ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.?  (อ่าน 2732 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.?
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:16:47 am »
0
พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.?


พุทธประวัติ  คือพระประวัติของพระพุทธเจ้า
มีความจริงตามที่ท่านแสดงไว้ในที่นั้นๆ  เป็นความจริงเช่นเดียวกับประวัติบุคคลในอดีต เหล่าอื่น แต่แปลกที่เรื่องคนอื่นๆ  ในอดีตไม่ค่อย มีใครสงสัย ความมีอยู่ของท่านเหล่านั้น ในฐานะของคน ๆ หนึ่งที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่  ดับไปในอดีต แต่พระประวัติของพระพุทธเจ้ามีหลักฐานยืนยันในด้านต่างๆ  มากมาย คนกลับสงสัยตั้งแง่ต่างๆ  ขึ้นมา จนถึงกลับคนบางพวกมีความเข้าใจและเผยแพร่ความเห็นของตนออกไปว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงบุคคลในจินตนาการเท่านั้น หาได้มีตัวตนอยู่จริงไม่     ทำไมจึงได้มีความคิดเห็นน่ารักน่าเอ็นดูอย่างนี้ก็ไม่รู้ แปลกจริง

เรื่องราวที่เป็นพระประวัติของพระ พุทธเจ้านั้น ผู้ศึกษาหากต้องการจะพิสูจน์ว่า พระองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่แล้ว เราจะต้องศึกษาใน ๓ ด้านด้วยกัน  คือ

ความเป็นจริงในด้านประวัติศาสตร์  ในเรื่องนี้เรามีหลักฐานด้านโบราณคดี  วรรณกรรม  ภูมิศาสตร์  ที่สามารถทำลายความสงสัยได้เป็นอย่างดี ยิ่งบุคคลเหล่านั้นได้ไปให้ถึงดินแดนอันเป็นพุทธภูมิด้วยแล้ว จะไม่ติดใจสงสัยเลยว่า เจ้าชายสิทธัตถะ โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา  แห่งกรุงกบิลพัสดุ์  ได้เสด็จออกผนวชจากราชตระกูลศากยะ บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จนมีคนเคารพนับถือสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนั้น เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ 

เช่นเดียวกับนักศึกษาประวัติศาสตร์ ปรัชญา  เชื่อในความมีอยู่ของ เธเลส อันเป็นปรัชญาเมธีของกรีกในยุคก่อนและยุคใกล้เคียงกับพระพุทธเจ้า ยอมรับถึงความมีอยู่ของ พระนางคลีโอพัตรา  ของ อียิปต์ เล่าจื้อ  ขงจื้อ เม่งจื้อ อันเป็นปรัชญาเมธีของจีน ตลอดถึงคนสำคัญอื่นๆ  ใน อดีตพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เคยเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปในอดีตเช่นเดียวกับคนอื่นๆ  นั้นเอง  ไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องนี้

ความจริงในด้านปาฎิหาริย์  อันเป็นพระคุณสมบัติที่ทรงขจัดสิ่งที่เป็น ปฏิปักษ์ออกไปได้ คือ การที่ทรงขจัดกิเลสและบาปธรรมทั้งปวงได้ จนทำให้ทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์หรือความอัศจรรย์ ๓ ประการ  คือ

๑.อิทธิปาฏิหาริย์  ทรงประกอบด้วยฤทธิ์  คือ ความสำเร็จอย่างอัศจรรย์  บางอย่างเกินกว่าวิสัยของ สามัญชนแต่เมื่อบุคคลได้ศึกษาให้ทราบถึงความหมายและเหตุแห่งฤทธิ์แล้ว  สามารถปรับความเข้าใจในรูปของการเปรียบเทียบกับความสำเร็จ ทางกายของ นักกายกรรม  ยิมนาสติก  ผู้ฝึกมาอย่างดีแล้วก็จะพบว่า คนเหล่านั้นมีความสำเร็จที่เกินวิสัยของสามัญชน เหมือนกัน เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าหรือ พระสาวก เป็นคุณสมบัติเฉพาะของท่านที่ฝึกจิตมาดีแล้ว เช่นเดียวกับพวกกายกรรม ที่ฝึกมาในเรื่องนั้นๆ มาดีแล้วฉะนั้น

๒.อาเทสนาปาฏิหาริย์  เป็นผลของ เจโตปริยญาณ อันผ่านการฝึกอบรมทางจิตมาตามลำดับ  ทำให้พระ พุทธเจ้าทรงรู้ใจ  ทายใจ เข้าใจคนอื่นได้ในแง่มุมต่างๆ   อันเป็นอุปกรณ์ สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระองค์ทรงแสดงธรรมให้คนต่างๆเข้าใจได้  ตามพื้นฐานความรู้ของเขาเหล่านั้น ที่ทรงรู้ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์

๓.อนุสาสนีปาฏิหาริย์  ทรงมีพระธรรมคำสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือ ข้อใดที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นโทษ ก็คงเป็นโทษตลอดไป  ข้อ ใดที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นคุณ ก็คงเป็นคุณตลอดไป  เมื่อ คนนำมาปฏิบัติแล้วจะอำนวยผลให้ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ  พระธรรมคำสอนของพระองค์  จึงสามารถ พิสูจน์ตัวเองได้ทุกเวลาทั้งในอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล


แต่ข้อที่ไม่ควรลืมประการหนึ่ง คือการเรียบเรียงเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น"ความบันดาลใจ ประทับใจ ของผุ้เรียบเรียง มีบทบาทร่วมอยู่ด้วย"คือผู้เรียบเรียงมีความประทับใจ เลื่อมใส จนเกิดเป็นจินตนาการการเห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ  จึงได้เรียบเรียงไว้เช่นนั้น แม้ว่าพระประวัติของพระพุทธเจ้า ผู้เรียบเรียงจะอยู่ในฐานะของ สุตกวี  คือแต่งโดยได้ยินได้ฟัง ได้ศึกษามา และ อรรถกวี  แต่งโดยเนื้อหาความจริงเป็นหลักก็ตาม

แต่มีบางเรื่องบางตอนที่เกิดขึ้นจากแรงบัลดาลใจ อันอาศัยศรัทธาปสาทะแต่งออกมาในฐานะของ จินตกวี และ ปฏิภาณกวี คือ แต่งโดยปฏิภาณของตนปะปนอยู่บ้างเป็นธรรมดา แต่ผู้ศึกษาต้องยอมรับว่า นั้นเป็นความจริงตามแรงบัลดาลใจของกวี ซึ่งจะต้องยอมรับในฐานะนั้นๆ  ในกรณีของพุทธประวัติ ผลงานแบบจินตกวีมีบ้างก็ไม่มากนัก

โปรดเข้าใจว่า เรื่องราวของพระพุทธเจ้านั้น แม้จะตัดเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์ออกหมด ก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนอะไรแม้แต่น้อย เพราะนั่นไม่ใช้รากฐานของพระพุทธเจ้า  แต่ รากฐานที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือ  พระปัญญาคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ  อันพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์  เกื้อกูล และความสุขแก่โลก จากอดีตถึงปัจจุบันและอาจพิสูจน์ตนเองได้ทุกกาลเวลา

ปราะการที่ีสอง ที่ว่าภายหลังประสูติ ทันทีที่พระพุทธเจ้าทรงดำเนินไปด้วยพระบาทได้ ๗ ก้าวนั้นจริงหรือไม่ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?


- ตามพุทธประวัติ  คนที่เห็นเหตุการณ์ในยุคนั้นบอกว่าเป็นเช่นนั้น คนที่เกิดไม่ทันและไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มของพวกที่โดยเสด็จพระนางสิริมหา มายาไปที่ลุมพินีวัน ถ้าไม่คิดว่าตนเองเก่งจนสามารถรู้ว่าอะไรในอดีตจริงหรือไม่จริง ก็ต้องยอมรับว่า  “ ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์ว่าเป็น เช่นนั้น “   ทำไมต้องเป็นเช่นนั้นหรือ?

เรื่องนี้ต้องมองกันในแง่ของหลักฐานใน ด้านต่างๆ  ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้ใน ระดับหนึ่งเช่น

(๑.)สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เมื่อประสูติใหม่ ๆ พระญาติวงค์เห็นเป็น ๔ กร จึงได้ถวายพระนามว่านารายณ์ราชกุมาร เป็นหลักฐานในประวัติศาสตร์ แต่พระกรจริงๆ  มีเพียง ๒ กรเท่านั้น สิทธัตถราชกุมารปรากฎว่าเดินด้วยพระบาทได้ ๗ ก้าวเพียงขณะเดียว  ต่อแต่นั้นก็เป็นทารกที่เดินไม่ได้เช่นเดียวกับทารกทั่วไป  เพราะตอนอสิตดาบสเข้าเยี่ยม พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มพระกุมารให้อสิตดาบสดู   การ เสด็จดำเนินไปได้  ๗ ก้าว    จึงเป็นเรื่องของบุญฤทธิ์       ที่ท่าน เรียกว่า ปุณณวโตอิทธิ คือความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ เป็นคุณสมบัติเฉพาะผู้มีบุญเท่านั้น

(๒.)เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นอัจฉริยบุคคล ที่สร้างสมอบรมบารมีมาเป็นพิเศษ การเสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว จึงอาจเป็น กัมมวิปากชาอิทธิ คือความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมที่เรียกว่า กรรมโยนิ คือ กุศลกรรมอย่างสูงมาเป็นกำเนิน ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ขึ้น อันเป็นเรื่องเฉพาะของท่านที่เป็นอัจฉริยบุคคล ซึ่งผู้มีปัญญาอาจพิจารณาเทียบเคียงกับอัฉริยบุคคลในปัจจุบันได้เป็นอันมาก เช่น


- ด.ช. กิมอี้ชุน ชาวเกาหลี อายุ ๖ ขวบ พูดได้ ๖ ภาษา อายุ ๖ เดือน ฟันเต็มปาก
- ด.ญ. สกุลตลาเทวี ชาวอินเดีย ด.ช.เงา ชาวเกาะสมุย สามารถบวกเลขได้เร็วกว่าเครื่องคิดเลข เมื่ออายุได้เพียง ๖ ขวบ
- คุณสมเถา สุจริตกุล อ่านเอนไซโครปีเดียบริตานิกาจบ เมื่ออายุ ๕ ขวบ
- คุณทิพย์สุดา สุนทรเวช อ่านภาษาไทย อังกฤษ ได้คล่องเมื่ออายุ ๑๗ เดือน เรียน ป.๓ ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เมื่ออายุ ๒ ขวบ
- และเด็กแขกอีกคนหนึ่ง ที่สามารถอธิบายไตรเพทได้เมื่ออายุเพียง ๒ ขวบกว่า ๆเป็นต้


คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ยังแสดงความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ  ออก มาได้ แล้วทำไมเล่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นอัจฉริยะบุคคลที่ไม่มีใครเหมือนจะไม่เหมือนใครในบางเรื่องไม่ได้เชียว หรือ?

(๓.)เป็นพุทธวิสัยคือวิสัยของคนที่จะเป็น พระพุทธเจ้าและองค์พระพุทธเจ้า เรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์หลายเรื่อง ที่เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ด้วยความคิด พิจารณา ใครขืนจะรู้เรื่องนี้ให้ได้ด้วยการคิดเอาเอง ทั้งๆ  ที่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว อาจกลายเป็นคนบ้าไปได้ง่ายๆ  เพราะเป็นอจินไตย คือเรื่องที่ไม่ควรคิด ซึ่งท่านแสดงไว้ ๔ ประการ คือ

-พุทธวิสัย     เรื่องอันเป็นวิสับของพระพุทธเจ้า
-อิทธิวิสัย     วิสัยแห่งท่านที่บรรลุฤทธิ์ ในชั้นต่างๆ
-กัมมวิปากวิสัย    วิสัยแห่งวิบากกรรม
-โลกจินตา    ความคิดเรื่องกำเนิด ความเป็นมาของโลก


แต่ข้อที่ไม่ควรลืม  คือ บัณฑิตในพระพุทธศาสนาไม่ได้ติดใจในเรื่องเหล่านี้ว่าจะเป็นจริงๆ  หรือไม่ เพราะบัณฑิตย่อมนับถือพระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงประกอบด้วยพระคุณดังกล่าว และ  พระพุทธคุณที่สำคัญคือการที่พระองค์ทรงประกอบด้วยพระมหา กรุณา สั่งสอนธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แก่ชาวโลก และพระธรรมนั้นสามารถรักษาคุ้มครองผู้ปฏิบัติตามได้จริง ชาติกำเนิน   พระรูปกาย  ตลอดถึงจะดำเนินได้ ด้วยพระบาท ๗ ก้าวเมื่อประสูติหรือไม่ ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ

แต่นั้นเป็นข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์  ที่ท่าน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้เห็นและบอกกล่าวสืบต่อกันมา ผู้ฉลาดจึงไม่บังอาจปฏิเสธในเรื่องที่ตนเกิดไม่ทัน  และ เป็นพุทธวิสัย เพราะไม่เห็นว่าจะได้อะไรขึ้นมา นอกจากจะเป็นการเพิ่มมลทินใจ คือความสงสัยขึ้นภายในจิตใจให้มากขึ้น และเป็นการเสียเวลาในการพัฒนาจิตของตนไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์.

ในพระไตรปิฎกยังแสดงไว้ชัดเจนถึงคำตรัส ของพระพุทธองค์ คือพระองค์ทรงเล่าความเป็นมาของพระองค์เองนับตั้งแต่ครั้งที่เสวยชาติอยู่ใน สวรรค์ชั้น ดุสิต จนถึงวันพระประสูติว่า
 
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่ เทพชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา  ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ได้ ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์ ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมน หาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิอานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกันสัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น รู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า !

ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเรา ก็มีอยู่เหมือนกัน'' ดังนี้ และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็หวั่นไหว สั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ เมื่อใดโพธิสัตว์ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดาเมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสามแห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.
ข้อความสีแดงเลือดนกข้างบน คัดจาก พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (พุทธทาส)



จะสังเกตได้ว่าพระองค์ทรงเน้นย้ำถึง ความมีสติอันสมบูรณ์ของพระโพธิสัตว์ ว่ารู้ตัวทั่วพร้อมมิใช่คนหลงสติหลงตายมาเกิดดังเช่นสัตว์ทั้งหลายทั่วไป

๓.พระพุทธเจ้าเมื่อประสูติใหม่ๆ พราหมณ์ทำนายว่ามีคติเป็นสอง คือถ้าอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช   หากออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก   ทำไมพระองค์จึงเสด็จออกผนวชเสียเล่า ?


-ไม่ให้พระองค์เสด็จออกผนวช แล้วจะให้ทำอะไรล่ะ   หรือว่าต้องการให้พระองค์เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ  อันที่จริงเรื่องนี้น่าคิดเหมือน กันนะ หากเราจะพูดว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จมาถึงทางแยกพอดี  คนเรานั้นเมื่อถึงคราวที่จะต้องเลือก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม  เราควรตอบคำถามให้ได้ อย่างน้อย ๓ ข้อ อย่างในกรณีของพระสิทธัตถราชกุมารก็เหมือนกัน 

พระองค์อาจตอบคำถามได้ ๓ ข้อแล้ว คือ จะไปทางไหน?  ไปทำไม ?  ได้ประโยชน์อะไร ?  จะเห็นว่าประโยชน์เป็นที่สำคัญที่สุด เพราะ คุณค่าอันแท้จริงของความเป็นในฐานะต่างๆ นั้น  คือ ประโยชน์ที่ตนจะทำให้แก่ตนเองและแก่คนอื่น

แม้เราจะตัดประเด็นที่พระพุทธเจ้า ทรงสร้างบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าโดยตรงออกไปก็อาจได้ในหลักในการเปรียบเทียบได้ว่า  การเป็นพระพุทธเจ้าสามารถทำประโยชน์ได้กว้าง ขวางมาก  จนพระเจ้าจักรพรรดิไม่อาจเปรียบเทียบได้ เลย ไม่ว่าประโยชน์ในระดับใดก็ตาม  คือ

-ประโยชน์ในปัจจุบัน ฐานะของพระพุทธเจ้าทำได้เต็มที่ทั้งเพื่อพระองค์เองและแก่คนอื่นในขอบข่าย ที่กว้างไกลตลอดกาลอันยาวนาน แต่พระเจ้าจักรพรรดิจะทำให้ได้ขอบข่ายจำกัด  คือในดินแดนของพระองค์  และเมื่อ พระองค์สวรรคตไปแล้วผลงานทั้งหลายจะดำรงอยู่ได้ไม่นานแล้วจะหายไป

-ประโยชน์ในภายหน้า  พระพุทธเจ้าทรงยุติการเวียนว่ายในสังสารวัฎได้  ทรงสอนให้คนอื่นได้ประโยชน์ ในระดับต่างๆ  จากความสุขในมนุษย์จนถึงพรหมโลก พระเจ้าจักรพรรดิจะทำได้เพียงช่วยให้คนได้สมบัติในสวรรค์เท่านั้น

สำหรับพระองค์เองไม่แน่ว่าจะได้สวรรค์หรือไม่  เพราะ กว่าจะเป็นจักรพรรดิได้ ต้องเหยียบย้ำไปบนกองเลือดและชีวิตคนเป็นอันมาก แม้ขณะที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ ก็อาจต้องทำบาปอีกมาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า การบรรลุโสดาบั่ตติผลเป็นโสดาบัน ดีกว่าการเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะพระโสดาบันท่านมีคติแน่นอน จะเกิดอีกไม่เกิด ๗ ชาติก็บรรลุอรหัตนิพานได้ แต่สังสารวัฏของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่อาจกำหนดได้ว่าเมื่อไรจะสิ้นทุกข์

จากหนังสือนักศึกษาสงสัย พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) วัดบวรนิเวศวิหาร
ที่มาhttp://www.sathanimahaprash.com/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=17&title=%BE%D8%B7%B8%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4+%C1%D5%A4%C7%D2%C1%A8%C3%D4%A7%E0%BE%D5%C2%A7%E4%C3%2E%3F

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2010, 10:19:37 pm »
0
ศิษย์วัดบวร อ่านแล้ว ก็ือืม ....

RDN เปิดเสียงบรรยายท่านด้วยนะ นี่.....
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา