ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธประวัติ...ที่เกี่ยวกับ "สิ่งทอ"  (อ่าน 1756 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28499
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธประวัติ...ที่เกี่ยวกับ "สิ่งทอ"
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2012, 09:15:57 am »
0


พระพุทธประวัติที่เกี่ยวกับสิ่งทอ

เวลาที่ผมขึ้นนั่งบนกี่ทอผ้าหรือก่อนที่จะลงมือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอทั้งหลาย ผมจะนั่งนิ่งๆ อยู่สักอึดใจใหญ่  และก็จะมีลูกศิษย์ลูกหาสอบถามอยู่เสมอว่า ผมเป็นอะไรหรือทำอะไร คำตอบที่ผ่านมาคือรอยยิ้มของผมและจากนั้นก็จะลงมือทำงานโดยมิได้ปริปากอะไร ผมจึงถูกรบเร้ามาตลอดเพื่อให้เฉลยเหตุผลนั้น มาวันนี้ผมคิดว่าเหมาะสมกับการบอกเล่า ความเป็นมาเป็นไปของการหยุดนิ่งของผมได้แล้วจึงขอนำ เรื่องราวพระพุทธประวัติและพุทธกิจตอนหนึ่งมาเผยแผ่ ให้ประจักษ์ครับ

เรื่องนี้เป็นเรื่องของธิดาช่างทอหูกหรือช่างทอผ้านั่นแหละครับ คนอินเดียถือว่างานทอผ้า เป็นงานหนัก จึงมักจะเป็นงานของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ตรงข้ามกับในประเทศไทยของเรา เรื่องราวมีอยู่ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองอาฬวีเป็นครั้งที่ 2 เพราะทรงหยั่งรู้ด้วยทิพจักขุว่าการเสด็จของพระองค์ในครั้งนี้ จะยังให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

เพราะนอกจากจะได้ทรงเทศนาสั่งสอนนางกุมาริกา ผู้เป็นธิดาของช่างทอหูก ผู้ซึ่งได้เคย สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์มาก่อน เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จมาที่เมืองนี้ในคราวแรก และหลังจากนั้นนางกุมาริกาก็ได้เจริญมรณานุสติต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ยังจะได้ทำให้ชาวเมืองอาฬวีได้ร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาในครั้งนี้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองอาฬว ีพร้อมพระภิกษุอีกประมาณ 500 รูปนั้น บรรดาเหล่าชาวเมืองต่างก็ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง พากันมาเฝ้าถวายภัตตาหาร และจากนั้นต่างก็นั่งเฝ้า รอเฝ้าการอนุโมทนาหลังจากฉันภัตตาหารแล้ว หากแต่พระพุทธองค์ก็ทรงนิ่งอยู่เป็นปกติ มิได้ตรัสความอันใด เพราะทรงตั้งพระทัยไว้แล้วว่าจะเทศน์โปรดนางกุมาริกาเป็นหลัก และนางผู้นั้นก็ยังมาไม่ถึงที่นี้ เพราะบิดาของนางได้สั่งให้นางกรอด้ายใส่แกนหลอด เพื่อจะนำไปทอผ้าให้แล้วเสร็จในวันนั้น

นางกุมาริกาตั้งใจที่จะกรอด้ายให้เสร็จและนำไปส่งให้บิดาเสียก่อนตามคำสั่ง แล้วจึงจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ แต่เส้นทางสู่โรงทอผ้าของบิดานั้น ต้องผ่านศาลาที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ นางเห็นผู้คนที่มานั่งรออยู่ในที่นั้นจำนวนมากและเห็นสายตาของพระพุทธองค์ที่ทอดพระเนตรตรงมายังตัวนาง นางจึงคลานเข้าไปนั่งในศาลา วางตะกร้าบรรจุหลอดด้ายที่กรอแล้ว ลงไว้ข้างตัว เมื่อถวายบังคมแล้วก็นั่งนิ่งอยู่



    พระพุทธองค์ตรัสถามนางว่า "เธอมาจากไหน"
     นางตอบว่า "หม่อมฉันไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
     เมื่อทรงตรัสถามต่อ "เธอจักไปที่ไหน"
     นางตอบอีกว่า "หม่อมฉันไม่ทราบพระพุทธเจ้าข้า"
     พระพุทธองค์จึงทรงถามต่ออีกว่า "เธอไม่ทราบหรือ...กุมาริกา"
     นางจึงทูลตอบว่า "หม่อมฉันทราบ พระพุทธเจ้าข้า"
     สุดท้าย พระพุทธองค์ถามว่า "เธอทราบหรือ"
     นางตอบทันทีว่า "หม่อมฉันไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า"


     โอ๊ยยย...นางกุมาริกาจอมกวน 
     ถ้านางมาเล่นถาม-ตอบแบบนี้ในปัจจุบัน นางคงโดนตบกระจายไปหลายรอบแล้ว 
     เพราะขนาดชาวบ้านร้านตลาดที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ยินการโต้ตอบนี้
     ต่างก็รู้สึกหมั่นไส้นางเหลือกำลัง พากันกล่าวว่าด่านางว่าช่างเจรจาเล่นลิ้น เหลือเกิน

     แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปรารถนาจะให้คนทั้งหลายได้เข้าใจนัยยะของบทเจรจาโต้ตอบกันเมื่อครู่นี้
     จึงเริ่มต้นการถามนางใหม่อีกครั้ง "เมื่อเราถามว่า...มาจากไหน...เพราะเหตุใดเธอจึงตอบว่า...ไม่ทราบ"
     นางกุมาริกาทูลตอบว่า "หม่อมฉันเข้าใจว่าพระองค์ตรัสถามด้วยอำนาจเเห่งปฏิสนธิว่า...มาจากไหน หม่อมฉันไม่ทราบว่ามาจากนรกหรือเทวโลก หม่อมฉันจึงกราบทูลตอบว่า...ไม่ทราบ"

     พระพุทธองค์ตรัสถามต่อไปอีกว่า
     "เมื่อเราถามว่า...เธอจะไปไหน เหตุไรจึงตอบว่า...ไม่ทราบ"
     นางกราบทูลต่อว่า
    "หม่อมฉันเข้าใจว่าพระองค์ตรัสถามด้วยอำนาจเเห่งจุติว่า...จักไปไหน เพราะหม่อมฉันไม่ทราบว่าจักไปนรกหรือเทวโลก หม่อมฉันจึงทูลตอบว่า...ไม่ทราบ"

     พระพุทธองค์ทรงถามขยายความต่อไปอีกว่า
     "เมื่อเราถามว่า...เธอไม่ทราบหรือ...เหตุใดเธอกลับตอบว่า...ทราบ..."
     นางจึงกราบทูลตอบว่า "หม่อมฉันย่อมทราบสภาวะเเห่งมรณะ ว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต้องตายแน่นอน หม่อมฉันจึงทูลตอบว่า...ทราบ"

     สุดท้าย พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถามว่า
     "เมื่อเราถามว่า...เธอทราบหรือ...เหตุไรเธอจึงตอบว่า...ไม่ทราบ..."
     นางจึงกราบทูลตอบไปว่า
     "หม่อมฉันทราบแต่ภาวะ คือความตาย แต่ไม่ทราบถึงมรณกาล ว่าหม่อมฉันจักตายในเวลาใด..วันนี้..หรือพรุ่งนี้...หม่อมฉันจึงกราบทูลว่า...ไม่ทราบ"



      เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถาม-ตอบกับนางกุมาริกาแบบขยายความ เพื่อให้ผู้ที่ อยู่เฝ้าพระองค์ได้เข้าใจแล้ว ก็ได้ทรงอนุโมทนาปัญหาที่นางกุมาริกานั้นวิสัชนา แล้วจึงตรัสต่อไปว่า 
      "ดีละ ดีละ ทาริกาเป็นบัณฑิต จึงจำไว้ว่า ชนเหล่าใดไม่มีปัญญา ชนเหล่านั้นเป็นประดุจผู้มีจักษุบอด"
      จากนั้นจึงได้ทรงตรัสถาคาว่า
      "ในโลกนี้น้อยคนนักจักเห็นแจ้ง น้อยคนที่จะไปสู่สวรรค์ ดุจนกติดข่าย น้อยตัวนักที่จะหลุดจากข่าย ฉะนั้น"

     เมื่อจบพระธรรมเทศนาในบ่ายวันนั้น  นางกุมาริกาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล
     ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงตั้งปรารถนาที่จะช่วยเหลือนาง

     อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงจะเริ่มสงสัยแล้ว ว่าทำไมพระพุทธองค์จึงทรงเจาะจง มุ่งหมาย ที่จะแสดงพระธรรมเทศนาให้กับนางกุมาริกามาก
     จนถึงกับต้องเสด็จมาถึงเมืองอาฬวีอีก ครั้งและทรงตั้งใจรอ
     จนนางกรอด้ายเสร็จ และมาเฝ้าพระพุทธองค์
     แม้ว่าจะมีผู้คนที่มาเฝ้าถวายภัตตาหารจะนั่งรออยู่เป็นจำนวนมากมาย
     ก็ไม่ทรงอนุโมทนาและเริ่มแสดงธรรมแต่อย่างใด และแม้เมื่อนางมาเฝ้าพระพุทธองค์แล้ว
     ก็ได้มีรับสั่งถาม-ตอบเชิงปุจฉา-วิสัชชนาแต่จำเพาะกับนางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น


     เหตุผลก็คือพระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ล่วงหน้าแล้วว่า วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายในชีวิตของนางกุมาริกา ธิดาแห่งช่างทอหูกของเมืองอาฬวีนี้ เพราะหลังจากที่นางถวายบังคมลาพระพุทธองค์ออกไปแล้ว นางก็จะต้องถึงแก่กาลกิริยาหรือตาย หากพระองค์ได้่เสด็จมาเทศน์ โปรดนางก่อนตายแล้ว นางก็จะบรรลุโสดาปัตติผล และจะเป็นผู้ที่มีคติที่แน่นอน ด้วยผลจากที่นางเคยสดับพระธรรมเทศนาเมื่อ 3 ปีก่อนมาแล้ว และได้เป็นผู้เจริญมรณานุสติมาโดยตลอด จึงทรงพระเมตตาต่อนางเป็นอย่างยิ่ง






    นางกุมาริกา เมื่อกราบถวายบังคมลาพระพุทธองค์ออกมาแล้ว ก็เร่งรีบเดินทางไปยังโรงทอหูก ด้วยรู้ตัวว่าล่าช้า ฝ่ายบิดาของนางที่เฝ้ารออยู่ด้วยความโกรธที่จะทอผ้าไม่ทัน ด้วยด้ายที่กรอใส่หลอดไว้หมด ครั้นได้รับหลอดด้ายจากนางก็นำบรรจุลงกระสวย แล้วเร่งรีบพุ่งกระสวยนั้นเต็มแรง กระสวยจึงพุ่งผ่านเลยกี่ทอผ้าออกไปกระแทกทิ่มเข้าที่ท้องของนางกุมาริกาล้มลงสิ้นชีวิตในทันที นางกุมาริกาก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตวิมาน

    เนื้อเรื่องข้างต้นนี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้ผมหยุดนิ่งรำลึกถึงทุกครั้งที่ผมจะทำกิจใดใดที่เกี่ยว กับสิ่งทอและเมื่อขึ้นนั่งบนกี่ทอผ้า  ผมจะนิ่งรำลึกถึงอำนาจแห่งพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง และขออำนาจนั้นปกป้องคุ้มครองตัวผมและขอให้งานที่จะทำนั้นลุล่วงผ่านไปด้วยดี ผมจะนึกถึงและเตือนสติตัวเองเสมอๆ ถึงความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตที่จะแตกดับลงไปเมื่อไรก็ได้ เช่นเดียวกับที่ผมก็ได้เคยผ่านเหตุการณ์นั้นมาด้วยตนเองแล้ว และผมจะนึกถึงผลของความโกรธ ที่จะทำให้เรากระทำในสิ่งที่ตนเองจะต้องเสียใจได้ในภายหลัง เช่นเดียวกับช่างทอหูก ที่สูญเสียนางกุมาริกาผู้เป็นธิดาไปโดยประมาทและโทสะ

     เผ่าทอง ทองเจือ
     www.facebook.com/paothong.pan
     www.facebook.com/paothong.thongchua


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/314479
http://www.bloggang.com/,http://www.tourluangprabang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธประวัติ...ที่เกี่ยวกับ "สิ่งทอ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2012, 12:42:25 am »
0
สรุปแล้ว ธิดาช่างหูกก็อายุสั้น นะครับ
   สันนิษฐาน ว่าเป็นเพราะว่่า ตอบคำจำกัดความกับพระพุทธองค์ นะครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา