ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หากท่านตั้งศรัทธา ให้ตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่า หลงทาง  (อ่าน 2555 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"ตั้งแต่เช้านี้ มาจนถึงค่ำ ฉันเดินอยู่คนเดียวท่ามกลาง เขาบนเส้นทางที่ฉันเดินไปนี้ มันเริ่มสูงชันเพิ่มขึ้น ความวังเว ความเหนื่อยล้า ที่เกิดขึ้นมีเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ในตอนนั้น ฉันก็นึกว่า แล้วเราทำไมต้องมาเดินอยู่อย่างเดียวดาย ที่นี่นะ ทั้ง ๆ ที่ ฉันเอง มีรถผ่านขึ้นมาประปราย ระหว่างที่ฉันเดิน แต่เพราะความตั้งใจที่จะเดิน เพ่ื่อบูชา พระพุทธเจ้า วันนี้ฉันจึงตั้งใจด้วยศรัทธา ว่าจะไม่พึ่งพาหนะใด ๆ นอกจาก กายของฉันเอง แรงฉันเอง ฉันก้าวเดินขึ้นไปด้วยศรัทธา ความเหน็ดเหนื่อยที่ครอบคลุมใจเริ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งเดินขึ้นไป ก็ยิ่งก้าวเท้าไปไม่ออก เนื่องจากสถานที่ฉันไปนั้นเป็นเส้นทางที่ขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว ฉันเดินอย่างนี้จนถึง บ่ายสามโมงเย็น โดยเริ่มตั้งแต่ เจ็ดนาฬิกา เป็นระยะทางทั้งหมด 22 กม. จึงถึงที่หมาย ตอนนั้น ฉันรีบไปที่จุดหมายปลายทาง คือ พระธาตุดอยตุง เมื่อฉันไปถึง และได้กราบ น้ำตาก็พลันไหลออกมาเป็นสาย ความปลื้มปีติ จุกแน่น อยู่ที่ใจ และ คอของฉัน ฉันนั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานาน พร้อมสวดมนต์ คือ พุทธคุณ ไปเรื่อย ๆ ......"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
  พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  อปทาน  [๔.  ขัตติยกัญญาวรรค]
              ๔.  สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
 
                  [๑๐๑]   ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
                            เจริญพุทธานุสสติอยู่ไม่นาน    ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
                  [๑๐๒]  หม่อมฉันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำ
                           เห็นพระรูปซึ่งเป็นที่เพลิดเพลินนัยนาก็ยังไม่เบื่อ
                  [๑๐๓]  หม่อมฉันไม่เบื่อพระรูปที่เกิดจากบารมีทั้งปวง
                           เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสิริที่ประเสริฐ
                           พรั่งพร้อมด้วยความงามทุกอย่าง
                  [๑๐๔]  พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
                           จึงทรงตั้งหม่อมฉันผู้เป็นมารดาของสิงคาลมาณพไว้
                           ในเอตทัคคะว่า ‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต
                  [๑๐๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
                           ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
                  [๑๐๖]  รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
                            ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
                           อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
                           บัดนี้  ภพใหม่ไม่มี
                  [๑๐๗]  ข้าแต่พระมหาวีระ  อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
                            ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
                           และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ    ของหม่อมฉันที่มีอยู่
                            ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
                  [๑๐๘]  กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
                            ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
                            หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
                            ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 09:00:05 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
           ๑.  ญาณกถา  ๓๒.  อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
 
            ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
               แสดงอานันตริกสมาธิญาณ
   [๘๐]    ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ    เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ    เป็นอย่างไร
   คือ  ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์(มีอารมณ์เดียว)   
        ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ  ชื่อว่าสมาธิ   
        ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น   
        อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น   
       สมถะมีก่อน    ญาณมีภายหลัง    ด้วยประการฉะนี้   
      ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย    ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น   
      เพราะเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน   
      ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
   คำว่า  อาสวะ    อธิบายว่า    อาสวะเหล่านั้น    อะไรบ้าง
   คือ    กามาสวะ    (อาสวะคือกาม)   
          ภวาสวะ    (อาสวะคือภพ)   
          ทิฏฐาสวะ    (อาสวะคือทิฏฐิ)   
          อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
   
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
 
    คือ    ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค 
          กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย
          ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย   
          อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย   
          ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค   
          อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้
   
           กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค   
        ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค   
        อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
   
          กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค   
        ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
        อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น   
       ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค   
       อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
         
         ภวาสวะทั้งสิ้น   
      อวิชชาสวะทั้งสิ้น   
      ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค   
      อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
      ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท    ชื่อว่าสมาธิ



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กว่าจะอ่าน จบ ก็ต้อง ขออนุโมทนา กับพระอาจารย์ ด้วยคะ

 ที่ยังมอบธรรม อยู่ แม้ช่วงนี้ จะไม่มีเสียงพูด แต่ ก็ยังพิมพ์ธรรมเป็น ธรรมทาน

  st11 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

    พุทธานุสสติ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา