ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตั้งใจ ปฏิบัติบัติ ภาวนา แล้ว ทำไม ไม่สำเร็จ เสียทีเป็นเพราะอะไร ?  (อ่าน 6653 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบปัญหาจากเมล จากโยม ( สงวนชื่อไว้ )

ปุจฉา

 คือโยม( สงวนชื่อไว้ )ได้ปฏิบัติกรรมฐาน มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว มีความปรารถนาปฏิบัติภาวนาด้วยความตั้งใจ ไปตามสำนักที่มีการสอนต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง อยู่ร่วมปฏฺบัติอย่างน้อย ก็ 3 วัน สูงสุด 15 วัน แต่โยมมีปัญหาตรที่ทำไมถึงไม่สำรเร็จเสียที ไม่ว่าจะเป็น ฌาน หรือ ญาณ คือมีความเข้าใจและมีสติอยู่ แต่หลายครั้งก็จะพ่ายแพ้แก่กิเลส เช่นความง่วง ความฟุ้งซ่าน บางครั้งก็เครียดจนนอนไม่ได้ กินไม่ได้เลยคะ รบกวนช่วยตอบให้ด้วยนะคะ


วิสัชชนา
นับว่าเป็นคำถามที่มีประโยชน์ แก่เพื่อนที่ปฏิบัติ ทุกระดับจึงขออนุญาตมาตอบในที่นี้เป็นการส่วนรวมกันเลยนะจ๊ะ เพราะว่าไม่ได้เป็นคำถามในแนวปฏิบัติภาวนาเชิงลึก


    สรุปการปฏิบัติภาวนา ควรคำนึง เรื่องของหลักภาวนา ว่าอะไรบกพร่อง
    หลักภาวนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสแสดงไว้เรียกว่า มรรค คือข้อปฏิบัติ

   1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง กล่าวว่า ความเห็นถูกต้องนั้นเป็น อรุณรุ่งของการปฏิบัติธรรม และเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อ การภาวนา ดังนั้นเริ่มตรวจสำรวจทีละข้อ นะจ๊ะ

           เห็นอย่างไร ?
       เห็นดังนี้ คือ เห็น ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความรันทด ความหดหู่ ความสิ้นหวัง ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจ เป็นต้นทั้งหลายเหล่านี้ คือ ความทุกข์

       บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาว่า ทุกข์มีอยู่ที่ไหน ? ทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องการ หรือไม่ต้องการ แล้วใครเป็นผู้ทุกข์ เมื่อทุกข์แล้ว ดีหรือไม่ดี ควรทำอย่างไร ?

      เมื่่อเข้าใจ ความทุกข์ ก็จะวางเป้าหมาย คือ การละจากทุกข์ การทำลายทุกข์ การขจัดทุกข์ การปราศจากทุกข์ การบรรเทาทุกข์ ทั้งหมดนี้เรียกรวม ๆ ว่า เป้าหมายของการภาวนา

      ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มาภาวนา ต้องกำหนดส่วนนี้ก่อน  ถึงจะไปวัดผลของการภาวนากันได้ ว่าได้หรือไม่ได้ เพราะถ้าหากท่านทั้งหลายมาภาวนาเพียงตั้งความคิดเป็น เพีียงแฟชั่น หรือ ซีซั่น คือปฏิบัติธรรมภาวนาเป็นแบบเห่อ และ เป็นช่วง ๆ ถ้าปฏิบัติภาวนาอย่างนี้ไม่สำเร็จง่าย ๆ เพราะปฏิบัติภาวนาด้วยตัณหาเป็นที่ตั้ง หลาย ๆ ท่านจึงมักชอบเทศกาลในการปฏิบัติภาวนา ทำกันเป็นช่วง ๆ แท้ที่จริงเพราะไม่เข้าใจตัวทุกข์ นี้แหละจึงไม่สามารถภาวนากันได้ทุกเวลา

      ถ้าเราเข้าใจทุกข์ ก็จะเ้ข้าใจ 2 เรื่อง คือ กาย และ ใจ หรือ ขันธ์ 5 เพราะทุกข์มีเกิดได้ เพราะมี กายใจ และ ขันธ์ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสรุป ขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ ดังนั้นเข้าใจทุกข์กันกันก่อน จะดีในการภาวนา เพราะเมื่อเข้าใจก้จะเห็นธรรม เป้าหมายในการภาวนา

      ที่นี้คำว่า ทุกข์ ในศาสนานี้ สรุปไว้ 2 ประการ
       1.ทุกข์ที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไร ได้ เพราะเป็นทุกข์ที่ต้องมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เช่น ทุกข์เพราะความหิว ก็ต้องทาน ต้องกิน ต้องดื่ม เพื่อบรรเทาความหิว เมื่อทานเข้าไปแล้ว ก็ยังมีทุกข์ตามมาอีก คือต้องถ่าย ทานผิดก็ทุกข์เพราะเรื่องการทาน รวมแม้กระทั่งต้องหนื่อย ลำบาก ลำบนใน การหาชองทาน ของกิน ของดื่ม เป็นต้น ทุกช์อย่างนี้ไม่ิสิ้นสุด ตามใดที่ยังมีชีวิตอยุ่ ก็ต้องทุกข์ แม้ความทุกข์เหล่านี้สงเคราะห์ ลงไปในความทุกข์ ของการเกิด การแก่ การเจ็บและ การตาย เป็นไปตามกฏของธรรมชาติอย่างนั้นเอง

       ทุกข์เหล่านี้จัดการไม่ได้ พระพุทธเจ้าพระองค์ ก็ทรงยายามจัดการเรื่องนี้ ในพระดำริที่ทรงออกผนวชในครั้งแรก ก็เพราะมีปณิธาน เพื่อจะได้ ไม่เกิด ไม่แก ไม่เจ็บ และ ไม่ตาย ภาษาชาวโลกช่วงนั้นใช้คำว่า หาหนทางสู่ความเป็น อมตะ คำนี้จะใช้กันมาก ไม่ใช่ว่าใช้คำว่า นิพพาน คนในครั้งพุทธกาลจึงพยายามแสวงหาวิธี เพื่อหยั่งลงสู่ความอมตะ เพราะเชื่อว่า ความอมตะ จะทำให้พ้น จากความเกิด ความแ่ก่ ความเจ็บ และ ความตายได้ นี่เป็นเส้นทางที่เรา เหล่าพุทธสาวก ควรเจริญรอยตาม

       ดังนั้น ใครมีความทุกข์ อยู่ ก็จะปฏิบัติธรรมได้ง่าย เข้าใจธรรมได้เร็ว ไม่เหมือนคนมีความสุข อันนี้จึงไม่สนใจธรรมะ ดังนั้นท่านที่ไปเผยแผ่ธรรม ถ้าไปสอน ไปนำคนที่มีความสุขโดยตรงจึงทำได้ยาก แต่มนุษย์ทุกคนจะมากจะน้อย ก็มีความทุกข์กันทั้งนั้นแหละ แต่สภาวะธรรมชาตของจิตจะปล่อยวางได้ขนาดไหน ?

      2.ทุกข์ที่จัดการได้ บริหารได้ เรียกว่าทุกข์ที่มี ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ เเป็นตัวเหนี่ยวนำ ทุกข์อย่างนี้เป็นทุกข์ที่จัดการได้ และตรงเป้าหมายในการภาวนา

      อ่านมาอย่าพึ่งหนักใจ นะ เพราะอย่างไรเสีย ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรจะเข้าใจ เป็นสภาวะธรรมที่ควรจะกำหนด และเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

    ยังไม่จบ วันนี้เท่านี้ก่อน นะจ๊ะ

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 09, 2012, 02:22:21 pm โดย pornpimol »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หลายท่าน มักจะพูดว่า ญาณสำเร็จยาก เข้าใจยาก แต่อันที่จริงแล้ว เพียงแค่ท่านเริ่ม รู้จักทุกข์ ท่านก็สำเร็จ ญาณ 3 ประการเบื้องต้น มีอะไรบ้าง มีดังนี้

  1. สัจจญาณ การเห็นความจริงของทุกข์ ว่าทุกข์นี้เป็นอย่างนี้ เมื่อทุกข์แล้ว ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ความจริงของทุกข์ เป็นอย่างนีี้
  2. กิจจญาณ การกำหนดเห็นทุกข์ ว่าทุกข์นี้มีขอบเขตเท่าไหร่ หนักเบาอย่างไร การกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้นับว่าสำคัญ เหมือนคนเป็นแผล ก็ต้องรู้ว่า แผลนี้ลึกตื้นขนาดไหน หนักเบาอย่างไร เพื่อประโยชน์แก่การรักษา เพราะถ้าไม่กำหนดรู้ทุกข์ ว่าทุกข์มีปริมาณเท่านี้ ขอบเขตเท่านี้ เราก็จะเสียเวลาในการเยี่ยวยารักษา ดังนั้นเมื่อรู้จักทุกข์แล้ว ว่าต้องคร่ำครวญอย่างนี้ โศรกเศร้าอย่างนี้ หดหู่อย่างนี้ ไม่สบายอย่างนี้ ไม่สบายใจอย่าง รำ่ไห้อย่างนี้ เป็นต้นแล้ว ขอบเขตที่ควรจะทำก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น
  3. กตญาณ คือการกำหนดรู้ว่าทุกข์นั้น เราได้กำหนดรู้แล้ว ว่ามีสภาพอย่างนี้ มีปริมาณอย่างนี้ มีขอบเขตอย่างนี้

     ถึงจะกระจาย เรื่องญาณ ไว้ 3 ประการ แต่โดยธรรมชาติของคน ปุถุชนจะไม่สามารถ กำหนดรู้ได้ในความทุกข์ ผู้กำหนดรู้ได้ ต้องมีบารมีเพื่อความเป็นพุทธะ มีความปรารถนา รู้ละปล่อยวาง มาตั้งแต่อดีตชาต เป็นผู้ปรารถนา สันติธรรม อมตะ อมฤตธรรม นิพพานธรรมมาก่อน จึงจะสามารถกำหนดรู้ทุกข์ในเบื้องต้น

     จะเปรียบทุกข์ ให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ทุกข์เปรียบเหมือนอาการป่วย เมื่อเราป่วย ก็ส่งผลให้ กายเจ็บ ขัดข้อง ทำไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ การกำหนดรู้ทุกข์ ก็คือ การบ่งชี้ อาการเจ็บ เช่น ปวดหัว เจ็บคอ ปวดกระเพาะ  ปวดแผล ปวดฟัน ดังนั้นอาการป่วยก็ต้องรู้จุด การรู้จุดเป็นิสิ่งที่ควรจะรู้

      มีหลายท่านเคยสนทนากัน บอกกับอาตมาว่า ผมทุกข์จังเลย ทุกข์มาก ก็เลยย้อนถามว่า ทุกข์อย่างไร ทุกข์เรื่องอะไร ก็นั่งฟังเขาพูดความทุกข์ขึ้นมา เป็นแม่น้ำทั้ง 5 ทุกข์ที่เขาพรั่งพรูออกมานั้น พูดไปแล้วไม่น่าจะทุกข์  ทุกข์เรื่องอะไร ? สรุปแล้วเขาทุกข์ว่า ไม่มีใครรักเขา ลูกก็ไม่รัก เมียก็ไม่รัก พ่อแม่ก้ไมรัก เอาว่าไปนั่น และเขาก็พยายามที่จะแก้ไข ให้เกิดความรัก แต่สมุฏฐาน นี้ผิดที่เขาทุกข์จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องนี้

      ยกตัวอย่างให้ฟัง แต่บอกรายละเอียดให้ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวที่มาปรึกษาธรรมกัน ดังนั้นการกำหนดทุกข์ได้ ก็มีญาณเกิดขึ้น ญาณที่เกิดขึ้นเรียกว่า ญาณปริวัฏ คือ ญาณชุึดที่ 1 ในอริยสัจจะ

      ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย กำหนดรู้ทุกข์ เสียก่อน ถ้าคิดจะภาวนาต้องกำหนดรู้จากทุกข์เสียก่อน

      ที่นี้จะกระจาย ทุกข์ ออกมาให้เป็นแนวทางของการกำหนดรู้ก่อน มีอยู่ 10 ประเภท


ทำไม จึงบอกว่า การเกิดเป็นทุกข์ คะhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6253.msg23200#msg23200

[/]

ทุกข์
       1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง

           (ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์)
       2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฎขึ้นหรืออาจปรากฎขึ้นได้แก่คน
           (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)
       3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา,
           ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกาย คือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)
           แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน
       ได้แก่ หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ


ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย,
       ทุกข์จร ได้แก่ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


พาหิรทุกข์ ทุกข์ภายนอก

วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ



วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ

สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา
       ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ


สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน, ทุกข์กำกับ ได้แก่ทุกข์ที่พ่วงมาด้วยกับผลอันไพบูลย์ มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น แต่ละอย่างย่อมพัวพันด้วยทุกข์

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม,
       ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา


อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เกี่ยวกับการแสวงหาอาหาร, ทุกข์ในการหากิน
       ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ



 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2012, 11:25:58 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กตญาณ ใน ทุกข์ มีความสำคัญอย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 11:41:40 am »
0
 3. กตญาณ คือการกำหนดรู้ว่าทุกข์นั้น เราได้กำหนดรู้แล้ว ว่ามีสภาพอย่างนี้ มีปริมาณอย่างนี้ มีขอบเขตอย่างนี้

  ท่านทั้งหลาย อย่ามองข้าม ญาณในการกำหนดทุกข์ และกำหนดรู้แล้วในทุกข์ ญาณที่ 3 กตญาณ เป็น ญาณภาวนาในทุกข์

   กต หมายถึงสิ่งที่ได้กระทำแล้ว
   ญาณ คือ รู้แจ้ง

   ดังนั้น กตญาณ หมายถึงความรู้แจ้งในสิ่งที่ได้ทำแล้ว ดังนั้นโจทย์ก็คือ ทุกข์ แต่ทุกข์นี้ไม่มีใครอยากทำหรอก ดังนั้น กตญาณ หมายถึงการกำหนดรู้ยอมรับ ว่าเราทุกข์แล้ว เราเป็นผู้มีความทุกข์อย่างนี้ เราจึงเป็นผู้เสวยทุกข์อ การกำหนดรู้ต้องมีสติ บางคนมีทุกข์ แต่กำหนดรู้ไม่ได้ ญาณไม่เกิด ดังนั้น กตญาณ มีความสำคัญมาก ๆ เพราะกต ญาณ เป็นผลมาจากกิจจะัญาณ กิจจะญาณ คือการภาวนาเบื้องต้นนั่นเอง

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2012, 12:44:12 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ทบทวน ทุกข์ กันหน่อย เพื่อตั้งเป้าหมายให้ถูกทาง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 12:17:41 pm »
0
ถึงประเด็นคำถาม จะกล่าว ได้มีการปฏิบัติภาวนากันมาเป็น เวลา สิบกว่าปี แต่ไม่ได้หมายความ โยมยังไม่ได้กำหนดรู้ในทุกข์ นะจ๊ะ แต่ในที่นี้หมายถึง การกำหนดขอบเขตของทุกข์ยังไม่ได้ จึงทำให้เป้าหมายในการภาวนานั้น ไม่ชัดเจนกำลังการภาวนาจึงไม่เพียงพอต่อการรู้แจ้งเห็นจริง

    ในสายการภาวนา ถ้าผู้ใดกำหนดรู้ทุกข์โดยตรง ผู้นั้นแสดงว่ามีทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วประจำดังนั้น การภาวนาจึงมุ่งที่จะหักล้างทุกข์โดยตรง เป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าคนผิดหวัง เป็นทุกข์ ไม่สมหวังเป็นทุกข์ ช้ำชอก อกหัก รักคุด ประการต่าง คนเหล่านี้ก็จะมุ่งไปที่วัดแล้วภาวนาเพื่อหักล้างทุกข์กันตรง ๆ เลย ซึ่งถ้ามีทุกข์มาอย่างนี้ เมื่อมาภาวนาจึงต้องฝึก สติ กับ ปัญญา เข้ามากไว้ เพื่อให้ใจคลายจากทุกข์ที่มีอยู่ในเบื้องต้นก่อน

    ซึ่งบางท่าน หลาย ๆ ท่านก็จะบอกว่า คลายทุกข์ได้ หักล้างทุกข์ได้ พอกลับบ้านไปก็เป็นทุกข์กลับมาอีกแล้ว และก็ทุกข์ในเรื่องเดิม ๆ แบบเก่า ๆ

     ส่วนมากที่พบก็คือ ความน้อยใจ เท่าที่คุยสนทนากับหลาย ๆท่านที่มาภาวนาด้วยกัน ก็จะมีทุกข์คือ ความน้อยใจ เป็นส่วนใหญ่ น้อยใจว่าเรายากจน น้อยใจว่าเจ้านายไม่ชอบ น้อยใจลูกไม่ดี น้อยใจพ่อแม่ไม่รัก น้อยใจครูอาจารย์ ไม่ให้ความสำคัญ น้อยใจภรรยาไม่เอาใจ น้อยใจสามีชอบเที่ยวไม่ห่วงลูกห่วงตน น้อยใจที่มีความรู้น้อย น้อยใจ อีก หลาย ๆ เรื่อง รวมความเรียกว่า ทุกข์ เพราะน้อยใจ

    อันดับที่สองที่พบก็คือ ทุกข์ เพราะเสียใจ เสียใจที่ลูกติดยาเสพติด เสียใจถูกพี่้น้องกันโกงสมบัติ เสียใจที่ค้าขายแล้วขาดทุน เสียใจที่สามีภรรยานอกใจ เสียใจที่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย เสียใจที่คนรักตายจากกันไป

    อันดัยที่สามทุกข์เพราะไม่ชอบ ไม่ตรงใจ อันนี้ซับซ้อน มีอยู่จำนวนพอสมควร และจะฉลาดด้วย

  แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็คือ ไม่รู้ตัวว่าทุกข์ รู้แต่ว่า ฉันเสียใจ ฉันน้อยใจ ฉันไม่ชอบ เขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็คอยแต่จะพึ่งโชค วาสนา จังหวะ โอกาสที่ ความเสียใจ น้อยใจ และสิ่งที่ไม่ชอบ จากไป หรือ ตัวเองจากไปเท่านั้นเอง แท้ที่จริงไม่ได้กำหนดรู้ความจริงของทุกข์ ไม่ได้กำหนดรู้ว่าทุกข์อย่างนี้ ไม่ได้กำหนดรู้แจ้งในทุกข์ กันเลย จึงทำให้เป้าหมายการภาวนา ผิดพลาด หลุดจากเป้าหมายที่แท้จริง

    ดังนั้นก่อนที่จะได้มากล่าวเรื่องต่อไป ก็ขอให้ท่านที่ถามตอนนี้ได้ทบทวน ความทุกข์ และรู้จักทุกข์ให้มากขึ้น เพราะคุณธรรมแรกในพระพุทธศาสนานั้น ก็คือการรู้จักทุกข์ นั่นเอง

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2012, 12:45:12 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ดังนั้นก่อนที่จะได้มากล่าวเรื่องต่อไป ก็ขอให้ท่านที่ถามตอนนี้ได้ทบทวน ความทุกข์ และรู้จักทุกข์ให้มากขึ้น เพราะคุณธรรมแรกในพระพุทธศาสนานั้น ก็คือการรู้จักทุกข์ นั่นเอง

 น่าจะยังไม่จบเรื่องนี้ ใช่หรือไม่ครับ
  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ทำไม ต้องกำหนดทุกข์ ไม่กำหนดทุกข์ ได้หรือไม่ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 10:10:41 am »
0
ก็มีคำถามเข้ามา ในเรื่องนี้
 
   ทำไมต้องกำหนดทุกข์ ก่อน ไม่กำหนดได้หรือไม่ ภาวนาเลยได้หรือไม่ ?

   ตอบ ว่า ไม่ได้ นะถ้าไม่กำหนดทุกข์ ก่อน ก็จะทำให้เกิดการภาวนาที่มีผลไม่ได้ เพราะไม่มีเป้าหมาย การกำหนดทุกข์ ก็คือ การกำหนดรู้ว่า มีทุกข์ เพื่อให้เกิดเป้าหมายในการภาวนา หากเราไม่ภาวนาโดยไม่มีเป้าหมาย มีอยู่ 2 ประการ คือ
           1. ภาวนาแบบเทวดา คือไม่ปรารถนา มรรคผล นิพพาน
           2.ภาวนา แบบพระอรหันต์ คือ ไม่ต้องภาวนาแล้ว
       ดังนั้นการไม่กำหนดทุกข์ ก็ไม่มีเป้าหมาย
       เหมือนคนไม่เจ็บไข้ ได้ป่วย จะไปหาหมอ กินยา เพื่ออะไร ?

     ดังนั้น การกำหนดรู้ทุกข์ จึงมีความจำเป็นสำหรับ ผู้ภาวนาธรรม

     
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รออ่านเรื่องนี้ ต่อครับ เพราะมีสาระที่ผมจับใจเบื้องต้นแล้ว ครับ เรื่องของการกำหนดรู้ทุกข์ นี้ผมกำลังพิจารณาตามอยู่ครับ ต้องการให้พระอาจารย์ สาธยายให้เกิดความเข้าใจ และเห็นตามเพิ่มขึ้นครับ

  อนุโมทนาครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ทำไมต้องกำหนดทุกข์ และการกำหนดทุกข์เกี่ยวข้องอย่างไร กับการปฏิบัติกรรมฐาน

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8259



บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา