ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ความรัก" ในบาลี มีศัพท์ให้ใช้หลายคำ | มาดู "พุทธภาษิต" ว่าด้วยความรัก  (อ่าน 6314 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



รวมคำศัพท์ที่หมายถึง "ความรัก" ในภาษาบาลี

     ๑. กาม (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) อ่านว่า กา-มะ
     ๒. ฉนฺท (ปุงลิงค์) อ่านว่า ฉัน-ทะ
     ๓. ปณย (ปุงลิงค์) อ่านว่า ปะ-ณะ-ยะ
     ๔. ปิยน (นปุงสกลิงค์) อ่านว่า ปิ-ยะ-นะ
     ๕. เปม (นปุงสกลิงค์) อ่านว่า เป-มะ
     ๖. เมตฺตา (อิตฺถีลิงค์)  อ่านว่า เม็ด-ตา
     ๗. เมตฺติ (อิตฺถีลิงค์) อ่านว่า เม็ด-ติ
     ๘. สิเนห (ปุงลิงค์) อ่านว่า สิ-เน-หะ
     ๙. เสฺนห (ปุงลิงค์) อ่านว่า เสฺน (ออกเสียง ส เล็กน้อยควบกับ เน-หะ)
    ๑๐. สิงฺคาร (ปุงลิงค์) อ่านว่า สิง-คา-ระ
    ๑๑. ราค (ปุงลิงค์) อ่านว่า รา-คะ
    ๑๒. อนุราค (ปุงลิงค์) อ่านว่า อะ-นุ-รา-คะ


ขอบคุณที่มา : เฟซบุ้ก บาลีภาษาน่ารู้ PaliSikkha : Learning Pali • 13 กุมภาพันธ์ 2019 




16 หมวดความรัก - AFFECTIONS

  ๑. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ
      โยคสฺมิญฺจ อโยชนํ
      อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี
      ปิเหตตฺตานุโยคินํ ฯ ๒๐๙ ฯ

      พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม
      ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม
      ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ติดอยู่ในปิยารมณ์
      คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาผู้ที่พยายามช่วยตัวเอง


      Exerting oneself in what should be shunned,
      Not exerting where one should exert,
      Rejecting the good and grasping at the pleasant,
      One comes to envy those who exert themselves.

  ๒. มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ
      อปฺปิเยหิ กุทาจนํ
      ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ
      อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ฯ ๒๑๐ ฯ

      อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
       การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
       การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์


      Be not attached to the beloved
      And never with the unbeloved.
      Not to meet the beloved is painful
      As also to meet with the unbeloved.

  ๓. ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ
      ปิยาปาโย หิ ปาปโก
      คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ
      เยสํ นตฺถิ ปิยาปิยํ ฯ ๒๑๑ ฯ

      เพราะฉะนั้น ไม่ควรรักสิ่งใด
      เพราะพลัดพรากจากของรัก เป็นทุกข์
      ผู้ที่หมดความรักและความไม่รักแล้ว
      เครื่องผูกพัน ก็พลอยหมดไปด้วย

      Therefore hold nothing dear,
      For separation from the beloved is painful.
      There are no bonds for those
      To whom nothing is dear or not dear.

  ๔. ปิยโต ชายเต โสโก
      ปิยโต ชายเต ภยํ
      ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส
      นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๒ ฯ

      ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
      ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
      เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
      โศกภัย ก็ไม่มี


      From the beloved springs grief,
      From the beloved springs fear;
      For him who is free from the beloved
      There is neither grief nor fear.

  ๕. เปมโต ชายเต โสโก
      เปมโต ชายเต ภยํ
      เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส
      นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๓ ฯ

      ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีโศก
      ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีภัย
      เมื่อไม่มีความรักเสียแล้ว
      โศก ภัย ก็ไม่มี


      From love springs grief,
      From love spring fear;
      For him who is free from love
      There is neither grief nor fear.

  ๖. รติยา ชายเต โสโก
      รติยา ชายเต ภยํ
      รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส
      นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๔ ฯ

      ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีโศก
      ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีภัย
      เมื่อไม่มีความยินดีเสียแล้ว
      โศก ภัย ก็ไม่มี


      From attachment springs grief,
      From attachment sprighs fear;
      For him who is free from attachment
      There is neither grief nor fear.

  ๗. กามโต ชายเต โสโก
      กามโต ชายเต ภยํ
      กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส
      นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๕ ฯ

      ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีโศก
      ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีภัย
      เมื่อไม่มีความใคร่เสียแล้ว
      โศก ภัย ก็ไม่มี


      From lust springs grief,
      From lust springs fear;
      For him who is free from lust
      There is neither grief nor fear.

  ๘. ตณฺหาย ชายเต โสโก
      ตณฺหาย ชายเต ภยํ
      ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส
      นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๖ ฯ

      ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีโศก
      ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีภัย
      เมื่อไม่มีความทะยานอยากเสียแล้ว
      โศก ภัย ก็ไม่มี


      From craving springs grief,
      From craving springs fear;
      For him who is free from craving
      There is neither grief no fear.

  ๙. สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ
      ธมฺมฏฺฐํ สจฺจวาทินํ
      อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ
      ตํ ชโน กุรุเต ปิยํ ฯ ๒๑๗ ฯ

      ผู้ประพฤติดี มีความเห็นถูกต้อง
      มั่นอยู่ในคลองธรรม พูดคำสัตย์
      ปฏิบัติหน้าที่ของคนสมบูรณ์
      คนย่อมเทิดทูนด้วยความรัก


      He who is perfect in virtue and insight,
      Is established in the Dharma;
      Who speaks the truth and fulfills his won duty-
      Him do people hold dear.

 ๑๐. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต
      มนสา จ ผุโฏ สิยา
      กาเมสุ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
      อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ ฯ ๒๑๘ ฯ

      พระอนาคามีผู้ใฝ่พระนิพพาน
      สัมผัสผ่านผลสามด้วยใจ
      หมดปฏิพัทธ์รักใคร่ในกาม
      จึงได้สมญานามว่า "ผู้ทวนกระแส"


      He who has developed a wish for Nibbana,
      He whose mind is thrilled 9with the Three Fruits),
      He whose mind is not bound by sensual pleasures,
      Such a person is called 'Upstream-bound One".

 ๑๑. จิรปฺปวาสึ ปุริสํ
      ทูรโต โสตฺถิมคตํ
      ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ
      อภินนฺทนฺติ อาคตํ ฯ ๒๑๙ ฯ

      บุรษผู้จากไปนาน
      เมื่อกลับมาจากไพรัชสถานโดยสวัสดี
      ญาติ และมิตรสหายย่อมยินดีต้อนรับ


      After a long absence
      A man returns home
      Safe and sound from afar,
      Kinsmen and friends gladly welcome him.

 ๑๒. ตเถว กตปุญฺญมฺปิ
      อสฺมา โลกา ปรํ คตํ
      ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ
      ปิยํ ญาตึว อาคตํ ฯ ๒๒๐ ฯ

      บุญที่ได้ทำไว้ในโลกนี้
      ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป
      เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล
      ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ

      Likewise, good deeds well receive the doer
      Who has gone from here to the next world,
      As kinsmen receive a dear friend on his return.




ขอบคุณที่มา : http://www.dhammathai.org/dhammapada/dp16.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


(8) ว่าด้วยเรื่อง..ความรัก

8.1 ติดบ่วงแห่งรัก

บุตร บิดา มารดา...ออกบวชตามกันตามลําดับ  แต่ทั้งสามก็ยัง คลุกคลีใกล้ชิดกันเป็นที่รําคาญของภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้า เรียกมาตักเตือนแล้วตรัสภาษิตว่า...



พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม
ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม
ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ติดอยู่ในปิยารมณ์
คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาผู้ที่พยายามช่วยตัวเอง



อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์

เพราะฉะนั้น ไม่ควรรักสิ่งใด
เพราะการพลัดพรากจากของรัก เป็นทุกข์
ผู้ที่หมดความรักและความไม่รักแล้ว
เครื่องผูกพันก็พลอยหมดไปด้วย



8.2 ทุกข์เพราะยึดติด

พราหมณ์เศรษฐีผู้หนึ่ง...สูญเสียบุตรชายไปแล้วมีความเศร้าโศกอยู่พระพุทธเจ้าเสด็จไปปลอบพราหมณ์นั้นโดยเล่าอุรคชาดกพร้อมตรัสภาษิตว่า...

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี



8.3 ทุกข์เพราะรัก

นางสุทัตตี...หลานสาวของนางวิสาขาเสียชีวิตลง นางวิสาขามีความเสียใจไม่อาจหักห้ามไว้ได้ เที่ยวร้องไห้อยู่ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความรักเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี



8.4 ทุกข์เพราะยินดี

ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความยินดีเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี



8.5 ทุกข์เพราะพิศวาส

อนิตถิคันธกุมาร...จุติมาแต่พรหมโลกเกิดในครรภ์มนุษย์ เมื่อคลอดออกมามีความรังเกียจสตรี แม้สตรีใดจับต้องก็ร้องไห้ ภายหลังบิดามารดาได้อ้อนวอนให้สืบตระกูล โดยยอมทําตามเงื่อนไขของอนิตถิคันธ    กุมารให้หาสตรีที่งามดั่งรูปทองได้แล้ว หากแต่สตรีนั้นตายเสียระหว่างทาง อนิตถิคันธกุมารมีความโศกเศร้าเป็นอันมาก พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด  พร้อมตรัสภาษิตว่า...

ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความใคร่เสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี



8.6 ทุกข์เพราะคาดหวัง

พราหมณ์ผู้หนึ่ง...นับถือพระพุทธองค์ดุจสหาย ได้ให้สัญญาแก่พระพุทธเจ้าว่าจะถวายข้าวเมื่อข้าวออกผล แต่เกิดพายุฝนทําลายข้าว   กล้านั้นจนสิ้นเสียก่อน พราหมณ์มีความเสียใจที่ไม่อาจกระทําตามสัญญาได้ พระพุทธเจ้าแสดงอุบายระงับความโศกแก่พราหมณ์แล้วตรัสภาษิตว่า...

ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความทะยานอยากเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี



8.7 บุคคลย่อมเป็นที่รัก

พระพุทธเจ้า...เสด็จพร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูปได้สวนทางกับกลุ่มเด็ก ๕๐๐ คนที่ถือกระเช้าขนม เด็กเหล่านั้นไม่ได้ถวายขนมแก่ใครๆ แต่ถวายขนมแด่พระมหากัสสปเถระ พระมหากัสสปเถระได้แนะให้เด็กเหล่านั้นถวายขนมแก่พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุบริวารด้วย ภิกษุทั้งหลายโจษกันว่า เด็กเหล่านั้นถวายขนมเพราะเห็นแก่หน้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าภิกษุเช่น พระมหากัสสปเถระนั้นย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายพร้อม ตรัสภาษิตว่า...

ผู้ประพฤติดีมีความเห็นถูกต้อง
มั่นอยู่ในคลองธรรม พูดคำสัตย์
ปฏิบัติหน้าที่ของคนสมบูรณ์
คนย่อมเทิดทูนด้วยความรัก



8.8 ผู้ทวนกระแส

พระเถระผู้เป็นพระอนาคามีรูปหนึ่ง...ละอายคําถามของพระลูกศิษย์ที่ถามถึงการบรรลุธรรมของพระเถระ เพราะพระเถระนั้นบรรลุเพียงพระอนาคามีผล คิดว่าความเป็นพระอนาคามีผลนั้นแม้คฤหัสถ์ก็บรรลุได้ จึงไม่กล่าวตอบคําถามของพระลูกศิษย์ คิดว่าเมื่อตนบรรลุเป็นพระอรหัตผลแล้วจึงบอกคุณธรรมของตนแก่พระลูกศิษย์ พระเถระยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แต่ได้กระทํากาละเสียก่อน เหล่าพระลูกศิษย์จึงโศกเศร้า เสียใจ พระพุทธเจ้าทรงทราบความทั้งหมดแล้วจึงกล่าวว่าพระเถระเป็น พระอนาคามีผลแล้วตรัสภาษิตว่า...

พระอนาคามีผู้ใฝ่พระนิพพาน
สัมผัสผ่านผลสามด้วยใจ
หมดปฏิพัทธ์รักใคร่ในกาม
จึงได้สมญานามว่า “ผู้ทวนกระแส”



8.9 เสวยผลบุญ

นายนันทิยะ...เป็นผู้ศรัทธาในพระศาสนา สร้างศาลาโรงทานไว้ในป่าอิสิปตนะ กุศลนั้นทําให้ได้วิมานปราสาททิพย์ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์เป็นรัตนะ ๗ ประการ พระมหาโมคคัลลานเถระจาริกไปยังเทวโลกเห็นปราสาททิพย์นั้น เมื่อกลับมาสู่แดนมนุษย์พระเถระได้สนทนาเรื่องปราสาททิพย์นั้นกับพระศาสดา พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า...

บุรษผู้จากไปนาน
เมื่อกลับมาจากไพรัชสถานโดยสวัสดี
ญาติและมิตรสหาย
ย่อมยินดีต้อนรับ

บุญที่ได้ทำไว้ในโลกนี้
ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป
เหมือนญาติสนิทกลับมาจากแดนไกล
ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ




ขอบคุณที่มา : http://www.96rangjai.com/buddha/love.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2021, 07:31:57 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เหตุใด.? คนเราเห็นหน้ากันแล้วรู้สึกเฉยๆ กับอีกคนกลับรู้สึกผูกพันธ์มีเยื่อใย

๗. สาเกตชาตกํ

     [๓๒๓] โก นุ โข ภควา เหตุ        เอกจฺเจ อิธ ปุคฺคเล
               อตีว หทยํ นิพฺพาติ        จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ฯ
     [๓๒๔] ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน        ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
               เอวนฺตํ ชายเต เปมํ        อุปฺปลํว ยโถทเกติ ฯ

                         สาเกตชาตกํ สตฺตมํ ฯ

๗. สาเกตชาดก (๒๓๗) ว่าด้วยทรงปรารภพราหมณ์ชื่อสาเกต (เหตุให้เกิดความรัก)

    ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า
    [๑๗๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุใดหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอพบกันเข้า จิตใจก็เมินเฉย แต่บางคนพอพบกันเข้าเท่านั้น จิตก็เลื่อมใส

    พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งความรักแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
    [๑๗๔] ความรักนั้นเกิดด้วยสาเหตุ ๒ ประการ คือ
             (๑) ด้วยการอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน
             (๒) ด้วยการเกื้อกูลกันและกันในปัจจุบัน
             เหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ (๑-)

                        สาเกตชาดกที่ ๗ จบ




เชิงอรรถ :-
(๑-) เหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ หมายถึงดอกอุบลและดอกไม้ชนิดอื่นๆ ที่เกิดในน้ำ ต้องอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปลือกตม (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๗๔/๓๑๔)

ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๑๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๑๑๑.
ขอบคุณ : http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=237
ขอบคุณภาพจาก : pinterest




อรรถกถาสาเกตชาดก ว่าด้วย เหตุให้เกิดความรัก

พระศาสดา เมื่อประทับอาศัยเมืองสาเกต ทรงปรารภสาเกตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ โข ภควา เหตุ ดังนี้.

ส่วนเรื่องราวในชาดกนี้ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันกล่าวไว้ในเอกนิบาต ในหนหลังแล้ว.

ก็ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า ความรักนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร กล่าวคาถาแรกว่า :-

     "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าก็เลื่อมใส."

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า... อะไรหนอแลเป็นเหตุให้บุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าเท่านั้น หัวใจก็สงบนิ่งสนิท คือเยือกเย็นดังเอาน้ำหอมพันหม้อมารด บางคนไม่สงบ บางคนพอเห็นกันเข้าเท่านั้นก็มีจิตผ่องใส อ่อนละมุนละไม เยื่อใยต่อกัน ด้วยอำนาจความรัก บางคนก็ไม่เยื่อใยต่อกัน.

@@@@@@@

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความรักแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

     "ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ , ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ , เหมือนดอกอุบลเมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุสองประการ คือ น้ำและเปือกตม ฉะนั้น."

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือ ได้เป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชายพี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือสหายมิตรกันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอย่างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูลกันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้.

ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำ ฉะนั้น คือ เหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่างๆ เกิดในน้ำ ก็ได้อาศัยเหตุสองอย่าง คือ น้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการนี้ ฉะนั้น.

@@@@@@@

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น ได้เป็นชนทั้งสองนี้ในครั้งนี้ ส่วนบุตร คือ เราตถาคต แล.

               จบ อรรถกถาสาเกตชาดกที่ ๗               




ขอบคุณที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=323
ขอบคุณภาพจาก : pinterest
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2021, 12:14:27 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำไม..รู้สึกคุ้นเคยกัน.!! ทั้งที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน.?

๘. สาเกตชาตกํ

[๖๘] ยสฺมึ มโน นิวีสติ  จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ
       อทิฏฺฐปุพฺพเก โปเส  กามํ ตสฺมึปิ วิสฺสเสติ ฯ

          สาเกตชาตกํ อฏฺฐมํ ฯ
                                         
๘. สาเกตชาดก (๖๘) ว่าด้วยพระพุทธเจ้าครั้งเสวยพระชาติเป็นบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาเกต

พระศาสดาทรงเล่าเรื่องที่พระองค์ทรงเติบโตในมือของพราหมณ์และพราหมณี ๓,๐๐๐ ชาติ ตรัสพระคาถานี้ว่า
[๖๘] บุคคลมีจิตเลื่อมใสและมีใจฝังแน่นอยู่ในบุคคลใด บุคคลพึงสนิทสนมคุ้นเคยในบุคคลนั้น แม้ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบเห็นกันเลย

          สาเกตชาดกที่ ๘ จบ



ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=68





อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อิตถีวรรค | ๘. สาเกตชาดก ว่าด้วยวางใจคนที่ชอบใจ

พระศาสดาทรงอาศัยเมืองสาเกต ประทับ ณ พระวิหารอัญชนวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ มโน นิวีสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ เสด็จเข้าเมืองสาเกตเพื่อบิณฑบาต. พราหมณ์แก่ชาวเมืองสาเกตุผู้หนึ่งกำลังเดินไปนอกพระนคร เห็นพระทศพล ระหว่างประตู ก็หมอบลงแทบพระยุคลบาท ยึดข้อพระบาททั้งคู่ไว้แน่น พลางกราบทูลว่า

     "พ่อมหาจำเริญ ธรรมดาว่าบุตรต้องปรนนิบัติ มารดาบิดาในยามแก่มิใช่หรือ เหตุไร พ่อจึงไม่แสดงตนแก่เรา ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราเห็นพ่อก่อนแล้ว แต่พ่อจงมาพบกับมารดา"

แล้วพาพระศาสดาไปเรือนของตน. พระศาสดาเสด็จไปที่เรือนของพราหมณ์ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

      ฝ่ายพราหมณีได้ข่าวว่า บัดนี้ บุตรของเรามาแล้ว ก็มาหมอบแทบบาทยุคลของพระบรมศาสดา แล้วร่ำไห้ว่า
     "พ่อคุณทูลหัว พ่อไปไหนเสียนานถึงปานนี้ ธรรมดาบุตรต้องบำรุง มารดาบิดายามแก่มิใช่หรือ"
      แล้วบอกให้บุตรธิดา พากันมาไหว้ด้วยคำว่า "พวกเจ้าจงไหว้พี่ชายเสีย." พราหมณ์ทั้งสองผัวเมียดีใจ ถวายมหาทาน.

@@@@@@@

พระศาสดา ครั้นเสวยเสร็จแล้ว ก็ตรัสชราสูตร แก่พราหมณ์แม้ทั้งสองเหล่านั้น. ในเวลาจบพระสูตร คนแม้ทั้งสองก็ตั้งอยู่ในพระอนาคามิผล. พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จไปพระวิหารอัญชนวันตามเดิม.

พวกภิกษุนั่งประชุมกันในโรงธรรม สนทนากันขึ้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พราหมณ์ก็รู้อยู่ว่า พระบิดาของพระตถาคตคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือพระนางมหามายา. ทั้งๆ ที่รู้อยู่ ก็ยังบอกพระตถาคต กับนางพราหมณีว่าบุตรของเรา. ถึงพระศาสดาก็ทรงรับ. ข้อนี้ เป็นเพราะเหตุไรหนอ.?

     พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ แม้ทั้งสองเรียกบุตรของตน นั่นแหละว่าบุตร."

     แล้วทรงนำอดีตนิทาน มาตรัสว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นี้ ในอดีตกาลได้เป็นบิดาของเราตลอด ๕๐๐ ชาติ เป็นอาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่ของเรา ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสาย. แม้นางพราหมณีนี้เล่าก็ได้เป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสายเลยดุจกัน. เราเจริญแล้วในมือของพราหมณ์ ๑๕๐๐ ชาติ จำเริญแล้วในมือของนางพราหมณี ๑๕๐๐ ชาติอย่างนี้ เป็นอันทรงตรัสถึงชาติในอดีต ๓๐๐๐ ชาติ."

     ครั้นตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-
    "ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด แม้จิตเลื่อมใสในผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนม แม้ในผู้นั้น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน" ดังนี้.


@@@@@@@

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ มโน นิวีสติ ความว่า ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด ผู้เพียงแต่เห็นกันเท่านั้น.
บทว่า จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ความว่า อนึ่ง จิตย่อมเลื่อมใสอ่อนโยน ในบุคคลใด ผู้พอเห็นเข้าเท่านั้น.
บทว่า อทิฏฺฐปุพฺพเก โปเส ความว่า ในบุคคลแม้นั้น ถึงในยามปกติ จะเป็นบุคคลที่ไม่เคยเห็นกันเลยในอัตภาพนั้น.
บทว่า กามํ ตสฺมึปิ วิสฺสเส มีอธิบายว่า ย่อมคุ้นเคยกันโดยส่วนเดียว คือ ถึงความคุ้นกันทันที แม้ในบุคคลนั้น ด้วยอำนาจความรัก ที่เคยมีในครั้งก่อนนั่นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น ได้มาเป็น พราหมณ์และนางพราหมณีคู่นี้ นั่นแล ฝ่ายบุตรได้แก่ เราตถาคต นั่นเอง ฉะนี้แล.




ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=68
ขอบคุณภาพจาก pinterest
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

๘. วิสาขาสูตร ว่าด้วยนางวิสาขา

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในบุพพารามของนางวิสาขา มิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น หลานสาวผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของนางวิสาขามิคารมาตาเสียชีวิตลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตามีผ้าเปียก ผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่เที่ยงวัน ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามนางวิสาขามิคารมาตาดังนี้ว่า
“วิสาขา เธอมาจากไหน จึงมีผ้าเปียก ผมเปียกเข้ามาที่นี่แต่เที่ยงวัน”
นางวิสาขาทูลตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานสาวผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว จึงทำให้หม่อมฉันมีผ้าเปียก ผมเปียกเข้ามาที่นี่แต่เที่ยงวันพระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“วิสาขา เธอต้องการมีบุตรและหลานจำนวนเท่ากับชาวกรุงสาวัตถีหรือ”
นางวิสาขาทูลตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันต้องการมีบุตรและหลานจำนวนเท่ากับชาวกรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“วิสาขา ชาวกรุงสาวัตถีเสียชีวิตลง แต่ละวันมากเท่าไร”
นางวิสาขาทูลตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวกรุงสาวัตถีเสียชีวิตลง แต่ละวัน ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๑ คนบ้าง กรุงสาวัตถีจะไม่ว่างเว้นจากคนที่เสียชีวิตเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“วิสาขา เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เธอมิต้องมีผ้าเปียก ผมเปียก ทุกครั้งทุกคราวหรือ”
นางวิสาขาทูลตอบว่า
“ไม่ถึงขนาดนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า มีลูกและหลานมากขนาดนั้น หม่อมฉันก็พอใจแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

@@@@@@@

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

  เยสํ โข วิสาเข สตํ ปิยานิ สตํ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ นวุติ ปิยานิ นวุติ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ อสีติ ปิยานิ อสีติ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ สตฺตติ ปิยานิ สตฺตติ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ สฏฺฐี ปิยานิ สฏฺฐี เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ ปญฺญาสํ ปิยานิ ปญฺญาสํ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ จตฺตาฬีสํ ปิยานิ จตฺตาฬีสํ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ ตึสํ ปิยานิ ตึสํ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ วีสํ ปิยานิ วีสํ เตสํ ทุกฺขานิ

  เยสํ ทส ปิยานิ ทส เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ นว ปิยานิ นว เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ อฏฺฐ ปิยานิ อฏฺฐ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ สตฺต ปิยานิ สตฺต เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ ฉ ปิยานิ ฉ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ ปญฺจ ปิยานิ ปญฺจ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ จตฺตาริ ปิยานิ จตฺตาริ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ ตีณิ ปิยานิ ตีณิ เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ เทฺว ปิยานิ เทฺว เตสํ ทุกฺขานิ
  เยสํ เอกํ ปิยํ เอกํ เตสํ ทุกฺขํ
  เยสํ นตฺถิ ปิยํ นตฺถิ เตสํ ทุกฺขํ
  อโสกา เต วิรชา อนุปายาสาติ วทามีติ ฯ


“วิสาขา ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ ก็มีทุกข์ ๑๐๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๙๐ ก็มีทุกข์ ๙๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๘๐ ก็มีทุกข์ ๘๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๗๐ ก็มีทุกข์ ๗๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๖๐ ก็มีทุกข์ ๖๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๕๐ ก็มีทุกข์ ๕๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๔๐ ก็มีทุกข์ ๔๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๓๐ ก็มีทุกข์ ๓๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๒๐ ก็มีทุกข์ ๒๐

         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐ ก็มีทุกข์ ๑๐
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๙ ก็มีทุกข์ ๙
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๘ ก็มีทุกข์ ๘
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๗ ก็มีทุกข์ ๗
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๖ ก็มีทุกข์ ๖
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๕ ก็มีทุกข์ ๕
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๔ ก็มีทุกข์ ๔
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๓ ก็มีทุกข์ ๓
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รัก ๒ ก็มีทุกข์ ๒
         ผู้มีสิ่งเป็นที่รักเพียง ๑ ก็มีทุกข์เพียง ๑
         ผู้ไม่มีสิ่งเป็นที่รัก ก็ไม่มีทุกข์
ซึ่งเราเรียกว่า ผู้หมดความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีความคับแค้นใจ”


@@@@@@@

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน

      เยเกจิ โสกา ปริเทวิตา วา
      ทุกฺขา จ โลกสฺมึ อเนกรูปา
      ปิยํ ปฏิจฺจ ภวนฺติ เอเต
      ปิเย อสนฺเต น ภวนฺติ เอเต
      ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา
      เยสํ ปิยํ นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก
      ตสฺมา อโสกํ วิรชํ ปตฺถยาโน
      ปิยํ น กยิราถ กุหิญฺจิ โลเกติ ฯ อฏฺฐมํ ฯ


ความโศก ความคร่ำครวญ และความทุกข์หลากหลายมีในโลกนี้ ย่อมเกิดมีได้ เพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รัก ความเศร้าโศกเป็นต้นเหล่านี้ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น คนที่ไม่มีสิ่งเป็นที่รักในโลกไหนๆ จึงชื่อว่า มีความสุข ปราศจากความเศร้าโศก ดังนั้น ผู้ปรารถนาความไม่เศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี จึงไม่ควรยึดสิ่งเป็นที่รักในโลกไหนๆ

                วิสาขาสูตรที่ ๘ จบ




ที่มา : วิสาขาสูตร ว่าด้วยนางวิสาขา ,พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ,พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] , ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=113
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2021, 12:05:07 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถาวิสาขาสูตร    
         
วิสาขาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิสาขาย มิคารมาตุยา นตฺตา กาลกตา โหติ ได้แก่ เด็กหญิงผู้เป็นธิดาของบุตรแห่งมหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ถึงแก่กรรม.

ได้ยินว่า เด็กหญิงนั้นสมบูรณ์ด้วยวัตร เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา เป็นผู้ไม่ประมาท ได้กระทำการขวนขวายที่ตนจะพึงทำ แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เข้าไปยังบ้านของมหาอุบาสิกา ทั้งเวลาก่อนอาหารและหลังอาหาร. ปฏิบัติคล้อยตามใจของยายตน.

ด้วยเหตุนั้น มหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา เมื่อออกจากเรือนไปข้างนอก ได้มอบหน้าที่ทั้งหมดแก่เด็กหญิงนั้นนั่นแลแล้วจึงไป และเธอก็มีรูปร่างน่าชมน่าเลื่อมใส ดังนั้น เธอจึงเป็นที่รักที่ชอบใจโดยพิเศษของวิสาขามหาอุบาสิกา. เธอถูกโรคครอบงำจึงถึงแก่กรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดาผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ได้ถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น มหาอุบาสิกา เมื่อไม่อาจจะอดกลั้นความโศก เพราะการตายของหลานได้ จึงเป็นทุกข์เสียใจ ให้คนเอาศพไปเก็บไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า ไฉนหนอในเวลาเราไปเฝ้าพระศาสดา จะพึงได้ความยินดีแห่งจิต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข วิสาขา มิคารมาตา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า ในกลางวัน. อธิบายว่า ในเวลาเที่ยง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทราบว่า นางวิสาขายินดียิ่งในวัฏฏะ เพื่อจะทรงทำความเศร้าโศกของเธอให้เบาบางลงด้วยอุบาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนวิสาขา เธอปรารถนาหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวติกา แปลว่า มีประมาณเท่าใด.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น คน ๗ โกฏิอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสถามว่า ดูก่อนวิสาขา คนในกรุงสาวัตถีที่ตายไปทุกวันๆ วันละเท่าไร. นางวิสาขาจึงทูลตอบว่า วันละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ แก้เป็น ตโย แปลว่า ๓ คน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้แหละ.
บทว่า อวิวิตฺตา แปลว่า ไม่ว่าง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะประกาศความประสงค์ของพระองค์ จึงตรัสว่า เธอ(๑-) เป็นผู้ไม่มีผ้าเปียก ไม่มีผมเปียก เป็นบางครั้งบางคราวบ้างหรือ. พระองค์ทรงแสดงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อนางวิสาขาถูกความเศร้าโศกครอบงำตลอดกาล เธอพึงมีผ้าเปียก มีผมเปียก โดยการลงน้ำ โดยเฉียดกับสิ่งที่ไม่เป็นมงคลของบุตรเป็นต้นที่ตายไปมิใช่หรือ.?

____________________________
(๑-) ปาลิยํ อลฺลวตฺถา อลฺลเกสาติ ทิสฺสติ.

อุบาสิกาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงเกิดความสังเวช ปฏิเสธว่าไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า จิตของตนกลับจากความเดือดร้อนถึงสิ่งที่เป็นที่รักแด่พระศาสดา จึงกราบทูลว่า พอละ พระเจ้าข้า ด้วยพวกบุตรและหลานซึ่งมีมากถึงเพียงนั้น สำหรับหม่อมฉัน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่นางว่า ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้ มีสิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ สิ่งที่น่ารักมีประมาณเพียงใด ทุกข์ก็มีประมาณเพียงนั้น เพราะฉะนั้น เธอผู้รักสุขเกลียดทุกข์ พึงให้จิตเกิดความสลดจากวัตถุที่เป็นที่รัก โดยประการทั้งปวง จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนวิสาขา คนเหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รัก ๑๐๐ คนเหล่านั้นก็มีทุกข์นับได้ ๑๐๐ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ปิยานิ ได้แก่ สิ่งอันเป็นที่รัก ๑๐๐. อาจารย์บางพวกกล่าว สตํ ปิยํ ดังนี้ก็มี.
ก็ในคำนี้นับตั้งแต่ ๑ จนถึง ๑๐ ชื่อว่ามีการนับเป็นประธาน ฉะนั้น บาลีจึงมาโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ใดมีสิ่งที่เป็นที่รักนับ ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์นับ ๑๐.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ใดมีสิ่งอันเป็นที่รักนับ ๑๐ ผู้นั้นก็เป็นทุกข์นับ ๑๐. คำนั้นไม่ดี เพราะเหตุที่การนับตั้งแต่ ๒๐ จนถึง ๑๐๐ ชื่อว่ามีการนับเป็นประธานเหมือนกัน ฉะนั้น เพราะถือเอาเฉพาะสิ่งอันเป็นที่รักซึ่งมีการนับเป็นประธานแม้ในข้อนั้น บาลีจึงมาโดยนัยมีอาทิว่า เยสํ โข วิสาเข สตํ ปิยานิ สตํ เตสํ ทุกฺขานิ ดังนี้.

บาลีของอาจารย์ทั้งปวงว่า ชนเหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รักอันหนึ่ง ชนเหล่านั้นก็มีทุกข์อันหนึ่ง ดังนี้ แต่บาลีว่า ทุกฺขสฺส ดังนี้ ไม่มี. ก็ในฝ่ายนี้ เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีรสเป็นอันเดียวกันเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบบาลีซึ่งมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่งอรรถนี้ว่า ทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกาย มีโสกะและปริเทวะเป็นต้น มีสิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ ย่อมปรากฏในเมื่อมีสิ่งที่น่ารัก ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อสิ่งที่น่ารักไม่มี จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.



คำแห่งอุทานนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีลักษณะทำจิตของคนพาล ผู้ถูกความวอดวายแห่งญาติ โภคะ โรค ศีลและทิฏฐิถูกต้องแล้ว หม่นไหม้อยู่ในภายใน ให้เดือดร้อนก็ดี ความเศร้าโศกชนิดใดชนิดหนึ่งต่างโดยอย่างอ่อนและปานกลางเป็นต้นก็ดี ความรำพันมีลักษณะบ่นเพ้อด้วยวาจา

อันแสดงถึงความเศร้าโศกที่ให้ตั้งขึ้นของชนผู้ถูกความเศร้าโศกเหล่านั้นนั่นแล ถูกต้องแล้ว ให้ตั้งขึ้นก็ดี ทุกข์มีการบีบคั้นกายของบุคคลผู้มีกายอันโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนากระทบแล้วก็ดี โทมนัสและอุปายาสเป็นต้น ที่ถือเอาด้วย วา ศัพท์ซึ่งเป็นวิกัปปัตถะ อันมิได้อธิบายไว้เช่นนั้น ซึ่งมีรูปเป็นอเนก คือมีอย่างต่างๆ กัน โดยความต่างแห่งนิสัยก็ดี ย่อมปรากฏ คือย่อมเกิดขึ้นในสัตวโลกนี้.

สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมดย่อมอาศัย คืออิงพึ่งพิงสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก คือมีชาติเป็นที่รัก ได้แก่ทำให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น คือบังเกิดขึ้น. เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักตามที่กล่าวแล้วนั้น คือเมื่อสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักไม่มี ได้แก่ละฉันทราคะ อันกระทำความเป็นที่รัก ความเศร้าโศกเป็นต้นเหล่านั้น ก็ย่อมไม่เกิดในกาลบางคราว.

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า(๒-)

ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ฯลฯ ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่อารมณ์อันเป็นที่รักเป็นต้น และว่า(๓-)
      "การทะเลาะ การวิวาท ความร่ำไร และความเศร้าโศก อันเกิดแต่สัตว์ และสังขารอันเป็นที่รัก ย่อมมาพร้อม ด้วยความตระหนี่ ดังนี้เป็นต้น."

____________________________
(๒-) ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๖
(๓-) ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๑๘

ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาสว่า ปริเทวิตา วา ทุกฺขา วา.
อนึ่ง เมื่อควรจะกล่าวว่า ปริเทวิตานิ วา ทุกฺขานิ วา ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านทำการลบวิภัตติเสีย.

บทว่า ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา ความว่า เพราะเหตุที่ความเศร้าโศกเป็นต้น อันเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่าใด ฉะนั้น ชนเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่ามีความสุข และปราศจากความเศร้าโศก.

@@@@@@@

ก็คนเหล่านั้นคือใคร.? คือ ชนผู้ไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ.

อธิบายว่า ก็ชนเหล่าใด คือพระอริยะย่อมไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก คือภาวะเป็นที่รัก ว่าบุตรก็ดี ว่าพี่น้องชายก็ดี ว่าพี่น้องหญิงก็ดี ว่าภริยาก็ดี ไม่มีในโลกไหนๆ คือในสัตวโลก และในสังขารโลก เพราะปราศจากราคะโดยประการทั้งปวง คือสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ได้แก่ความรักไม่มีในสังขารโลกว่า นี้เป็นของเรา เราได้อยู่ เราจักได้ซึ่งความสุขชื่อนี้ด้วยสิ่งนี้.

บทว่า ตสฺมา อโสกํ วิรชํ ปฏฺฐยาโน ปิยํ น กยิราถ กุหิญฺจิ โลเก ความว่า ก็เพราะเหตุที่สัตว์ผู้ปราศจากความเศร้าโศก ชื่อว่ามีความสุข เพราะปราศจากความเศร้าโศกนั่นแล จึงชื่อว่าไม่มีความรักในอารมณ์ไหนๆ

เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อปรารถนาความไม่เศร้าโศก คือภาวะไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีความเศร้าโศกดังกล่าวแล้วแก่ตน ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี คือภาวะที่ไม่มีธุลี เพราะปราศจากธุลีคือราคะ ได้แก่ความเป็นพระอรหัต คือพระนิพพาน

อันได้นามว่า อโสกะ และว่าวิรชะ เพราะไม่มีความเศร้าโศก และเพราะเหตุแห่งความไม่มีธุลี คือราคะเป็นต้น จึงเกิดฉันทะด้วยอำนาจความพอใจในกุศล คือความปรารถนาเพื่อจะทำ ไม่พึงทำ คือไม่พึงให้สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก คือความรักให้เกิดในธรรมมีรูปเป็นต้น โดยที่สุดแม้ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนาในโลกไหนๆ.

สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า(๔-)

"ภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรม พวกเธอก็ควรละเสีย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า."

____________________________
(๔-) ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๘๐


                    จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ ๘               



ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ วิสาขาสูตร
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=176
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2021, 08:45:43 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปิยตรสูตร(๑-) ว่าด้วย การไม่มีผู้อื่น เป็นที่รักยิ่งกว่าตน

[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาเทวีประทับอยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า

    “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม.?”

พระนางมัลลิกาเทวีได้ทูลสนองว่า
    “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มีเลย และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์มีอยู่หรือ”

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเราไม่มีเลย”

             
@@@@@@@

ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ ข้าพระองค์กับพระนางมัลลิกาเทวีอยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า ‘มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม’ เมื่อข้าพระองค์ถามแล้วอย่างนี้ พระนางมัลลิกาเทวีได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า

    ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์มีอยู่หรือ’

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีกล่าวอย่างนี้ข้าพระองค์ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวี ดังนี้ว่า
    ‘มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเราไม่มีเลย”

@@@@@@@

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน

สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ เอวมฺปิ โส ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺตกาโมติ ฯ สุตฺตํ ปฐมํ ฯ

บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศก็ไม่พบใคร ซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหนๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นก็รักตนมากเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น


                   ปิยตรสูตรที่ ๑ จบ


เชิงอรรถ : (๑-) สํ.สํ. (แปล) ๑๕/๑๑๙/๑๓๗

ที่มา : ปิยตรสูตร ว่าด้วยการไม่มีผู้อื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน , พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ,พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ,ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=25&siri=76
ขอบคุณภาพจาก : pinterest



อรรถกถาราชสูตร : ตนนั่นแล เป็นที่รักยิ่งแก่เรา               

ราชสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺลิกาย เทวิยา สทฺธึ ความว่า กับพระมเหสีของพระองค์ ทรงพระนามว่า มัลลิกา.
บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ได้แก่ อยู่ชั้นบนปราสาทอันประเสริฐ.
บทว่า โกจญฺโญ อตฺตนา ปิยตโร ความว่า ใครๆ อื่นที่เธอจะพึงรักยิ่งกว่าตนมีอยู่หรือ?

เพราะเหตุไร พระราชาจึงตรัสถาม.
เพราะพระนางมัลลิกานี้เป็นธิดาของนายมาลาการผู้เข็ญใจในกรุงสาวัตถี วันหนึ่ง ซื้อขนมจากตลาด ไปสวนดอกไม้ คิดว่าจักกิน จึงเดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ กำลังเข้าไปภิกษาจารสวนทางมา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาทรงแสดงอาการประทับนั่งในที่เห็นปานนั้น. พระอานนท์เถระได้ปูจีวรถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่นั้น ทรงเสวยขนมนั้นแล้วบ้วนพระโอษฐ์ ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.

พระเถระทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากแห่งทานของหญิงนี้จักเป็นเช่นไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ วันนี้นางได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นครั้งแรก ในวันนี้แหละ นางจักเป็นอัครมเหสี เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโกศล.

ก็ในวันนั้นนั่นเอง พระราชารบกับหลานในกาสิคาม พ่ายแพ้หนีมาเข้าเมือง หวังจะรอให้หมู่พลมา จึงเสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้นั้น. นางมัลลิกานั้นเห็นพระราชาเสด็จมา จึงปรนนิบัติท้าวเธอ. พระราชาทรงโปรดปรานในการปรนนิบัติของนาง แล้วรับสั่งให้เรียกบิดามา ทรงประทานอิสริยยศเป็นอันมาก แล้วให้นำนางเข้ามายังภายในพระราชวัง ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.

@@@@@@@

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาทรงดำริว่า เราให้อิสริยยศเป็นอันมากแก่นาง ถ้ากระไร เราพึงถามนางว่า ใครเป็นที่รักของเธอ. นางทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เป็นที่รักของหม่อมฉัน แล้วจักย้อนถามเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักตอบแก่นางว่า เธอเท่านั้นเป็นที่รักของเรา.

ดังนั้น พระราชา เมื่อจะทรงทำสัมโมทนียะเพื่อให้เกิดความสนิทสนมกันและกัน จึงตรัสถาม.

ก็พระเทวีเป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐายิกาของสงฆ์ ทรงดำริว่า ปัญหานี้ไม่ควรเห็นแก่หน้ากราบทูลพระราชา เมื่อจะทูลตามความเป็นจริงนั้นแหละ จึงทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไม่มีใครอื่นที่จะเป็นที่รักยิ่งไปกว่าตน.

พระเทวี แม้ตรัสแล้วประสงค์จะกระทำอรรถที่ตนยืนยันให้ประจักษ์แก่พระราชาด้วยอุบาย จึงทูลถามพระราชาเหมือนที่พระราชาตรัสถามเองว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็พระองค์มีใครอื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน. ฝ่ายพระราชาไม่อาจกลับ (ความ) ได้ เพราะพระเทวีตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ แม้พระองค์เองก็ตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ จึงตรัสยืนยันเหมือนดังพระเทวีตรัสยืนยัน.



ก็ครั้นตรัสยืนยันแล้ว เพราะความที่พระองค์มีปัญญาอ่อน จึงทรงดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครอบครองปกครองปฐพีมณฑลใหญ่ การจะยืนยันว่า เราไม่เห็นคนอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน ดังนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย แต่นางนี้เป็นหญิงถ่อย ชาติชั่ว เราตั้งไว้ในตำแหน่งสูง ก็ยังไม่รักเราผู้เป็นสามีอย่างแท้จริง ยังกล่าวต่อหน้าเราว่า ตนเท่านั้นเป็นที่รักแก่ตน ดังนี้ แล้วจึงไม่พอพระทัย ประท้วงว่า เธอรักพระรัตนตรัยมากกว่าหรือ.

พระเทวีกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันปรารถนาสุขในสวรรค์ และสุขในมรรคเพื่อตน แม้พระรัตนตรัย หม่อมฉันก็รัก เพราะฉะนั้น ตนนั่นแลจึงเป็นที่รักยิ่งของหม่อมฉัน.

ก็สัตวโลกทั้งหมดนี้ รักคนอื่นก็เพื่อประโยชน์ตนเองเท่านั้น แม้เมื่อปรารถนาบุตร ก็ปรารถนาว่า บุตรนี้จักเลี้ยงดูเราในยามแก่ เมื่อปรารถนาธิดา ก็ปรารถนาว่า ตระกูลของเราจักเจริญขึ้น เมื่อปรารถนาภริยา ก็ปรารถนาว่า จักบำเรอเท้าเรา เมื่อปรารถนาแม้คนอื่นจะเป็นญาติมิตรหรือพวกพ้อง ก็ปรารถนาเนื่องด้วยกิจนั้นๆ ดังนั้น ชาวโลกเป็นผู้เห็นแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น จึงรักคนอื่น

รวมความว่า พระเทวีมีความประสงค์อย่างนี้แล.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า นางมัลลิกานี้เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม กล่าวว่า ตนนั่นแล เป็นที่รักยิ่งแก่เรา แม้ตนของเรานั้นแหละ ก็ปรากฏว่าเป็นที่รัก เอาเถอะ เราจักกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา และเราจะจำเธอไว้ตามที่พระศาสดาทรงพยากรณ์แก่เราไว้.

ก็ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลความนั้น.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ราชา ปเสนทิโกสโล ฯเปฯ ปิยตโร ดังนี้เป็นต้น.

@@@@@@@

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระศาสดาทรงทราบโดยประการทั้งปวง ซึ่งเนื้อความนี้ คือที่พระราชาตรัสว่า สรรพสัตว์ในโลก ซึ่งมีตนเป็นที่รักยิ่งของตน จึงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา ความว่า ส่งจิตไปด้วยอำนาจการแสวงหาทั่วหมดทั้ง ๑๐ ทิศ.

บทว่า เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ ความว่า คนบางคนมีความอุตสาหะอย่างแรง แสวงหาบุคคลอื่น ผู้เป็นที่รักยิ่งแก่ตน ไม่พึงพบ คือไม่พึงประสบในที่ใดที่หนึ่ง คือในทุกทิศ.

บทว่า เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ความว่า สัตว์เหล่านั้นๆ ก็มีตนเป็นที่รักมาก คือเป็นพวกๆ เหมือนอย่างนั้น คือจะหาใครๆ ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนไม่ได้.

บทว่า ตสฺมา น หึเส ปรมตฺตกาโม ความว่า เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหมดรักตัวเอง คือรักสุข เกลียดทุกข์อย่างนี้ ฉะนั้น ผู้รักตนเมื่อปรารถนาหิตสุขเพื่อตนจึงไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์อื่น โดยที่สุดมดดำมดแดง ทั้งไม่เบียดเบียนด้วยปหรณวัตถุ มีฝ่ามือ ก้อนดิน และท้อนไม้ เป็นต้น.

จริงอยู่ เมื่อตนทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ทุกข์นั้นเป็นเหมือนก้าวออกมาจากกรรมที่ตนทำไว้แล้วนั้น จักปรากฏในตนเวลาใกล้ตาย. ก็ข้อนี้ เป็นธรรมดาของกรรมนั่นแล.

               จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๑ 



ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน โสณเถรวรรคที่ ๕ ราชสูตร
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=110
ขอบคุณภาพจาก : pinterest
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2021, 09:40:05 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก : pinterest

ยอดของความรัก

ปัญหา : (เทวดากล่าวเป็นเชิงแสดงทรรศนะของตน) ความรักเสมอด้วยความรักบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นยอด.?

พุทธดำรัสตอบ : นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา วุฏฺฐิ เว ปรมา สรา. - “ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม”



นันถิปุตตสมสูตร ส.สํ. (๒๘-๒๙) ,ตบ. ๑๕ : ๙ ตท. ๑๕ : ๙ ,ตอ. K.S. I : ๑๐
ขอบคุณ : http://www.84000.org/true/094.html


ความรักทำให้คนตาบอด

ปัญหา : มีคำพังเพยกล่าวไว้ว่า คามรักทำให้คนตาบอด ดังนี้ทางพระพุทธศาสนายอมรับคำกล่าวนี้ว่า เป็นความจริงหรือไม่เพียงใด.?

พุทธดำรัสตอบ : “.....บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำรึงรัดจิตใจไว้ ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน ตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น ตามความเป็นจริงย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ทั้ง ๒ ฝ่ายตามความเป็นจริง.... ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำให้ปัญญาดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.....ฯ”



ฉันนสูตร ติ. อํ. (๕๑๑) ,ตบ. ๒๐ : ๒๗๗-๒๗๘ ตท. ๒๐ : ๒๔๓-๒๔๔ , ตอ. G.S. I : ๑๙๖
ขอบคุณ : http://www.84000.org/true/178.html


รักตนให้ถูกทาง

ปัญหา : คนทุกคนย่อมรักตนยิ่งกว่าคนอื่นสิ่งอื่น แต่ส่วนมากรักตนแล้วไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อตนอย่างไร พระผู้มีพระภาคทรงแนะวิธีปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้.?

พุทธดำรัสตอบ : “.....ถูกแล้วๆ มหาบพิตร เพราะว่าชนบางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายมีความรักตน ถึงเช่นนั้นพวกเขาก็ชื่อว่าไม่มีความรักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ไม่รักใคร่กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักใคร่กันได้โดยประการใด พวกเขาเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น พวกเขาเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน

“ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริต ด้วยกาย วาจา ใจ พวกเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้วา เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นพวกเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเหตุอะไร ก็เพราะเหตุว่าชนผู้ที่รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญให้แก่ชนผู้ที่รักใคร่กันได้โดยประการใด พวกเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้นพวกเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”



ปิยสูตรที่ ๔ ส. สํ. (๓๓๕) , ตบ. ๑๕ : ๑๐๓-๑๐๔ ตท. ๑๕ : ๑๐๒ , ตอ. K.S. I : ๙๘
ขอบคุณ : https://84000.org/true/109.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

palawast

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 8
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไพเราะจับใจยิ่งนักครับ
บันทึกการเข้า