สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: notebook123 ที่ มิถุนายน 02, 2011, 10:01:29 pm



หัวข้อ: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: notebook123 ที่ มิถุนายน 02, 2011, 10:01:29 pm
สวัสดีครับ  เช้าเรื่อองนะครับ ผมนั่งภาวนาอยู่ผ่านไปกี่นาทีไม่รู้ครับ แต่ที่รู้คือดูลมหายใจเข้าออก ไม่ให้เผลอ สิ่งที่เกิดรู้สึกว่า ผมไม่มีตัวตน มันมีแต่ลมหายใจเข้าออก แต่เรื่องของความคิดนั้นยังผุดขึ้นมานิดหน่อย  เป็นความว่างที่บอกไม่ถูก
 
และเวลาผมเห็นผู้คนเดินผ่านไปผ่านมา ก็ลองเอาความว่างที่ผมเจอในทำสมาธินั้นมาเปรียบ ก็เห็นเหมือนกับว่าไม่มีตัวตนในเขาเลย  แปลกดี  สภาวธรรมใช่ไหมครับ (แต่ก็รู้สึกไม่อยากจับต้องตัวของบุคคลแล้วล่ะครับ มันยังไงไม่รู้) 


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 03, 2011, 08:37:43 am
อธิบายสั้นเกินไป จึงเข้าใจไม่ได้ เอาเป็นว่า อนุโมทนาในการภาวนาด้วย

ถ้ามีเวลาก็เขียนเล่าการภาวนาตั้งแต่เริ่มต้นให้อ่านด้วยนะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ มิถุนายน 03, 2011, 09:06:21 am
นั้งแถวไหนครับเนี่ย มีคนเดินผ่านไปมาด้วย


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: notebook123 ที่ มิถุนายน 03, 2011, 10:46:23 am
พี่ทินกร ครับ นั่งในห้องนอนตัวเองครับ ที่ว่าเดินผ่านไปผ่านมา แม่  น้อง พ่อ เพราะประตูห้องเป็นทางผ่าน


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ มิถุนายน 03, 2011, 11:31:34 am
ระวังเรื่องความคิดนะจ๊ะ มันเป็นสังขารขันธ์ เป็นสิ่งปรุงแต่ง แต่ถ้ามีเวลา นั้งบ่อยๆ ลองไม่คิดดูนะ(แต่ผมยังไปไม่ถึงไหนเลย
ภาระ ทางความคิดเยอะจริงๆ) เพราะความรู้สึกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันยากจะกำจัดทิ้งจริงๆ ทุกลมหายใจ ของคนเราถ้า
ได้ลองมาคำนึงกันจริงๆ ตัวกู ของกู ทั้งนั้นเลย ยากนะ ต้องปฏิบัติจริงๆ บ่อยๆ เท่านั้น


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: วรรณา ที่ มิถุนายน 04, 2011, 09:52:16 am
คุณโน๊ตบุ๊ค123

  โปรดช่วยเล่า วิธีการปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นให้ฟัง ได้หรือไม่ คะ

   น่า นะ เขียนให้อ่าน ด้วย สิ จะได้รู้ว่า ภาวนาอย่างไร คะ

   :s_hi:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ มิถุนายน 04, 2011, 10:35:38 am
คุณโน๊ตบุ๊ค123

  โปรดช่วยเล่า วิธีการปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นให้ฟัง ได้หรือไม่ คะ

   น่า นะ เขียนให้อ่าน ด้วย สิ จะได้รู้ว่า ภาวนาอย่างไร คะ

   :s_hi:

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คะ คุณโน๊ตบุ๊ค123
กรุณาช่วยแชร์ประสพการณ์ตอนต้นด้วยคะ

มาแชร์ตอนปลาย นี้ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง หรือเข้าใจคะ

 :25:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: notebook123 ที่ มิถุนายน 05, 2011, 09:15:32 am
ครับได้ครับ
คุณหมิว และคุณวรรณา
ผมทำแบบอานาปานสติครับดูลมหายใจหรือจะว่าเป็นแบบ มัชฌีมาแบบลำดับก็ว่าได้เช่นกัน
เวลานั่งสมาธิดูลมหายใจถ้าหากจิตคิดฟุ้งช่านผมจะมีการบังคับจิตโดยการด่าจิตว่า  "ไม่ต้องไปดูที่อื่น ดูลมนี้อย่างเดียว" แบบนี้ล่ะครับ แต่ถ้ามันยังคิดอยู่ ก็จะค่อยๆเพิ่มคำด่าให้หนักขึ้นแระกอบกับการนึกถึงความตายด้วยนะครับอันนี้แล้วแต่เทคนินะครับจะนำไปใช้ก็ได้ครับ ที่ผมด่าจิตผมแบบนั้นเพราะเหมือนกับการเตือนสติของเราอีกวิธีนึงครับ แรกๆจะตลกรกตัวเองเพราะด่าตัวเองก็เป็น แต่มันได้ผมตรงที่เราสงบดี

หลังจากที่จิตสงบแล้วและเรายังมีสติกับลมหายใจอยู่นั้นเราจะรู้สึกถึงความว่างทางจิตนั้นแหล่ะครับ ผมนำความว่างนั้นมาสำรวจกายง่ะครับว่ามีไหนที่เป็นของตนบ้าง  ไรประมาณนี้ครับ หลังจากที่ผมสำรวจกายอยู่เป็นประจำสิ่งที่เกิดกับผมคือ อารมระหว่าเพศไม่มีไม่อยากแตะมันรู้สึกเบื่อๆง่ะครับ ทุกวันนี้เวลาผมไปไหนถ้ามองคนไหนก็เหมือนกับเขาไม่มีตัวตนเหมือนที่ผมสำรวจในสมาธิครับ 

ผมฝาก facbook ผม ไว้นะครับเผื่ีอใครจะมีคำถามต่อ   
ผู้ชาย และสายลม ชื่อในเฟสครับ notespmd@hotmail.com อีเมล  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ มิถุนายน 05, 2011, 09:41:55 am
ขอบคุณที่ถ่ายทอดประสพการณ์ คะ

 :25:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: tang-dham ที่ มิถุนายน 05, 2011, 02:57:41 pm
อ้างถึง
ผมทำแบบอานาปานสติครับดูลมหายใจหรือจะว่าเป็นแบบ มัชฌีมาแบบลำดับก็ว่าได้เช่นกัน

คุณ notebook123 ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ห้องที่ 4 หรือครับ
ในส่วนที่กล่าวมานั้น ไม่น่าใช่นะครับ เพราะ ห้องที่ 4 มีสองส่วนที่ต้องเข้าถึงก่อนนะครับ
ืคือ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ซึ่งจะมีได้ต้องปฏิบัติ ในส่วน ฐาน 9 นะครับ
และอาการที่ว่าว่างเบานั้น ไม่ใช่เป็นสภาวะที่ควรจะเป็นในห้องพระอานาปานสติครับ

เพราะธรรมสภาวะ เบาว่าง นั้นจะอยู่ในห้อง พระสุขสมาธิ

เกรงว่าศิษย์ท่านอื่น จะเขวได้นะครับ ว่าเป็นอย่างนั้น

 :s_hi:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: notebook123 ที่ มิถุนายน 06, 2011, 01:15:39 pm
ถึงคุณ tang ครับ
ผมเน้นความสงบที่เกิดกับจิต เน้นตัดความยึดมั่นถือมั่นในรูป  นึกถึงความตายเป็นอารมโดยเอาอานาปานสติเป็นที่ตั้งกำหนดความตายครับ  ผมไม่รู้หรอกับว่าต้องห้องที่เท่าไร ต้องเป็นแบบอย่างไรขั้นไหน มันเป็นการแชร์ประสบปการมากกว่าครับ :) ;)


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: bangsan ที่ มิถุนายน 08, 2011, 06:29:23 pm
เชิญคุณ notbook123 เล่าต่อได้หรือไม่ครับ สาเหตุการที่คุณ notebook123 มาฝึกอานาปานสติ ครับ
และ เรียนกรรมฐาน จากที่ไหนครับ

 :c017:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ มิถุนายน 09, 2011, 06:36:43 pm
ระหว่างการสังเกตุแก่ลมหายใจที่เข้า-ออกกระทบปลายจมูก
กับการตามรู้ลมหายใจที่ผ่านกระทบปลายจมูก
และตามดูลมที่เคลื่อนเข้าสู่ภายในกายจนลมสุดที่ท้องน้อย
และผ่อนลมหายใจออก เข้าออกอยู่อย่างนี้
โดยไม่มีการบังคับลมหายใจคือปล่อยไปตามธรรมชาติ
เพียงแต่เฝ้ามอง/ตามรู้ตามดูอยู่อย่างนั้น
ซึ่งผมถนัดแบบตามรู้ลมหายใจ
มากกว่าที่จะจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก

เคยลองพยายามจะจดจ่ออยู่กับลมที่สัมผัสเข้าออกที่ช่องปลายจมูก
แต่เหมือนว่ามันเครียดมาก... เหมือนว่ามันได้แต่เพ่งอยู่อย่างนั้น
เลยฝึกแต่การตามรู้ลมเข้าออก แต่ก็เหมือนว่าสมาธิมันไม่นิ่งอย่างที่ต้องการระหว่างการสังเกตุแก่ลมหายใจที่เข้า-ออกกระทบปลายจมูก
กับการตามรู้ลมหายใจที่ผ่านกระทบปลายจมูก
และตามดูลมที่เคลื่อนเข้าสู่ภายในกายจนลมสุดที่ท้องน้อย
และผ่อนลมหายใจออก เข้าออกอยู่อย่างนี้
โดยไม่มีการบังคับลมหายใจคือปล่อยไปตามธรรมชาติ
เพียงแต่เฝ้ามอง/ตามรู้ตามดูอยู่อย่างนั้น
ซึ่งผมถนัดแบบตามรู้ลมหายใจ
มากกว่าที่จะจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก

เคยลองพยายามจะจดจ่ออยู่กับลมที่สัมผัสเข้าออกที่ช่องปลายจมูก
แต่เหมือนว่ามันเครียดมาก... เหมือนว่ามันได้แต่เพ่งอยู่อย่างนั้น
เลยฝึกแต่การตามรู้ลมเข้าออก แต่ก็เหมือนว่าสมาธิมันไม่นิ่งอย่างที่ต้องการ

 :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: เมื่อดูลมหายใจแล้ว..
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 10, 2011, 08:10:13 am
หลักในการภาวนา อานาปานสติ มี 4 อย่างนะจ๊ะ

1. ผุสนา กำหนดจุดกระทบ ลมหายใจเข้าและออก
2. อนุพันธนา กำหนดติดตามลมหายใจที่เข้าและออก
3. คณนา กำหนดนับลมหายใจเข้าและออก
4. ฐปนา กำหนดตั้งฐานจิต

เป็นส่วนสมถะกรรมฐาน นะจ๊ะใน 4 นี้
ในส่วน วิปัสสนามีอีก 5 นะจ๊ะ

 ;)