ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยอธิบายคำว่าวิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ  (อ่าน 5732 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำถามที่เิกินความสามารถของหมวยจ้า  เมื่อเพื่อนถามเรื่อง วิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุ

ข้อความ : ช่วยอธิบายคำว่าวิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

ถามสั้น ๆ แต่คิดว่าตอบไม่ได้ดี เอามาให้เพื่อน ๆ ช่วยกันตอบดีกว่า คร้า..
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิญญาณขันธ์ หมายถึงการรับรู้ ทางอายตนะภา่ยใน และ ภายนอก นะจ๊ะ สั้น ๆ ก่อน

วิญญาณธาตุ ในการเิดินจงกรม มีส่วนนี้เข้ามาด้วย ที่จริง คำว่า ธาตุ หมายถึง ทรงอยู่ไว้ก่อน ตามความหมาย

 แต่แปลทับศัพท์ ก็หมายว่า ธาตุรู้ มาพร้อมกับ สติ และ สัมปชัญญะ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกัน

เอาเท่านี้เุถอะเพราะอธิบายมาก ก็ต้องพิมพ์มาก นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต )
 
๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ )
 
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
 
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
 
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
 
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖)

ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔ : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕




วิญญาณธาตุ
  ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้
       (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

ธาตุ ๑- สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
       
ธาตุ ๔ คือ
           ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
           ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
           ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
           ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม
ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
           ๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
           ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณคร้า กับคำอธิบาย.... :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
คำตอบที่พระอาจารย์ อยากจะบอกผม คิดว่า


    อยากจะตอบว่า รู้เรื่อง วิญญาณขันธ์ และ วิญญาณธาตุ ไปเพื่ออะไร ?

    ทำไมต้องรู้ ? และ เมื่อรู้ จะได้อะไร ?


   ผมว่าถ้าศึกษา แนวทาง อริยสัจจะ 4 คำตอบนี้ก็เป็นคำตอบที่น่าสนใจครับ

   เพราะรู้ไว้ เป็น สุตามยญาณ หรือ จินตามยญาณ หรือ ภาวนามยญาณ

   ผมว่าถ้าถามออกมาในแนวทาง ภาวนามยญาณ พระอาจารย์คงจะต้องตอบเยอะเลย ผมเห็นเรื่องที่

ตอบ ท่านจะพิมพ์เองเป็นส่วนใหญ๋ ถ้าถามในแนวภาวนาแล้วละก็ คำตอบที่ผมติดตามอ่าน รู้สึกจะยาวมาก

จะไม่ตอบสั้น ๆ ครับ

   ดังนั้น เราจะมาช่วยกันถามแบบภาวนามยปัญญา กันมาก ๆ ดีหรือป่าว ครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา