ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้  (อ่าน 7115 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2012, 02:05:03 pm »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

    [๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือ เบญจกามคุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว จากที่อยู่คือน้ำ โยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น

      การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้
      นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดอ่อน มีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้

      ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
      ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย
      ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มีจิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่
      กุลบุตรทราบกายนี้ว่า เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา
      อนึ่งพึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย


     กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอ จักนอนทับแผ่นดิน ประดุจท่อนไม้ไม่มีประโยชน์
     โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกัน พึงทำความฉิบหายและความทุกข์ใด ให้จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย และความทุกข์นั้น
      มารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ


       จบจิตตวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๖๖ - ๓๙๔. หน้าที่ ๑๗ - ๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13





อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [ยกมาแสดงบางส่วน] 
     

ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหัต              
     เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า
     “น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”

     พวกเธออำลามหาอุบาสิกาว่า “พวกฉันใคร่จะเฝ้าพระศาสดา.”
     มหาอุบาสิกากล่าวว่า “ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย” แล้วตามไปส่งภิกษุเหล่านั้น, กล่าวคำอันเป็นที่รักเป็นอันมากว่า “ขอท่านทั้งหลาย พึง (มา) เยี่ยมดิฉันแม้อีก” ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงกลับ.

พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น               
     ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นแล ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง อันพระศาสดาตรัสว่า
       “ภิกษุทั้งหลาย (สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙) พวกเธอพออดทนได้ดอกหรือ?
      พวกเธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ดอกหรือ?
      อนึ่ง พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?”


     จึงกราบทูลว่า “พออดทนได้ พระเจ้าข้า พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ พระเจ้าข้า,
     อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ลำบากด้วยบิณฑบาตเลย,
     เพราะว่า อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อมาติกมาตา ทราบวาระจิตของพวกข้าพระองค์.
     เมื่อพวกข้าพระองค์คิดว่า ‘ไฉนหนอ มหาอุบาสิกาจะพึงจัดแจงอาหารชื่อเห็นปานนี้เพื่อพวกเรา.’
     (นาง) ก็ได้จัดแจงอาหารถวายตามที่พวกข้าพระองค์คิดแล้ว”
ดังนี้แล้ว
     ก็กล่าวสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น.



อุบาสิกาจัดของถวายตามที่ภิกษุต้องการ               
     ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งสดับถ้อยคำสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้นแล้ว เป็นผู้ใคร่จะไปในที่นั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว ทูลลาพระศาสดาว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปยังบ้านนั้น”
     แล้วออกจากพระเชตวัน ถึงบ้านนั้นโดยลำดับ ในวันที่ตนเข้าไปสู่วิหาร คิดว่า “เขาเล่าลือว่า อุบาสิกานี้ย่อมรู้ถึงเหตุอันบุคคลอื่นคิดแล้วๆ. ก็เราเหน็ดเหนื่อยแล้วในหนทาง จักไม่สามารถกวาดวิหารได้,
     ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงส่งคนผู้ชำระวิหารมาเพื่อเรา.”


     อุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเองรำพึงอยู่ ทราบความนั้นแล้ว
     จึงส่งคนไปด้วยคำว่า “เจ้าจงไป, ชำระวิหารแล้วจึงมา.”

     ฝ่ายภิกษุนอกนี้อยากดื่มน้ำ จึงคิดว่า
     “ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงทำน้ำดื่มละลายน้ำตาลกรวดส่งมาให้แก่เรา.”
     อุบาสิกาก็ได้ส่งน้ำนั้นไปให้. เธอคิด (อีก) ว่า
     “ขออุบาสิกา จงส่งข้าวยาคูมีรสสนิทและแกงอ่อมมาเพื่อเรา ในวันพรุ่งนี้แต่เช้าตรู่เถิด.”
     อุบาสิกาก็ได้ทำอย่างนั้น.


     ภิกษุนั้นดื่มข้าวยาคูแล้ว คิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกาพึงส่งของขบเคี้ยวเห็นปานนี้มาเพื่อเรา.”
     อุบาสิกาก็ได้ส่งของเคี้ยวแม้นั้นไปแล้ว เธอคิดว่า “อุบาสิกานี้ส่งวัตถุที่เราคิดแล้วๆ ทุกๆ สิ่งมา, เราอยากจะพบอุบาสิกานั่น, ไฉนหนอ นางพึงให้คนถือโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เพื่อเรา มาด้วยตนเองทีเดียว.”

     อุบาสิกาคิดว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเราหวังการไปของเราอยู่”, ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้ ถวายแก่ภิกษุนั้น.
     ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “มหาอุบาสิกา ท่านหรือ? ชื่อว่ามาติกมาตา.”
     อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.
     ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ?
     อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม? พ่อ.
     ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุกๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉันจึงถามท่าน.
     อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
     ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา
.

     แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรงๆ) ว่า “ดิฉันรู้จิตของคนอื่น”
     (กลับ) กล่าวว่า “ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิตของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”



ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา               
     ภิกษุนั้นคิดว่า
    “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้,
     อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมด้วยของกลางฉะนั้น,
     เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า “อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
     อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน? พระผู้เป็นเจ้า.
     ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
     อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
     ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน”
แล้วได้เดินออก (จากที่นั้น) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว               
     ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า “ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ?”
     ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้.
     พระศาสดา. เพราะเหตุไร? ภิกษุ.
     ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะว่า) อุบาสิกานั้นย่อมรู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้วๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า “ก็ธรรมดา ปุถุชนย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่างอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้นก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น” ดังนี้แล้ว จึงได้มา.


     พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
     ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ในที่นั้นไม่ได้.
     พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้นได้ไหม?
     ภิกษุ. รักษาอะไร? พระเจ้าข้า.
     พระศาสดาตรัสว่า
     “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไรๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก

      ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
            ๒.    ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน    ยตฺถ กามนิปาติโน
                จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
                การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตก
                ไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
                จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.



แก้อรรถ               
     บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้).
     ธรรมดาจิตนี้อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ.
     จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิตอันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น.


     บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตนควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย, ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว.

     เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่.”
     การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔#- ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี.

____________________________
#- อริยมรรค ๔ คือ
               โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑
               อนาคามิมรรค ๑ อรหัตมรรค ๑


    ถามว่า “เพราะเหตุไร?”
    แก้ว่า “เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์.”

    ในกาลจบเทศนา บริษัทที่มาประชุมกันเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น, เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2
ขอบคุณภาพจาก http://www.watnonpang.com/,https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/,http://www.bloggang.com/,http://www.kanlayano.org/,http://www.dhammathai.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 29, 2018, 08:26:08 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2012, 02:32:19 pm »
0



อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
๓ เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ [๒๖]
   
ข้อความเบื้องต้น               
     พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน (จะสึก) รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “สุทุทฺทสํ” เป็นต้น.

พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร              
     ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งเข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้น๑- ของตน เรียนว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่กระผมสักอย่างหนึ่ง.”

     พระเถระ กล่าวว่า
    “ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้, เธอจงถวายสลากภัต๒- ถวายปักขิกภัต๓- ถวายวัสสาวาสิกภัต๔- ถวายปัจจัยทั้งหลายมีจีว รเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น ๓ ส่วน
           ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน ๑
           เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน ๑
           ถวายทรัพย์ส่วน ๑ ไว้ในพระพุทธศาสนา.”


    เขารับว่า “ดีละ ขอรับ” แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถามพระเถระอีกว่า   
    “กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า? ขอรับ.”

____________________________
๑- กุลุปกะ ผู้เข้าไปสู่ตระกูล
๒- ภัตที่ทายกถวายตามสลาก.
๓- ภัตที่ทายกถวายในวันปักษ์.
๔- ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา.


     พระเถระ ตอบว่า “ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (และ) ศีล ๕.” เขารับไตรสรณะและศีล ๕
     แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึงบุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.
     พระเถระก็แนะว่า “ถ้ากระนั้น เธอจงรับศีล ๑๐.”
     เขากล่าวว่า “ดีละ ขอรับ” แล้วก็รับ (ศีล๑๐).


     เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพเศรษฐีบุตร.
     เขาเรียนถามอีกว่า “บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่หรือ? ขอรับ”
     เมื่อพระเถระกล่าวว่า “ถ้ากระนั้น เธอจงบวช”, จึงออกบวชแล้ว.
     ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่ง ได้เป็นอาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์,


     ในเวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมบทแล้วมาสู่สำนักของตน (อาจารย์)
     อาจารย์กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า
     “ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจนี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร.”
     ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาสู่สำนักของตนว่า
     “ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร, ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ.”



อยากสึกจนซูบผอม               
     ท่านคิดว่า “โอ! กรรมนี้หนัก, เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวช, แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่ปรากฏ, เราดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์ (ดีกว่า).”

     ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหมจรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, ไม่เรียนอุเทศ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย.

     ลำดับนั้น พวกภิกษุหนุ่มและสามเณร ถามท่านว่า
     “ผู้มีอายุทำไม? ท่านจึงยืนแฉะอยู่ในที่ยืนแล้ว นั่งแฉะในที่นั่งแล้ว ถูกโรคผอมเหลืองครอบงำ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย, ท่านทำกรรมอะไรเล่า?”
     ภิกษุ. ผู้มีอายุ ผมเป็นผู้กระสัน.
     ภิกษุหนุ่มและสามเณร. เพราะเหตุไร?
     ภิกษุนั้น บอกพฤติการณ์นั้นแล้ว, ภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้นบอกแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้ว. พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ได้พากันไปยังสำนักพระศาสดา.



รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้              
    พระศาสดาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน?”
     อาจารย์และอุปัชฌาย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันในศาสนาของพระองค์.
     พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? ภิกษุ.
     ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
     พระศาสดา. เพราะเหตุไร?
     ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้น กล่าวอภิธรรมกถา, พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา.
     ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า
      ‘ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์ ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์’
     ดังนี้ พระเจ้าข้า.


     พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น, กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.
     ภิกษุ. อะไร? พระเจ้าข้า.
     พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม?
     ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
     พระศาสดาประทานพระโอวาทนี้ว่า
     “ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้”

      ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
               ๓. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ  ยตฺถ กามนิปาตินํ
                   จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี    จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
                   ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียด
                   ยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่, (เพราะว่า)
                   จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้.



แก้อรรถ              
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทุทฺทสํ ได้แก่ ยากที่จะเห็นได้ด้วยดี.
    บทว่า สุนิปุณํ ละเอียดที่สุด ได้แก่ ละเอียดอย่างยิ่ง.
    บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ ความว่า มักไม่พิจารณาดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะที่พึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร.


    บาทพระคาถาว่า จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ความว่า
    คนอันธพาลมีปัญญาทราม ชื่อว่าสามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี. เขาเป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย:
    ส่วนผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิตเทียว ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้.


    เพราะเหตุนั้น แม้เธอจงคุ้มครองจิตไว้ให้ได้; เพราะว่า จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.

  ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมากได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

               เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ จบ.     


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=3     
ขอบคุณภาพจาก http://mooncurve.org/,http://www.freedomzone.in.th/,http://i.ytimg.com/,http://www.dhammada.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2012, 02:35:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2012, 09:57:31 pm »
0
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ นั้นก็เริ่มต้นที่ ขุททกาปีติ เป็นฐานจิตที่1 เป็นห้อง ที่1
      ในพระสูตร พระไตรปิฎก นั้นมีกี่เล่มทั้งหมด

         และมี พระไตรปิฏก ที่ชื่อหนังสือ ว่า  ขุททกนิกาย มีจํานวนกี่เล่ม

           ขุททกนิกาย เรื่องราวเกี่ยวกับอะไรโดยส่วนใหญ่

       ขอเป็นกําลังใจและบอกใบ้ไว้ตามที่รู้มาจากครูอาจารย์ที่เคยใบ้ไว้ เพราะข้าพเจ้าเคยโดนใบ้ ให้รู้สึกว่าเห็นตรงนี้ว่า
         การเริ่มที่ พระขุททกาปีติ นั้นเป็นเรื่องสําคัญมาก ในห้องที่1 ขั้นที่1  นั้นเรื่องสําคัญ
กรรมฐาน มัชฌิมา นั้น เป็นการเรียน ธาตุทั้ง5 เพื่อรู้รูปนาม
 
        เมื่อตั้งองค์ที่1 เดินให้ถึงองค์ที5
       เข้าคืบ-เข้าสับพระปีติ อนุโลม-ปฏิโลมพระปีติ เข้าวัด-ออกวัดพระปีติ
         ทั้งพระลักษณะ และ พระรัศมี

          และเข้าสดกด

           ทํากรรมฐาน สองส่วน   สัมปยุตธาตุ-สัมปยุตธรรม

               สองส่วนก็ยังมีของคู่เนาะ   ก็คือมีรูป กับ นาม

              ก็ต้องทํารูปนาม ให้หายไป จะได้ไม่ติด ในกาย และใน จิต

              และไม่ติดทั้งใน สมถะ และ วิปัสสนา

               พระพุทธองค์ท่านเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ตรงระหว่าง  ฌาน4-5
           
              ทํากรรมฐานสองส่วน   

                ลงให้เหลือส่วนเดียว

                ครูอาจารย์ว่าไว้ ถ้าตรงเป๊ะ พระสกทาคา

               ถ้าอธิจิต ก็คง พระอนาคา

                 เข้าให้ถึง ตัวจิต......หรือ จิตล้วน

                   เอาให้ได้แบบ เดินจิต พรวดเดียว

                       ถึง ...ถีติ ภูตัง จิตตัง    แบบท๊พระป่าบางองค์ ชอบพูด

                     เอาเป็นว่า  ผู้ฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา ต้องทําได้ทุกคน และต้องได้ทุกคน

               เข้าให้ถึง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ....ทางสายกลาง.....ถึงจิตล้วนๆ

               อย่าลืมไปค้นคว้า ขุททกนิกาย มีกี่เล่ม ต้องไปหาอ่าน พระพุทธองค์ ให้เรื่องสําคัญเอาไว้
         ที่ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า  กายพุทธะ จิตล้วนๆ........

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ.......กรรมฐานของพระพุทธเจ้า


      ขอเชิญผู้ที่สนใจ ที่จะฝึกและปฏิบัติกรรมฐานนี้......เราขอเชิญท่านไปที่

        วัดราชสิทธาราม คณะ5  หรือดูรายละเอียดก่อนที่ www.somdechsuk.org

        ขอให้ท่านโชคดี

             
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2012, 10:08:36 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2012, 10:54:49 am »
0

ขอบคุณภาพจากhttp://www24.brinkster.com/


ภาวนาธาตุสัมปยุต(เบื้องต้น)
"กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย"
"กายนี้ไม่เป็นเรา เรานี้ไม่เป็นกาย"
"กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย"
"มีแต่จิตล้วนๆ"
         

              คำภาวนาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนากรรมฐาน ของกรรมฐานมัชฌิมาฯ
              อยากบอกว่า กรรมฐานมัชฌิมาฯ "สอนทั้งสมถะและวิปัสสนาร่วมกันไป"

               :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว    
     
          ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า “ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ?”
     ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้.
     พระศาสดา. เพราะเหตุไร.? ภิกษุ.
     ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะว่า) อุบาสิกานั้นย่อมรู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้วๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า “ก็ธรรมดา ปุถุชนย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่างอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้นก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น” ดังนี้แล้ว จึงได้มา.


     พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
     ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ในที่นั้นไม่ได้.
     พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้นได้ไหม?
     ภิกษุ. รักษาอะไร? พระเจ้าข้า.
     พระศาสดาตรัสว่า
     “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไรๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก”

      ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
            ๒.    ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน    ยตฺถ กามนิปาติโน
                จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
                การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตก
                ไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
                จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.


ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2
____________________________________________________________



รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้
       
          พระศาสดาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน?”
     อาจารย์และอุปัชฌาย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันในศาสนาของพระองค์.
     พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? ภิกษุ.
     ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
     พระศาสดา. เพราะเหตุไร?
     ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้น กล่าวอภิธรรมกถา, พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา.
     ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า
      ‘ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์ ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์’
     ดังนี้ พระเจ้าข้า.


     พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น, กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.
     ภิกษุ. อะไร? พระเจ้าข้า.
     พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม?
     ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
     พระศาสดาประทานพระโอวาทนี้ว่า
    “ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้”

      ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
               ๓. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ  ยตฺถ กามนิปาตินํ
                   จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี    จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
                   ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียด
                   ยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่, (เพราะว่า)
                   จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้.


ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=3     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2014, 11:58:00 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 06:49:15 pm »
0
ขอขอบคุณท่านผู้เจริญทุกท่าน ที่ได้โพสท์กระทู้นี้ ผมได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้เมื่อวานนี้เอง ซึ่งผมได้กระทำทางกายวาจาและใจอันเป็นเครื่องให้ร้อนรุ่มเศร้าหมอง หาทางออกไม่ได้ เป็นทุกข์ยิ่งนัก ครั้นเมื่ออ่านกระทู้นี้ทบทวนโดยลำดับแล้วแลเห็นว่าแม้ผมจะหนีปัญหาที่นี่แต่หากยังรักษาอบรมจิตไม่ได้ เกิดความสักแต่ว่ารู้ไม่ได้ เจริญปธาน๔ ไม่ได้แล้วไซร้ ผมจักไปที่ไหนก็หนีไม่พ้นความมัวหมอง เศรเาหมองให้เป็นทุกข์อยู่ดี ดั่งที่พระตถาคตตรัสบอกภิกษุนั้นว่า เธอจงอยู่ที่นั้นล่ะ แล้วรักษาใจอย่างเดียว เพราะมโนกรรม คือ ความทำไว้ในใจไรๆสำคัญยิ่ง

บัดนี้ผมจะสู้กับกรรมทั้งปวง สถานที่ผมอยู่นี้แลเหมาะแก่การอบรมจิตแล้ว จักพึงกระทำสัมมัปปธาน ๔ ให้แจ้ง
ขอขอบคุณท่านผู้เจริญทั้งหลายที่ช่วยโพสท์กระทู้นี้ให้ได้อ่าน ทำให้เห็นเลยว่า เจตนา สติ สัมปะชัญญะ สำคัญยิ่งนัก ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2014, 10:12:49 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รักษาจิตอย่างเดียว...อาจพ้นทุกข์ได้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2014, 09:36:15 am »
0
รักษาจิต
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา