ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบว่า การฝึกอานาปานสติ ต้องผ่านขั้นตอนตามลำดับหรือไม่ ครับ  (อ่าน 6759 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รีบอร์น

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 81
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๔๑๐] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
            จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วย
สามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร
ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตต-
*สังขาร นี้เป็นจิตตสังขาร ฯ
            จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
            เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อม
ตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ

 [๔๑๒] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
รู้แจ้งจิตหายใจเข้า อย่างไร ฯ
            จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ
มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะ
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต  ฯ
            จิตปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า
ยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้
วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ
สติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น  เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ

[๔๑๙] โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ
เท่าไร โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ ๘ ฯ
            โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน โทษในอวิชชาย่อมมีด้วย
อรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา ๑ ด้วย
อรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑ โทษในอวิชชาย่อมมี
ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ
            อวิชชาย่อมดับไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน อวิชชาย่อมดับด้วยนิทาน
ดับ ๑ ด้วยสมุทัยดับ ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยอาหารดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑
ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยญาณเกิดขึ้น ๑ ด้วยนิโรธปรากฏ ๑ อวิชชาย่อมดับ
ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ ฯ
            บุคคลเห็นโทษในอวิชชาด้วยอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะใน
ความดับแห่งอวิชชาด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น
ดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
พิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า ฯ
            [๔๒๐] โทษในสังขารย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สังขารย่อมดับด้วยอาการ
เท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณย่อมมีด้วยอาการเท่าไร วิญญาณย่อมดับด้วยอาการเท่าไร
โทษในนามรูปย่อมมีด้วยอาการเท่าไร นามรูปย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในสฬา-
*ยตนะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สฬายตนะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร  โทษในผัสสะย่อม
มีด้วยอาการเท่าไรผัสสะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในเวทนาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร
เวทนาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในตัณหาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ตัณหาย่อมดับ
ด้วยอาการเท่าไร โทษในอุปาทานย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อุปาทานย่อมดับด้วยอาการ
เท่าไร โทษในภพย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ภพย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน
ชาติย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชาติย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะ
ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและ
มรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘ ฯ



  จากในเนื้อหาพระสูตรนั้น เป็นการฝึกอานาปานสติ ในส่วน  จิตตานุปัสสนา ครับ ถ้าหากมีผู้กล่าวว่าการฝึก สติปัฏฐาน สามารถฝึกได้ทุกส่วน จะฝึกส่วนไหนก่อนก็ได้ ดังนั้นอยากถามความเห็นพระอาจารย์ว่า ถ้าเราฝึกอานาปานสติ ในขั้น จิต คือขั้น ที่ 9 - 12 เลยได้หรือไม่ ครับ

 
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นคำถามที่ดี มาก นะจ๊ะ คำถามนี้ถึง แม้จะต้องอ่านพระสูตรที่นำมาอ่าน ก็นับว่าเป็นคำถามควรแก่การตอบเป็นอย่างมาก

      คำถามที่ว่า ถ้าเราจะปฏิบัติ อานาปานสติ โดยเริ่มที่จิต ได้หรือ ไม่ ? คิือขั้นที่ 9 - 12 ตามแบบนัยของ สติปัฏฐาน 4 อันนี้ก็ขอตอบรวมไปถึง เวทนา 5 - 8  และ ธรรม 13 - 16 เลยนะจ๊ะ เพราะคำถามก็เป็นแบบเดียวกัน

     ขอตอบแบบนักปฏิบัติภาวนาทั่วไป ก่อนก็แล้ว กันนะจ๊ะคำตอบ มีอยู่ 2 ประการ คือ 1 ได้  2 ไม่ได้ทำไมจึงตอบอย่างนี้ เหมือน โกหกเลยนะ คำถามเดียวตอบได้สอง สถานะ เลยอย่างนี้ก็ไม่มีผิด กำลังคิดอย่างนี้กันอยู่หรือไม่ ?คำตอบที่ 1 คือ ได้ ( เอาใจพวกปัญญา หน่อย )  สติปัฏฐาน 4 นั้น สามารถปฏิบัติ ได้แยกหมวดได้  ดังนั้น ถ้าเทียบกับ อานาปานสติ เป็น สติปัฏฐาน 4 แล้ว ก็ต้องสามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน แต่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เอาแก่นสาร มรรค ผล นิพพาน โดยตรงต้องขึ้นอยุ่กับ เหตุ ปัจจัย หลายประการ อาตมามีเพื่อน ผู้สูงอายุ ทั้งพระ และฆราวาส ที่ดำเนินจิตฝึกสติปัฏฐาน 4 กันมาตั้งแต่ ปี 2527 นี้ก็ 2555 แล้ว บางท่านก็มาสารภาพกันตรง ๆ ว่า ต้องทำความเพียร กันต่อไปอีกจนชีวิตจะหาไม่ ซึ่ง อาตมาเอง ก็ยังต้องนึกไปถึงว่า หากผู้ปฏิบัติภาวนา สติปัฏฐาน พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านรับรองไว้ว่า ผู้ปฏิบัติอย่างเร็ว ก็เจ็ดวัน อย่างช้า ก็ เจ็ดปี
     
     เอ อย่างนี้ แล้วพวก 20 กว่าปีนี้ หมายความว่าอย่างไร ? ดังนั้น คำว่า ได้ ก็ต้องดู สถานะผู้ภาวนาด้วย ว่าสั่งสมอะไรมาบ้าง นั้นก็คือ เหตุปัจจัย ในการภาวนา ขาดอะไรอยู่ มิฉะนั้น ก็จะเข้า ปฏิปทา 4 ต้องใคร่ครวญให้ดี

       ส่วนตัวอาตมาไม่สนับสนุนการข้ามขั้นตอน นะจ๊ะ

       ที่นี้ ก็ตอบว่าไม่ได้ ไม่ได้เพราะเหตุไร มาอ่านกันต่อ
     
       สติปัฏฐาน 4 มีอารมณ์ แตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่ รู้กาย ระงับกายสังขาร รู้เวทนา ระงับเวทนา รู้จิต ระงับจิตสังขาร รู้ธรรม ปล่อยวางในธรรมารมณ์ มีหลักปฏิบัติอย่างนี้ แต่อานาปานสติ นั้น กับมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ตามขั้นตอนการที่จะดำเนินจิตไปได้ ต้อง อาศัย นิมิต 3 ประการ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และ นิมิต ดังนั้น ถ้าไม่ได้แจ่มแจ้งชัดเจน ใน นิมิต 3 ประการนี้แล้ว จะไปปฏิบัติขั้นต่อไปไม่ได้เลย ถึงไปปฏิบัติ ในขั้นอื่น ๆ ก็เหมือนท่องจำ ไม่ได้เข้าถึง ไม่รู้รส ไม่รู้อารมณ์ ทำเข้าไป ก็ไม่ทราบ ดังนั้นในอานาปานสติ นั้นข้ามขั้นตอนไม่ได้ เพราะอานาปานสติ มีเครื่องผูก คืิอ นิมิต ทั้ง 3 ประการนี้ เองที่นี้ จึงทำให้ไม่สามารถข้ามขั้นตอนไปได้ เพราะไม่แจ้งในอารมณ์ คือ นิมิต ทั้ง 3 นั่นเอง

       ขอตอบในแนวทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับบ้างนะ ขอตอบว่า ไม่ได้   

      เนื่องด้วย ในวิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนพระพุทธานุสสติ ก่อน จึงไป อานาปานสติ นะจ๊ะ ถึงจะขึ้นวิปัสสนา ก็ต้องผ่านขั้นตอนที่ชัดเจนทางจิต ด้านสมาธิ ในระดับอุปจาระฌานก่อน ถึงจะขึ้นวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้ง เห็นจริงตามความเป็นจริง เป็นการองค์ อริยมรรค ให้สมบูรณ์
ไม่เข้าใจอย่างไร ก็ัตั้งคำถามเพิ่มนะจ๊ะ

เจริญพร / เจริญธรรม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2012, 12:39:44 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระอานาปานสติ เป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับในห้องที่ 4 มีพลานุภาพมาก

ผู้ฝึกหลังจากผ่าน ห้องพระพุทธานุสสติแล้ว ก็จะสามารถยกดวงจิตได้ ตั้งได้เป็น อุคคหนิมิต

และ ปฏิภาคนิมิต มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหายใจโดยตรง ก็คือเรื่อง การหายใจ ที่เป็น สูรยกลา กับ จันทกลา

ในส่วนนี้คงไม่สามาถอธิบายลงไปในเว็บได้

แต่ ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐาน อานาปานสติสันโดด เลยได้ไหม ก็ตอบว่าได้ เพราะวิชาในพระพุทธศาสนานั้น

ปฏิบัติได้ตามที่ท่านต้องการ เป้าหมายคือการสละกิเลสออก


ดังนั้น ในส่วนของการฝึก อานาปานสติ นั้น มีเครื่องมือจริง อยู่ 3 อย่างคือ

1.อัสสาสะ ลมหายใจออก ( อานา )

2.ปัสสสาสะ ลมหายใจเข้า ( อปานะ

3.นิมิต คือเครื่องกำหนด ( อนุสสติ ) ที่จริงแล้วก็คือ วิธีการ ตั้งแต่

  คณนา อนุพันธนา ผุสนา ฐปนา ในส่วนของวิปัสนานั้นยังมีอีก 5 ( เอาไว้ก่อน ยังไม่ต้องรู้ )

ดังนั้น แม้พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นก็ฝึกตามแบบ กรรมฐานสันโดด เช่นเดียวกัน

หลวงปู่มักจะกล่าวว่า อัสวาตะ ปัสสวาตะ นิสสวาตะ อาตมัน สุญญัง เป็นต้น คืออันเดียวกัน

เพราะการปฏิบัติ ทั้งหมดอยู่ที่ลม ตั้งอยู่ที่ลม ดับแล้วที่ลม


ลมจัดเป็น กาย เป็น เวทนา  เป็น จิต เป็น ธรรม

 การฝึกในอานาปานสติมีเท่านี้ นะจ๊ะไม่เกินจากนี้แล้ว     ความฝึกตน ๑  ความสงบตน ๑ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑ ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑


เป็นข้อความส่วนหนึ่งในหนังสือที่จะพิมพ์

เจริญพร



รวมปัญหา อานาปานสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7036.msg26102#msg26102


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2012, 10:41:13 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

จ่าวิโรจน์

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อัสวาตะ ปัสสวาตะ นิสสวาตะ อาตมัน สุญญัง เป็นต้น คืออันเดียวกัน

เพราะการปฏิบัติ ทั้งหมดอยู่ที่ลม ตั้งอยู่ที่ลม ดับแล้วที่ลม


อยากให้ช่วยขยายความ ในคำทั้งหมดนั้น หน่อยครับ ไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ

ขอบคุณมากครับ

 
 :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม สมเ็ด็จพระชินสีห์ เสด็จดี เป็นศรี ชาวสยาม
แม้พระนาม พุทโธ ระบือนาม ทั่วเขตคาม ถิ่นฐานได้ร่มเย็น
ชาวลพบุรีครับ

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


 ตามภาพคะ คือ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก พอจะเข้าใจแล้วคะ
 
 แต่ นิมิต ยังไม่เข้าใจ คะ นิมิต ในอานาปานสติ คือ อะไรคะ

 ขอพระอาจารย์ ช่วยอธิบาย เพิ่มเติมด้วยคะ

  :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิมิตคือรูปวัตถุ 16 บอกไม่ได้เป็นรูปอะไร เพราะเป็นอุบายในกรรมฐาน ผู้ที่เข้าถึงก็รู้เอง
      และยังมีญาณสติอีก 200 พระธรรม
          อานาปาห้องสี่ ต้องกําเนิดมาแต่พุทธานุสสติ ดังนั้น ห้อง 1-2-3 นับว่าสําคัญที่สุด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิโรธสัจจะ 7 ประการคือการ พระธรรมเจ้า 7 พระองค์

   1. อาตมา

   2.สูญญํ

   3.อนาปาน
   
   4.นิโรธะ
 
   5.นิสสวาตะ
   
   6.ปัสสวาตะ

   7.อัสสวาตะ

   ทั้ง 7 พระองค์ มีชื่อเดียวกัน จักปรากฏได้ด้วยการดู ลม หายใจเข้า และออก หรือ อัดนิ่ง

  เมื่อใจรู้่ ย่อมกำหนด ลมหายใจเข้า ออก จนแน่แน่วใน ภายใน ชือเห็นพระธรรมเจ้า  ทั้งปวง

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=913.0
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิชาธรรมของหลวงปู่ในเรื่องเหล่านี้ อยากรู้ให้ไปอ่าน
       เรื่องลมสุริยกลา ลมจันทรกลา
       เรื่องสติปัฏฐานสันโดด
        สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน ท่านเขียนไว้ ในใบลานที่วัดพลับ
        หลวงพ่อจิ๋ว ท่านนํามาเผยแผ่สืบทอดไม่ให้สูญหายไป
        ในเว็ป สมเด็จสุก
         แต่อ่านจะเข้าใจไม่เข้าใจ นั่นก็ว่ากันไป
         เพราะในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เน้นธรรมสภาวะ ความถึง ความได้
         ก็แล้วแต่บุญบารมี ศรัทธา และปณิธาน เจตนา.
         
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถ้าสนใจ ให้อ่าน ในเรื่อง สติปัฏฐานสันโดด เลยนะจ๊ะ ในนั้นมีคำอธิบาย อยู่แล้ว

เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา