ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข  (อ่าน 8402 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 09:07:14 am »
0
วันหนึ่ง รักหนอเข้าไปปฏิบัติธรรมที่วัด

  และรักหนอ จะชอบทำสมาธิ และจะปฏิบัติตาม กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

  ทุกครั้งหลังทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น กับพระคุณเจ้าที่วัด

  ก็สังเกต พระคุณเจ้าที่เป็นประธานการสอนอบรมธรรมประจำวัด ท่านได้นั่งกรรมฐาน สมาธิ บ้างหรือป่าว

  สังเกตท่านแล้ว ก็เห็นว่าทุกครั้งที่ท่านนั่งกรรมฐาน ท่านก็จะนั่งสัปปะหงก โงกง่วง เป็นประจำ


วันหนึ่งในขณะที่รักหนอ นั่งกรรมฐาน วันนั้นก็ขอนั่งกรรมฐานต่อ ไม่อยากไปสนทนากับพวกคุณยาย พี่ ๆ ทั้งหลายที่มาร่วมปฏิบัติ ในวัดก็เลยนั่งกรรมฐานต่ออีก 2 ชั่วโมง

  พอออกจากสถานที่เป็น วิหารออกมา พระที่เป็นประธานการสอนธรรมท่านก็เรียกเข้าไปพูดว่า

 " โยมนั่งสมาธิ นาน ๆ ระวังติดสุข นะ

  การปฏิบัติธรรม ต้องเจริญสติ ตามแนวสติปัฏฐาน การนั่งสมาธิ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติภาวนา

  อีกอย่างควรปฏิบัติตัวให้เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่มุ่งนั่งสมาธิ จนลืมโลก ลืมเพื่อน นะ "

 รักหนอ ก็รับคำท่าน ไว้ 

   คะ

  แต่ก็อดแปลกใจไ่ม่ได้ ท่านรู้ได้อย่างไรว่าเราทำแต่ สมาธิ ในเมื่อ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

 มีวิปัสสนา อยู่ในตัว แต่ก็ไม่ได้ ต่อความยาว สาวความยืดกับพระคุณเจ้า


  เพื่อน ๆ สมาชิก มีความเห็นอย่างไรบ้างคะ

  :25:
บันทึกการเข้า

pimpa

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:48:31 pm »
0
ประโยคนี้เป็น ประโยคฮิต ของผู้ที่ปฏิบัติไม่ได้อะไรทั้งนั้น

ถ้านั่งกรรมฐาน ก็หลับ ให้เดินจงกรม เชื่อได้เลยว่า ไม่เกิน 1 ชม.เลิก



ถ้าฝึก สมาธิ ในสายพราหมณ์ ในสายฤาษี แล้ว ก็น่าจะใช่ เพราะไม่มีวิปัสสนา

แต่กรรมฐาน หลัก 40 กอง กรรมฐาน อันเป็น รูปกรรมฐาน 36 อรูปกรรมฐาน 4 นั้นเป็นพระดำรัส

ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนกรรมฐาน เพียงแค่ สมถะ อย่างที่หลายคนเข้าใจ

เพราะมิฉะนั้น เท่ากับเราหมิ่น พระปัญญาธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสัพพัญญู ผู้สอนงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง

และที่สุด ดังนั้นที่พระองค์สอนทุกกองกรรมฐาน นั้นล้วนแล้วประกอบ ด้วย สมถะและวิปัสสนา



ที่นี้มาพูดในเรื่อง ของการติดสุข ในกรรมฐานซึ่ง เป็นอารมณ์ละเอียดเป็นในสายเจโตวิมุตติ คะ

ผู้ที่เจริญกรรมฐาน ในสายเจโตวิมุตติ อารมณ์ที่ต้องยกเข้า วิปัสนา ก็คือ ปีติ และ สุข สองประการนี้

เป็นองค์วิปัสนา ดังนั้นจะเห็นว่า ในอานาปานสติชัดเจน จัดเป็น เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน และ จิตตานุปัสสนา

สติปัฏฐาน คนที่พูดว่าปฏิบัติกรรมฐาน ติดสุข พิมพา รับรองได้เลยคะว่า คนที่พูด ปฏิบัติไม่ได้

ในแนวทางกรรมฐาน แล้วควรจะต้องเข้า ปีติ และ สุข ถ้าจัดในโพชฌงค์ จะเห็นชัด คะว่า ปีติ และ สุข

ก็เป็น ปีติสัมโพชฌงค์ และ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

  ที่พิมพา มาสนใจในแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ( ถึงแม้จะยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน )

  ก็เพราะเชื่อมั่น กษัตริย์ไทยตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 - 4 และ 5 ตลอดพระสังฆราช ตั้งแต่ 4 - 10 ก็ล้วนแล้ว

เป็นผู้เผยแผ่พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นรากฐานเดิมโดยแท้

   :)
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 05:27:13 pm »
0
การฝึกสมาธินั้น หวังผล ที่ อุปจาระสมาธิ ก็คือ สุขสมาธิ เป็นเบื้องต้น

แต่เมื่อจิตเข้าอยู่ในความสุข แล้ว จิตจะละเอียดและสงบลงรวมเป็น อุเบกขา

ส่วนใหญ่ผู้ฝึกก็จะต้องผ่านไปตามลำดับขั้นตอนของจิตอยู่แล้ว

   ดังนั้นผลของสมาธิ คือ การละนิวรณ์ เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์แบบพุทธ เพราะฝึกกรรมฐานพุทธ จึงไม่ต้อง
กลัวว่าจะไปติดสุข ถ้าติดสุขจริงของกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว พระองค์จะไม่สอนไว้ดังนั้นพวกที่
ฝึกมาไม่ได้ส่วนมากก็จะพูดอย่างนี้ 100% ที่พบนั่งกรรมฐานหลับทั้งนั้น เจริญสติไม่ได้จริง เพราะถ้าเจริญ
สติได้จริง สติก็จะพัฒนาให้เป็นสมาธิด้วยองค์วิปัสสนาเช่นเดียวกัน

  ที่นี้การเจริญวิปัสสนา ก็ต้องเข้าใจ วิปัสสนูกิเลส ด้วย

  ทั้งหมดก็ควรจะต้องเรียนกรรมฐาน และฝึกไปตามลำดับของจิต

  สมาธิ ถ้าไม่มีความสำคัญจะไม่มีชื่อในอริยมรรค ในคุณธรรมอริยมรรค ที่ฝึกได้ยากที่สุดก็คือ สมาธิ

  ปัญญา ที่คนเข้าใจกันทุกวันนี้ ยังไม่ใช่ปัญญาในพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะเข้าใจอริยสัจจะ 4 เรียนท่อง

จำได้ หมายรู้ แต่ก็ยังไม่เรียกว่าปัญญา เป็นเพียงแต่พัฒนาทิฏฐิ ให้เข้าทางมรรคเท่านั้น ปัญญาแท้พ้นจาก

ขอบเขตสังขาร ( การปรุงแต่ง ) ต้องเป็น ญาณทัศนะ คือ เห็นตามความเป็นจริงด้วยใจ ธรรมะ นั้นต้องใช้

ใจเรียน ต้องใช้ใจเข้าไปสัมผัส ถ้าปัญญานั้นยังเป็นสังขารอยู่ ก็ยังอยู่ในกรอบของปฏิจจสมุบบาทฝ่ายอวิชชา

 ในอริยะมรรคทั้ง 8 นั้นในปัจจุบันพุทธศาสนิกชนขาด ข้อที่ 8 ส่วน อริยมรรค 7 ข้อมีอยู่แล้ว

   ดังนั้นพอท่านทั้งหลายพัฒนาสมาธิ ได้จึงบรรลุธรรม ตรวจสอบได้ที่สังโยชน์ 10 ประการ



  สำหรับพระฝ่าย วิปัสสก อาศัยเวทนา คือ ทุกข์ เป็นองค์ วิปัสสนา

  สำหรับพระฝ่าย อภิญญา อาศัยเวทนา คือ สุข และ อทุกขมสุข เป็นองค์ วิปัสสนา

  ทั้งหมดก็คือ เวทนากำหนดได้ มีสติรู้ชัด ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่า ปฏิบัติในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน


 เจริญธรรมไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน
 
  ;)

Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2011, 07:54:27 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 07:53:56 pm »
0
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2054.0

อ่านเรื่องวิปัสสนูกิเลสได้ที่ลิงก์ด้านบน
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 08:48:04 am »
0
เรื่องนี้รู้สึกเป็นเรื่องที่พอเข้าเริ่มปฏิบัติ แต่ละท่านก็ชอบพูดกันว่า อย่าไปทำเลยสมาธิ ไปเจริญสติ กันดีกว่าคะเวลาที่เราจะนั่งสมาธิ ก็มักจะได้ยินอย่างนี้พอถามเหตุผลว่า ทำไมถึงดีกว่า เขาก็จะตอบกันว่า สมาธิ ทำให้ติดสุขการฝึกอย่างนี้ ไม่มีทางไปถึงฝั่งนิพพานได้
 

   แท้ที่จริง นักภาวนาปัจจุบันทุกวันนี้กลัวเรื่องการฝึกสมาธิ ใช่หรือไม่คะ ? จึงพยายามหลีกเลี่ยงไปฝึก สติ ให้เป็น สมาธิ ซึ่งดูเหมือนจะดีในแง่คิดที่ว่า แก่นสารนี้จะถูกปลูกฝังไว้มากในหมู่ผู้ปฏิบัติ นะคะ

  :smiley_confused1: :67: :13:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2012, 08:17:27 pm โดย DANAPOL »
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 02:52:01 pm »
0
เคยได้ยินว่า อย่ากลัว เลยความสุขกรรมฐาน เข้าให้ถึงก่อนเถอะ ยังไม่ทันเข้าถึงเลยกลัวซะไปก่อนแล้ว

ไม่ใช่ว่าใคร ๆ จะได้สุข ในกรรมฐาน กันได้ง่าย ๆ นะครับ สุขกรรมฐาน

    ปีิติ สุข จัดเป็นตติยฌาน นะครับ  สุขกรรมฐาน นี้จริง ๆ เป็นระดับนี้ ผมว่าน่าจะต่างจากสุข ในอุปจาระขั้นเด็มแน่ ๆ นะครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 11:07:45 am »
0
นั่นเป็นเพราะว่า ท่านทั้งหลาย ไม่เข้าใจคำว่า สุขสมาธิของพุทธ สุขสมาธิของพุทธ จัดเป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งสุขนี้เมื่อเข้าถึงจัดได้ว่าเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ภาวนาได้ว่า เป็น นิโรธสุข เบื้องต้น ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ พระโสดาบันเป็นต้นไป ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาให้ดี

   พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ว่า นิพพานัง ปะระมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข

   ดังนั้นการเข้าถึง สุขสมาธิ อันมีธรรมประกอบด้วย พุทธานุสสติ นั้นไม่ใช่สุขที่ท่านทั้งหลายจะติดได้ ท่านจะสามารถยกองค์ธรรมอื่น ๆ ได้เมื่อถึงสุขนี้ จัดเป็นคุณธรรมที่ควรจะมี ในสัมมาสมาธิ


  เจริญพร / เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2012, 08:23:38 pm »
0
ก็หมายความว่า ทุกคนไม่ต้องกลัว สุขสมาธิ จะทำให้ติดสุข ใช่หรือไม่ครับ ผมเคยได้รับเมลจากพระอาจารย์ฉบับหนึ่งว่า (พยายามค้นอยู่ไม่เจอน่าจะลบไปแล้ว)

   .."สุขสมาธิ เป็นองค์หนึ่งในฌาน ถ้าคุณติดสุขในฌาน จะมีใครได้ ฌาน 2 ฌาน 3 และ ฌาน 4 ถึง ฌาน 8 ได้"

   ผมอ่านตอนนั้นไม่ค่อยจะเข้าใจแต่ก็ยังไม่ได้เรียนถาม มาวันนี้ผมบางอ้อ เลยครับ

    ถ้าว่าองค์แห่ง ฌาน  ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อันนี้ปฐมฌาน ก็ต้องละสุข จึงจะเป็น ปฐมฌาน ดังนั้นประโยคนี้ผมได้อ่านบ่อย ๆ ในพระไตรปิฏก ที่กล่าวว่า เพราะละทุกข์ และสุขเสียได้ จึงวางอารมณ์เดียวเป็น ปฐมฌาน เป็นต้น

    ใครติดสุข จะเป็นจริง ๆ หรือครับ สุข ของ ฌาน มีได้ไม่นาน ยังไงเสียจิตก็ต้องพัฒนาไปตามลำดับแห่ง ฌาน ที่นี้สำหรับ อุปจาระฌาน ก็เลยมีประโยชน์ เพราะสุขสอนให้รู้จักทุกข์ ทุกข์ก็สอนให้รู้จักสุข สุขมีได้เพราะมีทุกข์ ทุกข์มีได้เพราะมีสุข อย่างนี้เป็นองค์วิปัสสนา กันโดยตรง ....

    วันนี้ได้อ่านรู้สึก มีธรรมแวบขึ้นมาดั่งสายฟ้า ขอบคุณมากครับ

    :25: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2012, 02:09:00 am »
0
  สุขสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์  องค์ต่อมาคือ ได้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ แล้วก็คงไม่ติด(อยู่ระหว่างคิ้ว) ถ้าเป็นวิชาสํารวมอินทรี ตรงหว่างคิ้วที่เดียวกัน จัดเป็น ญาณทัสนวิสุทธิ์ อีกด้วย ต่อไปก็ว่า โลกุตตะลัง จิตตัง ฌานัง (ศาสนาพุทธ ต้องว่าตามพระพุทธเจ้า) สุขสมาธิ คือผู้เข้าถึงกระแสธรรม
  ศิลสมาธิ คือมรรค
  ปัญญา คือผลแล้ว เริ่มที่พระโสดาบัน
  (ปัญญาตรงนี้ ไม่ใช่ความคิด ปัญญาตรงนี้ มิใช่การเสพสุข ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )
    กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ไช่กาย กายนี้ไม่เป็นเรา เรานี้ไม่เป็นกาย กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย มีแต่จิตล้วนๆ
          เรื่องการได้กรรมฐานสองส่วน ไปหาอ่านในเว็บสมเด็จสุก  มีอยู่มากมายที่เป็นเรื่องประวัติ และวัติปฏิบัติ เกี่ยวกับกรรมฐานนี้โดยตรง ก็ขอเชิญท่านที่ยังไม่ทราบ หรือยังไม่รู้จัก
       พระปรมาจารย์  สามกรุงสามแผ่นดิน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน
       ตามครู ตัวหาย ตามใจตัวมี ว่าไปตามครูแล้วดี ชาตินี้จะได้หมดตัว :035:
       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 22, 2012, 02:11:22 am โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 08:17:21 am »
0
ถ้าจะให้ดี จำแนกความ ความสุข เป็นดังนี้ ก่อนนะจ๊ะ จะได้เข้าเรื่องความสุข ไม่ตีความเรื่อง สุข ให้ผิดทาง

   1.สุขของชาวโลก เรียกว่า โลกียสุข มี สองประการ
       1.1 สุขอิงอามิส  สุขที่มีการแลกเปลี่ยน ด้วยตัณหา           
       1.2 สุขที่ไม่อิงอามิส สุขที่เกิดจากกุศลพื้นฐาน เช่นการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น

   2.สุขของชาวธรรม ( โยคาวจร ผู้แล่นไปในชำระกิเลส ) สุขเพื่อ ปรมัตถสภาวะ
       1.1 สุขอันประกอบด้วย อารมณ์ สมถะ
           1.1.1 อุปจารฌาน
           1.1.2 สมาบัต 4
           1.1.3 สมาบัต 5
       1.2 สุขอันประกอบด้วย อารมณ์ วิปัสสนา
           1.1.1 อุปจารฌาน เพื่อปรมัตถ
           1.1.2 ผลสมาบัต ของพระอริยที่ต่ำกว่า พระอรหันต์   
   
   3.สุขที่เป็นผลของพระอริยะ จัดเป็น โลกุตตรสุข
       1.1 ผลสมาบัต
       1.2 นิโรธสมาบัต
       1.3 สุญญตวิหารสมาบัต
       1.4 สัญญาเวทยิตนิโรธ
       1.5 เจโตสมาธิอนิมิต

   ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจเรื่อง สุข ความเข้าใจประเภทของสุข ด้วย ดังนี้ รายละเอียดเดี๋ยวเข้ามาคุยกันต่อไป นะจ๊ะ

    เจริญพร / เจริญธรรม


     ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 26, 2012, 06:28:47 pm โดย translate »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 01:56:20 pm »
0
vpk
ถ้าจะให้ดี จำแนกความ ความสุข เป็นดังนี้ ก่อนนะจ๊ะ จะได้เข้าเรื่องความสุข ไม่ตีความเรื่อง สุข ให้ผิดทาง

   1.สุขของชาวโลก เรียกว่า โลกียสุข มี สองประการ
       1.1 สุขอิงอามิส  สุขที่มีการแลกเปลี่ยน ด้วยตัณหา
       1.2 สุขที่ไม่อิงอามิส สุขที่เกิดจากกุศลพื้นฐาน เช่นการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น

   2.สุขของชาวธรรม ( โยคาวจร ผู้แล่นไปในชำระกิเลส ) สุขเพื่อ ปรมัตถสภาวะ
       1.1 สุขอันประกอบด้วย อารมณ์ สมถะ
       1.2 สุขอันประกอบด้วย อารมณ์ วิปัสสนา   
   
   3.สุขที่เป็นผลของพระอริยะ จัดเป็น โลกุตตรสุข
       1.1 ผลสมาบิต
       1.2 นิโรธรสมาบัต
       1.3 สุญญตวิหารสมาบัต
       1.4 สัญญาเวทยิตนิโรธ
       1.5 เจโตสมาธิอนิมิต

   ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจเรื่อง สุข ความเข้าใจประเภทของสุข ด้วย ดังนี้ รายละเอียดเดี๋ยวเข้ามาคุยกันต่อไป นะจ๊ะ

    เจริญพร / เจริญธรรม

     ;)

อยากให้ ขยายคำอธิบาย หัวข้อต่าง ๆ ด้วยคะ

 :c017:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 09:40:14 am »
0
อยากให้บรรยาย ออกมาตามหัวข้อด้วยคะ ติดตามอ่านอยู่คะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึกสมาธิ ทำให้ติดสุข
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 07:56:13 am »
0
ก็รับไว้พิจารณา นะเรื่องนี้ เดี๋ยวจะมานำเสนอ บทธรรม โดยเฉพาะอีกครั้ง

 หรือใครมีความรู้ ที่จะพอจะช่วยบรรยายได้ก้เชิญเลยนะจ๊ะ

เจริญธรรม
  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ