ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิภาวนา ๔ ประเภท  (อ่าน 2377 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สมาธิภาวนา ๔ ประเภท
« เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:51:38 pm »
0
สมาธิภาวนา ๔ ประเภท

ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๔ อย่าง คือ :-
ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญ
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
๑. ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร)
๒. การได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ
(ญาณทสฺสนปฏิลาภ)
๓. สติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ)
๔. ความสิ้นแห่งอาสวะ (อาสวกฺขย)
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม
ทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิ
เป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่งเพราะความจางคลายไป
แห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และ
ย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็น
ปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุข
เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่ง
โสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะนั้น เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำไว้ในใจซึ่ง
อาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่ากลางวันฉันใด
กลางคืนฉันนั้น, กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น, เธอมีจิต
อันเปิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ยังจิตที่มี
แสงสว่างทั่วพร้อม ให้เจริญอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เวทนา เกิดขึ้น (หรือ)
ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; สัญญา เกิดขึ้น
(หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; วิตก
เกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่
ภิกษุ.
ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มีปกติตามเห็นความ
ตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ว่า รูป เป็นอย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปเป็น
อย่างนี้; เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้; สัญญา
เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับไป
แห่งสัญญา เป็นอย่างนี้; สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้;
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้; ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ สมาธิภาวนา ๔ อย่าง.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๕๗/๔๑.

จากหนังสือพุทธวจน ปฐมธรรม


บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิภาวนา ๔ ประเภท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 09:13:04 am »
0
อ้างถึง
๑. ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร)
๒. การได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ
(ญาณทสฺสนปฏิลาภ)
๓. สติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ)
๔. ความสิ้นแห่งอาสวะ (อาสวกฺขย)

ทำให้เข้าใจ อำนาจของ สมาธิ จุดประสงค์ ที่แท้จริง 4 ประการ

 :25:

 
บันทึกการเข้า