ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....  (อ่าน 9731 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« เมื่อ: ธันวาคม 20, 2009, 08:38:15 pm »
0
ศีลเป็นบาทฐาน แห่งสมาธิ ๆ เป็นบาทฐาน แห่งปัญญา

ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้ว รับศีล ต้องใช้เวลาเท่าใด จึงจะปฏิบัติ สมาธิได้ครับ
เช่นผมฆ่าปลา เพื่อทำอาหาร แล้วผมจะมาทำสมาธิ นี้จะทำได้หรือไม่ครับ
ดังนั้นเวลาเราไปรับศีลกับพระคุณเจ้าที่วัด เสร็จแล้วเราจะใช้เวลานานเท่าใด
จึงจะทำให้สมาธิ สมบูรณ์
บันทึกการเข้า
เป็นมนุษย์ เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 01:38:35 pm »
0
 :) ที่จริงผมก็สงสัย เหมือนกัน เพราะคนเราทำผิดพลาดได้ ในเรื่องของศีล บางทีก็พูดโกหกบ้าง เพื่อความสบายใจของผู้อื่น แต่ผมว่าในศีลนั้นถ้าผมจำไม่ผิด อาจารย์เคยพูดให้ฟังว่ามี องค์ประกอบในความผิดด้วย
ผมว่าที่พิจารณาจากองค์ประกอบแล้ว เราอาจจะไม่ผิดศีลเลย(เข้าข้างตัวเองหรือป่าว)

อย่างไรให้ผู้ดูแล ช่วยตอบ ประเด็นนี้ก็ดีนะครับ ผมเองก็อยากรู้ด้วย ;D
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2009, 05:42:36 pm »
0
รับศีล แล้วก็มีศีล ทำผิดศีล
ผิดศีล แล้วศีลขาด ขาดนานไหม ?
เมื่อต่อศีล รับศีล ?????

คุณ nathaponson ช่วยด้วยก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า

ban

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 117
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 02:12:17 pm »
0
ศีล เป็น ไตรสิกขาปฐม เป็นข้อสนับสนุนเข้าถึง ธรรมธาตุ
ศีล มีลักษณะ คือ การงดเว้น การเว้น การวิรัติ การไม่เบียดเบียน ทางกาย  และ ทางวาจา
   ศีล มีพลัง ในการทำให้บริสุทธิ์ หมดจด จากอำนาจกิเลส ทางกาย และ วาจา มีความภาคภูมิใจ
   ศีล เป็นที่อาศัย ของ สมาธิ และ ปัญญา
   ศีลเป็นที่ สนับสนุน ความเป็น เทวดา พรหม โพธิสัตว์ และ พระอริยบุคคล
   ศีล ว่าโดยความสมบูรณ์ คือ การพูดจาถูกต้อง การทำการงานถูกต้อง และ การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง
   ศีล ว่าโดยย่อ คือการไม่เบียดเบียน ตนเอง และ ผู้อื่นให้เดือดร้อน
   ศีล ว่าโดยระดับ ก็มีดังนี้
      1.ปุถุชชน มี ศีล ไม่เต็ม 5 ข้อ อาจจะมีเพียงข้อเดียว สองข้อ หรือ สามข้อ หรือ สี่ข้อ
2.กัลยาณชน มีศีล 5  ข้อเต็ม
      3.เนกขัมมชน มีศีล ตั้งแต่ 8 ข้อขึ้นไป
      4.อริยชน มีศีลสมบูรณ์ ด้วย อริยมรรค ซึ่งวัดได้ยากสำหรับปุถุชชน  ผู้ปฏิบัติในศีลดีจะรู้ได้โดย การสัมผัสทั้งทางกาย วาจา และ จิต โดยใช้ ตาใน

จาก หนังสือเข้าถึงธรรมธาตุอย่างไร โดย พระอาจารย์สนธยา
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คุณสาครกล่าวถึง ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็น ไตรสิกขา หรือ สิกขา ๓ ขอเรียนว่า ที่ถูกต้องจริงๆ คือ

สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Training)

๑. อธิสีลสิกขา(สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)
    ในข้อ ๒ นั้น เหตุที่คนทั่วไปเรียกว่า สมาธินั้น เป็นเพราะว่า ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำเอาคำว่า สมาธิ  มาแทนคำว่า จิต


    เพื่อใช้ประกอบการอธิบายความ จึงขอนำ มรรคมีองค์ ๘ จัดเข้าไปในสิกขา ๓ ดังนี้

มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค
(เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ — the noble Eightfold Path);
องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path)  มีดังนี้

อธิปัญญาสิกขา ประกอบด้วย
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought)

อธิสีลสิกขา  ประกอบด้วย
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)

อธิจิตตสิกขา (หรือสมาธิ) ประกอบด้วย
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)

    ผมขอเริ่มตอบคำถามของคุณสาครก่อน

 การได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการถือศีล ทำสมาธิ  และการเจริญปัญญา นั้น
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เป็นเรื่องที่ได้ก่อกุศลกรรมเอาไว้ ในชาติก่อน หรือ ปัจจุบันชาติ


เพราะฉะนั้น กรรม จึงเป็นปัจจัยแรกที่กำหนดว่า คุณจะปฏิบัติธรรมได้หรือเปล่า
ลองสังเกตุคนรอบๆตัวคุณ บางคนถือศีลไม่ได้เลย บางคนถือศีลได้แต่ทำสมาธิไม่เป็น บางคนทำสมาธิเป็นแต่เจริญปัญญาไม่ได้
นั่นเป็นเพราะ ต่างคนต่างประกอบกรรมมาไม่เสมอกัน


   คุณสาครถามว่า  ทำผิดศีลแล้วมารับศีล หลังจากนั้นมีความต้องการที่จะทำสมาธิ   แล้วจะทำได้หรือไม่ และต้องใช้เวลานานเท่าไหร่

ตามตำราที่ศึกษามา ศัตรูของสมาธิคือ นิวรณ์ ๕  ซึ่งมีหัวข้อดังนี้

นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี,อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.)

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire)

๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill)

๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor)

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety)

๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty)

ขอขยายความสักเล็กน้อย
อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน, จิตส่าย, ใจวอกแวก (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ)
กุกกุจจะ คือ ความรำราญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้น ๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่าง นั้น ๆ เป็นความผิดข้อนี้ ๆ เสียแล้วกระมัง

    คุณลองสังเกตตัวเองว่า คุณมีนิวรณ์ข้อใด ก่อนที่คุณจะทำสมาธิ และขณะที่คุณทำสมาธิ

   การละเมิดศีล เป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ ใช่หรือไม่ อย่างไร พิจารณาเอาเองนะครับ

   ในกรณีที่คุณข่มนิวรณ์ได้ คุณก็จะได้สมาธิ ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้จะใช้เวลานานเท่าไหร่
   ขึ้นอยู่กับคุณเองว่า จะหากุศโลบายใดมาจัดการกับนิวรณ์

   ส่วนกรณีที่ไม่สามารถรับมือกับนิวรณ์ได้ (คือ ส่งจิตออกนอกแล้ว ดึงกลับมาไม่ได้นั่นเอง)
   ก็ไม่ต้องร้อนใจ ไปทำสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำแล้วมีความสุข เช่น ฟังเพลง ช็อบปิ้ง ฯลฯ แต่อย่าละเมิดศีลนะครับ


   มีเคล็ดลับอยู่ข้อหนึ่ง คือ ความสุขทำให้เกิดสมาธิ  หากไม่สบายใจอะไร ห้ามทำสมาธินะครับ เดี๋ยวบ้า

   ผมขอตอบเท่านี้ก่อนนะครับ ครั้งต่อไปจะเสนอ รายละเอียดของ สีลสิกขา
รับประกันความผิดหวัง  ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง
“โปรดติดตามตอนต่อไป”
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 09:32:56 am »
0
ศีลเป็นเครื่องขัดเกลาสิ่งเศร้าหมอง  เมื่อไรที่คุณขาดศีล จิตคุณก็เศร้าหมอง
มันเป็นสิ่งเกื้อกัน ถ้าต้องการให้จิต แจ่มใส และ ขาวรอบ คุณต้องใช้ศีล เป็นตัวขัดเกลา
เป็นธรรมชาติของจิต ในกรณีที่คุณยกตัวอย่างการฆ่าปลา แล้วทำสมาธิ
ขอตอบแบบผมนะครับว่า
มันมีส่วนครับ เพราะจิตนั้นในบันทึกเอาสิ่งที่คุณทำไว้ตลอดเวลาและมันจะส่งผลด้วย
แบบทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว เข้าเรียกว่ากรรมก็ตรงนี้แหละครับ เพราะว่าเกิดจากการกระทำ
ของคุณ และพอคุณเข้าสมาธิ จิตที่ขาดกำลังจากศีล ก็จะไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา
พระพุทธองค์ทรงสอนให้พวกเราทั้งหลาย รักษา ศีล สมาธิ ปํญญา(ภาวนา) ก็ตรงนี้แหละครับ
มันขาดกันไม่ได้เลย เพราะเป็นธรรมชาติ ของมันอยู่อย่างนั้นเอง
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:11:29 pm »
0
                                              การรักษาศีล
7.1 วิรัติ หรือ เวรมณี

          แม้ว่า ศีล จะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตาม แต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลนั้น ย่อมมิใช่เพียงแค่การไม่ทำความชั่วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่ว อาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสที่จะทำ เช่น นักโทษที่ถูกกักขังไว้ ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใคร ย่อมไม่อาจบอกได้ว่า เขาเป็นผู้  รักษาศีล หรือเด็กทารกที่นอนอยู่ในแปล แม้จะไม่ได้ทำความชั่วอะไร แต่ก็เป็นไปเพราะความที่ไม่รู้เดียงสา จึงไม่อาจกล่าวว่าเด็กนั้นรักษาศีลได้
 
          เพราะศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว นี่เอง คือความหมายของคำว่า วิรัติ หรือ เวรมณี
 .
          "วิรัติ" จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติ     
อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
 
          1. สมาทานวิรัติ
 
          2. สัมปัตตวิรัติ

          3. สมุจเฉทวิรัติ

          7.1.1 สมาทานวิรัติ
          สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้  ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง

                                                  อุบาสกผู้หนึ่ง
          ณ ประเทศศรีลังกา  อุบาสกผู้หนึ่งได้รับศีลจากพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแห่งอัมพริยวิหาร วันหนึ่ง อุบาสกผู้นี้ได้ออกไปไถนา พอถึงเวลาพัก ก็ปลดโคออกจากไถปล่อยให้กินหญ้าไปตามสบาย ปรากฏว่า โคได้หายไป เขาจึงออกตามหา จนไปถึงภูเขาชื่อทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้นเอง เขาได้ถูกงูเหลือมตัวหนึ่งรัด เข้า จึงชักมีดอันคมกริบออกมา เงื้อขึ้นหมายจะฆ่างูนั้น แต่แล้วเขากลับฉุกคิดได้ว่า
 
          "ตัวเรานี้ได้รับศีลจากพระเถระผู้เป็นที่เคารพศรัทธา การจะมาล่วงละเมิดศีลเช่นนี้ช่างไม่สมควรเลย�
 เขาได้เงื้อมีดขึ้นถึง 3 ครั้ง แต่ในที่สุดก็ตกลงใจว่า เราจะยอมสละชีวิต แต่จะไม่ยอมสละศีล"
 
          คิดได้ดังนี้จึงโยนมีดทิ้งไป ด้วยเดชแห่งศีลที่ตั้งใจรักษา จึงทำให้งูเหลือมใหญ่นั้นคลายตัวออก แล้วเลื้อยหนีเข้าป่าไป

           7.1.2 สัมปัตตวิรัติ
           สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้น ไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง ดัง เช่นเรื่องราวของจักกนอุบาสก

                                                  จักกนอุบาสก
 
          เมื่อครั้งที่จักกนะ อุบาสกยังเล็กอยู่นั้น มารดาของเขาได้ล้มป่วยลง หมอบอกว่าต้องใช้เนื้อกระต่าย เป็นๆ มาทำยารักษาจึงจะหาย พี่ชายของจักกนะจึงบอกให้เขาไปหากระต่ายมา จักกนะจึงออกไปที่ทุ่งนา และได้พบกระต่ายน้อยตัวหนึ่งกำลังกินข้าวกล้าอยู่ เมื่อกระต่ายน้อยเห็นจักกนะ มันจึงรีบวิ่งหนี แต่ก็หนีไม่พ้น เพราะบังเอิญไปถูกเถาวัลย์พันตัวไว้ ได้แต่ร้องอยู่ จักกนะจึงจับตัวมาได้ แต่เมื่อเห็นอาการลนลานด้วยความ กลัวของกระต่ายน้อย เขาเกิดความสงสาร คิดขึ้นมาว่า

          "ควรหรือที่เราจะเอาชีวิตของผู้อื่นมาเพื่อช่วยชีวิตมารดาของเรา"

          จักกนะจึงปล่อยกระต่ายน้อยตัวนั้น พร้อมกับกล่าวว่า

          "เจ้าจงไปกินหญ้ากินน้ำของเจ้าตามสบายเถิด"
 
          เมื่อกลับมาถึงบ้าน จักกนะถูกพี่ชายซักถาม จึงเล่าความจริงให้ฟัง และถูกพี่ชายต่อว่าอย่างมากมาย แต่เขาก็มิได้โต้ตอบ ได้แต่ขยับเข้าไปใกล้ๆ มารดา แล้วกล่าวสัจวาจาว่า
 
          ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดมา ยังไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ใดเลย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอให้มารดาจงหายจากโรคเถิด
 ทันใดนั้นเอง มารดาของเขาก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์

           7.1.3 สมุจเฉทวิรัติ
          สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน
 
          จะเห็นว่า วิรัติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการกระทำใดๆ ก็ตาม หากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่น แล้ว การกระทำนั้นๆ ย่อมไม่หนักแน่นมั่นคง พร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไป ดังนั้น แม้จะยังไม่ได้ทำความ ชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล

7.2 องค์แห่งศีล
 
          แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษา ศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ  ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง  หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ละเหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่า การกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย
 
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง  จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้

           7.2.1 การฆ่าสัตว์
 
          องค์แห่งการฆ่าสัตว์ 
          การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
 
          1. สัตว์นั้นมีชีวิต
 
          2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
 
          3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
 
          4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
 
          5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
 
          การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

          อนุโลมการฆ่า 
          นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรง ดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น
 
          อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
 
          - การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
 
          - ทำให้พิการ
 
          - ทำให้เสียโฉม
 
          - ทำให้บาดเจ็บ
 
          - การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
 
          - การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
 
          - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขัง
           ปลาไว้ในที่แคบ
 
          - นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
 
          - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
 
          - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค
 
          การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

          การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
 
          2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
 
          3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
 
          4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

          7.2.2 การลักทรัพย์
          องค์แห่งการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 51 คือ
 
          1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
 
          4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
 
          5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

          ลักษณะของการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 
          1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
 
          - ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
 
          - ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
 
          - ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
 
          - ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
 
          - ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
 
          - ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
 
          - ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
 
          - เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
 
          - สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
 
          - ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
 
          - ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด
 
          2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
 
          - การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
 
          - ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
 
          - รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
 
          3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
 
          - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ  ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
           
 
          - หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ

          การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
 
          2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
 
          3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

          7.2.3 การประพฤติผิดในกาม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:13:51 pm »
0
          องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม
 
          การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ 41 คือ
 
          1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
 
          2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
 
          3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
 
          4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

          หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก
 
          1. หญิงมีสามี
 
          2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ
 
          3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช

          ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก
 
          1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
 
          2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช
         
          การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ   
          1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          2. ความแรงของกิเลส
 
          3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

          7.2.4 การพูดเท็จ

          องค์แห่งการพูดเท็จ
          การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. เรื่องไม่จริง
 
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น

          ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
 
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
 
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
 
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
 
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
 
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
 
-   พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน


          การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
 
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
 
          - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
 
          - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
 
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
 
          - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
 
          - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
 
-   คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่



                    ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
 
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
 
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
 
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ

                    การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
          1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
 
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
 
          - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
 
          - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก

          7.2.5 การดื่มน้ำเมา

          องค์แห่งการดื่มน้ำเมา
 
          การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
 
          2. มีจิตคิดจะดื่ม
 
          3. พยายามดื่ม
 
          4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

          การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
 
          2. ปริมาณที่ดื่ม
 
          3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
 
          - สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
 
          - เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ
 
          นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน
 
          จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์
 
          อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

7.3 วิธีการรักษาศีล

          การรักษาศีลสามารถกระทำ ได้อย่างง่ายๆ  โดยมีเจตนาหรือมีความตั้งใจจะรักษาศีล  ละเว้นความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยระลึกนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรักษาศีล และหากว่าต้องประสบกับเหตุการณ์ หรือโอกาสที่อาจล่วงละเมิดศีล ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย ด้วยคิดว่าเราได้ตั้งใจสมาทานศีลมาแล้ว เช่นนี้ชื่อว่าเราได้รักษาศีลแล้ว
 
          จากนั้นในแต่ละวัน ก็หมั่นนึกถึงศีลเราว่า เราได้รักษาศีลได้ดีมากน้อยเพียงใด หากพลาดพลั้งกระทำผิดศีลเข้า จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราก็เริ่มต้นรักษาใหม่ ด้วยความตั้งใจว่า เราจะไม่ล่วงละเมิดอีก ส่วนศีลข้อใดที่เรารักษาไว้ดีแล้ว ก็ให้ตั้งใจรักษาต่อให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ทำให้เป็นความเคยชิน จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยติดตัวไป ด้วยวิธีการอย่างนี้ การรักษาของเราก็สามารถกระทำได้โดยง่าย โดยไม่รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสแต่อย่างใด
 
          นอกจากนี้ยังมีวิธีการ ที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง นั่นคือ การกล่าวคำสมาทานศีล เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล โดยขอให้พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยานในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้ แล้วเราจึงอาราธนาและสมาทานศีล ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
 
          เมื่อ กาย วาจา ใจ ของเราได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยันที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสักขีพยานแล้ว  เราย่อมมีความรัก  และความเคารพในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรารักษาศีลด้วย ความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเราก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามโดยไม่ต้องสงสัยใดๆ
 
คำอาราธนาศีล 5
 
          มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล)
 
          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สาม)
 
          (ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพัง ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

           นมการคาถา (กล่าวคำนอบน้อม)
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว 3 หน)
          (ขอนอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
 
          คำขอสรณคมน์
 
          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ)
 
          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
 
          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ)
 
          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

          คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:17:23 pm »
0
คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
          1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ผู้อื่นให้ฆ่า)
 
          2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นลัก)
 
          3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
 
          4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ และพูดคำหยาบ)
 
          5. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

7.4 ธรรมที่เกื้อกูลต่อการรักษาศีล


          การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ได้นั้น สำหรับปุถุชนคนธรรมดา ซึ่งต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อลวงใจ หรือบางคนตกอยู่ในภาวะที่ขัดสน หรือแม้แต่อยู่ในที่ลับปราศจากการรู้เห็นของผู้คน นับเป็นเรื่องที่ยากต่อการจะหักห้ามใจไม่ให้ล่วงละเมิดศีลได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การรักษาศีลก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเหลือวิสัยที่จะ ทำได้นัก ขอเพียงแค่เรามีความตั้งใจจะทำจริง ก็ย่อมจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้อย่างแน่นอน

          7.4.1 หิริ โอตตัปปะ เหตุแห่งการรักษาศีล
 
          การที่จะสามารถรักษาศีลให้ได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำใจที่สำคัญคือ หิริ และโอตตัปปะ
 
          เพราะ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำชั่ว สิ่งใดก็ตาม หากเป็นความชั่วเลวทราม จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ด้วยความที่รังเกียจ และขยะแขยง เห็นเป็นสิ่งสกปรก
 
          ส่วน โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อรู้ว่าการทำความชั่วจะมีผลร้ายตามมา จึงเกรงกลัวอันตรายของความชั่ว ราวกับคนกลัวงูพิษ
 
          เมื่อ หิริ และ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรมที่ทำให้เกลียดกลัวความชั่วเช่นนี้ ผู้มีหิริ โอตตัปปะ เป็น ธรรมประจำใจ ย่อมมีศีลบริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไร จะต่อหน้าหรือลับหลังใคร ก็จะไม่ยอมให้ ความชั่วใดๆ มาแปดเปื้อนเลย ดังเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในสีลวีมังสชาดก ว่า

                                                            สีลวีมังสชาดก

           ครั้งหนึ่ง พระภิกษุ 500 รูป ณ วัดเชตวัน ได้เกิดกามวิตกขึ้นในยามค่ำคืน ต่างคิดถึงความสุขที่เกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เคยพบมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ทิพยจักขุญาณตรวจดูวาระจิตของภิกษุเหล่านั้นด้วย ความห่วงใย ดุจบิดามารดาห่วงใยบุตร ทรงเล็งเห็นทุกข์ภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่า นั้น จึงโปรดให้พระอานนท์ จัดการให้พระภิกษุเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกัน แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสว่า
   
                    " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ลับย่อมไม่มีในโลก บัณฑิตในกาลก่อน  เห็นอย่างนี้แล้ว จึงไม่ทำบาปกรรม"

          จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น
 
          เมื่อครั้งที่พระเจ้า พรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยก็ไปศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยา ในสำนักอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งกรุงพาราณสี และได้เป็นหัวหน้าของมานพ 500 คน ซึ่งเล่าเรียนอยู่ในสำนักเดียวกัน 
          ท่านอาจารย์มีธิดาผู้กำลังเจริญวัย ซึ่งท่านคิดจะยกให้กับมานพผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ท่านจึงคิดจะทดสอบการรักษาศีลของมานพเหล่านั้นดู
          อาจารย์จึงเรียกมานพทั้งหลายมา แล้วกล่าวว่า
   
          "ธิดาของเราเจริญวัยแล้ว เราจะจัดงานวิวาห์ให้แก่นาง จึงจำเป็นต้องใช้ผ้า และเครื่องประดับต่างๆ พวกเธอจงไปขโมยผ้าและเครื่องประดับจากหมู่ญาติของเธอมา โดยอย่าให้ใครเห็น เราจะรับเฉพาะผ้าและเครื่องประดับที่ขโมยมาโดยไม่มีใครเห็นเท่านั้น ของที่มีคนเห็นเราจะไม่รับ"
 
          มานพทั้งหลายรับคำ แล้วก็ไปขโมยของจากหมู่ญาติของตนโดยไม่ให้ใครเห็น จากนั้นก็นำมามอบ ให้กับอาจารย์ คงมีเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้น ที่ไม่นำสิ่งใดมาเลย อาจารย์จึงถามพระโพธิสัตว์ว่า
 
          "เธอไม่นำสิ่งใดมาเลยหรือ"
 
          พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า

          "ครับ อาจารย์"
 
          เมื่ออาจารย์ถามถึง เหตุผล พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า "เพราะว่าอาจารย์จะรับเฉพาะของที่เอามา โดยไม่มีใครเห็น ผมคิดว่าไม่มีการทำบาปใดๆ จะเป็นความลับไปได้เลย"
 
          แล้วพระโพธิสัตว์จึงกล่าวพระคาถาว่า
       
                    "ในโลกนี้ ย่อมไม่มีที่ลับแก่ผู้กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่า
            ยังมีคนเห็น คนพาล ย่อมสำคัญผิด คิดว่าบาปกรรมนั้นเป็นความลับ
            ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ แม้ที่ว่างเปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่า ถึงแม้
            ข้าพเจ้าจะไม่เห็นใคร ที่นั้น ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า"

          เมื่ออาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในตัวพระโพธิสัตว์ยิ่งนัก จึงกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า
   
          "ดูก่อนพ่อ ในเรือนของเราไม่มีทรัพย์สินอะไร แต่เรามีความประสงค์จะมอบธิดาของเราให้แก่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล เราต้องการทดสอบมานพทั้งหลาย จึงได้ทำอย่างนี้ และธิดาของเราเหมาะสมกับท่าน เท่านั้น แล้วจึงประดับตกแต่งธิดามอบให้แก่พระโพธิสัตว์ พร้อมทั้งกล่าวกับมานพทั้งหลายว่า
   
          "สิ่งของที่พวกเธอได้นำมา จงนำกลับไปคืนยังเรือนของพวกเธอเถิด"
 
          ครั้นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าแสดงพระธรรมเทศนานี้จบลง  ภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดความละอายและเกรงกลัวบาปอกุศล ต่างรักษาสติอยู่ในธรรมจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่าจิตของภิกษุเหล่านั้นเป็นสมาธิดีแล้วจึงทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจนั้นเอง ภิกษุทั้ง 500 รูปได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต
 
          พระโพธิสัตว์สามารถรักษา ศีลได้อย่างหมดจดงดงามทั้งที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ เป็นมานพผู้อ่อนเยาว์อยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งยังต้องตกอยู่ในภาวะบีบคั้น อันเนื่องมาจากคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่สวนทางกับสังคมคนรอบข้างอย่างไม่หวั่นไหว ทั้งนี้เพราะท่านมีหิริ โอตตัปปะ อยู่ในใจ จึงไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง หรือเงื่อนไขให้กระทำผิดศีลได้เลย
 
          ผู้รักษาศีลด้วย หิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้อง ให้ใครมาดูแลกำกับ
 
          ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจาก หิริ โอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยัง เป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด หรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้ง ก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มี หิริ   โอตตัปปะ คอยดูแลกำกับนั่นเอง
 
          ดังคำกล่าวที่ว่า
 
          "เมื่อมีหิริ และโอตตัปปะอยู่            ศีลก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้
           เมื่อไม่มีหิริ และโอตตัปปะ            ศีลก็ไม่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ไม่ได้
 
          หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบ แต่สิ่งที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งในชาติปัจจุบัน และสัมปรายภพ

          การเกิดหิริ
 
          แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธีง่ายๆ กล่าวคือ
 
          หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง 4 ประการ คือ
 
          1. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเองว่า ตัวเราเกิดในตระกูลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึง ไม่ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
 
          2. พิจารณาถึงอายุของตน เองว่า คนมีอายุเช่นเรา ได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียน รู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญา ตักเตือนตนเองเสียเลย

          3. พิจารณาถึงความกล้าหาญของ ตนเองว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งใจมั่นอยู่ในคุณความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเอง และผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
 
          4. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของ ตนเองว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลัก ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล เพราะไม่มีหลักธรรมใดๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

          การเกิดโอตตัปปะ
 
          โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย 4 ประการ คือ
 
          1. ภัยเพราะติเตียนตนเอง เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งไม่สมควร
 
          2. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน เมื่อบัณฑิต ได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียนว่า เราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
 
          3. ภัยจากอาชญา เมื่อเราผิดศีลจนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมาย บ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา
 
          4. ภัยในทุคติ การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
 
          ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิด พิจารณาเช่นนี้ ในที่สุด หิริ โอตตัปปะ จะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


บทสรุปอานิสงส์ของศีล


          อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้
 
                    "สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ
                     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
                     สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ
                     ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเย" 


          มีความหมายดังต่อไปนี้
 
          1. สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ 
 
          2. สีเลนะ โภคะสัมปะทา  แปลว่า ศีลทำให้มีโภคทรัพย์
 
          3. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  แปลว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน 


          โดยเฉพาะในข้อ 3 นี้ หมายความว่า ศีลมีส่วนทำให้ไปถึงพระนิพพานได้ ถ้าไม่มีศีลก็ไปพระ-นิพพานไม่ได้ และพระนิพพานมีความหมายเป็น 2 นัย ด้วยกัน คือ
 
          1. พระนิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบร่มเย็นเป็นสุข
 
          2. พระนิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปพระนิพพานทั้งสิ้น


ที่มา   http://main.dou.us/view_content.php?s_id=383
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การถือศีล ได้บารมีหลายอย่าง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:28:58 pm »
0
          ศีลบารมี

          ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย  วันนี้ก็มาปรารภกันถึงบารมีที่ ๒ คือ ศีลบารมี วันก่อนได้พูดถึง ทานบารมี  มาแล้ว

          แต่ทว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืม  คำว่าบารมี  บารมี  นี่แปลว่า กำลังใจ  ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า  “ท่านที่มีบารมีเต็มแล้วย่อมเป็นพระอรหันต์ได้ และเข้าถึงพระนิพพาน”  ก็จงเข้าใจว่า  คำนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงว่า ท่านทั้งหลายมีกำลังใจเต็มที่จะทรงศีลบารมีให้ครบถ้วน

          คำว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ, บารมี  แปลว่า  เต็ม  ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงรักษาความปกติให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์  อาตมาจะไม่พูดถึงลักษณะของศีลทั้งหมดจะพูดเฉพาะศีล ๕ ประการ

          แต่ว่าทั้งนี้ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน  หรือหวังดีตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จงเข้าใจว่า คำว่า ศีล นี่แปลว่า ปกติ  แล้วก็ปกติท่านปฏิบัติอยู่ในศีลประเภทไหน เป็นศีล ๕ ก็ตาม ศีล ๑๐ ก็ตาม ศีล ๘ ก็ตาม ศีล ๒๒๗ ก็ตาม  จงรักษาความปกติของศีลประเภทนั้นไว้ให้ครบถ้วน อย่าให้ขาดตกบกพร่อง

          และอีกประการหนึ่ง  คำว่าศีลแปลว่าปกตินี้  เพราะปกติคนก็ดี สัตว์ก็ดี มีความพอใจตามนั้น  นี่ขอให้สร้างความเข้าใจตามนี้เข้าไว้  จะขอพูดเรื่องคำว่าปกติของศีลให้ฟังจะได้ง่ายต่อการปฏิบัติ  เอาเฉพาะ  ศีล ๕  จัดว่าเป็นศีล  ที่มีอันดับต่ำที่สุด  ศีล ๕ นี้  ปกติของบุคคลที่เป็นปุถุชนคนธรรมดามีความต้องการกัน แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องการศีล ท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไมอาตมาจึงพูดอย่างนั้น  อาจจะบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเทศน์อย่างนี้

          ปกติของคนก็ดี  สัตว์ก็ดี ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกาย  และก็ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายร่างกายถึงกับสิ้นชีวิต  นี่ขอให้ท่านทั้งหลายถือความรู้สึกของท่านเป็นสำคัญว่า  ตัวท่านเองน่ะมีความรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือเปล่า…?  ถ้าหากว่าท่านต้องการให้ใครเขามาฆ่าให้ท่านตายละก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย  จะได้ช่วยสงเคราะห์ให้เร็วเข้า  และถ้าท่านต้องการให้ใครเขาทรมานบีบคั้นร่างกายท่านให้เจ็บปวด  มีทุกขเวทนาอย่างหนักก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย

          ประการที่สอง  ท่านมีทรัพย์สมบัติอยู่แล้ว  ท่านต้องการให้ใครมายื้อแย่งทรัพย์สมบัติท่านหรือเปล่า….?  เอาตัวของท่าน เอาใจของท่านเป็นประกัน เป็นเครื่องยอมรับ หมายความว่าเอาตัวของท่านนี่แหละเป็นตัวยืน  เอาจิตใจของท่านเป็นจิตใจยืน  ท่านมีทรัพย์สมบัติทั้งหลาย  ท่านต้องการให้ใครเขามาลักเขามาขโมย มายื้อมาแย่ง มีบ้างไหม …?  เคยคิดบ้างหรือเปล่า…? ไม่มี  ถ้าคนไม่ไร้สติเขาตอบว่าไม่มี  ฉันหามาลำบาก

          และคนที่เรารัก เราต้องการให้ใครเขามายื้อแย่งความรักของเราไหม…?

          นี่ยามปกติถ้าเราจะพูดกันอย่างเป็นการเป็นงาน เราต้องการให้ใครเขามาโกหกมดเท็จเราบ้างหรือเปล่า…?

          ยามปกติเราต้องการให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้าไหม….?

          ไม่มี อาตมาพูดเองตอบเอง  ตอบได้  ตอบแทนท่าน  นี่ส่วนใหญ่กำลังใจของเรา   นอกจากว่าเราจะมีประสาทหรือว่าจิตวิปริตจึงจะคิดฝืนอารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ 
   
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ทั้งคนและสัตว์มีความปรารถนาเสมอกัน  ที่คนเรามีความรู้สึกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของตนนี่คิดด้วยความโง่เท่านั้น  ไม่ใช่ความฉลาด  อาตมาขอพูดตรงไปตรงมา  ถ้าสัตว์มันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  เวลาที่เราเดินเข้าไปหามัน  มันก็ต้องรับเดินเข้ามาหาเรา เต็มใจให้เรากินมันเป็นอาหาร หรือฆ่ามันมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  แต่ทว่าสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น  ในเมื่อเราจะไปจับมันก็วิ่งหนี ปลาก็ว่ายน้ำหนี  นกก็บินหนี สัตว์เดินดินก็เดินหนี สัตว์เลื้อยคลานก็เลื้อยหนี  อาการที่หนีนี่แสดงว่าเขารักชีวิตของเขา  เขาไม่ต้องการให้เราไปทำลายชีวิตของเขา  ความรู้สึกของคนและสัตว์มีความรู้สึกเสมอกัน มีความต้องการแบบนี้เท่ากัน

          รวมความว่า  ปกติคนและสัตว์มีความประสงค์ในกฎ ๕ ประการเท่านั้น  พระพุทธเจ้าจึงเรียกกฎ ๕ ประการ  ว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ  คือว่าเป็นปกติที่คนและสัตว์ทั้งหมดต้องการ  คือไม่ต้องการให้ใครมาทำอันตรายกับเราแบบนั้น

          ไม่ต้องการให้ใครเขามาฆ่า   ไม่ต้องการให้ใครเขามาทำร้าย
          ไม่ต้องการให้ใครเขามาลักของขโมยของ  ยื้อแย่งของและทรัพย์สิน
          ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งความรัก
          ไม่ต้องการให้ใครโกหก
          ไม่ต้องการให้ใครเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้า

คำว่า  คนบ้า  ในที่นี้ก็ได้แก่ การดื่มสุราเมรัย  ของมึนเมา  อาการที่มึนเมาเข้าไปแล้ว  บรรดาท่านทั้งหลายมันก็ไม่ต่างอะไรกับคนบ้า ดีไม่ดีคล้ายสัตว์สี่เท้าเสียอีก  นอนเหมือนสัตว์ที่เท้า มีอาการเหมือนสัตว์สี่เท้าก็ยังทำได้

          นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่ปกติ  ปกติของมนุษย์แปลว่าใจสูง  ไม่ต้องการอย่างนั้น  นี่พูดถึง  ศีลบารมี  ถ้าเป็นพระ เป็นเณร หรือผู้รักษาอุโบสถ ก็ทรงอาการอย่างนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ให้มันเป็นปกติ

          ทีนี้การรักษาศีลให้เป็นปกติทำยังไง…?  ใน อุทิมพริกสูตร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “สาวกของเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง  ไม่แนะนำให้บุคคลอื่นทำลายศีล  และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว” อาการอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ใจของท่านทรงได้แล้วหรือยัง…?

          ถ้าจะถามว่าปฏิบัติศีลแบบไหนเป็น ปรมัตถศีล  จึงจะ เข้าถึงพระนิพพานได้  ถ้าเราตอบกันไปแบบเล่นสำนวนก็ตอบกันได้แบบสบาย ๆ เมื่อไรมันก็ไม่จบ

          ถ้าเรามาสรุปตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “เราแนะนำบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเรา (ในนั้นท่านเรียกกันว่า  ยามสี่ คือ ไม่มีสุรา และเวลานี้เรามาเทียบกันได้กับศีล ๕)  เราแนะนำแบบนี้ว่า

1.  เธอจงอย่าเป็นผู้ทำลายศีลด้วยตนเอง
2.  เธออย่ายุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล และก็
3.  ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เราสอนแบบนี้  สาวกของเรารับฟังแล้วปฏิบัติตามเรา จึงประกาศผล และสาวกของเราจึงยอมรับผลว่าได้มรรคได้ผลสมความปรารถนา”

          นี่ว่ากันโดยใจความเป็นภาษาไทย ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถามว่า  จะรักษาศีลอย่างไหนจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้…?  ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทยึดศีลข้อนี้เข้าไว้  แบบนี้นี่แหละ ๓ ประการ

          ถ้าจะถามว่า ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในศีลบารมี ถ้ามีกำลังใจครบถ้วน เรามีทานบารมีควบด้วยหรือเปล่า…? อาตมาก็ต้องตอบว่ามี ที่มีก็คือ อภัยทาน เพราะคนที่จะมีศีลได้ต้องมี เมตตา  และมี  กรุณา  ทั้ง ๒ ประการ เราก็มีทาน การให้คืออภัยทาน ให้อภัยแก่บุคคลผู้ผิด เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์

          เว้นไว้แต่ว่าบุคคลผู้มีเจตนาปฏิบัติผิดพระวินัย  หรือ ระเบียบกฎข้อบังคับ อย่างที่เป็นกฎข้อบังคับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสุมพุทธเจ้าทรงวางไว้  พระองค์ก็ยังทรงลงโทษ ถ้าผิดแบบนี้เราไม่ให้อภัย เพราะเรามีความรักในเขา เรามีความสงสารในท่านผู้นั้น ถ้าไม่ลงโทษตามระเบียบวินัยก็จะปล่อยให้เขาเลวเกินไป เป็นอันว่าเราไม่รัก

          ตามคติโบราณท่านบอกว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าวัวควายของเราถ้าไม่ผูกไว้มันก็จะอดหญ้าตาย ดีไม่ดีผู้ร้ายก็ขโมยเอาไปฆ่าหรือเอาไปทรมาน ก็จัดว่าเป็นการไม่รักวัวรักควาย  ถ้ามีลูกหญิงลูกชายเราปล่อยให้เหลิงกันไปตั้งแต่เด็ก  พอโตแล้วเอาไม่ไหว  ก็แสดงว่าเราไม่รักลูก ลูกเลวเราจะมาร้อนใจอะไร

          นี่ถ้าหากว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น  ถ้าเขาผิดระเบียบวินัย เราก็ต้องลงโทษ ถ้าหากว่าถ้าเป็นความผิดอย่างอื่นที่ไม่เสียหาย เราก็ให้อภัย  จัดเป็นอภัยทาน นี่รักษาศีลเราก็มีทานด้วย

          ในด้าน เนกขัมมะ เนกขัมมะ  นี่เขาเรียกว่า  ไม่มีการพยาบาท  ไม่โกรธไม่พยาบาท  ในเมื่อเรามีเมตตาเสียแล้ว  ไอ้ตัวโกรธตัวพยาบาทที่มันเนื่องไปด้วยกิเลสมันจะมีขึ้นมาได้ยังไง  นี่เรารักษาศีลเราก็มีเนกขัมมะ  บารมีมันรวมตัวกัน

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลมี ปัญญาบารมี  ควบด้วยไหม…? ก็ตอบได้ง่าย ๆ ว่า  คนโง่น่ะไม่มีใครเขารักษาศีล คนที่ทำลายศีลน่ะไม่ใช่คนฉลาด  เพราะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตน นี่คนที่รักษาศีลได้ครบถ้วนบริบูรณ์ก็เป็นคนมีปัญญาบารมีอยู่แล้ว ไม่ยาก  ไม่เห็นอะไรจะยาก

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลแล้ว  วิริยบารมี  ตามมาด้วยหรือ เปล่า…? ก็ต้องตอบว่ามี เพราะนิสัยเดิมของเราเป็นคนใจโหดร้าย ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  คิดว่าสัตว์เป็นอาหารของเรา แต่เรางดเว้นเสีย ต้องหักห้ามอารมณ์แบบนี้เป็นต้น เราเคยยิงเนื้อยิงสัตว์ ทำลายชีวิตสัตว์ ทำลายร่างกายบุคคลอื่น เรางดไม่ทำ แทนที่จะใช้ความโหดร้ายเข้ามาประจำใจ เรากลับมีเมตตา กรุณา คือความรัก ความสงสารเข้ามาประจำ ฝืนอารมณ์เดิม หักห้ามอารมณ์เดิมเข้าไว้ กว่าจะทำได้มันต้องใช้เวลา นี่ต้องใช้ วิริยะ ความเพียร

          ถามว่า ขันติบารมี ล่ะมีไหม…?  อ๋อ… ก็การอดกลั้นยังไวล่ะ… สมมุติว่าท่านทั้งหลายที่อยากจะกินเหล้าเมาสุราเคยกินเหล้าเมาสุรามาแล้ว รักษาศีลอยากจะให้ศีลบริสุทธิ์มันมีความอยากเข้ามาก็ต้องอดเข้าไว้ กลั้นเข้าไว้คิดว่าเราจะเอาดี  หรือว่าคนที่ชอบเจ้าชู้ ลูกเขาเมียใคร ผัวเขาผัวใครไม่เลือก ชอบใจสัมผัสดะ เราก็ต้องใช้ขันติบารมีว่าเวลานี้เรารักษาศีล เราไม่ทำ ใช้ขันติเข้าควบ ใช้วิริยะ  ใช้ปัญญา

          ทีนี้ถามว่า ถ้าเราปฏิบัติแต่ศีลบารมีอย่างเดียว สัจจบารมี จะมีด้วยหรือเปล่า…? สัจจะนี่แปลว่า ความจริง ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ เราเป็นคนจริง เราไม่ใช่คนหลอก เราจะรักษาศีลจริง ๆ เราไม่ได้รักษาศีลหลอก ๆ เราก็ต้องมีความจริงว่าเราจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดมุสาวาท ไม่ดื่มสุราเมรัย เราต้องมีความจริงใจว่า เราจะไม่ทำเองด้วย เราจะไม่ยุให้คนอื่นเขาทำ และจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นเขาทำแล้ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส สัจจะคือความจริงตัวนี้  ต้องทรงอยู่เป็นปกติ ถ้าขาดสัจจะเมื่อไรศีลพังเมื่อนั้น เห็นหรือยังว่า สัจจบารมีก็มี

          ทีนี้ถ้าจะถามว่าถ้าเจริญศีลบารมีแล้ว  อธิษฐานบารมี มีไหม…?  อธิษฐานนี่มันตัวตั้งใจไว้แต่เดิมนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าความตั้งใจไม่ทรงอยู่ เปลี่ยนแปลงเมื่อไร ศีลพังเมื่อนั้น  ถ้าคิดว่าไม่เป็นไร จะกินเหล้าสักประเดี๋ยว ลาศีลนิดหนึ่ง เห็นไหม เวลานี้เราต้องการประโยชน์ ขอโกหกสักนิดเถอะ ลาศีลก่อน นี่ถ้าไร้อธิษฐานบารมีมันเป็นอย่างนั้น อธิษฐานบารมีตัวตั้งใจเดิม ต้องทรงไว้ว่าเราจะเป็นคนที่มีศีลบริสุทธิ์ มันต้องมี อธิษฐาน

          สำหรับ  เมตตาบารมี  ไม่ต้องพูดกัน เพราะการทรงศีลต้องมีเมตตาอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีเมตตาศีลไม่มี

          เวลาที่เราจะรักษาศีล  อุเบกขาบารมี  ต้องมีไหมล่ะ…?  ก็ขอตอบได้ว่า อุเบกขาบารมีมันต้องมีซิ…อย่างชนิดที่เรียกว่าเราไม่ทำร้ายเขา แต่เขากลั่นแกล้งเรา เราก็อดไว้ ใจมัยอยากจะสู้  ใจมันอยากจะสู้เขา ใจมันอยากจะทำร้ายเขาต้องใช้ ขันติ ความอดทน วิริยะ คุมเข้าไว้  ปัญญา คอยห้ามปราม สัจจะ ทรงตัวเข้าไว้ บอกไม่ได้ เราตั้งใจไว้แล้ว  อธิษฐาน  ทรงจิตเข้าไว้ว่าปักหลักนิ่งเข้าไว้แล้วจะทำเขาไม่ได้ อุเบกขา เลยต้องพยายามทรงตัว  ยืนเฉยเข้าไว้ อะไรมันจะมาที่มันจะเป็นอันตรายเป็นเครื่องทำลายศีล เรายืนเฉยเข้าไว้

          เฉยทำไม…?  เพราะเราต้องการ พระนิพพาน  เราไม่ต้องการความเกิดอีก  เราจะปิดกั้นความเกิด เราต้องมีอุเบกขา อุเบกขาตัวนี้ความจริงในด้านบารมีนี่เป็นตัวสูงมาก แต่เราจะเอาไว้พูดกันในคราวหลัง บารมีนี่จะพูดกันมากก็คงไม่มีกี่บารมีนัก

          นี่เราจะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญบารมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องมีบารมีอีก ๙ อย่าง มาประกอบเข้าเป็นเครื่องประดับหรือเป็นเครื่องประคับประคองหมดทั้ง ๙ อย่าง รวมเป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน
          นี่เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีความเข้าใจว่า  บารมีของเรายังไม่ครบถ้วน ยังบกพร่อง  หรือว่า เราเป็นคนไม่มีบารมีเลย  ก็จงทราบว่า  บารมีน่ะมีอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูไม่ได้กีดไม่ได้กันเรื่องบารมี  ทุกคนมีบารมีได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแจกบารมีให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า แจก ก็หมายถึงว่า การแนะนำ  ไม่ใช่ยกบารมีส่วนตัวมาแจกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่มันแจกกันไม่ได้ เพราะอะไร  เพราะมันเป็นกำลังใจของแต่ละคน

          มีหลายท่านด้วยกันเคยมาหาอาตมา บอกว่าอยากจะขอบารมีให้ช่วยสงเคราะห์ให้ตัวของท่านดีขึ้น แต่เพื่อความสุขของท่านผู้นั้น  อาตมาก็บอกว่า “สาธุ ดีแล้วอาตมาจะสงเคราะห์ในการแบ่งปันบารมีให้”  ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าทำได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของท่านผู้พูด  ความจริงบารมีมันอยู่ที่ตัวท่านแล้ว  แต่ทว่าถ้าเราขาดกำลังใจเสียอย่างเดียว ทุกอย่างมันก็ทำไม่ได้ ถ้าท่านทั้งหลายพวกนั้นยังมีความรู้สึกอยู่ว่า ตัวท่านเองเป็นผู้ไม่มีบารมี ท่านก็จะขาดกำลังใจ

          ในเมื่อท่านมาขอบารมีก็บอกว่า เอ้า! ให้ สงเคราะห์ให้ เต็มใจให้ รับก็แล้วกัน อาตมาพร้อมที่จะมอบให้เสมอ เมื่อเวลามอบให้ท่านก็คือมอบกำลังใจ เพราะว่าถ้าเราไม่ให้กำลังใจท่านผู้นั้น ท่านผู้นั้นก็จะไม่ทรงความรู้สึกว่าท่านมีกำลัง

          ทีนี้เมื่อรับฟังอย่างนี้แล้วท่านอาจจะคิดว่าอาตมาน่ะช่วยได้ สามารถจะสงเคราะห์ให้ท่านเป็นผู้มีบารมีสูงสุดได้ ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นมาว่าเราได้พระช่วยแล้ว นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายถ้าเคยฟังมาก็อาจจะคิดว่าอาตมานี่เป็นผู้แจกบารมีได้เก่ง แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น

          มีหลายท่านด้วยกันมากัน  บางทีหลาย ๆ ท่านมักจะมา  พอถามว่า “มาทำไม”  บอกว่า
“มาชมบารมี”  คำนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ฟังแล้วก็ไม่สะดุดใจอะไร  แต่ทว่าท่านทั้งหลายเราคิดกันใหม่ดีกว่า  บารมีของใครไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่บารมีของเรา  เราตั้งใจจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นิพพาน  แล้วก็สร้างบารมีของเราให้ครบถ้วน  คือกำลังใจ  ตั้งใจไว้

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้พูดเฉพาะ ศีลบารมี  เราพยายามทรงศีลของเราให้บริสุทธิ์  ระมัดระวังทุกสิกขาบท อย่าลืมว่า ท่านเป็นปุถุชนคนธรรมดา มีศีล ๕ ต้องบริสุทธิ์ ถ้าท่านยังบอกว่าจำเป็นจะต้องละเมิดอย่างโน้นข้ามอย่างนี้  ก็ถือว่าท่านไม่พร้อมที่จะแสวงหาความดี

          ท่านที่รักษาอุโบสถ  เป็นสามเณร  เป็นภิกษุ  จงถือสิกขาบททุกสิกขาบทยิ่งกว่าชีวิต  จงคิดว่าถ้าเราบกพร่องในสิกขาบทหนึ่ง นั้นคือศีลของเราพังไปเสียแล้ว เราเองก็ถือว่าไม่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะเป็นยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เราฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ปฏิบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลนี่เป็นกฎข้อบังคับว่าเราจะต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเราจะทรงตัวเป็นพุทธสาวกไม่ได้

          ถ้าสรุปรวมความแล้ว  หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงกำลังใจ 3 ประการครบถ้วน คือ

๑.  เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒.  เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลใดทำลายศีล
๓.  เราจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เท่านี้เป็นที่พอใจขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ชื่อว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้มีศีลบารมีครบถ้วนเต็มจำนวนที่พระพุทธเจ้าต้องการ

          ถ้าท่านมีศีลครบถ้วน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึง สรณคมน์ ตามนิยมของพระพุทธศาสนา  คนประเภทนี้จะลงอบายภูมิไม่ได้ อย่างเลวก็เกิดเป็นมนุษย์ แต่ว่าเป็นมนุษย์ชั้นดี  มีรูปร่างหน้าตาสวย มีความเฉลียวฉลาด มีทรัพย์สมบัติเยือกเย็น มีคนใต้บังคับบัญชาก็ตั้งอยู่ในโอวาท บริวารตั้งอยู่ในโอวาท มีวาจาเป็นสัจจะ มีวาจาเป็นทิพย์ พูดอะไรใครก็ชอบ ไม่ขาดสติสัมปชัญญะ

          เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท  ว่ากันมาถึงเรื่องศีล และการประกอบของบารมีอื่นกับศีล  ก็พอสมควรแก่เวลา  สำหรับวันนี้ก็ขอยุติเรื่องศีลไว้แต่เพียงเท่านี้  ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล  จงมีแต่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

ที่มา   www.praratanatrai.com
(เป็นการเทศน์ของ ลพ.ฤาษีลิงดำ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ได้เวลาตอบคำถามของ คุณสาธุครับ และคุณปกรณ์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:48:33 pm »
0
ขออนุญาตตีกรอบแค่ ศีล ๕ นะครับ

ตอบคุณสาธุครับ

          ขอให้อ่านหัวข้อ องค์ของศีล ให้ดีนะครับ
เอาไว้เป็นเครื่องมือ ตัดสินว่าผิดศีลหรือไม่


ตอบคุณปกรณ์

      ขอตอบดังนี้ครับ

      เมื่อเราอาราธนาศีลแล้ว พลาดพลั้งทำอะไรที่คิดว่าผิดศีลลงไป
ให้นำองค์ของศีล(ตามข้อความด้านบน)มาวินิจฉัยว่า ศีลขาดหรือไม่
 
กรณีที่วินิจฉัยแล้วว่า ศีลขาด

      โดยความเห็นส่วนตัวผม  จะหาโอกาสอาราธนาใหม่ให้เร็วที่สุด
ในกรณีที่จิตตก ขาดกำลังใจ หดหู่ ผมจะพยายามวางเฉย หากิจกรรมอื่นๆทำ
เพื่อให้ลืมเรื่องนั้น แล้วอาราธนาใหม่อีกครั้ง

ในส่วนคำถามของคุณปกรณ์ที่ถามว่า

“.......ผิดศีล แล้วศีลขาด ขาดนานไหม”

    ผมขอแนะนำว่า “อย่าให้ความสำคัญมั่นหมายกับเวลาเลย
จะนานหรือไม่นาน ไม่ควรให้ค่ากับมัน จะทำให้คุณเครียดเปล่าๆ”

ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ให้แบ่งเวลาแต่ละวันเป็นช่วงๆ

เช่น เราอาราธนาศีลตอนเช้า ตอนกลางวันเผลอไปพูดเท็จด้วยเหตุอะไรก็ตาม

สมมติว่า เราใช้เวลาพูดเท็จประมาณ ๓ นาที หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรที่ผิดศีลอีก
จนถึงเช้าของอีกวันหนึ่ง

     เราสามารถที่จะภูมิใจได้เลยว่า วันหนึ่งตั้ง ๒๔ ชั่งโมง เราทำผิดศีลแค่ ๓ นาทีเอง
นี่เป็นวิธีคิดบวก เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเองครับ


ฝากข้อคิดเอาไว้นิดหนึ่งว่า

“การอาราธนาศีล ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่ เป็นการตั้งสัจจะอธิษฐานต่อตนเอง

 การละเมิดศีล เป็นการไม่ทำตามสัจจะอธิษฐาน

โทษอย่างหนึ่งของมันก็คือ กำลังใจจะถดถอยลงไป”


ท้ายนี้ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 08:37:21 pm »
0
 :) :) :) :)
ขอบคุณ คุณนัททพลสน มากครับได้ความรู้จริง ๆ

บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 01:14:35 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 07:09:43 pm »
0
เรื่องนี้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เก่า แต่เมื่อได้อ่านติดตามมาแล้ว รู้สึกว่าคำถามโดนใจมากคะ

  ที่น่าสนใจ นะคะ คือ เมื่อเราทำผิดศีลแล้ว ใช้เวลาเท่าไร จึงจะทำให้ศีลบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันนี้ ดิฉันสนใจมากคะ
เพราะบางทีพูดโกหกไปด้วยความจำเป็น แล้วมานั่งกรรมฐาน บางทีก็ทำให้ใจเขว ไม่ลงรวมเป็นสมาธิ คะ

  จึงคิดว่า น่าจะบกพร่องที่ ศีลไม่หมดจด ใช่หรือไม่คะ

  ดังนั้นอยากจะให้ พี่ ๆ เพื่อน ที่เป็นสมาชิก และเป็นนักภาวนาจริง ๆ ช่วยแนะนำวิธีที่ดี ที่สุด ในการทำศีลให้บริสุทธิ์ และใช้เวลาที่ไม่นานคะ

  ขอบคุณนะคะ

   เรื่องนี้ ยกนิ้วให้จริง ๆ คะ

 :s_good: :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 07:43:50 pm »
0
ได้อ่านมา แล้ว ผมว่าน้ำหนักความผิดของศีลก็มีส่วนนะครับ บางครั้ง ศีล 5 ( เอาแค่ 5 ข้อ )

 1. ฆ่าสัตว์ นี้ไม่สามารถฟื้นชีวิตได้ นะครับ เช่นผมมีอายุมา 60 ปี ผมฆ่าสัตว์ วันเดียว จะตอบว่าผมดีใจหรือไม่ ที่ 60 ปีไม่เคยฆ่าสัตว์เลย แต่จิตมาตกเพราะต้องฆ่าสัตว์วันเดียว เพียงแค่ชั่วไม่กี่วินาที

  ผมว่า น้ำหนักของผลกรรม ที่ล่วงเกินศีล น่าจะเป็นเครื่องวัดองค์แห่งศีลด้วยประหนึ่งนะครับ
 
  ศีลบริสุทธิ์หมดจดตอนไหน อยากให้พิจารณา องคุลีมาลฆ่าคนมามากมาย แต่ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ในช่วงเวลาที่ท่านทำศีลวิสุทธิ น่าจะไม่เกี่ยวกับอดีต ที่ยาวนาน ใช่หรือไม่

   คืออ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ เพราะถึงไม่นับเรื่องเวลา แต่จิตก็ยังนับความหมดจดเป็น ครั้งอยู่ดี ใช่หรือไม่ครับ
   
    :s_hi:
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ุ้ถ้าคนเราทำผิดศีล แล้วรับศีล .....
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 08:14:25 pm »
0
ประเด็นน่าจะอยู่ ตรงสีลวิสุทธิ ในขณะปฏิบัติ

  ถ้าตีความว่า การมีศีล... หมายถึงไม่ผิดศีล น่าจะอธิบายได้ง่าย ก็หมายความจิตเราได้สมาทานศีลไว้ ในขณะนั้นนะคะ แต่เวลาอื่นไม่ได้สมาทานศีล เพราะศีลเป็นภาวนาเช่นกันดังนั้น องค์ของศีลวิสุทธิ จึงต้องภาวนาด้วยวิธีการที่ทำให้ศีล หมดจดด้วยคะ

   ดังนั้นการสมาทานศีล คือ รับศีล แต่ตัวศีลเองยังไม่เกิด .. เพราะยังไม่ได้ภาวนา มีแต่เพียงความตั้งใจเท่านั้นที่จะรักษาศีล ที่นี้เวลาภาวนาก็อยู่ตอนที่เราจะละเมิดศีลนั่นแหละคะ เป็นองค์ภาวนา องค์ของศีล ใช้ หิริ กับ โอตตับปปะ เป็นเครื่องตัดสินใจคะ บางครั้ง เราอาจจะคิดว่าศีลเป็นเรื่องปกติ ตามคำแปล แต่ศีล ในพระพุทธศาสนานั้น เป็นองค์ภาวนานะคะ ศีลก็ต้องภาวนา คะ ดังนั้น

   คำตอบก็คือ ศีลจะหมดจด ก็ตอนที่ภาวนาคะ องค์ภาวนา คือ หิริ โอตตัปป

   อ้างอิงจากคำตอบของพระอาจารย์นะคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า