ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สืบสานประเพณี "ตักบาตรขนมครก" ที่สมุทรสงคราม  (อ่าน 1453 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

งานประเพณีทำบุญตักบาตรขนมครกชาวตำบลบางพรมของวัดแก่นจันทร์เจริญ
ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลากว่า 85 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2473

สืบสานประเพณี "ตักบาตรขนมครก" ที่สมุทรสงคราม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงครามและ ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม จัดงานประเพณี "ทำบุญตักบาตรขนมครก-น้ำตาลทราย" ณ วัดแก่นจันทร์เจริญ ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม โดยมีนายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธาน



งานประเพณีทำบุญตักบาตรขนมครกชาวตำบลบางพรมของวัดแก่นจันทร์เจริญ ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี และได้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลากว่า 85 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 สมัยที่พระครูสุนทรสุตกิจหรือหลวงปู่โห้เป็นเจ้าอาวาส โดยมีชาวบ้านตำบลบางพรม พุทธศาสนิกชน นักเรียน อาจารย์ ร่วมแรงร่วมใจกันสืบทอดประเพณีที่ดีงามด้วยความศรัทธาและความเชื่อที่หลากหลาย

จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีความเชื่อกันว่า "ขนม ค-ร-ก" หรือ "ขนม คน-รัก-กัน" นั้น เป็นขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้งและกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่าจะได้ครองรักอยู่คู่กันตลอดไป ส่วนคนที่ไม่มีคู่ก็จะทำให้พบเนื้อคู่เหมือนขนมครกที่ต้องมี 2 ฝา และมีความรักหวานมันนุ่มละมุนลิ้นเหมือนรสชาติของขนมครกนั่นเอง ทั้งมีกิจกรรมการสาธิตวิธีการโม่แป้งแบบโบราณ การแข่งขันกีฬาแบบพื้นบ้าน เช่น วิ่งวิบากขนมครก ขูดมะพร้าว ขนมครกลีลา

 

ในวันนี้ชาวบ้านญาติโยมที่มาร่วมทำบุญ จะตระเตรียมข้าวของอุปกรณ์สำหรับทำขนมครก ช่วยกันลงแรงและบริจาคทรัพย์มาซื้อข้าวสารเพื่อนำมาหมักค้างคืนไว เมื่อถึงตอนเช้าของวันใหม่ก็จะไปรวมตัวกันที่ศาลาวัด ช่วยกันโม่แป้ง คั้นกระทิ ทำขนกครกพร้อมกับน้ำตาลทราย เพื่อนำไปตักบาตรถวายพระสงฆ์ ทุกๆ ปีจะมีผู้คนทั่วทุกสารทิศเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นโอกาสของการพบปะญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกล กลับมายังภูมิลำเนา เป็นการเสริมสร้างความรักในครอบครัว และความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย

ประเพณีตักบาตรขนมครกเริ่มครั้งแรกเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระราชพิธี 12 เดือน ปรากฏหลักฐานของสำนักในการตักบาตรขนมเบื้อง ครั้นเมื่อถึงเดือนอ้ายด้วยมีกุ้งชุกชุมเป็นจำนวนมากให้เกณฑ์ฝ่ายช่วยกันปรุงขนมเบื้องถวายพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชและพระราชาคณะ พระราชพิธีตักบาตรขนมเบื้องสืบทอดมาจนถึงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พ.ศ.2449

ต่อมาพระครูสุนทรสุตกิจหรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดแก่นจันทร์เจริญ ได้ริเริ่มประเพณีตักบาตรขนมครกนี้ โดยมีการเลียนแบบมาจากประเพณีการตักบาตรขนมเบื้องของพระราชพิธีในวัง และได้ชักชวนญาติโยมร่วมกันตักบาตรขนมครก ในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีทำบุญตักบาตรนับเนื่องแต่พุทธกาล



อานิสงส์ที่ได้รับทำให้ยังสังขารและธาตุของคณะสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา พัฒนาฝึกฝนทั้งทางด้านจิตใจและความรู้ความสามารถในการปลูกสร้างตกแต่งซ่อมแซมอาคารต่างๆ ได้รับความรู้หลังจากลาสิขาบทไปแล้วยังได้นำปัจจัยไปบำรุงศึกษาทั้งทางสงฆ์และลูกหลานของทายกทายิกา น้ำตาลทรายที่ได้จากการตักบาตรให้ทายกทายิกาได้สืบทอดการทำตังเมมาแต่โบราณ เพื่อแจกจ่ายแก่คณะสงฆ์และผู้มาช่วยกิจการภายในวัด ทั้งยังใช้ในการปรุงอาหารสำหรับผู้ที่มาทำบุญเมื่อถึงคราวเข้าพรรษาของพระสงฆ์

แลยังถึงซึ่งความสามัคคีเข้มแข็งของทายกทายิกาในชุมชนและเครือข่าย ชุมชนตำบลบางพรมร่วมด้วย อบต.บางพรมมีความปรารถนาในการสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีตักบาตรขนมครกของตำบลบางพรม ให้เป็นตำนานยืนยาวสืบต่อไป

 
ผู้สื่อข่าว : ทีมข่าวสปริงนิวส์
ที่มา news.springnewstv.tv/53914/สืบสานประเพณีตักบาตรขนมครกที่สมุทรสงคราม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

‘ตักบาตรขนมครก’ วัดแก่นจันทร์เจริญ หนึ่งเดียวในเมืองไทย จ.สมุทรสงคราม

ประเทศไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมากมายและแตกต่างกันไปตามวิถีแต่ละชุมชน ในเมืองไทยมีประเพณีตามความเชื่อทางพุทธศาสนาที่น่าสนใจและมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งในวันที่ 1 กันยายน 2557 จะมีประเพณี “ตักบาตรขนมครก” ที่วัดแก่นจันทร์เจริญ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี และได้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลากว่า 85 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 สมัยที่หลวงปู่โห้ เป็นเจ้าอาวาส

โดยมีชาวบ้านตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งพุทธศาสนิกชน นักเรียน อาจารย์ ร่วมแรงร่วมใจกันสืบทอดประเพณีที่ดีงามด้วยความศรัทธาและความเชื่อที่หลากหลาย จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีความเชื่อกันว่า
    “ขนม ค-ร-ก” หรือ “ขนม คน-รัก-กัน” นั้น เป็นขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้งและกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกัน เป็นสัญลักษณ์ว่าจะได้ครองรักอยู่คู่กันตลอดไป
    ส่วนคนที่ไม่มีคู่ก็จะทำให้พบเนื้อคู่เหมือนขนมครกที่ต้องมี 2 ฝา และมีความรักหวานมันนุ่มละมุนลิ้นเหมือนรสชาติของขนมครกนั่นเอง


 :49: :49: :49: :49:

    และซึ่งในปีนี้ท่านจะได้พบกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การสาธิตวิธีการโม่แป้งแบบ โบราณ การแข่งขันกีฬาแบบพื้นบ้าน เช่น วิ่งวิบากขนมครก ขูดมะพร้าว ขนมครกลีลา เป็นต้น ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม
    จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวคู่รักร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม อีกทั้งยังเป็นการทำบุญอีกทางหนึ่ง ที่แตกต่างจากการทำบุญรูปแบบอื่นๆ และจะทำให้ชีวิตคู่มีความสุขหอมหวานเหมือนขนม ค-ร-ก หรือ ขนม คน-รัก-กัน นั่นเอง



     สำหรับประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ท่านอนาถปิณฑิกะคฤหบดีผู้เป็นเอตทัคคะ ในทางถวายทาน มีรับรองอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ ชื่อ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาติ เป็นสุตตันตปิฎก ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ วรรคที่ ๑ ชื่อ ปุญญาภิสัณฑวรรค ว่าด้วยความไหลมาแห่งบุญ
     และทรงตรัสตอบปุจฉาของพระนางสุมนาราชกุมารี พระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีบันทึกในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ชื่อ อังคุตตรนิกาย ปัญจกฉักกนิบาติ เป็นสุตตันตปิฎก ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ที่ ๑ วรรคที่ ๔ ชื่อ สุมณวรรค ว่าด้วยนางสุมนาราชกุมารี ความว่า
    "การถวายอาหารโดยกุศลจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว ชื่อว่าให้อายุ ผิวพรรณ ยศ สุข กำลัง ปณิธาน แล ความเป็นใหญ่ย่อมได้รับผลตามเจตนาแห่งกุศลอันดีแล้ว เป็นความสุขอันหาได้ยากของคฤหัสถ์"
    ประเพณีการทำบุญตักบาตรแด่หมู่สงฆ์ จึงปรากฏมีมาแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน



    ครั้งแรกเมื่อเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยพระราชพิธี ๑๒ เดือน ปรากฏหลักฐานของสำนักใน การตักบาตรขนมเบื้อง ครั้นเมื่อถึงเดือนอ้ายด้วยมีกุ้งชุกชุมเป็นจำนวนมาก ให้เกณฑ์ฝ่ายในช่วยกันปรุงขนมเบื้องถวายพระบรมวงศาณุวงศ์ที่ทรงผนวชแลพระราชาคณะ พระราชพิธีตักบาตรขนมเบื้องสืบทอดมาจนถึงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี

    พ.ศ.๒๔๔๙ หลวงปู่โห้ ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสุนทรสุตกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัดแก่นจันทน์เจริญ ได้ชักชวนทายกทายิการ่วมกันตักบาตรขนมครกใน วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีทำบุญตักบาตรนับเนื่องแต่พุทธกาล


     st12 st12 st12 st12

    อานิสงฆ์ที่ได้รับทำให้ยังสังขารและธาตุของคณะสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาพัฒนาฝึกฝนทั้งทางด้านจิตใจและความรู้ความสามารถในการปลูกสร้าง ตกแต่งซ่อมแซมอาคารต่างๆ ได้รับความรู้ หลังจากลาสิกขาบทไปแล้วยังได้นำปัจจัยไปบำรุงศึกษาทั้งทางสงฆ์และลูกหลานของทายกทายิกาน้ำตาลทรายที่ได้จากการตักบาตรให้ทายกทายิกาได้สืบทอดการทำตังเมมาแต่โบราณเพื่อแจกจ่ายแก่คณะสงฆ์และผู้มาช่วยกิจการภายในวัด ทั้งยังใช้ในการปรุงอาหารสำหรับผู้ที่มาทำบุญ

    เมื่อถึงคราวเข้าพรรษาของพระสงฆ์ ชาวบ้านในชุมชนตำบลบางพรมจึงมีความปรารถนาในการสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีตักบาตรขนมครกให้เป็นตำนานยืนยาวสืบไปในอนาคตกาล.


ขอบคุณบทความจาก http://www.thaipost.net/tabloid/310814/95488
ขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9570000097636
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2014, 08:00:53 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สืบสานประเพณี "ตักบาตรขนมครก" ที่สมุทรสงคราม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 08:08:14 pm »
0
http://61.19.244.31/centerapp/UploadFiles/Video%2f2557%2f09%2f01%2fMobile%2fVNOHT570901001009801.mp4


บรรยากาศงานประเพณีสืบสานทำบุญตักบาตรขนมครก – น้ำตาลทรายประเพณียาวนานกว่า 100 ปี

ขอบคุณวีดิทัศน์จาก 61.19.244.31/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=TNART5709010010002
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ