ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สืบสานประเพณีทรงคุณค่า ในงาน “ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวมอญ” สังขละบุรี  (อ่าน 906 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สืบสานประเพณีทรงคุณค่า ในงาน “ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวมอญ” สังขละบุรี

 ททท.กาญจนบุรี ชวนร่วมสืบสานประเพณีดั้งเดิมของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ อ.สังขละบุรี ชมและศึกษาความเชื่อเรื่องการบูชาเทวดา การต่อเรือจากลำไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ร่วมสะเดาะเคราะห์เพื่อต่ออายุ และจุดเทียนอธิษฐานเพื่อขอให้สิ่งไม่ดีหลุดพ้นไปจากชีวิตตน ร่วมปล่อยโคมลอยขนาดใหญ่ พร้อมชมขบวนแห่ในพิธีลากเรือไปปล่อยกลางแม่น้ำบริเวณ “สามสบ” ในงานประเพณีบุญเดือนสิบ “ลอยเรือสะเดาะห์เคราะห์” ของชุมชนมอญอำเภอสังขละบุรี ในวันที่ 7 - 9 กันยายน 2557 ณบริเวณลานหน้าเจดีย์พุทธคยา วัดวังก์วิเวการาม ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
       
ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญ อำเภอสังขละบุรี กำหนดจัดในวันขึ้น 14 - 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูชาเทวดาที่อยู่ในน้ำ ในป่า และบนบก อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มชน ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ให้แก่ชุมชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ โดยประเพณีดังกล่าวมีกิจกรรมที่น่าสนใจ

อาทิ การเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ การบูชาเรือ โดยนำธงกระดาษ และอาหารคาวหวาน 9 อย่าง ไปบูชาเรือ การสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ โดยการนำธูปเทียน ตามกำลังวันเกิดไปไหว้และสะเดาะเคราะห์เพื่อจะมีการเผาธูปเทียนในวันสุดท้ายของงาน การเล่นโคม ปล่อยโคม การตักบาตรน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง การเลี้ยงอาหารคาวหวานแก่ผู้มาร่วมงาน การนำเรือไปลอยในแม่น้ำ บริเวณที่แม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน


        :96: :96: :96: :96:

สำหรับพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของชาวมอญที่ยังทำกันอยู่มีการเตรียมงานดังนี้ ก่อนวันพิธี ชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกันเตรียมทำธง ร่ม และจัดเครื่องบูชาต่างๆ เพื่อถวายวัด โดยมีการแบ่งงานให้หัวหน้าคุ้มต่างๆ รับไปให้ลูกบ้านช่วยทำ แล้วนำมาส่งที่วัด ผู้ชายส่วนหนึ่งจะมารวมกันที่วัดวังก์วิเวการาม เพื่อร่วมกันสร้างเรือจากลำไม้ไผ่ ประดับตกแต่งด้วยกระดาษสี ในยามหัวค่ำ
       
จนถึงเช้ามืดของวันขึ้น 15 ค่ำ ชาวบ้านต่างทยอยพากันนำธง ตุง ร่มกระดาษ มาประดับตกแต่งเรือ และบริเวณปะรำพิธีอย่างเนืองแน่น พร้อมนำเครื่องเซ่น เช่น กล้วย อ้อย ขนม ข้าว ดอกไม้ ไปวางไว้ในลำเรือ จุดเทียนอธิษฐานให้สิ่งไม่ดี และเคราะห์ร้ายต่างๆ ไปให้พ้นจากชีวิตตน จากนั้นรับฟังบทสวดอิติปิโส 108 จบ และบทสวดสะเดาะเคราะห์จากภิกษุสงฆ์ และเมื่อถึงเช้าวันแรม 1 ค่ำ ชาวบ้านทั้งหมดก็จะมารวมตัวกันตั้งขบวนแห่ มีการละเล่นร้องรำประกอบดนตรี และการปล่อยโคมลอยขนาดใหญ่ จากนั้นชาวบ้านทั้งหมดจะช่วยกันลากเรือไปปล่อยกลางน้ำ

       

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000101149
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากไปดูบ้างจัง

  :49: :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ