สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 06:19:53 am



หัวข้อ: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 06:19:53 am
กสิณ 10
(http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/buddhiststudies/picture/00076_1.gif)
1. ปฐวีกสิณ หมายถึง การเพ่งดิน การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับของแข็งคือดินต่างๆโดยใช้ดินสีอรุณ คือ สีคล้ายสีส้มแดง หรือ สีดินเผาหรือใช้กระเบื้องโมเสคสีขาว สีส้มแดง หรือสีเหลือง โดยทำวัตถุหรือรูปดินทำให้เป็นแผ่นวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วทำให้เสมอราบเรียบ เหมาะที่จะนำหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกเวลาบำเพ็ญภาวนากสิณดิน ให้เอาแผ่นกสิณดินมาวางให้สายตามองเห็นได้ชัดเจนไม่ไกลเกินไป พอให้สายตามองเห็นอย่างพอเหมาะจนติดตา ระหว่างกลางคิ้วหรืออุณาโลม

คำ บริกรรมสำหรับกสิณดินให้บริกรรมว่า “ เราจะทำจิตให้สงบไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ทั้งปวง ดุจดินทั้งหลายในโลกที่ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ทั้งที่สะอาดและไม่สะอาดที่มนุษย์ทั้งหลายทำบนพื้นดิน ” แล้วภาวนาสั้นๆว่า “ ปฐวีกสิณัง ”ๆๆๆ หรือ “ ดินคือชีวิตชีวิตคือดิน ” ๆๆๆ หรือ “ แข็งหนอ ” แล้วเพ่งกสิณดินให้ติดตาใน ติดใจอยู่ มองไม่เห็นก็ให้ลืมตามองใหม่จนติดตาในหรือใจ เมื่อหลับแล้วมองเห็นกสิณดินชัดเจน

เมื่อ ภาพกสิณดินติดตาในแล้ว ให้พยายามประคองกสิณดินให้ติดอยู่ให้นานที่สุด โดยวางใจให้นิ่งเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง อย่าปล่อยให้ใจเกิดนิวรณ์ คือราคะ กามกิเลส พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ท้อแท้ ง่วงนอน และความระแวงสงสัย เข้าใจผิดเกิดขึ้นบนจิตใจได้เมื่อหมั่นเพียรกระทำติดต่ออย่างนี้เป็นประจำ ทุกๆวัน แล้วไซร้ก็จะทำให้อำนาจฌาน 1-4 ได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง (กสิณดินนี้เหมาะกับจริตทุกชนิด ไม่มีโทษ)

2. อาโปกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณน้ำ, การจดจ่ออยู่กับน้ำ โดยอาจจะนั่งอยู่บนริมสระน้ำที่ใสสะอาด หรือเอาภาชนะใส่น้ำสะอาดแล้วนำเอาน้ำสะอาดมาวางใกล้สายตา ให้สามารถนมองเห็นได้ชัดเจนระหว่างกลางคิ้วอุณาโลม หรือ อาจจะมองน้ำบนใบบัวอันสะอาด หรือถ่ายภาพน้ำบนใบบัวแล้วพยายามเพ่งมองหยดน้ำบนใบบัวจนติดตาติดใจ เมื่อหลับคาในแล้วก็ยังเห็นภาพหยดน้ำบนใบบัวได้อย่างชัดเจน หากตาในมองไม่เห็น
มืดไปหมดก็ต้องลืมตาเพ่งมองจนกว่าตาในจะมองเห็นภาพหยดน้ำได้ชัดเจน

ขณะ มองกสิณน้ำให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะทำจิตเราให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากราคีเศร้าหมอง ดุจน้ำบนใบบัวที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีราคีสิ่งสกปรกฉันนั้น” แล้วภาวนาสั้นๆ ว่า “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

หากมองน้ำตามสระ ตามคลอง ตามลำธาร ตามน้ำทะเล หรือน้ำในหนอง คลองบึงทะเลหรือทะเลสาบก็ให้นึกบริกรรมภาวนาใจจิตว่า
“เราจะทำจิตใจของเราให้สงบไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ดีอารมณ์ร้ายดุจน้ำทั้งหลาย ที่ไม่หวั่นไหวต่อ สิ่งสกปรก ไม่สะอาด หรือสิ่งปฏิกูลที่มนุษย์ทั้งหลายทิ้งลงในน้ำฉันนั้น” แล้วบริกรรม “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

ให้บริกรรมเช่นนี้จนกว่าติดตาใน คือหลับตาแล้ว หยดน้ำอันใสสะอาดยังคงติดตาในให้นานที่สุดแล้วให้ประคองรักษาไว้
หากจิตไม่สงบจากนิวรณ์ 5 คือ ราคะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ เกียจคร้านเห็นแก่นอน และปราศจากการระแวงสงสัยไม่แน่ใจ
แล้วภาพหยดน้ำนี้จะติดตาจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 ได้นานที่สุด (กสิณน้ำนี้เหมาะกับบุคคลผู้มีจริตทุกชนิด ทำได้หมด ไม่มีโทษอะไร)

3. เตโชกสิณ หมายถึง การเพ่งการจดจ่อกับกสิณไฟ การนิ่งเฉยแน่วแน่อยู่กับ กสิณไฟ โดยการ

มอง กองไฟที่มีไฟลุกโชนอยู่จากการจุดกองฟืน กองใบไม้ กองหญ้าต่างๆหรืออาจจะใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนจุดไฟให้สว่างแล้วมองแสงสว่างจากไฟนั้นให้ติดตาติดใจ จนสามารถหลับตาในแล้วตาตาในยังเห็นแสงสว่างไหวอยู่ได้นานๆ หากหลับตาในแล้วมืดไม่เห็นแสงสว่างของไฟก็ให้เพ่งมองใหม่จนกว่าหลับตาแล้ว ยังเห็นแสงสว่างจากไฟได้ชัดเจน

ขณะ นั่งเพ่งมองให้แสงไฟติดตาระหว่างกลางคิ้ว หรืออุณาโลมอยู่นั้น ให้บริกรรมภาวนาในใจตลอดว่า “เราจะทำจิตใจของเราให้สงบ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายของมนุษย์ทั้งปวงดุจกองไฟทั้งหลายที่ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อสิ่งสกปรกเน่าเหม็นไม่สะอาด สิ่งปฏิกูล ไฟพอใจที่จะทำลายสิ่งทั้งปวงให้มลายหายสูญไปจนไม่มีอะไรเหลือฉันใด เราก็จะทำจิตใจเราให้ว่างสูญจากกิเลส ตัณหา สิ่งเศร้าหมองฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆว่า “ เตโช กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ ร้อนหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ ชีวิตคือไฟ ไฟคือชีวิต ๆๆๆ”

ให้ หมั่นนึกภาวนาอยู่อย่างนี้ขณะเพ่งมองไฟ จนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเฉยอยู่กับกสิณไฟอย่างเดียวจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 แล้วจะเกิดความสุขอย่างยิ่ง (กสิณไฟนี้เหมาะกับจริตนิสัยทุกชนิดไม่มีโทษใดๆ)

4.วาโยกสิณ หมายถึง การเพ่งมองลม การจดจ่อ แน่วแน่อยู่กับการเพ่งมองลมที่พัดไปมา กระทบกิ่งไม้ ใบไม้จนหวั่นไหวไปตามแรงลม หรือเพ่งมองลมที่พัดพาเอาเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว ไปตามแรงลม โดยการนั่งในที่กลางแจ้งที่ปลอดโปร่ง ไม่มีกำบังใดๆหรือนั่งตามเนินเขา
ตามหน้าผา ตามภูเขาสูงแล้วเพ่งจดจ่อกับการเคลื่อนไหวของลมที่พัดพาให้กิ่งไม้ใบไม้หรือเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว

แล้ว บริกรรมภาวนาในใจว่า “เราจะกระทำจิตใจของเราให้ไม่ติดใจยึดมั่นกับสิ่งสิ่งใดๆในโลกทั้งปวง ดุจลมทั้งหลายที่ไม่ติดใจ พอใจ ยึดติดกับสิ่งใดๆ ในโลกฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ วาโย กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เบาหนอ ๆๆๆ ” “ ลมคือชีวิต ชีวิตคือลม ”ๆๆๆ

แล้วหลับตาลงจนเห็นภาพลมพัดกิ่งไม่ใบไม้เคลื่อนไหว หรือมองเห็นภาพเมฆหมอกเคลื่อนไหวไปมาจนติดใจนิ่งเฉยสงบเย็นไม่มีกิเลส ตัณหา
เมื่อนั้นอำนาจ ฌาน 1-4 ก็เกิดขึ้น(กสิณลมนี้บุคคลมีจริตต่างๆ ภาวนาได้ไม่มีโทษภัยอะไร) อยู่แต่สถานที่บำเพ็ญนั้นๆ เหมาะสมที่จะภาวนาเช่นนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่าง

5.นิล ละกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเขียวใบไม้ การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีเขียวอ่อน วิธีการปฏิบัติให้หาวัสดุ คือกระดาษหรือผ้าสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวใบไม้มาตัดทำเป็นวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดลงในกระดาษ หรือสีน้ำเงินเข้มเกือบมืดเพื่อให้กสิณสีเขียวเด่นชัดยิ่งขึ้น หรืออาจใช้ใบไม้ดอกไม้ ต้นไม้ที่ใบขึ้นดก พอที่จะทำให้สบายตามองเห็นได้ชัดเจน อยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว ได้พอเหมาะพอควร

ขณะ นั่งเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ธรรมชาติสีเขียวใบไม้ซึ่งให้ความเย็นตา เย็นใจ สบายจิต สบายใจจริงหนอ” แล้วบริกรรมว่า “ นิลละ กสิณัง ๆๆๆ ”หรือ “ สบายหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ เขียวหนอๆๆๆ ”

พยายาม ระงับจิตใจให้สงบเย็น ไม่ให้เกิดนิวรณ์ 5 แล้วลืมตามองสีเขียวให้ติดตาและติดใจขนาดหลับตาแล้ว ก็ยังเห็นภาพวงกลมสีเขียวติดใจ
เมื่อหมั่นบริกรรมภาวนาไปนานๆ ก็จะเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 ก็จะเกิดความสว่างไสว ดุจประกายเพชรในที่สุด กสิณสีเขียวเหมาะสำหรับบุคคลที่มักมีโทสะจริต ความมักโกรธ อาฆาต พยาบาท มากที่สุด

6. ปิตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเหลืองสีเหลือง หรือสีทอง การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกสิณสีเหลือง หรือสีทอง โดยให้หาวัสดุคือกระดาษ
หรือผ้าหรือดอกไม้สีเหลือง หรือสีทองมาทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วประกอบลงในพื้นสีน้ำเงินเข้มจนเกือบมืด เพื่อให้วงกลมสีเหลืองหรือสีทองลอยเด่นอยู่ตรงกลาง หรืออาจใช้แผ่นทองคำบางๆ ทำให้เป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำภาพวัสดุสีเหลืองหรือสีเหลืองหรือสีทองมาเพ่งมองโดยวางในระยะพอเหมาะ แก่สายตาขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่ระหว่างคิ้วหรืออุณาโลม

ขณะ เพ่งมองเพื่อให้ติดตาและติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเหลืองหรือสีทองได้อย่างชัดเจน โดยใช้คำบริกรรมว่า “โอ้ธรรมชาติแห่งสีทองหรือสีเหลือง ซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง เราจะภาวนาให้จิตใจเราสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจาก ราคะ กิเลส ตัณหาให้สงบลงให้ได้” หรือภาวนาว่า “ ปิตะกสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เหลืองหนอ ๆๆๆ” หรือแบบสั้นๆของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา จ.นครนายก ว่า “ใจบริสุทธิ์เหมือนทองๆๆๆ ทองหนึ่ง ทองหนึ่งๆๆๆ” ก็ได้สั้นดีซึ่งหมายถึงความบริสุทธิ์ ปราศจากการมีสิ่งเจือปนเหมือนกัน

ให้ ภาวนาดังนี้ไปจนกว่าภาพสีทองหรือเหลืองติดตาติดใจอยู่ได้นานจนจิตใจสงบเย็น เกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร ฉันนั้นกสิณสีทองหรือสีเหลืองนี้เหมาะสำหรับบุคคลผู้มีจิตใจมักโกรธ ขี้โกรธ มักอาฆาตพยาบาทมากที่สุด

7. โลหิตตะกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณ สีแดงเข้ม การจดจ่อแน่วแน่กับกสิณสีเลือด โดยวิธีการ

นำ เอากระดาษ หรือผ้า หรือดอกไม้สีแดงเข้ม สีเลือด สีแดง นำมาตัดทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วหากระดาษรองพื้น สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำมาประกอบ เพื่อให้สีเลือด สีแดงชัดเจนยิ่งขึ้น หรือใช้ภาพถ่ายดอกไม้สีแดง ภาพดอกกุหลาบแดง
หรืออาจจะใช้ดอกไม้สีแดงจริงๆก็ได้ แล้วนำมาวางให้สายตามองเห็นชัดเจนอยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว เพ่งมองให้ติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเลือดชัดเจน

ขณะเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ชีวิตสัตว์โลก ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีโลหิตเป็นส่วนประกอบ เมื่อโลหิตถึงความแตกสลายหมดไป
ชีวิตก็ถึงความดับไป ไม่มีอะไรเหลือจึงควรหยุด ความรัก ความยินดี พอใจในสังขารทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆว่า “โลหิตต กสิณังๆๆๆ” หรือ “ แดงหนอ ๆๆๆ ” หรือ “โลหิต คือ ชีวิต ชีวิต คือ โลหิต”ๆๆๆหมั่นภาวนาจนกว่าภาพสีโลหิตติดตาติดใจ จิตใจสงบเย็นจนเกิดฌาน 1-4
เมื่อถึงฌาน 4 แล้ว ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร กสิณสีโลหิตนี้ก็เหมาะกับกับบุคคลที่มี โทสะจริตมาก ให้เพ่งติดตาติดใจได้ยิ่งดี

8. โอทาตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีขาว การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีขาวสะอาดบริสุทธิ์นี้ โดย

มี วิธีการปฏิบัติดังนี้คือ นำเอากระดาษหรือผ้าขาวสะอาดบริสุทธิ์มาตัดเป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดตรงกลางกระดาษรองพื้นสีน้ำเงินเข้า หรืออาจใช้ดอกไม้สีขาว เช่น ดอกบัวหลวง ดอกกุหลาบขาว โดยนำวัสดุดังกลาาวมาวางให้สายตามองเห็นชัดเขนอยู่ระหว่างคิ้วอุณาโลม
แล้วเพ่งมองให้ภาพสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ติดตาติดใจขนาดหลับตาก็ยังเห็นภาพสีขาวติดตาติดใจอยู่ได้นานและนิ่ง

ขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สีขาวบริสุทธิ์จริงหนอ เราจะทำจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ตัณหา เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ให้บริสุทธิ์ดุจผ้าขาวนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ โอทาตะ กสิณังๆๆๆ” หรือ “ ขาวหนอ ๆๆๆ” หรือ “บริสุทธิ์หนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สะอาดหนอ ๆๆๆ ” เพ่งมองให้นานจนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วสีขาวจะใสบริสุทธิ์ดุจสีประกายเพชร กสิณสีขาวนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตเป็นนิสัยเมื่อมองความมะอาด บริสุทธิ์ ก็อาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้

9. อากาสกสิณ หมายถึง การเพ่งมองอากาศ หรือเพ่งมองความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย การจด

จ่อ แน่วแน่กับกสิณอากาศนี้ ไม่ต้องใช้วัตถุอะไรเลย เพียงแต่นั่งในที่กลางแจ้ง ให้มองในความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย เช่นมองท้องฟ้า เหนือทะเลอันว่างเปล่าไกลสายตา

แล้ว บริกรรมภาวนาในใจว่า “ธรรมชาติว่างเปล่าดุจอากาศที่ไม่มีอะไรเลย เราควรจะคลายความรักความยินดี พอใจ ในสิ่งทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆ ว่า “อากาส กสิณัง ๆๆๆ” หรือ “ ว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สิ่งทั้งปวงว่างเปล่าจริงหนอ ๆๆๆ , สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นจริงหนอ ๆๆๆ ”

ภาวนา จนกว่าจิตใจจะสงบเย็น เห็นภาพความว่างเปล่าติดตาอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะเกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึง ฌาน 4 แล้วจะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชรกสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริต หากไม่ได้เห็นอะไรเสียนั่นแหละจึงจะสงบอารมณ์อื่นได้สำเร็จ

10. อาโลกสิณ หมายถึง การเพ่งมองความสว่างไสว การจดจ่ออยู่กับความสว่างไสว โดยมีวิธี

การ ปฏิบัติ คือหากเป็นเวลากลางวัน ให้อยู่ในห้องมิดชิด แล้วเจาะรูให้สว่างลอดทะลุเข้ามาในห้องเป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว หรืออาจจะใช้กล่องกระดาษกล่องไม้ แล้วใส่หลอดไฟฟ้าชนิดสีขาวหรือสปอตไลท์หรือหลอดนีออนให้เจาะรูขนาด 3-6 นิ้ว แล้วให้แสงสว่างลอดออกมาได้ หากเป็นเวลากลางคืน นั่งที่กลางแจ้งแล้วเพ่งมองดาวฤกษ์หรือแสงไฟในระยะไกลๆ โดยให้เลือกแสงไฟ แสงสว่างดวงเดียว กะประมาณให้แสงสว่างตั้งอยู่กลางอุณาโลมแล้ว เพ่งมองจนติดตาติดใจขนาดหลับตาแล้ว แสงสว่างยังติดใจอยู่ได้นาน

ขณะ เพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสดุจแสงสว่างนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมภาวนาสั้นๆ ว่า “ อาโล กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ สว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ใจเราสว่างแล้วหนอ ๆๆๆ ใจเราผ่องใสแล้วหนอ ๆๆๆ ”

ภาวนา ไปจนกว่าจิตใจสงบเย็น เกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจกลางวัน ดุจประกายเพชร กสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตมาก หากได้เห็นแสงสว่างแล้วอาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้สำเร็จ และเหมาะสำหรับบุคคลทุกประเภทใช้ได้ไม่มีภัยใดๆ

รูปแบบของกสิณ


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 06:21:37 am
(http://www.komcome.com/prataveekasin/images/IMG_1465.jpg)


ที่มาของเรื่องคร้า...
http://www.praphansarn.com/new/c_town/detail.asp?ID=49 (http://www.praphansarn.com/new/c_town/detail.asp?ID=49)


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 09:11:29 am
ไม่แนะนำการฝึกกสิณ

พระอาจารย์ขอแนะนำ แต่เรื่องการฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ พฤศจิกายน 17, 2010, 06:28:37 am
ที่จริง เรื่องกสิณ ผมก็สนใจมากครับ เพราะว่าชีิวิตทหาร อยู่กับ ดิน กับ ป่า บางครั้งก็กองไฟในราตรี

ถ้าเป็นไปได้ขอให้พระอาจารย์แนะนำ ให้สักนิดครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 17, 2010, 06:21:38 pm
ตำราเรื่องการฝึกกสิณ นั้นมีวางจำหน่ายในร้าน ซีเอ็ด นะ

ส่วนเว็บ ของ ชมรมกสิณ วัดยานนาวา ติดตามได้ในเว็บเลย

รู้สึกมีคนนำ วีดีโอ เกี่ยวกับกสิณ มาโพสต์ไว้แล้ว ลองหาดูนะ

ถ้าเลิกฝึกกสิณแล้ว ก็อย่าลืม ภาวนาพระพุทธานุสสติ ด้วยละ

เจริญพร
 ;)


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ สิงหาคม 14, 2012, 11:50:48 am
ในกรรมฐาน ก้มีวิชา กสิณ 10 ด้วยนี่คะพระอาจารย์ ทำไมจึงไม่สอนคะ

  :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 14, 2012, 12:44:56 pm
ไม่ได้อยู่ในการปฏิบัติเบื้องต้น หรือห้องแรกๆที่จะต้องปฏิบัติ และหลายๆคนก็ยังไม่ได้ผ่านไปตรงนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะยังไม่สอน (ตอบแบบเป็นการคาดการส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพระอาจารย์นะจ๊ะ)


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ สิงหาคม 15, 2012, 08:27:15 am
ที่พอจะรู้ๆมานะครับ การฝึกกสินหากปฏิบัติไม่ถูกทาง หรือ ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ อาจจะทำให้เสียสติได้ เพราะต้องเป็นการใช้สมาธิที่แน่วแน่ และ จิตที่จดจ่ออย่างสูง


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: นินนินนิน ที่ สิงหาคม 15, 2012, 11:27:19 am
น่าจะมีแนะนำเรื่องกสิณ สักนิด นะครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 15, 2012, 02:40:39 pm
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3294.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3294.0)

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4137.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4137.0)

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1278.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1278.0)