ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - pinmanee
หน้า: 1 2 [3]
81  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เมื่อความทุกข์ ลำบากเข้ามาถึง ทุกคนต่างก็ไม่ยอมกัน เพราะ... เมื่อ: กันยายน 16, 2011, 01:39:35 pm
ช่วงนี้สมาชิก หายไปกันมาก นะคะ
82  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ถวายหนังสือธรรมะ เข้าห้องสมุด คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กันยายน 08, 2011, 12:39:14 pm
อนุโมทนา กับ คณะผู้บริหารโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ด้วยคะ
 :25: :25: :25:

83  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวทนากัมมัฏฐาน เมื่อ: กันยายน 04, 2011, 08:51:49 pm
สุดท้าย หัวข้อก็มาหยุด ที่ สมถะ และ วิปัสสนา กันอีกแล้วนะคะ

 จะเห็นว่่า เวทนา ด้านสมถะ ไม่ชัดเจน ต้องติดตามใน อานาปานสติ ขั้นที่ 5 เป็นต้นไป อันนี้จัดเป็นเวทนากัมมัฏฐาน

  แต่พิจารณาให้ดี ได้ยินว่า ในพระพุทธานุสสติกรรมฐานฝึกเวทนา กรรมฐานโดยตรงเลยนะคะ

 เริ่มตั้งแต่ พระธรรมปีติ ( เป็นเวทนา ) พระยุคลธรรม ( เป็นเวทนา ) พระลักษณะ พระรัศมีก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดจากการเข้าถึง เวทนา พระสุขสมาธิ ( เป็นเวทนา )

 ดังนั้นจัดได้ว่า เวทนากัมมัฏฐาน มีอยู่ในการปฏิบัติภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
 
 ซึ่งผู้ฝึกน่าจะยินดี นะคะ ว่าได้ฝึกกรรมฐาน ส่วนพระอานาปานสติ ตั้งแต่ขั้นที่ 5 ถึง ขั้นที่ 8 เลยคะ

ที่มา  จำมาจากเมลของพระอาจารย์นะคะ

 
84  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ฝึกกรรมฐาน ไม่ต้องขึ้นกรรมฐาน ก็ได้ เมื่อ: สิงหาคม 28, 2011, 05:08:02 pm
ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ?

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1437.0

ถ้าไม่ขึ้นกรรมฐาน จะปฏิบัติภาวนากรรมฐาน สำเร็จหรือป่าวครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2681.0

อยากเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยไม่ขึ้นกรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2322.0

ถ้าไม่ขึ้น กรรมฐาน ปฏิบัติกรรมได้ หรือป่าวครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=165.0

ปรากฏการณ์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=882.0



การรับขันธ์..อันตรายถึงชีวิต

http://www.sanyana.com/buddhathai_detail.php?id_buddhathai=32
85  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 12:10:17 pm
ขอบคุณ ที่ตอบคนแรก เลยนะคะ ตอนแรกคิดว่าจะไม่มีใึครตอบ

จะขออ่านก่อน เดี๋ยวจะกลับมาถามใหม่นะคะ

  :25: :25: :c017: :25:
86  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 10:17:26 am
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ เพราะอ่านมาหลายกระทู้ และ มักจะพูดถึงการติดสุข ของสมาธิ

จึงมีความคิดว่า อย่างนั้น เรา มาทำความเข้าใจ กับคำว่า สุข ของ สมาธิ กันก่อนดีหรือไม่คะ

เพราะส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลยคะ ว่า สุข ของ สมาธิ คือ อะไร บางท่านก็บอกว่า ความสบายใจ คือ

สุขสมาธิ อย่างนี้ใช่หรือไม่คะ

  ขอให้ศิษย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทุกท่าน ช่วยไขข้อข้องใจ นี้ด้วยคะ

  :25: :25: :25: :c017:
87  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / โปรแกรม พระไตรปิฏก ฉบับ มหาจุฬา เวอร์ชั่นที่ 1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:26:34 am
file:///C:/Documents%20and%20Settings/son/My%20Documents/Downloads/Compressed/Madchima_smf_SQL/__Version_10.htm


โปรแกรม พระไตรปิฏก ฉบับ มหาจุฬา เวอร์ชั่นที่ 1
ขนาด ไฟล์ 103.423 mb


ดาวน์โหลดได้ที่ ลิงก์ เลยคะ


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.mcu.ac.th
88  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนวิปัสสนา เมื่อศิษย์ปฏิบัิติ ถึงห้องไหนคะ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:23:41 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนวิปัสสนา เมื่อศิษย์ปฏิบัิติ ถึงห้องไหนคะ
คืออ่านแล้วสงสัย เพราะติดตามเนื้อหา แล้วดูเหมือนมีแต่ สมถะล้วน ๆ คะ

เลยเปรียบเทียบ กับการฝึกด้านสติ แล้ว รู้สึก ว่าจะฝึกได้ยาก คะ

 :25:
89  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / โปแกรม พระไตรปิฏก บนมือถือ ( ดาวน์โหลดได้ที่นี่ ) เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:21:08 am
โปรแกรม E-Tipitaka for Android

http://203.114.103.68/etipitaka/android/

อ่านรายละเอียด และ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ คะ









90  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / โปรแกรม รวมพระไตรปิฎก 45 เล่ม ภาษาไทย เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:14:40 am
เจตนาอยากให้ทุกคนได้อ่านบ้าง นะครับ อาจจะได้พระใหม่สักรูป ก็เป็นบุญของพวกเราแล้ว สาธุ

ลิ้งค์ตามนี้ครับ
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.001
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.002
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.003
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.004
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.005
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.006
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.007
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.008
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.009
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.010
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.011
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.012
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.013
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.014
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.015
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.016
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.017
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/data.018
http://dhammatan.84000.org/tripitaka/setup.BAT
* file Setup.bat มีขนาดเล็กมากเพียง 1 KB ให้คลิกขวาแล้วเลือก Save Target As...
* KB = ขนาดเล็ก ( 1000 KB = 1 MB )
* รวมขนาด download โปรแกรมพระไตรปิฎกธรรมทานมีขนาดเพียง 72 MB (แบบ cd-rom 223 MB ครับ)
แบบที่ download นี้ ข้อมูลทั้งหมด วิธีใช้ ความเร็ว ไม่ต่างจาก cd-rom เลย
* สามารถใช้โปรแกรม download ได้


คน ไม่เคยอ่านครั้งแรกอาจจะคิดว่ามีแต่ บาลีเต็มไปหมด ไม่ใช่อย่างนั้น ภาษาไทยล้วนๆ  เหมือนนิทานมากกว่า (แต่เราก็ไม่เรียกเป็นนิทาน เรียกว่าพุทธประวัติ )เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ที่ท่องจำต่อๆ กันมา สองพันกว่าปี ไม่ใช่ให้พระอ่านอย่างเดียว ทุกคนควรได้ศึกษา ไม่ว่าจะศาสนาใดๆ ก็ศึกษาได้
นิมนต์มาจากเว็ป http://www.84000.org/ ขอบคุณครับ
ฟังเพลงเย็นๆ เพลงมหากรุณาธิสูตรเวอร์ชั่นภาษาธิเบต

 
http://www.clubw124.com/image/music/tibet.wma



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.84000.org/wallpaper/
91  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ต้องการปฏิบัติ กรรมฐาน เพียงแค่ให้อารมณ์ สบาย ๆ ผิดหรือไม่ คะ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:01:06 am
ต้องการปฏิบัติ กรรมฐาน เพียงแค่ให้อารมณ์ สบาย ๆ ผิดหรือไม่ คะ
เพราะยังไม่มีเป้าหมาย เพื่อการพ้นจากโลก คะ ยัง เรียนอยู่ ทำงานอยู่ ยังมีอายุน้อย คะ

 :58: :c017:
92  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / Re: http://www.watsanamnai.org/ วัดสนามใน ( ตารางปฏิบัติ ประจำวัน ) เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 09:25:09 am
ตารางปฏิบัติธรรม :

03:30  น.           ระฆังสัญญาณเตรียมตัวทำวัตรเช้า

04:00  น.           สวดมนต์ทำวัตรเช้า และ ปฏิบัติธรรมร่วมกัน

05:00  น.           ทำความสะอาดบริเวณศาลาใหญ่และโบสถ์

05:15  น.           พระสงฆ์และอุบาสกเตรียมบินฑบาต

07:00  น.           ฉันภัตตาหารเช้า บริเวณหอฉัน

09:00  น.           ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ที่ศาลาใหญ่และโบสถ์

10:30  น.           แยกปฏิบัติกิจส่วนตัว

11:00  น.           ฉันภัตตาหารเพล บริเวณหอฉัน

13:00  น.           ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ที่ศาลาใหญ่และโบสถ์

14:30  น.           ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณวัด

17:30  น.           สวดมนต์ทำวัตรเย็น และ ปฏิบัติธรรมร่วมกันที่ศาลาใหญ่

20:00  น.           แยกปฏิบัติกิจส่วนตัวและพักผ่อน
                       

                        ( วันพระปฎิบัติถึง   20:30  น.)



93  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.watsanamnai.org/ วัดสนามใน เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 09:22:30 am


http://www.watsanamnai.org/

วัดสนามใน



94  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / สอบอารมณ์กรรมฐาน ทางอิริยาบถ ( หลววพ่อเทียน ) เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 09:15:37 am


สอบอารมณ์กรรมฐาน ทางอิริยาบถ ( หลววพ่อเทียน )


ไม่ทราบว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการสอบอารมณ์อย่างไรคะ

 :s_good: :welcome:
95  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เตโช วาโย อาโป ปถวี (The four Elements) 8 - 22 ส.ค.54 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 04:18:28 pm
คุณ wipadakao มีข้อมูลงาน อื่น ๆ ก็นำมาลงให้ทราบอีกนะคะ

 :c017:

96  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ไหว้ครู ขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ ครั้งที่ ๒๒๙ (ปี๒๕๕๔) ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 04:16:40 pm
ตั้งใจจะไปเหมือนกัน คะ แต่ก็ไปไม่ได้ ติดงานวันหยุดคะ
พาเด็กนักเรียน ร่วมขบวนแห่เทียนพรรษา คะ

ไปไม่ได้

  :'( :'( :'(

 ก็อนุโมทนา กับทุกท่านที่ไปได้กันทุกท่านนะคะ

 :25: :25: :25:
97  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมปฏิบัติธรรม สิงหา ราชินี วันที่ 12 - 13- 14 ส.ค. 54 วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 04:15:25 pm
อนุโมทนาด้วย คะ

 :25:
98  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธเจ้า โปรดพุทธมารดา 1 พรรษาเต็ม ไมทราบว่าพรรษาที่เท่าไหร่คะ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 04:14:27 pm
จำได้ว่า มีอยู่พรรษาหนึ่ง พระพุทธเจ้าอยู่จำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดุสิต โปรดพุทธมารดา ให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
1 พรรษาเต็ม ไม่ทราบว่าเป็นพรรษาที่เท่าไหร่ คะ และ เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรคะ

อีกอย่างไปโปรด พุทธมารดา ก่อน หรือ พุทธบิดาก่อน


ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com
99  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมตักบาตร ดอกไม้ประจำปี 2554 15 - 16 ก.ค.54 ณ วัดพระพุึทธบาท สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2011, 08:17:37 am
ทราบแล้ว อย่างไปร่วมทำบุญ และกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท มาก ๆ เลยคะ
ถ้าไปที่วัดพระพุทธบาท แล้ว ไปที่ไหนต่อได้บ้างคะ ที่เป็นสถานที่ ชาวธรรม ควรได้ไปเยือน คะ

แนะนำเส้นทางให้หน่อยคะ

 :c017:
100  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อะไร เรียกว่า การทำสมถะ อะไรเรียกว่าการทำ วิปัสสนา เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2011, 08:34:38 pm
อะไร เรียกว่า การทำสมถะ

   ยังสงสัยอยู่คะ การทำสมถะ คือ การทำจิตให้นิ่ง ใช่หรือไม่คะ   

อะไรเรียกว่าการทำ วิปัสสนา

   ยังสงสัยอยู่คะ การวิปัสสนา คือ การพิจารณา ไตรลักษณ์ ( จำเขามา )

 แต่การนั่งนิ่ง ๆ จะเป็นสมาธิ ได้อย่างไร

 และการกำหนด เดินหนอ ย่างหนอ จะเป็นวิปัสสนา ได้อย่างไร

 ไม่เข้าใจจริง ๆ คะ

  :25:
101  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิบัติอย่างไร จึงจะเรียกว่า ทำการภาวนาให้สมบูรณ์ เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2011, 08:27:44 pm
คือ อยากทราบว่า อะไร คือ ความพอดี ในการปฏิบัต

บางทีไปพระท่านก็บอกว่า ต้องทำวิปัสสนา ให้มาก

ไปอีกวัด ก็บอกให้ทำสมถะ ให้แน่น

 ที่จริง แล้วพิจารณา จากอะไร ที่เรียกว่า สมดุลย์ ระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา

 ( ขออภัยล่วงหน้ากับทุกท่าน ที่อาจจะถามคำถามแบบไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ )

 :c017:
102  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากปฏิบัติธรรม แต่ ไม่ต้องการนั่งสมาธิ ได้หรือไม่คะ เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2011, 09:14:04 am
ความเข้าใจ โดยส่วนตัว นะคะ

การปฏิบัติธรรม ก็ คือการสร้างกุศลจิต

 ดังนั้น การทำบุญ ฟังธรรม อนุโมทนา รักษาศีล บำเพ็ญประโยชน์ พูดธรรมะ เป็นต้น เหล่านี่้ก็ชือว่า ปฏิบัตภาวนาธรรมแล้ว คะ

  ส่วนการปฏิบัติ สมาธิ ก็มีวิธีการมากมาย ตามแบบ ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการฝึกสมาธิ ในระดับไหน

 เช่น ขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ใช่หรือไม่คะ

 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสร้างกุศลจิต เกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม แล้วในตัวคะ




 :57:
103  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งาน "อาสาฬหบูชา ธรรมยาตราคุ้มครองโลก" ในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ค. 2554 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2011, 12:36:38 pm
ขอบคุณ ข่าวสาร ที่นำมาเสนอให้ทราบคะ
 เพราะที่จริง ก็ไม่ค่อยรู้ว่า ที่ไหน มีกิจกรรมอะไร อยู่ไกลที่ไหน ก็อยากไปร่วมที่นั้นบ้างคะ

  ขอบคุณมากคะ

 :25:
104  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ข้อ คิด ดี ๆ ที่ ไม่ อยาก ให้ คุณ พลาด... เมื่อ: มิถุนายน 26, 2011, 12:35:24 pm


สาธุ สาธุ สาธุ

ที่เราได้อ่านกันอยู่ นี้อยากบอกว่า ขอบคุณ ผู้โพสต์ ทุกท่านคะ
และเราก็จักติดตามอ่านผลงาน ของทุกท่าน กันต่อไป คะ

ปิ่น

 :25: :25: :25:
105  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: อภยปริตร สำหรับ สวดเมื่อฝันร้าย ไม่ฝันร้ายก็สวดดี เมื่อ: มิถุนายน 24, 2011, 10:18:25 am
ขอบคุณพระอาจารย์ มากเลยคะ เมื่อคืนนอนฝันร้าย ไม่ดี อาจจะเพราะเครียดในการทำงาน

จะนำไปสวดก่อนนอนทุกคืน เลยคะ


 :25: :c017:
106  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 10:11:59 am
ธุดงควัตร น่าจะเป็น ของพระภิกษุ เท่านั้น นะคะ

ไม่น่าจะเหมาะ กับฆราวาส คะ

 :13:
107  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ฟรี DVD ธรรมหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เมื่อ: มิถุนายน 14, 2011, 09:22:21 am
สาธุ คะ

อนุโมทนา ด้วยคะ

 :25:
108  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 10 กลยุทธ์ ในการลดความเคลียดในบ้าน เมื่อ: มิถุนายน 12, 2011, 06:51:57 pm


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.homelivingmall.com/


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bannok.com

กลยุทธ์ที่ 1 : อย่าคาดหวังว่า "บ้าน" ต้องเหมือนบ้านตัวอย่าง หรือ บ้านในแมกกาซีน
ระลึก ไว้เสนอว่า บ้านคือสถานที่ที่ทุกคนในครอบครัวใช้ดำรงชีวิตอยู่ประกอบกับกิจกรรมต่างๆ ในครอบ ครัว การคาดหวังว่าบ้านบ้านต้องสมบูรณ์แบบเป็นระเบียบ สะอาดสะอ้านไม่มีที่ติ เป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก หากคุณไม่มีตำแหน่งคนดูแลบ้าน คนดูสวน แต่ต้องทำกันเองทั้งหมด ก็อย่าได้ไปเครียด หรือวิตก กังวล เพราะบ้านที่อบอุ่น มีชีวิตชีวา ต้องมีความเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

กลยุทธ์ที่ 2 : หาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน
คง เป็นไปได้ยาก หากบุคคลในครอบครัวจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกันทุกมื้อ เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน เวลาเลิก งาน ความรับผิดชอบ รวมทั้งปัญหาจราจรซึ่งทำให้เวลาไม่ตรงกัน แต่การหาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน โดยถือเป็นมื้อของครอบครัว ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เช่น กำหนดให้วันอาทิตย์มื้อเย็นเป็นการรับประทานอาหารในครอบครัวหนึ่งมื้อ

กลยุทธ์ที่ 3 : ให้ความสำคัญกับทุกคนในครอบครัวด้วยการแบ่งปันหน้าที่รับผิดชอบในบ้าน
กลยุทธ์ นี้หมายถึงนอกจากให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของ ผู้เป็นแม่บ้านด้วย ยกตัว อย่าง เช่น ลูกสาวคนโตมีหน้าที่จ่ายตลาด ลูกสาวคนรองเข้าครัวเป็นลูกมือ คุณพ่อต้องตัดหญ้าและล้างรถร่วมกับลูกชายในทุกวันเสาร์ ฯลฯ

กลยุทธ์ที่ 4 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
กรณี นี้หมายถึง การหัดเด็กๆ ในบ้าน รู้เวลาเข้านอน ตื่นนอน เตรียมอุปกรณ์การเรียน การทำความสะอาดห้อง การเก็บที่นอน ฯลฯ เพราะกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับสมาชิก ครอบครัวและยังเป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัวร่วมกันด้วย

กลยุทธ์ที่ 5 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
การ ปรึกษาหารือ เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อและแม่มีบทบาทสำคัญ การใช้เวลานั่งดูโทรทัศน์ หรือ ใช้เวลาตอนรดน้ำต้นไม้สอบถามเรื่อง การเรียนของลูก การทำงานของสามี-ภรรยา คุยถึงเพื่อนๆหรือกิจกรรมพิเศษของลูกในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะการพูดคุยเช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดถาวะการสะสมเรื่องราว อีกทั้งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความใกล้ชิดระหว่างกัน

กลยุทธ์ที่ 6 : ให้ความสำคัญกับวันพิเศษของสมาชิกในครอบครัว
วัน ครบรอบการแต่งงาน วันเกิดลูกๆ วันรับปริญญา หรือวันที่ลูกเข้าแข่งขันกีฬานัดสำคัญ สิ่งเหล่านนี้ล้วนสำคัญและไม่น่ามองข้าม เพราะสมาชิกในครอบครัวต้องการกำลังใจ และความเอาใจใส่จากคนในครอบครัวมากกว่าบุคคลอื่น

กลยุทธ์ที่ 7 : ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
หากสามี หรือ ภรรยา เกิดปัญหาจากการทำงาน การพูดคุย ปรึกษาหรือถามไถ่ในเวลาที่สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ ถือเป็นน้ำทิพย์ชโลม จิตใจที่ดี เหมือนสายฝนที่ชุ่มฉ่ำ แม้กระทั่งการให้กำลังใจลูกเมื่อพลาดจากการสอบ หรือพลาดจาการชนะในการแข่งขันกีฬา อย่าได้ซ้ำเติม หรือเพิกเฉย ปล่อบให้คิดแก้ปัญหาเองโดยไม่มีคำปรึกษาที่ดี

กลยุทธ์ที่ 8 : หาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยผ่อนแรงงานในบ้านบ้าง
ไม่ ได้หมายความว่าคุณจะต้องซื้อทุกอย่างที่อำนวยความสะดวกมาซะทุกชิ้น แต่ต้องพิจารณาว่าชิ้นไหนควร ? ไม่ควร ? หรือเหมาะสมกับ สภาพทางการเงินในครอบครัวหรือไม่ ? เพราะการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกใบบ้านบางชิ้น สามารถประหยัดเวลาในการทำงาน ซึ่ง นั้นก็หมายความว่าคุณมีเวลาได้ทำกิจกรรมอื่นภายในบ้าน หรือมีเวลาให้กับคนในครอบครัวมากขึ้น

กลยุทธ์ที่ 9 : หากิจกรรมพักผ่อนในวันหยุดร่วมกัน
สิ่ง นี้เป็นสำคัญเพราะว่าเป็นจุดทำลายความตึงเครียดของทุกคนในบ้านด้วยการ เปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่พักอาศัยชั่วคราว เปลี่ยนรสชาติของอาหาร ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ทุกคนได้ผ่อนคลายจากภาระการทำงานนอกบ้าน ภาระการทำ งานในบ้าน ภาระการเรียนหนังสือ ฯลฯ

กลยุทธ์ที่ 10 : เริ่มต้น - จบลงด้วยบรรยากาศที่ดี
กลยุทธ์ นี้สัมพันธ์กับการพูด การพูดที่ดีต่อกันของสมาชิกในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว การ พูดจากระแทกแดกดัน หรือใช้อารมณ์ที่ขุ่นมัว ซึ่งติดมากับที่อื่น จะทำให้สมาชิกในบ้านเกิดความตรึงเครียด

10 กลยุทธ์ของการลดความเครียดในบ้านที่เอามาฝาก ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงอาศัยความละเอียดอ่อน ความสังเกต และความรัก เป็น ที่ตั้งอันสำคัญ เตรียมพร้อม เพื่อปกป้องเรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเครียดในครอบครัวแล้วอย่าลืมตระเตรียมร่มคู่ใจ ให้สำหรับสมาชิกใน บ้านด้วยนะค่ะ เพราะย่างเข้าฤดูฝนกันแล้ว สุขภาพจิตดี ต้องสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเสมอ....
109  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งกรรมฐาน แล้วร่างกาย กระตุก อยากได้คำแนะนำคะ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2011, 07:39:34 pm
ตอนที่กระตุกก็ตกใจนิดนึงแต่ไม่ลืมตา และก็บริกรรมต่อแต่ตอนนี้จิตไม่สงบแล้ว ก็บริกรรมต่อไปเรื่อยๆ พอจิตเริ่มนิ่งเริ่มสงบก็กระตุกเบาๆอีกแล้ว ทีนี้จิตก็ไม่สงบจนนั่งเสร็จ

ถ้าฝึกไปเรื่อยๆจะีดีขึ้นใช่มั้ยคะ
110  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งกรรมฐาน แล้วร่างกาย กระตุก อยากได้คำแนะนำคะ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2011, 07:38:28 pm
ขอรบกวนถามผู้รู้หน่อยค่ะ...

เพิ่งเริ่มนั่งสมาธิกรรมฐาน เป็นครั้งแรกเมื่อวานหลังวจากที่ไม่ได้นั่งมานานหลายปี
สังเกตุตอนที่ภาวนาไปเรื่อยๆจนจิตเริ่มเป็นสมาธิ ร่างกายจะกระตุกเบาๆ หนึ่งครั้ง

แต่ไม่ได้หลับนะคะ ไม่้ทราบว่าเป็นเพราะอะไร

 :c017:
111  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ศีลเป็นฐานของอริยมรรค เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 07:18:58 pm
ศีลเป็นฐานของอริยมรรค
พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค พลกรณียสูตรที่ ๒

อาศัยศีลเจริญอริยมรรคมีการกำจัดราคะ

[๒๖๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ

(ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ. . . สัมมาวาจา. . . สัมมากัมมันตะ. . . สัมมาอาชีวะ. . . สัมมาวายามะ . . . สัมมาสติ. . . - ธัมมโชติ)

ย่อม เจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

อธิบายเพิ่มเติม

มรรค 8 คือ หนทางสู่ความพ้นทุกข์อันชอบ ประกอบด้วย

1. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เห็นว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ สภาวะเช่นใดคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ วิธีการใดคือทางปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากกาม ออกจากความพยาบาท ออกจากความเบียดเบียน

3. สัมมาวาจา - วาจาชอบ คือ งดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

4. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ หรือ ประพฤติชอบ (ทางกาย) คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม

6. สัมมาวายามะ - ความเพียรชอบ คือ
     1.) เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
     2.) เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
     3.) เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
     4.) เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น มั่นคงต่อไป

7. สัมมาสติ - ระลึกชอบ คือ ตามระลึกรู้ความเป็นไปของกาย เวทนา จิต ธรรม

8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ สมาธิในระดับต่างๆ อันเป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลส

112  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / สังเวคปริกิตตนปาฐะคาถา บทสวดเตือนสติ เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 05:19:21 pm
สังเวคปริกิตตนปาฐะคาถา บทสวดเตือนสติ

วันนี้ัวันพระ เราขออนุญาตแนะนำบทสวดมนต์ที่มีความหมายดีมากบทหนึ่ง
เป็นบทสวดมนต์ที่ทำให้เราสนใจในพระพุทธศาสนา มากขึ้นคะ

สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,

พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,

เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,

และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,

เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,

มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ,

พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,

ชาติปิ ทุกขา, ................ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,

ชะราปิ ทุกขา, ................ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,

มะระณัมปิ ทุกขัง, ........... แม้ความตายก็เป็นทุกข์,

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์,

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

เสยยะถีทัง, ...................... ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

รูปูปาทานักขันโธ, .............. ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป,

เวทะนูปาทานักขันโธ, ......... ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,

สัญญูปาทานักขันโธ, .......... ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา,

สังขารูปาทานักขันโธ, ......... ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร,

วิญญาณูปาทานักขันโธ, ...... ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,

เยสัง ปะริญญายะ, ............... เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง

ธะระมาโน โส ภะคะวา, ......... จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,

ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี, พะหุลา ปะวัตตะติ,

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า,

รูปัง อะนิจจัง, ....................... รูปไม่เที่ยง,

เวทะนา อะนิจจา, .................. เวทนาไม่เที่ยง,

สัญญา อะนิจจา, ................... สัญญาไม่เที่ยง,

สังขารา อะนิจจา, .................. สังขารไม่เที่ยง,

วิญญาณัง อะนิจจัง, ............... วิญญาณไม่เที่ยง,

รูปัง อะนัตตา, ........................ รูปไม่ใช่ตัวตน,

เวทะนา อะนัตตา, ................... เวทนาไม่ใช่ตัวตน,

สัญญา อะนัตตา, .................... สัญญาไม่ใช่ตัวตน,

สังขารา อะนัตตา, ................... สังขารไม่ใช่ตัวตน,

วิญญาณัง อะนัตตา, ................ วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, ........... สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ............ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,

เต (หญิงสวด ตา) มะยัง โอติณณาม๎หะ,

พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,

ชาติยา, .................................. โดยความเกิด,

ชะรามะระเณนะ, ....................... โดยความแก่และความตาย,

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,

โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย,

ทุกโขติณณา, .......................... เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว,

ทุกขะปะเรตา, .......................... เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว,

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ,

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้.
หน้า: 1 2 [3]