยที่มากด้วยศรัทธา ซาบซึ้ง เชื่อง่าย
   ๕.พุทธิจริยา ลักษณะนิสัยที่หนักในปัญญา คล่องแคล่ว ชอบคิดพิจารณาเหตุผล
   ๖.วิตักกจริยา ลักษณะนิสัยที่มากด้วยวิตก ชอบครุ่นคิดกังวล


   บุคคลใดหนักในจริยาใด ก็เรียกว่าเป็น “จริต” นั้นๆ เช่น ราคจริต โทสจริต เป็นต้น รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่างๆ และลักษณะนิสัยเหล่านี้ เป็นเรื่องที่จะต้องอธิบายไว้ต่างหาก


อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com/http://www.clipmass.com/
25631  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากทราบความหมาย ของ คำ ต่อไปนี้ ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2011, 11:04:08 am
สาธุ กับคำตอบเนื้อหา คิดว่าตรงประเด็นเป็นอย่างดี

 แตดูเหมือนจะขาด สัญญาเวทยิตนิโรธ นะคะ

  :25:

  ไม่ลืมหร็อกครับ ตอบเป็นข้อแรกเลย อ่านดีๆนะค่ะ แถมใ่ห้หน่อยก็ได้

สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธสมาบัติ
      (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙;) ดู นิโรธสมาบัติ

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ,
       ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ

           รูปฌาน ๔
           อรูปฌาน ๔ และ
           สัญญาเวทยิตนิโรธ
(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
25632  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรุ่งนี้ลอยกระทง แล้ว อยากทราบว่า คืนลอยกระทง นี้ มีผลจริง แค่ไหนคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 08:08:05 pm


ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
     รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่ไปปรากฎอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรม โปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำ"นัมมทานที" เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการบูชา



ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์
    การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตต์ เป็นประเพณีของชาวเหนือและชาวพม่า พระอุปคุตต์เป็นพระอรหันต์เถระหลังสมัยพุทธกาล มีตำนานดังนี้


    เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์ และพุทธวิหาขึ้น ทั่วชมพูทวีป มหาวิหาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "อโศการาม" ตั้งอยู่ในแคว้นมคธ หลังจากสร้างพระสถูปเจดีย์ถึง 84,000 องค์ สำเร็จ

    พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชประสงค์จะนำพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบรรจุ รวมถึงในพระสถูปองค์ใหญ่ ที่สูงประมาณครึ่งโยชน์ และประดับประดาด้วยแก้วต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงต้องการให้เฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน

   แต่ด้วยเกรงว่าพญามารจะมาทำลายพิธี มีเพียงพระอุปคุตต์ที่ไปจำศีลอยู่ในสะดือทะเลเพียงท่านเดียวที่จะปราบพญามารได้ เมื่อพระอุปคุตต์ปราบพญามารจนสำนึกตัวหันมายึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว พระอุปคุตต์จึงลงไปจำศีลตามเดิม

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/SHOWGirls/2007/11/23/entry-1


พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น

ชีวประวัติ
เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบพระยามาร มีเรื่องเล่ามาว่า ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพระยามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพระยามารจนพระยามารยอมแพ้จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"

ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น


อ้างอิง
ตำนาน พระอุปคุต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5027.0


ลิงค์แนะนำ
มีผู้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาท ที่อยู่ในประเทศไทย นั้นเป็นรอยที่สร้างมาทั้งหมด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5205.0

ตำนานพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ นะ โม พุท ธา ยะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=731.msg3123#msg3123




    ตำนานที่นำเสนอไม่อาจยืนยันได้ว่า เป็นความจริงหรือไม่ เพราะในพระไตรปิฎกไม่ปรากฏเรื่องลอยกระทงอยู่เลย
ส่วนการลอยกระทงเวลาเที่ยงคืน น่าจะได้อิทธิพลมาจากประเพณีตักบาตรในเวลาเที่ยงคืน เพื่อบูชาพระอุปคุต
จะศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนอย่างไร ผมเองก็ไม่เคยทราบมาก่อน

    :49:
25633  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรุ่งนี้ลอยกระทง แล้ว อยากทราบว่า คืนลอยกระทง นี้ มีผลจริง แค่ไหนคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 07:31:31 pm





คุณสุนีย์ถามเก่งจริงๆ ขอบคุณที่ถาม แต่...เอ..คนถามไม่ทราบจะลอยกระทงเวลาไหน:49:


ขอบคุณภาพจาก http://atcloud.com/stories/page/1
25634  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: รูป วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน....รับรองได้ผลดีเกินคาด เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 07:20:38 pm





ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://atcloud.com/stories/page/3
25635  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รูป วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน....รับรองได้ผลดีเกินคาด เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 07:18:53 pm

รูป วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน....รับรองได้ผลดีเกินคาด

ที่คุณเห็นอยู่นี้เป็นวิธีรับมือน้ำท่วม ผลงานของชาวอเมริกันในช่วงที่น้ำท่วมใหญ่ในมิสซิสซิพพีเมื่อกลางปีที่ผ่านไป ชาวบ้านเหล่านี้เลหา วิธีทางเพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้าน โดยการสร้างกองดินให้สูงกว่าบ้านเป็นเหมือนกำแพงกั้นน้ำมันซะเลย เจ๋งจริง





ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://atcloud.com/stories/page/3
25636  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รื้อฟื้นประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ฉลองสมโภชพระอุโบสถวัดปทุมฯ เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 12:35:26 pm


รื้อฟื้นประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ฉลองสมโภชพระอุโบสถวัดปทุมฯ

        เพื่อเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ร่วมกับ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด จัดงาน สมโภชพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร โดยมีผู้มีจิตศรัทธามาร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช, บุญเกียรติ-ธรรมรัตน์ โชควัฒนา, คุณหญิงสุจิตรา (จิราธิวัฒน์) มงคลกิตติ, สุพัตรา-ยุวดี-บุษบา จิราธิวัฒน์, ศิริชัย-ศิริทิพย์-ภมรทิพย์ ศรีไพศาล ฯลฯ


      พิธีการเริ่มด้วยการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย โชว์การละเล่นพื้นบ้าน “กระตั้วแทงเสือ” จากนั้นผู้มาร่วมงานได้ร่วมกันสักการะ “พระสายน์” ในพระอุโบสถที่มีอายุ 445 ปี ด้วยบายศรีหมากเป็ง เพื่อความเป็นสิริมงคล
ซึ่งพระสายน์องค์นี้ได้หล่อขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา-ธิราช (พ.ศ.2077-2115) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามฯ


จากนั้นท่านผู้หญิงสุมาลีได้เป็นประธานลั่นฆ้องชัยเปิดงานฉลอง ซึ่งเริ่มด้วยการแสดงมหรสพนาฏกรรมร่วมสมัย
ที่ถ่ายทอดโดยเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดปทุมวนาราม และฝึกสอนโดยศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วยระบำดอกบัว, ระบำจันทกินรี, ฟ้อนแคน, นาฏลีลาฟ้าหยาด และฟ้อนหางนกยูง



     จากนั้นเข้าสู่พิธีกรรมสำคัญ คือการร่วมขบวนแห่ปราสาทผึ้ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษา ที่เชื่อว่าผู้เข้าร่วมขบวนแห่จะได้รับอานิสงส์สูงสุด อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการถวายสักการะแด่องค์พระปฏิมากร ซึ่งเปรียบดั่งผู้แทนพระพุทธองค์ การแห่ปราสาทผึ้งนี้ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดปทุมวนารามฯ ในปี พ.ศ.2401 เพื่อถวายพระสายน์ และได้ละเว้นไปนับตั้งแต่ปี 2487 ในช่วงสงครามโลก การจัดงานครั้งนี้จึงนับเป็นการรื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นมาใหม่ หลังจากว่างเว้นไปนานกว่า 70 ปี.


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/content/life/214977
25637  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเสวนาธรรม เป็นการ รักษา ธรรมวินัย หรือ ความฟุ้งซ่านครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:52:09 am
คือเห็นบางท่าน ก็คุย ๆๆๆๆ จ้อ ๆๆๆๆๆ เป็น คุ้ง เป็น แคว แต่ไม่เห็นได้ภาวนาหรือปฏิบัติ

หรือบางที ก็นำ พระพุทธภาษิต บ้าง มากล้อมแกล้ม เสียดแทงผู้ือื่น

  เลยมุมมองของผมในสมัย นี้ การเสวนาธรรม แท้ที่จริง เป็นความฟุ้งซ่าน หรือ เป็นการสืบ พระธรรมวินัย กันแน่ ครับ

  :s_hi: :93:

   ลองอ่านดูก่อนนะครับ อาจจะยาวไปบ้าง แต่เชื่อว่าการอ่านครั้งนี้จะได้กุศลมาก และเป็นมงคลอย่างยิ่ง
     :welcome: :49::25: ;)
25638  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเสวนาธรรม เป็นการ รักษา ธรรมวินัย หรือ ความฟุ้งซ่านครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:46:21 am


ในมงคลสูตร กล่าวไว้ว่า การฟังธรรมตามกาล และสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลสูงสุด

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
     การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง  ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
     ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน       ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร


มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
     ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย       เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
     เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล   ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร



ที่มา  http://www.fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38.html
อ้างอิง 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต “มงคลสูตร”
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bodhiyalai.org/
25639  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:42:30 am

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล

"การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น"
 
ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล “ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน”  นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่า ฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย

ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่คือ
     ๑.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
     ๒.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย


 วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันทีสงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ


สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?
การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน ๒ คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

 ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้าง  อยู่ ๒ ประการ คือ
     ๑.ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะ คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ
     ๒.ธรรมหมายถึงความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม


 การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดีจะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตามธรรมชาติไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์


ความยากในการสนทนาธรรม
 การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “คุยธรรมะ” นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมีเรื่องวงแตก กันอยู่บ่อยๆ

พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกันพ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ

 ๑.คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ
     ๑.๑ เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
     ๑.๒ เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
     ๑.๓ ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
     ๑.๔ ต้องพูดถูกกาลเทศะ
     ๑.๕ ต้องพูดด้วยจิตเมตตา


 การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว

“คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ ๒-๓ คำ จะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต

๒.คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังๆไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะใหคนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ
 
     ๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่า การควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก
 
     ๒.๒ ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับ
ความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ


 ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชินฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้
 
๓.คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด

เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดีกิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด

   ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูงกว่า และต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะ ใฝ่สงบด้วยกัน

 มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมให้คนอื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงเราก็ไม่เจ็บสักนิด ลมมันแพ้เราทุกที ทีนี้การฟังธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือ ชกไปก็รู้สึกเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็เหมือนกันใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้นเหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริงๆ เราชกเขา เขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจตลอดเวลาถ้าไม่ระวังให้ดี อาจทนไม่ได้โกรธขึ้นมาตนเองกลายเป็นคนพาลไป


ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม
     ๑.ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล ๘ มาล่วงหน้าสัก ๗ วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่งสร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกันหรือว่ากินเหล้าไปคุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

     ๒.ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดีทำสมาธิเหมือนอย่างกับว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรมใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน

     ๓.แต่งกายสุภาพ ทีแรกเราชำระศีลให้บริสุทธิ์เน้นกายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อยๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วยถึงเวลาจะสนทนา ก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ ให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย ไม่ใช่เสื้อผ้าสีบาดตา แบบก็สุภาพ สะอาด ถ้าเป็นชุดขาวได้จะดีมาก

     ๔.กิริยาสุภาพ จะยืน จะเดิน จะนั่ง ให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เข่น เดินลงส้นเท้ามาปังๆ

     ๕.วาจาสุภาพ คือ มีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสีงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติแต่ไม่ด่า

     ๖.ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ หรือปฏิเสธอรรถกถาฎีกา โดยเด็ดขาดเพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซนต์ อรรถกถาหรือฎีกาเกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่า สติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ถ้าเราไปกล่าวค้านหรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว

       ประการแรก ก็ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน
       ประการที่ ๒ หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียหน้ามีทิฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้น สำหรับอรรถกถาหรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมกับขอความเห็นจากคู่สนทนา


     ๗.ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าวรุนแรงแต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ 

     ๘.ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาเย้ามาอย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อนความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด

     ๙.ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดังตังใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรม แล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปแกว่งปากหานรกเลย

     ๑๐.ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้เราไปต่อเอาความรู้คนอื่นเขามา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน

     ๑๑.ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดี หรือนินทาคนอื่นไป เช่นพูดเรื่องบาป พูดไปพูดมา กลายเป็นว่า “ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่” กลายเป็นอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “อุ๊ย แม่คนนั้นน่ะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีนั้นก็ขี้เหนียว” ถามว่าใครดี “ฉัน ฉัน” อย่างนี้ใช้ไม่ได้

     ๑๒.ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ



วิธีสนทนาธรรม
 โดยสรุปหลักในการสนทนาธรรมรวมได้เป็น ๓ ประการ คือ

๑.สนทนาในธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากันต้องเป็นเรื่องธรรมะให้อยู่ในวงธรรมะ อย่าออกนอกวง เช่นถ้าพูดถึงการทำความดีก็ให้สุดแค่ทำดีอย่าให้เลยไปถึงอวดดี ถ้าจะพูดถึงเรื่องการป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว ก็ให้สุดแค่ป้องกันการทำชั่ว อย่าให้เลยไปถึงนินทาคนอื่
 
 ๒.สนทนาด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ เช่น ทางกายก็มีการเคารพกันโดยฐานานุรูป ควรไหว้ก็ไหว้ ควรกราบก็กราบ อย่าคิดทะนงตัวด้วยเหตุคิดว่ามีความรู้มากกว่าเขา ในทางวาจาก็ใช้ถ้อยคำสุภาพเรียบร้อย เป็นวาจาสุภาษิต ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกก็ชม ถ้าอีกฝ่ายผิดก็ทักโดยสุภาพไม่กล่าววาจาเหน็บแนมล่วงเกิน และถ้าพลาดพลั้งก็ขอโทษไม่ใช่สนทนากันด้วยกิเลส หรือปล่อยกิเลสออกมาโต้กันดังได้กล่าวมาแล้ว

 ๓.สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจของตนให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะอวดรู้หรือวดธรรมะ แม้บางจังหวะเราเป็นผู้แสดงความรู้ออกไปก็คิดว่าเราจะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้ของผู้อื่นเข้ามา มิใช่จะเพื่ออวดรู้


วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม
 หลักในการเลือกคู่สนทนาธรรมมีอยู่ ๒ ประการคือ

     ๑.คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรม และสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะแม้เป็นฆราวาสก็เป็นคนรักสงบ ไม่เป็นคนชอบอวดภูมิ ชอบโม้

     ๒.เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะกับบุคคลนั้นๆ เช่น คุยเรื่องพระวินัยกับผู้เชี่ยวชาญพระวินัย คุยเรื่องชาดกกับผู้เชี่ยวชาญชาดกจะสนทนาเรื่องสมาธิก็เลือกสนทนากับผู้ที่เขาฝึกสมาธิมาแล้วอย่างจริงจัง เป็นต้น



การสนทนาธรรมในครอบครัว
     ตั้งแต่โบราณในครอบครัวไทยก็มีการสนทนาธรรมกันอยู่เป็นประจำ เช่น กลางวันพ่อแม่ออกไปทำนา ทำสวน ทำงานอื่นๆ ผู้เฒ่า ปู่ย่าตายายที่อยู่บ้าน ก็ทำงานสานกระบุง ตะกร้า ไปบ้าง ทำงานอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ก็วิ่งเล่นกันอยู่ใกล้ๆ สักพักปู่ย่าตายายก็เรียกมาล้อมวงเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็ไม่พ้นนิทานธรรมะเรื่องชาดกบ้าง เรื่องอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ฟังแล้วสงสัยสิ่งใดก็ซักถามกันทำให้บ่อย ๆจะได้ซึมซาบธรรมะไปในตัว หรือตกเย็นตอนรับประทานอาหารก็อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตารับประทานอาหารเสร็จแล้ว

พ่อแม่ก็หยิบยกเรื่องธรรมะมาคุยกันบ้าง เล่าให้ลูกฟังบ้าง เป็นการสนทนาธรรมกันในครอบครัว ขณะเดียวกันก็คอยสังเกตลูกๆ ด้วย เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าในวันนั้นเขาไปทำอะไรผิดมา จะมีพิรุธอยู่ในตัว ถ้าพ่อแม่สังเกตก็จะเห็น แล้วก็จะได้ตักเตือนสั่งสอนกัน แต่ถ้าเด็กทำผิดถึง ๓ ครั้งแล้วยังจับไม่ได้ ก็จะไม่มีพิรุธให้เห็นอีก เพราะเด็กจะเกิดความเคยชิน และถึงจะจับได้ภายหลังก็แก้ยาก เพราะเคยชินเป็นนิสัยแล้ว

 ปัจจุบัน โอกาสที่จะสนทนาธรรมกันในครอบครัวมีน้อยลง ส่วนใหญ่พอตกเย็นหลังจากรับประทานอาหารแล้ว พ่อแม่ลูกก็นั่งล้อมวงหน้าทีวีไม่มีโอกาสได้พูดคุยธรรมะกัน ซึ่งอันนี้เป็นข้อบกพร่อง จะทำให้พวกเราพลาดไป ถ้าพ่อแม่คนไหนอยากได้ลูกดี เป็นลูกแก้ว นำชื่อเสียงความเจริญมาสู่ตระกูล อยากให้ครอบครัวร่มเย็น

อย่ามองข้ามอันนี้ไป ให้รื้อฟื้นการสนทนาธรรมในครอบครัวขึ้นมาให้ได้ ถ้าเป็นประเภทอาหารเย็นพ่อไปงานเลี้ยงที่หนึ่ง แม่ไปธุระอีกที่หนึ่ง ให้ลูกๆ รับประทานอาหารกันเอง หรืออยู่กับพี่เลี้ยง นั่นพลาดแล้ว พ่อแม่ที่มัวแต่คิดจะหาเงินให้ลูก แต่ลืมนึกถึงการปลูกฝังธรรมแก่ลูกๆ ตั้งแต่ยังเล็ก โอกาสที่ลูกจะเสียคนมีมากเหลือเกิน


อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล

 ๑.ทำให้จิตเป็นกุศล
 ๒.ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
 ๓.ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
 ๔.ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง
 ๕.ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
 ๖.ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้
 ๗.เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
 ๘.เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
 ๙.เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้
 ๑๐.ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์ 
 


อ้างอิง
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ โดย นพ.ฆฤณ เอมะศิริ
http://mongkhol.cjb.net
ขอบคุณภาพจาก http://www.luangpukahlong.com/,http://www.namjaidham.net/,http://lh3.ggpht.com/,http://www.dhammajak.net/
25640  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:17:15 am

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล


"กระจกเงาสามารถสะท้อนให้เห็นความสวยงาม หรือขี้ริ้วของร่างกายเราได้ฉันใด การฟังธรรมตามกาล ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความดีงามหรือความบกพร่องในตัวเราได้ฉันนั้น"

การฟังธรรมตามกาลหมายถึงอะไร ?
    การฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรมคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร

    เช่นเมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความอดทนแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาตรวจดูใจตนเองทันทีว่า เรามีความอดทนไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร อดทนหรือไม่อดทนต่อสิ่งใดเช่น อดได้เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยทน คือ อดข้าวอดปลาได้ แต่ทนต่อการยั่วยุ ทนต่อคำนินทาไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า เมื่อฟังธรรมแล้วตรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะตกแต่งต่อเติมอย่างไรจึงจะดี


กาลที่ควรฟังธรรม
 ๑.วันธรรมสวนะ คือ วันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ ๗ วันครั้ง ทั้งนี้เพราะธรรมดาคนเรา เมื่อได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือน จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก ๗ วันชักจะเลือนๆ ครูอาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ๗ วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง

 ๒.เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือ เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ

 ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่
     ๒.๑เมื่อกามวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
     ๒.๒ เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญ ทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศ ศักดิ์ศรีก็ตาม
     ๒.๓ เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือ เมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา

 เมื่อใดที่ความคิดทั้ง ๓ ประเภทนี้เกิดขึ้นให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้น อาจไปทำผิดพลาดเข้าได้

๓.เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือ เมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรม มาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน  แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้ เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน


คุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี 
“อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลยผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง จะต้องอยู่ในธรรมะถึง ๕ ประการ”  นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี ๕ ประการคือ

 ๑.ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่องไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง
     ๑.๑มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอที่จะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
     ๑.๒ มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้สภาพจิตใจ ของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง
     ๑.๓ ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้าทำอะไร มีแผน ไม่พูดเบา ไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจ

 ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้

๒.ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหน ประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้

 ๓.ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปี่ยมในใจ พูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดี ต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยช์แก่ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที
 
๔.ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไร ก็ไม่ถือเป็นอารมณ์แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่แต่งานของคนกระจอกงอกง่อย ก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ลงได้เอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว

 ๕.ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือ ไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่างเรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นการกระทำผิดแบบฉบับของศาสนาพุทธ

 เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ  แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติควบคุมผู้ทำการสอนศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาดูได้ยากในศาสนาอื่นๆ


คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี
 ๑.ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายไป  “โถ เรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ท่านสอนคนอย่างเรา เราก็เข้าวัดมาตั้งนานแล้ว เหมือนดูถูกกันนี่”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะธรรมะทุกบท ทุกข้อในพระพุทธศาสนามีอานิสงส์ว่า ถ้าใครเอาไปปฏิบัติจริงๆ อย่างยิ่งยวด แม้เพียงข้อเดียวแล้ว ก็สามารถทำกิเลสให้หมด เข้าพระนิพพานได้ทั้งสิ้น เช่นการไม่คบคนพาล ซึ่งเป็นธรรมะขั้นพื้นฐาน

แต่ถ้าเราไม่คบคนพาลจริงๆ โดยเฉพาะพาลภายใน คือนิสัยไม่ดีต่างๆ ในตัว ไม่ยอมคบด้วยตัดทิ้งให้เด็ดขาด ก็เข้าพระนิพพานได้ หรือหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเรามีคุณธรรมข้อนี้อย่างเต็มที่ สิ่งใดที่เป็นบาปแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ยอมคิด พูด หรือทำโดยเด็ดขาด สร้างแต่บุญกุศลอย่างเต็มที่ อย่างนี้ถ้าไม่ให้เข้าพระนิพพาน แล้วจะให้ไปไหน

 ๒.ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม  “โถพระเด็กๆ เรานี่หลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้วมาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร”  อย่าคิดอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้สิ่งต่อไปนี้อย่าดูแคลน
     ๒.๑ อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะมันเผาเมืองได้
     ๒.๒ อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้
     ๒.๓ อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยังน้อย ก็ เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราชตั้งแต่อายุ ๒๐ เศษ ปกครองถึงค่อนโลก
     ๒.๔ อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูปแม้อายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ ๗ ขวบก็เป็นพระอรหันต์แล้ว


๓.ไม่ดูแคลนตัวเองว่าโง่จนไม่สามารถรองรับธรรม  “โถ ไอ้เรามันโง่ดักดานอย่างนี้ กิเลสในตัวก็หนาปึ้กถึงไปฟังธรรมก็คงไม่รู้เรื่องไม่ไปดีกว่า”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะถึงแม้สติปัญญาจะไม่เฉลียวฉลาด แต่ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ แล้ว ก็อาจบรรลุธรรมได้

ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างอยู่มาก พระบางรูปปัญญาทึบมาก ธรรมะแค่ ๔ บรรทัด ท่องจำเป็นปีๆ ยังท่องไม่ได้แต่มีความเพียรไม่ย่อท้อ พอสบโอกาสเหมาะได้ฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม และแนะนำวิธีการทำสมาธิให้โดยแยบคาย พอปฏิบัติตามก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์ได้ ตัวเราเองก็ไม่แน่ มีโอกาสเหมือนกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ถึงฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้าเมื่อได้ฟังซ้ำอีก ก็จะเข้าใจได้ง่าย

๔.มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม ฟังธรรมด้วยความตั้งใจขณะฟังธรรมไม่พูดคุย ไม่ล้วงแคะแกะเกา เพราะในการฟังธรรมนั้น ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไร ก็สามารถน้อมนำใจตามไป เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้น

ในสมัยพุทธกาล เวลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาในเรื่องสำคัญๆ ที่ละเอียดลึกซึ้ง จะทรงหลับพระเนตรเทศน์ในสมาธิ ผู้ฟังก็จะหลับตาทำสมาธิฟังจึงสามารถน้อมใจไปตามธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งลุ่มลึกไปตามลำดับ ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานกันเป็นจำนวนมาก พวกเราก็ต้องตั้งใจฟังธรรม ฝึกให้มีสมาธิขณะฟังธรรม ตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนด้วย
 
 ๕.มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักพิจารณาตามธรรมนั้นอย่างแยบคาย พอฟังแล้วก็คิดตามไปด้วย รู้จักจับแง่มุมมาพิจารณาขบคิดตามทำให้มีความแตกฉานเข้าใจในธรรมได้เร็วและลึกซึ้ง


อุปนิสัยจากการฟังธรรม
 อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชิน ที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไปเป็นพื้นใจในภายหน้า
การฟังธรรมจะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเราแล้วเป็นเครื่องอุดหนุนให้เรามีความเจริญรุ่งเรืองและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย

   ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรม แล้วพยายามศึกษาทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ ๔ ประการคือ

     ๑.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น ย่อมมีปัญญารู้ธรรมได้เร็วสามารถระลึกได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

     ๒.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น เมื่อรู้ธรรมแล้ว ก็สามารถสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย ตนเองก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

     ๓.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้แสดงธรรมให้ฟัง ก็ย่อมระลึกได้ มีความเข้าใจปรุโปร่ง ไม่คลางแคลงสงสัยทำให้ สามารถบรรลุมรรคผลนิพานได้เร็ว เหมือนคนที่เคยได้ยินเสียงกลองมาแล้ว พอเดินทางไปในที่ไกล แล้วได้ยินเสียงกลองอีก ก็รู้ทันทีว่านั่นเสียงกลอง ความคลางแคลงสงสัยว่านั่นใช่เสียงกลองหรือไม่ ย่อมจะไม่เกิดชึ้นแก่บคคลนั้น

     ๔.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ และไม่มีผู้แสดงธรรม แต่เมื่อมีผู้ตักเตือนด้วยคำเพียงไม่กี่คำหรือแม้บางครั้งได้ยินโดยบังเอิญ ก็ทำให้สามรถระลึกธรรมได้และมีความเข้าใจ สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว


 พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมายของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้า ได้ยินใครสวดมนต์ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว


 อานิสงส์การฟังธรรมตามกาล
 ๑.เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้า ขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน

 ๒.เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือ ถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน สามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

๓.เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือ ถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

 ๔.เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือ ในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือ กิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้มีความคิดเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวน เฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสียประคองความเห็นที่ถูกไว้

๕.เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น คือ การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

"ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จดระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา " (พุทธพจน์)


อ้างอิง
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ โดย นพ.ฆฤณ เอมะศิริ
http://mongkhol.cjb.net
ขอบคุณภาพจาก http://84000.org/,http://www.wpkms.com/,http://palungjit.com/,http://www.dhammadelivery.com/
หน้า: 1 ... 639 640 [641] 642 643 ... 708