ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
 91 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 06:52:11 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


สถานีรถไฟนครราชสีมา


“ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา ชื่อนี้มาจากไหน.?

“ปากช่อง” คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็น “ด่านแรก” หรือประตูที่เชื่อมการเดินทางจาก “ถนนมิตรภาพ” เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอปากช่อง โดดเด่นเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ อย่าง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ยังครอบคลุมพื้นที่อีก 10 อำเภอ ทั้งในนครราชสีมา สระบุรี นครนายก และปราจีนบุรี ปากช่องจึงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศสดชื่น

เราได้ยินชื่ออำเภอปากช่องกันจนคุ้นหู แล้ว “ปากช่อง” ที่ว่านี้มาจากไหน.?

ในอดีต ปากช่องเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลขนงพระ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการขยายโครงข่ายคมนาคม โดยเฉพาะ “รถไฟ” เพื่อความสะดวกในการปกครองและการเดินทาง ก็มีการสร้างทางรถไฟสายแรก คือ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

ทางรถไฟสายนี้ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างใน พ.ศ. 2434 นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 9.95 ล้านบาท โดยมีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกัน

หลังจากสร้างได้ไม่นาน บริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถสร้างทางรถไฟได้เสร็จตามสัญญา กรมรถไฟหลวงจึงเลิกจ้าง และดำเนินการก่อสร้างเอง แต่การก่อสร้างก็มีอุปสรรค เพราะการสร้างทางรถไฟช่วงอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี สระบุรี เข้าสู่ดงพญาเย็น ปรากฏว่าคนงานและวิศวกรเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากไข้ป่า

กว่าจะสร้างทางรถไฟ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทางรวม 265 กิโลเมตร แล้วเสร็จ งบประมาณในการก่อสร้างก็บานปลายไปถึง 17.5 ล้านบาท ทั้งยังใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี มีพิธีเปิดสถานีรถไฟที่นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443

ส่วนที่ว่าทำไมถึงได้ชื่อว่า “ปากช่อง” ก็เพราะว่าทางรถไฟสายดังกล่าวตัดผ่านกลางหมู่บ้าน ต้องระเบิดภูเขาเป็นช่อง จึงเรียกกันว่า “บ้านปากช่อง”

ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนมิตรภาพ การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทางการจึงยกฐานะของปากช่องขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และขยับขึ้นเป็น อำเภอปากช่อง เช่นที่คุ้นกันในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “รถไฟ (จะ) ไปโคราช” เส้นทางรถไฟสายแรกของไทย ที่ฝรั่งทิ้งงาน รัฐต้องรับต่อ 9 ปีถึงสร้างเสร็จ
    • ที่มา “นามสกุล” ชาว “โคราช” หลักฐานสำคัญบ่งชี้ภูมิประเทศถิ่นกำเนิด
    • “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ” สู่ “ถนนมิตรภาพ” ช่วยย่นเวลาเดินทางกทม.-โคราชจาก 10 เหลือ 3 ชม.




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 11 เมษายน 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_130696
อ้างอิง : เสมียนนารี. จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย.

 92 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 06:44:23 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากราชการทัพที่เมืองเขมร” ภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดานโดมด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม


ทำไม รัชกาลที่ 1 ทรงศรัทธา “พระแก้วมรกต” ถึงขั้นโปรดอัญเชิญเป็น “ใจเมือง”

เมื่อสร้างกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 มีพระราชปณิธานที่จะสร้างให้เป็นกรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่ โดยจำลองแบบอย่างหลายอย่างมาไว้ที่กรุงเทพฯ ขาดเพียงพระพุทธรูปที่เปรียบเสมือน “ใจเมือง” แม้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปลงมาไว้กรุงเทพฯ หลายองค์ แต่ก็ไม่มีองค์ใดเลย ที่จะมีพระราชศรัทธาในพุทธคุณเทียบเท่า “พระแก้วมรกต”

“พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานเป็นประธานอยู่ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางราชอาณาจักรสยาม และศูนย์กลางแห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา และราษฎร


@@@@@@@

เหตุใดจึงโปรดพุทธคุณในพระแก้วมรกตยิ่งกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ

ตำนานเกี่ยวกับพระแก้วมรกต ที่ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เทวดาสร้าง มีการอัญเชิญไปยังดินแดนต่างๆ เช่น
  - ประดิษฐานอยู่เมืองลำปางนาน 32 ปี (พ.ศ. 1979-2011),
  - เชียงใหม่ 85 ปี (พ.ศ. 2011-2096),
  - หลวงพระบาง ไม่ถึงปี (พ.ศ. 2096),
  - เวียงจันทน์ 225 ปี (พ.ศ. 2096-2322)
  - กรุงธนบุรี 5 ปี (พ.ศ. 2322-2327) และ
  - สุดท้ายประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2327

เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์  มีการก่อสร้างพระอารามขึ้นในพระราชวังหลวงตามอย่างกรุงศรีอยุธยา แล้วเสร็จในปี 2326

ปีถัดมารัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกต “ข้ามฟาก” มาจากกรุงธนบุรี ลงเรือพระที่นั่งกิ่ง มีเรือแห่เป็นขบวน ไปยังพระอุโบสถแห่งใหม่ ส่วน “พระบาง” พระราชทานคืนแก่กรุงเวียงจันทน์ไป

@@@@@@@

“พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 ตอบคำถามเรื่อง รัชกาลที่ 1 ทรงเลื่อมใสในพุทธคุณของพระแก้วมรกต โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการปราบยุคเข็ญและการปราบดาภิเษกของพระองค์ ว่า

“ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระมหามณีรัตนปฏิมากรองค์นี้ เป็นสิริแก่พระองค์และพระนคร จึงได้ขนานนามกรุงใหม่ว่ากรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยา เพราะเป็นที่ประดิษฐานและเป็นที่เก็บพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ เพราะเหตุฉะนั้นการพระราชพิธีอันใดซึ่งเป็นการใหญ่ ก็ควรจะทำในสถานที่เฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากรนั้นประการหนึ่ง”

หลังจากอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพียง 2 เดือน ได้เกิดธรรมเนียมใหม่ขึ้น คือ พ.ศ. 2328 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ตั้งพระราชกำหนดใหม่ให้ข้าราชการทั้งปวงต้องเข้าไปกราบนมัสการพระแก้วมรกตก่อน แล้วจึงเข้ารับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัจจาภายหลัง ผิดกับพระราชกำหนดเก่าที่ถือธรรมเนียมเข้าไปไหว้รูปพระเทพบิดรก่อน แล้วจึงกราบนมัสการพระรัตนตรัยภายหลัง

ไม่เพียงแต่รัชกาลที่ 1 จะทรงศรัทธาและถือว่าพระแก้วมรกตนั้น “เป็นสิริแก่พระองค์” ยังเป็นไปได้ว่าทรงเชื่อพุทธคุณในทางใดทางหนึ่งขององค์พระแก้วมรกตเป็นพิเศษ


@@@@@@@

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งถึงความศรัทธาเลื่อมใสพระแก้วมรกตของรัชกาลที่ 1 ว่า

“ท่านเลื่อมใสในองค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เปนหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย”

พระแก้วมรกตยังมีความสำคัญถึงขนาดว่าเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่มี “ข้าพระ” ดังปรากฏในหมายรับสั่งและบัญชีโคมตรา ในพระราชพิธีวิสาขบูชา ในรัชกาลที่ 4 มีการกล่าวถึง “ข้าพระแก้วมรกต” ให้เบิกน้ำมันมะพร้าวต่อชาวพระคลังไปจุดโคมประทีปรอบระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มาร่วมในพระราชพิธีสำคัญ ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งพิธีทางศาสนา พระราชพิธีเกี่ยวกับราชตระกูล และการปกครอง เช่น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา กรณีที่พระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ยังต้องเข้าไปถือน้ำสาบานหน้าพระแก้วมรกตเป็นปฐมก่อน แล้วจึงมาดื่มน้ำต่อหน้าพระพักตร์ในท้องพระโรงอีกครั้งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสาระสำคัญของการถือน้ำคือการสาบานต่อหน้าพระ

@@@@@@@

สมัยรัชกาลที่ 1 นั้น “พุทธคุณ” สำคัญพระแก้วมรกต ไม่น่าจะเป็นเรื่องอื่น นอกเหนือจากเรื่องพระเจ้าตากและกรุงธนบุรี ทำให้การจลาจลในแผ่นดินเก่าสงบลง เพราะการบูชาสมโภชพระแก้วมรกต และการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างยิ่งใหญ่ ทรงกระทำพร้อมๆ กับการสร้างพระราชวัง อันเป็นช่วง 3 ปีแรกแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนพุทธคุณทางด้านกำราบราชศัตรู “เมืองใดไป่ต้านทานทน พ่ายแพ้เดชผจญ ประณตน้อมวันทา” เวลานั้นสงครามใหญ่ก็ยังไม่เกิด ศึกพม่าครั้งแรกในแผ่นดินใหม่นี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังพระอุโบสถแล้วเกือบปี

พระแก้วมรกตอาจมีฐานะต่างไปจากพระพุทธรูปองค์อื่น ตรงที่ได้การเคารพนบไหว้เป็น “ใจเมือง” และยิ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระปฐมบรมกษัตริย์ให้ความเคารพศรัทธาเหนือสิ่งอื่นใด ภาระหน้าที่ของพระแก้วมรกตจึงมากมายเลยขอบเขตทางพระพุทธศาสนา ไปจนถึงการ “รักษา” เมืองด้วยในบางโอกาส

เช่น สมัยรัชกาลที่ 2 จึงมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากพระอุโบสถไป “รักษา” เมือง ในพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อแห่ประพรมน้ำทั้งทางบกทางน้ำ เพียงไม่กี่วัน “ความไข้ก็ระงับเสื่อมลงโดยเร็ว” แต่การอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากพระอุโบสถ ยุติไปในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย


คลิกอ่านเพิ่ม :-

    • พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ที่สร้างสมัย ร.3 ที่มา พระนาม ร.1 กับ ร.2
    • พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ทำไมถึงเป็นปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ?

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนเก็บความจาก ปรามินทร์ เครือทอง. “พุทธคุณพระแก้วมรกต” ใน,  ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2551.




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 11 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 11 เมษายน2564
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_130713

 93 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 08:05:46 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 94 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 05:52:54 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 95 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 03:43:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 96 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 01:28:31 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 97 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 10:55:42 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 98 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 07:44:03 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 99 
 เมื่อ: เมษายน 17, 2024, 06:44:38 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



คนไทยหิวบุญ EP.1 พุทธพาณิชย์ จริงหรือคือสิ่งเร้าชาวพุทธ

จริงหรือที่ว่า..คนไทยหิวบุญ ปริศนาธรรมจากซีรีส์สาธุ และรูปแบบของพุทธพาณิชย์ในวัด เป็นสิ่งเร้าชาวพุทธให้เข้าไปทำบุญจริงหรือไม่...

จริงหรือที่คนไทยหิวบุญ? คำถามดังๆ จาก “ซีรีส์สาธุ” ที่สามารถเรียกความสนใจจากคนไทยให้หันมาสำรวจและทบทวน “ความเป็นชาวพุธในตัวเอง” (อีกครั้ง) เพราะอะไรชาวพุทธแบบไทยเราจึงชอบทำบุญ? และสาเหตุที่เราต้องการ “บุญ” เพราะเราถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ถูกเรียกว่า “พุทธพาณิชย์”





ซึ่งมาจากคำว่า พุทธ = พระพุทธศาสนา และคำว่า พาณิชย์ = การค้า ด้วยหรือไม่? และเพราะอะไร “วัด” ซึ่งถือเป็นสถานที่เผยแผ่คำสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจาก “ทุกข์” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงต้องทำสิ่งที่เรียกว่า “พุทธพาณิชย์” เพื่อหารายได้เข้าวัดกันด้วย

และท้ายที่สุด “คุณ” เคยลองคิดคล้อยตาม การตั้งคำถามสำคัญที่สุดจากซีรีส์สาธุ ในประเด็นที่ว่า…ถ้าหาก “วัด” เกิดกลายเป็นสถานที่สำหรับระดมทุนให้กับกลุ่มอาชญากรขึ้นมา มันจะเกิดอะไรขึ้น?

วันนี้ “เรา” จะไปสำรวจข้อมูลที่อาจจะนำไปสู่ “คำตอบ” ทั้งหมดนั้นร่วมกัน เผื่อว่าบางที…พวกเราในฐานะชาวพุทธ อาจจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิด “สิ่งที่ไม่ดีไม่งามกับพระพุทธศาสนาที่เราเคารพนับถือกันมายาวนานก็เป็นได้” 

โดยหัวข้อแรกที่ “เรา” อยากชวน “คุณ” สนทนาถึงประเด็นที่ “เรา” โปรยไว้ทั้งหมดในตอนแรกนี้ คือ เพราะอะไร? “วัด” จึงต้องมีการดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่เรียกว่า “พุทธพาณิชย์” กันด้วย

“เรา” มีข้อมูลจาก “อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” อาจารย์ประจำหลักสูตร ศศ.บ. ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของงานวิจัยรูปแบบและวิธีการทางธุรกิจกับพุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนา มาให้ “คุณ” ได้ร่วมกันพิจารณา



“อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” อาจารย์ประจำหลักสูตร ศศ.บ. ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


พุทธพาณิชย์

พุทธพาณิชย์เป็นคำที่นักวิชาการใช้วิจารณ์กระบวนการที่อาศัยความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชน มาเป็นเครื่องมือในการหารายได้ มีหลายรูปแบบ เช่น การทำพระพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชา และวัตถุมงคลรูปแบบต่างๆ ออกจำหน่าย การปั่นราคาวัตถุมงคลและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อหารายได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น การทำบุญสะเดาะเคราะห์ ต่อดวงชะตา การทำพิธีตัดกรรม

พิธีกรรมเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ไม่ใช่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่สามารถทำให้บุคคลบรรลุธรรมได้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรหลงใหลกับสิ่งที่เป็นพุทธพาณิชย์ หรือพิธีกรรมต่างๆ มากจนเกินไป ควรทำความเข้าใจว่าผู้ที่ทำพุทธพาณิชย์ทำเพื่อการทำมาหากิน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของพระพุทธศาสนา


      ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2553




 :96: :96: :96:

รูปแบบของพุทธพาณิชย์ ที่งานวิจัยรูปแบบและวิธีการทางธุรกิจกับพุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนาค้นพบ

1. การบูชารูปเคารพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า รูปเคารพต่างๆ และพระพุทธรูปสำคัญๆ ของทางวัด ที่ทางวัดจัดสร้างขึ้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบไหว้บูชาและขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อความร่ำรวย, เพื่อให้หายจากป่วยไข้ และเพื่อบนบานอธิษฐานขอสิ่งที่ตนเองปราถนา

เหล่านี้ล้วนเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ทางวัดจากเครื่องบูชา ซึ่งมีทั้งที่ทางวัดเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือในบางกรณีอาจจะเป็นการตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้เช่าพื้นที่ขายเครื่องบูชา โดยวัดได้ค่าเช่า

2. กิจกรรมหรือพิธีกรรมในลักษณะที่เป็นการบริการตนเอง

เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการบูชารูปเคารพ เป็นกิจกรรมสำเร็จรูปที่วัดส่วนใหญ่ดำเนินมีรูปแบบเหมือนกัน คือ มีป้ายเชิญชวนทำพิธีกรรมนั้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบริจาคเงินเพื่อแลกกับอุปกรณ์ในการทำพิธีนั้นๆ โดยไม่ต้องอาศัยพระสงฆ์ดำเนินพิธีกรรม เช่น การตักบาตรเหรียญ ปิดทองลูกนิมิต เป็นต้น

3. การเชิญชวนทำบุญบริจาคด้วยตู้รับบริจาคและเครื่องเสี่ยงทาย

การเชิญชวนทำบุญบริจาคด้วยการรับบริจาคผ่านตู้รับบริจาคในวัด โดยตู้รับบริจาคเหล่านี้จะมีข้อความอธิบายวัตถุประสงค์สั้นๆ เพื่อชี้แจงว่าทางวัดจะนำเงินที่ได้ไปใช้ในกิจการใด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือชำระหนี้สงฆ์ ซึ่งการบริจาคในลักษณะนี้ ผู้บริจาคจะถูกชักชวนว่าเป็นการทำบุญ และอธิบายว่าบุญที่ได้ทำไปนี้จะมีอานิสงส์ตอบแทนเช่นไร

4. การให้เช่าบูชาพระเครื่องบูชา เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล

การสร้างวัตถุมงคลในอดีตนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสติ แต่ในเวลาต่อมาได้พัฒนาถึงขั้นที่ว่าสะสมไว้เพื่อการสร้างผลกำไรทางธุรกิจ ด้วยการนำไปให้คนเช่าบูชา และโดยมากมักมีเรื่องเล่าสนับสนุนเพื่อสร้างความต้องการให้กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผสมผสานกับการอ้างเรื่องเจตนาในการสร้าง ที่มักเป็นไปในลักษณะเพื่อนำเงินที่ได้ไปทำกิจกรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับชุมชน





5. การให้บริการในเรื่องการทำพิธีกรรม

การประกอบพิธีกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางศาสนาของคนในสังคม โดยเฉพาะเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น งานอุปสมบท งานศพ หรือพิธีเสริมดวงแก้กรรมต่างๆ ได้มอบบทบาทอันสำคัญนี้ให้แก่ “พระสงฆ์” มาช้านาน ด้วยเหตุนี้เมื่อมีพระสงฆ์มาเข้าร่วม จึงทำให้บางที่มีการเรียกค่ายกครู หรือค่าพานทองของไหว้ เครื่องบูชาในพิธีกรรมนั้นๆ

6. การจัดเทศกาล วันสำคัญตามประเพณี และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

อีกหนึ่งรูปแบบของการหารายได้เข้าวัดที่ได้รับความนิยม คือ การจัดงานเทศกาล วันสำคัญตามประเพณีต่างๆ รวมถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และในงานดังกล่าวนั้น มักมีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนให้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพ รวมถึงเปิดให้มีการเช่าพื้นที่ค้าขาย ในกรณีที่มีการจัดแสดงมหรสพเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนจำนวนมากๆ มาร่วมงานด้วย   

7. การเชิญชวนร่วมทำบุญสร้างวัตถุมงคล สร้างรูปบูชาและพระพุทธรูป (เป็นเจ้าภาพ)

ปัจจุบันหลายวัดนิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินมาก จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีการระดมศรัทธาเพื่อรับบริจาคทุนทรัพย์ จนเป็นเหตุให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า เป็นการสร้างเพื่อต่อลาภสักการะ หวังผลให้พุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบไหว้สักการะ เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ต่อไปหรือไม่?

8. การเชิญชวนทำบุญก่อสร้างสาธารณสมบัติ การสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ

พุทธศาสนิกชนมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า หากต้องการให้ได้บุญมากก็ต้องสร้างวัดวาอาราม ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์ผลบุญกุศลแรง ซึ่งในอดีตนั้นการสร้างวัดจะเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงนิมนต์พระมาอยู่ดูแล แต่ในปัจจุบันดูเหมือนจะกลายเป็นหน้าที่ของพระดำเนินการเอง ผ่านการเชิญชวนให้ทำบุญในรูปแบบต่างๆ รวมถึงยังขยายการเชิญชวนให้ทำบุญเพื่อหาเงินไปสร้างสาธารณสมบัติต่างๆ ให้ชุมชนด้วย โดยเจ้าภาพที่ร่วมบริจาคด้วยจำนวนเงินตามที่ทางวัดระบุ จะได้รับการจารึกชื่อบนสิ่งปลูกสร้างนั้นไว้เป็นอนุสรณ์

9. การทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ และการทำบุญซื้ออาหารให้สัตว์ต่างๆ

เป็นการต่อยอดมาจากการปล่อยนกปล่อยปลา ด้วยความเชื่อที่ว่า การให้ชีวิตเป็นการสร้างกุศลที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ชีวิตสัตว์ใหญ่ ยิ่งได้กุศลมาก โดยบางวัดอาจมีการให้ข้อมูลโน้มน้าวใจด้วยว่า การไถ่ชีวิตนอกจากได้กุศลแรงแล้ว เมื่อทางวัดนำไปมอบให้กับเกษตรกรที่ยากไร้ ผู้ร่วมทำบุญจะยิ่งได้บุญจากการได้ช่วยเหลือเกษตรกรด้วย

10. การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ปัจจุบันวัดกลายเป็นอีกหนึ่งจุดสนใจของนักท่องเที่ยวตามความนิยมของชาวต่างชาติ ทำให้วัดสามารถเก็บค่าเข้าชมจากนักท่องเที่ยวได้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ก็หมายถึงยอดรับบริจาคจากกิจกรรมช่องทางต่างๆ





และจากบรรทัดข้างต้นที่บรรยายถึงการหารายได้ผ่านพุทธพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ มาได้อย่างละเอียดลออถึงขนาดนี้ จึงเป็นผลให้คำถามแรกที่ “เรา” สอบถามอาจารย์วีรยุทธ คือ…

    “สาเหตุที่วัดในประเทศไทยส่วนใหญ่ต้องเน้นเรื่องพุทธพาณิชย์มากมายขนาดนี้ เป็นเพราะวัดมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายใช่หรือไม่.?”
    ซึ่งคำตอบที่ได้รับกลับมาแทบจะในทันที คือ “ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ!”

   “คือมันเป็นแบบนี้ครับ จากการที่ผมได้สำรวจมา บางวัดเขาอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว หรือบางทีอาจจะมีญาติโยมคอยอุดหนุนเรื่องรายจ่ายอยู่แล้ว ดังนั้น พุทธพาณิชย์ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเพราะมีคนมาเสนอให้กับทางวัดทำก็ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะวัดมีดำริที่จะทำบ้างก็ได้
    อีกทั้งจะว่าไป ประเด็นที่ว่า...วัดทำเพราะมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่หาข้อมูลในส่วนนี้ได้ยากมาก (ลากเสียง) อีกด้วย

วัดสามารถปฏิเสธการทำพุทธพาณิชย์ได้หรือไม่.?    
    “ปฏิเสธได้ครับ ผมคิดว่าพระปฏิเสธได้แน่นอน”

พุทธพาณิชย์เป็นกิจของสงฆ์หรือไม่.?
    “ผมขอตอบแบบนี้ดีกว่าครับ คือ ในกรณีที่เรามองว่าการขายของไม่ใช่กิจของพระ คำถามที่ผมอยากชวนคิด คือ ระหว่างพระผลิตเครื่องรางของขลังมาให้เช่าบูชา กับพระผลิตหนังสือธรรมะออกมาให้ญาติช่วยกันบริจาค ต่างกันหรือไม่ แล้วเพราะอะไรจึงแตกต่างกัน?
    ในมุมมองคนส่วนใหญ่ กรณีพระผลิตหนังสือธรรมะออกมาเพื่อเปิดรับบริจาค ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะมองว่ามีความเชื่อมโยงเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    หากแต่ในทางกลับกัน คุณคิดว่าปัจจุบันพระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่แต่เดิมถูกสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ให้ระลึกถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ในปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เช่นนั้นอยู่หรือไม่?
    ซึ่งหากคุณมีคำตอบในใจว่า พระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลังต่างๆ ในปัจจุบัน ไม่ได้ทำหน้าที่เช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว คำตอบสำหรับประเด็นนี้ก็คือ...ไม่ใช่กิจของสงฆ์แน่นอน”





ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะอะไรจึงไม่มีการจัดระเบียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าแบบใดทำได้ แบบใดทำไม่ได้.?

ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ครุ่นคิดสักครู่หนึ่ง ก่อนตอบคำถามนี้ของทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ด้วยน้ำเสียงเนิบนาบว่า...

“แล้วคุณว่าปัจจุบันพระชั้นผู้ใหญ่ยังทำกันอยู่หรือเปล่า.? (หัวเราะ) เมื่อเป็นแบบนี้มันก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะมีใครเข้าไปจัดการ หรือจัดระเบียบ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามที่จะเข้าไปจัดระเบียบ แล้วของพวกนี้ก็หายไปจากวัดได้ระยะหนึ่ง

อีกจุดหนึ่งที่ผมอยากตั้งข้อสังเกต คือ พรรคการเมืองบางพรรค หรือนักการเมืองบางคนเอง ผมก็ยังเห็นพูดกันอยู่เลยว่า ของแบบนี้ (พุทธพาณิชย์) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตสิ่งของ การท่องเที่ยว จนกระทั่งนำไปสู่การกระจายรายได้ไปยังท้องถิ่นต่างๆ เพราะฉะนั้นมันก็คงเป็นเรื่องยากที่จะมีใครอยากจะเข้าไปขวางทาง





แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแชร์ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ คือ พระที่อยู่ตามวัดส่วนใหญ่นั้นโดยปกติ ท่านก็ไม่ค่อยรู้จักใครหรอก แต่เป็นฝ่ายฆราวาสเสียเองที่มักจะพยายามเข้าไปติดต่อกับทางวัด เพื่อจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การเข้าไปติดต่อเพื่อขอบูรณะวัด จนกระทั่งเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างกันขึ้น เป็นต้น”

สำหรับใน EP.2 “อาจารย์วีรยุทธ เกิดในมงคล” จะมาขยายความถึงปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดกับวัด อันเป็นผลที่มาจากพุทธพาณิชย์ โปรดติดตามตอนต่อไป

                                ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน






Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2776721
16 เม.ย. 2567 08:59 น. | สกู๊ปไทยรัฐ | Interview | ไทยรัฐออนไลน์
กราฟิก : Anon Chantanant

 100 
 เมื่อ: เมษายน 16, 2024, 02:42:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

หน้า: 1 ... 8 9 [10]