ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ  (อ่าน 7175 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 07:00:07 pm »
0
ผมได้ทำงานอาสา ไปส่งพระ รับพระบ่อยครับ เห็นพระเดินธุดงค์สมัยนี้ผมเห็นใช้ เต๊นซ์กันครับ ไม่ทราบอย่างนี้ถูกหรือผิดครับ พระธุดงค์พกโทรศัพท์ด้วยครับ มาอาศัยชาจท์แบตที่ศูนย์ผม หลายองค์แล้วครับ เหมือนฝรั่งเดินทาง
เลยครับปัจจุบันนี้ มีอุปกรณ์ hitec เช่นเตาแก็สกระป๋อง ไฟฉายหลากแบบ แถมพกมีดอันใหญ่ ท่านบอกว่าเอาไว้
ผ่าฟืนตัดกิ่งไม้บ้าง สมัยก่อนท่านบอกว่าใช้ขวาน สมัยนี้เลิกใช้ แถมใส่รองเท้าหุ้มส้นอีก

ภาพพระธุดงค์ในใจผม เริ่มหายไปเยอะครับ เพราะตอนนี้ที่ผ่านมาจะเป็นอย่างนี้ มีผ่านมาแบบเดิม ๆ นี่ปีนี้ยังไม่เจอ
สักองค์ สงสัยว่าพระธุดงค์สมัยนี่ท่านเดินกันเพื่ออะไรครับ
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 02, 2010, 01:44:01 pm »
0


ธุดงค์ ๑๓ (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมด้วยมักน้อยและสันโดษเป็นต้น)
 
หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร)
๑. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า "คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้—")

๒. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า "จตุตฺถ จีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานองค์แห่งผู้—")

หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
๓. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้—" )

๔. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า "โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้ —" )

๕. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า "นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้— " )
 
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน ๑ อย่างคือบาตร คำสมาทานว่า "ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้—")

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า "อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้— ")
 
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
๘. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า "คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—")
 
๙. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—")
 
๑๐. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—")
 
๑๑. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้— ")

๑๒. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า "เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—")

หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร)
๑๓. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า "เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานองค์แห่งผู้—")

ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ ๑๓

ก. โดยย่อธุดงค์มี ๘ ข้อ เท่านั้น คือ
 
๑) องค์หลัก ๓ (สีสังคะ) คือ สปทานจาริกังคะ (เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ (ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ หมดความจำเป็น)
 
๒) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น ๕ (อสัมภินนังคะ) คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะ

ข. โดยนิสสัยคือที่อาศัย  มี ๒ คือ ปัจจัยนิสิต ๑๒ (อาศัยปัจจัย ) กับ วิริยนิสิต ๑ (อาศัยความเพียร)
 
ค. โดยบุคคลผู้ถือ

๑) ภิกษุ ถือได้ทั้ง ๑๓ ข้อ
๒) ภิกษุณี ถือได้ ๘ ข้อ (คือ ข้อ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๑๒-๑๓)
๓) สามเณร ถือได้ ๑๒ ข้อ (คือ เว้นข้อ ๒ เตจีวรกังคะ)
๔) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ ๗ ข้อ (คือ ลดข้อ ๒ ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)
๕) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ ๒ ข้อ (คือ ข้อ ๕ และ ๖

ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ ๓ ระดับ คือ
 
๑) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่าตลอดไป
๒) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ตลอดฤดูฝน ๔ เดือน ที่เหลืออยู่ป่า
๓) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝนและหนาวรวม ๘ เดือน

จ. ข้อ ๙ และ ๑๐ คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะนอกพรรษา เพราะวินัยกำหนดให้ต้องถือเสนาสนะในพรรษา
 
ฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมควรถือ ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป

ช. ธุดงค์ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบครบจำนวนในที่เดียว  นอกจากคัมภีร์บริวาร  ซึ่งมีหัวข้อครบ ถ้วน ส่วนคำอธิบายทั้งหมดพึงดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรค


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
________________________________________


คุณบุญเอกครับ เรื่องนี้ผู้เป็นภิกษุควรจะตอบ แต่เนื่องจากไม่มีใครตอบ

ผมเลยนำข้อธรรม ธุดงด์ ๑๓ มาแสดงให้ดู สังเกตไหมว่า ไม่มีข้อห้ามใดที่ชัดเจน

เกี่ยวกับการใช้เครื่่องนอน และที่สำคัญการธุดงด์ไม่ได้บัญญัติไว้ในวินัย

ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ

แต่ศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา

ศีล ๒๒๗ ข้อนี้ ผมไม่มีรายละเอียด จึงไม่สามารถสรุปได้

ขออนุโมทนา

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 02, 2010, 08:31:07 pm »
0
ผมว่าพระใช้เต็นซ์ ดีกว่ากลดนะครับ ผมว่าสะดวก ปลอดภัยจาก มด แมลง ตะขาบ งู ด้วยครับ เพราะเต็นซ์ มีซิบกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ ผมไปทำบุญงานพระเข้าปริวาส ตอนนี้ ก็เห็นใช้แต่เต็นซ์กันทั้งนั้นครับ


โลกาภิวัฒน์ ครับ
บันทึกการเข้า

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 11:58:52 am »
0
พระห้ามใช้ โทรศัพท์ โนํตบุ๊ก จีพีเอส คอม กล้อง ด้วยหรือป่าว

โอ ถ้าเป็นอย่างนี้ เราคงไม่มีเว็บนี้ได้มา เล่าสู่ กัน ฟัง แล้วครับ

ผมว่า อยู่ที่วัตถุประสงค์ การใช้ของพระ ท่านจะใช้เพื่อ สืบพระศาสนา หรือ เพื่อสนองตัณหา ของท่าน

ผมว่าออกจากเรื่องพระ ก็ดีนะครับ เรื่องของพระ ให้พระจัดการ ดีกว่านครับ

เรื่องของชาวไทย ตอนนี้ ก็เหลือง แล้ว มาแดง อีกแล้ว ผมเองก็เดือดร้อนอีกแล้ว ต้องพาลูกน้องไป กทม.อีก
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 04:08:58 pm »
0
อยู่ที่ความพอดีครับ ถ้าใช้เกินความจำเป็น ก็จะลืมความหมายของการฝึกฝน อย่างนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไร พวก
ชาวต่างชาติที่เดิน เที่ยวในเมืองไทยแนวผจญภัยครับ

เพราะการธุดงค์ คือการขจัดกิเลส ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 08:16:25 pm »
0
อยู่ที่ความพอดีครับ ถ้าใช้เกินความจำเป็น ก็จะลืมความหมายของการฝึกฝน อย่างนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไร พวก
ชาวต่างชาติที่เดิน เที่ยวในเมืองไทยแนวผจญภัยครับ

เพราะการธุดงค์ คือการขจัดกิเลส ครับ

 :25:

ถูกต้องแล้วคราบบบ.....ตรงใจป้าเป๊เลยอ่ะ....
สภาวะการในปัจจุบัน ควรเดินสายกลางจะดีที่สุด.......ถึงแม้ว่าการเดินธุดงค์จะเป็นข้อวัตรที่เข้มข้นในการกำจัดกิเลสก็ตาม....แต่ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีมากมาย....มีไว้เผื่อจำเป็นต้องใช้ก็ไม่ผิด(ถ้าไม่ใช้จนเกินความจำเป็น)...การใช้เต๊นท์ก็ดูเหตุการณ์ดูความเหมาะสม..เช่นในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวมากๆ ถ้าใช้เต๊นท์ก็จะดีกว่า....หรืออย่างการเดินธุดงค์ในต่างประเทศ(ในประเทศเมืองหนาว)มีหิมะหรือพื้นเป็นน้ำแข็ง ก็คงไม่มีพระธุดงค์องค์ใดเดินธุดงเท้าเปล่าหรอกน๊ะ.....อิอิ  อิอิ  อิอิ...
บันทึกการเข้า

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเดินธุดงค์ ใช้เต๊นซ์ ได้หรือป่าวครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 09:58:54 am »
0


บันทึกการเข้า