ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย"  (อ่าน 1450 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2015, 12:32:02 pm »
0


ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย"
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คำนี้กำลังฮิตในขณะนี้ เพราะบังเอิญไปตรงกับชื่อของวัดหนึ่ง (ซึ่งบางคนเปลี่ยนให้ใหม่เป็น "บริษัท") และบริษัท..เอ๊ย..วัดนี้นำเอาคำว่าธรรมกายไปใช้เป็นผลของการปฏิบัติธรรม ถ้าสืบดูพระไตรปิฎกจะมีคำนี้อยู่แต่มีในความหมายธรรมดา มิได้มีความหมายพิเศษอะไร ขอยกมาให้ดูดังนี้

 ans1 ans1 ans1 ans1

ในที่แห่งหนึ่ง (พระไตรปิฎกเล่มที่ 11 อัคคัญญสูตร) กล่าวว่า สามเณรชื่อวาเสฏฐะและภารทวาชะ นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ที่บุพพาราม เมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ตรัสถามว่า เธอทั้งสองเกิดในวรรณะพราหมณ์ ละวรรณะเดิมของตนมาบวชอยู่ในธรรมวินัยของพระองค์ ไม่ถูกพวกพราหมณ์ต่อว่าหรือ

สามเณรทั้งสองกราบทูลว่า "ถูกต่อว่ามากเลย บ้างก็ด่าเอาแรงๆ ว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นพราหมณ์ เกิดในวรรณะประเสริฐ เกิดจากปากพระพรหม ทำไมบวชกับคนวรรณะต่ำ วรรณะเลวคือพวกสมณะโล้น พวกที่เกิดจากเท้าพระพรหม"

      :96: :96: :96: :96:

     พระพุทธองค์ตรัสว่า พวกพราหมณ์ลืมความหลังของตน แถมยังพูดเท็จอีกต่างหาก
     สามเณรทั้งสองกราบทูลถามว่าคืออย่างไร
     พระองค์ตรัสต่อไปว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น ความจริงก็เกิดจากกำเนิดนางพราหมณี นางพราหมณีตั้งครรภ์ ใคร ๆ ก็เห็น อุ้มครรภ์มาแปดเก้าเดือนกว่าจะคลอด ใครๆ ก็เห็น คลอดออกมาแล้ว ดื่มนมแม่ ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบโต ใครๆ ก็เห็น พวกนี้เกิดจาก "โยนี" ของนางพราหมณีแท้ๆ ยังจำความไม่ได้ แถมยังพูดเท็จว่า เกิดจากปากพรหม

จากนั้นพระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า "พวกเธอมาบวชในศาสนาของตถาคต ถ้าใครถามว่าพวกเธอเป็นใคร จงบอกเขาไปว่า เป็นสมณะศากยบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้าง เป็นธรรมทายาท เป็นธรรมกาย เพราะคำว่า "ธรรมกาย" พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูตนี้เป็นชื่อของตถาคต

     ธรรมกายในที่นี้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า ไม่มีความหมายอะไรพิเศษ

       :25: :25: :25: :25:

      อีกแห่งหนึ่งคือในคัมภีร์อปทาน พระนางปชาบดีโคตมี พระแม่น้าของพระพุทธองค์ กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีระเจ้า พระองค์เป็นบิดาของหม่อมฉัน รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้เลี้ยงดูให้เจริญเติบโต ส่วน "ธรรมกาย" อันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน เป็นสิ่งอันพระองค์ทำให้เจริญเติบโต" แปลไทยเป็นไทยก็คือ รูปกายของพระพุทธเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีเลี้ยงให้เจริญเติบโต ธรรมกายของพระนาง อันพระพุทธองค์ทรงเลี้ยงให้เจริญเติบโต

      รูปกายคือ กองแห่งกาย ประชุมแห่งกาย อันได้แก่ขันธ์ 5 (รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เรียกสั้นๆ ว่า "ร่างกาย" นั้นเอง เพราะร่างกายก็คือประชุมแห่งส่วนประกอบทั้ง 5 นี้ ธรรมกายคือ "กองแห่งธรรม" กองแห่งธรรมนี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าได้แก่ โลกุตรธรรม (มรรค ผล นิพพาน) หรืออริยสัจนั้นเอง

      รูปกาย ใช้คู่กับ ธรรมกาย ในกรณีนี้อาจแปลเอาง่ายๆ ว่า ได้แก่ "ร่างกาย กับ จิตใจ" (จิตใจที่เข้าถึงโลกุตรธรรม) ความหมายธรรมดาก็คือ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเลี้ยงกายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเลี้ยงจิตใจของพระนาง เพราะฉะนั้น ต่างองค์ก็ต่างเป็นมารดาและบิดาของกันและกัน


     st12 st12 st12 st12

     พระพุทธองค์ทรงเลี้ยงจิตใจของพระนางด้วยอะไร หรือเลี้ยงโดยวิธีใด ก็คือทรงสอนให้พระนางได้ตรัสรู้ธรรม ให้รู้อริยสัจ 4 หรือโลกุตรธรรม (มรรค ผล นิพพาน) นั้นเอง เพราะฉะนั้น ธรรมกายจึงมีความหมายครอบคลุมถึง "โลกุตรธรรม" หรือ "อริยสัจ" นั้นด้วย

     พูดตามภาษาชาวบ้านก็ว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นแม่บังเกิดเกล้าในทางโลกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นพ่อบังเกิดเกล้าในทางธรรมของพระนาง
     ก็เท่านั้น เท่านั้นจริงๆ ไม่มีความหมายเป็นพิเศษ

    พูดง่ายๆ สั้นๆ ธรรมกายหมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้า และโลกุตรธรรมอันเป็นคุณสมบัติที่เลี้ยงจิตใจให้เติบโตเต็มที่นั้นแล

      st11 st11 st11 st11

     ต้องเข้าใจว่า ผมพูดถึงเฉพาะความหมายของคำเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการนำเอาคำที่มีความหมายสามัญธรรมดาไปสร้างเป็น "ระบบ" ความคิดความเชื่อขึ้นมานะครับ

     ส่วนใครจะนำเอาคำว่าธรรมกายไปมีความหมายพิเศษ เช่น เติมคำว่า "วิชชา" เข้าไป เป็น "วิชชาธรรมกาย" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับคำว่า "ธรรมกาย" ล้วนๆ ที่เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า และเป็นนวโลกุตรธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน


     :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

     เมื่อเป็น "วิชชา" ก็ต้องมีความหมายลึกลับ ดุจวิทยายุทธ์ลับที่อาจารย์สงวนไว้ให้คนบางคน ไม่ให้บางคน เพราะฉะนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับวิชชานี้จึงมีต่อมาว่า   
     เดิมพระพุทธเจ้าทรงสอน แต่หลังจากพระองค์ปรินิพพานไปได้ 500 ปี วิชชานี้หายไป มาโผล่ขึ้นใหม่หลังจากนั้นห้าร้อยกว่าปีต่อมา

     ความเชื่ออย่างนี้ไม่สอดคล้องกับแนวพุทธธรรมแล้วครับ เพราะนวโลกุตรธรรม (มรรคผล นิพพาน) ของพระพุทธเจ้าเป็นอกาลิโก (ไม่ขึ้นอยู่กับกาล) เป็นเอหิปัสสิโก (พิสูจน์ได้ ไม่ใช่สิ่งลึกลับ) สันทิฏฐิโก (ปฏิบัติแล้วเห็นได้ด้วยตนเอง) โอปนยิโก (เป็นสิ่งที่พึงน้อมนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ (ผู้รู้พึงรู้แจ้งเฉพาะตน)


     :96: :96: :96: :96:

     อยากเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง คือ ตอนที่พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก ปริพาชก (นักบวชต่างศาสนา) คนหนึ่งนามว่าสุภัททะ เข้าไปแจ้งความจำนงกับพระอานนท์ขอเฝ้าถามปัญหากับพระพุทธองค์ ทีแรกพระอานนท์ไม่อนุญาต เพราะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก แต่ในที่สุดได้รับพุทธานุญาตให้เข้าไปเฝ้า

     สุภัททะถามข้อข้องใจของตนหลายเรื่อง หนึ่งในหลายเรื่องคือ พระอรหันต์มีอยู่หรือไม่ (ความประมาณนี้แหละครับ)
     พระพุทธองค์ตรัสตอบเป็น "หลักการ" ว่า "ตราบใดสาวกของพระองค์ยังเป็นอยู่โดยชอบ (คือปฏิบัติถูกตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด) อยู่ โลกก็ไม่ว่างจากพระอรหันต์"
     พุทธวจนะนี้แสดงว่า พระอรหันต์จะมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่า มีผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคมีองค์แปดหรือไม่ ถ้ามีผู้ปฏิบัติถูกต้อง พระอรหันต์ก็มี ถ้าไม่มีผู้ปฏิบัติถูกต้อง พระอรหันต์ก็ไม่มี


      :49: :49: :49: :49:

      ไม่รู้สินะครับ ถ้าสิ่งที่อาจารย์บางท่านเรียกว่า "วิชชาธรรมกาย" คือสิ่งเดียวกับ "โลกุตรธรรม" (มรรค ผล นิพพาน) การที่ใครก็ตามพูดว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 500 ปี วิชชาธรรมกายหรือโลกุตรธรรมได้หายไปนั้น ก็เท่ากับบอกว่า หลังจาก พ.ศ. 500 ปีเป็นต้นมา ไม่มีผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรค หรือพูดให้ชัดว่า ไม่มีพระอรหันต์ ก็ฟังแหม่งๆ และขัดแย้งกับหลักการของพระพุทธเจ้าแล

      ก็ต้องจบข้อเขียนเกี่ยวกับคำว่าธรรมกายเพียงเท่านี้ เพราะถ้าเขียนมากกว่านี้ จะมิใช่การอธิบายความหมายของศัพท์ แต่จะกลายเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์ไป


ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423377405
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของคำ "ธรรมกาย"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2015, 10:21:18 am »
0
 :character0029: :character0029: :character0029:
 ยังจะมาเจอที่นี่ อีก หรือ นี่

  :34: :13:
บันทึกการเข้า