ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อนมาชวนไปทำบุญใส่บาตร ในวันสำคัญ แต่เราปฏิเสธไม่ไป อย่างนี้เป็น บาป หรือไม่  (อ่าน 2644 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pimpa

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เพื่อนมาชวนไปทำบุญใส่บาตร ในวันสำคัญ แต่เราปฏิเสธไม่ไป อย่างนี้เป็น บาป หรือไม่


 st12 :88: :88: :c017:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บุญน่าจะไม่ได้นะคะ
แต่ บาป น่าจะไม่มีเช่นกัน คะ

  st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป

     [๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
              ๑. ปาณาติบาต           [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
              ๒. อทินนาทาน          [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]
              ๓. กาเมสุมิจฉาจาร    [การประพฤติผิดในกาม]
              ๔. มุสาวาท               [พูดเท็จ]
              ๕. ปิสุณาวาจา           [พูดส่อเสียด]
              ๖. ผรุสวาจา              [พูดคำหยาบ]
              ๗. สัมผัปปลาป         [พูดเพ้อเจ้อ]
              ๘. อภิชฌา               [ความโลภอยากได้ของเขา]
              ๙. พยาบาท              [ความปองร้ายเขา]
             ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ         [ความเห็นผิด]

_______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=359&items=1&preline=0&pagebreak=0




อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

    จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความสะอาดในวินัยของพระอริยะย่อมมีอย่างไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ความสะอาดในวินัยของพระอริยะมีอยู่ด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ด้วยประการนั้นเถิด ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า   
     ดูกรจุนทะ  ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง
                 ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
                 ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง ฯ

      ans1 ans1 ans1

     ดูกรจุนทะ ก็ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า
     ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้
     - เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑
     - เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ
บุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑
     - เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา สตรีมีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑
     ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ

       st12 st12 st12

     ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า
     ดูกรจุนทะบุคคลบางคนในโลกนี้
     - เป็นผู้มีปรกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นกล่าวว่าไม่เห็น ดังนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการดังนี้ ๑
     - เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกันหรือส่งเสริมชนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑
     - เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง ทำให้ผู้อื่นข้องใจ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
     - เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ๑
     ดูกรจุนทะความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ





    ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า
     ดูกรจุนทะบุคคลบางคนในโลกนี้
     - เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑
     - เป็นผู้มีจิตปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จง
พินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑
     - เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑
     ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ


      :25: :25: :25:

     ดูกรจุนทะ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการนี้แล
     ดูกรจุนทะ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่
     ถึงแม้จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ถึงแม้จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ถึงแม้จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ถึงแม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ถึงแม้เป็นผู้ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะเป็นผู้ไม่ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ถึงแม้จะลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นความไม่สะอาดด้วย เป็นตัวกระทำไม่สะอาดด้วย


      :96: :96: :96:

     ดูกรจุนทะ ก็เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้
     นรกจึงปรากฏ กำเนิดดิรัจฉานจึงปรากฏ เปรตวิสัยจึงปรากฏ
     หรือว่า ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้อื่น จึงมี
...ฯลฯ...

_____________________________________________________________________
จุนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/read/?24/165/285
ขอบคุณภาพจาก
http://static.cdn.thairath.co.th/
http://www.dhammadelivery.com/
http://kong.in.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2013, 11:17:06 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

เพื่อนมาชวนไปทำบุญใส่บาตร ในวันสำคัญ แต่เราปฏิเสธไม่ไป อย่างนี้เป็น บาป หรือไม่


 st12 :88: :88: :c017:


     ans1 ans1 ans1

     บาปจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราทำ "อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ" การเว้นทำบาปเป็นมงคลที่ ๑๙
     หากประสงค์จะรักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ ควรปฏิบัติตามมงคล ๓๘ ประการ
     การทำบุญมีหลายทาง ไม่ได้มีเฉพาะการใส่บาตร หากกังวลว่า ไม่ได้ใส่บาตรแล้วจะไม่ได้บุญ
     ขอให้พิจารณา บุญกิริยาวัตถุ 10 ดังนี้
         บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
           1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
           2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
           3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
           4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
           5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
           6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
           7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
           8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
           9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความ)
         10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

     ขอให้เลือกสร้างบุญจาก ๑๐ ข้อนี้


      :96: :96: :96:

     ขอปิดท้ายด้วย "พุทธวจนะ" ที่ว่า

     "บาปย่อมไม่มีแก่คนไม่ทำบาป"

     "บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย(พอประมาณ) จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาด น้ำที่ตกทีละหยาดๆ (ฉันใด) คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป (ฉันนั้น)

    "บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ"

     "ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย"


      :25: :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2013, 11:43:03 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว ก็น่าจะไม่ บาป นะ เพราะ บาป หมายถึง จิตเศร้าหมอง

 :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ