ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "มาเข้าใจเรื่องธาตุ กันสักนิด ธาตุดิน"  (อ่าน 3070 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๓.  โอปัมมวรรค]
                 ๘.  มหาหัตถิปโทปมสูต

พระไตรปิฏก เล่มที่ 12 หน้า 330 -332

    ปฐวีธาตุ
     [๓๐๒]    ปฐวีธาตุ    เป็นอย่างไร
     คือ    ปฐวีธาตุภายในก็มี    ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
     ปฐวีธาตุภายใน    เป็นอย่างไร
            คือ    อุปาทินนกรูป(๑)ภายในที่เป็นของเฉพาะตน    เป็นของแข้นแข็ง    เป็นของหยาบได้แก่    ผม    ขน    เล็บ    ฟัน    หนัง    เนื้อ    เอ็น    กระดูก    เยื่อในกระดูก    ไต    หัวใจ    ตับพังผืด    ม้าม    ปอด    ไส้ใหญ่    ไส้น้อย    อาหารใหม่    อาหารเก่า    หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด    ที่เป็นของเฉพาะตน    เป็นของแข้นแข็ง    เป็นของหยาบ    นี้เรียกว่า
‘ปฐวีธาตุภายใน’
            ปฐวีธาตุภายใน    และปฐวีธาตุภายนอกนี้    ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง    บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า    ‘นั่นไม่ใช่ของเราเราไม่เป็นนั่น    นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’    บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว    ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ    และทำจิตให้คลายกำหนัดจากปฐวีธาตุ
            เวลาที่อาโปธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้    ในเวลานั้น    ปฐวีธาตุภายนอกจะอันตรธานไป    ปฐวีธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา    มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา    มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา




(๑) อุปาทินนกรูป  หมายถึงรูปมีกรรมเป็น สมุฏฐาน  คำนี้เป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ภายในสรีระ  ที่ยึดถือ
   จับต้อง  ลูบคลำได้  เช่น  ผม  ขน  ฯลฯ  อาหารใหม่  อาหารเก่า  คำนี้กำหนดจำแนกหมายเอาปฐวีธาตุภายใน   แต่สำหรับอาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ก็มีนัยเช่นเดียวกัน  พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (ม.มู.อ. ๒/๓๐๒/๑๓๐)




ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า    ‘เรา’    ว่า    ‘ของเรา’    ว่า‘เรามีอยู่’    จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา    มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา    และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า    เมื่อเป็นเช่นนี้    ภิกษุนั้นก็ไม่มีความยึดถือในปฐวีธาตุภายในนี้

    หากชนเหล่าอื่นจะด่า    บริภาษ    เกรี้ยวกราด    เบียดเบียนภิกษุนั้น    ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า    ‘ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา    แต่ทุกขเวทนานั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้    ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้    ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไรจึงเกิดขึ้นได้    ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้’    ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า    ‘ผัสสะไม่เที่ยง    เวทนาไม่เที่ยง    สัญญาไม่เที่ยง    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง    วิญญาณไม่เที่ยง’จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป    ย่อมผ่องใส    ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล

    หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา    ไม่น่าใคร่    ไม่น่าพอใจ    คือ    ด้วยการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง    การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้างการทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง    การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง    ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า    ‘กายนี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง    การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง    การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง    การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง’    อนึ่ง    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย๑ว่า    ‘ภิกษุทั้งหลาย    หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทรามจะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ    ๒    ข้าง    เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่    ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้นก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา    เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น’    อนึ่ง    ความเพียรที่เราเริ่มทำแล้วจักไม่ย่อหย่อน    สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม    กายที่เราทำให้สงบแล้วจักไม่กระวนกระวาย    จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่    คราวนี้ต่อให้มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ    การทำร้ายด้วยก้อนดิน    การทำร้ายด้วยท่อนไม้    หรือการทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม    เราก็จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ให้จงได้

    เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า    ระลึกถึงพระธรรม    และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้    ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้    ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า    ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ    ลาภไม่มีแก่เราหนอ    เราได้ไม่ดีแล้วหนอการได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ    ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า    ระลึกถึงพระธรรม    และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้    อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’    หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ    แม้ฉันใด    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน    เมื่อระลึกถึง
พระพุทธเจ้า    ระลึกถึงพระธรรม    และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้    ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้    ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า    ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ    ลาภไม่มีแก่เราหนอ    เราได้ไม่ดีแล้วหนอ    การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า    ระลึกถึงพระธรรม    และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’
 
           ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย    เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า    ระลึกถึงพระธรรมและระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้    ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยดีภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้    ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2012, 09:20:17 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การเข้าใจเรื่อง ธาตุ เป็นพืนฐาน ของการภาวนากรรมฐาน เพราะกรรมฐานในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นอาศัยธาตุ เป็น เครื่องกำหนด มีตั้งแต่ พระลักษณะ ขึ้นไป

   การกำหนด  ธาตุ เบื้องต้น มีดังนี้

   1. กำหนดด้วย ความรู้ ด้วยการรู้จัก
   2. กำหนดด้วย การเข้าถึง
   3. กำหนดด้วย การประจักษ์
   4. กำหนดด้วย ผลของประจักษ์

   1.กำหนดรู้ด้วย ความรู้ ด้วยการรู้จัก

      ก็ต้องรู้ว่า ธาตุ มี 2 แบบใหญ่ คือ ธาตุเป็นภายใน ธาตุที่เป็นภายนอก ธาตุที่เป็นทั้งภายในและภายนอกเข้าไปทำความรู้จัก ว่า ธาตุภายใน มีอะไรบ้าง เช่น ธาตุดินที่เป็นภายใน คือ อะไร ธาตุดินภายนอก คือ อะไร ส่วนเมื่อเราเข้าใจ อะไรเป็นภายใน อะไรเป็นภายนอก ก็จะเข้าใจเองว่า อะไรเป็นธาตุภายในและภายนอก ดังนั้นในพระสูตรนั้น จึงไม่กล่าวถึงธาตุที่เป็นภายในและภายนอก เช่น อาหารใหม่ เป็นทั้งภายในและภายนอก อย่างนี้เป็นต้น

   2.กำหนดด้วยการเข้าถึง

     เมื่อเราภาวนา ก็จะเป็นการกำหนดด้วยการเข้า ถึง เมื่อเราเข้าถึง ก็จะเข้าใจ ธาตุ มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ธาตุที่มีใจครอง กับ ธาตุ ที่ไม่มีใจครอง การภาวนาล้วนธาตุ ที่มีใจครองทั้งหมด ส่วนถ้าที่ไม่มีใจครองนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ การภาวนา เป็นเพียงธาตุปัจจัย


   3. กำหนดด้วยการประจักษ์
   
     เมื่อเราภาวนา ถึงจะไม่เข้าถึง แต่ก็ประจักษ์แจ้ง ด้วยใจเมื่อเราภาวนา ในธาตุ ในฐาน พุทธคุณ ก็จะเข้าถึง ธรรมปีติ เบื้องต้น ตั้งแต่ ธาตุดินเป็นต้นไป การประจักษ์ ก็จะเข้าถึง พระลักษณะ เป็นเบื้องต้น

   4.กำหนดด้วยผล ของการประจักษ์

     เมื่อเข้าถึงการประจักษ์ แล้ว ผลของการประจักษ์ เพราะการไม่กำหนดรู้ ดังนั้น จึงต้องมีการซักซ้อม ผลของการประจักษ์ ด้วยการภาวนา ที่สลับไป สลับมา เพื่อความแม่นยำในผลของการประจักษ์

    อันที่จริงการเข้าถึงธาตุ ยังมีมากกว่านี้ แต่ขอเปิดเผยเืบื้องต้น เท่านี้ก่อนเกรงว่าผู้อ่านจะลำบากในการทำความเข้าใจ ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนกับการเข้าถึง ธาุตุ ด้วยการกำหนดรู้

    เจริญพร / เจริญธรรม


    :25:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2012, 09:20:45 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๒.  ภิกขุวรรค]
 ๒.  มหาราหุโลวาทสูตร

พระไตรปิฏก เล่มที่ 13 หน้า 126

 [๑๑๔]    ครั้นเวลาเย็น    ท่านพระราหุลออกจากที่หลีกเร้น    แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวายอภิวาทแล้วนั่ง    ณ    ที่สมควร    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร    ทำให้มากแล้วอย่างไร    จึงมีผลมาก    มีอานิสงส์มาก”
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า    “ราหุล    รูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็น อุปาทินนกรูป(๑)ที่เป็นภายใน    เป็นของเฉพาะตน    เป็นของแข้นแข็ง    เป็นของหยาบ    คือ    ผม    ขน    เล็บ ฟัน    หนัง    เนื้อ    เอ็น    กระดูก    เยื่อในกระดูก    ไต(๒)    หัวใจ    ตับ    พังผืด    ม้าม    ปอด    ไส้ใหญ่ ไส้น้อย    อาหารใหม่    อาหารเก่า    หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน    เป็นของเฉพาะตน    เป็นของแข้นแข็ง    เป็นของหยาบ    นี้เรียกว่า    ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน

            ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)    ที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก    ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง    บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า‘นั่นไม่ใช่ของเรา    เราไม่เป็นนั่น    นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’    ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว    ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ    และทำจิตให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุได้

 
(๑) อุปาทินนกรูป หมายถึงรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน และคำนี้ยังเป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ในสรีระโดยที่ยึดถือจับต้อง ลูบคลำได้ เช่น ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า คำนี้กำหนด จำแนกไว้โดยเป็นปฐวีธาตุที่เป็นภายใน สำหรับกุลบุตรผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน(ที่กำหนดจำแนกเป็นอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ)ก็เช่นเดียวกัน พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (ม.มู.อ. ๒/๓๐๒/๑๓๐)
(๒)วักกะ โบราณแปลว่า ม้าม และแปลคำว่าปิหกะ ว่า “ไต” แต่ในที่นี้ แปลวักกะ ว่า “ไต” และแปล ปิหกะว่า “ม้าม” อธิบายว่า ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รัดรึงจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออก ห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๔๓-๔๔); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามของ “ไต”ไว้ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำ
ปัสสาวะ” Buddhadatta Mahathera, A Concise Pali-English Dictionary; Rhys Davids. T.W.Pali-English Dictionary ให้ความหมายของคำว่า “วักกะ” ตรงกันว่า “ไต” (Kidney)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2012, 09:54:03 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ถ้าตามอ่านมาหลายตอน น่าจะประสานได้กับเรื่องตอบนามรูป เลยนะคะ


อยากทราบความหมายของคำว่า รูป และ นาม ในการภาวนากรรมฐาน ครับ
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7627.0
บันทึกการเข้า