ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นมัสเต....เสน่ห์ “เนปาล” (3)  (อ่าน 886 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28522
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นมัสเต....เสน่ห์ “เนปาล” (3)
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2014, 07:09:48 pm »
0


นมัสเต....เสน่ห์ “เนปาล” (3)

หลังอิ่มหนำสำราญกับอาหารมื้อกลางวัน และสุขสันต์กับการจ่ายทรัพย์ ที่ร้าน Fabindia แบรนด์เสื้อผ้าดังแห่งแดนภารตะ ที่ทั้งคณะโดย เฉพาะสุภาพสตรี ได้ละลายเงินรูปีไปหลายพัน หลายหมื่น แถมได้การต่อรองแบบมืออาชีพจาก มหาราณีหัวหน้าคณะ ยิ่งทำให้ช็อปกันกระจาย เป็นสุขจากการจ่ายทรัพย์อีกครั้งกันถ้วนหน้าแล้ว คณะของเราก็เดินทางสู่เมือง บัคตาปูร์ ที่บางครั้งหนังสือเดินทางท่องเที่ยวหลายเล่มก็เขียนว่า ภักตะปูร์ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงกาฏมาณฑุไปราว 14 กิโลเมตร

เรามาถึงภักตะปูร์ในช่วงบ่ายอ่อนๆ ไกด์หนุ่มบอกว่า เราต้องเดินขึ้นไปบนเนินเขาเล็กน้อย เนื่องจากเมืองนี้ ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึงประมาณกว่า 1,400 เมตร แม้อากาศจะกำลังสบายๆ แต่ร้านหมวกถักที่อยู่ด้านล่างก่อนเดินขึ้นเนินเขา ก็เย้ายวนให้หลายคนในคณะแวะซื้อ ทั้งด้วยความน่ารักของหมวก และราคาที่ตก อยู่แค่ใบละประมาณ 100 บาทเท่านั้น และที่หมวกถักใบสวยๆมีราคาไม่แพงมากนัก ก็เพราะเมืองนี้มีชื่อเสียงในเรื่องของงานถักทอ โดยเฉพาะการทำหมวกที่เรียกว่า ภาทคาวันโตปี หรือหมวกแก๊ป (Bhadgaonle Topi or Cap) ถือเป็นอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่สำคัญนอกเหนือจากการแกะสลักไม้


วัดพัตสะละเทวี หรือ วัดหิน

พระราชวังแห่งภักตะปูร์

ไม่กี่อึดใจเราก็ขึ้นมาถึงทางเข้าเมืองภักตะปูร์ หรือชื่อดั้งเดิมที่ชื่อว่า ภาทคาวัน (Bhaktapur or Bhadgaon) ที่แปลว่า “เมืองที่ผู้คนภักดีต่อพระผู้ เป็นเจ้า” (City of Devotees)

แม้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก แต่ตัวเมืองก็ยังคงเต็มไปด้วยเสน่ห์ในยุคกลาง โดยเฉพาะร่องรอยความรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะที่สะท้อนผ่านงานแกะสลักไม้ งานถักทอ และงานปั้นดินเผา ที่ผู้คนยังคงดำรงไว้เป็นวิถีชีวิตนับแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน


พระราชวัง 55 หน้าต่างในมุมกว้าง

ประตูทองคำ หรือ The Golden Gate

เราเดินผ่าน จัตุรัสภักตะปูร์ ดูบาร์ (Bhaktapur Durbar Square) ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของหมู่พระราชวัง วิหาร และสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ในศิลปะสกุลช่างเนวารีแท้ๆ สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างต่างๆ สะท้อนถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีต ทำให้ไม่แปลกใจว่า ทำไมเมืองนี้จึงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเช่นเดียวกับเมืองปะฏัน ที่เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนมาแล้วเมื่อวันก่อน

จุดเด่นๆที่สำคัญของเมืองภักตะปูร์ที่ผู้คนอยากมาชมมากที่สุด เห็น จะเป็นพระราชวัง 55 หน้าต่าง ซึ่งสร้างขึ้นโดยกษัตริย์รานจิตมัลละ ในสมัยศตวรรษที่ 18 นอก เหนือจากตำนานที่ว่ากันว่า หน้าต่างทั้ง 55 บาน คือ ที่ๆบรรดาชายาทั้ง 55 นางของพระองค์ ใช้เป็นช่องสำหรับโผล่หน้าออกมาในช่วงที่มีพระราชพิธีที่สำคัญ แล้วสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่งดงามอีกอย่าง น่าจะเป็นการแกะสลักไม้ที่ถือได้ว่า มีความละเอียดอ่อนงดงามมาก

หน้าต่าง 55 บาน แห่งพระราชวังซันโตกา

สิงห์ยักษ์บริเวณจัตุรัสภักตะปูร์

สิ่งที่สำคัญโดดเด่น อีกอย่างในบริเวณจัตุรัสภักตะปูร์ ดูบาร์ ก็คือ ประตูทอง หรือ The Golden Gate ซึ่งเป็นประตูทางเข้า “พระราชวังซันโตกา” หรือที่คนเรียกกันติดปากไปเสียแล้ว ว่า พระราชวัง 55 หน้าต่าง ว่ากันว่าเป็นซุ้มประตู ที่มีการแกะสลักอย่างงดงาม ประณีตบรรจงและสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยงานแกะสลักทั้งหมดเป็นงานประติมากรรมแบบนูนสูง สังเกตที่เสาประตูทั้ง 2 ข้าง จะเห็นเป็นรูปเจ้าแม่กาลีปางต่างๆ ด้านละ 5 องค์ ตามประวัติบอกว่า ประตูทองนี้สร้างใน สมัยกษัตริย์ภูบดินทร์ ประมาณปี 2243 แต่ยังสร้างไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พอ มาถึงยุคของกษัตริย์ชายา รันจิต จึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จในปี 2297 เรียกว่าใช้เวลาสร้างนานกว่า 50 ปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ในบริเวณเดียวกัน ยังมี วัดพัตสะละเทวี หรือที่เรียกว่า วัดหิน วัดนี้นอกจากจะมีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมในยุคกลางแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจคือ ระฆังใบใหญ่ใช้ตีบอกเวลา เหมือนๆกับกลองเพลบ้านเรา เรียกว่า Bell of Barking Dogs หรือ ระฆังหมาเห่า แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว


สถูปสวะยัมภูนาถ

ลิง..สัญลักษณ์ของวัดลิง

ด้านในสุดของพระราชวังเป็นที่ตั้งของสระขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “สุนทรีโฉลก” หรือสระน้ำของกษัตริย์ภักตะปูร์ แต่ละด้านมีกำแพงเป็นแท่นแบบขั้นบันได ขอบสระมีรูปปั้นงูตัวใหญ่ทำด้วยทองเหลือง 2 ตัวนอนทาบไปกับขอบสระ ชูหัวแผ่ แม่เบี้ยตรงหัวบันไดที่กษัตริย์เสด็จลงสรง ข้างๆแม่เบี้ยจะมีฐานศิวลึงค์เพื่อให้กราบไหว้ทุกครั้งก่อนและหลังลงสรง ส่วนล่างลงไปเป็นรูปหัวแพะและเป็น ท่อน้ำที่ไหลตรงมาจากหิมาลัยมาออกตรงปากของแพะพอดี ซึ่งทั้งหมดยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แม้จะผ่านกาลเวลามานานหลายร้อยปีแล้วก็ตาม

คืนสุดท้ายในกาฐมาณฑุ เราจัดงานฉลองให้ คณะที่เกิดในเดือนของการเดินทาง ภายใต้คอนเซปต์อินเดียนไนต์ ทุกคนแต่งกายด้วยชุดปัญจาบีที่ซื้อหามาจากร้าน Fabindia ขณะที่มหาราณีผู้นำคณะเตรียมการพร้อมสรรพนำติดมาตั้งแต่กรุงเทพฯ เป็นค่ำคืนแห่งความสุขและมิตรไมตรีอันยิ่งใหญ่จากหัวใจที่เปี่ยมด้วยพลังของความรัก ความศรัทธา


รูปแกะสลักองค์พระพิฆเณศวร..บริเวณประตูทองคำ

ระฆังหมาเห่า ที่วัดพัตสะละเทวี

ก่อนโบกมือลากาฐมาณฑุ เราแวะไปนมัสการ สถูปสวะยัมภูนาถ หรือ วัดลิง ซึ่งเป็นเจดีย์ของชาวพุทธที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ที่ว่ากันว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 2,000 ปี ฝูงลิงจำนวนไม่น้อย ออกมาทักทายก่อนเดินขึ้นสู่องค์สถูปซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ สูงประมาณ 77 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลของกาฐมาณฑุ

ไหว้พระขอพรกันเป็นที่เรียบ ร้อย ก็ได้เวลาเดินทางกลับกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร ด้วยหัวใจที่แข็งแรง หอบหิ้วทั้งสติ ปัญญา และศรัทธา กลับมาต่อสู่กับโลกแห่งความเป็นจริงในเมืองอันวุ่นวายต่อไป.


พระพุทธรูปปูนปั้นด้านบนของสวะยัมภูนาถ

พระพุทธรูปบริเวณทางขึ้นวัดลิง

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/420257
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ