ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การอธิษฐานจิต สำหรับฝึกมหาสติปัฏฐาน คร้า....  (อ่าน 3275 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 บทที่  ๘

การอธิษฐานจิต


 

          เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดรู้รูปนาม  รู้อารมณ์ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ทันปัจจุบันธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว  สภาวธรรมปรากฏชัดเจน  แจ่มแจ้งและวิปัสสนาญาณถึงความบริบูรณ์เต็มที่  คือ  ญาณที่  ๑๑  แก่รอบแล้ว  พึงให้อธิษฐานดังต่อไปนี้

 

วันที่  ๑

         ให้ เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  ระยะละ  ๑๐  นาที  รวม  ๑  ชั่วโมง  ก่อนนั่งให้ตั้งนะโม  ๓  จบ  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ธรรมวิเศษที่เกิดขึ้นแล้ว  ขออย่าได้เกิดอีก  ธรรมวิเศษเบื้องสูงที่ยังไม่เกิด  ขอจงให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนี้”

       

  หมายเหตุ  เมื่ออธิษฐานแล้วให้นั่งภาวนาว่า  “พองหนอ-ยุบหนอ”  หรือจะนั่งกี่ระยะก็ได้  ตามสมควรแก่ความถนัด  และพอเหมาะกับอุปนิสัยของตน  และอย่าอุปาทานในคำอธิษฐาน  อย่าคิด  ถ้าคิดให้รีบกำหนดจิตทันที  อย่าให้จิตเหม่อไปตามนิมิต  เหม่อไปตามอาการต่างๆ  เช่น  เหม่อไปตามเวทนา  เป็นต้น  อย่าตั้งใจแรงเกินไป  เพราะจะทำให้ประสาทแข็ง  ให้ตั้งใจไว้เป็นกลางๆ  พยายามหาที่นั่งในที่โล่งๆ  อากาศถ่ายเทสะดวก  เมื่อนั่งครบ  ๑  ชั่วโมงแล้ว  ก็ให้ลุกเดินจงกรมอีก  นั่งสลับกันไปอีกจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  และในอภิรักขิตสมัยเช่นนี้  พึงตั้งจิตระวังใจสำรวมอิริยาบถน้อยใหญ่  (มียืน  เดิน  คู้  เหยียด  เป็นต้น)  พยายามให้มีสติในทุกอิริยาบถ  ขยันหมั่นอดทน  เข้มแข็ง  ในการกำหนด  ตั้งใจจริง  ปฏิบัติจริง  เอาชีวิตเป็นเดิมพัน  มอบชีวิตทั้งชีวิตฝากไว้กับการปฏิบัติ  และถวายชีวิตเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระบรมศาสดา  เพื่อข่มอุปาทานทั้งปวง  เป็นผู้ไม่มีอาลัยในชีวิต  แล้วทำจิตให้มั่นคง  แน่วแน่  เด็ดเดี่ยว  ในการเดินจงกรม  ในการนั่ง  และในมหาสมัยเช่นนี้  ควรพูดพอดี  ฉันพอดี  นอนพอดี  ปฏิบัติพอดี  วันหนึ่งควรนอนไม่เกิน  ๔  ชั่วโมง  (ถ้าโยคีผู้ปฏิบัติมีสภาวธรรมปรากฏชัด  มีร่างกายสมบูรณ์ดี  ไม่ควรนอนตลอด  ๒๔  ชั่วโมง)  ปฏิบัติไปอย่างนี้จนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  จึงต่อบทอธิษฐานที่  ๒  ได้

 

วันที่  ๒

           ให้เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  เดินระยะละ  ๑๐  นาที  รวม  ๑  ชั่วโมง  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  แล้วทำจิตให้มั่นคง  ตั้งมั่นเช่นวันที่หนึ่ง  นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  จึงต่อบทอธิษฐานที่  ๓  ได้  (ผู้มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีไม่ควรนอนตลอด  ๒๔  ชั่วโมง)

 

วันที่  ๓

            ให้ เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  เดินระยะละ  ๑๐  นาที  รวม  ๑  ชั่วโมง  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑  ชั่วโมงนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  ทำจิตให้ตั้งมั่น  เช่น  วันที่หนึ่ง  นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  (คือ  ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปกติ  ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ  ๒๔  ชั่วโมง)  จึงต่อบทอธิษฐานที่  ๔  ได้

 

วันที่  ๔

            ให้ เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  เดินระยะละ  ๑๐ นาที  รวม  ๑  ชั่วโมง  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๓๐  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับ  จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  (คือ  ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปกติ  ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ  ๒๔  ชั่วโมง)  จึงต่อบทอธิษฐานที่  ๕  ได้ )

            หมาย เหตุ  เดิน  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๓๐  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  เมื่อนั่งครบ  ๓๐  นาที  แล้วให้อธิษฐานจิตต่ออีกว่า  “ภายใน  ๓๐  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  โดยไม่ลุกจากที่  รวมเป็นนั่ง  ๑  ชั่วโมงพอดี

 

วันที่  ๕

           ให้ เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  เดินระยะละ  ๕  นาที  รวม  ๓๐  นาที  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑๕  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

            “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑๐  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

            “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๕  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

            นั่ง และเดินสลับกันไปจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง  (คือ  ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปรกติ  ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ  ๒๔  ชั่วโมง)  จึงต่อบทอธิษฐานที่๖  ได้

       

    หมายเหตุ  เดินจงกรม  ๓๐  นาที  แล้วอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑๕  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  เมื่อนั่งครบ  ๑๕  นาที  แล้วให้อธิษฐานจิตต่ออีกว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑๐  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  เมื่อนั่งครบ  ๑๐  นาที  แล้วให้อธิษฐานจิตต่อไปอีกว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๕  นาทีนี้  ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”  เมื่อนั่งครบ  ๕  นาที  เป็นอันว่านั่งครบ  ๓๐  นาทีพอดี

 

วันที่  ๖

            ให้ เดินจงกรมระยะที่  ๑-๖  เดินระยะละ  ๑๐  นาที  รวม  ๑  ชั่วโมง  อธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ภายใน  ๑  ชั่วโมงนี้  ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๕  นาทีเป็นอย่างน้อย”

             ข้อ สำคัญ  บทนี้ต้องเดินให้นาน  นั่งให้นาน  จึงจะได้ผลดี  ถ้าเดิน  ๑  ชั่วโมง  นั่ง  ๑  ชั่วโมง  ยังทำไม่ได้  ให้เดิน  ๒  ชั่วโมง  นั่ง  ๒  ชั่วโมง  ถ้ายังทำไม่ได้อีก  ให้เดิน  ๓  ชั่วโมง  นั่ง  ๓  ชั่วโมง  เป็นต้น  เพราะบทนี้ต้องการสมาธิมากกว่าบทอื่นเป็นพิเศษ

             ถ้า สมาธิจิตดับแน่นิ่งไปได้  ๕  นาที  แล้วคราวต่อไปให้อธิษฐานเพิ่มเป็น  ๑๐  นาที  ๑๕  นาที  ๓๐  นาที  ๑,  ๒,  ๓,...๒๔...๔๘...๗๒  ชั่วโมง  เป็นต้น  แล้วแต่ละประเภทของแต่ละบุคคลว่ามีความขยัน  เข้มแข็ง  อดทนและความเป็นผู้มีสมาธิดี  มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้ยิ่งหย่อนต่างกันอย่างไร

           

     หมายเหตุ  ในการอธิษฐานจิตแล้วไม่ควรกังวล  ในจำนวนเวลามากน้อยที่ตนกำหนดไว้  ไม่ควรตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่า  เมื่อไรจิตของเราจะดับสนิทแน่นิ่งไปสักที  แต่พึงให้สำเหนียกตั้งใจจดจ่อในการกำหนดรูปนามเพื่อจะให้เห็นความเกิดขึ้น  และความดับของรูปนามปรากฏชัดเจน  แจ่มแจ้ง  เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติกำหนดได้อย่างนี้  วิปัสสนาญาณก็ถึงความแก่กล้ามีกำลังมา  แล้วก็จะพัฒนาตัวมันเองให้เจริญขึ้นโดยลำดับจนถึงสังขารุเปกขาญาณ  และเมื่อสังขารุเปกขาญาณแก่รอบเต็มที่แล้ว  จิตที่พิจารณาวิปัสสนาญาณมาโดยลำดับตลอดเวลาอย่างนี้  ก็จะละอารมณ์เดิม  (เก่า)  มุ่งตรงสู่อารมณ์ใหม่นั้น  ก็คือความที่จิตดับสนิทแน่นิ่งไป  ใจก็ไม่รู้  หูก็ไม่ได้ยิน  นิมิตทั้งปวง  มีรูปนิมิต  เวทนานิมิต  สัญญานิมิต  สังขารนิมิต  และวิญญาณนิมิต  ก็ไม่ปรากฏในขณะนั้น  คล้ายๆ  กับว่าปราศจากสังขารโดยประการทั้งปวงแล

 

          หลักวิธีปฏิบัติที่จะทำให้เข้าสมาธิ  หรือเข้าฌานได้นานๆ  พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

เมื่อ โยคีผู้ปฏิบัติธรรมคนใดสามารถเข้าสมาธิ  หรือเข้าฌานได้ครบ  ๑  ชั่วโมงแล้ว  ถ้ามีความประสงค์จะฝึกเข้าฌาน  ให้จิตแช่อยู่ในอารมณ์ของเรือนแก้ว  คือ  ฌานนั้นให้นานยิ่งๆ  ขึ้นไป  เพื่อจะให้สำเร็จประโยชน์อันตนพึงประสงค์จากสมาธิหรือฌานเป็นต้นนั้น  ให้ฝึกสมาธิให้ได้  ๑  ชั่วโมงเสียก่อน  แล้วฝึกให้ชำนิชำนาญจนสามารถเข้าได้ตามต้องการ  ออกได้ตามต้องการ  ไม่ให้ออกก่อนและไม่ให้เลยเวลาและเมื่อสามารถทำได้ครบ  ๑  ชั่วโมงสมบูรณ์ดีอย่างนี้แล้ว  วันหลัง  (วันถัดมา)  ให้เดินจงกรมให้ครบ  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๒  ชั่วโมง”
เมื่อสามารถทำ ได้ครบตามกำหนด  ๒  ชั่วโมง  สมบูรณ์ดีอย่างที่กล่าวมาในข้อ  ๑  แล้ว  ให้หล่อเลี้ยงสมาธิ  (รักษาสมาธิ)  ไว้  ๒  วัน  ด้วยการรักษาสติ  อารมณ์ไว้  โดยการกำหนดสติให้ทันปัจจุบันธรรม  ตัดอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตทิ้ง  เรียกว่า  สำรวมอินทรีย์  และทำความเพียรให้เป็นไปโดยติดต่อตามปกติธรรมดาอย่าให้ความเพียรย่อหย่อน หรือขาดระยะแต่ยังไม่ให้อธิษฐาน

      เมื่อเลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด  ๒  วันแล้ววันหลังให้เดินจงกรม  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๓  ชั่วโมง”  เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด  ๓  ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้ว  ให้เหล่อเลี้ยงสมาธิไว้  ๔  วัน  โดยรักษาสติอารมณ์  ทำความเพียรให้เป็นไปโดยติดต่อปฏิบัติไปตามปกติธรรมดาเหมือนข้อ  ๒
เมื่อ เลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด  ๔  วันสมบูรณ์ดีแล้ว  ให้เริ่มปฏิบัติต่อได้  โดยเดินจงกรม  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๖  ชั่วโมง”

     เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด  ๖  ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้วให้หล่อเลี้ยงสมาธิไว้  ๕  วัน  โดยรักษาสติอารมณ์ไว้  ปฏิบัติไปตามปกติธรรมดา  เหมือนข้อ  ๒

เมื่อ เลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด  ๕  วันสมบูรณ์ดีแล้ว  ให้เริ่มปฏิบัติต่อได้  โดยเดินจงกรม  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ขอให้สมาธิของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๑๒  ชั่วโมง”
เมื่อสามารถทำ ได้ครบตามกำหนด  ๑๒  ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้วให้หล่อเลี้ยงสมาธิไว้  ๗  วัน  โดยรักษาสติอารมณ์ไว้  ปฏิบัติไปตามปกติธรรมดาเหมือนข้อ  ๒

เมื่อ เลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด  ๗  วันสมบูรณ์ดีแล้ว  ให้เริ่มปฏิบัติต่อได้  โดยเดินจงกรม  ๑  ชั่วโมง  แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า  “สาธุ  สาธุ  สาธุ  ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป  ๒๔  ชั่วโมง”  แล้วนั่งสมาธิไปจนครบ  ๒๔  ชั่วโมง
เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด  ๒๔  ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้วพยายามฝึกให้ชำนิชำนาญให้เข้าได้ตามต้องการ  ออกได้ตามต้องการไม่ให้ออกก่อนและไม่ให้เลยเวลา  เมื่อทำบ่อยๆ  จนชำนิชำนาญได้ที่แล้ว  นั่งเข้าสมาธิไป  ๒๔  ชั่วโมง  ก็เท่ากับเราเข้าสมาธิไปแค่  ๕  นาที  เมื่อชำนาญในการเข้าการทรงอยู่ในสมาธิ  และการออกจากสมาธิสมบูรณ์ดีแล้ว  หากปรารถนาจะฝึกเข้าสมาธิ  ๓  วัน  ๔  วัน  ๕  วัน  หรือครบ  ๗  วัน  ก็ให้ปฏิบัติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่ให้เลี้ยงสมาธิไว้ให้นานๆ  หน่อย  คือ  ๑๕  วันหรือ  ๑  เดือน  พยายามหาเวลาอธิษฐานเข้าสมาธินานๆ  ตามเวลาที่ตนต้องการสักครั้งหนึ่ง

                           

         สมาธิต้องฝึกเข้าบ่อยๆ  ฝึกออกบ่อยๆ  เพื่อให้ได้ความละเอียดอ่อนของสมาธิ  และความคล่องแคล่วชำนาญในวสีทั้ง  ๕  คือ  ชำนาญในการนึก  ชำนาญในการเข้า  ชำนาญในการอธิษฐาน  ชำนาญในการออก  ชำนาญในการพิจารณา  เมื่อสามารถทำได้อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้  ก็จะเป็นเหตุให้จิตของผู้นั้นมีพลัง  มีอำนาจ  มีอานุภาพ  มีสมรรถนะสูง  พร้อมที่จะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นและใช้ให้สำเร็จประโยชน์ตามความประสงค์ที่ ตนอธิษฐานจิตไว้  ตามเหตุตามปัจจัยแห่งกำลังสมาธิของตนๆ

 

วิธีออกจากการภาวนา  (สมาธิ)

           เมื่อโยคีผู้ปฏิบัตินั่งภาวนา  (สมาธิ)  ไปจนครบเวลาที่ตนกำหนดไว้แล้วก่อนที่จะออกจากการภาวนาหรือออกจากสมาธิให้ โยคีผู้ปฏิบัตินั้นกำหนดต้นจิตว่า  “อยากออกหนอ ๆ ๆ”  อย่างน้อย  ๓  ครั้ง  เสียก่อน  เพื่อให้จิตของโยคีนั้นคลายออกจากสมาธิ  คลายจากปีติและปัสสัทธิเสียก่อน  เมื่อกำหนดจิตแล้วอย่าเพิ่งลืมตาให้สังเกตดูว่าร่างกายของตนยังแข็งอยู่ด้วย อำนาจของปัสสัทธิหรือว่าซาบซ่านอยู่ด้วยอำนาจของปีติธรรมอยู่หรือไม่  ถ้าร่างกายยังมีอาการเช่นนั้นอยู่ให้โยคีนั้นทดลองกระดิกนิ้วมือข้างขวาดู เสียก่อนว่า  เราสามารถกระดิกได้หรือไม่  ถ้ากระดิกยังไม่ได้ก็ให้กลับไปกำหนดต้นจิตว่า  “อยากออกหนอๆ ๆ”  สัก  ๓  ครั้งอีก  ถ้าร่างกายยังมีอาการแข็งเหมือนเช่นนั้นอยู่  ก็ให้กลับไปกำหนดต้นจิตอีกว่า  “อยากลืมตาหนอ ๆ ๆ”  สัก  ๓  ครั้ง  แล้วตั้งสติไว้ที่ตา  กำหนดว่า  “ลืมตาหนอ ๆ ๆ”  แล้วค่อยๆ  ลืมตาขึ้นๆ  เมื่อลืมตาขึ้นแล้วอย่าหลับตาลงอีก  (ถ้าหลับตาอีก  ก็มักจะเข้าสมาธิไปอีก)  ให้กลับไปกำหนดต้นจิตอีกว่า  “อยากออกหนอ ๆ ๆ”  ถ้าร่างกายยังมีอาการแข็งอยู่เป็นต้น  ก็ให้กระดิกดูนิ้วมืออีกเสียก่อน  อย่ารีบร้อนมากเกินไป  พยายามให้ค่อยเป็นค่อยไปตามเหตุตามปัจจัยอันสมควรเสียก่อน  เมื่อกระดิกนิ้วมือได้แล้วให้ค่อยๆดึงมือขวาออกพร้อมกับบริกรรมว่า  “ออกหนอ ๆ ๆ”  จากนั้นให้สำเหนียกพิจารณารู้ตามอาการของกายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะนั้น ให้เห็นอาการของแขนขวาที่เราค่อยๆ  ยกไปวางคว่ำหน้ามือลงที่เข่าขวาจากนั้นให้ค่อยๆ  ดึงมือซ้ายออกไปวางคว่ำหน้ามือลงไปที่เข่าซ้าย  จากนั้นให้ยกมือขวามาจับเท้าขวา  เอาเท้าขวาลงจากขาซ้าย  แล้วดันเท้าขวาเข้าไปใต้ขาด้านซ้าย  แล้วขาของเราก็จะอยู่ในท่าขัดสมาธิ  จากนั้นก็เอามือขวากลับมาวางไว้บนเข่าขวาอีก  แล้วใช้มือทั้ง  ๒  ข่มเข่าทั้ง๒  ข้างขึ้นพร้อมกับยกตัวขึ้น  เมื่อยกตัวขึ้นแล้ว  ก็เอาขาทั้ง  ๒  ข้างที่ไขว้กันอยู่ด้านหลังนั้นออกแล้วนั่งทับส้นลงไป  จะอยู่ในท่านั่งคุกเข่า  จากนั้นก็กำหนดต้นจิตว่า  “อยากยืนหนอ ๆ ๆ”  สัก  ๓  ครั้ง  แล้วค่อย ๆ  กำหนดยืนขึ้นๆ ๆ พร้อมกับบริกรรมว่า  “ยืนหนอ ๆ ๆ”  จนกว่าจะยืนเรียบร้อย  และเตรียมเดินจงกรมในลำดับต่อไป

                       

    หมายเหตุ  ถ้าในขณะที่โยคีออกจากสมาธินั้น  สมาธิ  ปีติ  หรือปัสสัทธิไม่มาก  ร่างกายไม่แข็ง  เมื่อกำหนดต้นจิตว่า  “อยากออกหนอ ๆ ๆ”  ๓  ครั้งแล้วก็ให้กำหนดว่า  “ออกหนอ ๆ ๆ”  พร้อมกับการกำหนดดึงเอามือขวาไปวางไว้ที่เข่าขวา  และมือซ้ายไปวางไว้ที่เข่าซ้ายให้เรียบร้อยเสียก่อน  แล้วค่อยกำหนดต้นจิตว่า  อยากลืมตาหนอๆ ๆ”  จากนั้นให้ตั้งสติไว้ที่ตา  กำหนดว่า  “ลืมตาหนอ ๆ ๆ”  แล้วกำหนดพิจารณาอาการของการลืมตาไปตามลำดับๆ

        ในขณะที่กำหนดออกอยู่นั้น  ให้มีสติกำหนดพิจารณาดูอาการที่เป็นปัจจุบันที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นๆ  ให้เห็นอาการของการเคลื่อนไหวนั้นๆ  ให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง  ทันปัจจุบันธรรมเป็นขณะๆ ไป  ก็ชื่อว่าเรากำหนดออกจากสมาธิโดยถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว

.........................................................................

ข้อมูลนี้คัดลอกมาจาก

พระบวรปริยัติวิธาน(บุญเรือง  สารโท).  (๒๕๔๘). วิสุทธิธรรม คู่มือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน. อุบลราชธานี             

 

 ผู้รังสรรค์ ให้เกิดบทความนี้ขึ้นในเว็บไซต์วัดอีสานดอทคอม
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การอธิษฐานจิต สำหรับฝึกมหาสติปัฏฐาน คร้า....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 10:23:46 am »
0
โดยส่วนตัว ชอบการฝึก มหาสติปัฏฐาน อยู่แล้วคะ เพราะอยู่ลำปาง ไปฝึกที่วัดท่ามะโอ กันเป็นประจำ

ก่อนที่จะมาเรียน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คะ

อนุโมทนา กุศลด้วยคะ

สาธุ สาุธุ สาธุ

:25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การอธิษฐานจิต สำหรับฝึกมหาสติปัฏฐาน คร้า....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 10:25:21 am »
0
โดยส่วนตัว ชอบการฝึก มหาสติปัฏฐาน อยู่แล้วคะ เพราะอยู่ลำปาง ไปฝึกที่วัดท่ามะโอ กันเป็นประจำ

ก่อนที่จะมาเรียน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คะ

อนุโมทนา กุศลด้วยคะ

สาธุ สาุธุ สาธุ

:25: :25: :25:

ครูนภา ยังฝึกเจริญ สติปัฏฐาน อยู่หรือคะ เนี่ย อยู่ใกล้ยังไม่รู้เลยนะนี่ ว่าเป็น ศิษย์วัดท่ามะโอ ด้วย

 :13:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน