ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรวดน้ำใจ : ธรรมะยู-เทิร์น  (อ่าน 1106 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กรวดน้ำใจ : ธรรมะยู-เทิร์น
« เมื่อ: กันยายน 03, 2014, 11:49:01 am »
0

กรวดน้ำใจ
ธรรมะยู-เทิร์น โดย..อิทธิโชโต

มีลูกศิษย์คนหนึ่งสงสัยว่า เวลาที่ใส่บาตรทำบุญแล้ว ก็จะต้องไปกรวดน้ำกันต่อ จำเป็นหรือไม่ การกรวดน้ำนั้นมีที่มาอย่างไร และกระทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง จึงได้อธิบายไปว่า การกรวดน้ำ มีที่มาจาก 'อนุโมทนารัมภะคาถา' ที่กล่าวว่า
     ยถา วาริวหา ปูรา ปริ ปูเรนฺติ สาครํ, เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ, อิจฺฉิตํ ปตฺกิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ, สพฺเพ ปุเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา, มณิ โชติรโส ยถา...

แปลความว่า ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด, ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในวันนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ท่าน และแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันใด, ขออิฏฐะผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน, ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ, เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี


 :96: :96: :96: :96:

ฉบับแปลเป็นภาษาไทยนี้นำมาจากสำนวนของท่านพุทธทาส ส่วนความหมายของการกรวดน้ำทั้งหมดนี้ก็คือว่า เมื่อทำบุญแล้ว เรามีจิตใจที่จะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรก็ได้ อุทิศให้แก่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้ ให้แก่บุคคลที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ แล้วแต่เรา จะมีน้ำหรือไม่มีก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราว่ามีเจตนาจะทำให้ไหม ที่สำคัญคือเรื่องจิตใจ บางคนไม่เข้าใจก็อาศัยประเพณีที่บรรพบุรุษทำสืบต่อกันมา โดยอาศัยน้ำเป็นเหตุก็ได้

ส่วนที่มีความนิยมเอามือต่อๆ กันขณะกรวดน้ำนั้น ก็ไม่ผิดอะไร ใช้ได้เหมือนกัน เป็นการมาร่วมบุญกัน มีจิตใจร่วมที่จะสร้าง มีจิตใจที่จะให้ มีความดำริที่จะทำดี เจตนาที่ทำก็ไม่มีผลเสียอะไร เราอาบน้ำวันละโอ่งสองโอ่งยังอาบได้ กับแค่น้ำเล็กๆ น้อยๆ จะเป็นไรไป


 ans1 ask1 ans1 ask1

ยังมีคำถามอีกว่า หลังการกรวดน้ำก็เอาน้ำไปรดน้ำต้นไม้แล้วมองว่า ต้นไม้ก็ยังได้ประโยชน์อีก อันนี้คิดถูกไหม จริงๆ แล้วจะคิดอย่างไรก็ได้ แต่ความหมายของการกรวดน้ำก็คือ เป็นการอุทิศส่วนกุศลไปเลย อย่าให้เป็นว่า เพื่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือ ไม่ต้องหวังผล ทำแล้วให้เปล่า ส่วนจะมากจะน้อยก็อยู่กับเราทำ

เพราะการอุทิศส่วนกุศลก็ไม่แน่ว่าเขาจะได้เสมอไป เราสร้างบุญกุศลให้ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร ถามว่าตัวเจ้าของผู้ทำกุศลได้ไหม ได้ ส่วนเขาจะรับได้หรือไม่ก็อยู่ที่เขา แต่คนทำได้แน่ๆ บุญที่ทำไปไม่สูญหาย

ดังที่หลวงตามหาบัว กล่าวว่า เราไม่กรวดก็ไม่ผิดอุทิศ ทางน้ำใจคือเราอุทิศ อุทิศหมายถึงเจาะจงแก่คนนั้นๆ หรือสัตว์พวกไหน จำพวกไหนก็ตามก็เป็นการเจาะจงอุทิศ ...เราจะกรวดทางน้ำใจก็ได้ การกรวดน้ำนี้เป็นพยานของน้ำใจว่าเราได้ทำอย่างนี้เป็นเรื่องสำคัญอยู่มากในน้ำใจ

    เข้าใจตรงกันนะ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140901/191270.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ