กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า "นั่งสมาธิแล้วปวดเข่า"

(1/3) > >>

sompong:
เดิมเราอ่านจากที่ต่างๆและนั่งเองนะครับ
มีปัญหาไม่สามารถนั่งขัดสมาธิ ขวาทับซ้ายได้ หรือแม้แต่ขาไขว้กัน
เพราะ จะหงายหลังตลอด ด้วยรูปร่างทำยังไงก็ไม่ได้ นั่งจะเกร็งเพื่อไม่ให้ล้ม จนขาสั่น เกร็ง ไม่ให้ล้ม ทรมานมาก(เข่าขวาจะยกตลอด ไม่สามารถวางราบได้) แก้โดยการนั่งพิงหลัง
ต่อมาด้วยแรงอึด เราก็พยาบามจนได้ แต่ต้องเป็นซ้ายทับขวา ได้อยู่ 2-3 ครั้ง
ผลปรากฏว่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เรามีอาการปวดเข่าซ้ายมาตลอด
เดินขึ้นบันไดก็แปล๊บๆ พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิจะเจ็บ(กินยาหายแป๊บเดียวก็เจ็บอีก)
ไปx-ray พบว่า ข้อเข่าแคบ น้ำน้อย น่าจะเป็นอาการเริ่มต้นของเข่าเสื่อม
ตั้งแต่ นั้นมาถ้าเราจะทำสมาธิ เราจะนั่งห้อยเท้าตลอด เพราะเราอายุยังไม่มาก กลัว 50 ก็ต้องผ่าแล้ว และเข้าฟิตเนสเพื่ออกกำลังเพิ่มกล้ามเนื้อขา จนอาการดีขึ้น

จนเราไปปฏิบัติธรรม ครั้งแรก ตอนแรกเรากะจะขอพระอาจารย์เพื่อนั่งเก้าอี้ แต่ก็อยากลองดู
ปัญหา เดิมครับแม้จะไม่ค่อยเจ็บเหมือนเมื่อก่อน แต่ผมไม่สามารถทรงตัวได้ เวลานั่งสมาธิไม่ว่า 1หรือ 2 ชั้น เข่าขวาจะกระดกตลอด ทำให้น้ำหนักจะไปอยู่ตรงก้นด้านหลังจะหงายหลังตลอด ยิ่งถ้าเอามือมาวางแล้วเกือบล้มทันที ต้องแอบยื่นมือไปข้างหน้าถ่วงไว้ แต่ก็นั่งได้ไม่นานก็ยอมแพ้(ไม่ถึง5นาที สั่งเป็นเข้าเข้าเลย เพราะเกร็งขาไม่ให้หงายหลัง)
เคยเห็นหลายคนบอกว่า คนที่ปวดเข่า นั่งสมาธิพอถึงระดับหนึ่งแล่วก็นั่งได้และเข่าก็หายปวด
คิด ว่าผมควรจะเสี่ยงนั่งสมาธิแบบ2ชั้นต่อดีเพื่อร่างกายอาจจะชิน และอาจหายปวดเหมือนประสบการณ์ของบางท่าน(มันเป็นไปได้หรือ) หรือนั่งเก้าอี้ไปเลย เพราะยังไงรูปร่างเราก็อาจไม่สามารนั่งได้อยู่แล้วและก็ปลอดภัยต่อเข่าเรา ด้วย


ทีเขาเล่าไว้อย่างนี้นะครับ สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างครับ

 :25:

ฟ้าใหม่แจ่มใส:
ตอนนั่งกรรมฐาน เราจะปวดหัวมาก รู้สึกหัวใจเต้นแรงมาก
แล้วพอถึงเวลาที่กำหนด ก็รู้สึกเหนื่อยมากด้วย
ไม่ทราบว่าเป็นกันทุกคนรึเปล่าค่ะ  แฟนเราบอกว่า ยิ่งปวดหัวให้ยิ่งนั่ง เพราะเจ้ากรรมนายเวรเขาไม่อยากให้นั่ง จริงรึเปล่าค่ะ?
 :13:

ธัมมะวังโส:
สำหรับเรื่องอาการปวดเมื่อย นั้นถ้าในขั้นสูงสุดกล่าวว่า เมื่อออกกรรมฐานก็เดินปร๋อได้ ไม่ต้องมาบีบ มานวด โดยส่วนตัวพระอาจารย์เอง ก็คิดว่ามีคำกล่าวที่กล่าวเกินไปอยู่บ้าง ต้องภาาวนาเองจึงจะเข้าใจ


ในส่วนการนั่งกรรมฐาน จะยึุดท่านั่ง 3 ท่าเป็นหลัก คือ

 1.ขัดสมาธิเพชร คือ นั่งขัดขาคู้บัลลังก์

 2.ท่าอาสนะดอกบัว อันนี้เป็นมาตรฐาน ที่ใช้กันอยู่

 3.ขัดตะหมาด นั่งขัดขาเยื้องธรรมดา

 อันนี้เหมาะสมกับผู้มีสุขภาพ ที่ดีแล้วก็พึงจะใช้ท่าเช่นนี้ เพราะสบายเกินไป จิตก็ไม่เป็นสมาธิ


 ดังนั้นถ้าสุขภาพเราไม่พร้อม นั่งบนเก้าอี้ ห้อยขา ก็ได้ไม่แปลก ไม่ได้จัดเป็นการฝึกวิปัสสนาเลย
เพียงแต่จัดท่าทางให้เหมาะสมแก่สถานะ เท่านั้นเอง

 ที่สำคัญอยู่ที่การเดินจิต สมาธิ เป็น กิริยาแห่งจิตต้องเดินจิต มิใช่เดินกายพระลักษณะ พระรัศมีนั้น เกิดขึ้นที่จิตรับรู้กับกาย และ รับรู้กับจิต ดังนั้นแม้นอนอยู่ ก็ภาวนาได้ แต่สำคัญที่การเดินจิต

แล้วทำไม ไม่สอนท่านอนเลยละ

 สอนได้ แต่เพราะความสบายนั้น ย่อมเป็นอุปสรรค ส่วนมากคนนอนภาวนาจิตไหลลงภวังค์เข้าสู่ความหลับโดยธรรมชาติ ของกาย และจิตในท่านอนอยู่ ดังนั้นสอนท่านอนทำได้ยาก และเป็นกรรมฐานที่ฝึกยากที่สุุด

ส่วนกรรมฐานที่ออกแรงมาก ๆ เช่นการเิดินจงกรม ก็เช่นกันเมื่อเหนื่อยจิตก็ล้่า ก็พาลจะหยุดเอาอีก

ท่าที่เหมาะสมก็คือ ยืน กับ นั่ง ที่นี้ยืน ๆ ได้นานกว่านั่ง หรือ ว่า นั่งได้นานกว่า ยืน

 คำตอบก็คือ นั่ง ทำได้นานกว่า ยืน

ดังนั้นท่านั่ง จัดเป็นการฝึกกรรมฐาน แบบกลาง ๆ แล้ว คือไม่สบายเกิน ไม่ลำบากเกินไป

เจริญธรรม

 ;)

udom:
ขอวิธีทำสมถะ ที่ถูกต้อง ไม่เพ่ง และไม่เคลิบเคลิ้ม นะคะ

ตอนนี้ ทำกรรมฐาน จิตตานุปัสสนาฯ ตามดูจิตอยู่ค่ะ
แรกๆ เห็นกิเลสตัวเอง พรั่งพรูเหมือนสายน้ำไหล
กิเลสเยอะมากๆ หนักๆแรงๆ

ต่อมา เห็นว่า กิเลสทุกตัวที่ร้ายๆ เด่นๆ อยู่ในใจ โดยเฉพาะ โทสะ ที่แรงๆ
มักตามหลัง โมหะ คือความหลงไปคิด เสมอตลอดเวลา
ตัวโทสะ เกิดเดี่ยวๆ ไม่ได้ 
โทสะ เกิดตามหลังความคิด หลงไปคิดเสมอ ความรู้สึกโกรธ จะไม่มีทางเกิดขึ้น หากไม่คิดต่อว่า เขาว่า เรา
หาก ไม่มีสังขาร  สัญญา  ไปปรุงไปแต่ง ไปทราบ  ไปให้ค่า ว่า มีคนกำลังว่า เรา ทำไมถึงรู้สึกโกรธ เพราะว่า เขาว่าเรานั่นเอง  หากเห็นคนด่าคนอื่น เราก็จะไม่รู้สึกว่า โกรธ

โทสะ มี โมหะ เป็นตัวจุดชนวน ตลอดเวลา
พอเกิดโทสะ ก็จะเกิด ความอยาก อยากทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อสนองความโกรธ เช่น โกรธก็อยาก ว่าเขา
อยากตีเขา  ก่อให้เกิด พฤติกรรม ทำผิดทางวาจา ทางกาย หมุนวนเป็นวัฏจักร

โลภะเองก็เกิดตามหลัง โมหะ เช่น หลงๆ ไปดู 
เช่น เห็น มือถือรุ่นใหม่ๆ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้าอาภรณ์

เกิดความอยากได้ ทำไมถึงอยากได้ เพื่อที่เราจะได้ มีความสุข
มันมีเราซ่อนอยู่ตลอดเวลา

ความหลงตัวฉกาจฉกรรจ์ ก็คือ การหลงคิด
มีสักกยะทิฏฐิ แน่นแฟ้นว่า มีเรา มีตัวมีตน
ทุกอย่างทำไปเพื่อ รักษาตัวตนไว้ทั้งนั้น

หากความโลภไม่สมอยาก ก็จะเกิด โทสะซ้อนขึ้นทันที 
ต่อมาจับเคล็ดได้ว่า เราควรจะตามดู ต้นตอของเหตุ ต้นตอของทุกเรื่อง
จึงหันมาดู จิตที่หลงไปคิด ก็คือดูโมหะ

ประกอบกับ  หันมาดูกาย เคลื่อนไหว รู้สึก จิตเคลื่อนไหวรู้สึก
และ ดูจิตที่ไหลไปคิดเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่า มีให้ดูได้ ตลอดเวลา ในหนึ่งนาที หลงไปคิดได้ สิบสิบเรื่อง
ระยะนี้ ดู จิตที่ไหลไปคิด ไม่ค่อยทันแล้ว มันเริ่มเร็วขึ้น เร็วขึ้นและเร็วขึ้น ไหว ยิบยับๆ ตลอด เหนื่อยพลังหมด


ที่แท้เรากำลังเดินสายแห้งแล้ง สุขวิปัสสกะ (เขียนถูกหรือเปล่าน้อ) ปัญญานำสมาธิ

อยากได้ กำลังหนุน หากทำสมถะเป็นคงดีไม่น้อย คงช่วยได้เยอะทีเดียว
รบกวนด้วยนะคะ

จากคุณ    : รุ่งฟ้าสาง

สถาพร:
การทำสมาธิแบบพระอาจารย์เสาร์ โดย หลวงพ่อพุธ
http://audio.palungjit.com/f10/การทำสมาธิแบบพระอาจารย์เสาร์-3263.html
 :25:
   

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป