ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เพิ่มสติในการฟังด้วยพุทธวิถีแบบ Zen"  (อ่าน 3085 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
"เพิ่มสติในการฟังด้วยพุทธวิถีแบบ Zen"
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:04:37 am »
0
"เพิ่มสติในการฟังด้วยพุทธวิถีแบบ Zen" โดย ดร.บุญชัย โกศลธนากุล กันต่อนะคะ 


บท ความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือเรื่อง The ZEN of Listening แต่งโดย Rebecca Shafir ซึ่งเป็นผู้เชื่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาในด้านการสื่อความ และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 12 ปีในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าสาธารณชน บทความของเธอได้รับการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

นอก จากนั้น เธอยังศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาสายเซ็นมานานกว่าสิบปี เธอจึงพยายามนำพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และจากประสบการณ์อันยาวนาน เธอรู้สึกว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราทะเลาะเบาะแว้งกันคือ การไม่ยอมฟังซึ่งกันและกัน คนส่วนใหญ่มักชอบพูดสวนขึ้นมากลางบทสนทนา ทั้ง ๆ ที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบ สิ่งนี้นอกจากจะเป็นการเสียมารยาทแล้ว ยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่ายด้วย เพราะเนื่องจากผู้ฟังนั้นฟังบ้างไม่ฟังบ้าง อาจทำให้ตีความหมายคำพูดของอีกฝ่ายไปในทางที่ผิดได้ ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ ผู้แต่งได้กล่าวถึงสาเหตุและข้อเสียของการไม่ฟังซึ่งกันและกัน และวิธีการฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้

สาเหตุที่คนเราไม่ฟังผู้อื่น

มีอคติกับฝ่ายตรงข้าม
อาจ จะด้วยเหตุผลที่ว่าอีกฝ่ายมีฐานะ การศึกษา หรือวุฒิภาวะที่ต่ำกว่า เป็นต้น ทำให้เราไม่เห็นความสำคัญของอีกฝ่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียเวลามาฟังอีกฝ่ายพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคน ๆ นั้น เป็นบุคคลที่เราเคยทะเลาะเบาะแว้งด้วย ความทรงจำในอดีตเกี่ยวกับคน ๆ นั้น จะยิ่งทำให้เราเกิดอคติต่อผู้พูดได้อย่างง่ายดาย จึ่งยากที่จะยอมทนฟังให้อีกฝ่ายพูดจนจบประโยค

ยึดมั่นในอุดมการณ์ หรือความเชื่อของตนเอง
หาก ผู้ใดพูดจาขัดแย้งกับสิ่งที่เราเชื่อ มนุษย์มักตีความว่าสิ่งนั้นผิด และจะไม่ยอมฟังเหตุผลใด ๆ จากอีกฝ่ายว่า เพราะเหตุใดเขาจึงไม่เห็นด้วยกับเรา นอกจากนั้น ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในอุดมการณ์และความคิดของตนเอง นอกจากจะไม่ฟังแล้ว ยังจะสวนกลับและพยายามหาเหตุผลมาพูดหักล้างความเชื่อของอีกฝ่ายด้วยเสียอีก

ไม่ยอมรับความเป็นจริง
มนุษย์ มักคิดว่าทุกอย่างจะต้องเหมือนเดิมและจีรังยั่งยืนตลอดไป ฉะนั้น เมื่อต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การที่สามีหรือภรรยานอกใจเรา เป็นต้น จิตใจของมนุษย์ที่มีความเชื่อที่ผิด ๆ ดังกล่าว จึงรับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลง และไม่ยอมทนรับฟังความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า สิ่งนี้จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมฟังซึ่งกันและกัน

มีนิสัยที่ชอบแสดงความคิดเห็นเป็นชีวิตจิตใจ
การ มีนิสัยเช่นนี้จะทำให้เราได้รับข้อมูลได้อย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะในขณะที่อีกฝ่ายพูดยังไม่ทันจะจบประโยค ในใจของเรานั้น เราได้เตรียมข้อมูลเพื่อที่จะมาหักล้างประเด็นของอีกฝ่ายเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น วินาทีที่เรากำลังคิดถึงสิ่งที่เรากำลังจะพูดนั้น สมาธิของเราจึงไม่ได้จดจ่อไปกับการฟังในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูด จึงทำให้เราได้รับข้อมูลอย่างไม่ครบถ้วน

โทษของการไม่ฟังผู้อื่น

การ ไม่ฟังอีกฝ่ายเป็นการแสดงออกถึงการไม่ให้เกียรติ และการไม่ให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่นที่จะแสดงความคิดเห็น เมื่อไม่มีใครฟังใครย่อมก่อให้เกิดความระหองระแหงและการทะเลาะเบาะแว้งตามมา นอกจากนั้น ในกรณีการเสนอขายสินค้า หากเราไม่เป็นผู้ฟังที่ดี จะทำให้เราไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า แม้จะพูดจนน้ำไหลไฟดับ หรือพูดจนหมดเรี่ยวหมดแรงก็ไม่สามารถจูงใจให้ลูกค้ายอมซื้อสินค้าได้ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ ฉะนั้น หากเราต้องการเพิ่มยอดขายสินค้า เราควรฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี นอกจากนั้น โทษอีกประการหนึ่งของการไม่ฟังผู้อื่นคือ การพูดมากจะทำให้เหนื่อย ทำให้ไม่สามารถทำการใหญ่ได้ เพราะพลังงานส่วนใหญ่หมดไปกับการพูด

นอก จากนั้น การพูดขัดขึ้นมากลางบทสนทนา ถือเป็นกิริยาที่ไม่ค่อยสุภาพ แสดงถึงความไม่มีมารยาท ทำให้คนไม่ชอบหน้า และรำคาญไม่อยากจะเสวนาด้วย และที่สำคัญคือ การพูดคั่นระหว่างการสนทนาเป็นการแสดงถึงการมีระดับสมาธิที่ต่ำ เพราะมีความคิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันได้ ฉะนั้น ผลที่ตามมาคือ เมื่อมีสมาธิต่ำ ความสามารถในการเรียนรู้ย่อมต่ำตามไปด้วยเป็นธรรมดา เมื่อเรียนรู้สิ่งใด ก็ย่อมซึมซับได้อย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฟังคำเดียว แต่พูดอีกสามประโยค เมื่อความรู้และข้อมูลไม่เพียงพอจึงเกิดความไม่มั่นใจ สาระที่พูดก็มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ ฟังแล้วไม่น่าเชื่อถือ คนรอบข้างจึงไม่กล้าที่จะมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ เพราะรู้สึกไม่ไว้ใจและไม่มั่นใจในความสามารถของบุคคลประเภทนี้ ผลเสียประการสุดท้ายของการไม่ฟังผู้อื่นคือ คนที่ไม่หัดฟังผู้อื่นจะไม่สามารถเป็นนักเจรจาที่ดีได้ เพราะคนที่ไม่ยอมฟัง ย่อมไม่รู้ว่าประเด็นไหนของอีกฝ่ายที่เราควรจะหักล้าง และประเด็นไหนเป็นประเด็นที่เราควรจะนำเสนอ เพื่อให้การเจรจายุติลงได้ด้วยดี เกิดเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย

วิธีการฝึกการฟังผู้อื่น
หัด ปิดตาและฟังเสียงต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว หรือแม้แต่การฟังเพลงให้ลองสังเกตดูว่า ในเพลงนี้ มีเครื่องดนตรีทั้งหมดกี่ชิ้น การฝึกเช่นนี้จะเป็นการปลุกประสาทหู ให้ตื่นตัวและมีพลังขึ้นมา

สังเกตว่าเสียงแบบไหนหรือประโยคแบบใด สามารถกระตุ้นให้จิตใจเราเกิดการปรุงแต่ง เกิดการกระทบกระเทือน กระเพื่อมอย่างรุนแรง เกิดเป็นอารมณ์ต่าง ๆ ตามมา วิธีนี้เป็นการฝึกสติฐานเวทนา เพื่อจับสังเกตว่า จิตใจของเรา มีการปรุงแต่งเมื่อไหร่ นานแค่ไหน และปรุงแต่งในเรื่องอะไร

ฝึกจิตใจให้สงบ เช่น การทำสมาธิแบบอาณาปาณสติ คือการจดจ่อกับลมหายใจเข้าออกที่กระทบปลายจมูก

ฟังเสียงทุกเสียงที่ตัวเองพูด หัดฟังน้ำเสียง จังหวะจะโคน และเนื้อหาที่พูดว่า มีประโยชน์หรือไม่ หรือมีความชัดเจนแค่ไหน

เวลา ฟังผู้อื่นพูด ให้เราจินตนาการว่า เรากำลังชมภาพยนตร์อยู่ เพราะเวลาดูหนังเราจะตั้งใจดู ตั้งใจฟัง เราจะไม่พูดแสดงความคิดเห็นใด ๆ ในโรงหนังเลย วิธีนี้จึงเป็นการฝึกการเป็นผู้ฟังได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "เพิ่มสติในการฟังด้วยพุทธวิถีแบบ Zen"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 10:09:02 pm »
0
อ่านเรื่องนี้ แล้วได้ข้อคิด และ นำไปปฏิบัติเลยคะ

โดยเฉพาะการฝึก การรับฟังผู้อื่น ได้ ต้องฝึกฟัง ธรรมชาติ

แนะนำใคร ที่ยังไม่ได้ อ่านมาตามอ่านเรื่องนี้ กันนะคะ

แล้วนำไปปฏิบัติตาม ได้ผลดีเชียวคะ

ขอบคุณ คุณ หมวยจ้า ด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน