ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฆ่า คนทางอ้อม จัดเป็นปาณาติบาต ด้วยหรือไม่คะ  (อ่าน 3994 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การฆ่า คนทางอ้อม จัดเป็นปาณาติบาต ด้วยหรือไม่คะ คือ มีครอบครัวหนึ่ง คะ ลูกทำผิด แล้ว พ่อแม่ ก็พูดว่าตักเตือนสอน สุดท้าย ลูกก็แขวนคอตาย

   อยากทราบว่า การที่คนพูดจาถากถาง สอนเป็นต้น จะหวังดี หรือ หวังร้าย แต่ก้เป็นสาเหตุให้ คนตัดสินใจตาย อย่างนี้ จัดเป็นปาณาติบาตหรือไม่คะ

   หรือ อีกกรณีหนึ่ง ที่เรากลั่นแกล้ง อีกคนจนเสียชื่อ เสียเสียง ตกระกำลำบาก บ้างก็ตายไปอย่างนี้ จัดเป็นการผิดศีล ข้อปาณาติบาต หรือไม่คะ

  เชิญพอกพูนธรรมกันทุกท่านคะ

   :25: :88: :58: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
องค์แห่งการฆ่าสัตว์


          การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
          1. สัตว์นั้นมีชีวิต
          2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
          3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
          4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
          5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

 
          การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

          อนุโลมการฆ่า 
          นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรง ดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น
 
          อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้ 
          - การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
          - ทำให้พิการ
          - ทำให้เสียโฉม
          - ทำให้บาดเจ็บ 
          - การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
          - การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
          - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ           
          - นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
          - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
          - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค

 
          การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

          การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
          2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
          3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
          4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว




องค์แห่งการพูดเท็จ

          การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ 
          1. เรื่องไม่จริง
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น


          ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ   
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง   
          - พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน


          การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
             - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
             - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
             - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้ 
             - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น 
             - คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่

                   
          ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์ 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ


          การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ                     
          1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
             - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
             - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก


 

อ้างอิง หนังสือ วิถีพุทธ
ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การฆ่า คนทางอ้อม จัดเป็นปาณาติบาต ด้วยหรือไม่คะ คือ มีครอบครัวหนึ่ง คะ ลูกทำผิด แล้ว พ่อแม่ ก็พูดว่าตักเตือนสอน สุดท้าย ลูกก็แขวนคอตาย

   อยากทราบว่า การที่คนพูดจาถากถาง สอนเป็นต้น จะหวังดี หรือ หวังร้าย แต่ก้เป็นสาเหตุให้ คนตัดสินใจตาย อย่างนี้ จัดเป็นปาณาติบาตหรือไม่คะ

   หรือ อีกกรณีหนึ่ง ที่เรากลั่นแกล้ง อีกคนจนเสียชื่อ เสียเสียง ตกระกำลำบาก บ้างก็ตายไปอย่างนี้ จัดเป็นการผิดศีล ข้อปาณาติบาต หรือไม่คะ

  เชิญพอกพูนธรรมกันทุกท่านคะ

   :25: :88: :58: :c017:

  ศีลข้อปาณาฯ หรือการฆ่าสัตว์ จะวินิจฉัยว่า ทำผิดศีลข้อนี้หรือไม่ ต้องพิจาณาที่องค์ประกอบทั้ง ๕ เป็นสำคัญ ปรกติพ่อแม่ย่อมไม่มีเจตนาที่จะฆ่าลูกของตัวเองอยู่แล้ว แต่การว่ากล่าวด้วยถ้อยคำต่างๆ อาจเป็นการพูดเสียดแทง ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม ก็จัดเป็น "อนุโลมพูดเท็จ" ถือว่า ผิดศีลข้อมุสาฯ

  ส่วนเรื่องการกลั่นแกล้งกัน ก็ต้องถามว่า "ด้วยวิธีอะไร" เช่น ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ ประพถติผิดในกาม
พูดเท็จ หรืออื่นๆ การจะวินิจฉัยว่า เป็นปาณฯาหรือไ่ม่ ก็ต้องดูที่องค์ประกอบทั้ง ๕ หากเข้าองค์์ประกอบข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่า ผิดครับ

  หวังว่าคงเข้าใจนะครับ

   :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ