ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดพระอริยะสงฆ์ นั้น สำคัญกว่า สมมุติสงฆ์ ดังนั้นการที่ สมมุติสงฆ์ ไหว้...  (อ่าน 2332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

 การจัดพระอริยะสงฆ์ นั้น สำคัญกว่า สมมุติสงฆ์ ดังนั้นการที่ สมมุติสงฆ์ ไหว้ พระอริยะ จึงเป็นการสมควรใช่หรือไม่ครับ ดังนั้นถ้า สมมุติสงฆ์ นั้นจะต้องไหว้สักการะ พระอริยะ ควรจะต้องรู้จักพระอริยะ ใช่หรือไม่ครับ คือผมเห็น ฆราวาสผู้ครองเรือน หลายท่าน ประกาศตนเป็นพระอริยะ จึงไม่ไหว้กราบ สมมุติสงฆ์ อย่างนี้ เราชาวพุทธควรจะต้องมีการพิสูจน์กันว่า ใช่หรือไม่ใช่ พระอริยะจริง ๆ ใช่หรือไม่

  :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ans1 ans1 ans1

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

เรื่องความเคารพ
     [๒๖๐] ครั้นพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระนครเวสาลี ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์รีบไปข้างหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา
     ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุทั้งหลายจองวิหาร แลที่นอนหมดแล้ว หาที่นอนไม่ได้ จึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้น ทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ
             พ. ใคร ที่นั่น
             ส. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า
             พ. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นไม้นี้เล่า
             ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

      [๒๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์ รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา จริงหรือ
      ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า


      พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเราการกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

      .................................................................ฯลฯ.................

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมนุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่กว่า
      อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกันต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


:25: :25: :25:

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
      [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้คือ
        อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑
         ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑
         ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑
         ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑
         ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑
      บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้ ฯ


:25: :25: :25:

บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือ
           ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน
           ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑
           ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
      บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้ ฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=2170&Z=2313



อธิบายศัพท์

อนุปสัมบัน ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี),
       ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี


นานาสังวาส
       มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน,
       สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน
       เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ
           ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง
           อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส


มานัต, มานัตต์ ชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ
       แปลว่า “นับ” หมายถึงการนับราตรี ๖ ราตรี คือ
       ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว เมื่อจะปลดเปลื้องตนจากอาบัติ ตามธรรมเนียมแห่งอาบัติสังฆาทิเสส จะต้องไปหาสงฆ์จตุรวรรค ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบภิกษุแก่กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวคำขอมานัตตามอาบัติที่ต้อง
       ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศให้มานัตแล้ว
       ภิกษุรูปนั้นประพฤติมานัต ๖ ราตรี เป็นวุฏฐานวิธีเบื้องต้น แห่งการออกจากครุกาบัติ แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัตินั้น
       (แต่ถ้าปกปิดอาบัติไว้ ต้องอยู่ปริวาสก่อนจึงประพฤติมานัตได้)


อัพภาน “การเรียกเข้า” การรับกลับเข้าหมู่,
       เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส
       ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์
       วิธีปฏิบัติ คือ ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ,
       แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใด ต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาส ชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้อง ชื่อว่า เป็นอันระงับ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ans1 ans1 ans1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

ครุธรรม ๘ ประการ
        [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนางคือ:-
       ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมสามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต


ที่มา http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=6195&Z=6252
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2013, 08:53:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

 การจัดพระอริยะสงฆ์ นั้น สำคัญกว่า สมมุติสงฆ์ ดังนั้นการที่ สมมุติสงฆ์ ไหว้ พระอริยะ จึงเป็นการสมควรใช่หรือไม่ครับ ดังนั้นถ้า สมมุติสงฆ์ นั้นจะต้องไหว้สักการะ พระอริยะ ควรจะต้องรู้จักพระอริยะ ใช่หรือไม่ครับ คือผมเห็น ฆราวาสผู้ครองเรือน หลายท่าน ประกาศตนเป็นพระอริยะ จึงไม่ไหว้กราบ สมมุติสงฆ์ อย่างนี้ เราชาวพุทธควรจะต้องมีการพิสูจน์กันว่า ใช่หรือไม่ใช่ พระอริยะจริง ๆ ใช่หรือไม่

  :49:


ans1 ans1 ans1

ในพระวินัยกล่าวไว้ว่า
    - ในหมู่สงฆ์ ผู้มีพรรษาน้อยต้องไหว้ผู้มีพรรษามากกว่า ยกเว้นภิกษุณีต้องไหว้ภิกษุแม้จะมีพรรษามากกว่า
    - สงฆ์ไม่ไหว้ฆราวาส (หรือ อนุปสัมบัน)
    - เรื่องการไหว้นี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสเรื่อง ความเป็นอริยะในระดับไหน หรือสมมติสงฆ์กับอริยสงฆ์
แต่ทรงเน้นเรื่องการอุปสมบทก่อนหลัง ผู้บวชหลังต้องไหว้ผู้บวชก่อน
     พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

     "เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่กว่า"

     ผมมีเกร็ดเหตุการณ์มาเล่า
     ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ที่่สาวิกาสิกขาลัย ครั้งนั้นท่าน ว.วชิรเมธี นั่งอยู่ในที่นั้นด้วย พระอาจาย์ปราโมทย์จึงเข้าไปกราบท่าน ว.วชิรเมธี
     แต่ท่าน ว.วชิรเมธีได้กล่าวห้าม เพราะท่านฟังซีดีของพระอาจารย์ปราโมทย์(นับถือเป็นอาจารย์)
     เพื่อนๆครับ เป็นที่รู้กันว่า ท่าน ว.วชิรเมธีมีพรรษามากกว่าพระอาจารย์ปราโมทย์หลายพรรษามาก
     แต่ทำไมท่านห้ามไม่ให้ไหว้ แล้วใครเป็นอริยสงฆ์..?

      :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ