ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่เราไม่ได้อยากทำแต่ต้องจำใจทำ บาปหรือไม่  (อ่าน 2831 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มีเรื่องข้องใจ อยากจะถามค่ะ คือป้อมทำงานเป็นแคชเชียร์แล้วต้องออกบิลให้ลูกค้า แต่มีลูกค้าบางรายให้ป้อมออกบิลให้ในราคาที่เกินจริงกับที่ซื้อไป(อาจจะไปค้ากำไรต่อ) ซึ่งใจจริงๆป้อมไม่ค่อยอยากจะทำเลย แต่เนื่องด้วยที่เป็นลูกค้าจะขัดก็ไม่ได้ อยากจะถามว่าป้อมจะบาปไหมค่ะ  ขอบคุณค่ะ :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การลักทรัพย์

          องค์แห่งการลักทรัพย์
          การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
          1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
          2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
          3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
          4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
          5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

 

          ลักษณะของการลักทรัพย์
          การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 
          1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
             - ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
             - ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
             - ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์ 
             - ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
             - ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
             - ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
             - หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
             - ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
             - ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
             - ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
             - เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน 
             - สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
             - ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย 
             - ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด

 
          2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
             - การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
             - ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว 
             - รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน


          3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
             - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ  ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
             - หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ



          การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
             1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
          2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น 
          3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น




อ้างอิง หนังสือ "วิถีชาวพุทธ"
ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311


          ผลของการลักทรัพย์ ๖ ประการ
            ๑. เป็นผู้มีทรัพย์น้อย
          ๒. ยากจนเข็ญใจ
          ๓. อดอยากหิวโหย
          ๔. ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ
          ๕. ค้าขายขาดทุน
          ๖. ประสบกับภัยพิบัติ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น ถูกเวนคืน เป็นต้น

 
อ้างอิง
บทเรียนอภิธรรม หลักสตรทางอินเตอร์เน็ต ตอนที่ ๖ ชุดที่ ๑ ความรู้เรื่องชีวติและภพภูมิ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://www.buddhism-online.org/Section06A_06.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มีเรื่องข้องใจ อยากจะถามค่ะ คือป้อมทำงานเป็นแคชเชียร์แล้วต้องออกบิลให้ลูกค้า แต่มีลูกค้าบางรายให้ป้อมออกบิลให้ในราคาที่เกินจริงกับที่ซื้อไป(อาจจะไปค้ากำไรต่อ) ซึ่งใจจริงๆป้อมไม่ค่อยอยากจะทำเลย แต่เนื่องด้วยที่เป็นลูกค้าจะขัดก็ไม่ได้ อยากจะถามว่าป้อมจะบาปไหมค่ะ  ขอบคุณค่ะ :25: :25: :25:

กรณีนี้เข้าลักษณะเป็นการโจรกรรม ได้แก่
        - ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ
        - ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้


กรณีนี้เข้าลักษณะเป็นอนุโลมโจรกรรม ได้แก่
        - การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม


กรณีนี้เข้าลักษณะเป็นฉายาโจรกรรม(การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) ได้แก่
        - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน


ผลของการลักทรัพย์ ๖ ประการ
          ๑. เป็นผู้มีทรัพย์น้อย
          ๒. ยากจนเข็ญใจ
          ๓. อดอยากหิวโหย
          ๔. ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ
          ๕. ค้าขายขาดทุน
          ๖. ประสบกับภัยพิบัติ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น ถูกเวนคืน เป็นต้น


           :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ตอบได้ละเอียด ดีคะ

  :25: :58:
บันทึกการเข้า