สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:34:49 am



หัวข้อ: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:34:49 am
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนา

        ด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑         
        ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน  และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ( พึงจำภาวนา ๔ นี้ไว้ เพราะใช้ถึงที่สุด )

        อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ


         ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสติ นั้นไม่ล่วงเกินกัน เพราะเกิดที่จังหวะต่างกัน 4 สภาวะ คือ
    1.สภาวะที่หายใจออก
    2.สภาวะที่หายใจเข้า
    3.สภาวะที่สติมีขณะหายใจออก
    4.สภาวะที่สติมีขณะหายใจเข้า

ทั้ง 4 สภาวะเป็นสภาวะใน การภาวนาจริง ๆ ไม่ล่วงเกินกันเพราะเป็นสภาวะธรรมที่แตกต่างกัน

    อันนี้กล่าวว่าเป็น ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน

    อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ทั้งหลายในสภาวะัธรรมทั้ง 4 นี้เป็นใหญ่แตกต่างกัน แต่มีกิจ 2 อย่างที่เหมือนกัน ในสภาวะทั้ง 4

    1.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการมีชีิวิต เพื่อการประกอบขันธ์ทั้ง 5 ให้เป็นอยู่ ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
    2.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการนำมาซึ่ง อรหัตตผล เป็นที่สุด
   
    อันนี้กล่าวว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน

    สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2 นั้นเป็นสภาวะ เหตุ ปัจจัย ในการภาวนาธรรม

    อันนี้จึงกล่าวว่า นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรม

   
สภาะธรรมทั้ง 4 และอินทรีย์ทั้ง 2 ความเพียรอันประกอบด้วยสภาวะธรรม เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเพราะชีวิต
  มีได้ก็อาศัย สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2
   
    อันนี้จึงกล่าวว่า เป็นที่เสพ ๑

ข้อความจาก อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 30



หัวข้อ: Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: รักหนอ ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2011, 06:58:03 am
อ่านอธิบาย มองเห็นภาพในการปฏิบัติ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค มากขึ้นเลยคะ

 :25:


หัวข้อ: Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: nirvanar55 ที่ เมษายน 14, 2013, 10:37:26 am
ผมอ่านเรื่อง นี้ ก็ยังไม่เข้าใจ ว่าใน อานาปานสติ มีภาวนา 4 ไปพร้อมกันอย่างไร

  :91:


หัวข้อ: Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 15, 2013, 08:25:23 am
  มาติกา  ( บทโดยรวม )
 
  ภาวนา 4 ใน มีขึ้นตอนดังนี้
  พระอานาปานสติ 16 คู่ ( สโตริกาญาณ 16 )
  32 ลักษณะ  ( สโตริกาญาณ 32 สามารถแห่งสติ )
  ญาณในการพิจารณาความไม่เที่ยง 50 ลักษณะ
  ญาณในความเป็นผู้ทำสติ 32
  ญาณด้วยสามารถในสมาธิ 24
  ญาณด้วยสามารถในวิปัสสนา 72
  นิพพิทาญาณ 8
  นิพพิทานุโลมญาณ 8
  นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8
  ญาณในวิมุตติสุข 21


 ask1

  ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑   
 

 ans1     ธรรมที่เกิดเป็นสภาวะ ไปตามลำดับ เข้า ออก อย่างไรปรากฏเช่นนั้นไปตามลำดับแห่ง กาย เวทนา จิต และ ธรรม ไม่ก้าวล่วงกัน เพราะเหตุนี้ เพราะต้องมีการ ระงับ คือ ทำกายให้สงบ ทำเวทนาใหสงบ ทำจิตให้สงบ ทำธรรมให้สงบ ลง  เรียกว่า การไม่ก้าวล่วงกัน เพราะเหตุและผล เป็นสภาวะธรรม ตามลำดับ นั่นเอง


 

 ask1

 

อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ 

 [/]
ans1  
อินทรีย์ 5

ศรัทธา คือ สัทธินทรีย์   มีความเป็นใหญ่ ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจเชื่อ

วิริยะ คือ วิริยินทรีย์       มีความเป็นใหญ่ ในการประคองไว้

สติ คือ สตินทรีย์           มีความเป็นใหญ่ในการระลึก 

สมาธิ คือ สมาธินทรีย์    มีความเป็นใหญ่ ในการไม่ฟุ้งซ่าน

ปัญญา คือ ปัญญินทรีย์  มีความเป็นใหญ่ในการเห็นตามความเป็นจริง

   ถึงแม้จะจำแนกออกเป็น กี่หมวด แต่อินทรีย์ รวมลงด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1  นั่นเอง หรือ จะสรุปไปเลยที่องค์เดียวก็คือ นิพพาน

 [/]
ask1    

 
นำไปซึ่งความเพียรอัน สมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน  และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน   และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

   
ans1  
 
  ความเพียร มีเรื่องเดียวการสร้าง กุศล นั่นเอง


 ask1

   เป็นที่เสพ ๑ ( พึงจำภาวนา ๔ นี้ไว้ เพราะใช้ถึงที่สุด )


 
ans1

   ปกติ คนเราอาศัย ลมหายใจเข้า และ ออก ทุกวินาทีอยู่แล้ว อันนี้เรียกว่า เสพอย่างไม่มีสติ คือ กำหนดรู้ได้บ้าง และ กำหนดรู้ไม่ได้บ้าง การเสพอย่างนี้เรียกว่า เสพอย่างขาดสติ ผลก็คือ ไม่รู้จัก มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1  นั่นเอง

   แต่เมื่อเจริญพระอานาปานุสสติ แล้ว มีสติ หายใจเข้า มี สติ หายใจออก กำหนดรู้ชัดเจน ทุกวินาทีเช่นกัน รู้จัก อัสสาสะ รู้จักปัสสาสะ รู้จักอัสสวาตะ รู้จักปัสสวาตะ รู้จักนิสสวาตะ เพราะมีสติไปทั่วนั่นเอง  อย่างนี้เรีกว่า เสพธรรมเป็นผล