ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"  (อ่าน 16029 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์หรือวัดนิพพานาราม กทม. ตามระเบียบแล้ว พระสังฆราชทุกองค์ต้องมาสถิตย์ที่นี่


พระสังฆราชาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

"ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระศาสนา
 ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"

พระราชปณิธาณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ หลังสิ้นสมัยกรุงธนบุรีพระองค์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรี และในรัชสมัยของพระองค์เอง ทรงมีพระราชดำริว่าในการปกครองดูแลบ้านเมืองนั้น เสาหลักทั้งสอง คือ ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรต้องเป็นหลักอันมั่นคงของบ้านเมือง ดังทรงมีพระราชปณิธาณแน่วแน่มาแต่แรก

ดังนั้น ตลอดรัชกาล พระองค์จึงทรงทำทุกวิถีทางเพื่อฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองและพระศาสนาให้กลับคืนสู่ความรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้จงได้ และไม่เพียงแต่พระองค์เองเท่านั้น ทว่าพระราชปณิธานนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีทรงยึดมั่นและสละพระองค์เพื่อทำนุบำรุงบ้านเมือง ประชาชน ตลอดจนพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตลอด 200 กว่าปีที่ผ่านมา



พระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.


ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้ประชุมกันทำสังคายนาพระไตรปิฎก แล้วเสร็จในเวลา 5 เดือน กระทำที่วัดนิพพานาราม หรือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ในปัจจุบัน สมัยนี้ยังโปรดฯให้มีการตรากฎหมายคณะสงฆ์ หรือเรียก กฎพระสงฆ์ ขึ้น 10 ฉบับ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง ของกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นกฎหมายสงฆ์ชุดแรกที่มีหลักฐานมาถึงปัจจุบัน สำหรับสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชยังคงเป็นไปตามแบบอยุธยาเป็นราชธานี

มาในรัชกาลที่ 2 มีการสถาปนา สมเด็จพระพนรัตน(มี) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช และพระราชทานนามใหม่ว่า สมเด็จพระอริยวงศญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี และสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมาทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จทุกพระองค์

สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้รวมพระอารามหลวงและพระอารามราษฎร์เข้าด้วยกันเรียกว่า คณะกลาง จึงมี 4 คณ คือ คณะเหนือ ใต้ กลาง อรัญวาสี และยังมีคณะที่เกิดใหม่อีก 1 คณะ คือ คณะธรรมยุต ที่แต่แรกยังมีจำนวนน้อยจึงรวมอยู่กับคณะกลาง

มาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงทรงปรับปรุงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชใหม่เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในรัชกาลนี้คณะธรรมยุตเข้มแข็งขึ้นมาก จึงแยกออกมาเป็นคณะใหม่ ส่วนคณะอรัญวาสีที่เคยมีอยู่เดิมกลับค่อยๆหายไป

รัชกาลที่ 5 มีคณะอยู่ 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุต ต่อมามีการออก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ.121) พ.ศ. 2445 กำหนดให้มีกรรมการมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร โดยมี สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน และเป็นผู้บัญชาเด็ดขาด

จนมาถึงรัชกาลที่ 8 สภาผู้แทนราษฎรได้ออกกฎหมายสงฆ์เรียกว่า พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ที่มีรายละเอียด 60 มาตรา แต่ยังให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช


ในรัชกาลปัจจุบัน การปกครองดูแลคณะสงฆ์ มี สมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุขของมหาเถรสมาคม แบ่งการปกครองตาม พรบ. คณะสงฆ์ 2505 ออกเป็น 5 ส่วน คือ หนเหนือ หนใต้ หนกลาง หนตะวันออก และคณะธรรมยุต แยกการปกครองออกเป็น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล และเจ้าอาวาส



พระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.


   สำหรับสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
   - กรณีเป็นเชื้อพระวงศ์ และกรณีเป็นสามัญชน หากเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปโปรดให้ใช้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ชั้นรองลงมาทรงพระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
   - แต่หากเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มิได้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทุกพระองค์

    แต่สำหรับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโณ) พระองค์ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร หมายถึง สมเด็จพระผู้มีสังวรธรรมมีธรรมเป็นเครื่องระวัง ราชทินนามของพระองค์ยังเคยเป็นราชทินนามของสมเด็จพระสังฆราช ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
    นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธายิ่ง ด้วยทรงเป็นพระอภิบาลหรือพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์รูปหนึ่งของภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร



พระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร)สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.


ทั้งนี้เป็นไปดังธรรมเนียมแต่โบราณกาลที่มีมาว่า ในการแต่งตั้งพระภิกษุขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชนั้นเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย และโดยมากมักเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ช่วงเวลานั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดฯพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้

ทุกวันนี้เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ ที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย ดังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว



ป้ายใต้ฐานพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.


รายพระนาม 19 รัตนสังฆราชา แห่งรัตนโกสินทร์
1. สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม พ.ศ.2325-2337
2. สมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ.2337-2359
3. สมเด็จพระสังฆราชมี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ.2359-2362
4. สมเด็จพระสังฆราชสุก (ญาณสังวร) วัดราชสิทธาราม พ.ศ.2363-2365
5. สมเด็จพระสังฆราชด่อน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ พ.ศ.2365-2385
6. สมเด็จพระสังฆราชนาค วัดราชบูรณะราชวรมหาวิหาร พ.ศ.2386-2392
7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ.2394-2396
8. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2434-2435
9. สมเด็จพระสังฆราชสา วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม พ.ศ.2436-2442
10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2453-2464
11. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ.2464-2480
12. สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เทพวราราม พ.ศ.2481-2487
13. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พ.ศ.2488-2501
14. สมเด็จพระสังฆราชปลด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พ.ศ.2503-2505
15. สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ.2506-2508
16. สมเด็จพระสังฆราชจวน วัดมกุฎกษัตริยาราม พ.ศ.2508-2514
17. สมเด็จพระสังฆราชปุ่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ.2515-2516
18. สมเด็จพระสังฆราชวาสน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2517-2531
19. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจริญ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2532-ปัจจุบัน





หมายเหตุ : ป้ายข้างบน เขียนว่า  วัน ๔  ๑๕  ๙  ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรง ฉอศก  พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมพิท พระพุทธิจ้าวอยู่หัว ผู้ทรงคุณธรรมมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งให้หลวงเทพรจนา เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย ปั้นหล่อพระรูป ***สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก  ติปิ์ฎกธราจารย์  สฤษดิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร  ทักษิณาสฤษดิสังฆะรามะ คามวาสีอรัญวาสี  เป็นประธานแก่นาถาทุกคณานิกร จตุรพิธบรรพสัช สถิตย์ ณ พระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อารามหลวง***

***ข้อความที่มีเครื่องหมายดอกจัน จากข้อมูลของเว็บ http://www.dharma-gateway.com/ พิมพ์ว่า  "สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง" ใครผิดใครถูกอย่างไร จนด้วยเกล้าขอรับ ไม่ทราบจริงๆ

“วัน ๔  ๑๕  ๙  ค่ำ”  อ่านว่า วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙



19 รัตนสังฆราชา แห่งสังฆมณฑลไทย
สดุดี 100 พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8456#sthash.Z1HzO8XK.dpuf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 26, 2016, 01:33:12 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระราชปณิธาน ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

เมื่อพิจารณาสภาพทั้งปวง ของบ้านเมืองในเวลานั้น ก็จะเห็นได้ว่า การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงรับสิริราชสมบัติ ก็เท่ากับการรับพระราชภาระทั้งมวล ในอันที่จะดับความเดือดร้อนทั้งหลาย ทั้งปวงด้วย ถ้าจะเปรียบประเทศไทยในคราวนั้น ก็เหมือนกับร่างกายของคน ที่อ่อนแอมีโรครุมอยู่แล้ว ยังต้องมาโดนทำร้ายจนบาดเจ็บซ้ำแล้วซ้ำเล่า พระราชภาระที่ทรงรับไว้จึงใหญ่หลวงนัก ต้องทรงแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกไม่ให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ดังเช่นที่เกิดแก่กรุงศรีอยุธยาได้อีก ด้วยความตระหนักแน่ ในพระราชหฤทัยถึงพระราชภาระทั้งมวล จึงได้ตั้งพระราชปณิธานไว้สามประการ ดังปรากฏในนิราศรบพม่าท่าดินแดงว่า


   “ตั้งใจจะอุปถัมภก  ยอยกพระพุทธศาสนา 
    จะป้องกันขอบขัณฑสีมา  รักษาประชาชนและมนตรี”


    ถ้าจะแยกพระราชปณิธาน ก็จะได้เป็น ๒ หมวดใหญ่ คือ
    การภายนอก ได้แก่ การป้องกันขอบขัณฑสีมา
    การภายใน ได้แก่ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการปกครองประชาชน

พระราชปณิธานทั้ง ๒ ประการนี้แสดงให้เห็นน้ำพระทัย ที่ยืดมั่นในบวรพระพุทธศาสนา และพระอัจฉริยภาพในการปกครองของพระองค์ ทั้งแสดงว่าได้ทรงเห็นเหตุการณ์ จำเป็นในภายหน้าอย่างถ่องแท้ทุกด้าน ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นเจริญวัฒนาของสยามประเทศต่อไป



ที่มา http://www.changsipmu.com/1rtfm01_p02.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ราชทินนาม ของ สมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 01, 2016, 10:00:47 am »
0





หมายเหตุ : ป้ายข้างบน เขียนว่า  วัน ๔  ๑๕  ๙  ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรง ฉอศก  พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมพิท พระพุทธิจ้าวอยู่หัว ผู้ทรงคุณธรรมมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งให้หลวงเทพรจนา เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย ปั้นหล่อพระรูป ***สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก  ติปิ์ฎกธราจารย์  สฤษดิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร  ทักษิณาสฤษดิสังฆะรามะ คามวาสีอรัญวาสี  เป็นประธานแก่นาถาทุกคณานิกร จตุรพิธบรรพสัช สถิตย์ ณ พระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อารามหลวง***

***ข้อความที่มีเครื่องหมายดอกจัน จากข้อมูลของเว็บ http://www.dharma-gateway.com/ พิมพ์ว่า  "สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง" ใครผิดใครถูกอย่างไร จนด้วยเกล้าขอรับ ไม่ทราบจริงๆ

“วัน ๔  ๑๕  ๙  ค่ำ”  อ่านว่า วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙

ผมมีข้อมูลมาให้เปรียบเทียบ


 ask1  ans1 ask1 ans1

สำเนาสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
จาก พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้า ๓๔๗
เรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร


ศริศยุภอดีตกาล พุทธศักราช ชไมยสหัสสสังวัจฉร ไตรสตาธฤก ไตรสัตฐีสัตมาศ ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จพระบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบูลยปรีชาอันมหาประเสริฐ มีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหานาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้ สมเด็จพระญาณสังวร เป็น

"สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฏกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทรมหาคณฤศร วรทักษิณา สฤทธิสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี"

เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหาร พระอารามหลวง ฯ


 :25: :25: :25: :25:

อันไหนถูกต้อง เชิญพิจารณาตามอัธยาศัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2016, 11:11:47 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ