ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขับธิดามาร ตัณหา ราคา อรดี  (อ่าน 3219 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ขับธิดามาร ตัณหา ราคา อรดี
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 09:32:10 am »
0

ขับธิดามาร ตัณหา ราคา อรดี



 สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งสมาธิ ณ ใต้ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร) เป็นเวลาอีก ๗ วัน

           ในลำดับนั้นธิดาของพญาวสวัตดีมารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี อาสาที่จะทำให้พระพุทธองค์ตกอยู่ในอำนาจให้จงได้  จึงได้ทำการประเล้าประโลมด้วยวิธีการต่างๆ   แต่ไม่สามารถจะทำให้น้ำพระทัยของพระองค์หวั่นไหวสั่นคลอนได้ ธิดาพญามารทั้ง ๓ จึงปรารภว่า

           “พญามารผู้เป็นบิดา กล่าวเตือนไว้ถูกต้องแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีบุคคลผู้ใดในโลกจะชักนำไปสู่อำนาจแห่งตนได้โดยแท้  เพราะเป็นผู้ปราศจากกิเลสตัณหาโดยสิ้นแล้ว” แล้วพากันกลับไปสำนักแห่งพญามาร


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/html_1-40/SC_17.html


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พยาบาท วิหิงสา อรติ ปฏิฆะ ราคะ อัสมิมานะ ละไ้ด้อย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 09:57:35 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๑๒ . มหาราหุโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนพระราหุลในระหว่างที่ท่านตามเสด็จไปบิณฑบาตในเวลาเช้าว่า พึงพิจารณาเห็นรูปทุกชนิด ทั้งอดีต  อนาคต   ปัจจุบัน,   ภายใน   ภายนอก,   หยาบละเอียด,   เลว  ดี,   ไกล   ใกล้   ว่ารูปทั้งหมดนั้น มิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระราหุลกลับจากที่นั้น นั่งคู้บัลลงก์ ( ขัดสมาธิ ) ณ โคนไม้ตันหนึ่ง ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า พระสารีบุตรเห็นเข้าจึงสอนให้เจริญอานาปาปานสติ ( สติกำหนดลมมหายใจเข้าออก). ในเวลาเย็นพระราหุลออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามถึงวิธีเจริญอานาปานสติที่จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.


   ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องรูปภายใน ( ร่างกาย ) ที่แข้นแข็ง   มีผม  ขน เป็นต้น ที่เรียกว่าธาติดินภายใน ตลอดจนธาตุน้ำ, ไฟ, ลม , อากาศ ทั้งภายนอกภายใน ให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายธาตุเหล่านั้น ทำจิตให้คลายกำหนด ( หรือความติดใจ ) ในธาตุเหล่านั้น


  ๓. ครั้นแล้วตรัสสอนให้เจริญภาวนา ( อบรมจิต ) เสมอด้วยธาตุแต่ละอย่าง ซึ่งผัสสะที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจเกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ โดยชี้ให้เห็นว่า ธาตุเหล่านั้นย่อมไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น เบื่อหน่าย เกลียดชังสิ่งสะอาดหรือสกปรกที่ทิ้งลงไปใส่หรือที่ธาตุเหล่านั้นฝ่านไป.


  ๔. ตรัสสอนให้เจริญ
    เมตตาภาวนา ( ไมตรีจิต คิดจะให้เป็นสุข ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ( ความคิดปองร้าย ) ได้ ,
   กรุณาภาวนา ( เอ็นดู คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละวิหิงสา ( การคิดเบียดเบียน ) ได้ ,
   มุทิตาภาวนา ( พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละอรติ ( ความไม่ยินดีหรือริษยา ) ได้,
   อุเบกขาภาวนา ( วางใจเป็นกลาง ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละปฎิฆะ ( ความขัดใจ ) ได้, ๘ . 
   อสุภภาวนา เห็นความไม่งาม ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) ได้,
   อนิจจสัญญาภาวนา ( กำหนดหมายสิ่งที่ไม่เที่ยง ) ซึ่งเป็นเหตุให้ละอัสมิมานะ ( ความถือตัวถือตนได้).



   ๕. ครั้นแล้วตรัสสอนวิธีเจริญสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีเหตุผลมาก มีอานิสงส์มาก ( แบบเดียวกับที่ตรัสไว้ในอานาปานบรรพ คือหมวดว่าด้วยลมหายใจเข้าออกในมหาสติปัฎฐาน ที่ย่อมาแล้วในพระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/,http://www.chanakarnthaiclassical.com/



อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๕๔๑ - ๒๖๘๑. หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๑๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ