ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - เสกสรรค์
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
81  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: จ่ายค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้นอีกแล้วนะเริ่มตั้งแต่ เดือน ก.ย.55 ไป จาก .3 เป็น .48 (ft) เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 07:14:54 am
กรรมของคนที่ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ไม่ถึง 300 บาท ค่าแรงขึ้นแค่ 7 จังหวัด แต่ ค่าไฟฟ้า ขึ้นทั้งประเทศ  :021: :021: :021:
82  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สมาธิ จะช่วยอะไรในวิปัสสนา เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 09:52:38 am
อยากให้พระอาจารย์ หรือศิษย์ พระอาจารย์ ชี้นำเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ ครับ

 :25: :25: :25: :c017:
83  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภาวนาวิป้สสนา แบบ ง่ายที่สุด ควรทำอย่างไร คร้า.. เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 09:51:18 am
วิธีการนี้ ทำได้ง่าย จริง ๆ ครับ
เพื่อน ๆ ได้ทราบกันหรือยังครับ ผมได้อ่านและได้นำไปใช้ รู้สึกปฏิบัติได้ดีครับ และทำได้ง่าย กว่าการนั่งกรรมฐานครับ

  :c017: :25:
84  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: "ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา (ชมภาพ) เมื่อ: กันยายน 07, 2012, 10:57:09 am
ใครมีโอกาสไป ก็อนุโมทนา ด้วยครับ ผมคนหนึ่งก็ปรารถนาไปธิเบตสักครั้ง นะครับ
 :25: :25: :25:
85  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 9 กระบวนท่าฟิตร่างกาย พิชิตอาการปวดหลัง เมื่อ: กันยายน 07, 2012, 10:55:32 am
อนุโมทนา ครับ กำลังปวดหลังอยู่พอดีครับ
 :25:
86  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน จะแก้กรรมได้อย่างไร คะ เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 08:04:32 am
อ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


[105] วัฏฏะ 3 หรือ ไตรวัฏฏ์ (วน, วงเวียน, องค์ประกอบที่หมุนเวียน ต่อเนื่องกันของภวจักร หรือสังสารจักร — the triple round; cycle)
       1. กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน — round of defilements)
       2. กรรมวัฏฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ — round of Karma)
       3. วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น — round of results)

       สามอย่างนี้ ประกอบเข้าเป็นวงจรใหญ่แห่งปัจจยาการ เรียกว่า ภวจักร หรือ สังสารจักร ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

Vism.581.    วิสุทธิ. 3/198.


87  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 07:57:10 am
การบีบจิตเป็นความเครียดนะครับ แต่การรวมจิต โดยการภาวนา พุทโธ นั้นเป็นเรื่องที่สบายๆ ๆ บางครั้งสบายจนหลับนะครับ ส่วนการบีบจิต เป็นการเพิ่มระดับความเครียดนะครับ

  :67: :s_hi:
88  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จริงโดยสมมุติ จริง โดยความเป็นจริง จริงโดยปรมัตถ์ เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 07:55:30 am
เป็นหัวข้อธรรม ที่จะนำมา ธรรมวิจยะ ขอบคุณพระอาจารย์ที่แนะนำครับ
ปกติ สมองไม่ค่อยแล่นกับเรื่อง ธรรมะ ครับ

  :s_hi: :49:
89  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 09:37:36 am
เข้่าแถว เข้าคิวยาว เลยนะครับ กับสารธารศรัทธา ของคณะศิษย์ สายหลวงปุ่่ดุ่
อนุโมทนาสาูธุ ครับ

 :25: :25: :25:
90  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าเรามีทุกข์ เกิดขึ้น ควรจัดการกับทุกข์ อย่างไร จึงจะถูกวิธีของชาวพุทธครับ เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 10:54:31 am
ในอรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต มุนิสูตร เล่าไว้ว่า อุปกาชีวก เมื่อแยกทางกับพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อนาควิกคามในวังคชนบท นายบ้านเห็นอุปกาชีวกก็คิดว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่นุ่งผ้า และความจริงอุปกาชีวกก็เป็นนักบวชประเภทไม่นุ่งผ้า เมื่อนายบ้านคิดว่าอุปกาชีวกเป็นพระอรหันต์ ก็เชื้อเชิญให้ไปที่บ้านของตน เลี้ยงดูด้วยอาหารอย่างดี แล้วก็เชิญให้อยู่เป็นประจำ จะถวายปัจจัยมิให้เดือดร้อน พร้อมกับจะสร้างที่อยู่ให้อยู่ด้วย อุปกาชีวกก็รับคำเชิญและก็ได้อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น
          นายบ้านนั้นมีอาชีพเป็นนายพรานเนื้อ เมื่อเวลาจะออกไปล่าเนื้อกับบุตรและน้องชาย ก็สั่งธิดาชื่อนางฉาวา ให้ช่วยดูแลอุปกาชีวกแทนตน
          นางฉาวานั้นมีรูปร่างสวยงาม วันรุ่งขึ้นอุปกาชีวกมารับอาหารที่บ้านของนางฉาวา ได้เห็นนางฉาวาเกิดความพอใจ เฝ้าคำนึงถึงนางจนไม่กินอาหาร คิดแต่ว่าถ้าเราไม่ได้นางฉาวา เราจะต้องตาย แล้วก็ไม่รับอาหารอีกเลย
          ครั้นวันที่ ๗ นายพรานเนื้อกลับมา ทราบว่าอุปกาชีวกมารับอาหารเพียงวันเดียวแล้วไม่มาอีก ก็เข้าไปถามว่าท่านไม่สบายหรือ อุปกาชีวกก็ได้แต่ถอนใจไม่กล้าบอก
          ครั้นนายพรานเนื้อขอร้องว่า “จงบอกเถิด ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างเพื่อท่าน”
          อุปกาชีวกจึงบอกว่า “ถ้าเราได้ธิดาของท่านจึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็เห็นจะตาย”
          นายพรานจึงถามว่า “ท่านรู้จักศิลปะคือการทำมาหากินอะไรบ้าง”
          อุปกาชีวกบอกว่า “ไม่ทราบ”
          นายพรานก็ถามว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจะครองเรือนได้อย่างไร”
          อุปกาชีวกก็ว่า “แม้เราไม่รู้ศิลปะอันใดเราก็มีแรงพอที่จะช่วยท่านหาบเนื้อ ขายเนื้อได้”
          นายพรานก็ชอบใจ จึงหาผ้าขาวมาให้ผืนหนึ่ง อุปกาชีวกก็นุ่งขาว คือพ้นจากเพศนักบวชมาเป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว นายพรานก็ยกธิดาของตนให้เป็นภรรยา
          อุปกะกับนางฉาวามีบุตรด้วยกันคนหนึ่งชื่อ สุภัททะ เวลาที่สุภัททะร้องไห้ นางฉาวาก็แอบปลอบบุตรด้วยคำที่แสดงความเยาะเย้ยอุปกะว่า “ลูกคนหาบเนื้อเอ๋ย อย่าร้องไห้ไปเลย ลูกคนหาบเนื้อเอ๋ย อย่าร้องไห้ไปเลย”
          อุปกะได้ฟังก็เกิดความละอายใจจึงพูดว่า “เราจะไปหาสหายของเราชื่อว่า อนันตชินะ”
          นางฉาวาเห็นอุปกะไม่พอใจก็ยิ่งพูดจาเยาะเย้ยต่างๆ นานา จนกระทั่งอุปกะทนไม่ได้ ในวันหนึ่งก็ได้หนีภรรยาไปทางมัชฌิมประเทศ เที่ยวถามหาผู้ที่ชื่อว่า อนันตชินะ
          พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณจึงได้ตรัสสั่งว่า ถ้าใครมาถามหาอนันตชินะ ให้พามาเฝ้าพระองค์ เมื่ออุปกะมาถึงวิหารเชตวัน ถามหาอนันตชินะ พระภิกษุก็พาไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เขาได้ฟังแล้วก็บรรลุเป็นพระอนาคามีในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจบลง
          นี้ก็เป็นเรื่องราวของอุปกาชีวกตามที่มีมาในอรรถกถา มุนิสูตร ที่คุณผู้ถามอยากทราบ
          แต่ในเถรีคาถาแสดงคาถาของพระอรหันตเถรีรูปหนึ่งชื่อว่า จาปาเถรี ว่าเคยเป็นภรรยาของอุปกาชีวก เป็นธิดาของพรานเนื้อ ซึ่งชื่อภรรยาของอุปกาชีวก ในพระไตรปิฎกกับอรรถกถาจึงขัดกัน อรรถกถาชื่อว่า นางฉาวา พระไตรปิฎกชื่อ นางจาปา ความจริงชื่อก็ใกล้เคียงกัน อาจเกี่ยวกับการถ่ายทอดกันมาจนอักษรเพี้ยนไปก็ได้ นี่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
________________________________________

ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-

          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔

          มหาวรรค  ภาค ๑

          เรื่องอุปกาชีวก
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=4&A=282&Z=307



นำเรื่องอุปกาชีวก มาให้ท่านได้พิจารณากันนะครับ

   1. อุปกาชีวก ลงทุนแก้ผ้า เป็นนักบวช ศาสนาหนึ่ง ได้สนทนากับพระพุทธเจ้า แต่ก็ไม่บรรลุธรรม
   2. เมื่อไปเห็น สตรี นางหนึ่ง ก็ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สุดท้าย ก็ยอม ออกไปเป็นคนหาบเนื้อ
   3. เมื่ออยู่ด้วยกัน ก็ถูกวาจาแดกดัน แต่ก็มีลูกหนึ่งคน สุดท้ายทนไม่ได้ ( คือ เบื่อโดนด่า ) ก็ยอมกลับไปหาพระพุทธเจ้า
   4. เมื่อฟังธรรม ครั้งนี้ จึงได้บรรลุเป็น พระอนาคามี
   5. แต่กว่าจะบรรลุธรรม ลูกก็โตแล้ว กี่ปีเข้าไป
   

 
สำหรับเรื่องนี้ ต้องขอบคุณพระอาจารย์ ทีเคยแนะนำไว้ นะครับ หากคนเรามีทุกข์ แต่ไม่กำหนดทุกข์ ก็ไม่เห็นธรรมคะ



 :25: :25: :25:

91  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ไต่ไปบน "หลังคาโลก"...ชมภาพ เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 06:58:59 am
เนื้อเรื่องและเนื้อหา น่าสนใจ ถ้าจะให้ดีก็น่าจะเล่าตั้งแต่เดินทาง ว่ามีอันตรายบ้างที่จะเกิดกกับผู้เดินทางที่ไม่ได้เป็นชาวธิเบต อ่านแล้ว รู้สึกต้องมีความระมัดระวังในการเดินทาง มากนะครับ

  :c017:
92  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ชวนชมปรากฎการณ์พระจันทร์ "บลูมูน" (Blue Moon) 31 สิงหาคมนี้ เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 06:54:19 am
รอชมภาพ น่าจะไม่ผิดหวัง นะครับ
เพราะหลายท่านไปชมกันแล้ว ปรากฏ ก็ไม่ บลู ครับ สีเหลือง ๆ มากกว่า นะครับ

  :13: :c017:
93  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ถ้าเรามีทุกข์ เกิดขึ้น ควรจัดการกับทุกข์ อย่างไร จึงจะถูกวิธีของชาวพุทธครับ เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 10:16:19 am
ถ้าเรามีทุกข์ เกิดขึ้น ควรจัดการกับทุกข์ อย่างไร จึงจะถูกวิธีของชาวพุทธครับ
ตามหัวข้อเลยนะครับ
 ขอเชิญเพื่อน ๆ ร่วมกัน ช่วยแจกธรรม เป็น ทาน ด้วยครับ

  :s_hi:
94  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระท้องเสีย เพราะสาเหตุมาจาก นมเปรี้ยว ที่ไปถวาย ไม่ทราบเป็นบุญหรือบาปคะ เมื่อ: สิงหาคม 28, 2012, 08:46:03 am
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1032

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะเหดุนั้นแล  เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย   อาศัยอำนาจประโยชน์  ๑๐  ประการ  คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก  ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน  ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต  ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส  ๑   
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑   
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑   
เพื่อถือตามพระวินัย  ๑       
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้  ว่าดังนี้:-
                                      พระบัญญัติ
        ๔๒.  ๓.  อนึ่ง  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  คือ  เนยใส
เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว   พึงเก็บ
ไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.                                                                 
                          เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ  จบ   
                                  สิกขาบทวิภังค์
        ๑๔๑  คำว่า  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  เป็นต้น  มี
อธิบายดังต่อไปนี้:-

 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1033

        ที่ชื่อว่า  เนยใส  ได้แก่  เนยใสที่ทำจากน้ำมันโคบ้าง  น้ำนมแพะ
บ้าง  น้ำมันกระบือบ้าง   มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร    เนยใสที่ทำ
จากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น  ก็ใช้ได้
        ที่ชื่อว่า  เนยข้น  ได้แก่  เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล
        ที่ชื่อว่า  น้ำมัน   ได้แก่   น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง  จาก
เมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง     จากเมล็ดมะซางบ้าง    จากเมล็ดละหุ่งบ้าง   จาก
เปลวสัตว์บ้าง       
        ที่ชื่อว่า   น้ำผึ้ง   ได้แก่   รสหวานที่แมลงผึ้งทำ           
        ที่ชื่อว่า  น้ำอ้อย  ได้แก่  รสหวานที่เกิดจากอ้อย
        คำว่า     ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน
เป็นอย่างยิ่ง  คือเก็บไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างมาก
        คำว่า    ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคีย์   ความว่า เมื่อ
อรุณที่ ๘ ขึ้นมา  เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ  หรือบุคคล   
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็เเลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-
                                         วิธีเสียสละ
                                    เสียสละแก่สงฆ์
        ภิกษุรูปนั้น   พึงเข้าไปหาสงฆ์    ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า   กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า  นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ  กล่าวอย่างนี้ว่า
        ท่านเจ้าข้า   เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง  ๗  วัน  เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์

ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
       ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
           ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
           ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
           ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
           ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
           ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
           ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
           ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
           ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
        นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
        วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก  เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี  (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)  แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
       ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
           ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
               (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
           ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
               (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
           ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
               (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)


คำว่า “น้ำปานะ”  หมายถึง น้ำคั้นผลไม้ จากที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติได้แก่ น้ำคั้นจากผลไม้ ๘  ชนิด (น้ำอัฏฐบาน) คือ น้ำมะม่วง, น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า, น้ำกล้วยมีเมล็ด,  น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด, น้ำมะขางเจือจาง, น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น,  น้ำเหง้าอุบล, น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่        นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงอนุญาต น้ำใบไม้ (ปัตตรส) ทุกชนิด เว้นน้ำผักต้ม  อนุญาตน้ำจากดอกไม้ (บุปผรส) ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะขาง และอนุญาตน้ำอ้อยสด  (อุจฉุรส) อีกด้วย น้ำนมไม่เรียกน้ำปานะ



น้ำนม จัดอยู่ใน เภสัช เนยข้น น้ำนม ทธิ
พึงอ่านข้ออนุโลมด้วย ว่าอนุญาต ไว้เพียงใด ว่าแต่ จิตปริวิตกเรื่องพวกนี้มาก เพราะมีวินิจฉัย จากมหาเถระสมาคม ก็อนุญาต พึงทานได้ไม่เป็นการผิด ในฝ่าย มหานิกาย ก็จะรับดื่มได้เป็นปกติ หลังจากเที่ยงไปแล้ว


จะบอกว่าถูก หรือ ผิด ก็ดูวินิจฉัย บริโภคเพื่ออะไร ในปัจจเวกขณ เรื่องของอาหาร และ เภสัช


ผู้ถวายได้บุญแล้วเมื่อถวาย ส่วนผู้รับเมื่อรับแล้ว จะบริโภค หรือ ไม่บริโภค ก็เป็นส่วนของผู้รับ
ดังนั้นอย่าพึงตามคิดถึงทานที่ได้นำถวายแล้ว ว่าผู้รับจะนำไปอย่างไร จะทิ้ง จะขว้าง จะใช้ ก็ไม่พึงไปติดตาม
เพราะบุญสำเร็จ ตามที่เราตั้งใจแล้ว พึงมั่นใจผู้รับ ถ้าเป็นผู้ทรงศีล มีธรรม ท่านก็จะให้เกิดเป็นประโยชน์เอง


ที่มาของเนื้อหา
ถวาย นม หลังจากเที่ยงไปแล้ว เป็นบุญ หรือ บาป ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1817.0
95  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม เราต้องภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิด ด้วยคะ เพื่ออย่างอื่นไม่ได้หรือ ? เมื่อ: สิงหาคม 28, 2012, 08:43:16 am
หัวข้อนี้ พระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบ นะครับ
นมัสการ ด้วยความเคารพ ครับ

  :25: :c017:
96  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รายละเอียดอ่านครบทุก วิปัสสนาญาณเลยนะครับ สาวกภูมิ เมื่อ: สิงหาคม 28, 2012, 08:41:09 am

สำหรับหัวข้อนี้ น่าจะเป็นการน้อมวิปัสสนา นะครับ
รายละเอียดอ่านครบทุก วิปัสสนาญาณเลยนะครับ
สาวกภูมิ
    สัตว์มนุษย์ เสมอกัน อยู่สี่อย่าง      กิน นอน อยู่เสพกาม มีภัยหนี
ส่วนมนุษย์ สูงกว่าสัตว์ บรรดามี      เพราะใจดี มีคุณธรรม ค้ำประคอง

        หากเราได้ เกิดมา เป็น มนุษย์    ย่อมประเสริฐ สุดกว่า สัตว์เดียรัจฉาน
หากเราได้ เข้าสู่  นิพพิทาญาณ      สัญชาตญาณ สาวกภูมิ ย่อมเกิดมา

        สาวกภูมิ ควรรู้กิจ ในเบื้องต้น      เพื่อไม่จน ไม่มัวเมา ในตัณหา
เริ่มต้นด้วย ศึกษา ในกายา         เป็นมรรคา เบื้องบาทแรก ทำลายตน

       กิจที่สอง ให้มีจิต มีสำนึก      รักระลึก ถึงธรรมรัตน์ หลายๆ หน
เพื่อให้จิต ผ่อนคลาย ไร้กังวล         ไม่สงสัย จิตอับจน เขลาปัญญา

       กิจที่สาม ให้ปฎิบัติ ตามทางเอก   เป็นเอนก เอกอุตม์ ไม่มุสา
รักษาศีล มีศีล ใช่วาจา            มีราคา ด้วยมีกาย และ ใจดี

       กิจที่สี่ เริ่มเพียร สร้าง สมถะ      เพื่อให้ละ นิวรณ์ธรรม อันบัดสี
ให้ใจนิ่ง นิวรณ์ธรรม ไม่ราวี         ให้ชีวี เข้มแข็ง ด้วยองค์ฌาน

       แม้นว่า กิจ คือ ฌาน ทำได้ยาก      ถ้าไม่ขาด หรือลืมหลง ในสงสาร
ให้ชีวิต มีอุปจาร มิช้านาน         แล้วพิจารณ์ วิปัสสนา เห็นแก่นธรรม

      ปัญญาญาณ ย่อมอุบัติ เป็นลำดับ    ให้เห็นชัด ในกายจิต เป็นวิถี
รูป หนึ่งดวง จิต สี่ดวง ทุกวินาที      ถูกย่ำยี ด้วยไตรลักษณ์ ทุกเวลา

     ญาณที่หนึ่ง ให้มองเห็น  นามรูป      รู้แจ้งรูป รู้แจ้งนาม โดยสัณฐาน
มองให้เห็น นามรูป ลักษณาการ      แล้วให้หาร รูปนาม เป็นปัจจัย

      ญานที่สอง ปัจจยะ ปริคคะหะ      คือเห็นชัด รูปนาม ไม่สงสัย
ใช้สติมองเห็น ความเป็นไป         ให้หัวใจ มองเห็น แยกส่วนกัน

      ญาณที่สาม สัมมะสนะญาณ      คือพิจารณ์ ไตรลักษณ์ได้ เป็นส่วนเห็น
ทั้งไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ไร้ตัวเป็น         มองให้เห็น ให้ชัดได้ ด้วยญาณธรรม

       ญานที่สี่ อุทยัพพะยะญาณ      เป็นเขตคาม ความเกิดขึ้น สลายหาย
เห็นขันธ์ห้า จ้าแล้ว ด้วยนามกาย      ดุจสถูป ตั้งอยู่ได้ ก็หายพลัน

      ญาณที่ห้า เห็นแจ้ง ความเสื่อมขึ้น   เข้าใจถึง ความแตกแยก เป็นวิสัย
เห็นความแตก แยกสังขาร มลายไป      ขันธ์ดับไป วนเวียนอยู่  ระคนกัน

       ญาณที่หก เห็นน่ากลัว ในเหตุนาม   ให้ครั่นคร้าม เห็นภัย สังสารขันธ์
เมื่อเกิดแล้ว ก็มีตาย คละเคล้ากัน      ย่อมติดพลัน เศร้าใจ ในวนเวียน

       ญาณที่เจ็ด เห็นไม่สวย ในวนเวียน   เป็นแบบเรียน เห็นโทษ  วิโยคเข็ญ
ให้คลายจิต อันมัวเมา อยู่เช้าเย็น      ให้เข้าเห็น รู้แจ้ง กระแสธรรม

       ญานที่แปด ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด   เหมือนรู้ชัด โทษกรรม อันหรรษา
จิตตื่นอยู่ รู้นามรูป ทุกเวลา         ไม่นำพา กิเลส ไม่มัวเมา

       ญานที่เก้า อารมณ์เกิด ใคร่อยากพ้น   ไม่ชื่นชม หลงใหลใน สุขหรรษา
ย่อมใคร่ออก จากกาม เป็นมรรคา      ไม่นำพา จิตเข้าสู่ วิโยคกรรม

      ญาณที่สิบ พิจารณา หาทางออก      อันประกอบ ด้วยองค์แปด เป็นเขตขันธ์
ย่อมเข้าออก ตื่นอยู่ ด้วยรู้กรรม      เป็นเหตุอัน ถอนทิ้งซึ่ง ความเมามัว

      ญานสิบเอ็ด เห็นสังขาร อย่างแจ้งชัด   ความกำหนัด เมามัว ได้อาสัญ
เห็นสังขาร อันกอร์ปกิจ ทุกสิ่งอัน      ความยึดมั่น ถูกถอด เห็นความจริง

      ญาณสิบสอง เห็นจริง ตามอริยสัจ   ได้ขจัด อวิชชา ไม่สงสัย
ทั้งอนุโลม ปฎิโลม เห็นเป็นไป         หมดเยื่อใย  เพราะเข้าเห็น รู้แจ้งจริง

     ญาณสิบสาม เข้าสู่ ความเป็นพระ      ผู้รู้ละ โลภหลง และสงสาร
ผู้เข้าสู่ อารมณ์ วิปัสสนาญาณ         ผู้พล่าผลาญ กิเลส ให้จบไป

    ญาณสิบสี่ เห็นหนทาง กระแสจิต      ที่เปิดปิด มิดชิด หมดสงสัย
สัมปชัญญะ รู้ทั่ว กำหนดไป         ทั้งกายใจ น้อมรับ ด้วยยินดี

 ญาณสิบห้า เข้าสู่ ผลจิต                      เพ่งพินิจ ตรวจละ เขตสงสาร
ละสังโยชน์ เป็นลำดับ ทุกรูปนาม              หมดวิจาร สิ้นสุด ภาวนา

    ญาณสิบหก ทบทวน อริยะสัจ           ให้รู้มรรค รู้ผล ในวิถี
แจ้งกิเลส นอกใน ในชีวี         เป็นสุขี นิพพานัง นิรันดร

   หากจะให้ ข้าพเจ้า สาธยายหมด      ย่อมประสพ ความลำบาก มากหนักหนา
หากให้แต่ง อารมณ์ จำนรรค์จา      ก็เหมือนว่า ตัวเอง ยังมัวเมา

   ให้ลุ่มหลง ในอารมณ์ สุทธาวาส      เป็นนิวาส ของพรหม  ชนเวหา
อาจปิดกั้น นิพพาน ในวิญญา         เพราะหลงใหล มัวเมา ในบทกลอน

   จึงลิขิต กลอนนี้ พอสังเขป         พอเป็นเหตุ ให้จิตได้ ในรสา
ให้สาวกภูมิ ผู้ตื่นอยู่ รู้มรรคา         มีปัญญา รู้แจ้ง เห็นความจริง

    ท้ายที่สุด ข้าพเจ้า ขอน้อมจิต      ในชีวิต ต้นบุญ ผลกุศล
ขออุทิศ ให้ปวงญาติ ผู้วายชนม์      ผู้มีชนม์ มีอายุ พบสุขกัน

    ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ         เป็นตบะ เดชะ ไปหาผล
ขอให้เทพ เทวา ผู้บันดล         ให้ข้าพเจ้า เป็นอยู่ โดยปลอดภัย

    ขอให้ยักษ์ ผู้คุ้มกัน ข้าพเจ้า      ภูติ ที่เฝ้า คอยอยู่ แลรักษา
ให้ได้บุญ ที่ข้าพเจ้า ได้ทำมา         ด้วยเมตตา ช่วยรักษา มีรูปนาม

     ขอให้ท่าน ผู้อ่าน มีสติ         ให้กอร์ปกิจ สิ่งดี สมประสงค์
ขอให้ถึง ปัญญา ด้วยตัวตน         ให้รอดพ้น บ่วงมาร ทุกท่าน เทอญ.
                 
สนธยา สุนทรนนท์ ( ธัมมะวังโส ภิกษุ)
  21 ก.ค. 49   


กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5700.0
97  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึง เมื่อ: สิงหาคม 28, 2012, 08:38:21 am
ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)




ที่มาและติดตามได้จากลิงก์นี้ครับ ( พอจะกล้อมแกล้มคำตอบไปได้สักนิดนะครับ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0
98  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: สำนักปฏิบัติอัญญาวิโมกข์โพธิรังษี ขอเชิญร่วมเวียนเทียน สวดมนต์ เนื่องในวันอาสาฬห เมื่อ: สิงหาคม 27, 2012, 10:26:02 am
อนุโมทนา ครับ คุณธรรมธวัช ไม่เห็นมาโพสต์ นานเลยนะครับ มาครั้งนี้เพราะแอบไปซุ่มบุญ มานี่เอง

 สาธุ สาธุ สาธุ มีธรรมใดมาฝาก ก็นำมาบอกกันบ้างนะครับ

  :25: :25: :25:
99  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ผลกรรมของการหลอกลวง ผู้เดือดร้อน ที่มีอย่างไร ครับ เมื่อ: สิงหาคม 22, 2012, 07:38:56 am
นรกทั้งเป็น และตาย
 :49:
100  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุกรรมฐาน คือ อะไร มีไว้เพื่ออะไร ทำไมต้องเข้าใจธาตุก่อน ? เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 09:48:32 am
ธาตุกรรมฐาน คือ อะไร มีไว้เพื่ออะไร ทำไมต้องเข้าใจธาตุก่อน ?

ตามคำถามเลยครับ คือไม่เข้าใจอะไรเลยครับ..... ว่าเกี่ยวพันอย่างไร กับการภาวนา พุทโธ

 :s_hi: :c017:
101  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "พระราชินี"โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานอภัยโทษ 30,000 คนทั่วประเทศ เมื่อ: สิงหาคม 16, 2012, 11:34:10 am

       พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 80 พรรษา ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานอภัยโทษ นักโทษที่ต้องขังในเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในวาระนี้ มีนักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน โดยแบ่งเป็นนักโทษ 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทแรก คือเข้าเงื่อนไข ก็สามารถปล่อยตัวเลย เช่น ต้องโทษไม่เกิน 1 ปี หรือต้องโทษจำขังอยู่ก็ได้รับการปล่อยตัวเลย และอีกประเภทหนึ่งคือ นักโทษที่ต้องโทษอยู่แล้วนานมากกว่า 1 ปี จะได้รับการลดโทษปล่อย ซึ่งประเภทนี้จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่จะปล่อยตัวออกมา
        อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไปต้องรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะน่าจะประกาศลงในวันนี้หรือพรุ่งนี้เป็นอย่างช้าต่อไป


ฟังเสียง ภาพวีดีโอที่นี่ครับ
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/401207.html
102  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ผลกรรมของการหลอกลวง ผู้เดือดร้อน ที่มีอย่างไร ครับ เมื่อ: สิงหาคม 16, 2012, 11:32:12 am
เห็นชาวนา หลายท่านมาบ่น ว่าตอนนี้ถูกหลอกให้ซื้อ ปุ๋ยปลอม ทำให้ผลิตผลไม่ได้ผลผลิตอย่างที่หวัง ซ้ำร้ายแย่ยิ่งกว่านั้นเพราะปุ๋ยปลอมนั้น ยังทำให้พันธ์ไม้ได้ผลน้อยลงอีก

       ผลกรรม ที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่หลอกลวงนี้ จะเป็นอย่างไรบ้างครับ ในพระสูตรมีการกล่าวไว้หรือไม่ครับ

  ขอบคุณครับ

  :c017: :25:
103  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมศ๊กษาปฏิบัติธรรมประจำเดือน กันยายน 55 ณ วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2012, 09:41:43 am
กำหนดการปฏิบัติธรรมประจำเดือน กันยายน 55
เสาร์-อาทิตย์ 8 - 9 และ 22- 23
ณ วัดราชสิทธาราม (พลับ) คณะ 5
ถนนอิสรภาพ ซ.อิสรภาพ23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
โทร.084-651-7023


ตารางการปฏิบัติธรรม กันยายน 2555

     ช่วงต้นเดือน

    วันเสาร์ที่ 8 กันยายน  2555  แรม 7 ค่ำ เดือน  9

     เวลา 06.30-  07.00 น.        ลงทะเบียน รับอาหารเช้า รับศีล ขึ้นกรรมฐาน   

     เวลา 07.30 - 08.00 น.        รับประทานอาหารเช้า นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม

     เวลา 11.00 – 13.00 น.        รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย 

     เวลา 13.00 - 14.00 น.        ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหาธรรม พักดื่มน้ำปานะ 

     เวลา 14.00 - 16.30 น.        เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม   ทำธุระส่วนตัว 

     เวลา 16.30 - 17.00 น.        ทำวัตรเย็น

    วันอาทิตย์ที่ 9 กันยาน 2555  แรม 8 ค่ำ เดือน  9

     เวลา 06.30 - 07.00 น.         ทำวัตรเช้า เจริญภาวนา   รับอาหารเช้า

     เวลา 07.30 - 08.00 น.         รับประทานอาหารเช้า นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม

     เวลา 11.00 – 13.00 น.         รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย 

     เวลา 13.00 - 14.00 น.         ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหาธรรม พักดื่มน้ำปานะ 

     เวลา 14.00 - 16.30 น.         เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม   ทำธุระส่วนตัว 

     เวลา 16.30 - 17.00 น.         ทำวัตร สวดธรรมจักร

    ช่วงปลายเดือน                       

  วันเสาร์ที่ 22 กันยายน  2555  ขึ้น 7 ค่ำ เดือน  10

     เวลา 06.30 - 07.00 น.           ลงทะเบียน รับอาหารเช้า รับศีล ขึ้นกรรมฐาน   

     เวลา 07.30 - 08.00 น.           ฃ รับประทานอาหารเช้า นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม

     เวลา 11.00 – 13.00 น.           รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย 

     เวลา 13.00 - 14.00 น.           ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหาธรรม พักดื่มน้ำปานะ 

     เวลา 14.00 - 16.30 น.           เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม   ทำธุระส่วนตัว 

     เวลา 16.30 - 17.00 น.           ทำวัตรเย็น

   วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555  ขึ้น 8 ค่ำ เดือน  10

     เวลา 06.30 - 07.00 น.            ทำวัตรเช้า เจริญภาวนา   รับอาหารเช้า

     เวลา 07.30 - 08.00 น.            รับประทานอาหารเช้า นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม

     เวลา 11.00 – 13.00 น.            รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย 

     เวลา 13.00 - 14.00 น.            ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหาธรรม พักดื่มน้ำปานะ 

     เวลา 14.00 - 16.30 น.            เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม   ทำธุระส่วนตัว 

     เวลา 16.30 - 17.00 น.            ทำวัตร สวดธรรมจักร



ที่มาประกาศนี้นะครับ หากมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง หรือ อย่างไร ที่ จขกท.ประกาศไว้ก็ตามไปอ่านกันที่ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.somdechsuk.org/node/297
104  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน 3000 เล่ม เมื่อ: สิงหาคม 14, 2012, 09:30:38 am
  เชิญเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสื อประวัติสมเด็จสุก ไก่เถื่อน (ปกแข็ง)

          3000-5000เล่ม เล่มละ 100บาท

โทร. 084-651-7023 หรือ
โอนเข้าบัญชี ธนากสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น
เลขที่บัญชี 0672838479 ในนาม พระวีระ สุขมีทรัพย์

 http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

คาถาพญาไก่เถื่อน (สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน) 

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ

คำสวดมนต์ขึ้นกรรมฐาน


 :25: :25: :25:
105  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมเวลานั่งสมาธิ บางคนมีอาการปวดมาก บางคนมีอาการปวดน้อย เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 08:45:20 am
ทำไมเวลานั่งสมาธิ บางคนมีอาการปวดมาก บางคนมีอาการปวดน้อย บางคนก็ไม่มีอาการอะไรเลย
คือไปนั่งสมาธิ กับเพื่อน ๆมา เห็นบางท่าน ก็นั่งกรรมฐานไปขบกรามไป อีกท่านนั่งไปตัวสั่นมาก ๆ อีกท่านไม่มีอาการอะไร สงบนิ่ง จริง แต่ทุกท่านก็นั่งกรรมฐาน กันครบ 1 ชม. ผมเองหลังจากที่ได้นั่งกรรมฐาน ก็สนทนากันถามกันว่าเป็นเพราะอะไร ?
 
  ท่านที่นั่งขบกราม ตอบว่า ปวดมาก ๆ ปวดกันกบ ปวดเข่า ปวดขา อยากจะร้องไห้ นั่งภาวนาพุทโธ แต่ ปวดไปหมด อยากจะเลิกนั่งแบบนี้ แต่ด้วยยึดถือสัจจะกันก็จะต้องทำให้ได้ตามสัจจะ

  ท่านที่นั่งสั่น ตอบว่าไม่รู้เป็นอย่างไร รู้สึกว่ากายมันขยับไปเอง พยายามห้ามกายไม่ให้สั่นแล้ว แต่กายก็ยังสั่น ก็เลยภาวนา พุทโธ ไป ปล่อยกายสั่นไป ในใจก็อธิษฐานว่าจงหยุดสั่น แต่ก็ไม่หยุดจนกระทั่งออกจากการภาวนาตามเวลา ก็ยังไม่หยุดมาหยุดตอนคลายภาวนา

  อีกท่านตอบว่า นั่งกรรมฐาน ไปแล้ว รู้สึกว่ามันมีความรู้สึกว่า นิ่ง เหมือนคนเดินแล้วอยากหยุดเดิน ยืนอยู่อย่างนั้น ท่านบอกแต่เพียงว่า นิ่งแล้ว รู้สึกดี ถ้าเดินภาวนาอยู่รู้สึกเหนื่อย นิ่งแล้วไม่เหนื่อย เหมือนการหยุดพัก ท่านเลยตอบว่าว่า ชอบสภาวะนิ่ง ๆ อย่างนี้

   เป็นเพราะเหตุใด ที่คนหลายคนนั่งกรรมฐาน ที่เดียวกัน ในสภาวะเดียวกัน ครูเดียวกัน กรรมฐานเดียวกัน แต่ทำไมมีอาการออกไปกันมากมายอย่างนี้ครับ

   :smiley_confused1: :c017:


106  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ขณะที่จิตสงบ นิ่งเงียบอยู่ ขณะนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สมาธิ หรือ ว่าตกภวังค์ เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 08:34:36 am
ขณะที่จิตสงบ นิ่งเงียบอยู่ ขณะนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สมาธิ หรือ ว่าตกภวังค์ครับ

  จิตเข้าไปนิ่งเงียบ อยู่ สงบ อย่างนั้น ไม่มีบริกรรม ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการปรุงแต่ง เพียงแต่หยุดอยู่นิ่ง ๆ อย่างนั้น เสียงได้ยิน ความรู้สึกรอบด้านยังปรากฏอยู่ แต่มันนิ่งอยู่อย่างนั้น ครับ


  :67: :67: :67: :c017:

107  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมาธิ กับ อุเบกขา เป็นองค์เดียวกันหรือไม่ครับ. ? เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 08:32:07 am
วันนี้มาช่วยเพื่อนคุยกันในห้องนี้ ครับ
อยากเรียนถาม ทีมงาน มัชฌิมา ทุกท่านนะครับว่า
 สมาธิ กับ อุเบกขา เป็นองค์เดียวกันหรือไม่ ครับ ?


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dhammathai.org
108  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: 12 สิงหาคม 2555 วันแม่แห่งชาติ สดุดีมหาราชินี่ ( ทีมงามมัชฌิมา ) เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 09:08:10 am
ทรงพระเจริญ

 :25: :25: :25:
109  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าผ่าสามัคคี สร้างศาลาทำบุญตักบาตร วัดแก่งขนุน 12 ส.ค.55 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 09:06:04 am
อนุโมทนา สาธุ ครับ
 :25: :25: :25:
110  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พุทธจักษุ หมายถึง อินทริยปโรปริยัตติญาณ เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 09:52:36 am


พุทธจักษุ  หมายถึง  (๑)  อินทริยปโรปริยัตติญาณ  คือ  ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย  คือ  รู้ว่า  สัตว์นั้น ๆ  มีศรัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา  แค่ไหน  เพียงใด มีกิเลสมาก  กิเลสน้อย  มีความพร้อม  ที่จะตรัสรู้หรือไม่  (๒)  อาสยานุสยญาณ  คือ  ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย  สภาพจิตที่นอนอยู่  (ขุ.ป.  ๓๑/๑๑๑/๑๒๔,๑๑๓/๑๒๖)
111  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 99 ปุจฉาพระสังฆราช "การสร้างพระเครื่อง เข้าข่ายสีลพตปรามาสรึเปล่า.?" เมื่อ: สิงหาคม 06, 2012, 01:15:20 pm
ปัญหานี้ เรียกว่าปัญหา จัดระเบียบสังคม ครับ

  สังคมพระอริยะนั้น ใช้เป็นการปกครองไม่ได้ เพราะอาศัยความใจดีปกครองไม่ได้ครับ การปกครองต้องอาศัยการส่งเสริมคนดี ทุกอย่างมทีเหตุเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

   สมมุติว่า ผู้ถามจัดระเบียบเรื่องการสร้างวัตถุมงคลได้ ก็ไม่ได้บอกว่า ผู้ที่ต้องการเช่าบูชาจะเห็นด้วย เพราะสรณะที่พึ่งของคนแตกต่างกันตามระดับสติปัญญา พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา แต่ไม่ได้เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด ดูที่อินเดียเป็นตัวอย่าง ปัจจุบันศาสนาพุทธในอินเดีย บางคนว่าเริ่มต้น แต่ผมว่าไม่มีเลยเพราะคนที่มานับถือพุทธศาสนานั้นตอนนี้ไม่ได้นับถืออย่างปัญญา แต่เขานับถือเพราะไม่ต้องติดในวรรณะ 4 ของประเทศ เป็นการแตกตัวออกมาจากเรื่องของวรรณะ4 พวกจึงทำพวกชนจัณฑาลหันมานับถือพระพุทธศาสนา ถ้ากล่าววว่าประสบความสำเร็จ ลองเอาเรื่องวรรณะ 4 ออก จะเห็นพระโสดาบัน กี่คน

   ในเมืองไทยก็เหมือนกัน หากเอาพระพุทธรูป วัตถุมงคล ออกจากวัด คือไม่ต้องให้ทำ นั่นแหละคุณจะเห็นพระโสดาบันในอุดมคติ แบบนับคนได้เลย ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น พระพุทธศาสนาในเมืองไทย อาจจะไปไวขึ้น เพราะชาวพุทธแท้มีจำนวนน้อยลง

   ผมไม่ปฏิเสธ ว่าผมเองก็นับถือพุทธ ตามพ่อตามแม่ กันมาแต่เมื่อก่อน แค่ศีล 5 ก็กล่าวว่าทำได้ยากแล้ว ถ้าหากคุณไปไล่เรื่องสร้างวัตถุมงคล เพื่อเฟ้นหา พระโสดาบัน คุณหาชาวพุทธแท้ ๆก่อนเลยดีกว่า ปัจจุบันโพลล์สำรวจออกมาว่า มีคนที่ไปวัดทำบุญมุ่งภาวนา มีเพียง 10 เปอร์เซ็นของประชากรในประเทศเท่านั้นครับ นอกนั้นไม่เคยไปกันเลย ไม่เคยทำกันเลย

    ผมมีตัวอย่างวันหนึ่ง ผมได้ไปติดตามเป็นลูกศิษย์ สะพายย่ามตอนพระที่บิณฑบาตร ระยะทาง 3 กม. ไปกลับ 6 กม. ผ่านหมู่บ้านที่เป็นตึก ร้านค้า หอ้งแถว ไม่ต่ำกว่า 3000 หลังคาเรือน แต่เชื่อหรือไม่ว่าผู้ใส่บาตร มีเพียง 15 รายเท่านั้นเองที่ใส่กันประจำ ที่พระอยู่ได้ทุกวันก็มีใส่กันอยู่แค่นั้นละครับ

   ลองคิดดูสิครับ 15 ต่อ 3000 หลังคาเรือน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็น
   
   วันนี้พระสงฆ์ ที่คุณคุณคิดว่าเป็นพระโสดาบัน หรือ ไม่ใช่พระโสดาบัน มีกี่รูป สถิิติพระสงฆ์เริ่มน้อยและจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะบรรดาชาวพุทธมือถือสากปากถือศีล นี่แหละที่มารณรงค์ เรื่องไม่เป็นเรื่อง ต่อไปก็เอาคนพวกนี้มาบวช ( มันจะบวชหรือไม่ก็ไม่รู้ )

   คิดว่าคำถามไม่ได้สร้างสรรค์ ครับ ( โดยรวม )

   ผมอ่านในห้องพันทิพย์ทุกวัน อยู่และเห็นกลุ่มคนที่โจมตีพระพุทธศาสนา อย่างเป็นทางการก็คือกลุ่มศาสนารุนแรงอันนี้ประจำเห็นอยู่ประจำ ดังนั้นคำถามนี้เป็นคำถามที่สนับสนุนศรัทธาเพิ่มหรือลดลง ต้องพิจารณาให้ดี ตอบแล้วได้ประโยชน์ อะไร ดังนั้นคำถามนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบแต่ต้องการชี้ให้เห็นไปว่า หลวงพ่อหลววงปู่หลวงพี่ที่เสกพระ เหล่านี้ไม่เป็นพระ เพราะความเป็นพระต้องเป็นพระโสดาบัน

   เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกว่า ควรจะต้องช่วยกันตอบไม่ต้องรบกวน สมเด็จตอบก็ได้ครับข้อนี้

   อันที่จริงคนที่นำมาโพสต์ ควรจะต้องแสดงความเห็นด้วยนะครับ ถึงแม้จะนำมาให้ทราบก็ต้องแสดงจุดยืนในความนับถือต่อพระรัตนตรัยเช่นเดียวกัน

   :c017: :s_hi: :s_hi: :s_hi:
112  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: โคราชเทียนพรรษาล้นวัด แนะหลอดไฟฟ้าได้ประโยชน์กว่า เมื่อ: สิงหาคม 06, 2012, 12:58:30 pm
ก็เป็นเช่นนี้ประจำ ก็จะมีคนมารับซื้อเทียน ในราคาประหยัด ขายกันเป็น กก. เท่าทีผมทราบมาวัดในเมืองจะเป็นอย่างนั้น เพราะเทียนมีมากจริง ๆ ครับ

   เวลาผมไปวัดป่าบนเขาทำให้ผมนึกถึงเทียนเหล่านี้ทันทีครับ เพราะหาจุดไม่ได้
 
   :coffee2:
113  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเป็นเจ้าภาพ บวชพระสงฆ์ ได้บุญ และ อานิสงค์อย่างไร ครับ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 09:31:29 am
ขอบคุณครับ
 :c017: :25:
114  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ชมภาพ พุทธศาสนิกชนร่วมเวียนเทียนในตอนเย็น รอบพระอุโบสถวัดชลประทานฯ จ.นนทบุรี เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 09:02:32 am
สาธุ สาธุ สาธุ  ไม่ได้เห็นภาพบรรยากาศวัดชลประทานมาเป็นปี แล้วครับ ขอบคุณมากครับ
ตั้งแต่หลวงพ่อท่านมรณะภาพ ละสังขารไป ผมไปกราบมาครั้งสุดท้ายก็ สองปีแล้ว

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25:
115  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเป็นเจ้าภาพ บวชพระสงฆ์ ได้บุญ และ อานิสงค์อย่างไร ครับ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 09:00:47 am
อนุโมทนา ครับที่ ยังแจกธรรม สมกับเป็นบัณฑิตห้อง ส่งจิตออกนอกครับ
ที่ได้ค้นคว้านำมาให้เพื่อนได้อ่านกัน อย่างไม่ผิดหวังในคำถามครับ

 สาธุ สาธุ สาธู
 :c017: :25: :25: :49:
116  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “ผาแต้ม” ธรรมชาติงดงาม ประวัติศาสตร์น่าทึ่ง (ชมภาพและคลิป) เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 12:50:30 pm
ธรรมสัญจร อิสาณ ปีที่แล้ว ก็เป็น ผาแต้ม ไม่ใช่หรือครับ ไปกันกี่ท่านครับ

  ผมว่าเคยอ่าน ๆ ผ่าน ๆ มานะครับ

  :s_hi:
117  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “3 ความเข้าใจหลัก” ยืดรักให้ยาว เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 12:49:24 pm
อยากจะบอกว่า อย่าจริงจังในชีวิตครอบครัว แก่นสาร สาระไม่เป็นอย่างที่คิดครับ เพราะรักจริง ที่ว่าแน่ รักแท้ของแม่ฉันนะครับ ผมโดนผู้หญิงหลอกมาหลายคนแล้ว ว่ารักแท้ แต่แล้วก็ตามไปกับคนอื่น กันหมด

   สิ่งที่ผู้หญิง จะพูดตอบกับผมทุกครั้งก่อนจะเลิกราว่า คุณ มันดีเกินไป ธรรมะธรรโม มากเกินไป ไม่เข้าใจหัวอกผู้หญิงว่าต้องการอะไร

    ก็ยอมรับครับว่า ผู้หญิงที่อยู่กับผมนั้น ถ้าไม่มีธรรมเสมอผมแล้วก็อยู่กันยากครับ
                  เพราะผมไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวสังสรรค์ แต่ชอบทำบุญ นั่งกรรมฐาน อ่านหนังสือธรรมะ รักษาอุโบสถศีล ทุกพระ 

         ชีวิตมันขาดรสขาด สำหรับผู้หญิง ที่ยังไม่เข้าใจผม ดังนั้นการแยกทางกันเป็นสิ่งทีต้องเกิดครับ
     :25: :49: :c017:
118  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “ท่านอน” สะท้อนนิสัย.? เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 12:44:45 pm
ผมนอนทุกท่าน เลยครับ แสดงว่ามีทุกอารมณ์

  :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
119  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: พบ 'พระพุทธรูป..ปางตะเบ๊ะ' 400 ปี เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 12:43:38 pm
ถ้าไม่อ่านรายละเอียด ลงไปนะ ป่วนแน่ งานนี้ อันที่จริงเรียกว่า ปางประทานเกศธาตุ แต่คนไปเรียกว่าว่าปาง ตะเบ๊ะ กันติดปาก เดี๋ยวก็ผิดเพี้ยนเจตนาคนผู้สร้าง

   ดีครับนำเรื่องนีี้มาชี้แจงเป็นประโยชน์กับชาวธรรม ดีครับ

   :c017:
120  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ฮือฮา.! นายอำเภอจัดคาราโอเกะ "เล่นงานศพพ่อ" (ชมภาพและคลิป) เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 12:37:32 pm
เพิ่มสีสันดี ครับ งานศพ ปกติเราจะเห็นว่า ปกติแล้วจะเป็นงานแห่งความโศรกเศร้ากันนะครับ แต่จัดรื่นเริงก็มีขอสียนะครับ

  1.ไม่ได้เกิด ธรรมสังเวช ผมเชื่อว่า ความสงบเงียบ ในงานศพจะทำให้คนเห็นธรรม มากกว่า เสียงอึกทึกครับ อย่างน้อยคนที่ประมาท จะได้รู้สึกปลง อาลัย ในชีวีต ตระหนักในความสำคัญของการมีชีวิตครับ

   ผมเป็นคนหนึ่งที่ไปงาน ศพ เพื่อน ๆ ญาติ เพื่อนเป็นประจำ ไม่ถึงกับบ่อย แต่ก็มีทุกเดือน ไปครั้งหนึ่งก็จะเห็นประเพณี คนมางานศพกันตามบารมีเจ้าภาพ บางงาน ไม่ม่ใครเลยมีแต่เจ้าภาพก็มีนับคนได้ แค่ 10 กว่าคนก็มี ตามฐานะ ตามอัธยาศัย ของผู้ที่จากไปด้วย

    ธรรมสังเวช ผมว่ามีความสำคัญ อาศัยความเงียบ ด้วย

    มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเคยนั่งร้องไห้ เพราะฟังการสวดมาลัย เห็นทุกข์โทษ น้ำตาไหลพราก ๆ ไม่เคยฟังสวดที่ไพเราะมีเนื้อหากินใจมาก และก็เป็นเหตุให้ผมเริ่มเข้ามาศึกษาธรรม เข้าเว็บธรรมะบ้างเมื่อก่อน จะไปแต่เว็บไร้สาระ

   

    ระลึกถึงความตายสบายนัก
   มันหมดรัก หมดหลง หมดสงสาร

 
   
 
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11