ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปริญญาเอกพุทธศาสนา  (อ่าน 664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปริญญาเอกพุทธศาสนา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 11:50:43 pm »
0



ปริญญาเอกพุทธศาสนา

ศาสนาเป็นต้นทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ด้วยเหตุนี้ ศาสตร์ ความรู้ทางศาสนา จึงเป็นวิชาที่ควรปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และเรียนต่อยอดถึงขั้นสูงสุด ตามที่ต้องการ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ที่มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ ที่นักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการ ผู้ตระหนักดีว่าความรู้ทางศาสนาจะพาให้พ้นทุกข์ ปฏิบัติภารกิจทุกด้านให้ลุล่วงไปพร้อมกับการสร้างสังคมที่ดี เข้าเรียนกันมากขึ้น ตอนนี้ก็กำลังเปิดรับนิสิตปริญญาเอกภาคพิเศษ รุ่นใหม่ เรียนเสาร์-อาทิตย์ ที่ มจร. วังน้อย สนใจโทรฯไปสอบถามได้ที่ 08-9107-9900, 08-1799-8442

ต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ตัวแทนนิสิต ปริญญาเอก มจร. สาขาวิชาพุทธศาสนาภาคพิเศษ ซึ่งมีทั้งพระภิกษุ ฆราวาส รวม 29 ชีวิต เดินทางไปศึกษานอกสถานที่ ถึงนครเวียงจันทน์ วังเวียง และหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อตอบโจทย์ วิชาพระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษา พระพุทธศาสนาในสปป.ลาว, วิชาพระพุทธศาสนากับการใช้เหตุผล : กรณีศึกษาการใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตตามวิถีชาวพุทธลาว, วิชาพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มพุทธศิลป์ในลาว กลุ่มประเพณีและวัฒนธรรมชาวพุทธลาว กลุ่มการศึกษาพระพุทธศาสนาในลาว กลุ่มศึกษาการปกครองคณะสงฆ์ลาวรายวิชาพุทธศาสนา


 :96: :96: :96: :96:

ซึ่งต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล บันทึกภาพ สัมภาษณ์ และค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องมารายงาน โดย ดร.ประพันธ์ ศุภษร ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ และดร.ตวงเพชร สมศรี เลขานุการโครงการฯร่วมคณะให้คำปรึกษา การศึกษานอกสถานที่ที่ห่างไกลสำหรับนิสิตที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ชีวิตร่วมกันบนรถบัส ด้วยเวลายาวนาน บนทางหลวงที่คดเคี้ยวนับพันโค้ง มีสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างจากเมืองไทย จึงได้สัมผัสประสบการณ์ การตื่นรู้ที่ต้องจดจ่อ โดยมีหลักปฏิบัติเคร่งครัดที่ต้องสวดมนต์กันทุกเช้า ไม่เว้นกระทั่งขณะอยู่บนรถที่โยกโคลง การศึกษานอกสถานที่

นอกจากการ เก็บข้อมูล สัมภาษณ์บุคคล ตระเวนทัศนศึกษา ด้วยมุมมองการใช้ชีวิตตามวิถีพุทธ ตามตลาด หรือถนนคนเดิน สิ่งที่เห็นความโดดเด่นอย่างหนึ่ง คือการตักบาตรตอนเช้า พระสงฆ์ลาวหลาย ๆ วัด จะเดินเรียงแถวตามกันจำนวนนับร้อยรูป เพื่อโปรดพุทธศาสนิกชนที่นั่งรอใส่บาตรข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ พร้อมอาหารแห้ง หากของที่เตรียมมาไม่พอ ก็เรียกซื้อได้จากผู้ค้าที่รออยู่


 :25: :25: :25: :25:

การเก็บข้อมูลของกลุ่มพุทธศิลป์ พบว่า โบสถ์หรือสิมของลาว แตกต่างจากวัดในประเทศไทย ที่หากมีการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหม่ จะประดิษฐานไว้ด้านหน้า บังองค์เดิม ผนังด้านในมีภาพเขียนไม่ต่างกับของไทย ด้านนอกก็ยังมีภาพประดับด้วยเรื่องราวในชาดก ให้ได้เรียนรู้โดยไม่ต้องเข้าข้างใน ในแง่ประเพณี วิถีวัฒนธรรม ที่ติดตามสังเกต อาหาร สินค้าพื้นเมือง การแต่งกาย พบว่า การใช้ชีวิตส่วนใหญ่ ผู้ค้าขายจะนั่งเรียบร้อยรอคนมาถาม ไม่เครียด ไม่ส่งเสียงแก่งแย่งค้าขายเหมือนตลาดทั่วไปที่คุ้นเคย ด้วยพื้นฐานการใช้ธรรมะในการดำเนินชีวิต อยู่กันง่าย ๆ มีงานบุญแทบทุกเดือน

ส่วนมุมมองด้านการศึกษา สิ่งที่คนทั่วไปชอบใจ การแต่งกายของนักศึกษาหญิงที่นุ่งซิ่น มีอยู่ทั่วไป แต่เมื่อสอบถามถึงการเรียนทางด้านศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียน มีแต่วิชาที่ใกล้เคียง คือวรรณคดีเปรียบเทียบ จริยศาสตร์ และจิตศึกษา คณะยอดฮิต คือ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ แต่ก็รู้จักวันสำคัญในพุทธศาสนา ทุกวันพระมหาวิทยาลัยจะพาไปทำบุญที่วัด เป็นการศึกษาเรียนรู้พุทธศาสนาต่อยอดให้ได้ความละเอียดลึกซึ้งทางธรรมควบคู่กับทางโลก เพื่อไปรับใช้สังคมด้วยความดีที่มีคุณภาพ จบไปแล้วไม่ต้องกลัวขี้โกง.


วีระพันธ์ โตมีบุญ
veeraphant@dailynews.co.th


ขอบคุณบความจาก : http://www.dailynews.co.th/article/381280
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ