ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ  (อ่าน 3623 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ

คือผมสนใจในการทำวิปัสสนา ส่วนนี้อยู่ แต่อยากกำหนดให้เป็นของว่าง

ความว่างแบบที่เข้าใจ ง่าย ๆ และถูกทางจริง ๆ ควรทำอย่างไร ครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ว่าง หรือ สุญญตา นั้นสำหรับผู้ภาวนาคือว่างจาก ความยึดมั่น ถือมั่นประการหนึ่ง ๑

 ว่างจากขันธ์ ทั้ง ๕ ประการหนึ่ง ๑ ว่างจาก อายตนะ ทั้ง ๑๒ ประการหนึ่ง ๑

 ว่างจากอริยธรรม ประการหนึ่ง ๑

ว่างจาก ความยึดมั่น ถือมั่นประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

  เมื่อจิตยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ควรฝึกจิตให้มองเห็นด้วยปัญญาว่า

  ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ล้วนเป็นอนัตตา ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นของเรา
 
ดังนี้เป็นต้น เมื่อจิตรู้ด้วยปัญญาอย่างนี้ ย่อมปล่อยว่างทุกสิ่งลง แต่ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังเห็นว่ามีอยู่เป็นเพียง

การข่มใจให้รู้ว่าว่าง

   
ว่างจากขันธ์ ทั้ง ๕ ประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

   เมื่อจิตของบุคคลทั่วไป ตื่นอยู่ด้วยปัญญา ย่อมเรียนรู้ทำความเข้าใจ ในความว่าง อันรวมเรียกว่าขันธ์ทั้ง 5

อันมีกาย เรียกว่า รูป มี เวทนา มี สัญญา มี สังขาร มี วิญญาณ เรียกว่า นาม การฝึกจิตเช่นนี้ให้ใจมองเห็น

ขันธ์ทั้ง 5 เป็น รูป เป็น นาม เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป เพื่อใจที่วางได้วาง และได้ว่างจากความยึดถือ ว่า

ขันธ์ 5 นี้ิเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เป็นต้น การทำเช่นนี้ก็ยังเป็นเพียงการข่มด้วยปัญญาเช่นกัน


ว่างจาก อายตนะ ทั้ง ๑๒ ประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

  เมื่อใด บุคคลสัมผัสความว่างด้วยปัญญา อย่างละเอียด ยิ่งขึ้นด้วยปัญญา และความเป็นผู้มีสติ เริ่มสมบูรณ์

เมื่อนั้นจิตย่อมละเอียด มองเห็นความเกิดดับ ของ อายตนะ  อันกระทบกัน เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น

การเข้าถึงอย่างนี้เป็นความว่าง ขั้นกลาง เพราะเริ่มมีสติมองเห็นด้วยความยึดมั่น ถือมั่น และ จางคลาย

จากความยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา การว่างอย่างนี้เป็นการว่างของพระ

อริยบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็น ต้นไป

ว่างด้วยคุณแห่งอริยธรรม ประการหนึ่ง ๑

  เมื่อภิกษุ ในศาสนานี้เข้าถึงคุณธรรม เป็นความว่างด้วย สติ และ สมาธิ มองเห็นรู้แจ้งตามความเป็นจริงด้วย

ใจ จึงจางคลายจากยึดมั่นถือมั่น ด้วยคุณธรรมนั้น ๆ เป็นความว่างเรียกว่า สุญญวิหารสมาบัติ อันเป็นธรรมของ

พระอริยบุคคล เพราะพ้นจากอวิชชา จบกิจในศาสนา พรหมจรรย์ของเธอ ชื่อว่าอยู่จบแล้ว กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มี

อีกแล้ว นี่เรียกว่า ว่างด้วยคุณแห่งอริยธรรม


สรุป แล้ว สติ ต้องเจริญธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน จน สติ พัฒนา เป็นสมาธิ จึงจะสมบูรณ์


ไล่ คุณธรรม โพชฌงค์ 7 ประการนั้น เป็นไปตามลำดับ


    คือ  สติ + ธรรมวิจยะ + วิริยะ  ( พระพุทธานุสสติ )

         ปีติ   ( พระธรรมปีติ )

         ปัสสัทธิ ( พระยุคลธรรม )

         สมาธิ  ( อุปจาระสมาธิ + สุขสมาธิ )

         อุเบกขา  เพราะวางเห็นตามความเป็นจริง  ( พระโสดาบัน เป็นต้นไป )

ผู้ฝึกที่ปฏิเสธ การฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พึงทราบไว้


เจริญธรรม ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พึ่งจะได้มาอ่าน เรื่องนี้ คร้า...

ขอบคุณพระอาจารย์ ที่ชี้แนะคร้า....
:25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง