ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:21:17 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:28:33 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:26:01 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:09:36 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:47:38 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:55:10 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan



ทำไมคนชอบโกหก.?

บ้านเมืองเรายามนี้เหมือนจะอยู่ในสถานการณ์ที่นักการเมืองส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงคำพูดไปมาตลอดเวลา จนดูเหมือนจะโกหกพกลมกันเป็นว่าเล่น ไม่เห็นหัวประชาชนกันสักเท่าไรนัก โดยส่วนใหญ่ก็มักอ้างว่าสถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนไปจึงต้องเปลี่ยนตาม 

นักวิทยาศาสตร์รู้อะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกหลอกลวงของคนเราบ้าง.? ทำไมดูเหมือนคนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะทนยอมรับการโป้ปดของคนที่เราเลือกได้ไม่น้อย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.? และหากจำเป็นต้องจับผิดคนที่กำลังโกหกเราอยู่ จะมีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพดีๆ ให้เลือกทำได้บ้าง.?

@@@@@@@

เรามาตั้งต้นกันด้วยคำถามที่ว่า คนเราโกหกกันด้วยความถี่มากน้อยเพียงใด.? โกหกกันด้วยเหตุใด.? และโกหกใครกันบ้าง.?

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของคณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินที่ลาครอส (University of Wisconsin-La Crosse) และมหาวิทยาลัยอลาบามาที่เบอร์มิงแฮม (University of Alabama at Birmingham) ทำร่วมกันและตีพิมพ์ในวารสาร Communication Monographs ชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้โกหกมากนัก โดยมีราว 75% ที่ไม่พูดปดเลยหรืออย่างมากก็หลอกลวงคนอื่นไม่เกิน 2 ครั้งต่อวันเท่านั้น แต่ก็มีคนจำนวนน้อยที่เราแทบไม่สามารถเชื่ออะไรที่คนเหล่านี้พูดได้เลย เพราะเฉลี่ยแล้วอาจโกหกมากถึง 17 ครั้งต่อวัน แต่กลุ่มหลังนี้มีแค่เพียง 1% ของคนทั้งหมดเท่านั้น [1]

ในงานศึกษาฉบับนี้ พวกเขาใช้อาสาสมัคร 632 คน โดยให้คนเหล่านี้จดบันทึกจำนวนครั้งของการโกหกของพวกตนไว้ติดต่อกันนานถึง 91 วัน ผลคือได้จำนวนโกหกรวมกันมากถึง 116,366 ครั้ง.!

ข้อสรุปที่พบคือ การโกหกส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องและที่พบบ่อยก็เป็นการโกหกจำพวก ‘white lies’ คือ หลอกให้ดีใจ เช่น บอกว่าชอบของขวัญที่ได้รับมาก แม้ว่าความจริงคือไม่ชอบเลยก็ตาม แต่จำนวนการโกหกต่อวันมีความผันแปรอยู่บ้าง อาจมากน้อยแตกต่างกันไป และจำนวนก็แตกต่างกันเป็นอย่างมากในแต่ละคนด้วย   

ที่น่าสนใจคือ พวกที่โกหกเป็นไฟมีความผันแปรของจำนวนครั้งการโกหกต่อวันมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่ม 1% ที่เป็นคนขี้ปดที่สุด ทำสถิติโกหกไว้ที่ราว 17 ครั้งต่อวัน ตรงกันข้ามกับพวกที่ทำตัวราวกับเป็นนักบวชคือ พวก 1% ที่โกหกน้อยสุด ความผันแปรรายวันก็น้อยมากตามไปด้วย

จากการทดลองนี้ประมาณการว่ามีคำโกหกเจืออยู่ราว 7% ของการสื่อสารทั้งหมด แต่ยังดีอยู่นิดหน่อยตรงที่ 88.6% ของการโกหกเป็นแบบ white lies เพื่อรักษาสายสัมพันธ์กัน มีเพียง 11.4% เท่านั้นที่เป็น big lies หรือการแหกตากันจริงๆ เช่น การบอกรักใครสักคนโดยไม่ได้รักจริงๆ ก่อนหักอกคนๆ นั้น หรือการโกหกหวังผลอย่างอื่นต่างๆ นานา 


@@@@@@@

คราวนี้ลองมาดู สาเหตุที่คนโกหกกันครับ

มีเหตุผลแตกต่างกันไปหลากหลายมาก แต่ค่าสูงสุด 2 อันดับ คือ
โกหกเพื่อหลบหลีกให้ไม่ต้องเจอกับบางคน (21%)
และเป็นการล้อหรืออำกันเล่น (20%)
ตามด้วยการโกหกเพื่อปกป้องตัวเอง (14%)
เพื่อสร้างภาพหรือทำให้อีกฝ่ายประทับใจ (13%)
และเพื่อป้องกันคนอื่นด้วยเหตุผลบางอย่าง (11%)

จากนั้นจึงตามด้วยการโกหกเพื่อเหตุผลในทางลบ เช่น
หาประโยชน์บางอย่างใส่ตัว (9%)
หาประโยชน์ให้พรรคพวกคนอื่นๆ (5%)
หรือเพื่อทำร้ายจิตใจกัน (2%)
ส่วนที่เหลือ (5%) ก็เป็นเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่จำเพาะเจาจงนัก ไปจนถึงไม่มีเหตุผลอะไร โกหกเพราะอยากโกหกแค่นั้น!

ข้อสรุปที่น่าจะช็อกคนจำนวนมากก็คือ การโกหกส่วนใหญ่เป็นการทำต่อหน้า (79%) ที่เหลือจึงเป็นการโกหกผ่านตัวกลางหรือวิธีการอื่น ไม่ต้องมาเผชิญหน้ากันโดยตรง

@@@@@@@

คราวนี้มาดู คนที่เป็นเป้าหมายของการโกหกว่า เป็นใครบ้าง.?

ไม่ต้องแปลกใจเลยครับว่า คนที่โดนหลอกส่วนใหญ่คือเพื่อนฝูง (51%) คนในครอบครัว (21%) และเพื่อนร่วมงานหรือคนที่โรงเรียน (11%) นั่นเอง ถัดจากคนใกล้ตัวจึงเป็นคิวของคนแปลกหน้า และคนรู้จักคุ้นเคยกันที่ต่างก็ได้ 8% กว่าๆ

อย่างที่สรุปไปข้างต้นว่า คนส่วนใหญ่ซื่อสัตย์และไม่ค่อยได้โกหกกันสักเท่าไหร่ แต่นานๆ ทีก็อาจพบคนที่โกหกได้เป็นวรรคเป็นเวร อย่างกรณีของนาย จอห์น ซี. บีล (John C. Beale) ที่สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาจ้างในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมภูมิอากาศ [2]

เขาโกหกจนสามารถหายหน้าหายตาไม่มาทำงานติดต่อกันถึง 18 เดือน เริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จากการสอบสวนพบว่าเขาไม่ได้ทำงานอะไรทั้งนั้น เขาอ้างเหตุผลที่บ้าบอคอแตกที่สุดกับหัวหน้าว่าที่ไม่มาทำงานนั้น เป็นเพราะเขาทำงานให้กับองค์กรข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือ ‘ซีไอเอ’ ซึ่งต้องไปลงพื้นที่ที่ในประเทศปากีสถาน เพื่อทำภารกิจจารกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงบีลให้การยอมรับเมื่อถูกสอบสวนว่า เขาใช้เวลาออกกำลังอยู่ที่บ้าน เพราะรู้สึกขี้เกียจ ไม่อยากทำงานอย่างหนัก

เขายังโกหกสารพัด เช่น เพื่อที่จะได้ที่จอดรถที่สะดวกสบายเมื่อต้องไปออฟฟิศ เขาแจ้งข้อมูลเท็จว่าจำเป็นต้องใช้ที่จอดพิเศษเพราะเขาป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ซึ่งติดมาขณะเป็นทหารไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศเวียดนาม แต่ความจริงคือเขาไม่เคยป่วยเป็นมาลาเรีย ไม่เคยไปเวียดนาม และไม่เคยแม้แต่รับราชการทหาร.!


@@@@@@@

คนทั่วไปจับผิดคนโกหก ได้ดีเพียงใด.?

มีงานวิจัยที่แยกแยะเรื่องนี้และทำให้รู้ว่า คนส่วนใหญ่จับโกหกได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งอยู่เล็กน้อย (42%) ผ่านการรับฟังและสังเกตสังกา แสดงว่าเรามีโอกาสจับผิดได้สำเร็จน้อยกว่าล้มเหลวนิดหน่อย

โดยหลักแล้ว การโกหกต้องใช้ความจำเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างเรื่องราวให้สอดคล้องกันทุกอย่าง คำแนะนำเรื่องการจับผิดจึงอาศัยความจริงข้อนี้เป็นหลัก ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี วิธีแรกคือการให้ผู้ต้องสงสัยเล่าเรื่องแบบย้อนหลัง แทนที่จะเล่าแบบเส้นตรงตามไทม์ไลน์ โดยจะเพิ่มความถูกต้องในการจับผิดมากขึ้นเป็น 60%

เรื่องต่อไปคือหาทางบีบบังคับให้คนผู้นั้นต้องสบสายตาขณะพูด การจ้องตาจะดึงดูดความสนใจและทำให้การแต่งเรื่องเพื่อหลอกยากมากขึ้น และอีกทริกหนึ่งคือแทนที่จะให้ตอบคำถาม ให้ผู้ต้องสงสัยวาดรูปแทนคำตอบ คนที่โกหกมักจะวาดภาพออกมาเป็นแบบคร่าวๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียด หากเทียบกับคนที่พูดความจริงที่ใส่รายละเอียดมากกว่า 

@@@@@@@

คราวนี้มาถึงคำถามที่หลายคนอาจสงสัย ทำไมนักการเมืองบางคน ถึงติดใจ การโกหกผู้คนมาก.?

การโกหกแล้วรอดตัวไปได้ทำให้เกิดอาการเสพติดได้ครับ ทุกครั้งที่โกหกแล้วไม่มีใครจับได้ ร่างกายจะหลั่งโดพามีน (dopamine) แบบเดียวกับที่เกิดกับเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ เล่นการพนัน หรือเสพยาเสพติด ผลที่ตามมาคือสมองจะชินชาต่อวงจรการให้รางวัลแบบนี้และคนเหล่านี้ต้องโกหกมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองมีความสุขเท่าเดิม แบบเดียวกับคนติดสารเสพติดที่ต้องใช้โดสที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อรวมกับข้อเท็จจริงที่ว่าคนทั่วไปมักจะยอมรับการโกหกได้มากกว่าอาชญากรรมอื่นๆ อีกหลายแบบ ยิ่งเห็นคนอื่นทำตัวไม่เดือดไม่ร้อนและยอมรับได้ก็ยิ่งไปกันใหญ่ จนนักการเมืองจำนวนมากนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในยุคที่ไม่มีดิจิทัลฟุตพรินต์ (digital footprint) บนอินเทอร์เน็ตให้จับผิดย้อนหลังได้ง่ายๆ

แต่การมีรอยเท้าบนโลกดิจิทัลในยุคปัจจุบัน จึงมักจะมีคนไปสืบเสาะหาคำพูดเดิมๆ ที่นักการเมืองเคยพูดไว้มาทำให้พวกมุสาเป็นอาชีพหน้าแหกได้เสมอๆ 

ความเป็นไปได้อีกอย่างคือ คนที่โกหกบ่อยๆ อาจเป็นคนมีปัญหาทางจิต เนื่องจากวงจรการให้รางวัลในสมองผิดปกติไป จึงทำให้ไม่เกิดความอึดอัดใจที่จะโกหก แต่ในทางกลับกัน ยิ่งโกหกก็ยิ่งติดใจ ยังไม่มีวิธีการง่ายๆ ที่จะบอกได้ว่าใครเป็นผู้ป่วยแบบนี้ 

เราได้แต่เพียงคาดหวังว่าตัวแทนที่เราเลือกเข้าไปในสภาของเรา (หรือแค่ส่วนใหญ่) และรวมไปถึงคนที่เราไม่ได้เลือก แต่ก็เข้ามาอยู่ในสภาได้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมวิธีการอย่างอื่น จะไม่ใช่คนในกลุ่มสุดท้ายนี้ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีวิธีการรักษาดีๆ เลยครับ.!







ขอขอบคุณ :-
URL : https://www.the101.world/science-of-lying/
ผู้เขียน : นำชัย ชีววิวรรธน์ | 10 Aug 2023
Life & Culture / Science & Innovation

References
1. Kim B. Serota et al. Communication Monographs Volume 89, 2022 – Issue 3. https://doi.org/10.1080/03637751.2021.1985153
2. The EPA OIG’s Investigation of John C. Beale. Statement of Patrick Sullivan. Assistant Inspector General for Investigations Before the Committee on Oversight and Government Reform U.S. House of Representatives. October 1, 2013

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:54:11 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์ใหญ่พระธุดงคกรรมฐาน


ความต่างระหว่าง "พระบ้านและพระป่า" | ต้นเค้า พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต .?

ปัจจุบันพระสงฆ์ในประเทศไทย หากแบ่งตามวิถีชีวิตเครื่องดำเนินในแต่ละวันแล้ว สามารถอนุมานแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ได้แก่ พระบ้าน และ พระป่า

     • พระบ้าน จะเน้นไปทางการศึกษาทางด้านปริยัติธรรม เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ เผยแผ่ธรรมะ เป็นกิจธุระให้กับญาติโยมที่นิมนต์ วัดบ้านจึงมักตั้งอยู่แหล่งชุมชนในตัวเมืองเป็นส่วนใหญ่

     • พระป่า จะเน้นไปทางด้านการปฏิบัติภาวนา ทำสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน วัดป่าจึงมักตั้งอยู่ในป่าเขาหรือที่เงียบสงัดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่สงบวิเวกสัปปายะเหมาะกับการปฏิบัติภาวนาเป็นสำคัญ

พระป่ากรรมฐานที่ทราบกันดีในปัจจุบัน

หลักใหญ่ล้วนมาจาก ท่านพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งในแวดวงพระป่าจะถือกันว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือบูรพาจารย์ใหญ่ของพระป่ากรรมฐานทั่วสังฆมณฑล ท่านเป็นผู้วางรากฐานปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานเอาไว้ นำหลักพระวินัยทั้ง ๒๒๗ ข้อมาปฏิบัติได้จริงอย่างเคร่งครัด ตลอดจนธุดงควัตรและข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อันเอื้อต่อการภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพานโดยถ่ายเดียว

ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

พระภิกษุฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรมโดยการกระทำหรือลงมือปฏิบัติและพำนักอยู่ตามป่าเขาที่สงบสงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ เรียกว่าพระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า พระภิกษุที่ได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด

พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิมประมาณ เริ่มแต่พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพระเถระผู้มีบทบาทในการสร้างหลักปักธงชัยพระกรรมฐานในแผ่นดินที่ราบสูงแดนอีสานได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี และหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมาได้ให้การอบรมสั่งสมบารมีธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐานผู้ทรงคุณธรรมสัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชนได้ผลดีเป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่าวัดวาศาสนสถานในพระพุทธศาสนาตามแบบที่เรียกว่า “วัดป่า” ที่เน้นธรรมชาติความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม

พระสายนี้ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทาตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ที่เรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์” ด้วยความเคารพนับถือดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์ ผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ก็จะปกครองอบรมดูแลลูกศิษย์ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่แลครูอาจารย์เช่นกัน




ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมาขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรมแห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตได้แผ่ไปถึง

พระป่าทุกองค์จะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขาศีลสมาธิปัญญานั้น ศีลเป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบสมณะเพศ เพราะการรักษาศีลต้องการศรัทธาความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้าในทางธรรมชั้นสูงเป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิและตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้

นอกจากนั้นในการจาริกธุดงค์แสวงหาที่สัปปายะสำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์จะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตแต่ละรูป ตามประวัติได้เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่านได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์รักษาพระคุณเจ้าประสพสวัสดิภาพด้วยดี ด้วยศีล ด้วยบุญกุศล

พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเป็นสุปฏิปันโนที่มีปฏิปทาคือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทาที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทาที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้คือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปในอริยาบทต่างๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร ๑๓ และวัตรต่างๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวลล้วนเป็นธรรมเครื่องอบรมบ่มนิสัยที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาสและเป็นธรรมที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจคือกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป

การถือธุดงค์ของ พระป่า พระธุดงคกรรมฐานเป็นเจตนาที่แสดงออกเพื่อประหารกิเลสของตน เกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัยและความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ “ธุดงควัตร” เป็นข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษเพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้นสามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย





ธุดงควัตร ๑๓ ประกอบด้วย

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)

๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)

๒. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)

๓. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน

๔. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป

๕. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม

๖. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร จะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร

๗. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)

๘. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส

๙. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง

๑๐. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย

๑๑. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท

๑๒. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที

๑๓. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร จะงดเว้นอิริยาบถนอน อยู่ใน ๓ อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน

@@@@@@@

หมายเหตุ : วัดแสงธรรมวังเขาเขียว วัดบวชในโครงการ มีธุดงควัตรที่ถือปฏิบัติตลอดมาไม่เคยขาด ได้แก่ ข้อ ๓ การถือบิณฑบาตเป็นวัตร, ข้อ ๔ ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร, ข้อ ๕ ถือการฉันข้าวมื้อเดียวเป็นวัตร, ข้อ ๖ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร, ส่วนข้อ ๗ ถือการฉันภัตตาหารที่ได้จากการบิณฑบาตเท่านั้น (จะฉันอาหารเฉพาะที่ได้จากการใส่บาตร ไม่รับอาหารที่ประเคนถวายหลังบิณฑบาตไปแล้ว) พระในวัดมักจะสมาทานถือปฏิบัติข้อ ๗ นี้ในช่วงเข้าพรรษา

ทั้งนี้ อาจเห็นพระในวัดบางรูป มีการสมาทานถือปฏิบัติธุดงควัตรจำนวนข้อที่มากกว่านี้ ตามวาระ ตามโอกาส ตามความสมัครใจของพระเอง เพื่อเป็นการขัดเกลากิเลสและเอื้อต่อการปฏิบัติจิตตภาวนา แต่สำหรับพระบวชใหม่ในโครงการ ซึ่งเป็นการบวชในช่วงเข้าพรรษา จะถือปฏิบัติธุดงควัตรโดยพื้นฐาน ๔ ข้อดังที่กล่าวไว้แล้ว(ข้อ ๓, ๔, ๕, ๖)





ขอขอบคุณที่มา :-
https://buatwatpa.com/
https://buatwatpa.com/patipata/

 8 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:30:03 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๒. มาดูตํานาน ของเรื่องที่เป็นตํานาณ



 :25:

หลีกจากมนต์ มามีปริตร

ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า มนต์ มนตร์ มันตระ นี่ เป็นคําสําคัญ ของพวกพราหณ์มาแต่เดิม ในความหมายหลัก เขาหมายถึงพระ เวท คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ ที่เรียกว่าไตรเพท เฉพาะ อย่างยิ่งพระเวทที่ ๔ คืออาถรรพเวท แล้วก็หมายถึงคําขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์พวกฤษเอามาร่ายมาเสกมาสาธยาย แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สาปแช่งคนให้ตายหรือให้เป็นไปต่างๆ บ้าง ชุบคนตายให้เป็นขึ้นมาบ้าง สะกดคนสะกดสัตว์ให้อยู่ใน บังคับ ให้เป็นไปต่างๆ บ้าง

ทีนี้ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในบรรยากาศของสังคมที่ พราหมณ์เป็นใหญ่ บางทีหรือบ่อยครั้งก็ต้องใช้คําของเขา แต่เรา ใช้คํานั้นๆ ในความหมายแบบของเรา ทํานองว่าเป็นการใช้แบบ เทียบเคียงหรือล้อคําล้อความ อย่างคําว่า “มนต์” ที่เราสวดนี้ เป็น พุทธมนต์ ก็คือค่าสอนของพระพุทธเจ้า อย่างที่ได้เล่าเรื่องตัวอย่าง ให้ฟังมาแล้ว นี่คือ มนต์ของพุทธไม่ใช่เป็นอย่างมนต์ของพราหมณ์

แล้วก็ให้สังเกต ในหนังสือสวดมนต์ รวมบทสวดมนต์ที่นิยม ใช้กันเป็นประจํา คือเจ็ดตํานาน สิบสองตํานาน รวมทั้งทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ํา ด้วยนั้น ถ้าตรวจค้นดูจะรู้ว่า คําว่า “มนต์” มีในชื่อหนังสือ เท่านั้น แต่ในคําสวดหมดทั้งเล่มหนังสือนั้น ไม่มีคําว่ามนต์เลย (ที่ว่านี้ นอกจากว่าใครจะพิมพ์ให้แปลกพิเศษออกไป โดยเก็บเอาคาถามนต์ขลังข้างนอกเข้ามาใส่รวมไว้)

ถ้ามนต์ไม่ใช่เป็นชื่อเรียกคําสวดของพุทธ แล้วของพุทธจะเรียกว่าอะไร ที่จริง นานมาแล้วก่อนมีหนังสือสวดมนต์ ตั้งแต่ในพุทธกาล ก็มีคําตรัสคําสอนของพระพุทธเจ้า ที่ต่อมาชาวพุทธนํามาสวดกันโดยใช้ในลักษณะที่พอเทียบได้ในบางแง่กับมนต์ของพราหมณ์

ขอให้ดูตัวอย่าง ชีวิตพระนี้อยู่กับธรรมชาติ กลางป่า บนเขา ถึงพระจะขยันกวาดลานวัด จัดเก็บเสนาสนะสะอาดเรียบร้อย แต่ก็ยังมีโอกาสเจอะเจอกับสัตว์ร้ายได้มากพระจึงต้องมีจิตใจดีด้วย

ในพระไตรปิฎก (วินย. ๒/๒๖/๑๑ เป็นต้น) มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มี พระภิกษุถูกงูกัดถึงมรณภาพ คราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแนะนํา ให้พระภิกษุแผ่เมตตาแก่ประดางู ๔ ตระกูล และขยายไปถึงสัตว์ อื่นทั้งหลายทุกอย่างด้วย พุทธพจน์ที่ตรัสคราวนี้ ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็น คาถา และที่เป็นความร้อยแก้ว เราก็เอามาสวดกัน เรียกชื่อว่า “ขันธปริตร”*

ทําไมจึงเรียกว่า "ปริตร” (บาลีว่า “ปริตฺต”) ในพุทธพจน์ที่ ตรัสแนะนําครั้งนี้ก็มีคําว่า “ปริตฺต” คือตอนที่แผ่เมตตานั้น ก็บอก กํากับไปด้วยว่า “กตา เม รักขา, กตา เม ปริตตา” (ข้าฯ ได้ทําการ รักษา, ข้าได้ทําการป้องกัน) นี่คือ ปริตฺตปริตร แปลว่า ป้องกัน

____________________________
*เรื่องนี้มีในชาดกด้วย เรียกว่า ขนฺธปริตฺตชาตก (ชา.อ.๑/๒๕๔/๒๗๔) แต่ฉบับอัฏฐ สังคีติ-พม่า เรียกว่า ชนธชาดก บ้าง ขณฑชาดก บ้าง และในพระสูตรก็มีอีก (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๗/๙๔)

@@@@@@@

การที่แผ่เมตตาและการที่นํามาสวดนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกัน นี่แหละ สาระหรือวัตถุประสงค์อยู่ที่นี่ ก็จึงเรียกพุทธพจน์ คําสอน คาถา ที่นํามาสวดอย่างนี้ว่า “ปริตฺต” เป็นไทยว่า “ปริตร” หรือ “ปริตต์” (ส่วน “ขันธ” เป็นชื่อเฉพาะของคําสวดนี้

ที่ว่า ปริตฺตปริตร แปลว่า ป้องกันนั้น จะเห็นว่าเมื่อกี้มีคําว่า “รกขา” คือรักษา ด้วย ที่จริง คําที่มีความหมายเหมือนๆ กัน อยู่ใน ชุดเดียวกันนี้ มีหลายคํา เอามาใช้ได้ทั้งนั้น ที่ควรรู้คือ รักขา อารักขา ปริตฺต ตาณะ ปริตตาณะ ปริตตาณา (ตาณ แผลงเป็น “ตํานาน” ก็ได้) แปลว่า คุ้มครอง ป้องกัน รักษา

ทีนี้ ในอดีตกาลนานมานั้น ท่านผู้รู้ก็ได้เลือกพุทธพจน์คํา สอนในที่ต่างๆ เป็นพระสูตรบ้าง เป็นชาดกบ้าง ซึ่งมีลักษณะที่เป็น การรักษา คุ้มครอง ป้องกัน ตลอดจนช่วยให้ปลอดโรคปลอดภัย อย่างนี้ เอามาจัดเป็นปริตรชื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้น จนมีมากหลายปริตร บางปริตรมีตํานานเป็นเรื่องสําคัญทีเดียว ตัวคําสอนเป็น พระสูตรมีในพระไตรปิฎก แต่เรื่องที่เล่ามาในอรรถกถา (ขุททก.อ. ๑๔๐) บอกว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดด้วย ตามเรื่องว่า

คราวหนึ่ง เวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ที่เคยมั่งคั่ง รุ่งเรือง ได้เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง และอหิวาตกโรค ระบาด คนล้มตายมากมาย กลิ่นศพเหม็นคลุ้งทั่วไปหมด พวก อมนุษย์ก็เข้ามาวุ่นวาย ในที่สุด เจ้าลิจฉวีได้ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า เสด็จจากพระนครราชคฤห์ ข้ามฝั่งแม่น้ําคงคา มาโปรด ชาวเมืองเวสาลี พอพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเหยียบพระบาทลงบนฝั่ง แม่พระคงคาฟากเมืองเวสาลี ฝนใหญ่โบกขรพรรษก็ตกลงมาเนื่อง นอง พัดพาเอาศพไปกับน้ําหมดสิ้น บ้านเมืองก็สะอาดหมดจด

เมื่อเสด็จเข้าเมืองแล้ว พระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระอานนท์ เรียนรับเอารัตนสูตรจากพระองค์ และถือบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ํา เดินสวดรตนสูตรนั้นเป็นปริตร พร้อมกับประพรมน้ําไปทั่วทั้ง เมือง ชาวเมืองเวลาลีก็พ้นโรคพ้นภัย คืนสู่ความสงบสุข นี่คือรัตน สูตร ได้มาเป็นรตนปริตร

@@@@@@@

ในทํานองนี้ พระอาจารย์ปางก่อนผู้พหูสูตมีความรู้มองไป เห็นได้ทั่ว ทราบอยู่ว่า พระสูตรว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ นั้น พระพุทธเจ้า ตรัสยกย่องว่าสําคัญมาก และเมื่อพระองค์และพระมหาสาวก สําคัญบางท่านอาพาธ ได้สดับชื่นชมโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็ได้หายจากอาพาธ ท่านก็เอาพระสูตรที่ว่าด้วยโพชฌงค์มาจัดใช้เป็นโพชฌังคปริตร เพื่อสวดให้คนเจ็บไข้ได้สดับจะได้หายโรคภัย ดังนี้เป็นต้น

จากการที่โบราณาจารย์ได้เลือกพระสูตร พุทธพจน์ ชาดก มาใช้เป็นปริตร และนิยมสวดสืบกันมา จึงมีรายชื่อปริตรต่างๆ ปรากฏอยู่ในหลายคัมภีร์ เท่าที่พบบ่อยเป็นรายชื่อ ๕ ปริตร แต่มี ๒ คัมภีร์ที่พบว่าบอกไว้มากที่สุด ๔ ปริตร (ธ.อ. ๒/๒๓๕, นิท.ศ. ๑/๓๘๖) ได้แก่ อาฏานาฏิยปริตร อิสศิลปริตร ธชัคคปริตร โพชฌงคปริตร ขันธปริตร โมรปริตร เมตตปริตร และรัตนปริตร

นอกจากนี้ ได้พบ อังคุลิมาลปริตร ในมิลินทปัญหา ฉบับ อักษรพม่า และก็พบในมิลินทปัญหา ฉบับอักษรไทยว่า ท่านเรียก รตนปริตร เป็น สุวัตถีปริตร

ปริตรทั้งหลายนี่แหละ คือบทสวดของพุทธิกชน ที่มีลักษณะ ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นว่าคล้ายกับมนต์ของพราหมณ์ เช่น บางที ท่านเรียกโมรปริตรว่าเป็น “พุทธมนต์” (๒๑/๔๖) แต่ที่จริงต่างกันมาก จะต้องตระหนักรู้ไว้ อย่างน้อยจึงเห็นความแตกต่างที่สําคัญ คือ

     ๑. มนต์/มนตร์ แบบของพราหมณ์ เป็นเรื่องของการแช่งด่า ทําร้าย ข่มขู่ กําจัดผู้อื่นบ้าง สะกด บังคับเพื่อเอาจากเขาบ้าง เป็น การแสดงออกของโลภะโทสะโมหะ แต่ปริตรนี้เป็นการคุ้มครองปกปักรักษาตนและหมู่ชนให้ปลอดโรคพ้นภัยได้ความเกษมสวัสดี ด้วยใจมีเมตตาการุณย์แก่ทุกฝ่ายตั้งไว้นําหน้า

     ๒. มนต์/มนตร์ แบบเดิมอย่างพราหมณ์ เป็นการใช้การอ้าง อํานาจของเทพเจ้าและอิทธิฤทธิ์ความยิ่งใหญ่ต่างๆ มาบันดาลมา กําราบให้ได้ให้สําเร็จตามใจตัว (อย่างไสยศาสตร์) แต่ปริตรที่ เรียกว่าเป็นพุทธมนต์นี้ใช้โดยอ้างเอาสัจจะเอาธรรมเอาคุณความดีที่ตนมีที่ประจักษ์แก่ตนเป็นพลังอํานาจ

     ๓. การสวดการร่ายมนต์ มนตร์อย่างพราหมณ์ เป็นการแสดงออกของความรุนแรง ตามอํานาจของกิเลสเช่นโลภโกรธ ริษยาที่เริ่มโหมระดมเร้าออกมา เท่ากับยิ่งพัฒนากิเลส แต่การสวดสาธยายปริตรที่เป็นพุทธมนต์นี้มากับการตั้งเจตนาในจิตสํานึกที่จะฝึกตนให้เจริญในธรรม เป็นการปฏิบัติในสิกขา คือ เป็นส่วนของการศึกษา ที่นิยมเรียกกันว่าปฏิบัติธรรม โดยพัฒนาจิตใจให้มีเมตตาเป็นต้น ด้วยความรู้เข้าใจที่เป็นปัญญา





แต่แล้วปริตร มาอยู่ในหนังสือสวดมนต์

รายชื่อปริตรในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่ยกมาให้ดูเมื่อกี้ว่ามี ๕ จนถึง 4 นั้น ก็คือคําบอกเล่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๐๐๐ นับต่อจากนั้น มาถึงเวลานี้ ผ่านมาอีกกว่า ๑๕๐๐ ปี

ระหว่างเวลาที่ยาวนานมากนี้ กว่าจะมาถึงเมืองไทยใน ปัจจุบัน การสวดพระปริตรก็ย่อมได้วิวัฒน์มามากมาย ตั้งแต่ว่ามี ปริตรจํานวนมากขึ้น มีความนิยมและขนบธรรมเนียมแบบแผน ประเพณีต่างๆ ในการปฏิบัติกับปริตรเหล่านั้นพอกพูนขึ้น

ที่ว่านี้ก็เช่นว่า มีการนิมนต์พระไปสวดพระปริตรในโอกาส ต่างๆ มีการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสวดว่าจะสวดเป็นพิธีมีลําดับอย่างไร ปริตรไหนนิยมให้สวดในงานใด จะ จัดเป็นชุดในการสวดอย่างไร ชุดไหนมีปริตรใด ฯลฯ

เอาเป็นรวบรัดว่า ในเมืองไทยมาถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการจัด ปริตรรวมชุดเป็นแบบแผน โดยเฉพาะที่ใช้กันเป็นประจําลงตัว มี ๒ ชุด คือ ชุดเล็ก เรียกว่า เจ็ดตํานาน และชุดใหญ่ เรียกว่า สิบสองตานาน

@@@@@@@

ชุดเล็ก คือ เจ็ดตํานาน เรียกอย่างคําบาลีว่า สัตตปริตต์ (ทางการให้เขียน “สัตปริตร” เมื่อใช้เป็นแบบแผนในพระราชพิธี มีชื่อเป็น คําศัพท์เฉพาะว่า จุลราชปริตร คือปริตรหลวงชุดเล็ก) ได้แก่
    ๑. มงคลสูตร
    ๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
    ๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
 ๔/๐. ขันธปริตร
 ๕/๐. โมรปริตร
 ๖/๐. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
 ๗/๐. อาฏานาฏิยปริตร
 ๐/๗. โพชฌังคปริตร มีอังคุลิมาลปริตรนํา (ลําดับท้ายนี้ อาจเข้าแทนลําดับใดหนึ่งใน ๔-๗)

ชุดใหญ่ คือ สิบสองตํานาน เรียกอย่างคําบาลีว่า ทวาทส ปริตต์ (ทางการให้เขียน “ทวาทศปริตร” เมื่อใช้เป็นแบบแผนในพระราช พิธี มีชื่อเป็นคําศัพท์ว่า มหาราชปริตร คือปริตรหลวงชุดใหญ่) ได้แก่
    ๑. มงคลสูตร
    ๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
    ๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
    ๔. ขันธปริตร มี ฉัททันตปริตร ตาม
    ๕. โมรปริตร
    ๖. วัฏฏกปริตร
    ๗. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
    ๘. อาฏานาฏิยปริตร
    ๙. อังคุลิมาลปริตร
   ๑๐. โพชฌงคปริตร
   ๑๑. อภยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)
   ๑๒. ชยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)


@@@@@@@

ขอรวบรัดอีกที โดยขอให้สังเกตแค่ ๒ อย่าง คือ

    ๑. ที่เรียกว่า เจ็ดตํานานและสิบสองตํานานนั้น อธิบายกันได้ว่า แต่ละปริตรมีเรื่องราวที่เป็นมาอันให้เกิดมีปริตรนั้นๆ เป็นเรื่องหนึ่งๆ บางปริตรก็เป็นคําบอกเล่าเรื่องราวหนึ่งๆ ไปด้วยในตัว ปริตรหนึ่งก็จึงมีตํานานหนึ่งหรือเป็นตํานานหนึ่ง แล้วจึงมีชุดที่เป็น เจ็ดตํานาน เป็นสิบสองตํานานนั้น

    อีกอย่างหนึ่ง ดังได้บอกข้างต้นแล้วว่า คําว่าปริตต์นี้ มีคําอื่น ที่มีความหมายอย่างเดียวกันว่ารักษา คุ้มครอง ป้องกัน ซึ่งบางที มาด้วยกันเข้าชุดกัน ได้แก่ รักขา อารักขา ตาณ ตาณา ปริตตาณ ปริตตาณา ใช้แทนกัน ใช้เสริมกัน หรืออธิบายกัน (เช่น อตฺตปริตฺตํ กาตุนฺติ อตฺตโน ปริตฺตาณํ กาตุํ, วิมติ.ฏี.๒/๒๙๗)

    ดังนั้น เจ็ดปริตร ก็เรียกได้ว่า เจ็ดตาณ สิบสองปริตร ก็เป็น สิบสองตาณ แล้วตาณ แผลงเป็นตํานาน ก็เป็นเจ็ดตํานาน คือ เจ็ดปริตร และสิบสองตํานาน คือสิบสองปริตร

    ๒. ขอให้สังเกตว่า ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ขึ้นต้นด้วยมงคลสูตร เป็นข้อแรก คือมีมงคลสูตรนําหน้า และแปลก ด้วยว่ามงคลสูตรนี้ ไม่เป็นปริตร ไม่เรียกว่าปริตร แต่เอามานําหน้า ขึ้นก่อนปริตรทั้งหมดทั้งชุด และทุกชุด

    ในคัมภีร์ภาษาบาลีทั้งหลาย ไม่มีที่ใดเรียกว่ามงคลปริตร ต่างจากพระสูตรอื่นๆ ซึ่งเมื่อนํามาใช้เป็นปริตร ก็เรียกเป็นปริตร เช่น รัตนสูตร ก็เรียกว่ารตนปริตร

    บางท่านอธิบายว่า พระสูตรใดนํามาใช้เต็มๆ สวดทั้งสูตร ก็เรียกคงเดิมว่าเป็นสูตร แต่ถ้าตัดบางส่วนมาใช้ ก็เรียกส่วนที่ นํามาใช้นั้นว่าเป็นปริตรตามชื่อของพระสูตรนั้น แต่นี่ก็ต้องยกเว้น มงคลสูตร คือ มงคลสูตรนี้ ไม่ว่าจะเอามาแค่ไหน เช่นตัดส่วน เริ่มต้นออก นํามาเฉพาะส่วนที่เป็นคาถา หรือแม้แต่ตัดคาถาแรก ออกไปแล้ว นํามาแค่ไหน ก็เรียกว่ามงคลสูตร ไม่เป็นอื่น

@@@@@@@

เรื่องนี้อย่างที่ว่าแล้ว ในคัมภีร์ภาษาบาลีตั้งแต่เดิม เมื่อ แสดงชื่อปริตร ไม่มีมงคลปริตรในที่ไหนๆ และท่านก็ไม่ได้พูดออก ชื่อมงคลสูตรในที่ที่พูดเรื่องปริตร แต่ก็มีเค้าจากการที่ท่านพูดเรื่อง การสวดพระปริตรนั่นแหละ ที่ทําให้เห็นการนํามงคลสูตรเข้ามา

ในอรรถกถาที่อธิบายอาฏานาฏิยสูตรตอนหนึ่ง ท่านพูดถึง เรื่องที่ชาวบ้านนิมนต์พระไปสวดอาฏานาฏิยสูตรเป็นปริตรซึ่งทําเป็นพิธีใหญ่ ท่านว่าไม่ควรสวดอาฏานาฏิยสูตรนั้นเป็นบทต้น แต่ ให้สวดเมตตสูตร ธชัคคสูตร และรตนสูตร ก่อน พระผู้สวดปริตรพึ่ง ตั้งเมตตาจิตนําหน้าเป็นปุเรจาริก เมื่อเป็นการใหญ่ พระสงฆ์ ประชุมกันกล่าวมงคลกถา (บางฉบับว่ามงคลคาถา) แล้วจึงสวดปริตร (ดู ที.อ.๓/๑๖๑)

ตามเรื่องที่เป็นเค้านี้อาจเป็นว่า การกล่าวมงคลกถาหรือ มงคลคาถานั้น จะได้ปฏิบัติกันมาและถือเป็นสําคัญ และเมื่อนึก ถึงมงคลกถา/มงคลคาถา ก็เป็นธรรมดาที่มงคลสูตรย่อมจะเด่น ขึ้นมานําหน้าทั้งหมด และก็กลายเป็นว่า การสวดพระปริตรเริ่มต้น ด้วยสวดมงคลสูตรนําหน้า และมงคลสูตรก็มาเป็นบทนําของการ สวดพระปริตร เรื่องนี้มีสาระสําคัญที่ควรสนใจในเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะพูดถึงอีกข้างหน้า

เป็นอันว่า การสวดพระปริตรได้เป็นหลักยืนหรือเป็นแกน ของบุญกิริยาที่เรียกว่าการสวดมนต์ เมื่อมีงานบุญ มีงานมงคลที่ ไหนเมื่อไร พระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์ไป ก็สวดพระปริตรเหล่านี้เป็น อย่างเดียวกันทั่วไปหมด

แต่อีกด้านหนึ่ง แต่ไหนแต่ไรมา สืบแต่พุทธกาล ชาวพุทธโดยเฉพาะพระสงฆ์ ก็ได้ท่องได้จําได้ทวนได้ทาน ได้สาธยายคํา สอนและคําอธิบายคําสอนของพระพุทธเจ้ากันเรื่อยมา ทั้งในการศึกษาเล่าเรียนของตนๆ และสาธยายท่องทวนเพื่อรักษาคํา สอนของพระพุทธเจ้านั้น และก็มีการท่องการสาธยายอย่างเป็น ทํานอง ซึ่งก็เรียกว่าเป็นการสวด

แม้ว่าการท่องทวนสาธยายเพื่อรักษาพุทธพจน์จะลดถอย เพราะถือกันว่าเวลานี้มีพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นทั้งหลายจารึก เป็นตัวพิมพ์อยู่ในเล่มหนังสือเป็นต้นแล้ว แต่ผู้ที่มีฉันทะในการ ท่องทวนสาธยายทรงจําพุทธพจน์ไว้ ก็ยังมีอยู่บ้าง


@@@@@@@

โดยเฉพาะในวัดทั้งหลาย ก็ยังถือประเพณีที่พระสงฆ์ประชุม กันประจําวันเวลา พร้อมกันทําวัตรสวดคําบูชาคุณพระรัตนตรัย และสาธยายพุทธพจน์ ทํากันมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็ยังมีอยู่ทั่วไป แล้วในบรรยากาศอย่างนี้ ก็มีการเลือกนําเอาพระสูตรที่ถือว่า สําคัญๆ มางัดเข้าลําดับในการสวดสาธยายเป็นประจํา ตั้งแต่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กระทั่งถึงมหาสติปัฏฐานสูตร

ในการนี้ท่านก็คิดโยงไปถึงงานพิธี งานมงคล งานอวมงคล ต่างๆ เมื่อมองเห็นว่าพระสูตรไหน บทธรรมใด เหมาะที่จะสวดใน งานไหน ในพิธีใด ก็ตกลงกันจัดเข้าไปเป็นส่วนหลักบ้าง เป็นส่วนเสริมบ้างในระบบแบบแผนของการสวดในงานพิธีนั้นๆ

แต่ส่วนที่จัดเพิ่มขึ้นมานี้ ไม่เรียกว่าเป็นปริตร เพราะมิใช่เป็น คําสวดเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองป้องกันอย่างในชุดที่จัดไว้แต่เดิม นั้น ก็จึงถือได้ว่าเป็นส่วนที่เสริมมงคลอย่างมงคลสูตรที่กล่าวแล้ว ข้างต้น หรือเป็นส่วนแห่งการเพิ่มพูนบุญกิริยา

ทีนี้ บทสวดมากมาย คําสาธยายทั้งหลาย ที่ได้พูดถึงทั้งหมดนี้ เมื่อนํามาไว้ด้วยกัน หรือเรียกรวมทีเดียวทั้งหมด จะใช้ คําเรียกเป็นอย่างเดียวกันว่าอย่างไร คราวนี้จะเรียกว่าปริตร ก็ไม่ ครอบคลุมแล้ว (ในสมัยไม่นานมานี้ มีการพิมพ์รวมเป็นส่วนๆ เช่น เล่มนี้เป็น “เจ็ดตํานาน” เล่มนั้นเป็น “สิบสองตํานาน”) จะใช้คํา เรียกรวมว่าอย่างไรดี แล้วก็ปรากฏว่าได้ใช้คําว่า “สวดมนต์” เช่น ว่าเป็นบทสวดมนต์ หนังสือสวดมนต์ อย่างที่ได้รู้เห็นกันอยู่นี้

เมื่อตกลงกันในการใช้ถ้อยคําอย่างนี้แล้ว ก็พึ่งนึกถึง กล่าวถึงจึงใช้คําว่า “มนต์” นั้น ด้วยความรู้เข้าใจเท่าทันเรื่องราว ความเป็นมา และความหมายของคํา ดังที่ได้บอกเล่ามาแล้ว อย่างน้อยก็ให้นึกว่าเป็นพุทธมนต์ อย่างที่ได้ยกมาให้ดูข้างต้นนั้น

(ยังมีต่อ..)

 9 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:33:30 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๑. รู้ไว้ก่อน กันเขว



 :25: :25: :25:

เรื่องเก่าคําเก่า พระพุทธเจ้าสอนให้คิดใหม่ทําใหม่

พูดถึงเรื่องที่ว่าชาวพุทธจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์จะทําอะไรๆ ก็ให้มีความรู้เข้าใจ ให้มองด้วยความรู้ ให้มีให้ได้ความรู้ ก็เลยขอพูด กว้างออกไปขอยกตัวอย่างสักหน่อย ที่เรียกกันว่าชาวพุทธเวลานี้ มีอะไร หลายอย่างที่ทําตามๆ กันไป ว่ากันเรื่อยเฉื่อย บางทีก็ทําไปแค่ ตามความรู้สึก คิดได้แค่ที่ถูกความรู้สึกลากไป ถึงเวลาจะต้องมา สะกิดใจนึกว่า เอ๊ะ.. ที่เราทํานั่นทํานี่นั้น เรารู้เรื่อง เราเข้าใจดีไหม

เอาง่ายที่สุด เรื่องสวดมนต์ อย่างพระมานี่ ก็มีการสวดมนต์ สวดปาติโมกข์ เอ๊ะ.. สวดมนต์นี้คืออะไร เราทําไปทําไม มี วัตถุประสงค์อะไรนะ เรารู้เราเข้าใจไหม บอกแล้วว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้รู้ ถ้าทําไปโดยไม่รู้ว่าไปตามความรู้สึก มันก็ไม่ใช่ ไม่เข้าหลักแล้ว

คําว่า “สวดมนต์” นี่ มามองดูกันหน่อย ว่ากันไปแล้ว มันก็ ไม่ใช่ศัพท์พระพุทธศาสนา ไม่ใช่คําพุทธแท้ด้วยซ้ำ “มนต์” มาจากไหน.? มนต์ คือ มันตะ มาจากบาลีว่า “มนุต” ใช้กันมาแต่เดิมในคัมภีร์ทั้งหลาย เป็นเรื่องของพวกพราหมณ์ พวก ฤๅษี ตรงกับคําสันสกฤตว่า “มนตร” คือ มันตระ แล้วก็มนตร์

ว่ากันตั้งแต่ดั้งเดิม มันตระ คือมนตร์นี่ ในความหมายที่ ๑ ซึ่งเป็นความหมายหลัก ก็คือ คัมภีร์พระเวท ที่เรียกว่าไตรเพท ในพระไตรปิฎกมากหลายแห่ง เมื่อกล่าวถึงพราหมณ์ ใหญ่โตคนสําคัญที่มาเฝ้ามาสนทนา มาโต้ตอบวาทะกับ พระพุทธเจ้าจะบอกว่าพราหมณ์นั้นๆ ผู้เป็น “อชฌายโก มนฺตธโร ติณณ์ เวทาน ปาร์ค..” คือ ผู้คงแก่เรียน ผู้ทรงมันตระ/มนตร์ (อรรถกถามักไขความว่า หมายถึงอาถรรพเวท แต่ก็มีคัมภีร์ที่อธิบายว่า มนต์ มันตระนี้หมายถึงมูลเวท คือพระเวทดั้งเดิม ส่วนทางฝ่ายสันสกฤตว่าคือ ตัวแท้ของพระเวท) จบไตรเพท

มนต์/มนตร์นั้น พวกพราหมณ์พวกฤษีบางทีก็เอาไว้สาปแช่ง คนอื่น แล้วก็มีมนต์ที่เป็นคําขลังศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น มนต์สะกดคน สะกดสัตว์ต่างๆ เช่นจะให้คนอ้าปากค้างพูดไม่ออก จะให้ช้างเชื่อง ให้ช้างให้เสืออยู่ใต้อํานาจ สามารถสั่งบังคับมันได้ ก็ร่ายมนต์ สะกดมัน คือมีมนต์ขลังสารพัดเลย แล้วคนก็มาวุ่นอยู่กับเรื่องขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์อํานาจ ไปๆ มาๆ เมื่อไม่เอาความรู้ ไม่เอาปัญญาเป็นหลัก ก็จะพากันเพลินไปจนหลงเข้ากระแสของไสยศาสตร์

@@@@@@@

ทีนี้ ทําไมในพระพุทธศาสนาเราจึงมีการสวดมนต์ หรือใช้คํา ว่า “สวดมนต์” ด้วย นี่ก็น่าคิด

อย่างที่รู้กัน พระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นในชมพูทวีป ในสมัย ที่ศาสนาพราหมณ์เป็นใหญ่ เรียกได้ว่าครอบงําสังคมทั้งหมด สภาพสังคม จนถึงบรรยากาศของสังคมเป็นเรื่องของศาสนา พราหมณ์ เช่น ไม่ว่าจะไปไหน ก็มีการสวดสาธยายมนต์ มีพิธีบูชา ยัญ มีการไหว้เทพเจ้าที่มีพระพรหมเป็นใหญ่ ถ้อยคําพูดจาของ ผู้คนก็มีความหมายตามความเข้าใจของคนที่อยู่ในศาสนา พราหมณ์ มีอะไรต่ออะไรที่เป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์ทั้งนั้น

เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาในสภาพอย่างที่ว่านั้น จะทําอย่างไร เราจะสอนอะไรแปลกใหม่ ก็ไม่มีศัพท์แสงถ้อยคําที่ผู้คน จะเข้าใจ แล้วจะทําอย่างไร ถึงแม้ว่าเราจะมีคําใหม่ๆ ขึ้นมา เราก็ ต้องเอาศัพท์ของเขามาใช้บ้างเป็นธรรมดา แต่คําอย่างของเขาที่ เราใช้นั้น มีความหมายไม่เหมือนกับของเขา เราก็ต้องค่อยๆ ชี้แจง ว่า คําเดียวกับเขาที่เราใช้นี่ มิใช่หมายความอย่างของเขานะ นอกจากนั้น บ่อยครั้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้คําของพราหมณ์ เพื่อจะทรงสอนให้เขาเปลี่ยนความคิดความเข้าใจเสียใหม่ คือให้ เลิกคิดเรื่องนั้นๆ ในความหมายเก่าของเขา แต่ให้หันมาคิดมาทําอย่างใหม่

ถ้อยคําสําคัญของพราหมณ์ ที่เป็นหลักการใหญ่ของเขา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เขาคิดใหม่ทําใหม่ เช่น ในการบูชายัญของ พราหมณ์ เขาเอาแพะ แกะ วัว มาฆ่าบูชายัญ โดยเฉพาะผู้ครอง แผ่นดิน อย่างพระมหากษัตริย์ก็ทรงทําพิธีบูชายัญสําคัญ อย่าง อัศวเมธที่ใหญ่ยิ่ง ก็ฆ่าม้าที่เยี่ยมยอดบูชายัญ พร้อมทั้งฆ่าสารพัด พ่วงไปด้วย แต่ถ้าเป็นพิธีบูชายัญใหญ่ๆ รองลงมา ซึ่งทํากันบ่อย หน่อย ก็ฆ่าวัว ๕๐๐ แพะ ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ดังที่ท่านเล่าไว้ บ่อยครั้งในพระไตรปิฎก

ทีนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเลิกบูชายัญ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ มากในพระไตรปิฎก บางครั้ง พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปพบกับ พราหมณ์ใหญ่ที่กําลังจะทําพิธี เช่น พราหมณ์เจ้าเมืองแห่งหนึ่ง กําลังจัดเตรียมพิธีบูชายัญ เริ่มต้นตั้งแต่ให้จับวัว แพะ แกะ เอามา ผูกกับหลักที่บูชายัญ พระพุทธเจ้าเสด็จตรงไปหาเจ้าเมืองผู้ทําพิธีนั้น แล้วก็ทรงสนทนาด้วย

พระพุทธเจ้าตรัสบอกเขาว่า มีวิธีบูชายัญที่ไม่ต้องทําอย่างนี้ คือไม่ต้องทําให้ข้าทาสบริวารลําบากเดือดร้อน และสัตว์ทั้งหลายก็ ไม่ต้องเสียชีวิตถูกฆ่าถูกเฉือน แต่ได้ผลดีกว่าวิธีที่มีการฆ่าแบบนี้ ซึ่งในยุคโบราณก่อนนั้นก็ได้มีมาแล้ว

@@@@@@@@

เขาถามว่า มีอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกให้ โดยสรุป พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีบูชายัญ ด้วยการจัดการทรัพย์สิน โดยให้ผู้ครองเมือง หรือผู้ครองแผ่นดิน จัดตั้งแผนการจัดสรรทรัพย์ โดยรวบรวมทุน แล้วก็จัดสรรแบ่งปันกระจายออกไปให้ทั่วถึงกันแก่คนทุกหมู่เหล่าผู้ทําหน้าที่การงานการอาชีพประเภทนั้นๆ ให้ทั่วจนถึงราษฎรยากจนทั้งแผ่นดิน ให้อยู่กันดีมีพอกินพอใช้พอใจที่จะ ได้ตั้งใจทําการงานอาชีพของตนๆ ต่อไป

เมื่อผู้ครองเมืองบูชายัญแบบนี้ ก็จะเกิดผลดีถึงขั้นที่เรียกว่า "บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ให้บุตรฟ้อนบนอก”

นี่เป็นสํานวนบาลี หมายความว่า ถ้าทําพิธีบูชายัญแบบนี้ ประชาชนก็จะอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ถึงขั้นที่ว่า “บ้านเรือนไม่ต้องลง กลอน” หมายความว่า ไปไหนก็ไม่ต้องใส่กุญแจบ้าน เพราะไม่มี คนที่จะมาลักขโมย ไม่มีโจรผู้ร้าย

แล้วที่ว่า “ให้บุตรฟ้อนบนอก" ก็หมายความว่า ในบ้านใน ครอบครัวจะมีความสุข ถึงขั้นที่ว่าไม่ต้องห่วงกังวลหวาดกลัวภัย อะไรๆ สามารถเล่นกับลูกน้อยให้เขากระโดดโลดเต้นบนอกของพ่อ แม่ คนจะมีความสุขกันอย่างนี้ นี่คือการบูชายัญตามคติของ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ยัญแบบพราหมณ์ แต่เป็นยัญแบบพุทธ ผู้ปกครองจะต้องทําบ้านเมืองให้คนอยู่กันได้อย่างนี้

เรื่องยัญนี้ พระพุทธศาสนาสอนเยอะ เพราะว่าพวก พราหมณ์นั้นมีพิธีบูชายัญทุกบ้านทุกครอบครัวและเป็นประจําทุกวัน ตั้งแต่เริ่มวันใหม่กันเลย แต่ละบ้านต้องบูชายัญประจําวัน ขาด ไม่ได้ และมีกําหนดว่าต้องทําอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง ก็ทรงสอนให้เลิกทํา หรือให้แก้ไขเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด นอกจากการบูชายัญ ก็ทรงยกเลิกระบบวรรณะด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ง่ายๆ คือคําว่า “ทักษิณา” คํานี้เราก็เอา ของพราหมณ์มาใช้ เป็นบาลีว่า “ทักขิณา

ทักษิณา คือ ของตอบแทนที่มอบให้หรือถวายให้แก่พราหมณ์ ผู้ทําพิธีบูชายัญ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจ ก็คือ ค่าจ้างทําพิธีบูชายัญ ทีนี้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงให้เลิกพิธีบูชายัญ ทักษิณาก็เปลี่ยนมามีความหมายใหม่ หมายถึงสิ่งที่นํามาทําบุญ ด้วยใจศรัทธา ที่เชื่อในบุญในกรรมในธรรม ความหมายเปลี่ยนใหม่ แต่สิ่งของก็คล้ายๆกัน คือเป็นของให้ ของถวาย

เรื่องที่ว่าความหมายเปลี่ยนไป หลักการเปลี่ยนไปอย่างนี้ มี ตัวอย่างเยอะแยะทั่วไป คือ คําเก่าเขาใช้มา เราเกิดมาใน สภาพการณ์อย่างนั้น ก็เอาคําของเขามาใช้ แล้วก็ค่อยๆ ให้คน เข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง

@@@@@@

รู้จักพุทธมนต์ไว้ พอไม่ให้กลายเป็นไสยศาสตร์

ทีนี้ก็มาดูกันในเรื่องการสวดมนต์ ที่จริงเรามีศัพท์ของเราอยู่ แล้ว และแต่เดิมนั้นเราใช้คําว่า “มนต์” เพียงบางครั้งบางโอกาส โดยเป็นการใช้แบบเทียบเคียงเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องของเรา ด้วยค่าเรียกเรื่องที่เขารู้จักดีอยู่แล้ว

บางทีเราก็ใช้คําว่ามนต์นั้น เป็นเชิงล้อศัพท์ของพราหมณ์ เพื่อให้เห็นความหมายอย่างอื่นต่างออกไป ที่ประชาชนควรเข้าใจจะได้เลิกหลงเลิกติดอยู่กับมนต์ในความหมายอย่างเก่าของพวกพราหมณ์พวกฤษี

อย่างที่ได้บอกแล้วเมื่อกี้นี้ว่า มนต์ (บาลี : มนุต) หรือมนตร์ (สันสกฤต : มนตร) ตามความหมายหลักแต่เดิมมา หมายถึงพระ เวท ที่เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ แล้วรองลงมาก็หมายถึง ค่าขลังศักดิ์สิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์พวกฤษนั้นเอามาร่ายมาเสกมา สาธยาย ให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สาปแช่งคนให้ตายหรือให้ เป็นไปต่างๆ บ้าง ชุบคนตายให้เป็นขึ้นมาบ้าง สะกดคนสะกดสัตว์ ให้อยู่ในบังคับ ให้เป็นไปต่างๆ บ้าง

พวกฤษีนั้นโกรธเกลียดใครมากๆ ก็มักสาปแช่งให้ศีรษะแตก ตายใน ๗ วัน พระโพธิสัตว์ก็เคยถูกสาปแช่งอย่างนั้น โดยฤษีที่มา จากวรรณะพราหมณ์ คือพราหมณ์ที่มาบวชเป็นฤษี

ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นคนจัณฑาล ต้องการปราบ มานะคือความเย่อหยิ่งถือตัวของพวกพราหมณ์ ก็ไปแกล้งฤษี พราหมณ์ แล้วก็ถูกฤษีพราหมณ์นั้นสาปแช่งว่า ให้แกต้องไปทําอย่างนั้นๆ ไม่อย่างนั้นให้ศีรษะแตกใน ๗ วัน แต่พระโพธิสัตว์แก้ไขได้ ไม่เป็นไร จนในที่สุดฤษีพราหมณ์นั้นต้องยอมแพ้ อะไรอย่างนี้มีเยอะ เรื่องผจญกับพวกพราหมณ์ ลัทธิเก่านี่มีมากมาย

@@@@@@@@

ทีนี้ คําว่า มนต์, มนตร์, มันตระนี่ ดังที่ว่าแล้ว เดิมนั้นเป็น เรื่องของพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นคําพุทธ แต่บางครั้งท่านนํามาใช้ใน พระพุทธศาสนาในความหมายเชิงเทียบเคียง เช่น ในเรื่องของพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี

พระกุณฑลเกสี เป็นพระเถรีสําคัญมาก เป็นมหาสาวิกาองค์ หนึ่ง ท่านมีชื่อเป็นทางการว่า “พระภัททากุณฑลเกสา" พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านชิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน (ค่าไทยว่า “ตรัสรู้” นี้ เท่าที่ค้นได้ สมเด็จพระสังฆราช สมัยก่อน ครั้ง ร.๒ อย่างน้อยถึง ร.5 ทรงใช้สําหรับทุกบุคคลที่บรรลุมรรคผล แต่สมัยนี้จํากัดว่าให้ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า)

พระกุณฑลเกสีเถรีนี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ มีประวัติเป็นเรื่องผจญทุกข์เผชิญภัย แล้วด้วยปัญญาไวก็เอาชนะ ผ่านมาได้ เป็นเรื่องตื่นเต้นน่าสนใจ แต่ขอเล่ารวบรัดว่า ต่อมาท่านได้เป็นปริพาชิกาในลัทธิภายนอก เที่ยวเดินทางไปแสวงธรรมหาความจริง และเพราะเป็นคนมีปัญญาเยี่ยม ก็เที่ยวท้าหาคนเก่งๆ มาตอบปัญหาโต้วาทะ จนมาเจอกับพระสารีบุตร ท่านถามปัญหา มากมาย พระสารีบุตรตอบได้หมด

แล้วพระสารีบุตรถามบ้าง ท่าน ตอบไม่ได้ และจึงถามด้วยความอยากรู้อยากเรียนว่า ที่พระสารีบุตรถามนั้นเป็นเรื่องอะไร พระสารีบุตรก็ตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธมนต์” นี่คือใช้คําว่ามนต์มาสื่อความหมายให้คนภายนอก เข้าใจถึงความสําคัญ ท่านกุณฑลเกสีอยากจะเรียน จึงได้บวช และต่อมาก็ได้เป็นพระภิกษุณีสําคัญ

ดังที่ว่า อย่างไรก็ดี ในเรื่องของพระกุณฑลเกสีเถรีนี้ คําที่ใช้ยังไม่แน่ชัด คือในคัมภีร์ฉบับของพม่า ของสิงหล และฉบับอักษรโรมัน บอกว่าพระสารีบุตรตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธปัญหา” ไม่ได้ใช้ คําว่าเป็น “พุทธมนต์” อย่างในฉบับของไทย ก็ไม่เป็นไร ถ้าจะให้ เป็นเรื่องที่แน่ชัดกว่านี้ ก็ต้องเอากรณีที่คนผู้เป็นพราหมณ์ชํานาญเวทมาพบกับพระเถราจารย์องค์สําคัญๆ

พระสาวกองค์สําคัญๆ ของพระพุทธเจ้า ส่วนมากมาบวช โดยสลัดออกจากตระกูลพราหมณ์ เพราะในระบบวรรณะนั้น คนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงสุด เป็นคนพวกเดียว ที่ติดต่อถึงกับพระพรหมผู้เป็นเจ้าได้ และเข้าถึงการศึกษาได้จริงจังเต็มที่ พราหมณ์จึงเป็นทั้งผู้มีอํานาจใหญ่โต และเป็นปัญญาชนของยุคสมัยนั้น

@@@@@@@@

ในที่นี้ จะพูดถึงพราหมณ์ ๒ ท่าน ที่ได้สละความเป็นพราหมณ์ออกมาบวช และได้เป็นบุคคลสําคัญ

ในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล หลังพุทธปรินิพพาน ๒๐๐ ปี เศษ พระเจ้าอโศกได้เป็น มหาราชปกครองชมพูทวีปในยุคที่อินเดียกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด พระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์บํารุงวัด และพระสงฆ์เต็มที่ แล้วก็ได้มีคนจากลัทธิภายนอก ซึ่งอยากได้ ลาภมากมายเพื่อให้เป็นอยู่สุขสบาย เข้ามาบวชและเอาคําสอนที่ ผิดเพี้ยนเข้ามาสั่งสอน เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ทําให้ ความรู้ความเข้าใจหลักธรรมฟันเฟือน พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ ทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ในการทําสังคายนา (ครั้งที่ ๓) โดยได้พระ โมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานการสังคายนานั้น

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนี้ เดิมทีก็เกิดในวรรณะพราหมณ์ มีชื่อว่าติสสะ เป็นเด็กสมองดี จึงเรียนจบไตรเพทตั้งแต่เป็นมาณพ น้อยอายุเพียง ๑๖ ปี แล้ววันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ทําให้พระเถระชื่อว่าสิคควะ มานั่งบนแท่นที่นั่งของเขา ติสสมาณพนั้นถือตัวนัก กลับจากบ้านของอาจารย์มาเห็นเข้า ก็โกรธมากและต่อว่า แล้วลงท้ายก็ถามกันถึงความรู้เรื่องมนต์

พระถามว่า “นี่มาณพน้อย เธอรู้มนต์บ้างไหม.?"
ติสสะตอบว่า “ถ้าคนอย่างข้าไม่รู้ คนอื่นที่ไหนใครจะรู้"
แล้วเขาก็ยกเอาเรื่องที่ยากๆ ในไตรเพทและคัมภีร์สําคัญของพราหมณ์ขึ้นมาพูดและถามพระเถระเพื่อจะข่ม แต่พระสิคควะตอบได้ อธิบายได้หมด เพราะท่านก็ได้เรียนจบไตรเพทมาแล้ว แถมได้ปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉาน

มาณพหมดภูมิที่จะถามแล้ว พระเถระก็บอกว่า เธอถามมามากแล้ว ฉันถามบ้างได้ไหม ขอข้อเดียวแหละ มาณพบอกว่า ก็ถามมาสิ พระเถระถามว่า
     “จิตของผู้ใดเกิด ไม่ดับ จิตของผู้นั้น จักดับ จักไม่เกิด หรือว่า จิตของผู้ใด จักดับ จักไม่เกิด จิตของผู้นั้น เกิด ไม่ดับ”

มาณพน้อยเมื่อกี้หมดภูมิที่จะถามแล้ว คราวนี้ไม่มีภูมิ ที่จะตอบ คิดทางไหนก็ไปไม่ได้ ในที่สุดจึงถามว่า ที่ท่านถามมานั้น เป็นเรื่องอะไร พระตอบว่าเป็น “พุทธมนต์”

มาณพถามว่าให้ฉันได้ไหม พระตอบว่า ถ้าเธอเป็นเหมือนอย่างฉันนี่ ก็ให้ได้ (คือ ถ้าบวช เป็นพระเป็นเณรเหมือนกันแล้ว ก็จะให้) มาณพน้อยอยากได้พุทธมนต์ ก็ไปขออนุญาตบิดามารดา ฝ่ายพราหมณ์พ่อแม่คิดว่าลูกไปบวชได้มนต์แล้ว ก็จะกลับมาบ้านเอง จึงยอมให้ไป

พระเถระให้มาณพน้อยบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็จัดการให้ได้ฝึกได้เรียนพุทธพจน์ จนถึงเวลาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่มีความรู้เชี่ยวชาญทรงพระไตรปิฎก แล้วก็ได้เป็นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระที่เป็นประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ใน พ.ศ. ๒๓๕-๖

@@@@@@@

ในเรื่องนี้จะเห็นว่า พระเถระใช้คําว่า “พุทธมนต์" เพื่อให้ มาณพได้ความคิดความเข้าใจและสนใจโดยเทียบเคียงกับเรื่อง จําพวกไตรเพทที่เขารู้จักอยู่แล้วและเขาถือว่าสําคัญยิ่งใหญ่ แต่ที่จริงพุทธมนต์นั้นก็คือพุทธพจน์ หรือบทธรรมข้อธรรมทั้งหลาย นี่เอง และพุทธมนต์ คือมนต์ของพระพุทธเจ้านี้เป็นเรื่องสําหรับ ศึกษาที่จะต้องเรียนให้รู้เข้าใจด้วยปัญญา ไม่ใช่แค่เอามาจําให้ แม่นใจแล้วว่าให้คล่องปาก โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร

(คําว่า “พุทธมนต์” นี้ มีการใช้ในความหมายแบบที่เป็นมนต์ ของพราหมณ์ด้วย คือหมายถึงมนต์ในคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ ที่ ใช้ทํานายลักษณะของพระพุทธเจ้า และบุคคลสําคัญในระดับใกล้เคียง)

หลังสังคายนาเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพอพระทัยว่าพระพุทธศาสนธรรมจะเจริญมั่นคง และควรจะให้ประเทศถิ่นดินแดนอื่นได้ประโยชน์ด้วย จึงทรงอุปถัมภ์ให้ส่งพระเป็นศาสนทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ๙ สาย รวมทั้งสุวรรณภูมิที่ตั้งประเทศไทยนี้ด้วย โดยเฉพาะที่ถือได้ว่าเป็น หลัก คือสายที่ ๙ สู่ลังกาทวีป ซึ่งพระหัวหน้าสาย คือพระมหินทเถระ เป็นโอรสของพระองค์เอง

สิ่งที่พระมหินทเถระนําไปเพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลายนั้น (นําไปในตัวพระสงฆ์ ที่สมัยนั้นใช้วิธีสาธยายทรงจําไว้) ได้เป็นฐานที่มั่นสําคัญของพระพุทธศาสนา โดยต่อมาได้จารึกเป็นตัวอักษร และหลายประเทศได้มารับเอาไป รวมทั้งรับกลับไปสู่อินเดียแดนเดิมของพระพุทธศาสนาเอง

ที่ศรีลังกานั่นแหละ ต่อมา พระราชาก็ได้ทรงส่งทูตไปทูล พระเจ้าอโศก ขออาราธนาพระสังฆมิตตาเถรีมาประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ในลังกาทวีป พระสังฆมิตตาเถรีก็คือพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเอง และพระเถรีได้นํากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกไว้ที่อนุราธปุระซึ่งเป็นเมืองหลวงของศรีลังกาในสมัยนั้นด้วย และในปัจจุบัน พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ก็ยังยืนต้นอยู่ โดยมีชื่อว่าเป็น ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก




รู้จักพุทธมนต์จริง ก็จบพระพุทธศาสนา

ที่เล่าเมื่อกี้นี้เป็นเรื่องราวในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา ๓ ศตวรรษแรก แต่หลังจากนั้น พุทธศาสนาในอินเดียก็ประสบภัย ถูก เบียดเบียนเรื่อยมา

บอกแล้วว่าพวกพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นวรรณะประเสริฐ สูงสุด เป็นเจ้าคัมภีร์ที่พระพรหมทรงลิขิตชีวิตคนและสังคมไว้ และ พราหมณ์ก็ได้ผลประโยชน์ทุกอย่างจากอํานาจในฐานะของตน แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เลิกถือวรรณะ ให้เลิกบูชายัญ ให้รู้ว่าคนมีชีวิตที่เกิดมาตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากพระพรหมสร้าง และมนุษย์สามารถฝึกศึกษาพัฒนาตัวให้ดีเลิศประเสริฐได้เหนือพระพรหม นี่ก็เท่ากับโค่นล้มพราหมณ์ลงทั้งหมด

แต่ก็พราหมณ์นั่นแหละจํานวนไม่น้อย ที่ใจดีมีปัญญา ได้ฟัง พระพุทธเจ้าแล้ว ก็เห็นตามที่พระองค์ทรงสอน และสละวรรณะ พราหมณ์ออกมาเป็นพุทธสาวกช่วยพระพุทธเจ้าสอนประชาชนให้ รู้เข้าใจความจริงและดําเนินชีวิตนําทางสังคมอย่างใหม่

เรื่องราวความเป็นไปอย่างที่ว่ามานี้ ทําให้พวกพราหมณ์ที่ยึดถือมั่นไม่พอใจ บ้างก็ถึงกับหาทางกําจัดพระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างยิ่ง การบูชายัญเป็นหลักปฏิบัติใหญ่ เป็นที่ใช้อํานาจสิทธิ์ขาด และเป็นที่มาของผลประโยชน์มากมายของ พราหมณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาสอนว่าการบูชายัญไม่มีผล และ สอนคนให้เลิกบูชายัญ พราหมณ์ก็ยิ่งผูกความแค้นเคืองอันไว้ จนถึงยุคหลังๆ ต่อมา พราหมณ์ใหญ่ที่ออกมาเป็นฮินดูทั้งหลาย ทั้งสายไวษณพ ที่นับถือพระวิษณุนารายณ์ และสายไศวะ ที่นับ ถือพระศิวะอิศวร ก็พากันพุ่งเป้ามาที่จะต้องกําจัด พระพุทธศาสนาลงให้ได้

เริ่มแต่ในยุคแรก ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๑๘- ๒๖๐) ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา อํานาจและอิทธิพลของ พราหมณ์ยิ่งน้อยลง พระเจ้าอโศก ถึงกับทรงให้เขียนประกาศใน ศิลาจารึกห้ามทําการบูชายัญด้วยชีวิต ไม่ว่าสัตว์ใหญ่น้อยชนิด ไหนๆ นี่คือทําให้พราหมณ์ขัดใจแค้นเคืองมาก

แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อพระเจ้าอโศกไม่ทรงถือวรรณะ พราหมณ์ซึ่งเป็นคนชั้นสูงเจ้าคัมภีร์ก็เข้ามารับราชการเป็นใหญ่เป็นโตโดยสะดวก เหมือนรอเวลาที่จะเอาคืน (เมื่ออังกฤษเข้ามาครองอินเดียเป็นอาณานิคม ก็ใช้อํานาจบังคับ ห้ามเอาคน เอาเด็ก เอาสาวพรหมจารีมาบูชายัญ จนถึงรัฐบาลอินเดียสมัยปัจจุบันก็มีกฎหมายห้าม แต่ขนาดมีกฎหมายให้ลงโทษอย่างแรง ก็ยังมีการลักลอบเอาเด็กหญิงพรหมจารีไปบูชายัญสังเวยเจ้าแม่กาลี นี่คืออํานาจความเชื่อแบบพราหมณ์)

@@@@@@@

เวลาผ่านมาแค่ราว ๑ ศตวรรษ ถึงรัชกาลพระเจ้าพฤหัทรถ ที่เป็นนัตตาหรือปนัดดาของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์ก็ ได้โอกาส โดยพราหมณ์ชื่อว่าบุษยมิตร ซึ่งเข้ามารับราชการจนได้เป็นเสนาบดี ได้วางแผนปลงพระชนม์ในพิธีสวนสนาม ล้มโมริยวงศ์ของพระเจ้าอโศกลงในราว พ.ศ. ๒๕๖ แล้วพราหมณ์ปุษยมิตร ก็ขึ้นเป็นราชา ตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อว่าคุงคะราชาปุษยมิตรได้รื้อฟื้นการบูชายัญขึ้นมา โดยทําพิธีอัศวเมธ (ฆ่าม้าบูชายัญ) อย่างยิ่งใหญ่ และทําลายพระพุทธศาสนา โดยเผาวัด กําจัดพระภิกษุสงฆ์ ถึงกับให้ค่าศีรษะแก่ผู้ฆ่าพระภิกษุ ได้ รูปละ ๑๐๐ ทินาร์

แต่ปุษยมิตรคงทําลายได้ไม่เต็มที่ เพราะแว่นแคว้นแตกแยก ออกไป บางถิ่นก็ยังบํารุงพระพุทธศาสนา เช่น พญามิลินท์ หรือ เมนานเดอร์ กษัตริย์พุทธแห่งแคว้นโยนก หรือ Bactria ซึ่ง ครองราชย์ที่เมืองสาคละ หรือสากละ (ในปัญจาบปัจจุบัน) ก็เป็น องค์อุปถัมภกสําคัญ

ต่อมาอีกราว ๗๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๑๐๕๐ เศษ ที่เมืองสาคละ นั่นแหละ กษัตริย์มิตรกุละ (หรือ มหิรกุละ) ซึ่งเป็นชนเผ่าฮั่นขาว หรือหูณะ ที่บุกเข้าอินเดียมาทางอิหร่านและอัฟกานิสถาน ได้ขึ้น ครองราชย์ อยู่ในศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นฮินดูนิกายไศวะ (นับ ถือพระศิวะ คืออิศวร) ได้ทําการร้ายตามที่พระถังซัมจั๋งเขียนเล่าไว้ ว่า มิหิรกุละได้สั่งให้กําจัดพุทธศาสนาให้หมดสิ้นจากดินแดนของพระองค์ทุกแห่ง

แต่มิหิรกุละถูกตอบโต้โดยพระเจ้าพาลาทิตย์ กษัตริย์ราชวงศ์ คุปตะ แห่งมคธ แล้วทําสงครามกัน มีหิรกุละถูกจับได้และขังไว้

ต่อมา มีหิรกุละหนีได้ ไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นกัษมีระ (แคช เมียร์) แล้วสังหารกษัตริย์กับมีระเสีย ขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แล้วรื้อฟื้น แผนการกําจัดพระพุทธศาสนา โดยล้มล้างพระสถูปทั้งหลาย ทําลายวัด ๑,๖๐๐ วัด สังหารพุทธศาสนิกชน ๙๐๐ โกฏิ แต่ใน ที่สุด ได้กระทําอัตวินิบาตกรรม โดยโจนเข้ากองไฟ

ต่อมาอีก ๑๐๐ ปี ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ ศาสางกะ ซึ่งอยู่ใน ศาสนาพราหมณ์นั่นแหละ โดยเป็นกษัตริย์ฮินดูนิกายไศวะ เช่นเดียวกัน ครองราชย์ในแคว้นเคาตะ ในเบงกอลปัจจุบันภาค กลาง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์พุทธพระนามว่าราชยวรรธนะ แล้ว ทําลายพุทธศาสนาอย่างมากมาย แม้แต่เหรียญเงินตราของ กษัตริย์นี้ ก็เขียนกํากับชื่อราชาไว้ว่า “ผู้ปราบพุทธศาสนา” พระถังซัมจั๋งเขียนบันทึกไว้ว่า ศาศางกะได้สังหารพระภิกษุ ในแถบกุสินารา (กุศนคร) หมดสิ้น ทําให้สงฆ์พินาศไป และเป็นราชาที่ไปโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยาลง และขุดรากขึ้นมาเผา กับทั้งนําเอาพระพุทธรูปออกไปจากพระวิหารทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น นําเอาศิวลึงค์เข้าไปไว้แทน

นอกจากนี้ นักบวชไศวะที่สําคัญคือ กุมารละ และตั้งกราจารย์ ก็เที่ยวสั่งสอนโจมตีพระพุทธศาสนา และไม่เท่านั้น เมื่อเดินทางไปไหน ก็พยายามชักจูงชวนกษัตริย์และคนชั้นสูงที่มีอํานาจ ให้เลิกอุปถัมภ์บํารุงวัดและพระพุทธศาสนา

แล้วสุดท้าย ราว พ.ศ. ๑๗๔๙ กองทัพมุสลิมเตอร์ก ก็บุกทําลายล้างพระพุทธศาสนาหมดสิ้นจากอินเดีย
ที่เล่ามานี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นภัยอันตราย ที่ทําให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลาย

@@@@@@@

ทีนี้ก็มาดูเหตุการณ์สําคัญเมื่อใกล้ก่อนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐ จะ ได้เห็นว่าเวลานั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาก็โทรมหนักแล้ว การเล่าเรียนศึกษาธรรมวินัยอ่อนกําลัง ทําได้ยาก

มีเรื่องว่า เมื่อราว พ.ศ. ๙๕๖ ที่อินเดีย ณ ถิ่นใกล้เคียงต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้นั่นเอง ในบ้านพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กฉลาดเกิดขึ้น ชื่อโมสะ มาณพน้อยนี้เรียนจบไตรเพท เก่งกล้าในศิลปศาสตร์ทุกอย่าง และเป็นเจ้าวาทะ จึงได้เดินทางไปในคามนิคมนครราชธานี ทั่วชมพูทวีป เที่ยวถกเถียงทางวิชาการไปทั่ว จนมาถึงวัดหนึ่ง ยังไม่พบใคร

ถึงราตรีก็สาธยายคําสอนของปตัญชลี (ผู้แต่ง “โยคสูตร”) พระมหาเถระที่วัดนั้นชื่อเรวัตได้ยิน ฟังแล้วก็รู้ว่าเขาเป็นคนเก่งมาก คิดว่าควรจะให้เขารู้จักธรรม จึงแกล้งพูดว่าใครหนอมา ร้องเสียงอย่างกับลา

มาณพถามกลับมาว่า ท่านรู้เข้าใจ ความหมายในเสียงลาหรือ พระเถระตอบว่ารู้ มาณพจึงซักถาม ตามหลักวิชาของพราหมณ์ ตั้งแต่ไตรเพท พระเถระก็ตอบได้หมด เสร็จแล้วจึงขอเป็นฝ่ายถามบ้าง (ในพุทธโฆสปปวตฺติกถา ท้าย คัมภีร์วิสุทธิมัคคี ฉบับอักษรไทย คําถามของพระเถระที่นี่ ตรงกับ ในเรื่องของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ในสมันตปาสาทิกา น่าจะ มีความพลั้งเผลออะไรสักอย่าง จึงขอเล่าพอเป็นเค้าตามคัมภีร์สาสนวงศ์)

โดยถามเรื่องปรมัตถธรรมตามนัยแห่งอภิธรรมมาติกา มาณพตอบไม่ได้ จึงถามว่าเป็นเรื่องอะไร พระเถระก็ตอบว่า เป็น "พุทธมนต์" มาณพก็อยากเรียน แล้วก็ได้บรรพชาและ อุปสมบท และศึกษาพุทธพจน์จนจบพระไตรปิฎก มีชื่อเสียง ปรากฏว่าเป็นพระพุทธโฆส

พระพุทธโฆสนี้มีปรีชาสามารถมาก จึงคิดแต่งตํารา เริ่มด้วยคัมภีร์ญาโณทัย เสร็จแล้วก็จะแต่งอรรถกถาอภิธรรม พระอาจารย์ คือพระมหาเถระเรวัตจึงบอกให้รู้ว่า ในชมพูทวีปนี้มีเหลือแต่พระไตรปิฎกบาลีเท่านั้น ไม่มีอรรถกถาและคัมภีร์อื่นๆ แต่ในสิงหลทวีปมีอรรถกถา ที่พระมหินทเถระจัดรวบรวมไว้เป็นภาษาสิงหล ซึ่งยังสืบกันมา ขอให้พระพุทธโฆสไปที่สิงหลทวีปนั้น สํารวจดูแล้ว แปลกลับมาเป็นภาษามคธคือภาษาบาลี ก็จักก่อเกิดประโยชน์แก่คนทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธโฆสจึงได้ลงเรือเดินทางไปลังกาทวีป เข้าไปอยู่ที่มหาวิหาร ในเมืองอนุราธปุระ และได้ขออนุญาตสังฆะ ที่นั่นในการที่จะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับมาเป็นภาษาบาลี เพื่อนํากลับไปใช้ที่ถิ่นแดนเดิมในชมพูทวีป

ทั้งนี้มีเรื่องราวยืดยาว เริ่มตั้งแต่ทดสอบความสามารถด้วย การแต่งคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ แล้วได้รับอนุญาตให้แปลอรรถกถา จนในที่สุดก็สําเร็จจบสิ้นตามปรารถนา และนํากลับมายังชมพูทวีป ดังที่เรามีอรรถกถาภาษาบาลีซึ่งใช้ประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ในบัดนี้

ขอให้เข้าใจว่า พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นยุคอรรถกถาที่กลับมีเป็นภาษาบาลีขึ้นใหม่ ท่านได้จัดทําอรรถกถาขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ถึงกับครบบริบูรณ์ มีพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ ทําส่วนที่ยังขาดอยู่จนเสร็จสิ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นและ ต่อจากนั้นไม่นาน

(ยังมีต่อ..)

 10 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:32:33 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

หน้า: [1] 2 3 ... 10