สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: suchin_tum ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 07:16:33 pm



หัวข้อ: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: suchin_tum ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 07:16:33 pm
  ลําดับแห่งอนุโลมญาณ
  1.โคตะระภูจิต(โคตรภูจิต) จิตเหนี่ยวนําพระนิพพานเป็นอารมณ์
  2.มัคคะจิต(มรรคจิต) จิตน้อมนําปฏิบัติเข้าสู่หนทางแห่งพระนิพพาน
  3.ชะวะนะจิต(ชวนจิต) จิตเข้าชวนะ 7 สลับไปสลับมา
  4.ผะละจิต(ผลจิต)
  5.ภวังคะจิต(ภวังคจิต)
  6.มโนทะวาราวัชชะนะจิต(มโนทวาราวัชชนจิต)
  7.ปัจจะเวกขะณะญาณ(ปัจจเวกขณญาณ) ญาณกําหนดทบทวน ลักษณะดังนี้ 1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่ยังเหลืออยู่ 5.นิพพาน
 ดังนั้น ท่านผู้มีการเจริญ สติปัฏฐาน 4 ย่อมเข้า ถึงความรู้ มรรค ความรู้ผล และ ความรู้ นิพพาน ดังนี้
    -รู้มรรค ได้แก่ รู้มรรค 4 มี 1.โสดาปัตติมรรค 2.สกิทาคามิมรรค 3.อะนาคามิมรรค 4.อรหัตตะมรรค.
    -รู้ผล ได้แก่ รู้ผลทั้ง 4 มี 1.โสดาปัตติผล 2.สกิทาคามิผล 3.อะนาคามิผล 4.อรหัตตะผล
    -รู้นิพพาน คือ รู้นิพพาน ทั้ง 3 มี 1อะนิมิตตะนิพพาน 2.อัปปะณิหิตะนิพพาน 3.สุญญะตะนิพพาน
 ทั้ง 3 รู้นี้ เรียกรวมๆ ว่า โลกุตรธรรม 9 อันมี(มรรค 4 - ผล 4 - นิพพาน 1)
                       จากหนังสือ....ที่ระลึก "วันอุปสมบท" ของครูบาอาจารย์



หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: vijitchai ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 08:41:09 pm
อ้างถึง
5.ภวังคะจิต(ภวังคจิต)
  6.มโนทะวาราวัชชะนะจิต(มโนทวาราวัชชนจิต)

มีคำอธิบาย 2 ข้อนี้หรือไม่ครับ ผมไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: pimpa ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 10:13:10 pm
อยากได้คำอธิบาย เพิ่มเช่นกันคะ

 :c017:


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 04, 2011, 07:24:55 am
อาจจะเข้าใจยากกันอยู่นะจ๊ะ ถ้าจะทำความเข้าใจเรื่อง มโนทวาราวัชนจิต

อ่านส่วนนี้ประกอบไปก่อนนะจ๊ะ เพียงพอทำความเข้าใจ




มโนทวารวิถี (กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ) ไม่มีอตีตภวังค เพราะ
อารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อนเหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับ
อารมณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต ให้จิตไหวตัวขึ้น
รับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง
เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวารวิถีจึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำ
น้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ
ก. มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จ
ไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล
อกุสลเอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้
ข. แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น
ค. และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่ง
ส่วนทางปัญจทวารวิถี มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่ แล้วจึง
เสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต
(หน้า ๙-๑0) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถีมีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง





เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ พฤษภาคม 04, 2011, 12:14:28 pm
จริงด้วยครับ ผมอ่านแล้วก็มึน ตึ๊บเลยครับ
สรุปแล้ว จำไว้ก่อน หรือว่ารู้ไว้ก่อนดีกว่านะครับ

 :13:


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ พฤษภาคม 04, 2011, 08:14:55 pm
ใครมีข้อมูล ก็มาช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับ ผมเองก็สนใจเหมือนกัน

อ่านแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :91:


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 04, 2011, 09:39:46 pm
อาจจะเข้าใจยากกันอยู่นะจ๊ะ ถ้าจะทำความเข้าใจเรื่อง มโนทวาราวัชนจิต

อ่านส่วนนี้ประกอบไปก่อนนะจ๊ะ เพียงพอทำความเข้าใจ




มโนทวารวิถี (กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ) ไม่มีอตีตภวังค เพราะ
อารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อนเหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับ
อารมณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต ให้จิตไหวตัวขึ้น
รับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง
เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวารวิถีจึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำ
น้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ
ก. มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จ
ไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล
อกุสลเอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้
ข. แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น
ค. และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่ง
ส่วนทางปัญจทวารวิถี มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่ แล้วจึง
เสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต
(หน้า ๙-๑0) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถีมีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง





เจริญธรรม

 ;)


หากต้องการทำความเข้าใจ ขอให้ตามลิงค์นี้ไป มีให้อ่านนับร้อยหน้า
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p4/034.htm (http://www.abhidhamonline.org/aphi/p4/034.htm)

ผมขอนำความหมายของอนุโลมญาณ มาแสดงให้อ่าน ดังนี้ครับ

๑๒.อนุโลมญาณ
อนุโลมญาณ คือ ญาณที่อนุโลมไปตามลำดับเพื่อสำเร็จกิจแห่งวิปัสสนาญาณ ๘ โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ หรืออนุโลมไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องสูง ผลของอนุโลมญาณนั้นย่อมสามารถกำจัดความมืดคือกิเลสที่ปกปิดอริยสัจ ๔ อนุโลมไปตามลำดับมี ๒ ประการ คือ

๑. อนุโลมตามญาณต่ำไปสู่ญาณสูง โดยเริ่มตั้งแต่
๑.๑ อุทยัพพยญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
๑.๒ ภังคญาณ พิจารณาเห็นความดับไปของรูปนามอย่างเดียว
๑.๓ ภยญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว
๑.๔ อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่ามีโทษมาก
๑.๕ นิพพิทาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามแล้วเบื่อหน่าย
๑.๖ มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษเบื่อหน่ายแล้วอยากหลุดพ้น
๑.๗ ปฏิสังขาญาณ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติอย่าง เข้มแข็ง
๑.๘ สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์แล้วมีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม ทั้ง ๘ อย่างข้างต้น เรียกว่า อนุโลมตามญาณต้น เพราะมีกิจพิจารณาพระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์เหมือนกัน

๒. อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เมื่ออนุโลมตามญาณต่ำได้กำลัง พอแล้ว คือได้อินทรีย์ ๕ แก่กล้าแล้ว ก็เข้าเขตอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

จบอนุโลมญาณ


ฉบับเต็มๆ ผมแนบไฟล์มาให้แล้วครับ


หัวข้อ: Re: ลําดับแห่ง 7 ชาติ สลับ "อนุโลมญาณ" ย่อมเข้าถึงขั้นตอน ของสติดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ เมษายน 07, 2012, 08:45:38 am
ขอบคุณมากครับ ถึงพยายามมาอ่านตามแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี แต่อย่างไรก็รู้สึกในการภาวนาเองน่าจะดีกว่านะครับเพราะต้องอธิบายอารมณ์ออกมาเป็นอักษรแล้ว อาจจะเป็นเรื่องที่ลำบากนะครับ ดังนั้นผมว่าเข้าใจแบบ ปัจจัตตัง คือรู้เห็นด้วยตนเองน่าจะดีกว่าหรือไม่ ครับ

         :49: