สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sayamol ที่ มีนาคม 23, 2012, 08:18:36 am



หัวข้อ: เวลาเดินทาง ควรภาวนาอย่างไร คะ ต้องใช้ชีิวิตในการเดินทางวันละ 100 กม. บ่อยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: sayamol ที่ มีนาคม 23, 2012, 08:18:36 am
ด้วยอาชีพ คะ ต้องไปปฏิบัติงาน ต่างถิ่นคะทุกอาทิตย์ คะใช้เวลาการเดินทางราว ๆ 2 ชม. คะ บ่อยครั้งก็จะนอนหลับพักผ่อนไปคะ แต่ถ้าเราต้องภาวนาไปด้วยจะดีหรือไม่คะ
 
  ถ้าภาวนาควรจะภาวนา อะไร หรือ ทำอย่างไร ดี คะ หรือ ไม่ควรทำภาวนาในระหว่างเดินทาง คะ

 ขอบคุณมากคะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เวลาเดินทาง ควรภาวนาอย่างไร คะ ต้องใช้ชีิวิตในการเดินทางวันละ 100 กม. บ่อยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 23, 2012, 11:30:07 am
 
 
   ผมก็ทำอยู่ ตอนเดินทาง ยกเว้นเป็นคนขับ
   ถนัดภาวนาแบบไหน ก็ทำไปเถิดครับ
   หากภาวนาไม่ได้ ขอแนะนำให้สวดคาถาพญาไก่เถื่อน
   สวดครั้งละ ๑๐๘ จบ หากไม่ครบ ห้ามไปทำสิ่งใดทั้งสิ้น

    :25:


หัวข้อ: Re: เวลาเดินทาง ควรภาวนาอย่างไร คะ ต้องใช้ชีิวิตในการเดินทางวันละ 100 กม. บ่อยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: SRIYA ที่ มีนาคม 23, 2012, 02:43:34 pm
คิดว่า ทำได้นะคะ ใช้การดูลมหายใจ เข้า และ ออก ดีหรือไม่ คะ

 หรือ ไม่ ก็ภาวนา พุทโธ ไปเรื่อย ๆ ว่าแต่ภาวนาแล้ว ระวังหลับ เลยที่จะลงนะคะ

 เคยได้ยินมาว่า ครูอาจารย์ ไม่นิยมให้เราฝึกจิตแบบ สมถะ คะ ควรจะฝึกแบบ เจริญวิปัสสนา คือการกำหนดรู้ตามจิต กำหนดรู้ไว้อย่างนั้น จนถึงที่หมายคะ

  :s_hi:

(http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2008-02/2032253_YPd6ZKW31V4242.jpg)


หัวข้อ: Re: เวลาเดินทาง ควรภาวนาอย่างไร คะ ต้องใช้ชีิวิตในการเดินทางวันละ 100 กม. บ่อยคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 25, 2012, 07:08:57 am
เวลาเดินทาง นั้น ควรภาวนาอะไร ?   ถ้าเป็นส่วนตัว นั้น จะดูจิตตนเองก่อนตั้งมั่น ในสมาธิ ระดับไหน ?   ถ้าเป็นเพียง ขณิกะสมาธิ ก็จะ เจริญ พุทธานุสสติ สักระยะหนึ่ง อย่างน้อยพอได้ อุปจาระสมาธิ ขั้นกลาง จากนั้น ก็จะเจริญในแนวทาง สติ เช่น จตุธาตุววัตถาน / อสุภะกรรมฐาน / มรณานุสสติ / กายคตาสติ เพื่อป้องกันจิตส่งออก ตามภาพ ( รูป )ที่เห็น เมื่อจิตมั่นคงเพียงพอ ก็จะยกอารมณ์ เข้าสู่     

     อนิจจะสัญญา คือการมองเห็น ขันธ์ ทั้ง 5 ไม่เที่ยง เมื่อจิตเห็นความเกิด ตั้งอยู่ ดับไป ในขณะนั้นแล้วก็จะยกจิตเข้าภาวะต่อไปคือ   

     อนัตตะสัญญา การมองเห็นสิ่งที่กระทบ ทางอายตนะ ภายใน และ ภายนอก ขึ้นว่าเป็นเพียง อนัตตา ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัวตนของเรา   

      เมื่อ ตา กระทบกับ รูป     รูปใดเกิดขึ้น รูปใดตั้งอยู่ รูปใดดับไป เพราะการเห็น รูปนั้นไม่เที่ยง คงอยู่ไม่ได้ รูปนั้นดับไป รูปนั้นจึงว่างจากความเป็นรูป มิได้ทรงความเป็นรูป รูปนั้นจึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นเพียงสักว่า รูป ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อันบุรุษบุคคลไม่ตวรตามคิดถึงสิ่งนั้นว่าเป็นสาระ หรือยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัว เป็นตน

     ในระหว่างเดินทาง ควรเจริญ วิปัสสนา ให้มากที่สุด เพราะชีิวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นะจ๊ะ อันเราจะพึงตายเป็นแท้   สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา ในจิตที่มีธรรมพ่วงอยู่เสมอ.....


  ;)

(http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/789/563/large_DSC0019.JPG?1330243337)