สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: whanjai ที่ กรกฎาคม 25, 2010, 09:22:09 am



หัวข้อ: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: whanjai ที่ กรกฎาคม 25, 2010, 09:22:09 am
เคยฟัง บรรยายกรรมฐาน

และได้ยินคำว่า อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์

ใครอธิบาย ได้บ้าง คะ

 :25::88:

( ปกติจะชอบฟังนะคะ )


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: นิรนาม_พุทโธ ที่ กรกฎาคม 26, 2010, 05:30:36 am
ขอปล่อยไก่หน่อยนะครับ

ผมไ้ด้ฟังไว้แต่จำได้ไม่หมด พอให้เข้าใจครับ



อิทธิคุณ ก็คือ ฤทธิ์อันเกิดจากคุณของพระพุทธองค์ กล่าวคือ พระพุทธคุณทั้ง 9 อันเป็นส่วน บารมี ปัญญา

อิทธิเจ ก็คือ ฤทธิ์อันเกิดจากเมตตาเจโตวิมุติ เต็มๆ ก็ใช้คำว่า อิทธิเจโตวิมุตติ

อิทธิฤทธิ์ ก็คือ ฤทธิ๋็อันบันดาลให้เกิดตามปรารถนาแห่งเหตุ และ ผล คือ วิชชา 3 และ อภิญญา 6


พอจะมองเห็นภาพ หรือป่าวครับ


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ กรกฎาคม 26, 2010, 10:23:35 pm
อ้างถึง
พระพุทธคุณทั้ง 9

อย่างนั้น ช่วยเพิ่ม พระพุทธคุณให้อ่านได้หรือไม่ ครับ


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 27, 2010, 09:45:49 pm
อิทธิคุณ ก็พุทธคุณทั้ง 9 ตามบทสวด อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จนจบ ภะคะวา ติ

อิทธิเจโตวิมุตติ ก็คือ อำนาจฤทธิ์อันเกิดจาก เจโตสมาธิอนิมิตร ขั้นสูง มีพลานุภาพมาก

อิทธิฤทธิ์ ก็คือ ญาณทั้ง 10 ประกอบด้วย ทิพจักษุ โสตทิพย์ นี้เป็นต้น


 :25: :25:


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: nimit ที่ สิงหาคม 15, 2010, 11:13:07 pm
ตามตำนาน ของหลวงพ่อปาน

 เรื่องของยันต์ เกราะเพชร ก็กล่าวถึง อิทธิทั้ง 3

(http://www.igetweb.com/www/praborann/private_folder/rp01.jpg)ครับ

(http://www.surachate.com/index.php?action=dlattach%3Btopic=1635.0%3Battach=790%3Bimage)


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: นิด_หน่อย ที่ พฤศจิกายน 22, 2011, 08:55:21 am
ไม่เข้าใจกับคำนี้มาตั้งนาน พึ่งได้ทราบคะ

  :c017:


หัวข้อ: พุทธคุณ ๙
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 22, 2011, 11:06:49 am
(http://www.taradpra.com/UserProfile/NONGWATPRAMAI/picture/pic_428208_1.jpg)
ธงเรียกคน (ธงพุทธคุณ ๙ ห้อง) หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ สุพรรณบุรี

พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
           ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
           ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
           ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
           ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
           ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
           ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
           ๗. สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
           ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

       พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

       หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
           ๓. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.taradpra.com/ (http://www.taradpra.com/)


หัวข้อ: ตถาคตพลญาณ ๑๐
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 22, 2011, 11:21:07 am

(http://news.dmc.tv/images/rattanapon/DMC%20NEWS/July/020754/ra01.jpg)

ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐ คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง)
 
๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน)

๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติ)

๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น)

๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน)

๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย)

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)

๙. จุตูปปาตญาณ (—ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย, มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน)

๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)



อ้างอิง
ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://news.dmc.tv/ (http://news.dmc.tv/)


หัวข้อ: วิชชา ๘
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 22, 2011, 11:51:33 am
(http://www.b.yimwhan.com/board/data_user/jakong//photo/cate_16/r14_6.jpg)

อิทธิเจโตวิมุตติ (ระดับสาวกภูมิ)

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ )

๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)
๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ,ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๔. ทิพพโสต (หูทิพย์ )
๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้)
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)


อ้างอิง
ที.สี.๙/๑๓๑๑๓๘/๑๐๑-๑๑๒.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.b.yimwhan.com (http://www.b.yimwhan.com)


หัวข้อ: Re: อิทธิคุณ อิทธิเจ อิทธิฤทธิ์ ใครอธิบายได้บ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: mitdee ที่ เมษายน 01, 2012, 10:11:52 pm
อนุโมทนา สาธุ ครับ น่าอ่านนะครับ หลายท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ครับ

  :25: :25: :25: