ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่  (อ่าน 3717 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่
« เมื่อ: เมษายน 20, 2013, 08:07:20 pm »
0
เมื่อเพื่อนท่านหนึ่งพูดอย่างนี้

คือเท่าที่เคยเห็นกระทู้ในห้องนี้อธิบาย วิปัสสนา บางท่านบอกให้มองว่าสิ่งที่เราพิจารณา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป บางท่านบอก ให้พิจารณา ตามกฏไตรลักษณ์ คือ มันเป็นอนิจจังมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกขังมีสภาพเป็นทุกข์ และ อนัตตาสลายตัวไปในที่สุด สรุปต้องพิจารณาแบบไหนครับ หรือ 2 อันนี้เป็นอันเดียวกันเดียวกัน


ปล. สำหรับผม ทั้ง 2 แตกต่างกันน่ะครับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บางทีมันก็ไม่มีทุกข์ แต่ถ้าพิจารณาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้มันมี ทุกข์เข้ามาด้วยครับ

รบกวนด้วย ขอบคุณล่วงหน้า

   ชาวธรรมช่วยตอบอย่างไรดีครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 07:24:27 am »
0


อุปปาทสูตร

      [๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัตขึ้นก็ตาม
      ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
      ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
      ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
      ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
      ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
      ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
      ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
      ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
      ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา


________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๕๒๐ - ๗๕๓๓. หน้าที่ ๓๒๒ - ๓๒๓.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7520&Z=7533&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=576




ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ
      ๓ ประการ ได้แก่
           ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
           ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้
           ๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน
     คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”
     ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,


     ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
     ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น;
     ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
     พึงทราบว่า พระบาลีในพระไตรปิฎก เรียกว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา)
     ส่วน ไตรลักษณ์ และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

ธรรมนิยาม 3 (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ)
       1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง)
       2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์)
       3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรม คือ สังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน)


    หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ของสภาวธรรมทั้งหลาย
    พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา
    พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.

สังขาร
     1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น
     2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
         ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
     อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
           ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา
     3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
           ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ; ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม
อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน ; ตรงข้ามกับ สังขตธรรม

____________________________________________
อ้างอิง องฺ.ติก. 20/576/368 ; สํ.สฬ. 18/1/1 ; ขุ.ธ. 25/30/51.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




อนิจจวรรคที่ ๑
อัชฌัตติกอนิจจสูตร

    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา   
     สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา


     หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
     กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง
     สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
     นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
     ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
     เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
     เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
     รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


       จบสูตรที่ ๑

__________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑ - ๒๕. หน้าที่ ๑ - ๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=1&Z=25&pagebreak=0       
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=1




คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

    [๓๐] ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย
    ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย
    วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย
    ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี
    เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง
    ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราทราบชัดธรรมเป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออก บอกทางแก่ท่านทั้งหลายแล้ว


     ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไปแล้วผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้
     เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
     เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
     เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด ฯลฯ

________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๘๖ - ๑๐๓๔. หน้าที่ ๔๓ - ๔๔.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=986&Z=1034&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30
ขอบคุณภาพจาก http://www.pawluang.com/,http://www.kidsdee.org/,http://dhammaweekly.files.wordpress.com/, http://www.oocities.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2013, 07:59:04 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 08:29:01 am »
0


อนุปัสสนา ๓

อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ
อนุปัสสนา ๓ ได้แก่
๑. อนิจจานุปัสสนา
๒. ทุกขานุปัสสนา
๓. อนัตตานุปัสสนา


๑. อนิจจานุปัสสน
   อนิจจานุปัสสนา คือปัญญาที่เกิดจากการรู้เห็นเนืองๆ ในความไม่เที่ยงของรูปนาม เป็นการเห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม ปัญญาที่เห็นแจ้งรูปนามเช่นนี้ ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา

    การพิจารณารูปนามนั้นควรทราบถึงศัพท์บัญญัติที่สื่อความหมายถึงตัวของรูปนาม คือ อนิจจะลักษณะของรูปนาม คือ อนิจจลักษณะ และปัญญาที่เกิดขึ้นในการพิจาณารูปนาม คือ อนิจจานุปัสสนา

ความหมายศัพท์
อนิจจะ คือ ธรรมที่ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป อันได้แก่ รูปนาม
อนิจจลักขณะ คือ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง
อนิจจานุปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ


ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต้องกำหนดระลึกรู้อยู่กับรูปนาม ต้องใส่ใจในรูปนามนั้นเป็นอารมณ์ รูปนาม ได้ชื่อว่า “อนิจจัง”

เพราะมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งรูปและนามนั้นมีอาการหรือเครื่องหมายให้รู้ว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับ อาการเช่นนี้เรียกว่า “อนิจจลักขณะ”

เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาแล้วรู้เห็นความเป็นของจริงโดยเห็นแจ้งในอาการของรูปนามว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับ ปัญญาที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา

(เปรียบเหมือนกับการขับรถ รถเป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งให้คนขับ ถ้าจะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติแล้วอุปกรณ์การปฏิบัติก็คือรูปและนามเพราะ เป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องอาศัยในการกำหนดรู้ การเคลื่อนไปของรถเป็นลักษณะอาการธรรมดาของรถยนต์ที่เคลื่อนที่ไปตามกำลังขับเคลื่อน เปรียบเหมือนลักษณะอาการของรูปนามที่มีการเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่านี่เองเป็นธรรมชาติของรูปและนาม คนขับเมื่อมีความเชี่ยวชาญในการขับ ความเชี่ยวชาญนั้นเปรียบเหมือนปัญญาที่ผู้ปฏิบัติเกิดขึ้นเพราะรู้ถึงลักษณะของรูปนามนั่นเอง)

เมื่อปัญญาได้รู้เห็นอนิจจลักษณะ สัญญาความจำหมายว่า รูปนามเที่ยง คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็หายไป หรือเรียกว่าสัญญาวิปัลลาส เมื่อสัญญาวิปัลลาสหายไป ทิฏฐิวิปัสลาส จิตตวิปัลลาส ทั้ง ๒ ก็จะบรรเทาลงไปได้ ทำให้ความหลง ความไม่รู้ในสภาวะที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า และตัณหาความยินดีพอใจรักใคร่อยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย ด้วยความมีอุปาทานความยึดมั่นในอารมณ์ ด้วยอำนาจของ โลภะและทิฏฐิ ก็บรรเทาเบาบางลดลงได้

การปรากฏขึ้นของ “อนิจจานุปัสสนา” ถ้าว่าตามวิปัสสนาญาณแล้วจะปรากฏต่อเมื่อ สัมมสน-ญาณและอุทยัพพยญาณเกิดแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์แท้เท่านั้นเอง





๒ .ทุกขานุปัสสนา
    ทุกขานุปัสสนา คือปัญญาที่เกิดจากการรู้เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ของรูปนามขันธ์ ๕
จนทุกขลักษณะปรากฏ ปัญญานี้ได้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา”

ทุกข์(ทุกขะ) คือ จิต เจตสิก รูป
ลักษณะของทุกข์ (ทุกขลักษณะ) คือ ความทนอยู่ไม่ได้ของจิต เจตสิก รูป
ปัญญาที่รู้ลักษณะของทุกข์ (ทุกขานุปัสสนา) คือ ปัญญาที่รู้สภาพของจิต เจตสิก รูป มีการเกิดดับ


ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม ที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งการเบียดเบียน โดยอาการเกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กำหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละ ปัญญานี้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา”

ความหมายศัพท์
๒.๑ ทุกขะ คือ ธรรมที่เป็นทุกข์ ได้แก่ รูปนาม
๒.๒ ทุกขลักษณะ คือ เครื่องหมายที่กำหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม ได้แก่การ เกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย
๒.๓ ทุกขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่มีการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูป
นาม หรือขณะที่เห็นความเกิดดับของรูปนามอยู่นั้น ความรู้สึกในขณะนั้นก็เกิดขึ้นว่า กายใจนี้เป็นของน่ากลัวเป็นภัย จะหาความสุขสบายใจจากกายใจอย่างแท้จริงนั้นหาไม่ได้เลย ความรู้อย่างนี้เกิด ขึ้นจากปัญญาที่กำหนด รู้รูปนาม


ตามธรรมดาคนทั้งหลายย่อมเข้าใจในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายว่า พรหมมีความสุข เทวดาชั้นสูงมีความสุข แต่เทวดาชั้นต่ำมีความทุกข์ มนุษย์ที่มีร่างกายสมบูรณ์มีอนามัยดีมั่งมีศรีสุข มีความสุข ร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อนามัยไม่ดียากจนเข็ญใจเหล่านี้เป็นทุกข์ หรือสัตว์ดิรัจฉานบางจำพวกเป็นสุข บางพวกเป็นทุกข์ เหล่านี้ก็เป็นความเข้าใจถูกต้องเหมือนกัน เพราะมองไปในด้านการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ของสัตว์ทั้งหลาย

แต่ความจริงแล้วสุขกายสุขใจ ทุกข์กายทุกข์ใจ ล้วนแต่มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่คงที่ ดับแล้วก็กลับเกิดขึ้นอีกเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไปโดยไม่ว่างเว้น ดังนั้นรูปนามที่มีสุขหรือไม่มีสุขก็ตาม ทั้งหมดจึงล้วนแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ทุกข์มีอยู่มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน
แต่คำว่า ทุกข์ โดยตามธรรมแล้วมี ๓ คือ


๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริง ได้แก่ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่หยุดยั้ง ได้แก่ สุข กาย สุขใจ
๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับได้แก่ รูป นาม หรือกาย ใจ ทั่วไป


ทุกขทุกข์ คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะกายมีอาการเป็นไปต่างๆ เช่น จุกเสียด เจ็บปวด เป็นต้น ส่วนใจเป็นทุกข์ก็เพราะเสียใจ โกรธ กลัว เนื่องจากได้รับภัยต่างๆ ทุกข์ทั้ง ๒ นี้ล้วนแต่ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น

วิปริณามทุกข์ คือ ความสุขกาย สุขใจ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงปรวนแปรไปไม่คงที่นั้นเอง เช่น เมื่อลมพัดมากระทบกายความสุขกาย สุขใจย่อมเกิดขึ้น ครั้นลมหยุดพัดความสุขกายสุขใจก็หายไป หรือขณะที่เดินจนเมื่อยล้ามากเมื่อนั่งก็จะเป็นสุข แต่นั่งไปนานๆ ก็เมื่อยล้าเป็นทุกข์อีก ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปอีกจึงจะสุข ความสุขใจจะมีอยู่ก็ต้องคอยปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่มิได้ขาด ความสุขกายสุขใจนี้จึงเป็น วิปริณามทุกข์


สังขารทุกข์ รูปนามเป็นไปได้ก็เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยการเกิดดับ การเป็นไปของรูปนามในแต่ละช่วงแต่ละตอนนั้นถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าเป็นไปได้เพราะการสืบต่อ เช่นเดียวกันกับภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ ภาพที่ปรากฏนั้นก็เพราะเนื่องมาจากการลำดับติดต่อกันของฟิล์มที่ถ่ายมาเป็นภาพๆ

เมื่อตัดต่อเชื่อมกันไว้เป็นอย่างดี ทำการฉายออกมาให้เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพียงชั่ว ๑ นาที ภาพที่เป็นแต่ละภาพๆ นั้นก็ผ่านไปหลายร้อยแต่ผู้ดูบางคนก็หาได้รู้ไม่ ฉันใด การเกิดดับติดต่อกันของรูปนาม อย่างไม่ขาดสายก็ฉันนั้น

    ดังนั้นจึงกล่าวว่ารูปนามทั้งหมดเป็นสังขารทุกข์ ในทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ สังขารทุกข์อย่างเดียวที่มีอยู่ในสังขารธรรมทั่วไปทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต





ตารางสรุปเปรียบเทียบดังนี้

ศัพท์   
๑. ทุกขะ(ทุกขธรรม) คือ ธรรมที่เป็นทุกข์ ได้แก่ รูปนาม
๒. ทุกขลักษณะ คือเครื่องหมายที่กำหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม ได้แก่ การเกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย


ทุกข์   
๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริง ได้แก่ ทุกข์กายทุกข์ใจ
๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะเปลี่ยน แปลงแปรปรวนไปโดยไม่หยุดยั้งได้แก่ สุขกาย สุขใจนาม หรือกาย ใจ ทั่วไป
๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์เพราะ มีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับได้แก่ รูป


ทุกขทุกขลักษณะ
๑. ทุกขทุกขลักษณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นทุกขทุกข์ คือ ทุกข์จริงๆ ได้แก่อาการที่ทนได้ยากมีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์อยู่
๒. วิปริณามทุกขลักษณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นวิปริณามทุกข์ คือ ไม่ใช่ทุกข์จริง
๓. สังขารทุกขลักษณะ เครื่องหมายอันเป็นเหตุทำให้รู้ได้ว่าเป็นสังขารทุกข์ คือ ทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก ได้แก่ อาการที่เกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันไม่ขาดสาย

                         
ทุกขานุปัสสนา
๑. ทุกขทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่ เป็นทุกข์แท้จริง
๒. วิปริณามทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่มิใช่เป็นทุกข์จริงอันบุคคลมิได้คำนึงถึงทุกข์ชนิดนี้
สุขกาย สุขใจนาม หรือกาย ใจ ทั่วไป ไม่มีใครคำนึงถึงทุกข์ชนิดนี้ ได้แก่อาการไม่คงที่ของความสุขสบายที่มีอยู่ภายในกายและใจขณะที่เสวยอารมณ์
๓. สังขารทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ ทั่วไปที่รู้ได้ยาก





ความต่างกันระหว่างผู้ไม่มีสติกับผู้มีสติ

ผู้ไม่มีสติในการกำหนดรู้รูปนาม
ไม่อาจรู้ได้ถึงการถูกเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปของรูปนามอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปอยู่ในทวาร ๖ ฉะนั้นเมื่อมีอาการเจ็บปวด เป็นต้น ที่เป็นทุกข์กายเกิดขึ้น ในขณะนั้น ก็ไม่รู้เห็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามแต่อย่างใดเลย คงเห็นเป็นบัญญัติที่เนื่องมาจากสักกายทิฏฐิว่า เราปวด เราเจ็บ เราทุกข์ เราทรมาน

ดังนั้นทุกข์กายที่เป็นทุกขทุกข์ และสภาพทนได้ยากที่เป็นทุกขทุกขลักษณะ จึงไม่อาจปรากฏแก่ผู้นั้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้เลย เนื่องมาจากการเปลี่ยนอิริยาบถได้ปกปิดความทุกข์กายและสภาพทนได้ยากไว้ โดยที่ไม่มีการรู้ตัวเมื่อประสบทุกขทุกข์และทุกขทุกขลักษณะ

    จึงมิอาจจะปรากฏโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์แก่เราได้ การปรากฏแห่งวิปริณามทุกข์และวิปริณามทุกขลักษณะ สังขารทุกข์และสังขารทุกขลักษณะ เหล่านั้นก็ยิ่งเกิดขึ้นไม่ได้


ผู้มีสติกำหนดรู้รูปนาม
ผู้ที่มีการกำหนดรู้ในรูปนามนั้น ย่อมรู้เห็นการเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาดในทวารทั้ง ๖ ดังนั้นเมื่อวิปริณามทุกขลักษณะปรากฏ คือความสุขกายที่เกิดขึ้น ในขณะแรกแห่งอิริยาบถ สมมุติว่าเมื่อนั่งใหม่ๆ ก็สุขกายแต่มาภายหลังความสุขนั้นได้หายไป ผู้นั้นก็สามารถรู้เห็นวิปริณามทุกขลักษณะนี้ได้ ตลอดจนสามารถรู้เห็นในการปวด เมื่อย เจ็บ ปวด ร้อน หนาว หิว กระหาย เป็นต้น

   ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามล้วนๆ มิได้เกี่ยวกับความรู้สึกว่าเป็นเราปวด เมื่อย เป็นต้น นั้นอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งทนไม่ไหว มีจิตคิดจะเปลี่ยนก็รู้ถึงวาระจิตที่ต้องการจะเปลี่ยนนั้นด้วย ตลอดจนถึงกำลังทำการเปลี่ยนอิริยาบถ ครั้นเปลี่ยนแล้วความสุขกายเกิดขึ้นก็สามารถรู้ในความสุขกายนี้ได้อีก เมื่อความสุขกายหมดไปก็รู้เห็นได้อีก

เพราะการมีสติกำหนดรู้อยู่ในสังขารทุกข์และสังขารทุกขลักษณะ วิปริณามทุกข์และ วิปริณามทุกขลักษณะ ทุกขทุกข์ และทุกขทุกขลักษณะ ที่เกิดขึ้นในอิริยาบถต่างๆ ได้โดยลำดับต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติรู้ในอิริยาบถ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวนี้ การปฏิบัติเช่นนี้ได้ชื่อว่าไม่ใส่ใจในอิริยาบถ เป็นอันว่าปัญญารู้ในความเป็นจริงเกิดขึ้น ชื่อว่าทุกขานุปัสสนา





๓. อนัตตานุปัสสนา
   ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่มีแก่นสารปราศจากการบังคับบัญชาของรูปนามที่เนื่องมาจาก การพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งความไม่ใช่ตัวตน เรา เขา โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กำหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่ ปัญญานี้ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา

ตารางเปรียบเทียบความต่างของศัพท์
อนัตตา หมายถึง   รูปนามขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น
อนัตตลักษณะ หมายถึง   อาการที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด
อนัตตานุปัสสนา หมายถึงปัญญาที่พิจาณาเห็นความไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของรูปนาม

การพิจารณาอัตตาและอนัตตา
การพิจารณาอัตตาและอนัตตา ดังตัวอย่างการเจริญกายคตาสติ เฉพาะที่กล่าวไว้ในหมวดความเป็นธาตุ ๒๐ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ธาตุทั้ง ๒๐ นี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในสุตตันตปิฏกและอภิธรรมปิฎกว่าเป็น ปถวีธาตุ

ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติยังพิจารณาเส้นผมโดยความยึดไว้ว่านี้เป็นเส้นผมของเราที่สวยงาม ขณะนั้นความเป็นจริงของสภาวะของปถวีธาตุก็ไม่ปรากฏ เพราะขณะนั้น ฆนะ คือ ความเป็นกลุ่มเป็นกองปิดบังความจริงไว้

ถ้าความเป็นกลุ่มกองแตกไป อนัตตลักษณะก็เห็นชัดแจ้ง คือ เห็นว่าเส้นผมนั้นเป็นเพียงปฐวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นเพียงธาตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสลายไป ผู้ปฏิบัติไม่สามารถเห็นความจริงของสภาวธรรมได้ก็เพราะอนัตตลักษณะไม่ปรากฏ อันเนื่องจากฆนะคือความเป็นกลุ่มเป็นกองได้ปกปิดไว้

    คำว่า ฆนะ หมายความว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อน ฆนะเป็นเหตุให้บุคคลทั้งหลายเข้าใจผิดถือว่าบุคคลสัตว์เราเขา เรียกกันว่ามีความยึดถือแบบเป็นอัตตา แต่เมื่อฆนะแตกแล้วอัตตาก็หายไป อนัตตาก็จะปรากฏชัดเจนแทนที่
   เมื่อไม่พิจาณารูปและนามแล้วจึงทำบัญญัติปรากฏชัด แต่กลับทำให้สภาพของปรมัตถ์กลับหายไป เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ในอาการ ๓๒ นั้น เส้นผมเป็นปฐวีธาตุ แต่มีสัณฐานบัญญัติได้ปกปิดไว้ทำให้มองเห็นเป็นสิ่งกลมๆ ยาวๆ คนทั้งหลายเรียกกันว่าเส้นผม ส่วนความจริงอันได้แก่ปฐวีธาตุที่มีสภาพสุขุมละเอียดนั้นไม่ปรากฏ

    แต่เมื่อพิจารณารูปและนามตามสภาพความเป็นจริงแล้วจะทำให้สภาวะของปรมัตถ์ปรากฏชัดและความเป็นบัญญัติก็หมดไป เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจสภาวะความเป็นจริงของเส้นผมว่า สิ่งที่สมมุติเรียกว่าเส้นผมนี้ แท้จริงแล้วไม่ใช่เส้นผม เป็นเพียงปฐวีธาตุ ความหนาแน่นของปฐวีธาตุนี้เอง ที่เรียงติดต่ออัดแน่นอยู่ภายในเส้นที่เรียวๆ ยาวๆ นี้ เมื่อรู้ถูก พิจารณาถูก ก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่น





ความพิเศษแห่งบัญญัติและปรมัตถ์
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้มีกล่าวถึงเรื่องบัญญัติและปรมัตถ์ไว้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ คือ

ถามว่า : ท่านถือเอาสภาวธรรมโดยอำนาจบัญญัติที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ มิใช่หรือ ?
ตอบว่า : ใช่ ถือเอาแต่ตอนต้นๆ เท่านั้น แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนานานเข้าๆ จิตจะก้าวล่วงบัญญัติเสียและตั้งอยู่ในสภาวธรรมล้วนๆ


    อธิบายได้ว่าในการเจริญวิปัสสนานั้นขั้นต้นๆ เมื่อตั้งสติกำหนดรูปนาม โดยการเดินจงกรม เป็นต้น คนทั้งหลายก็อาจสงสัยในวิธีการว่า การกำหนดอย่างนี้เป็นการกำหนดบัญญัติ เมื่อกำหนดบัญญัติอยู่จะจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ?

   ความสงสัยเช่นนี้ก็ถูกต้อง แต่ว่าถูกไม่หมด เพราะในขั้นต้นนั้นก็พึงให้ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์บัญญัติไปก่อน มิฉะนั้นจิตจะไม่มีที่กำหนด เพราะปรมัตถ์เป็นสภาวะที่เห็นได้ยาก เมื่อกำลังภาวนา ตั้งมั่นอารมณ์บัญญัติเหล่านี้จะหายไป เหลือแต่สภาวปรมัตถ์ความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ ล้วนๆ

    ตอนแรกเริ่มปฏิบัติการกำหนดอารมณ์ยังเป็นบัญญัติอยู่ อัตตาจึงยังปรากฏอยู่ อนัตตาก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อปัญญาภาวนาแก่กล้าขึ้น อารมณ์บัญญัติก็หายไป อารมณ์ปรมัตถ์ก็เกิดขึ้นแทน ในช่วงที่อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นนี้เอง อนัตตาก็ปรากฏ อัตตาก็หายไป

   เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติ และฆนบัญญัติ ที่ปกปิดการเกิดดับของสังขตธรรมในรูปนามขันธ์ ๕ ก็ขาดแตกไป ความเห็นที่บริสุทธิ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของผู้ปฏิบัติก็เข้าถึงความเป็นอนัตตานุปัสสนา ก็ปรากฏขึ้นได้

    ผู้ที่ไม่มีการกำหนดในสังขตธรรมคือรูปนามขันธ์ ๕ แล้ว อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังขตธรรมคือรูปนามขันธ์ ๕ เลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้ว คงรู้เห็นแต่บัญญัติ เช่น เมื่อเห็นสีก็รับรู้และเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่า เป็นหญิง ชาย เป็นต้น นี้ก็เป็นไปเพราะสันตติบัญญัติ และฆนบัญญัติได้ปกปิดอารมณ์ไว้ ผู้รับรู้อารมณ์ก็ไม่มีสติไปกำหนดพิจารณา

    สำหรับท่านที่กำหนดสังขตธรรมรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ก็จะสามารถรู้ทะลุปรุโปร่งในฆนบัญญัติที่ปกปิด การเกิดดับของสังขตธรรมรูปนามขันธ์ ๕ ในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน รู้รส ได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ คิดนึกต่างๆ เหล่านี้ ขาดลงเป็นตอนๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและไม่มีแก่นสาร ปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ญาณปัญญาก็เกิดขึ้นเข้าถึงความเป็นอนัตตานุปัสสนาได้



อ้างอิง บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ชุดที่ ๑๐ วิปัสสนากรรมฐาน
บรรณานุกรม
๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท โดย พระสัทธัมมโชติกะ :
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ
๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammadelivery.com/, http://www.bloggang.com/, http://www.pawluang.com/ , http://province.m-culture.go.th/ , http://www.thatphanom.com/ , http://willyoujoyus.igetweb.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2013, 08:47:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 09:27:45 am »
0



ไตรลักษณ์
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

คุณยุพา : จากการสนทนาธรรมกันเสาร์ที่แล้ว ก็มีข้อสงสัยอยู่ อนิจจัง กับ ทุกขังลักษณะต่างกันอย่างไรคะ
ท่านอาจารย์ :  คำว่า ไตรลักษณ์  หมายความถึง ลักษณะทั้ง ๓ ค่ะ  ไม่ใช่เพียงลักษณะเดียว จึงใช้คำว่าไตรลักษณ์ 
    เพราะฉะนั้น คำว่าอนิจจัง คือ สภาพที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป 
    คำว่าเป็นทุกข์ และคำว่าอนัตตา ไม่ได้แยกกันเลย
    เป็นลักษณะของสภาพธรรมซึ่่งเมื่อเกิดแล้วดับ ลักษณะที่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงนั่นแหละเป็นทุกข์


    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่แยกลักษณะที่เป็นทุกข์ต่างหากจากสภาพธรรมที่เกิดดับ   
    แต่สภาพธรรมใดก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วดับไป สภาพธรรมนั้นเองเป็นทุกข์
    แล้วสภาพธรรมที่เกิดดับจึงเป็นทุกข์นั่นแหละ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
    ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้ง สภาพธรรมที่เกิดว่าไม่ให้ดับไปได้ 

    เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง ๓ ไม่แยกจากกันเลย จึงชื่อว่าไตรลักษณ์ 
    เมื่อเกิดแล้วดับ จึงเป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ว่า ลักษณะนี้เกิดดับแล้ว ลักษณะอื่นเป็นทุกข์ แล้วอีกลักษณะหนึ่งเป็นอนัตตา 
    แต่สภาพธรรมที่เกิดนั้นเอง ดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


ท่านอาจารย์ :  ไม่ทราบว่ายังมีข้อสงสัยอื่นอีกหรือเปล่าคะ
คุณอดิศักดิ์ :   คำว่าอนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง คำว่าทุกขัง แปลว่า ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ลักษณะมันก็เหมือนกัน ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจได้ชัดแจ้ง ขอให้อาจารย์อธิบายให้ละเอียดหน่อย


ท่านอาจารย์ :  ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้น ควรจะเป็นลักษณะที่พึงเห็น หรือควรเห็นว่าเป็นทุกข์ ทุกข์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้เศร้าโศก แต่หมายความว่า ไม่ควรเป็นที่เพลิดเพลินยินดี ตรงกันข้ามกับลักษณะที่น่าเพลิดเพลินยินดี
    เพราะฉะนั้น อรรถหรือความหมายอีกอย่างหนึ่งของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ก็ คือ ตรงกันข้ามกับเป็นสุข   
    เพราะว่าถ้าสภาพธรรมใดเป็นสุข ก็เป็นที่ยินดีพอใจ แต่ทำอย่างไรจึงจะคลายความเพลิดเพลินยินดีได้
    ถ้ายังคงเห็นลักษณะนั้นน่าพอใจ ถ้ายังคงเป็นลักษณะที่น่าพอใจอยู่ ก็จะติดและจะเพลินอยู่เรื่อยๆ
    จนกว่าจะเห็นว่า ลักษณะนั้นไม่น่าพอใจเลย ไม่ควรจะเป็นที่ติดที่ยินดี 
    เพราะฉะนั้น ลักษณะนั้นตรงกันข้ามกับสุข





    นี่คือความหมายของคำว่า "ทุกข์" ไม่ใช่ ให้เจ็บปวดให้ทรมาน หรือไม่ใช่ให้เศร้าโศกเสียใจ   
    แต่เห็นว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่ควรติด หรือว่าควรยินดี  ควรเพลิดเพลินอีกต่อไป 
    ทั้งๆ ที่สภาพธรรมในขณะนี้ ทุกคนก็เห็นว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปจริงๆ
    อย่างเสียงเป็นต้น ปรากฏนิดเดียวชั่วขณะหนึ่งแล้วก็หมดไป
    แล้วทำไมไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ ยังไม่ยอมเห็นว่า เป็นสภาพที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าจะติด ไม่น่าที่จะยินดีเพลิดเพลิน ต้องการ

    เพราะฉะนั้นลักษณะที่เป็น "ทุกขลักษณะ" ซึ่งเป็นไตรลักษณ์เป็นสภาพที่เห็นยาก ไม่ใช่ว่าจะเห็นง่ายเพราะว่าจะต้องประจักษ์ถึงความเกิดขึ้นและดับไป จึงสามารถจะเห็นว่า ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้เป็นทุกข์  เพราะไม่ควรพลิดเพลินยินดีทั้งนั้น 
    ถ้ายังไม่ประจักษ์ก็ยังคงพอใจอยู่แน่นอน เพราะว่าสภาพธรรมใดดับไปแล้วสภาพธรรมอิ่นก็เกิดสืบต่อทันที
    ทำให้ไม่ประจักษ์ในการดับไปของสภาพธรรมก่อน เพราะว่ามีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นสืบเนื่องทันที
    ดูไม่น่าประหวั่นพรั่นพรึงเลยใช่ไหมคะ เพราะว่าไม่น่าประจักษ์การขาดตอนของของการดับไป และการเกิดขึ้นของสภาพธรรมแต่ละขณะ


คุณอดิศักดิ์ : เมื่อไม่อยู่ในสภาพเดิมก็แปลว่าไม่เที่ยง มันก็น่าจะเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ : พอไหมล่ะคะ ไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยงแล้วไม่เห็นว่าเป็นทุกข์นี้สิคะ เพราะฉะนั้น จึงต้องแสดงลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้นควรเห็นว่าเป็นทุกข์ เพราะว่าลักษณะจริงๆ เป็นอย่างนั้น คือ เป็นสภาพที่ไม่ควรยินดี   


     คำว่าทุกข์ที่นี่ หมายความถึง สภาพที่ไม่ควรยินดี ตรงกันข้ามกับสุข
     ถ้าบอกว่า ไม่เที่ยงก็ไม่มีการสลด ไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยง เพราะว่าไม่ประจักษ์ว่า ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ 
     จึงต้องทรงแสดงทั้ง ๓ ของสภาพธรรมที่เกิดว่า สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับแล้วนั้น เป็นทุกข์ด้วย
     ไม่เพียงแต่ไม่เที่ยงเฉยๆ ค่ะ ไม่ควรเป็นที่ยินดี เพลิดเพลินหรือพอใจ
     แต่จะต้องประจักษ์ลักษณะที่เกิดดับจริงๆ จึงจะเห็นว่าเป็นทุกข์อย่างไร 
     เป็นทุกข์โดยที่ว่าไม่น่ายินดี พอใจ ในสภาพที่เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง   
     จะให้แต่แสดงลักษณะที่ไม่เที่ยง และไม่ให้แสดงว่า ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ด้วยหรือคะ 
     ไม่จำเป็นหรือคะ ซึ่งความจริงแล้ว จำเป็นมาก เพราะว่า ที่จะรู้ว่าไม่เที่ยง ต้องเห็นว่าเป็นทุกข์ด้วย



ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=17592 โพสต์โดย คุณpirmsombat
http://www.dmc.tv/ , http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แล้ว วิปัสสนา คือ อะไรกันแน่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 09:57:51 am »
0
เมื่อเพื่อนท่านหนึ่งพูดอย่างนี้

คือเท่าที่เคยเห็นกระทู้ในห้องนี้อธิบาย วิปัสสนา บางท่านบอกให้มองว่าสิ่งที่เราพิจารณา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป บางท่านบอก ให้พิจารณา ตามกฏไตรลักษณ์ คือ มันเป็นอนิจจังมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกขังมีสภาพเป็นทุกข์ และ อนัตตาสลายตัวไปในที่สุด สรุปต้องพิจารณาแบบไหนครับ หรือ 2 อันนี้เป็นอันเดียวกันเดียวกัน


ปล. สำหรับผม ทั้ง 2 แตกต่างกันน่ะครับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บางทีมันก็ไม่มีทุกข์ แต่ถ้าพิจารณาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้มันมี ทุกข์เข้ามาด้วยครับ

รบกวนด้วย ขอบคุณล่วงหน้า

   ชาวธรรมช่วยตอบอย่างไรดีครับ

  thk56


     ans1 ans1 ans1

     เรื่องนี้ไม่อยากตอบเลยครับ ปัญญาไปไม่ถึง การจำอรรถกถาอาจทำให้เกิดอุปทานได้
     วิปัสสนาญาณ เป็นเรื่องเฉพาะตน เป็นปัตจัตตัง รู้ก็รู้ได้ตนเอง
     พระอาจารย์เคยบอกว่า การจำปริยัติ แต่ไม่เข้าใจ สิ่งที่จำได้เปรียบเสมือนขยะ
     ส่วนตัวผมรู้สึกอึดอัดรำคาญใจกับขยะที่มีอยู่ เพราะยังไม่สามารถทำขยะให้เป็นทองได้


     สิ่งที่คุณwaterman ถามนั้น เป็นสิ่งเดียวกัน
     สิ่งเกิดมาตั้งอยู่ดับไป มันก็เป็นอนิจจังหรือไม่เที่ยงได้
     และถ้ามองในแง่ของทุกขัง ทุกข์มันก็มีสภาพ"เกิดมาตั้งอยู่ดับไป" เช่นกัน
     แต่เพียงรู้แค่ "เกิดมาตั้งอยู่ดับไป" ยังไม่พอครับ
     ต้องรู้ไปถึง ความเป็นของมิใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น หรืออนัตตานั่นเอง


     ถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจนะครับว่า ที่ถูกต้องแล้ว วิปัสสนาที่่สมบูรณ์ต้องรู้พร้อมทั้ง ๓ ลักษณะ
     คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงจะพ้นทุกข์และหมดกิเลสได้
     ขอให้สังเกตว่า ข้อธรรมในพระไตรปิฎกทุกที่ พระพุทธองค์แสดงไว้ ๓ ลักษณะพร้อมกัน
     ขอให้อ่านบทความที่ผมนำเสนอให้เข้าใจ เยอะหน่อย ก็ขอให้เพียรอ่าน
     คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

      :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ