ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง  (อ่าน 7636 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง
คือสงสัยมาก ๆ ครับว่า พระสงฆ์ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าตอนนี้เพล ตอนนี้เที่ยง เพราะไม่มีนาฬิกาให้ดูกัน

 ช่วยแจกความรู้หน่อยครับ ด้วยความสงสัย

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

รู้หรือไม่ "สมัยก่อนที่ยังไม่มีนาฬิกา เขาดูเวลากันอย่างไร"

เดิมทีเดียวการบอกเวลาอาศัยปรากฏการณ์จากธรรมชาติดังเช่นระยะเวลาหนึ่งวันกำหนดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ โดยสังเกตจากดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออก เคลื่อนตัวสูงขึ้นสู่ท้องฟ้าเรื่อย ๆ จนเลยลับขอบฟ้าด้านตะวันตก แล้วจึงโผล่ขึ้นมาใหม่ เป็นอันครบรอบนับเวลาได้หนึ่งวัน คนสมัยก่อนจึงรู้เวลาด้วยการสังเกตตำแหน่งต่าง ๆ ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งบอกเวลาเช้า  สาย  เที่ยง บ่าย เย็น

    ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์นาฬิกาขึ้นใช้  เชื่อกันว่า
    นาฬิกาแดดเป็นวิธีจับเวลายุคแรกสุดของโลกแบบหนึ่ง 
    มีใช้มานานกว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้วในอียิปต์


    เงาของแสงแดดที่ส่องต้องแผ่นโลหะบนหน้าปัด จะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ รอบหน้าปัดตัวเลขแต่ละชั่วโมง เวลาจะเปลี่ยนไปตามเงาแดดซึ่งเคลื่อนที่นั้น



     ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ ยังมีนาฬิกาทราย และนาฬิกาน้ำ
     เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นนาฬิกาทรายมาแล้ว คงไม่ต้องอธิบายซ้ำ
     ส่วนนาฬิกาน้ำนั้น  หลักการทำงานคือ น้ำจะไหลเข้าและออกจากถัง ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงหรือทุ่นที่ลอยขึ้นลงจะแสดงเวลาที่เปลี่ยนไป นาฬิกาน้ำของจีนมีใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๔


     อุปกรณ์จับเวลาที่เป็นจักรกลเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๑๕-๑๗  โดยการประดิษฐ์ลานและลูกตุ้มนาฬิกาให้ทำหน้าที่หมุนเฟืองนาฬิกา นาฬิกาจักรกลที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้จะมีเข็มบอกเวลาบนหน้าปัดตัวเลข และทำให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถพกติดตัวได้ ปัจจุบันนาฬิกาแขวนหรือตั้งกับที่และนาฬิกาพกจำนวนมากเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาศัยการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอของผลึกควอตช์มาจับเวลาได้อย่างแม่นยำ

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”


ที่มา http://writer.dek-d.com/AngelTVXQ/writer/viewlongc.php?id=438525&chapter=136
ขอบคุณภาพจาก http://naka24hours.files.wordpress.com/,https://cmmqsw.bay.livefilestore.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


นับเวลาแบบไทย

หยุดเขียนไปหลายวันเพราะหดหู่เศร้าใจกับความเป็นไปของสถานการณ์บ้านเมืองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง วันนี้เลยขอต่อเรื่องการนับเวลาแบบไทย ๆ ที่เขียนค้างไว้ให้จบ....

คติไทยสมัยก่อน (หรืออาจจะรวมถึงสมัยนี้ด้วย) นิยมอะไรที่ “ง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จนดูเหมือนจะกลายเป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งของไทยเราไปแล้ว แม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็ดูจะไม่เว้นเช่นกัน เพราะนับตั้งแต่สมัยแรกกำเนิดภาษาไทยก็นิยมใช้คำโดดหรือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียวในการสื่อความหมายอยู่แล้วเช่น ฉัน,รัก, แม่...ฯลฯ

จนกระทั่งต่อมาระยะหลังนั่นแหละ ถึงเริ่มมีการใช้คำควบหรือคำประสมตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเพิ่มเติมเข้ามา

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะกำหนดนับเวลาตามสิ่งที่เห็นและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นคำว่า “โมง” และ “ทุ่ม”อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน ก็มาจากเสียงย่ำฆ้องและกลองที่ทางวัดใช้ตีบอกเวลาในแต่ละชั่วโมงของวันนั่นเอง

เนื่องจากสมัยก่อนนาฬิกามักมีใช้เฉพาะภายในวัดเท่านั้น ชาวบ้านจึงต้องอาศัยเสียงสัญญาณกลองและฆ้องที่ดังมาจากวัดเป็นหลัก บ้างที่อยู่ห่างไกลออกไปจนไม่ได้ยินแม้แต่เสียงย่ำกลองก็ต้องใช้วิธีฟังเสียงปืนใหญ่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ประจำเรือทุก ๆ เที่ยงวันเพื่อประชาชนและบรรดาพ่อค้าวานิชจะได้ใช้เทียบเวลาประจำวัน

นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไกลปืนเที่ยง” ซึ่งหมายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และยังเป็นที่มาของการกำหนดให้กองทัพเรือเป็นผู้รักษาเวลามาตรฐานของประเทศอีกด้วย





     กังวานดัง “โหม่ง” แรกของวัน เริ่มจากเสียงฆ้องที่ตีบอกเวลาตั้งแต่ ๗ นาฬิกาจนถึงเพลหรือ ๑๑ นาฬิกา
     อันเป็นเวลาที่พระฉันอาหารนับไล่เรียงมาตั้งแต่ฟ้าสว่างหรือย่ำรุ่ง (๖ นาฬิกา) เป็นหนึ่ง..สอง...สาม..สี่..และห้าโมงเช้าหรือเพลตามลำดับ
 
     (ต่างจากประเพณีสากลที่เริ่มนับหนึ่งกันตั้งแต่ผ่านพ้นชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเลยทีเดียว)
     พอผ่านเที่ยงวันก็เริ่มนับใหม่เป็นช่วงบ่ายโมง..บ่ายสอง..สาม..สี่..และห้าเช่นเดียวกัน ก่อนผ่านไปยังย่ำค่ำ   
     (๑๘ นาฬิกาหรือหกโมงเย็น)

    หลังจากนั้น สัญญาณก็จะเปลี่ยนไปจากการใช้ฆ้องมาเป็นกลองดังตุ้ม..ตุ้ม
    ตั้งแต่ตุ้มเดียวหรือหนึ่งทุ่มไปจนถึงห้าตุ้มหรือห้าทุ่ม ก่อนถึงเที่ยงคืนหรือหกทุ่มหรือที่นิยมเรียกกันว่า “สองยาม” ในอีกหนึ่งชั่วโมงต่อมา..

   คำว่า "ยาม" ที่จริงก็มาจากกำหนดการเข้าเวรยามของทหารยามรักษาการภายในพระราชวังนั่นเอง ในสมัยก่อน การผลัดเวรยามของทหาร ช่วงกลางวันจะแบ่งเป็น ๒ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมงตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ
    หลังจากนั้นจึงถึงเวรของยามผลัดกลางคืน ซึ่งแบ่งตามคาบเวลาเป็นช่วง ๆ ละ ๓ ชั่วโมง
    เริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็น ถือเป็นยามต้น จนถึงสามทุ่ม..
    ยาม ๒ ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืนหรือสองยาม
    ต่อด้วยยาม ๓ (เที่ยงคืน-ตีสาม) และยาม ๔ (ตีสาม – ย่ำรุ่งหรือหกโมงเช้า)
ตามลำดับ


   การนับยามแบบนี้มีข้อสังเกตเล็กน้อยสำหรับคนที่เคยผ่านตานิยายกำลังภายในหรือพงศาวดารจีนมา คือข้อแตกต่างตรงที่จีนนับยามเป็นคาบเวลาเพียงช่วงละ ๒ ชั่วโมง ขณะที่ไทยเราถือ ๓ ชั่วโมงเป็นหลัก





    ช่วงพลบค่ำหรือย่างเข้าสู่ช่วงกลางคืน ตามวัดวาอารามสมัยก่อน
    มักย่ำกลองอันหมายถึง การกระหน่ำตีซ้ำ ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าสนธยาหรือรัตติกาลกำลังเริ่มขึ้น
    จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ย่ำค่ำ” และเลยไปถึงคำว่า “ย่ำรุ่ง” เพื่อให้รับกันในช่วงเช้าด้วย
    แม้ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีการ “ย่ำ” ฆ้องหรือกลองแต่ประการใด


    ตลอดช่วงกลางคืนหลังพลบค่ำ แทนการใช้สัญญาณฆ้องหรือกลองเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างตอนกลางวัน เขานิยมใช้วิธีเคาะแผ่นเหล็กเมื่อครบแต่ละชั่วโมงแทน เนื่องจากเสียงไม่ดังมากนักจนถึงกับรบกวนการนอนหรือการพักผ่อนของผู้คน โดยมักจะเริ่มการตีตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จึงนิยมเรียกกันในภายหลังว่า ตีหนึ่ง..ตีสอง..ตีสาม..เรื่อยมา

อรรถาธิบายเรื่อง ทุ่ม, โมง, ยาม, ย่ำ, ตี ก็คงเอวังได้ด้วยประการฉะนี้....
เขียนโดย ระพี พชระ ที่ วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 20, 2553



ที่มา http://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.htmlhttp://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net, http://gotoknow.org/, http://www.thongthailand.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2012, 11:57:05 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง
คือสงสัยมาก ๆ ครับว่า พระสงฆ์ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าตอนนี้เพล ตอนนี้เที่ยง เพราะไม่มีนาฬิกาให้ดูกัน

 ช่วยแจกความรู้หน่อยครับ ด้วยความสงสัย

  :25: :c017:

     นาฬิกามีมาก่อนพุทธกาลครับ มีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ (ราว ๓,๕๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ ปี ล่วงมา)
     ถ้าจะเจาะจงประเทศไทย ก็ไม่ทราบว่า พระท่านใช้นาฬิกาอะไร
     จะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทราย หรือนาฬิกาน้ำ ไม่ทราบแน่ชัด


     เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเพณีชนไก่ สมัยก่อนใช้น้ำเป็นตัวกำหนดยก โดยวางกะลาเจาะรูไว้บนน้ำ 
    กะลาจมเมื่อไหร่ ก็นับเป็นหนึ่งยก คือ ยกกะลาขึ้นจากน้ำนั่นเอง (กะลามะพร้าว)


     เท่าที่ทราบในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีนาฬิกาไขลานเข้ามาแล้ว แต่อาจไม่แพร่หลาย
     สรุปแล้ว การตีกลอง ตีฆ้อง หรือยิงปืน เพื่อบอกเวลาในสมัยก่อน
     ใช้นาฬิกาแน่นอน แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ใช้นาฬิกาอะไร

      :49:
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2012, 10:52:47 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
เริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็น ถือเป็นยามต้น จนถึงสามทุ่ม..
    ยาม ๒ ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืนหรือสองยาม
    ต่อด้วยยาม ๓ (เที่ยงคืน-ตีสาม) และยาม ๔ (ตีสาม – ย่ำรุ่งหรือหกโมงเช้า) ตามลำดับ

 มีเนื้อหาดีมากครับ อย่างน้อยผมเองก้เคยเข้าใจผิด เรือง ปฐมยาม ทุติยยาม ตติยยาม มาหลายสิบปีพึ่งกระจ่างวันนี้เองครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ