ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึก สติ อย่างเีดียว จะไปสู่แก่น ธรรม ชื่อว่า นิพพานได้หรือไม่ คะ  (อ่าน 3985 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไปที่ไหน ๆ ก็มักจะกล่าว ว่าเจริญ สติ ให้มาก จะได้ไม่วุ่น และ นิพพาน

แท้ที่จริง การฝึก สติ อย่างเีดียว จะไปสู่ นิพพาน ได้จริงหรือไม่คะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28449
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ )  มีดังนี้

    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
     ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป) 
     ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
     ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
     ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
     ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
     ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
     ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา
ดู สิกขา ๓




สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


    การเดินตามมรรคต้องครบด้วยองค์ ๘ เพียงแต่ว่าในทางปฏิบัติเราอาจแยกไม่ออก
    การเจริญสติปัฏฐานนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นทางเดียวที่เข้าสู่นิพพานได้ อันนี้จริงครับ
    แต่อย่าลืมว่า สติปัฏฐานเป็นส่วนหนึ่งของมรรคมีองค์ ๘ เราจะละเลยมรรคองค์อื่นๆไม่ได้

    การปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน แบ่งเป็นสองแนวใหญ่ๆ คือ
       - สมาธินำปัญญา เป็นการทำสมาธิแล้วตามด้วยวิปัสสนา ตัวอย่างเช่น สายหลวงปู่มั่น
       - ปัญญานำสมาธิ เป็นการทำวิปัสสนาก่อนเพื่อที่จะได้มาซึ่งสมาธิ ตัวอย่างเช่น การดูจิตของสายหลวงปู่ดูลย์หรือหลวงพ่อปราโมทย์


    กาเจริญสติปัฏฐานอย่างเดียวตามที่คุณสุนีย์เข้าใจ น่าจะเป็นแนวปัญญานำสมาธิ

    อยากให้คุณสุนีย์เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    มรรค คือ หนทางสู่นิพพาน ครับ อย่าเข้าใจว่า สติ เพียงอย่างเดียวจะนำสู่นิพพานได้

     :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2011, 10:26:54 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พละ 5 มีสติ  อินทรีย์ 5 มีสติ  มรรค มีองค์ 8 มี สัมมาสติ ครับ

  เป็นแต่ สติ อย่างเดียว ไม่ได้ครับ ....... ไม่ได้แน่ ๆ

  เกลียวเชือกไม่พอครับ รับน้ำหนึกไม่ไหวครับ

 
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูจากภาพ ถ้าเราเอาสติ เข้าไปใช้อย่างเีดียว อาจจะกลายเป็นปมได้ ไม่ใช่ เงื่อน

ดังนั้นสติ เป็นเงื่อน ไม่ใช่ปม ถ้าเป็นปม สะดุด แน่ ๆ

   :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28449
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)

             [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
             เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
             เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
             เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

             หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

             ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑     
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


  จบอุทเทสวารกถา


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=6257&w=%C1%CB%D2%CA%B5%D4%BB%D1%AF%B0%D2%B9%CA%D9%B5%C3



อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรคมหาสติปัฏฐานสูตร
               
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
             
               มหาสติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น มีพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้.

               มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

               
               เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้.

               เล่ากันว่า ชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือ ฤดูเป็นที่สบาย เพราะแคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น.

               ชาวกุรุนั้นมีกำลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้.
               เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัต ตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น.

               เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง.

              ด้วยเหตุนั้นแล ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือ มหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือ สติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร.

               อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย.

               ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จ๊ะ คุณแม่ใสใจสติปัฏฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง.

              แต่สตรีผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสมกับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ.

               ในข้อนี้ มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐาน แต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจ เจริญสติปัฏฐานด้วยเหมือนกัน.
               ในข้อนั้น มีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1#%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3


คำบรรยายภาพทั้งสามภาพ

บริเวณที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็น กุรุรัฐ สถานที่แสดงสติปัฎฐานสูตร ครั้งแรกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ที่เห็นเป็นหลังคา บนก้อนหินนั้น สร้างครอบรอยจารึกอักษรโบราณไว้ ปัจจุบันอยู่บริเวณชานกรุงเดลลี

คณะเดินทางจัดโดยมูลนิธิ ได้เดินทางไปสักการะและสนทนาธรรม เมื่อเดือนตุลาคม 2548


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3653&PHPSESSID=0c7b9b89f8726a995a4c734ea1ada207
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28449
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

        เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์

       ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา
       หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ


      เพื่อนๆครับ ผมยกพระสูตรนี้ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นว่า สติปัฏฐานเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก พระพุทธเจ้าเห็นว่า ชาวแคว้นกุรุมีความพร้อมทั้งกายและใจ มีปัญญามาก จึงยกสติปัฏฐานขึ้นมาแสดง เพื่อให้เหมาะแก่จริตของชาวแคว้นกุรุ

      และที่สำคัญอยากให้เข้าใจว่า ที่ตรัสว่า "หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก" หรือ "หนทางนี้เป็นทางเดียว" ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้".


       :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ฝึก สติ อย่างเดียว ไปสู่แก่น ธรรม คือ นิพพาานได้หรือไม่

 ตอบว่าไม่ได้ สติ คือ ความระลึกได้  เป็นพื้นฐานของธรรม

 การจะเข้าสู่นิพพาน ต้องอาศัยองค์ มรรค อื่น ๆ

 มีสติ แต่ ไม่มี สัมมาทิฏฐิ ก็ไม่รอด

 มี สัมมาทิฏฐิ ไม่มี ความตั้งใจถูก สัมมาสังกัปปะ ก็ไม่รอด อยู่ดี

 ดังนั้น การจะสู่ นิพพาน นั้น ต้องสมบูรณ์ ด้วยอริยมรรค อันมีองค์ 8 นะจ๊ะ

 เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ