ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 16852 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 03:22:10 pm »
0
คือศึกษา พุทธประวัติ ก็มีการกล่าวอ้างถึง พญานาค นาค บ้าง แต่เรื่องของพญาครุฑ นี้มีในพระไตรปิฏก บ้างหรือไม่คะ เพราะเห็นที่ประเทศตรา ราชการใช้ ครุฑ นะคะ

 มีใครรู้บ้างจ๊ะ

 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 03:56:38 pm »
0
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยกำเนิดครุฑ ๔ จำพวก

            [๕๓๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ

    ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑
    ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑
    ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑
    ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้แล.

     จบ สูตรที่ ๑.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๒๘๒ - ๖๒๘๗. หน้าที่ ๒๗๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6282&Z=6287&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=530


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยความยิ่งหย่อนของกำเนิดครุฑ ๔ จำพวก

             [๕๓๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ
     ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑
     ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑
     ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑.
     ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑.


ในครุฑทั้ง ๔ จำพวกนั้น
ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้.
ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้ นำนาคที่เป็นสังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้. ครุฑที่เป็นสังเสทชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้  นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ  ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะไปได้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑมี ๔ จำพวกนี้แล.

    จบ สูตรที่ ๒.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๒๘๙ - ๖๒๙๘. หน้าที่ ๒๗๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6289&Z=6298&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=531
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 04:04:54 pm »
0

ครุฑในทางพุทธศาสนา

ครุฑในทางพุทธศาสนาจัดเป็นเทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่งภายใต้การปกครองของท้าววิรุฬหก ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศใต้ เหตุที่มาเกิดเป็นครุฑเพราะทำบุญเจือด้วยโมหะ

ครุฑมีกำเนิดทั้ง 4 แบบ คือ โอปปาติกะ (เกิดแบบผุดขึ้น) ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์) อัณฑชะ (เกิดในไข่) และสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) มีที่อยู่ตั้งแต่พื้นมนุษย์ ป่าหิมพานต์ ป่าไม้งิ้วรอบเขาพระสุเมรุ จนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ครุฑชั้นสูงจะมีกำเนิดแบบโอปปาติกะ มีขนสีทอง มีเครื่องประดับแบบเทพบุตรเทพธิดา มีชีวิตอยู่เหมือนเทวดา แปลงกายได้ และบริโภคอาหารทิพย์เช่นเดียวกันเทวดา แต่ครุฑบางประเภทก็กินผลไม้หรือเนื้อสัตว์ บางประเภทถ้าผูกเวรกับนาค ก็จะกินนาคเป็นอาหาร หรือถ้าผูกเวรกับสัตว์นรกในยมโลก ก็จะสมัครใจไปเป็นนายนิรยบาลลงทัณฑ์สัตว์นรก




การใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์

ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑ จึงได้มีการสร้างรูป ครุฑพ่าห์ (หรือ พระครุฑพ่าห์) หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์

ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น

ซึ่งจากการที่เราใช้ตราครุฑเป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย

เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น

สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ 3 ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

นอกเหนือจากการที่ตราครุฑปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า โดยได้รับพระบรมราชานุญาต

ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้ แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ

ประเทศอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ใช้ครุฑ (Garuda) เป็นตราประจำแผ่นดิน โดยครุฑของอินโดนีเซียนั้นเป็นนกอินทรีทั้งตัว สายการบินประจำชาติอินโดนีเซียก็ใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์ คือสายการบิน Garuda Airlines


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 04:16:45 pm »
0



ภูเขาสิเนรุ  เป็นศูนย์กลางของ มงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะอุบัติขึ้นเฉพาะ ในมงคลจักรวาลนี้เท่านั้น เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา ยอดเขาสิเนรุ เป็น ผืนแผ่นดินแห่งแรก ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ ถูกทำลายลงด้วยน้ำ ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก คือ ถึง ชั้น สุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓) แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ
 
  ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น

  ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ใน มหาสมุทรสีทันดร ครึ่งหนึ่ง วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน
    ด้านตะวันออกเป็น เงิน
    ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก
    ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
    ด้านเหนือเป็น ทอง

    น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ตาม สีของไหล่เขานั้นด้วย 

  กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
    ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก
    ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้
    ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก
    และ ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ประจำอยู่ทิศเหนือ

    มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแลเทวดาในชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย 
         
  ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
     ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
     ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
     ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
     ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
     ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

           
  รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ เรียกว่า สัตตบรรพ์ 
     รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
     รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสธร 
     รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิกะ 
     รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ 
     รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร 
     รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินตกะ
     รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกัณณะ
 

ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_02.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 12:48:10 pm »
0
สาธุ ไม่ผิดหวัง เลยสำหรับ ห้องนี้
ได้คำตอบทุกครั้ง และอ้างอิงที่มาพร้อม

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า