ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: [1] 2 3 ... 711
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:19:20 am
.

ภาพวาด พุทธอมิตาภะ ในดินแดน สุขาวดี


“สุขาวดี” คืออะไร.? ทำอย่างไร.? จึงจะได้เข้าสู่แดนสวรรค์อันบริสุทธิ์ของชาวพุทธ

หนังสือ “ปรัชญามหายาน” ของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ บอกเราผู้อาจยังไม่คุ้นเคยกับพุทธศาสนาคติมหายานมาก่อนได้รู้ว่า สุขาวดี เป็นนิกายหนึ่งในหลาย ๆ นิกายของมหายาน เช่น นิกายสัทธรรมปุณฑริกะ (เทียนไท้) และนิกายเซน (ธยานหรือเซี่ยงจง) เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รู้ว่า นิกายสุขาวดีมีสวรรค์อันบริสุทธิ์นามว่า สุขาวดีที่น่ารื่นรมย์สำราญ มีพุทธอมิตาภะเสด็จประทับแสดงธรรมอยู่มากมาย พร้อมด้วยหมู่พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ และบรรดาสาวกอีกเหลือคณานับ

สุขาวดี มีความหมายตามตัวอักษรว่า ดินแดนแห่งความสุข สุขา คือ ความสุข วดี ในพจนานุกรม ฉบับมติชน คือ รั้วหรือกำแพง หรือเครื่องตกแต่ง

สุขาวดีเป็นที่ปรารถนาของชาวพุทธ ต้องการจะไปเกิดหรืออุบัติ ณ ภพภูมินั้นเมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์นี้ไปแล้ว ไม่แต่เท่านั้น สำหรับผู้มีจิตแน่วแน่ในทางธรรม ก็ยังสามารถเข้าสู่แดนสุขาวดีได้แม้ขณะเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ความละเอียดเรื่องนี้จะกล่าวถึงข้างหน้า น่าสนใจมากใช่ไหมครับ ที่เราสามารถเข้าสู่แดนสุขาวดีได้ แม้ขณะยังมีชีวิตอยู่!

ในวรรณคดีเชิงพุทธศาสนาคติมหายานของ คาร์ล เจลเลอรุป (Karl Gjellerup) ผู้เป็นนักเขียนนวนิยายรางวัลโนเบลไพรซ์ ปี 2464 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า เค.จี. ซึ่งรู้จักกันว่าชื่อเรื่อง กามนิตผู้แสวงบุณย์ (The Pilgrim Kamanita) แต่ในบ้านเรารู้จักกันดีว่า วาสิฏฐี (แปลโดยเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป) ครั้งหนึ่งเคยกำหนดให้เป็นหนังสือเรียนวรรณคดีชั้นมัธยมปลาย… สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยังแนะนําว่าเป็นหนังสือดี หนึ่งในร้อยเล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ดร.พิศมัย อินทรชาต อยู่โพธิ์ เขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ The Pilgrim Kamanita : The Truth Seeker มีชื่อไทยว่า กามนิตผู้แสวงหาสัจธรรม



ภาพวาดพุทธอมิตาภะ ในดินแดนสุขาวดี เขียนขึ้นในยุคโชซอน เกาหลี ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18- ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ภาพจาก metmuseum.org, Public Domain)


ส่วนท่านอมโรภิกขุ พระฝรั่งสายพระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง… ท่านได้อ่านเรื่องวาสิฏฐีจากต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ท่านสนใจมาก ได้ทำภาคผนวกโดยพิสดาร เผยแพร่ไว้ในอินเตอร์เน็ตด้วย

จแดนสุขาวดี จึงน่าจะเป็นที่รู้จักโดยกว้างขวางและคงเป็นที่ปรารถนาไปอุบัติหรือเกิด ณ ดินแดนทิพยสถานแห่งนั้นเป็นแน่นอน ขอยกตัวอย่างภาพอันงดงามของแดนสุขาวดีจากปากคำของวาสิฏฐี ดังนี้

    “สวรรค์อันมีความสว่างรุ่งเรืองหาเขตมิได้นั้น มีอยู่ทางทิศตะวันตก ถ้าผู้มีใจเด็ดเดี่ยวรู้สึกเบื่อหน่ายในสิ่งซึ่งเป็นวิสัยโลก แล้วตั้งจิตเป็นสมาธิมุ่งแต่สถานอันเป็นบรมสุข ก็จะได้ไปจุติอยู่ในดอกบัวบนแดนสวรรค์ ผู้ใดมุ่งแต่สวรรค์ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดดอกไม้ทิพย์ขึ้นในน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ในทะเลแก้ว ความตรึกนึกที่บริสุทธิ์ทุกครั้ง ความดีที่กระทำทุกเมื่อเป็นเหตุให้ดอกไม้ทิพย์นั้นเจริญยิ่งขึ้น ถ้าความคิด วาจา และการกระทำเป็นไปในทางชั่ว ก็จะเป็นเหมือนดังหนอนที่บ่อนไส้ ให้ดอกไม้ทิพย์นั้นเหี่ยวแห้งไปโดยเร็ว”

จากคำบอกเล่านั้น แดนสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งตรงตามคัมภีร์มหายาน ดอกไม้ทิพย์คือดอกบัว และตามเรื่องราว กามนิตไปเกิดก่อน วาสิฏฐีไปเกิดภายหลังใกล้ ๆ กันตามที่มีจิตมุ่งมั่นไว้ แต่กว่าวาสิฏฐีจะได้เกิด ดอกไม้ก็เกือบจะเป็นหนอนบ่อนไส้ เพราะเธอเคยคิดจะฆ่าสามีโดยร่วมมือกับองคุลิมาล ถือเป็นการกระทำปาณาติบาต แต่ทางชั่วก็มิได้เกิดขึ้น ดอกไม้ทิพย์จึงคืนกลับสู่ความงามดังเดิม และเธอก็ได้เกิดในดอกบัวใกล้ ๆ กับกามนิตสมปรารถนา

@@@@@@@

อย่างไรก็ดี แดนสุขาวดีของ เค.จี. มิได้เป็นนิรันดร เทพและเทวีบางองค์ย่อมหมดบุญ ตกสวรรค์ชั้นสุขาวดีได้ หากมิได้เจริญธรรมอย่างเคร่งครัดอันจะคงความเป็นทิพย์หรือเป็นพลังบุญหนุนส่ง และการขาดผู้มีพลังบุญช่วยเหลืออุปถัมภ์ กามนิตนั้นมีพลังบุญไม่มาก ริม ๆ จะตกสวรรค์เหมือนเทพองค์อื่น แต่เพราะมีวาสิฏฐีช่วยเหลือจึงมีโอกาสเลื่อนชั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนบรรลุนิพพานได้ในที่สุด คือ เข้าสู่แดนพุทธภูมิ ไม่คืนกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย

ประเด็นแดนสุขาวดี อยู่ทางทิศตะวันตก ของ เค.จี. ตามความเห็นของท่านอมโรภิกขุ บอกว่าเป็นความเชื่อของสำนักมหายานโบราณตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งแท้จริงแล้วสุขาวดีมีถึง 5 แห่ง ทั้ง เหนือ ใต้ ออก ตก และตรงกลางอีกด้วย ดังนี้

    ทิศเหนือ ชื่อ Amoghasiddhi
    ทิศใต้ ชื่อ Ratanasambhava
    ทิศตะวันออก ชื่อ Akshobya
    ทิศตะวันตก ชื่อ Amitabha
    กลาง ชื่อ Vairocana

ส่วนสำนักพุทธมหายานทางใต้ ยืนตามคติพราหมณ์ คือ สวรรค์มี 3 ชั้น แต่ไม่มีที่ประทับของพระอมิตาภะอยู่ในชั้นใดเลย


@@@@@@@

คติเถรวาท สวรรค์มี 4 ชั้น โดย สรุปก็คือ

- ชั้นต้น ชาวสวรรค์ในชั้นนี้มีโอกาสตกลงไปเกิดในโลกมนุษย์ไม่เกิน 7 ครั้ง แต่จะไม่ไปเกิดเป็นสัตว์หรือตกนรก
- ชั้นที่ 2 ชาวสวรรค์ในชั้นนี้กลับไปเกิดในโลกมนุษย์ได้เพียงครั้งเดียว
- ชั้นที่ 3 ไม่กลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย
- สําหรับสวรรค์ชั้นที่ 4 เป็นชั้นของพุทธอรหันต์ ซึ่งจะไม่กลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่ว่าในภพภูมิใด ๆ

ดังกรณีของเจ้าชายปุกกุสาติ กล่าวคือ โดยพลันที่ถึงตาย ก็ได้เกิดทันที ในสวรรค์ชั้นที่ 4 ที่เรียกว่าชั้นอวิหา (Aviha) เป็นชั้นวิสุทธิภูมิสูงสุด

ในธาตุวิภังคสูตร กล่าวว่า ปุกกุสาติ ผู้ครองนครคันธาระ อยู่ย่านแคชเมียร์ ในอินเดียตอนเหนือ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) สละราชสมบัติออกแสวงบุญเป็นนักบวช ได้พบกับพระพุทธองค์ในเรือนโถงของกุมภะช่างปั้นหม้อ ชานมหานครราชคฤห์ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ปุกกุสาติซาบซึ้งในธรรมนั้นมาก ขอบวช พระพุทธองค์ทรงอนุญาต แต่ให้หาบาตรและจีวรมาเอง ขณะหาบาตรและจีวรถูกแม่โคบ้าขวิดตาย เชื่อกันว่าความในพระสูตรตอนนี้ เป็นต้นแบบให้ เค.จี. เขียนเรื่องวาสิฏฐี

ถึงตรงนี้เราก็ได้ทราบว่า สุขาวดีเป็นทิพยสถาน ตั้งอยู่ในมหาสากลจักรวาล มิใช่มีแต่ทางทิศตะวันตกเท่านั้น แต่มีอยู่ทุกทิศดังได้กล่าวแล้ว ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าเราจะเข้าไปสู่แดนสุขาวดีได้อย่างไร แม้ เค.จี. จะบอกผ่านมาทางวาสิฏฐีบ้างแล้วก็ตาม

@@@@@@@

ในปรัชญามหายาน ของ อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้แล้วโดยพิสดาร ในหมวดนิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง) สรุปความว่า ผู้จะถึงแดนสุขาวดีได้ จะต้องมีคุณสมบัติทำนองนี้

1. ต้องมีกตัญญูกตเวที ปรนนิบัติบิดามารดา ครูอาจารย์ และรักษากุศลกรรมบถ 10
2. ต้องถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ สมบูรณ์ในศีลสิกขาและอภิสมาจาร
3. ต้องมีโพธิจิต เชื่อในกฎแห่งกรรม และศึกษาเล่าบ่นในคัมภีร์มหายาน
4. ต้องเจริญสมถกัมมฐาน 16 ประการ (จับลักกวงมึ้ง) สำหรับเพ่งพินิจคุณาลังการต่าง ๆ ในแดนสุขาวดี

ท่านผู้มีคุณสมบัติ 4 ประการนี้ ประตูสวรรค์สุขาวดีย่อมเปิดต้อนรับทันที

ตรงข้อ 4 ขยายความว่า การเจริญสมถกัมมฐาน 16 ประการ น่าจะหมายถึง การเจริญสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม ประกอบการเจริญลมหายใจเข้า-ออก อย่างละ 4 ลักษณะ เพื่อการเกิดสมาธิ และอาจรวมถึงวิธีอื่น ๆ ซึ่งมีอีกหลายวิธี เช่น เพ่งกสิณ 10 และเพ่งอสุภ 10 เป็นต้น (ดู พุทธธรรม-ฉบับเดิม ของ พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อเจริญสมาธิแก่กล้าดีแล้วย่อมได้ฌาน (absorption)



ภาพวาดพุทธอมิตาภะ ในดินแดนสุขาวดี เขียนขึ้นในธิเบตตอนกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 (ภาพจาก metmuseum.org, Public Domain)


ฌาน ก็คือ ธยาน (ในบาลีสันสกฤต) หรือฉาน (ในภาษาจีน) หรือเซน (ในภาษาญี่ปุ่น) คือการเพ่งอารมณ์จนกระทั่งจิตสงบ ตั้งมั่นแน่วแน่

เมื่อเจริญสมาธิจนได้ฌานแล้ว ก็จะได้สัมผัสพิเศษตามมา เรียกว่าได้อภิญญา ทางจิตวิทยาเรียกว่าได้อีเอสพี (ESP-Extra Sensory Perception) ซึ่งมี 6 อย่าง คือ

อิทธิวิธี คือการแสดงฤทธิ์ได้เป็น magical power และมโนมยิทธิ เป็น psychic power, หูทิพย์, ตาทิพย์, รู้ความคิดผู้อื่น รู้เหตุการณ์ข้างหน้า, ระลึกชาติได้, หยั่งรู้ความสิ้นอาสวะของตน

สัมผัสพิเศษเหล่านี้ได้จากการเพ่งกสิณ โดยใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย จิตรวมกันเป็นหนึ่ง วัตถุที่ใช้เพ่ง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อากาศ (ช่องว่าง) แสงสว่าง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการเพ่งโดยเฉพาะ

ในคติมหายานใช้การเพ่งไปยังสรรพสิ่งที่เชื่อว่ามีอยู่ในแดนสุขาวดี เช่น ต้นไม้ทิพย์ สระโบกขรณี ปราสาท ราชมณเฑียร และพระรูปของอมิตาภะกับปวงโพธิสัตว์ เพ่งว่าตนไปเกิดในดอกบัวสีสวยต่าง ๆ การเพ่งอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่ ภาพของแดนสุขาวดีที่สวยสดงดงามอลังการย่อมปรากฏในนิมิต (mental image) ผู้ที่ฝึกฝนอย่างแก่กล้าจะสามารถจัดการ (mastery) ภาพงามได้ตามปรารถนานั้น ๆ ขึ้นทันใด เป็นภาพเล็กภาพใหญ่ งดงามสดใสขึ้นได้เร็วหรือช้าแค่ไหนก็ได้ในกาลปัจจุบัน โดยไม่ต้องรอเอาเมื่อเวลามรณะไปแล้วนั่นเลย นี่แหละคือการไปสู่สุขาวดีได้ในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องรอให้ตายก่อนแต่อย่างใด

ความตอนนี้ระบุไว้ในอมิตายุรธยานสูตร (กวงบ้อเหลียงสิ่วเก็ง) อันเป็นคัมภีร์หนึ่ง ในสี่คัมภีร์สำคัญของมหายาน จึงผู้ปรารถนาสุขาวดี จำต้องพร่ำบ่นคัมภีร์เหล่านี้จงมาก จะได้เข้าถึงสุขาวดีขณะยังมีชีวิตอยู่ได้ง่าย ๆ

@@@@@@@

อีกประการหนึ่ง เมื่อไปเกิดในแดนสุขาวดีแล้ว ย่อมมีโอกาสพลัดหล่นกลับสู่วัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดได้อีก ถ้ายังมีมิจฉาทิฏฐิ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า กั้นขวางมหาเมตตากรุณา ย่อหย่อนในหิริโอตตัปปะ ทำลายกุศลกรรมผู้อื่น มากด้วยโมหะ และขาดกำลังผู้อื่นช่วย

เฉพาะในข้อหลังนี้ ตัวอย่างคือ ในกรณีของกามนิต ซึ่งหมดบุญและเกือบจะตกสวรรค์อยู่แล้ว แต่มีวาสิฏฐีเป็นผู้ช่วย ทำให้ได้หลุดพ้น จากวัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดได้อุบัติตนในสวรรค์สูงขึ้นไปและเห็นแจ้งในพุทธธรรมได้ในที่สุด (โปรดดูวาสิฏฐีภาคสวรรค์ ซึ่งเป็นคำอธิบาย ของ เค.จี. ตามคติมหายานได้ชัดแจ้งและงดงามยิ่ง)

อย่างไรก็ดี ในมิติของปรัชญาสุขาวดีมิได้อยู่ไกลแสนไกลในมหาสากลจักรวาล และมิได้อยู่ในนิมิตใด ๆ เลย แต่อยู่ใกล้แสนใกล้ในจิตมนุษย์นี่เองหากไม่มีอวิชชามาบดบังไว้


อ่านเพิ่มเติม :-

   • ตามรอยนักเขียนนิยายรักใคร่อิงพุทธมหายาน สู่ “กุสินารา” เมืองที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
   • นิยามความรักสีดำของ “วาสิฏฐี” นางเอกหัวก้าวหน้าในนวนิยายอิงพระพุทธศาสนา





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2556
ผู้เขียน : ส.สีมา
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 27 พฤษภาคม 2564
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_68025
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:46:41 am
.



ทำความเข้าใจใหม่ “แดนสุขาวดี” ความรู้-ความเชื่อ-ความหมาย

หลังงานเสวนาเรื่อง “สุขาวดีที่ไม่รู้จัก” ที่สถาบันวัชรสิทธา ผมเหมือนได้ทั้งฟังความรู้อันไม่เคยรู้ และได้ฟังธรรมที่ไม่เคยฟัง แม้จะทำหน้าที่ผู้ร่วมเสวนาด้วย แต่ก็เหมือนได้กลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง ทั้งนี้ก็ด้วยความรู้และประสบการณ์ทางธรรมของคนที่เข้าใจสุขาวดีอย่างอาจารย์ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้รู้ทั้งทางศาสนาและศิลปะอันเยี่ยมยอด อยากจะขอขอบคุณกัลยาณมิตรผู้นี้ด้วยศีรษะและใจที่ก้มลงบูชาหลายต่อหลายครั้ง

อาจารย์ศุภโชค หรือผมเรียกอย่างสนิทสนมว่า “พี่ดอน” เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสุขาวดีด้วยตนเอง จนได้มีโอกาสพบนักบวชในนิกายนั้นๆ บ้าง จึงผสานเอาคำสอนและประสบการณ์มาเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางฝึกฝนของตน ที่สำคัญ คนเปี่ยมศรัทธาพูดออกมาจากใจด้วยศรัทธา ฟังแล้วก็ขนลุกขนพองละครับ

ผมจึงอยากเก็บเอาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจากงานวันนั้นมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านบ้าง เป็นบุปผามาลาบูชาคนสอนและมอบเป็นสินน้ำใจตัวหนังสือ ถ้ามีส่วนผิดอันนั้นย่อมเพราะความหลงลืมของผม ถ้ามีส่วนดีย่อมเป็นของท่านผู้สอนมิพักต้องสงสัย


@@@@@@@

นิกายสุขาวดี ที่จริงควรเรียกว่า นิกาย “วิสุทธิภูมิ” (pureland) จะตรงมากกว่า น่าสนใจว่า นิกายนี้เป็นผลผลิตของจีน มิใช่อินเดีย แม้จะมีรากอยู่ในอินเดียก็ตาม เช่นเดียวกับนิกายฉาน หรือนิกายเซนนั่นแล

เหตุที่เรียกว่าวิสุทธิภูมิ เพราะหมายมุ่งไปยัง “พุทธเกษตร” ของพระพุทธะอันมีนามว่าอมิตาภะ ซึ่งเป็นแดนพิสุทธิ์ สัตว์ใดไปเกิดที่นั่น ย่อมได้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายเป็นแน่

จีนกับอินเดียนั้น ในทางวัฒนธรรมและนิสัยใจคอต่างกันราวน้ำกับน้ำมัน ชาวจีนมีนิสัยเป็นนักปฏิบัติ ส่วนชาวอินเดียนั้นชอบทฤษฎี ปรัชญาของอินเดียจึงเต็มไปด้วยความซับซ้อนด้านอภิปรัชญาและเหตุผลอีนุงตุงนัง คล้ายกับปรัชญาตะวันตก

มิใช่ปรัชญาจีนจะไม่ซับซ้อน ทว่าไม่มุ่งเน้นการอธิบายความยืดยาวหรือแสดงความคิดด้านอภิปรัชญาหรือความจริงสูงสุดอะไรมากมาย แต่เน้นความคิดที่เรียบง่าย มีความชัดเจนในตัวเอง

ดังนั้น สิ่งที่อินเดียทะลวงเข้าไปในแผ่นดินจีนได้คือ “พุทธศาสนา” จึงถูกทำให้มีความเป็นจีนเสีย โดยลดความยุ่งยากในทางทฤษฎีหรืออภิปรัชญาลง และมีลักษณะในเชิงปฏิบัติมากขึ้น

มีผู้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของนิกายเซนหรือฉานไว้มากแล้ว ส่วนสุขาวดีนั้นยังไม่มากพอ ทั้งที่ทั้งสองนั้นเคียงคู่กันมา

@@@@@@@

นิกายสุขาวดีหรือวิสุทธิภูมิไม่มีในอินเดีย และมีพระสูตรหลงเหลืออยู่เพียงสามพระสูตรสำคัญ โดยเข้าใจว่าต้นฉบับภาษาสันสกฤตก็ได้หายไปหมดแล้ว คือ พระมหาสุขาวดีวยูหสูตร พระจุลสุขาวดีวยูหสูตร และพระอมิตยุสธยานสูตร

พระสูตรเหล่านี้ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท แต่นั่นก็มิใช่ปัญหาของชาวมหายาน เพราะเขาถือว่า พระพุทธองค์อาจเทศนาในวาระต่างๆ กันไป และถึงจะบอกว่ามีคณาจารย์ในยุคหลังแต่งขึ้นก็ไม่ใช่ปัญหาอีก เพราะคณาจารย์เหล่านั้นก็เป็นพระนิรมาณกายของพระพุทธองค์ต่างๆ นั่นแหละ โดยคุณภาพจึงไม่ต่างกัน

ทั้งนี้ นิกายวิสุทธิภูมิได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ที่พุทธศาสนาแบบจีนไปถึง เช่น เกาหลีและญี่ปุ่น ทั้งในแง่ที่เป็นตัวนิกายเอง หรือหลักคำสอนต่างๆ หลักปฏิบัติที่ไปผสมผสานอยู่ในนิกายอื่นๆ

ที่น่าสนใจคือ เมื่อไปถึงญี่ปุ่นแล้ว ก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยคณาจารย์ของญี่ปุ่นเอง เกิดเป็นนิกายโจโด (วิสุทธิภูมิ) และโจโดชิน (วิสุทธิภูมิแท้) นิกายโจโดชินนี่เองที่เป็นนิกายที่มีประชาชนนับถือมากที่สุด โดยท่านชินรัน คณาจารย์ต้นนิกาย ผู้เป็นศิษย์ของโฮเนน

นักวิชาการมักจะบอกว่า เพราะมันง่าย แค่สวดถึงพระอมิตาภะแค่สิบคาบ ก็ไปบังเกิดในสุขาวดีได้แล้ว ไม่ยากเลย ใครๆ ก็เลยนิยม โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่รู้หนังสือ ทว่าความง่ายของคำสอนนี่แหละที่ทำให้คณาจารย์เช่นท่านชินรัน ต้องเขียนหนังสือจำนวนมากตลอดชีวิตของท่านเพื่ออธิบายคำสอนเหล่านี้

@@@@@@@

ชาววิสุทธิภูมินั้นแตกต่างกับพุทธศาสนาโดยทั่วไปคือเชื่อใน “อำนาจภายนอก” ซึ่งโดยปกติแล้วเราก็เข้าใจว่าพุทธศาสนาปฏิเสธอำนาจภายนอก แต่ให้กลับมาสู่ความเชื่อมั่นในอำนาจของตนเอง ที่จะพาตนเองพ้นกิเลสได้ อำนาจภายนอกที่ว่า นี้คืออำนาจของพระอมิตาภะพุทธเจ้า ที่จะฉุดช่วยสรรพสัตว์ไปยังวิสุทธิภูมิของพระองค์

หลักศรัทธาของสุขาวดีจึงเริ่มต้นด้วยการเชื่อในอำนาจของพระอมิตาภะและมั่นใจว่า พระองค์ย่อมจะฉุดช่วย “ปุถุชน” อย่างเราแน่ๆ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่อาจเชื่อมั่นในอำนาจอะไรของ “ตัวตน” ของเราได้ ในนิกายโจโดชินจึงสอนว่า แม้แต่การปฏิบัติการสวด “นะโม อมิตพุทธ” (ภาษาญี่ปุ่นว่า นำโม อมิดาบุตสึ) ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเดียวที่ง่ายที่สุดนั้น ก็ไม่เกี่ยวกับจำนวนมากน้อยหรือมุ่งมั่นแค่ไหน

เพราะหากเราคิดว่า การสวดของเราดีถึงขนาด และสวดมากจนพระอมิตาภะพึงพอใจ เพื่อที่เราจะถูกรับไปยังสุขาวดีแล้วไซร้ นั่นเท่ากับว่า เราไม่ได้เชื่อมั่นในอำนาจของพระอมิตาภะอย่างแท้จริง แต่เชื่อในพลังอำนาจการสวดหรือการปฏิบัติของตัวเราเอง

ท่านชินรันเห็นว่า การสวดนะโมอมิตพุทธ (อาจารย์ดอนท่านว่า ที่ไม่สวดว่า นะโม อมิตาภพุทธะนั้น ก็เพราะคำ อมิต รวมความทั้งพระอมิตาภะ และพระอมิตายุส ซึ่งเป็นพระนามทั้งสองของพระพุทธเจ้าองค์นั้น) เป็นเพียงการสรรเสริญพระปณิธานของพระองค์ ไม่ได้มีอำนาจวิเศษ หรือยิ่งสวดยิ่งขลังอะไรแบบนั้นเลย ก็เพราะไม่ว่าเราจะสวดมากน้อยแค่ไหน เราจะชั่วดีอย่างไร พระอมิตาภะย่อมนำเราไปสุขาวดีแน่ๆ

กระนั้นก็มิได้แปลว่า เราควรกระทำชั่วอย่างสบายใจ แล้วรอเข้าสุขาวดี (แม้ในพระสูตรจะรับว่าคนชั่วก็เข้าสุขาวดีได้) เพราะเมื่อไปยังสุขาวดีแล้วคนทำกรรมมากต้องใช้เวลายาวนานถึง 12 กัป กว่าดอกบัวที่บรรจุตนเองจะบานเพื่อรับธรรมจากพระอมิตาภะแล้วตรัสรู้ในที่นั้น

@@@@@@@

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ท่านว่า สุขาวดีเปรียบดังโรงแรมระหว่างไปนิพพาน คือเป็นสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมดี ช่วยให้ “ทุกคน” ที่ไปถึงยังที่นั่นได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจนหมดสิ้น

นิกายนี้จึงไม่รังเกียจคนชั่ว คนต่ำต้อย ถึงกับมีคำกล่าวที่ชวนฉงนว่า “ก็คนชั่วยังเข้าในสุขาวดีได้ ไฉนคนดีจะเข้าในสุขาวดีไม่ได้” กล่าวคือ ปกติเรามักจะให้เกียรติคนดีก่อน แต่ในสุขาวดี ขนาดคนไม่ดีแค่ไหนยังไปได้ พวกคนดีก็ไม่ต้องเสียใจ ก็ย่อมไปได้แน่

พุทธศาสนาแบบสุขาวดีไม่ต้องห่วงคนดีมาก เพราะพวกนี้มีที่ไปอยู่แล้ว แต่พุทธแบบสุขาวดีห่วงหาอาทรคนชั่วหรือคนที่รู้ตัวว่าบกพร่องต่างหาก

ท่านชินรันผู้ก่อตั้งนิกายมักกล่าวเมื่อมีคนถามว่า ท่านจะได้ไปยังสุขาวดีไหม ท่านตอบว่า “ที่ที่ฉันจะไปน่าจะเป็นนรกมากกว่า” นั่นคือ ท่านแสดงถึงความบกพร่องที่ท่านมีอยู่ในใจเสมอ

แต่นั่นแหละครับ เอาเข้าจริงสุขาวดีแม้จะสุขสบาย แต่เป้าหมายไม่ได้หยุดแค่นั้น การไปสุขาวดี คือการรับเอาปณิธานว่า จะบรรลุเป็นพระพุทธะ เพื่อออกไปฉุดช่วยสรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่นๆ ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

นี่เป็นมโนทัศน์ธรรม พื้นฐานของความเป็น “มหายาน” นั่นเอง


@@@@@@@

เมื่อท่านโฮเนนและท่านชินรันมรณภาพ (ไปบังเกิดในสุขาวดีแล้ว) สานุศิษย์จึงเชื่อว่า ที่จริงทั้งสองท่านก็คือ นิรมาณกายของพระอมิตาภะหรือพระพุทธะในแดนนั้นกลับมายังโลกของเรา เพื่อสั่งสอน ฉุดช่วยสรรพสัตว์ต่อไปอีก

ที่จริงคำสอนสุขาวดีนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ตีความได้มากหลาย บางท่านจึงกล่าวว่า ที่จริงแล้ว พระอมิตาภะคือตัวเราแต่ละคนนี่เอง จึงมีคำกล่าวว่า ใจของเรากับใจของพระอมิตาภะไม่ต่างกัน หากเรามีความรักความกรุณา เราก็คือพระอมิตาภะ และโลกของเราก็ย่อมเป็นวิสุทธิภูมิไปด้วย

ดังนี้แล้ว นิกายนี้จึงควรค่าแก่การศึกษา ค้นคว้า และหาความหมายอย่างยิ่ง มิได้เป็นแค่ “ความงมงาย” หรือ “จุดเสื่อม” ของพุทธศาสนา อย่างที่เคยกล่าวกัน





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10-16 สิงหาคม 2561
คอลัมน์ : ผี-พราหมณ์-พุทธ
ผู้เขียน : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2561
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_126179
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:34:17 am
.


ท่องแดนสุขาวดี(พุทธเกษตร)...ไปกับพุทธญาณ

ชื่อสวรรค์ชั้นสุขาวดี อาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยนักกับชาวพุทธเถรวาท แต่ชื่อนี้จะคุ้นเคยกันดีในหมู่พุทธมหายานหรือทาง ศาสนาเต๋า ในทางพุทธศาสนาแบบเถรวาท จะจัดชั้นของสุขคติภูมิ ออกเป็นภูมิมนุษย์, สวรรค์ 6 ชั้น, พรหม 16 ชั้น และอรูปพรหมอีก 4 ชั้น พวกเราจึงคุ้นเคยกันเพียงว่า สวรรค์ จะหมายถึง 6 ชั้น ซึ่งเป็นกามาวจรกุศล

ความจริงภูมิต่างๆ ที่แบ่งกันแบบที่เรารู้จักกันดีที่ว่านี้ เป็นเพียงภูมิหลักๆ เท่านั้น ในโลกของวิญญาณมีภูมิย่อยละเอียดอีกมาก มาย ตามกลุ่มประเภทหรือวาสนาบารมีของสัตว์โลกที่สั่งสมกันมากรรมดี-กรรมชั่ว ของสัตว์โลกจะจำแนกสัตว์โลกเป็นกลุ่มๆ พวกๆ ตามกรรมของพวกเขาเองกรรมแบบเดียวกันจะเป็นกลุ่มพวกเดียวกันไปเอง




ในทางพุทธมหายานแบบจีน ซึ่งผสมผสานกับแนวของเต๋า เขาจะเรียกสุขคติภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ขึ้นไปทั้งหมดว่า สวรรค์ ดังนั้น คำว่า สวรรค์ของเขาจึงกินความกว้างเทียบกับที่เราคุ้นเคย ตั้งแต่ระดับของภูมิของภุมมะเทวดา หรือจาตุมหาราชิกาไปจนถึง นิพพาน ซึ่งเขา แบ่งกลุ่มระดับเป็น 4 ระดับ คือ
     1. ระดับล่าง
     2. ระดับกลาง
     3. ระดับสูง
     4. ระดับสุขาวดี




ถ้าสูงกว่านั้นคือ นิพพาน ทางฝ่ายมหายานและเต๋าเชื่อว่า ในระดับสุขาวดีนั้นผู้ที่ไปอุบัติขึ้น ได้ในชั้นนี้จะสามารถบำเพ็ญธรรมต่อไปชั้นสุขาวดีนี้ จนบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ เข้าสู่นิพพานไปเลย ได้โดยไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก แต่ตอนที่ยังอยู่ในดินแดนสุขาวดีนี้อาจจะลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ได้ ถ้าปรารถนาจะเกิดเอง ซึ่งถ้ากลับมาเกิดก็เป็นการเข้าสู่วัฏจักรเดิม การได้เกิดชั้นสุขาวดีจึงอาจถือว่าพ้นการเวียนว่ายตายเกิดก็ได้ (ถ้าไม่ปรารถนาจะลงมาเกิดอีก) แต่ยังต้องบำเพ็ญธรรมเพื่อ ความหลุดพ้นเข้านิพพานอยู่



ดังนั้นในระดับสุขาวดี จึงเป็นที่ปรารถนาจะไปเกิดกันอย่างยิ่งในหมู่ชาวพุทธมหายานและศาสนิกชนเต๋า โดยผู้ได้ไปเกิดในระดับสุขาวดีนี้อาจจะยังไม่สามารถบรรลุผลใดๆ เลยก็ได้เพียงแต่ต้องสั่งสมบุญให้เพียงพอ ไม่เหมือนกับแดนพรหมชั้นสุทธาวาส ที่ผู้ไปเกิดในแดนระดับนี้จะบรรลุมรรคผลเข้านิพพานได้ในชั้นสุทธาวาสนี้ไม่ต้องกลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกเช่นกัน แต่ผู้จะไปเกิดในชั้นสุธาวาสได้ จะต้องบรรลุธรรมถึงระดับเป็นพระอนาคามีบุคคลเสียก่อน

การไปเกิดในสุทธาวาสจึงยากมาก ไม่เหมือนในสุขาวดีที่ไม่ต้องบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีก่อนก็ได้ ในสวรรค์ชั้นสุขาวดีนั้น จะเป็นแดนที่ประทับของพระโพธิสัตว์ ต่างๆ (ทางมหายาน) เช่น พระกวนอิม พระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์ เป็นต้น หรือผู้ที่ปฏิบัติในแนวทางโพธิสัตว์ที่บรรลโพธิสัตว์ภูมิ(ตามคติมหายาน) แม้บารมีมีเต็มแต่ยังไม่ยอมเข้านิพพาน ยังคอยโปรดสัตว์โลกอยู่ รวมทั้งเทพเจ้าทั้งหลายที่บำเพ็ญบรรลุธรรมตามแนวทางของเต๋า (ซึ่งทางจีนจะเรียกว่าเป็น วิสุทธิเทพ) ท่านเหล่านี้ยังคอยโปรดสัตว์โลกอยู่เช่นกัน




นอกจากนี้ในระดับสุขาวดีนี้ เป็นระดับที่มีพุทธเกษตรต่างๆ อยู่มากมาย พุทธเกษตร หมายถึง แดนที่มีพระพุทธเจ้า(พระฌานีพุทธเจ้า) ประทับเป็นประธาน (หรือผู้ปกครองแดน) อยู่ ที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่ปรารถนาจะได้ไปเกิดกันมากใน หมู่ชาวพุทธมหายานก็คือ สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะพุทธเจ้า

การบำเพ็ญบุญปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมบารมีให้เพียงพอ และการผูกจิตมั่นต่อแดนนี้ (เช่นการภาวนาถึงพระนามของพระอมิตาภะ) จะสามารถทำให้ไปเกิดในแดนนี้ได้ ซึ่งจะได้มีโอกาสฟังธรรม จากพระพุทธเจ้า และปฏิบัติธรรม จนบรรลุมรรคผลเข้านิพพานพ้นทุกข์โดยเด็ดขาดได้ต่อไป และสภาพเป็นอยู่จะเป็นสุขตลอดไม่มีความยากลำบากเลย เพราะเป็นสุขคติภูมิ

ถึงแม้ว่าจะบรรลุมรรคผลเข้านิพพานได้ อาจกินเวลานานนับเป็นเวลาหลายๆ กัลป์ แต่ก็เป็นสุขตลอดกาลนั้น ไม่เหมือนการเกิดมาเป็นมนุษย์บำเพ็ญปฏิบัติ แม้ว่าอาจบรรลุถึงธรรมถึงนิพพานได้เร็ว แต่ก็ทุกข์ยากและเสี่ยงกับการพลาดพลั้งต้องไปเกิดในทุคติวินิบาตนรก ซึ่งจะยิ่งทำให้ล่าช้า และทุกข์มหันต์อย่างยิ่ง

สุขาวดีพุทธเกษตร จึงเป็นแดนบรมสุขแดนหนึ่งที่น่าไปหวังไว้อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่อาจจะปฏิบัติธรรมจนบรรลุมรรคผลได้ใน ชาติปัจจุบัน






ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=135937
4  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:31:56 am
.


พุทธเกษตร คือ อะไร

ชาวมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ มีเป็นจำนวนมากมายในจักรวาลนี้ พระองค์เสด็จมาอุบัติเพื่อสั่งสอนธรรมอยู่ทั่วไปนับจำนวนไม่ถ้วน แม้ในโลกธาตุของเราจะว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าแต่โลกธาตุอื่น ๆ ก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ กำลังสั่งสอนสัตว์โลก โลกธาตุที่พระพุทธเจ้ามาอุบัติเรียกว่า “ พุทธเกษตร ” ซึ่งมีหลายแห่ง เช่น

     - พุทธเกษตรของพระพุทธไภสัชชคุรุไวฑูรย์ประภาราชา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของโลกธาตุ
     - พุทธเกษตรของพระพุทธอักโฆภยะ มณฑลเกษตรของพระเมตไตรย โพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์ และ
     - สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโลกธาตุ เป็นพุทธเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของชาวมหายานเป็นส่วนมาก

     สุขาวดีพุทธเกษตรห่างจากโลกธาตุนี้แสนโกฏิ ผู้ไปอุบัติในพุทธเกษตรนั้นล้วนเป็นอุปปาติกะเกิดขึ้นในดอกบัว ไม่มีทุกข์โศก โรคภัย มีอายุอันนับประมาณมิได้ เป็นแดนเสมือนที่พักระหว่าง สังสารวัฏฏ์กับพระนิรวาณ ผู้ไปอุบัติในที่แห่งนี้ล้วนเป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน แต่ถ้ายังมีกิเลส ติดจากโลกอื่นไปก็จะได้รับการอบรมตัดกิเลสกัน ณ ที่แห่งนี้






การที่ชาวมหายานสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตร อาจเป็นเพราะต้องการปลอบใจมหาชนที่ยังอยากมีชีวิตสุขสบาย ไม่ต้องการบรรลุนิพพาน คนส่วนมากคิดว่า การบรรลุนิพพานเป็นการยากยิ่งจึงต้องสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตรขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของคนบางกลุ่มที่ยังรักความสะดวกสบาย ทำให้เกิดการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตรเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ และแล้วก็จะบรรลุนิพพานได้โดยสะดวกไปเอง

ซึ่งต่างจากพวกเถรวาท แม้จะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายองค์ มีโลกธาตุอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากโลกธาตุเรานี้ แต่ไม่ได้สอนให้มีการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตร การบรรลุหลุดพ้นของเถรวาทจึงเป็นไปอย่างรีบเร่งโดยไม่จำเป็นต้องรอไปถึงพุทธภูมิ เพราะต้องใช้เวลาอีกยาวนานแสนไกลกว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ ชาวเถรวาทส่วนมากจึงมุ่งเพียงอรหันตภูมิยาน



        ภายในวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธของวัดเล่งเน่ยยี่2 มีพระประธานอยู่ ๓ องค์ แต่ไม่ได้ติดป้ายพระนามเอาไว้ จากการหาข้อมูลจากวัดเล่งเน่ยยี่2 พออนุมานได้ว่า องค์กลางคือพระอมิตาภพุทธเจ้า องค์ที่เหลือเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา คือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสถามปราปต์โพธิสัตว์ สรุปก็คือ ที่นี่เป็นสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ..(ผู้โพสต์)


อ้างอิง
http://community.buddhayan.com/index.php?topic=2.msg2
http://www.buddhayan.com/?p=article&content_id=40
http://www.mahayana.in.th/tmayana/sukhavati.html
http://anamnikay.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=40
ข้อมูลพระพุทธเจ้า ในทัศนะมหายานเพิ่มเติมที่
http://www.mahaparamita.com/Misc/BuddhaInMahayana.pdf
http://www.buddhist.saiyaithai.org
ที่มา : http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana14.htm
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:30:02 am
.


สุขาวดี

ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (สันสกฤต: सुखावती สุขาวตี) คือ พุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป




ความเชื่อ

ในอมิตาภสูตรซึ่งเป็นพระสูตรมหายาน (ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี) ได้พรรณนาลักษณะของสุขาวดีพุทธเกษตรไว้ว่า เป็นดินแดนที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจบารมีของพระอมิตาภพุทธะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตย้อนไปก่อนหน้าพระโคตมพุทธเจ้าไป 10 กัป ที่ได้ชื่อว่าสุขาวดีก็เพราะผู้อยู่ในดินแดนนี้ย่อมไม่มีความทุกข์เลย แต่เสวยสุขอยู่เสมอ สุขาวดีเป็นดินแดนที่สวยงามและสุขสบาย กล่าวคือ มีล้อมรอบด้วยภูเขาแก้ว กำแพงแก้ว มีสระโบกขรณีที่ประดับด้วยแก้วมณี มีดนตรีทิพย์บรรเลงอยู่เสมอ มีนกร้องออกมาเป็นเสียงธรรมเทศนา บรรยากาศต่าง ๆ นี้ทำให้ผู้อาศัยเกิดพุทธาสุสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ และตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพานในดินแดนแห่งนี้

ส่วนอมิตายุรัธยานสูตรระบุว่า ผู้ไปเกิดในแดนสุขาวดีแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือผู้ศรัทธาในมหายาน สาวกยาน และพวกมิจฉาทิฏฐิ แต่ละชั้นยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับ จึงรวมทั้งสิ้นมี 9 ระดับ ผู้เกิดในระดับสูงจะใช้เวลาบำเพ็ญบารมีต่ออีกไม่นานก็จะได้บรลุธรรม ส่วนระดับต่ำลงไปก็จะใช้เวลนานขึ้นตามลำดับ โดยชั้นต่ำสุดจะใช้เวลา 12 กัปจึงจะบรรลุธรรม





ask1 ans1 ask1 ans1

ภาพประกอบทั้งหมดเป็น "วิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ" ของวัดเล่งเน่ยยี่2 เป็นที่ประดิษฐานพระอมิตาภพุทธเจ้า ซึ่งเป็นองค์ประธาน มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา รวมถึงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธเจ้าหมื่นพระองค์ เป็นสัญญลักษณ์ว่า พระพุทธเจ้านั้น ได้อุบัติขึ้นมีจำนวนมากมาย เหมือนดั่งเม็ดทรายที่อยู่ในคงคามหานที วิหารสุขาวดีหมื่นพุทธยังเป็นที่นั่งวิปัสสนาและปฏิบัติธรรมของภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป



การตีความ

แต่เดิมนิกายสุขาวดีถือว่า สุขาวดีเป็นพุทธเกษตรที่ดำรงอยู่จริง ๆ ทางกายภาพ และมีลักษณะดังที่พระสูตรได้อธิบายไว้ ต่อมามีการผสมผสานความเชื่อของนิกายนี้เข้ากับนิกายเซน ทำให้แนวคิดสุขาวดีถูกอธิบายในเชิงธรรมาธิษฐานว่า แท้จริงแล้วสุขาวดีเป็นเพียงแดนที่ถูกสมมติขึ้น เพื่อเป็นอุบายให้พุทธศาสนิกชนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจว่า การหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ใช่เรื่องยากลำบากเกินไป

การระลึกถึงพระอมิตาภะและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ในสุขาวดีก็เพื่อเป็นอุบายให้นักปฏิบัติปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตน พระอมิตาภะแท้จริงหมายถึง ธรรมชาติพุทธะที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนอยู่แล้ว การระลึกถึงพระอมิตาภะก็เพื่อน้อมนำจิตของผู้นั้นให้กลับก้าวไปสู่ความเป็นพุทธะต่อไป และแดนบริสุทธิ์สุขาวดีถูกตีความใหม่เป็นภาวะที่จิตที่บริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วในจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย การปฏิบัติต่าง ๆ จึงทำเพื่อน้อมจิตให้กลับไปสู่สภาพบริสุทธิ์ดั้งเดิม การสวดพระนามพระอมิตาภะกลายเป็นการปฏิบัติสมาธิรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการรักษาศีลและศึกษาพระธรรม




การประดับผนังวิหารด้วยพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยใช้คำว่า "หมื่นพุทธ" แทนพระพุทธเจ้าจำนวนดังกล่าว 
เพื่อสื่อถึงคติของมหายานที่ว่า "พระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นมีจำนวนมากมาย เหมือนดั่งเม็ดทรายที่อยู่ในคงคามหานที"
และยังกำหนดให้อาณาเขตของพระพุทธเจ้าจำนวนนับหมื่นนั้นเป็น "พุทธเกษร"


ลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรมมีความเชื่อเกี่ยวกับสุขาวดีต่างจากพระพุทธศาสนา ในพระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ (จีน: 皇母訓子十誡‏) ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มหนึ่งของลัทธิอนุตตรธรรมระบุว่า สุขาวดีคือนิพพาน เรียกอีกอย่างว่าอนุตตรภูมิ (จีน: 理天 หลี่เทียน) เป็นที่ประทับของพระแม่องค์ธรรม พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง และให้กำเนิดจิตจำนวน 9,600,000,000 ดวง สุขาวดีจึงเป็นต้นกำเนิดของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

พระแม่และดวงจิตทั้งหมดได้เสวยสุขร่วมกันบนสุขาวดีเป็นเวลานาน จนเมื่อพระแม่สร้างโลกขึ้นจึงส่งดวงจิตทั้งหมดลงมาเกิดบนโลก เพื่อใหช่วยกันพัฒนาโลกให้เจริญขึ้น แต่สรรพสัตว์กลับหลงลืมธรรมชาติบริสุทธิ์ดั้งเดิมของตน จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปและไม่สามารถกลับสู่สุขาวดีได้ พระแม่องค์ธรรมจึงต้องส่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเซียนทั้งหลาย ลงมาชี้แนะมนุษย์และนำพาเวไนยสัตว์กลับสู่นิพพานคือสุขาวดีซึ่งเป็นบ้านเดิมต่อไป



ภาพประกอบชุดนี้ยังเป็นวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ

ภาพนี้ถ่ายจากวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ(ชั้น ๔) วิหารที่เห็นคือ พระอุโบสถ




ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/สุขาวดี

อ้างอิง
1. อมิตาพุทธสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
2. อมิตายุรัธยานสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
3. เสถียร โพธินันทะ, ปรัชญามหายาน, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548, หน้า168-170
4. สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, กรุงเทพฯ:ศยาม, 2546, หน้า 236-248
5. พระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ : ข้อหนึ่ง
6. The Organization and Ideologies of the White Lotus Sects
6  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 09:44:22 am
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


ทรรศนะของแดนสุขาวดีที่ปรากฏในพระสูตรนิกายสุขาวดี

คัมภีร์หลักของนิกายสุขาวดีมีอยู่ 4 คัมภีร์ คือ สุขาวตีวยูหสูตรจุลสุขาวตีวยูหสูตร อมิตา-ยุรธยานสูตร และอมิตายุสูโตรปเทศ คัมภีร์ที่กล่าวบรรยายถึงลักษณะของแดนสุขาวดีอย่างละเอียด คือ คัมภีร์สุขาวตีวยู-หสูตร ส่วนคัมภีร์อื่นเป็นการอธิบายถึงวิธีการไปเกิดยังสุขาวดี คัมภีร์สุขาวตี-วยูหสูตรประกอบไปด้วย 47 บท บทที่บรรยายภาพลักษณ์ของแดนสุขาวดี

คือ บทที่ 15–25 จึงทำให้รู้ว่าแดนสุขาวดีคือแดนในฝัน แตกต่างกับโลกของเราอย่างยิ่ง มีในสิ่งที่โลกเราไม่มี เนรมิตทุกอย่างได้ดั่งใจ ไม่มีคนชั่วมีแต่สิ่งดีงาม ส่วนผู้ที่ทำบาปจากโลกของเรา หากปรารถนาอยากมาเกิดยังแดนสุขาวดี เมื่อได้มาเกิดแล้ว ก็ต้องมาบำเพ็ญตนอยู่ในดอกบัวบนดินแดนนี้เสียก่อน จนกว่าจะหมดสิ้นจากบาปของตนซึ่งต้องใช้เวลานานหลายกัลป์ ข้อความที่บรรยายภาพลักษณ์อันวิจิตรพิสดารของแดนสุขาวดีโลกธาตุในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรนั้น เป็นการบอกกล่าวของพระศากยมุนี-พุทธเจ้าตรัสต่อพระอานนท์เถระ ดังข้อความที่ยกตัวอย่าง ดังนี้

    "ดูก่อน อานนท์.! อีกทั้ง โลกธาตุที่ชื่อว่าสุขาวดีของพระผู้มีพระภาคอมิตาภะนั้น มีฤทธิ์ กว้างขวาง เกษมสุข อุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์ เต็มไปด้วยเทวดาและมนุษย์มากมาย | ดูก่อน อานนท์.! และในโลกธาตุนั้นก็ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีเปรตวิษัย ไม่มีอสุรกาย ไม่มีการเกิดในเวลาที่ไม่เหมาะสม | รัตนะทั้งหลายเหล่าใดที่มีอยู่ในสุขาวดีโลกธาตุ รัตนะทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่มีทั่วไปในโลกเลย" || 15 ||

     "อีกอย่างหนึ่ง อานนท์.! เขาเล่าว่าในสุขาวดีโลกธาตุนั้น เมื่อถึงฤดูกาล เมฆฝนที่มีกลิ่นหอมเป็นทิพย์ก็ตกลงมาโดยทั่ว ดอกไม้ทั้งหลายที่มีสีทุกอย่างเป็นทิพย์ รัตนะทั้ง 7 ประการที่เป็นทิพย์ ผงจันทร์ที่เป็นทิพย์ ฉัตร ธง และริ้วธงที่เป็นทิพย์ก็พากันตกลงมาโดยทั่ว | ดอกไม้ที่มีสีทั้งปวงเป็นทิพย์ย่อมปรากฏขึ้นเป็นเพดานทิพย์ ฉัตรแก้วที่เป็นทิพย์ย่อมปรากฏขึ้นเป็นเครื่องอาภรณ์ทั้งปวงในอากาศ เครื่องดนตรีที่เป็นทิพย์ย่อมบรรเลงขึ้น และนางอัปสรที่เป็นทิพย์ก็ย่อมร่ายรำขึ้นมา" || 23 ||(18-)

เมื่อผู้อ่านได้ศึกษาเนื้อหาในคัมภีร์ทั้งเล่ม ก็จะทำให้เข้าใจถึงแนวคิดของดินแดนสุขาวดีจากผู้รจนาคัมภีร์มหายานในยุคนี้ แนวคิดที่ว่าพระพุทธเจ้าประจำตำแหน่งต่างๆ ของโลกธาตุของตน คอยอยู่เพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ พระองค์มีญาณวิเศษที่สามารถติดต่อพระพุทธเจ้าจากโลกธาตุอื่นได้ ทำให้เรารู้ว่าแนวคิดนี้ไม่เพียงแต่จะบ่งบอกถึงลักษณะของแต่ละโลกแต่ละจักรวาลที่มีคุณสมบัติต่างกัน แม้แต่แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมก็ยังมีเกณฑ์ที่ต่างกัน

บทสรุป

ร่องรอยจากประวัติศาสตร์ที่พอจะวิเคราะห์ได้บ้าง คือ จุดกำเนิดศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่มีเทพเจ้าอหุร มาสดา เทพแห่งแสงสว่างและไฟเป็นเทพสูงสุด จนมีผู้วิจัยนำไปเชื่อมโยงกับการส่งอิทธิพลไปสู่พระอมิตาภะแห่งแดนสุขาวดี  ความเชื่อในประเด็นนี้เกิดจากศาสนาโซโรอัสเตอร์กำเนิดจากทางตะวันตก จึงทำให้มีความเชื่อว่าแดนสุขาวดีก็อาจอยู่ทางตะวันตกเช่นกัน

ต่อมาในยุคที่คัมภีร์มหายานเฟื่องฟู แนวคิดพุทธเกษตรเป็นที่กล่าวถึงกันมาก จึงทำให้เข้าใจว่าแดนสุขาวดีเป็นโลกธาตุหรือพุทธเกษตรแห่งหนึ่งในบรรดาหลายแสนล้านโลกธาตุ หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นโลกต่างดาวก็ว่าได้

สุขาวดีโลกธาตุเป็นโลกธาตุที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาโลกธาตุทั้งหมด จากที่เราได้ยินได้ฟังนิยายที่ได้เขียนให้สุขาวดีเป็นชื่อสวรรค์ชั้นหนึ่ง คนทั่วไปอาจเข้าใจว่า สุขาวดีคือ สวรรค์ที่คั่นอยู่ระหว่างโลกมนุษย์กับแดนนิพพาน ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ขาดหลักฐาน ต่อมาในยุคตันตระสุขาวดีแห่งทิศตะวันตกก็ถูกลดบทบาทลง เนื่องจากมีการจัดกลุ่มทิศทางของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมาย








อ้างอิง :-

(18-) ตสฺย ขลุ ปุนรานนฺท ภควโต’ มิตาภสฺย สุขาวตี นาม โลกธาตุรฺฤทฺธา จ สฺผีตา จ เกฺษมา จ สุภิกฺษา จ รมณียา จ พหุเทวมนุษฺยากีรฺณา จ | ตตฺร ขลฺวานนฺท โลกธาเตา น นิรยาะ สนฺติ น ติรฺยคฺโยนิรฺน เปฺรตวิษโย นาสุราะ กายา นากฺษโณปปตฺตยาะ | น จ ตานิ รตฺนานิ โลเก ปฺรจรนฺติ ยานิ สุขาวตฺยำ โลกธาเตา วิทฺยนฺเต || 15 || ตสฺยำ ขลุ ปุนรานนฺท สุขาวตฺยำ โลกธาเตา กาเล ทิวฺยคนฺโธทกเมฆา อภิปฺรวรฺษยนฺติ ทิวฺยานิ สรฺววรฺณิกานิ กุสุมานิ ทิวฺยานิ สปฺตรตฺนานิ ทิวฺยํ จนฺทนจูรฺณํ ทิวฺยาศฺฉตฺรธฺวชป ตากา อภิปฺรวรฺษยนฺติ | ทิวฺยานิ สรฺววรฺณิกานิ กุสุมานิ ทิวฺยานิ วิตานานิ ธฺริยนฺเต ทิวฺยานิ จฺฉตฺรรตฺนานิ สรฺวาภรณานฺยากาเศ ธฺริยนฺเต ทิวฺยานิ วาทฺยานิ ปฺรวาทฺยนฺเต ทิวฺยาศฺจาปฺสรโส นฤตฺยนฺติ || 23 || (คัมภีร์ สขว. บทที่ 15 และ 23)




บรรณานุกรม

ภาษาไทย
- จำลอง สารพัดนึก. ไวยากรณ์สันสกฤตชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548.
- ปกรณ์ กิจมโนมัย. กามนิต-วาสิฏฐี นวนิยายอิงพระพุทธประวัติและหลักธรรม. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2542.
- สุมาลี มหณรงค์ชัย. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2546.

ภาษาอังกฤษ
- Huet, Gérard. Lexique Sanskrit-français à l’usage de glossaire indianiste. Paris-Rocquencourt : inria.fr, 2004.
- Muller,F. Max, Bunyiu Nanjio. SUKHĀVATĪ – VYŪHA Description of SUKHĀVATĪ, The Land of Bliss. Aryan Series, Vol. I – Part II, Amsterdam Oriental Press, 1972.
- Perry, Edward Delavan. A Sanskrit Primer. New York : Columbia University press, 1936.
- Santipriya Mukhopadhyay. Amitãbha and his Family. Delhi : Agam Kala Prakashan, 1985.
- Puri, B.N., Buddhism in Central asia. Delhi : Motilal Banarsidass,1987.
- Eliot, Charles. Hinduism and Buddhism (Vol. III). London : Routledge & Kegan Paul Ltd., 1921.

วารสาร
- พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. “อมิตาภะ” เมืองโบราณ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – ก.ค. 2525).

เวปไซด์
- วิกิพีเดีย. กามนิต . [Online] accessed on 20 July 2011. Available from http://th.wikipedia.org/wiki/
- Wikipedia . Zoroastrianism . [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Zoroastrianism.
- Wikipedia . Ahura Mazda. [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Ahura_Mazda.
- University of Oslo. Buddhist Sanskrit Text. [Online] accessed on 2 April 2011. Available from http://www2.hf.uio.no/polyglotta/index.php
- University of the West. Digital Sanskrit Buddhist Canon. [Online] accessed on 2 April 2011. Available from http://dsbc.uwest.edu/
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 09:11:45 am
 :25: :25: :25:

ทรรศนะของแดนสุขาวดีที่ปรากฏในพระสูตรมหายาน

ทรรศนะของพระสูตรมหายานมีแนวคิดเรื่องของจักรวาลและวิสุทธิภูมิที่สำคัญ คือ เรื่องโลกธาตุและพุทธเกษตร ในจูฬนีสูตรของพระไตรปิฎกเถรวาทระบุถึงขนาดและส่วนประกอบของโลกธาตุและจักรวาลเอาไว้ แต่มิได้ระบุถึงแนวคิดเรื่องพุทธเกษตรเลย เนื่องจากมิได้มีความเชื่อเรื่องนี้

แนวคิดพุทธเกษตรเริ่มปรากฏขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ตามคัมภีร์มหายานต่างๆ ตามความหมายของพุทธเกษตรก็คือ ดินแดนที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ชื่อสุขาวดีเป็นชื่อของพุทธเกษตรและโลกธาตุแห่งหนึ่ง โดยเป็นที่ประทับของพระอมิตาภะ ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ตามแนวความคิดเรื่องพระพุทธเจ้ามากมาย

การจัดทิศทางตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ของพุทธเกษตรแต่ละแห่ง ผู้รจนาคัมภีร์นำเอาโลกที่เราดำรงอยู่นี้เป็นจุดศูนย์กลาง คือ โลกของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งในพระสูตรมหายานให้ชื่อโลกธาตุนี้ว่า “สหาโลกธาตุ” ซึ่งเป็นเพียงโลกธาตุหนึ่งในบรรดาหลายแสนโกฏิโลกธาตุ โลกธาตุของสุขาวดี อยู่ทางทิศตะวันตกของโลกเราระยะทางไกลจากโลกเราถึงหลายแสนโกฏิจักรวาล สุขาวดีโลกธาตุเป็นโลกของพระอมิตาภพุทธเจ้า

  ส่วนโลกธาตุอื่นนั้น เช่น
  อภิรติโลกธาตุเป็นโลกของพระอักโษภย-พุทธเจ้าอยู่ทางทิศตะวันออก
  วิศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุเป็นโลกของพระไภษัชย-คุรุไวฑูรยประภาราชพุทธเจ้าอยู่ทางทิศตะวันออกเช่นกัน
  ไวปูลยโกศลโลกธาตุ เป็นโลกของพระรัตนสัมภวพุทธเจ้าอยู่ทางทิศใต้
  สิทธิกรรมโลกธาตุเป็นโลกของพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าอยู่ทางทิศเหนือ

ชื่อโลกธาตุของพระพุทธเจ้าต่างๆ นั้นมาจากการระบุไว้ในคัมภีร์มหายานหลายเล่ม แต่ละคัมภีร์จะให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ตามนิกายหรือสาวกของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ เช่น ในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรจะบรรยายรายละเอียดของแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะไว้อย่างละเอียด ในคัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา-ราชสูตรก็บรรยายรายละเอียด โลกของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชพุทธ-เจ้าไว้

@@@@@@@

แนวคิดเรื่องของจักรวาลวิทยาตามคติของมหายานนั้น ต่างจากส่วนประกอบของจักรวาลในจูฬนีสูตรของเถรวาท เนื่องจากคุณสมบัติหรือคุณา-ลังการของแต่ละโลกธาตุนั้นต่างกัน พุทธเกษตรหรือโลกธาตุแต่ละแห่งจะสำเร็จได้ด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ จึงเป็นเหตุให้ดินแดนเกษตรแต่ละแห่งนั้นมีคุณสมบัติที่ต่างกัน

ในพระสูตรมหายานโดยทั่วไป ก็จะกล่าวถึงแดนสุขาวดีอย่างเล็กน้อย มิได้ให้ความสำคัญมากเหมือนคัมภีร์ในนิกายของสุขาวดีเอง จึงทำให้รู้ว่าแดนสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตก มิใช่สวรรค์อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่เป็นโลกอีกโลกนึงหรืออาจจะเรียกว่าโลกต่างดาวก็ว่าได้

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพระสูตรมหายานบางเล่มนอกเหนือจากคัมภีร์ของนิกายสุขาวดีที่กล่าวถึงแดนสุขาวดี เช่น ในไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา-ราชสูตรกล่าวบรรยายว่า โลกธาตุของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราช-พุทธเจ้างดงามเทียบเท่าสุขาวดีโลกธาตุ ดังข้อความ

    "พื้นมหาปฐพีทำด้วยแก้วไพฑูรย์ ป้อมปราการ ปราสาทราชวังประตูหน้าต่าง ตาข่ายสายโยงประดับประดา ล้วนแล้วแต่ทำด้วยรัตนะทั้ง 7 ดินแดนนี้งดงามเทียบเท่ากับสุขาวดีโลกธาตุ" |(7-)

การกล่าวถึงแดนสุขาวดีในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตร บ่งบอกถึงทิศตะวันตกของสุขาวดี ดินแดนนี้ไม่มีสตรี มีแต่บุรุษ มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์มีพระอมิตาภะเป็นนาย ดังข้อความ

    "ในทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของโลกธาตุซึ่งกระทำแต่ความสุข มีชื่อว่าสุขาวดี ดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นที่ประทับของพระอมิตาภะนายกะ ผู้เป็นสารถีฝึกสัตว์ทั้งปวง" || 30 ||

     "ไม่มีอิสตรีเพศ ไม่มีเมถุนธรรม โดยประการทั้งปวง ณ ที่นั้น บรรดาพระชินบุตรทั้งหลายอุบัติขึ้นโดยประทับนั่งบนใจกลางดอกบัวอันปราศจากมลทิน" || 31 ||

    "ส่วนพระอมิตาภะนายกะนั้น ประทับนั่งบนสิงหาสนะในใจกลางดอกบัวอันบริสุทธิ์และน่ารื่นรมย์ ทรงส่องแสงโอภาสประดุจพระศาลราช" || 32 || (8-)

ในคัมภีร์การัณฑวยูหสูตรซึ่งเป็นเรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรทั้งเล่มได้กล่าวถึงแดนสุขาวดีเป็นส่วนประกอบบางบท แม้ว่าพระอวโลกิ-เตศวรจะเป็นสาวกของพระอมิตาภะ แต่ก็เป็นพระโพธิสัตว์ที่เด่นและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก พระอวโลกิเตศวรก็ประทับอยู่ ณ แดนสุขาวดีเช่นกัน แต่ในเนื้อหาของคัมภีร์นี้จะเน้นการช่วยเหลือสรรพสัตว์ของพระองค์ให้ไปเกิดยังแดนสุขาวดี ดังความว่า

    "ดูก่อน.! กุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ เป็นอจินไตยย่อมปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างมากมาย | ท่านได้ทำการอบรมพระโพธิสัตว์หลายแสนล้านโกฏิพระองค์ และทำให้สัตว์เหล่านั้นดำรงอยู่ในพระโพธิมรรค | เมื่อดำรงอยู่ในพระโพธิมรรคแล้ว ก็ย่อมไปถึงสุขาวดีโลกธาตุ | แล้วจึงได้สดับพระธรรมในสำนักของพระอมิตาภะตถาคต" || (9-)



ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


แดนสุขาวดีจากร่องรอยทางประวัติศาสตร์

เซอร์ ชาร์ล เอเลียต (Sir Charles Eliot) ผู้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องตำนานของศาสนาในตะวันออกไกลและเอเชียกลาง ได้ค้นหาความเชื่อมโยงกันของศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย(10-) ซึ่งส่งอิทธิพลมาจนเป็นลัทธิที่บูชาอมิตาภะ (Amidist) การเชื่อมโยงนี้เอเลียตได้พยายามอ้างถึงความคล้ายคลึงกันของ เทพที่นับถือบูชาและดินแดนที่เป็นเสมือนสวรรค์แห่งความสุข ชาวโซโรเอสเตอร์นับถือพระเจ้าอาหุรมาสดา(Ahura Mazda) เป็นเทพเจ้าสูงสุด

ประเด็นนี้อาจจะเชื่อมโยงกันทางด้านระบบเสียงในทางภาษาศาสตร์ เนื่องจาก Ahura เป็นภาษาในตระกูลอินโด-อิราเนี่ยน (Indo-Iranian) เป็นคำเดียวกับคำว่า Asura ในภาษาสันสกฤต คำว่า Mazda เป็นภาษาอเวสตะในตระกูลอินโด-อิราเนี่ยนเช่นกัน แปลว่า “ปัญญา” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือคำว่า Medhā (11-)

เทพเจ้าอหุร มาสดา เป็นเทพแห่งแสงสว่าง คือ แสงสว่างแห่งปัญญา และรัศมีแห่งความรุ่งโรจน์ ที่ส่องสว่างไปถึงผู้ที่บูชาพระองค์ ดินแดนสวรรค์ของเทพเจ้าอหุร มาสดานั้น เป็นดินแดนที่บริสุทธิ์ มีเสียงเพลงที่ไพเราะเสนาะหู มีสวนดอกไม้ที่งดงาม(12-) ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เทพเจ้าอหุร มาสดาจะมานำวิญญาณไปสู่แสงสว่างแห่งสวรรค์ของพระองค์

ตำนานของพระพุทธ-ศาสนาในยุคเริ่มแรก สวรรค์ที่เรารู้จักกันดี คือ สวรรค์ชั้นดุสิต แต่สุขาวดีจะแตกต่างออกไปจากพุทธดั้งเดิม เอเลียตได้ค้นคว้าประวัติของพระพุทธ-ศาสนาที่มาจากต่างแดน เขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงร่องรอยการเชื่อมโยงกันระหว่างสุขาวดีกับดินแดนเสากวัสตัน (Saukavastan) ซึ่งเป็นดินแดนศักดิ์-สิทธิ์อยู่ระหว่างเตอร์กิสถาน (Turkestan) และจีน ทั้งสุขาวดี (Sukhāvatī) และเสากวัสตัน (13-)

ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตออกเสียงคล้ายกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดกล้ายืนยันว่า สองดินแดนนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร เสา-กวัสตัน จะใช่ต้นแบบที่ส่งอิทธิพลให้เกิดแนวคิดของสุขาวดีหรือไม่ หรือเป็นแค่เรื่องบังเอิญทางด้านภาษาศาสตร์เท่านั้น แต่ที่แน่นอนต้นกำเนิดศาสนาเก่าแก่นี้มาจากทางตะวันตก ผู้นับถือศรัทธาพระอมิตาภะจึงมีความเชื่อว่า โลกธาตุอันบริสุทธิ์ที่พระองค์สถิตอยู่นั้นอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นทิศที่ผู้บูชาปรารถนาจะไปให้ถึง

ดร.โลเกษ จันทระ (Lokesh Chandra) ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบพุทธศาสนาตันตระที่ได้รับอิทธิพลจากอิหร่าน เขาเสนอว่า การบูชาพระอมิตาภะได้รับความนิยมในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ทรงมาแทนที่พระศากยมุนี การรู้แจ้งทางประวัติศาสตร์มาแทนที่การรู้แจ้งทางปัญญาของแนวคิดเดิม ถือว่าเป็นการพลิกโฉมรูปแบบใหม่ของพระตถาคตพระองค์ใหม่

โดยการเปลี่ยนมานับถือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจใหม่ๆ แทนที่ของเดิมตามกาลเวลาทางประวัติศาสตร์ คือ พระศากยมุนีเปลี่ยนไปเป็นพระอมิตาภะ พระพรหมกลายเป็นพระอวโลกิเตศวร พระอินทร์กลายเป็นมหาสถามปราปตะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเทพเจ้าของโซโรอัสเตอร์ คือ เทพมิถรา (Mithra) เป็นเทพผู้ปกป้อง เทพรัสนุ (Rasnu) เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม และเทพเศฺราสะ (Sraosa) เทพแห่งการเชื่อฟัง ซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นสาวกของเทพเจ้าอหุร มาสดา(14-)

@@@@@@@

ผู้ค้นคว้าวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศาสนา ส่วนใหญ่จะมีความเห็นตรงกันว่ารูปเคารพต่างๆ ในพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าและสาวกมากมายนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามากมายและศาสนาที่มาจากทางตะวันตก แล้วกลายไปเป็นตำนานต่างๆ มากมายในจีน มองโกล ทิเบต และญี่ปุ่นผ่านเส้นทางสายไหม โดยเริ่มจากอาณาจักรเปอร์เซียหรืออิหร่านผ่านมายังแบกเตรีย(Bactria) คาซคาร์(Kashgar) โกฐาน(Khotan) กุจ๊ะ(Kucha) เตอร์ฟัน(Turfan) (15-) ตุนหวง(Dunhuang) และเข้าไปแพร่หลายในจีน

ส่วนเส้นทางสายใต้ อิทธิพลตำนานของพระอมิตาภะนั้น แยกผ่านจากแบกเตรียลงไปยังเมืองตักสิลาและเมืองปุรุษปุระ(Peshawar) เข้าสู่อาณาเขตอินเดีย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากศาสนาดั้งเดิมแข็งแกร่งกว่า(16-) เป็นที่แน่ชัดว่า แนวคิดเรื่องรูปเคารพจากทางอิหร่านหรือแนวคิดของศาสนาปาร์ซีเกิดขึ้นก่อนแนวคิดเรื่องพระอมิตาภะ ความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงกันระหว่างพระธยานิพุทธและเหล่าบริวารโพธิสัตว์ก็ถูกนำมาเปรียบเทียบกับศาสนาโซโรอัสเตอร์

ลัทธิบูชาพระอมิตาภะหรือนิกายสุขาวดีมีผู้คนนับถือมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น แต่ในอินเดียนั้นลัทธินี้ไม่ปรากฏว่าแพร่หลายนัก ในความนิยมเชื่อถือของชาวอินเดีย เนปาลและทิเบต ถือว่าพระอมิตาภะเป็นเทพองค์หนึ่งที่รวมหรือเป็นส่วนประกอบของเทพที่สำคัญองค์อื่นเสียส่วนมาก พระอมิตาภะจึงมีฐานะสภาพเพียงเทพชั้นรองตามคติพุทธมหายานเท่านั้น จะเห็นได้จากรูปเคารพของอมิตาภะที่มีตัวอย่างน้อยมากในศิลปะอินเดีย ผิดกับประเพณีบูชาเทพเคารพองค์อื่นๆ ของพุทธมหายาน อย่างเช่น พระโพธิสัตว์(17-)

คัมภีร์ของพุทธตันตระเริ่มปรากฏขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 พระเถระฝ่ายวัชรยานเริ่มจัดระเบียบตระกูลให้เทพเจ้า พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าที่กระจัดกระจายอยู่ในคัมภีร์เป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นต้นตระกูลของธยานิพุทธทั้ง 5 ต่อจากนั้นจึงมีลำดับตระกูลอื่นๆ ตามมาอีก

คัมภีร์นิกายตันตระนั้นส่วนใหญ่แล้ว จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบรรยายเรื่องมณฑล และรูปลักษณ์ของเทพเจ้าต่างๆ นำไปสู่การสร้างประติมากรรมตันตระ วัชรยาน คัมภีร์ที่สำคัญ ได้แก่ คุหยสมาช มัญชูศรีมูลกะ เหวัชระตันตระสาธนมาลา นิสปันนโยคาวลี เป็นต้น โดยเฉพาะในคัมภีร์หลังนี้ จะเน้นเรื่องมณฑลและทิศทางที่อยู่ของพระพุทธเจ้าและบริวารในตระกูลของตน

พระอมิตาภะยังคงถูกกำหนดให้อยู่ทางทิศตะวันตกเหมือนในยุคแรกที่มหายานเฟื่องฟู ส่วนพระพุทธเจ้าองค์อื่นก็จะถูกกำหนดทิศทางที่อยู่ตามมณฑลต่างๆ ในคัมภีร์ หากแต่ยุคตันตระนี้ เรื่องของโลกธาตุ และพุทธเกษตรถูกลดบทบาทลงมิได้มีการกล่าวถึงเลย

เมื่อคำว่า “มณฑล” เข้ามาแทนที่ สุขาวดี พุทธเกษตรจึงมิได้มีความสำคัญในดินแดนตันตระอย่างทิเบตและเนปาล ซึ่งในดินแดนแห่งนี้จะให้ความสำคัญกับรูปองค์ของพระพุทธเจ้ามากกว่าทฤษฎีคำสอน ดังนั้นในยุคเดียวกันนี้ลัทธิสุขาวดีจึงไปรุ่งเรืองที่จีน ญี่ปุ่นเกาหลีแทน

(ยังมีต่อ..)







อ้างอิง :-

(7-) ไวฑูรฺยมยี จ สา มหาปฤถิวี กุฑยปฺราการ ปฺราสารท โตรณควากฺษ ชาลนิรฺยูห สปฺตรตฺนมยี, ยทฤศี สุขาวตี โลกธาตุสฺตาทฤศี |(คัมภีร์ ภษค. บทที่ 3)

(8-) ทิศิ ปศฺจิมตะ สุขากรา โลกธาตุ วิรชา สุขาวตี | ยตฺร เอษ อมิตาภนายกะ สํปฺรติ ติษฺฐติ สตฺตฺวสารถิะ || 30 || น จ อิสตฺริณ ตตฺร สํภโว นาปิ จ ไมถุนธรฺม สรฺวศะ อุปปาทุก เต ชิโนรสาะ ปทฺมครฺเภษุ นิษณฺณ นิรฺมลาะ || 31 || โส ไจว อมิตาภนายกะ ปทฺมครฺเภ วิรเช มโนรเม |สึหาสนิ สํนิษณฺณโก ศาลรโช ว ยถา วิราชเต || 32 || (คัมภีร์ สธป. บทที่ 24 โศลกที่30, 31, 32)

(9-) อจินฺตฺโย’ยํ กุลปุตฺร อวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺวะ ปฺราติหารฺยาณิ สมุปทรฺศยติ | อเนกานิ จ โพธิสตฺตฺวโกฏินิยุตศตสหสฺราณิ ปริปาจยติ, สตฺตฺวำศฺจ ตานฺ โพธิมารฺเค ปฺรติษฺฐาปยติ | ปฺรติษฺฐาปยิตฺวา สุขาวตีโลกธาตุมนุคจฺฉติ | อมิตาภสฺย ตถาคตสฺยานฺติเก ธรฺมมนุศฤโณติ || (คัมภีร์กรฑ. ภาค2 บทที่ 2)

(10-) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้ชื่อตามนามศาสดาผู้ให้กำเนิดซึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zara-thustra) เป็นภาษากรีก ศาสนานี้สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า ศาสนาปาร์ซี (Fravasi)เพราะเกิดขึ้นในเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ศาสนานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลัทธิมาสดา (Mazdaism) ซึ่งมีความหมายว่าลัทธิบูชาพระเจ้าอาหุรมาสดา (Ahura Mazda) ได้แก่ พระเจ้าผู้เป็นจอมอสูร และอาศัยเหตุที่ว่า โซโรอัสเตอร์ประกาศว่า พระเจ้าอาหุรมาสดาเป็นพระเจ้าแห่งความดีและแสงสว่าง ผู้ที่นับถือใช้แสงประทีปเป็นเครื่องหมายแห่งการบูชา จึงเรียกว่า ศาสนาบูชาไฟ (Reli-gion of Fire Worshipper) คัมภีร์ทางศาสนา คือ คัมภีร์อเวสตะ (Avesta) อ้างในWikipedia . Zoroastrianism . [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Zoroastrianism.

(11-) Wikipedia. Ahura Mazda. [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Ahura_Mazda.

(12-) Santipriya Mukhopadhyay. Amitãbha and his Family. (Delhi : Agam Kala Prakashan, 1985), 57.

(13-) Puri, B.N., Buddhism in Central Asia. , 143.

(14-) Ibid., 142.

(15-) พระพุทธศาสนามหายานเคยมีชื่อเสียงอยู่ในเมืองโกฐานมาก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเข้าไปครอบครองในภายหลัง ส่วนเมืองกุจ๊ะและเตอร์ฟันก็เคยเป็นศูนย์กลางพระพุทธ-ศาสนาเถรวาทมาก่อน อ้างใน Puri, B.N., Buddhism in Central Asia. , 141.

(16-) Eliot, Charles. Hinduism and Buddhism (Vol. III). (London : Routledge & Kegan Paul Ltd., 1921), 220.

(17-) พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. “อมิตาภะ” เมืองโบราณ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – ก.ค. 2525), 75.
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.? เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 07:23:52 am
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


"แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

โดย สุดาพร เขียวงามดี , Sudaporn Khiewngamdee
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาภาษาสันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขอบคุณที่มา : pdf.file แดนสุขาวดีอยู่ที่ใดกันแน่ | Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
website : www.damrong-journal.su.ac.th/?page=view_article&article_id=32




 :25: :25: :25:

บทคัดย่อ : "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

คนทั่วไปมักจะรู้จักแดนสุขาวดีในมุมมองที่ว่า เป็นสวรรค์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าสุขาวดีมิได้มีชื่ออยู่ในบรรดาสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นของพระไตรปิฎกเถรวาท เดิมทีเดียวชื่อ “สุขาวดี” ปรากฏอยู่ในพระสูตรฝ่ายมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 7 เป็นดินแดนอยู่ทางฝั่งตะวันตกนอกโลกของเราเป็นระยะทางหาที่สุดมิได้

ดินแดนสุขาวดีมีต้นกำเนิดมาพร้อมกับแนวคิดเรื่องของพระพุทธเจ้ามากมาย จนกระทั่งกลายเป็นนิกายสุขาวดีขึ้นในภายหลัง เหล่าสาวกต่างพากันสวดภาวนาต่อพระอมิตาภะเพื่อปรารถนาไปเกิดยังสุขาวดี ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุดของพวกเขา ทุกวันนี้คำสอนเรื่องแดนสุขาวดีเป็นที่นิยมและแพร่หลายอย่างมากในประเทศญี่ปุ่นและจีน

Abstract : Where is the land of “Sukhāvatī”.?

Common people may know the Pure Land (Sukhāvatī) as a heaven which is full of a lot happiness. On the other hand, Sukhāvatī is not on the list of names of 6 heavens in Tripitaka in Theravāda Buddhism. In the early period, the name of “Sukhāvatī” appeared in Mahāyāna Sūtra during the seventh Buddhist Era. This land is in the west which is very far from earth.

“Sukhāvatī” was the origin together with the view point of many Buddhists until it became the Sukhāvatī School at later time. The disciples prayed to Amitābha Buddha, because they wished to be born in Sukhāvatī which is their highest aim. At present, the teaching about the Pure Land is the most popular and well-known teaching in Japan and China.




 st12 st12 st12

บทนำ : "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

สุขาวตี (สตรีลิงค์) เป็นคำศัพท์เฉพาะ แปลว่า ดินแดนแห่งความสุขที่มาของคำศัพท์นี้ มาจาก สุข (นปุงสกลิงค์) แปลว่า ความสุข, ความพึงพอใจ(1-) นำมาลง วนฺตฺ, วตฺ ปัจจัยตัตธิต เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า ซึ่งมีความสุข, อันมีความสุข แล้วลง อี ปัจจัย เพื่อทำให้เป็นสตรีลิงค์(2-)

ดังนั้นคำว่า สุขาวตี(3-) จึงเป็นคำคุณศัพท์ประเภทตัทธิต (The Secondary Affixes) (4-) สตรีลิงค์ หมายถึง ที่ซึ่งทำให้มีความสุข สาเหตุที่ทำให้ “สุขาวตฺ” เป็นสตรีลิงค์ คือ มาจากคำเต็มของคำว่า สุขาวตี โลกธาตุ (สตรีลิงค์) หมายความถึง โลก-ธาตุ หรือสถานที่ที่ทำให้มีความสุข หรือความพอใจ จึงเป็นที่มาของคำว่า Pure Land, Land of Bliss หรือ ดินแดนแห่งความสุข

ในพระพุทธศาสนามหายาน คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่าสุขาวดีเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข ชื่อแดนสุขาวดีมักจะปรากฏอยู่ในนิยายหรือในภาพยนตร์จีนกำลังภายใน จนกลายเป็นแดนในฝันอันงดงามแห่งเทพนิยายไป แต่ชื่อสุขาวดีมิได้อยู่ในทำเนียบสวรรค์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท

นวนิยายที่มีชื่อเสียงซึ่งได้กล่าวถึงแดนสุขาวดีจนทำให้ดินแดนนี้เป็นที่รู้จักกันดีของนักอ่าน ก็คือ นวนิยายอิงพุทธประวัติเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี(5-) ภาคสอง คือ ภาคบนสวรรค์ ผู้แต่งได้นำเอาแนวคิดเรื่องสุขาวดีในพระสูตรมหายาน ซึ่งเป็นต้นแบบของสุขาวดี มาแต่งเป็นฉากและเสริมบทบาทให้กับตัวละคร ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงตอนที่กามนิตและวาสิฏฐีได้สิ้นภพจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ได้ไปบังเกิดยังสุขาวดีตามความปรารถนาของตน โดยกามนิตได้ไปอุบัติก่อนวาสิฏฐีตามไปอุบัติทีหลัง

ในนิยายเรื่องนี้ กล่าวพรรณนาถึงสุขาวดีว่า เป็นสวรรค์แดนตะวันตก ผู้ที่ไปเกิดจะมุ่งอยู่ในทิพยกามสุข เสวยกามาพจรสุขอยู่ที่นั่น เป็นเวลาหลายโกฏิปีจนกว่าจะสิ้นบุญ มีสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่งดงามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีคงคาสวรรค์สายใหญ่โอบล้อมแดนสุขาวดี เพื่อบ่งบอกการสิ้นสุดเขตแดน ชาวสวรรค์สุขาวดีเกิดขึ้นมาจากดอกบัว กามนิตอยู่ในดอกบัวสีแดง วาสิฏฐีอยู่ในดอกบัวสีขาว(6-) ดอกบัวและดอกไม้บนสวรรค์สุขาวดีมีการเหี่ยวเฉาและเสื่อมไปตามกาลเวลาเหมือนดอกไม้บนโลก ชาวสวรรค์ก็มีเกิดมีตายเหมือนชาวมนุษย์

สวรรค์ชั้นสุขาวดีภูมิในนวนิยายเรื่องกามนิต-วาสิฏฐีนั้น ผู้แต่งน่าจะหมายถึงสวรรค์ชั้นที่ 6 คือ ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ เพราะเป็นเทวโลกชั้นสูงสุดฝ่ายกามาพจ รอันเป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพยดาทั้งหลายผู้เสวยกามคุณารมณ์ ทิพยสมบัติอันวิเศษและทิพยวิมานที่อลังการกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ เป็นสวรรค์ชั้นบรมสุขที่สุด เพราะในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรของคติมหายานที่ผู้เขียนนิยายได้รับอิทธิพลมา ได้กล่าวว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายในสุขาวดีโลก-ธาตุจะดำรงอยู่และเพรียบพร้อมทุกประการ เทียบเท่ากับเทวดาชั้นปรนิร-มิตวศวรตี

ผู้เขียนนำแนวคิดสุขาวดีในคติมหายานมาผสมกับแนวคิดของหลักธรรมเถรวาทที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเทวโลกหรือพรหมโลกก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นวัฏจักรเหมือนมนุษย์โลก แต่ต่างกันตรงที่ระยะเวลาของแต่ละโลกซึ่งยาวนานไม่เท่ากัน ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่เลิศกว่าดินแดนสูงสุดอย่างพรหมโลก นั่นก็คือ แดนนิพพานที่ไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีกาลอวสานแห่งจักรวาลและวงจรแห่งกรรม

ในขณะที่พระพุทธศาสนามหายานจะเน้นเรื่องของโลกธาตุและพุทธเกษตรต่างๆ ของพระพุทธเจ้ามากกว่าจะเน้นคำสอนเรื่องการเข้าถึงพระนิพพานอย่างถาวร สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้มีความเคารพและศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นอย่างยิ่ง


(ยังมีต่อ..)







อ้างอิง :-

(1-) Gérard Huet, Lexique Sanskrit-français à l’usage de glossaire indianiste (Paris-Rocquencourt : inria.fr, 2004), 321.

(2-) Edward Delavan Perry, A Sanskrit Primer (New York : Columbia University press, 1936), 98.

(3-) จากการที่ผู้วิจัยได้สอบถามเกี่ยวกับคำว่า “สุขาวตี” ในเชิงภาษาศาสตร์นั้น ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ได้ให้ความเห็นว่า คำว่า “สุข”(นปุงสกลิงค์) ลากเสียงยาวกลายเป็น “สุขา” ก่อนที่จะลงปัจจัยเป็นสุขาวตี น่าจะอนุโลมมาจากสูตรของปาณินิ สูตรที่ 6.3.119 (มเตา พหฺวโจ’ นชิรา ทีณามฺ) สระท้ายของคำที่มีมากกว่า 2 พยางค์จะทำเป็นเสียงยาว เมื่ออยู่หน้าปัจจัย มตฺ เมื่อเป็นชื่อแต่ไม่ใช่คำว่า อชิร เป็นต้น, ดู Sumitra M. Katre. Astādhyāyī of Pānini (Delhi : Motilal Banarsidass, 1989), 796.

ส่วนในความคิดเห็นของผู้วิจัย ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะมาจากคำว่า สุขา (นามสตรีลิงค์) + วตฺ ปัจจัย ตามพจนานุกรมของ Gérard Huet ซึ่งคำว่า “สุขา” เป็นภาษาที่เขียนขึ้นในยุค Hybrid Sanskrit ต่างจากในยุคเริ่มแรกที่ใช้คำว่า “สุข”(นปุงสกลิงค์) เพียงอย่างเดียว

(4-) คำตัทธิตทำหน้าที่เป็นนามบ้าง เป็นคุณศัพท์บ้าง แจกรูปตามการันต์ของลิงค์นั้นๆ,ดู จำลอง สารพัดนึก, ไวยากรณ์สันสกฤตชั้นสูง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย, 2548), 163.

(5-) นวนิยายเรื่องกามนิต-วาสิฏฐีเขียนขึ้นเป็นภาษาเยอรมันชื่อ Der Pilger Kamanita เมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ. 1917

ต่อมา John E. Logie นำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ The Pilgrim Kamanita และเป็นฉบับที่ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปนำมาแปลเป็นภาษาไทยในปีค.ศ. 1930 ให้ชื่อว่า “กามนิต” มีภาพประกอบโดยอาจารย์ช่วง มูลพินิจ เนื้อหาแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคหนึ่ง บนดินมี 21 ตอน และภาคสอง บนสวรรค์ มี 24 ตอน รวมทั้งหมดมี 45 ตอน

หนังสือกามนิต ได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน อ้างใน วิกิพีเดีย. กามนิต . [Online] accessed on 20 July 2011. Available from http://th.wikipedia.org/wiki/

(6-) ปกรณ์ กิจมโนมัย. กามนิ ต-วาสิ ฏฐี นวนิ ยายอิ งพระพุทธประวัติและหลักธรรม. (กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2542), 43 – 48.
9  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมธรณีตอบ เมล็ดข้าวในหินพระร่วง ชี้อายุเก่าแก่ 359-252 ล้านปี มากกว่าไดโนเสาร์ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2024, 06:21:57 am
.



กรมธรณี ตอบเอง เมล็ดข้าวในหินพระร่วง ชี้อายุเก่าแก่ 359-252 ล้านปี มากกว่าไดโนเสาร์

กรมธรณี ตอบเอง เมล็ดข้าวในหินพระร่วง ชี้อายุเก่าแก่ 359-252 ล้านปี มากกว่าไดโนเสาร์ เผย เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง-ยุคเพอร์เมียน

26 พ.ค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีโลกโซเชียลมีการเผยแพร่ภาพก้อนหินประหลาด ลักษณะคล้ายมีฟอสซิลเมล็ดข้าวสารจำนวนมากฝังตัวอยู่ในหิน แต่เมื่อนำมาผ่าเจียระไนก็จะดูคล้ายเมล็ดข้าวสุกที่ฝังตัวอยู่ในหินสีดำ และสีน้ำตาล ผิวมันวาว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์หายาก เกิดจากอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

ล่าสุดในเฟซบุ๊กแฟนเพจของกรมทรัพยากรธรณี โดยกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ได้เปิดเผยและให้ข้อมูลว่า ก้อนหินที่ปรากฏในข่าวนั้น แท้จริงแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง “ฟอแรมมินิเฟอรา” ที่สามารถมองเห็นโครงร่างขนาดเล็กภายในหินได้ด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว




เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 252 ล้านปีก่อน) จัดอยู่ในอันดับฟิวซูลินิดา มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า “ฟิวซูลินิด” ส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 2 มิลลิเมตร บางชนิดมีความยาวมากถึง 5 เซนติเมตรลักษณะรูปร่างเป็นทรงรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ทำให้ถูกเรียกว่า “ข้าวสารหิน” หรือ “คตข้าวสาร” มักพบตามภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 299-252 ล้านปี) กระจายตัวอยู่หลายแห่งทั่วประเทศไทย



โดยฟิวซูลินิดมีช่วงเวลาการกระจายตัว และอาศัยในมหาสมุทรโบราณทั่วโลก ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง-ยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 359-252 ล้านปี) หากจะระบุชนิดจำเป็นต้องทำแผ่นหินบาง แล้วนำมาศึกษาโครงสร้างภายในอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์




ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8252822
26 พ.ค. 2567 - 14:57 น.
10  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "กาแฟ" ไม่ควรกินคู่กับอาหารอะไรบ้าง ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2024, 06:16:48 am
.



"กาแฟ" ไม่ควรกินคู่กับอาหารอะไรบ้าง ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

กาแฟ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก หลายคนนิยมดื่มกาแฟเพื่อเติมความสดชื่นในยามเช้าและเพิ่มพลังให้กับร่างกาย แม้ว่ากาแฟจะเข้ากันได้ดีกับอาหารหลายชนิด แต่ยังมีสามคู่หูที่ควรหลีกเลี่ยงการทานร่วมกัน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังที่นักโภชนาการเผยเคล็ดลับไว้ดังนี้

อาหารไม่ควรทานพร้อมกับกาแฟ

1. กาแฟกับเนื้อสัตว์

แม้จะเป็นกิจวัตรประจำวันของหลายคน แต่การดื่มกาแฟควบคู่กับการรับประทานเนื้อสัตว์ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากกาแฟมีสารแทนนิน (Tannins) ซึ่งสารชนิดนี้จะไปจับตัวกับแร่ธาตุต่างๆ ที่พบในเนื้อสัตว์ ส่งผลต่อการขับสังกะสีออกจากร่างกาย สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เว้นระยะการดื่มกาแฟหลังรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณสังกะสีสูง อาทิ เนื้อแดง หอยนางรม สัตว์ปีก ถั่วต่างๆ รวมถึงกุ้ง เพราะอาหารเหล่านี้ไม่เข้ากันกับกาแฟ

เพื่อให้ปลอดภัย แนะนำให้เว้นระยะห่างระหว่างการดื่มกาแฟกับการทานเนื้อสัตว์ จะช่วยให้คุณดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟและได้รับประโยชน์จากเนื้อสัตว์อย่างเต็มที่

2. กาแฟกับผลิตภัณฑ์นม

กาแฟใส่นม ถือเป็นตัวเลือกเครื่องดื่มยอดนิยม หลายคนชื่นชอบการผสมผสานรสชาติขมกลมกล่อมของกาแฟเข้ากับนม ช่วยลดทอนความขม และทำให้รู้สึกอิ่มท้อง อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การดื่มกาแฟควบคู่กับผลิตภัณฑ์นม ไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากกาแฟมีสารที่ส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ส่งผลให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะ

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟพร้อมกับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ เช่น ครีม ไอศกรีม ฯลฯ เพื่อสุขภาพที่ดี แนะนำให้แยกการดื่มกาแฟออกจากผลิตภัณฑ์นม จะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากแคลเซียมอย่างเต็มที่

3. กาแฟกับของทอด

หลายคนนิยมทานเฟรนช์ฟรายส์หรือฟาสต์ฟู้ดทอดคู่กับกาแฟ แต่แท้จริงแล้ว การจับคู่นี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาหารทอดมักอุดมไปด้วยไขมันไม่ดีและคอเลสเตอรอล เมื่อรับประทานร่วมกับกาแฟ อาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลเลว (LDL) ในร่างกายพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ การทานอาหารประเภทนี้ควบคู่กับกาแฟ ยังอาจทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง

ทางเลือกที่ดีกว่า คือการดื่มกาแฟคู่กับผลไม้รสเปรี้ยว ไม่ว่าจะเป็นส้มหวาน มะนาว หรือผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ อย่างเลม่อน ไลม์ องุ่น แอปริคอต กล้วย และสับปะรด ผลไม้เหล่านี้เข้ากันได้ดีกับกาแฟ ช่วยตัดรสขม แถมยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

4. กาแฟกับไข่ต้ม

การทานกาแฟคู่กับไข่ต้ม อาจส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กจากไข่ได้ เนื่องจากสารประกอบในกาแฟบางชนิด ไปทำปฏิกิริยากับสารกำมะถันในไข่ต้ม ส่งผลขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก แนะนำให้เปลี่ยนเป็นไข่ดาวหรือไข่เจียวแทน



Thank to : https://www.sanook.com/women/250041/
20 พ.ค. 67 (19:26 น.)
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไข่ต้ม กับ กาแฟ ทำไมห้ามกินพร้อมกัน ส่งผลอย่างไร เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2024, 06:10:17 am
.



ไข่ต้ม กับ กาแฟ ทำไมห้ามกินพร้อมกัน ส่งผลอย่างไร

”ไข่ต้ม Vs กาแฟ รู้หรือไม่ ทำไมห้ามกินของเหล่านี้พร้อมกัน ส่งผลอย่างไร มีเหตุผลอะไรมาหักล้างคำพูดนี้ พร้อมคำเฉลยที่ถูกต้อง ไปดูกัน

ไข่ต้ม กับ กาแฟ หลายคนสงสัยไหมค่ะว่า ทำไมห้ามกินพร้อมกัน ส่งผลอย่างไร แล้วหากกินพร้อมกันจริงๆ จะส่งผลเสีย หรือ ต้องระวังอะไรบ้าง มีคำตอบจากโรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ ด้วยค่ะ


ไข่ต้ม + กาแฟ (เครื่องดื่มคาเฟอีน) อย่ากินคู่กัน

เพราะในกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารคาเฟอีนจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารซัลเฟอร์ในไข่ต้ม ซึ่งจะเกิดการขัดขวางการดูซึมธาตุเหล็กของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่น้อยลง หากอยากกินไข่คู่กับกาแฟ ควรเลือกเป็นไข่ดาว หรือไข่เจียวแทน

หากใครชอบทานไข่ต้มพร้อมกับกาแฟ อาจลองทำตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

    1. สังเกตการตอบสนองของร่างกาย : หากรู้สึกไม่สบายหลังจากทานไข่คู่กับกาแฟ ควรลองทานแยกกัน หรือปรับปริมาณอาหาร
    2. เลือกทานไข่ประเภทอื่น : ไข่ดาว ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋น อาจส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กน้อยกว่าไข่ต้ม
    3. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ : การทานไข่และกาแฟอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
    4. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ : ซึ่งจะทำให้คุณได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย
    5. พักผ่อนให้เพียงพอ : ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ




สรุป : การเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ย่อมส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และยิ่งมีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่ใหม่สดสะอาดและทำกินเองย่อมส่งผลให้ได้รับอาหารที่ควบถ้วนมากกว่า และที่สำคัญควรเลี่ยงทานไข่ต้มกับกาแฟ แต่ให้กินเป็นไข่ดาว ไข่เจียวกับกาแฟแทนได้ค่ะ


 

ขอขอบคุณ : โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ ด้วยค่ะ
https://www.thainewsonline.co/lifestyle/variety/871287
26 พฤษภาคม 2567
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 10 คู่อาหาร ไม่ควรกินคู่กัน เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2024, 05:59:23 am
.



10 คู่อาหาร ไม่ควรกินคู่กัน

ในอาหาร 1 มื้อ หลายคนคงอยากกินอาหารหลายอย่างพร้อมกัน แต่จะมีอาหารบางอย่างสามารถเป็นโทษต่อร่างกายได้หากจับคู่กินพร้อมกัน ซึ่งคู่อาหารที่ไม่ควรกินร่วมกันมีทั้งของหวาน เครื่องดื่ม และของคาว ถ้าอยากรู้ว่ามีคู่อาหารไหนบ้างแอดมินมีคำตอบมาให้ค่ะ

1. ทุเรียน + เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะในทุเรียนมีกำมะถันอยู่มาก ซึ่งกำมะถันเป็นสารที่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ทำให้สารนี้เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว ทำให้เมาเร็วและก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบการหายใจได้ นอกจากนี้การกินทุเรียนพร้อมกับแอลกอฮอล์ร่างกายจะได้รับพลังงานในปริมาณมากเกินไปทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดกระบวนการเผาผลาญเพื่อกำจัดของเสียเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง ชา วิงเวียนและอาเจียน หากรักษาไม่ทันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

2. ทุเรียน + น้ำอัดลม
เพราะน้ำอัดลมและทุเรียนเป็นอาหารที่มีรสชาติหวานจัดและมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก เมื่อกินพร้อมกันจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป ยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงและส่งผลเสียต่อร่างกายได้

3. น้ำผึ้ง + ชาร้อน/น้ำร้อน
เนื่องจากความร้อนจะเข้าไปทำลายวิตามินที่อยู่ในน้ำผึ้ง ดังนั้นหากต้องการดื่มชาน้ำผึ้งควรจะใช้ชาที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง หรือน้ำที่มีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป

4. แอลกอฮอล์ + อาหารรสเผ็ด
การดื่มแอลกอฮอล์กับของเผ็ดๆ มักจะเป็นของคู่กันเสมอ แต่ความเป็นจริงแล้วแอลกอฮอล์และอาหารรสเผ็ดนั้นเป็นสารเร่งการไหลเวียนเลือด ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และเป็นภูมิแพ้ จะต้องระวังมากเป็นพิเศษ

5. กล้วย + เผือก
ในกล้วยและเผือกเป็นอาหารที่มีแป้งสูง ซึ่งการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเครตในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ แต่ถ้ากินในปริมาณที่ไม่มากก็จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

@@@@@@@

6. นม + ผัก/อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
เส้นใย(ไฟเบอร์) หรือไฟเบอร์จากผักชนิดต่างๆ มีหน้าที่ดูดซับไขมัน ดังนั้นการดื่มนมพร้อมกับผักจะทำให้ใยอาหารจากผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใย(ไฟเบอร์สูง) นั้นไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุของร่างกาย ควรดื่มนมให้ห่างจากมื้ออาหาร

7. ชา + ยา
ยาควรกินน้ำเปล่าจะดีที่สุด น้ำชนิดอื่นๆ อาจทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมยาลดลง

8. เนื้อหมู + ไอศกรีม
เนื่องจากหมูเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ยาก ใช้เวลานาน เมื่อกินร่วมกับของเย็นๆ เช่น ไอศกรีม จะทำให้กระเพาะเย็นและทำได้ไม่ดีพอ การกินอาหารสองอย่างนี้พร้อมกัน จึงทำให้กระเพาะทำงานหนักขึ้นทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีพอ

10. ไข่ต้ม + กาแฟ (เครื่องดื่มคาเฟอีน)
เพราะในกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารคาเฟอีนจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารซัลเฟอร์ในไข่ต้ม ซึ่งจะเกิดการขัดขวางการดูซึมธาตุเหล็กของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่น้อยลง หากอยากกินไข่คู่กับกาแฟ ควรเลือกเป็นไข่ดาว หรือไข่เจียวแทน

10. ข้าวสวย + ก๋วยเตี๋ยว
เนื่องด้วยอาหาร 2 ชนิดนี้มีปริมาณคาร์โบไอเดรตอยู่สูง เมื่อกินพร้อมกันร่างกายจึงต้องใช้วิตามิน B1 มาย่อยสารอาหารพวกนี้ แต่การที่วิตามิน B1 จะย่อยข้าวหรือบะหมี่พร้อมๆ กันนั้น อาจทำให้เกิดการย่อยไม่หมด ทำให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย ง่วงนอน หนังตาหย่อน และนอกจากนี้ ข้าวและเส้นเป็นแป้งที่จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลภายหลังอาจทำให้อ้วนได้อีกด้วย





Thank to : https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/262
22 ก.ย. 2566
13  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนดีทำให้คนอื่นดีได้ สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 08:18:00 am
.



คนดีทำให้คนอื่นดีได้ สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี

คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่า คนดีทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ 4 ธันวาคม 2539





Thank to : https://www.dmcr.go.th/detailAll/24375/nws/182
25 มิ.ย. 2561
14  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จงรักษาความดีไว้ อย่าให้จบลงได้ เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 08:13:49 am
.



จงรักษาความดีไว้ อย่าให้จบลงได้

ปาฐกถาฉบับเต็ม ประเทศไทยในความคิด ความคิดในประเทศไทย โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นมุมมองจาก อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ.

    + คำบรรยายใน waymagazine.org
    + คลิีปบรรยายใน youtube.com
    + BackpackJournalistTPBS

สังคมแบ่งได้หลายฝ่าย หลายน้ำหนักมุมมอง
    - โลกที่เราเห็น คือ โลกที่เราคิด
    - ฝ่ายอนุรักษ์นิยม กับ ฝ่ายก้าวหน้า
    - ฝ่ายคนดี กับ ฝ่ายคนไม่ดี
มีคนดีอยู่มากมาย ที่ความดีจบลงชั่วข้ามคืน แล้วนึกถึงถวัลย์ ดัชนี ชวนคิดเรื่อง "จูงควายมาถึงหนองน้ำ"

@@@@@@@

Quote : เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

    ".. โลกที่เราเห็น คือ โลกที่เราคิด และเรามักจะมองไม่เห็น สิ่งที่ไม่ได้คิดเอาไว้แล้วล่วงหน้า ดังนั้น ประเด็นแรกที่สำคัญก็คือ มนุษย์เราโดยทั่วไปมักจะเห็นโลกได้จำกัด และเห็นโลกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับฐานความคิดที่มีอยู่ในตัวเขา .."

    ".. เดินสวนกันไม่ได้ ถ้าไม่เดินตามกันไป ก็ต้องปะทะอย่างเดียว .."

    พึงระวังให้จงมาก
    - ความดี จบลงตรงที่ เริ่มบังคับ ให้คนอื่นเป็นคนดีด้วย
    - ความรู้ จบลงตรงที่ เริ่มบังคับ ให้คนอื่นเป็นคนรู้ด้วย
    - ความรัก จบลงตรงที่ เริ่มบังคับ ให้คนอื่นเป็นคนรักด้วย





Thank to : http://www.thaiall.com/ethics/good.htm
15  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ระบบอุปถัมภ์ ยกย่องคนรวย/คนมีตำแหน่ง เป็นสาเหตุของการทุจริต ในวงราชการไทย เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 07:58:12 am
.



ระบบอุปถัมภ์ ยกย่องคนรวย/คนมีตำแหน่ง เป็นสาเหตุของการทุจริต ในวงราชการไทย
คอลัมน์ น.ต.ประสงค์พูด โดย : น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

ภาษิตสากลบทหนึ่งบอกว่า "อำนาจชวนให้โกงกิน ถ้าอำนาจล้นแผ่นดิน ก็จะโกงกินกันจนสิ้นชาติ" ยกภาษิตนี้มากล่าวนำก็เพื่อบอกไปยังผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะอำนาจที่ได้มานั้นเป็นอำนาจที่ยึดมาใช้ตามใจชอบ จะได้สำนึกว่าการใช้อำนาจแบบนี้ชี้ชวนให้กระทำการทุจริตคดโกงได้ง่าย นำไปสู่ความสิ้นชาติในที่สุด

บ้านเมืองของเราในขณะนี้ ความทุจริตคดโกง ระบาดไปทั่วอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะที่เกิดจากคนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองแทบทุกระดับ ยิ่งในระดับสูงด้วยแล้ว ยิ่งปรากฏให้เห็นมากขึ้นในเรื่องความฉ้อฉล คดโกง จากการใช้อำนาจอย่างลืมตัว เพื่อหาประโยชน์ส่วนตนและญาติ พี่น้องพรรคพวก

มีการปราบปรามพวกทุจริตให้เห็นเหมือนกันในบางเรื่องบางราว แต่ก็เป็นการปราบปรามคนอื่นที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงของตน เช่นในขณะนี้

อยากจะบอกว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐมีความสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ทั้งในเชิงปริมาณที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในขณะนี้ เป็นปัญหาที่บั่นทอนการพัฒนาประเทศ และเป็นอุปสรรคในการสร้างความเจริญ ให้แก่สังคมและความผาสุกแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมีวิธีการและลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้น

@@@@@@@

การจัดซื้อจัดจ้าง การสมยอมระหว่างผู้มีอำนาจหน้าที่กับผู้รับจ้าง หรือช่วยเหลือพวกนายทุนที่ให้ประโยชน์ตน การรับสินบน รับเงินใต้โต๊ะ รับเงินทอน ตลอดจนเงินซื้อขายตำแหน่ง ระบาดเกิดขึ้นมากมายอย่างที่ได้ยินได้ฟังกันในขณะนี้

พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนในบ้านเมืองเสื่อมความศรัทธา เชื่อถือ ต่อผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจพูดได้ว่า เมื่อไรจะไปเสียที

ความรุนแรงที่มาจากความทุจริตดังกล่าว รับรู้กันไปทั่วโลกในขณะนี้ และถูกจัดอันดับประเทศที่มีการทุจริตสูงสุด อยู่ในอันดับต้นๆของประเทศต่างๆทั่วโลก

ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนของประชาชนต้องช่วยกัน การที่จะมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดานั้น ขอให้ระวังว่าจะสิ้นชาติในที่สุดด้วย เพราะปัญหาของความทุจริตคดโกง ดังกล่าว ไม่ต่างกับโรคร้ายที่กัดกร่อนและบ่อนทำลายประเทศชาติอยู่ตลอดเวลา

โดยเฉพาะความทุจริตในวงราชการไทยขณะนี้ มีที่มาจากสาเหตุสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. ระบบอุปถัมภ์
ระบบอุปถัมภ์เกิดจาก
   1) ระบบอาวุโส และ
   2) ระบบบุญคุณ
ซึ่งมีความจุนเจือ ช่วยเหลือกัน มีความสัมพันธ์แบบผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะมาจากนักการเมืองที่เข้ามาตามระบบที่กำหนดไว้ หรือมาจากการแต่งตั้ง ที่เข้ามาทำงานและมีความสัมพันธ์กับข้าราชการประจำ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่จะส่งผลต่อการเอื้อให้เกิดการทุจริตในวงราชการ อันนำไปสู่การใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่ตนเอง หรือพรรคพวก

นอกจากนี้ ระบบอุปถัมภ์ประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายคือ
    1) นักการเมือง
    2) ข้าราชการ
    3) นักธุรกิจ
ที่ทำให้สามารถทำทุจริตได้ง่าย โดยทั้ง 3 ฝ่ายมาจับมือกันร่วมทุจริตคดโกง หรือที่เรียกว่า "ฮั้ว" กันเครือข่ายดังกล่าวนี้โยงใยกันอย่างแน่นหนา การปราบปรามต้องกระทำอย่างจริงจัง จึงจะได้ผล โดยเฉพาะการควบคุมบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้อำนาจมาจากการยึดอำนาจ

2. ค่านิยมของคนไทยที่นิยมยกย่องคนมีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต หรือนิยมยกย่องคนรวย
ทำให้เกิดผล กระทบตามมาเสมอในเรื่องของ
    1) ความโลภ คือ การโกงกินกันทุกรูปแบบ
    2) ความมีโทสะ จากการมีคนไปเตือนสติ และ
    3) ความมีโมหะ คือ มัวเมาในอำนาจ ยึดติดในตำแหน่งหน้าที่ พยายามสร้างวาทกรรมคำพูดอย่างโน้นอย่างนี้ให้คนเชื่อ

ค่านิยมหลายภาคส่วนของสังคมขณะนี้ที่ยึดด้าน วัตถุมากขึ้น อวดความมีสถานะทางสังคม โดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ตนได้มานั้นจะได้มาด้วยวิธีการใด เป็นค่านิยมที่ฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมืองต้องการคนอย่างนี้มาใช้เพื่อหาผลประโยชน์ให้ตน


@@@@@@@

นอกจากนี้ สาเหตุที่เกิดจากความหละหลวมของระบบราชการบางแห่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมความประพฤติที่ทุจริต ในวงการราชการที่ไม่ใส่ใจหรือเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าว ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตใน วงราชการได้เช่นเดียวกัน

อีกอย่างหนึ่งของการทุจริตเกิดขึ้นในวงราชการไทยขณะนี้ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งมาจากความจำเป็นในการอยู่รอดของตนและครอบครัวที่ยากจน เนื่องจากเงินเดือนน้อยไม่พอใช้ นำมาซึ่งการขาดสติในการประพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่ การจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการไทยที่กระทำกันอย่างไม่โปร่งใสก็เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดการทุจริต ไม่โปร่งใส ได้ง่าย

นี่คือเรื่องใหญ่ๆ ของการทุจริตในวงราชการไทยบ้านเราในขณะนี้ ซึ่งจะได้พูดให้ฟังถึงในเรื่องอื่นๆ ที่ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการทุจริตในวงราชการไทย ที่ยังมีอีกมากในคราวหน้า

 

 
Thank to : www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/1213/4/ความทุจริตในวงราชการไทย
โดย ACT | โพสเมื่อ Oct 30,2018 | ขอบคุณข้อมูลจาก แนวหน้า
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไม “คนดี” จึงทุจริตคอร์รัปชัน.? เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 07:37:32 am
.



ทำไม “คนดี” จึงทุจริตคอร์รัปชัน.?

ออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ต้องการทับถมหรือเสียดสีใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องการชี้ให้เห็นอีกมุมมองหนึ่งของการทำสิ่งไม่ดี ซึ่งมุมมองนี้ไม่เกี่ยวกับว่า คุณนับถือศาสนาอะไร มุมมองนี้ไม่ต้องการบอกว่าคุณ “ควร” หรือ “ไม่ควร” มีพฤติกรรมอย่างไร แต่มุมมองนี้เน้นการอธิบายพฤติกรรมตามความเป็นจริงมากกว่า

สาขาวิชาที่ชื่อว่า “จริยธรรมพฤติกรรม”หรือ Behavioral Ethics พยายามตอบคำถามที่ค้างคาใจคนจำนวนมาก เช่น เหตุใดคนดีจึงทำความชั่ว หรือทำไมเรามองไม่ออกว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี (ในขณะที่คนอื่นมองออก) เป็นต้น สาขาวิชานี้บอกว่า การตัดสินใจของมนุษย์ไม่มีมาตรฐานเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมภายนอกด้วย มีหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ ที่ส่งผลให้ “คนดี” ซึ่งก็คือคนปกติแบบเราๆ ท่านๆ ทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น ทุจริตคอร์รัปชัน


     @@@@@@@

    1. “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” หรือ Obedience to Authority
     หลายคนไม่ต้องการทำสิ่งไม่ดี แต่มีหัวหน้างาน เจ้าของบริษัท ผู้มีอิทธิพล หรือ ไอ้โม่ง สั่งให้เขาทำ เวลาที่ผู้มีอำนาจสั่งให้เราทุจริต แม้ว่าในใจของเราจะรู้อยู่แล้วว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่หลายๆ ครั้ง เราไม่สามารถปฏิเสธคำสั่งเหล่านั้นได้ ลองคิดดูว่าถ้าเจ้านายของคุณบอกให้คุณเอาเงินใต้โต๊ะไปให้ข้าราชการคนหนึ่ง เพื่อให้เขาอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ คุณกล้าที่จะปฏิเสธไหม

     การปฏิเสธหมายความว่า ผลการประเมินประจำปีจะออกมาไม่ดี และในเกือบทุกกรณี คุณจะต้องหางานใหม่ หรือในกรณีที่คุณเป็นข้าราชการแล้วมีนักการเมืองสั่งให้คุณร่วมทุจริต ถ้าคุณไม่เชื่อฟัง คุณก็ต้องถูกย้ายหรือเตรียมหางานใหม่เช่นกัน

     ดังนั้น เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งให้เราทำอะไรที่ผิด เราก็มักจะทำตามและบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไร เราแค่ทำตามที่เขาสั่งมาเท่านั้น สรุปง่ายๆ คือการเชื่อฟังผู้มีอำนาจทำให้เรารู้สึกผิดน้อยลงนั่นเอง

    2. “อคติในการทำตามคนอื่น” หรือ Conformity Bias
     พฤติกรรมที่มีคนทำตามจำนวนมาก จะทำให้เรารู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ซึ่งรวมถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย ในประเทศไทย หลายคนเห็นว่าการทุจริต การโกง การติดสินบน หรือแม้กระทั่งการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เป็นส่วนหนึ่งของสังคมหรือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทย เด็กที่เกิดมาเห็นพ่อแม่ตัวเองติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐจนเป็นเรื่องปกติ พอโตขึ้นก็เห็นนักธุรกิจมีฐานะร่ำรวยเพราะพวกพ้อง เห็นข้าราชการและนักการเมืองมีตำแหน่งจากการโกง ฯลฯ

    3. “จับต้องได้สำคัญกว่าจับต้องไม่ได้”
    เกิดขึ้นเพราะคนเราเลือกที่จะให้คุณค่าแก่สิ่งที่จับต้องได้มากกว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ดังนั้น หากการตัดสินใจส่งผลไม่ดีต่อตัวเรา (และคนอื่น) อย่างไม่ชัดเจนคือ ไม่แน่ใจว่าจะกระทบใครและรุนแรงเท่าใด เราก็จะใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้างในการทำผิดจริยธรรมได้ เวลาที่เราจะโกง เราอาจต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง “ประโยชน์” และ “โทษ” ของการกระทำ แน่นอนว่าประโยชน์ของการโกงคือร่ำรวยเช่น รวยขึ้น 10 ล้านบาททันที ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ในขณะที่โทษของการโกงคือ เข้าคุก (มีโอกาสถูกจับได้น้อยมาก) เวรกรรม (ไม่รู้ว่าเมื่อไร) ตกนรก (ไม่รู้ว่ามีจริงไหม) ดังนั้น จึงไม่แปลกใจว่าคนเราเลือกที่จะทำสิ่งไม่ดีได้อย่างสบายใจ

     @@@@@@@

ข้อคิดที่ได้จากปัจจัย “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” คือ ในกรณีที่มีการกระทำผิด ผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าควรต้องรับผิดชอบมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้น้อยที่ทำตามคำสั่งก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ทั้งหมด เราจำเป็นต้องแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมด้วยการไม่ทำตามและออกมาจากตรงนั้น อย่าลืมนะครับว่าหลายครั้งผู้มีอำนาจสั่งแบบไม่มีหลักฐานเช่น ทางวาจา ดังนั้น ถ้าถูกจับได้ขึ้นมา เราต่างหากที่ต้องรับความผิดนั้นแต่เพียงผู้เดียว

สำหรับหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชน ควรจัดให้มีกระบวนการอย่างเป็นทางการในการรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครอง “คนเป่านกหวีด (Whistle Blower)” หรือคนที่แจ้งเบาะแสกรณีพบการกระทำที่ไม่ชอบมาพากลในองค์กร เพราะถ้าไม่มีกระบวนการลักษณะนี้ ปัจจัย “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” ก็จะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น

สำหรับปัจจัย “อคติในการทำตามคนอื่น” นั้น เราควรใช้สถานการณ์ปัจจุบันให้เป็นโอกาส เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย ทุกฝ่ายทั้งราชการ เอกชน และประชาชน ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ว่า การโกงไม่ใช่เรื่องปกติและการทุจริตคอร์รัปชันไม่ใช่วัฒนธรรมของคนไทยอีกต่อไป เราต้องตอกย้ำให้ทุกคนรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่โกง ไม่ทุจริต ไม่คอร์รัปชัน

ปัจจัยสุดท้ายคือ “จับต้องได้สำคัญกว่าจับต้องไม่ได้” สะท้อนถึงการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทย เราจำเป็นต้องสอนและแสดงให้พวกเขาเห็นว่า “โทษ” ของการทุจริตคอร์รัปชันนั้น รวดเร็ว รุนแรงและจับต้องได้

อย่างไรก็ตาม คนที่ทำผิด สำนึกผิดและได้รับโทษแล้ว สังคมก็ควรให้อภัยอย่างรวดเร็ว เพราะต่อให้เป็น “คนดี” ก็สามารถทำผิดได้เช่นกัน


     โดย ผศ. ดร. ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ
     ภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
     yingyot.chi@mahidol.ac.th





Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117273
By บทความพิเศษ | 31 ส.ค. 2017 เวลา 3:00 น.
17  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ว่าด้วย "สังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2024, 10:27:29 am
.



ในการถวายสังฆทานนั้น อะไรควรถวาย.? อะไรไม่ควรถวาย.?

การถวายสังฆทาน ไม่ใช่การถวายถังเหลือง และการทำบุญ ไม่ใช่การถวายสังฆทานเท่านั้น
 
การทำบุญทำได้หลายวิธี ทั้งการให้ทาน(ให้วัตถุ ให้คำสอน ให้คำแนะนำ ให้ธรรมะ ให้เวลากับพ่อแม่ ให้อภัย) การรักษาศีล (ไม่เบียดเบียนทำร้ายสัตว์,ไม่ลักขโมยฉ้อโกง,ไม่ประพฤติผิดในกาม,ไม่พูดโกหก เพ้อเจ้อ ส่อเสียด หยาบคาย,ไม่ดื่มสุรา ไม่ใช้ยาเสพติด) และการภาวนา(พัฒนาจิตใจและปัญญา ด้วยการศึกษา สนทนาธรรม รักษาใจให้ผ่องแผ้ว สดใส พิจารณาชีวิตตามความเป็นจริง)

@@@@@@@

แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า ต้องการทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ก็ควรให้อย่างสัตบุรุษ คือยึดหลักธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสทาน ๘ ได้แก่

    (๑) ให้ของสะอาด : เลือกสิ่งที่บริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต
    (๒) ให้ของประณีต : ให้ของที่ดี ตามกำลังศรัทธา อย่างรู้จักประมาณ
    (๓) ให้ถูกเวลา : เช่นถวายภัตตาหารพระก่อนเวลาเพลเท่านั้น ถ้าจะถวายหลังเวลาเที่ยงไปแล้วก็อาจจะถวายเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ธูปเทียน น้ำปานะต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อพระวินัย เป็นต้น
    (๔) ให้ของที่สมควรแก่ผู้รับจะนำไปใช้ได้ : เช่นถ้าจะถวายสังฆทาน ก็ควรถวายของที่สมควรแก่พระ ไม่ใช่สุรา ยาเสพติด เครื่องประดับตกแต่ง บางคนคิดว่าจะถวายสังฆทานอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับก็ต้องนำของที่ผู้ล่วงลับชอบใจหรือใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ นี่เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะของเหล่านั้นถวายแก่พระ ไม่ใช่การทำพิธีให้ของนั้นล่องลอยไปสู่ผู้ล่วงลับ บุญเกิดจากการให้ มิใช่อยู่ที่ตัวสิ่งของ

    (๕) ให้ด้วยวิจารณญาณ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก : ของที่จะให้เป็นทานจะมีราคาสูงหรือ ต่ำไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ควรเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้จริง การจัดหาของน้อยชิ้นที่ใช้งานได้ อาจจะดีกว่าการจัดของสารพัดอย่างลงในถังให้ดูครบครันแต่นำมาใช้ หรือแม้แต่จะจัดเก็บก็ยากลำบาก
    (๖) ให้ประจำสม่ำเสมอ
    (๗) เมื่อให้ ทำจิตให้ผ่องใส
    (๘) ให้แล้ว เบิกบานใจ : ไม่คิดกังวลว่าผู้รับจะใช้หรือไม่ จะยินดีแค่ไหน เมื่อให้ไปแล้วก็ไม่ยึดถือเป็นของเรา ตัวเราต่อไปอีก


@@@@@@@

เมื่อทำได้ดังนี้ หรือฝึกฝนที่จะทำเช่นนี้ ก็ชื่อว่าได้ให้อย่างผู้มีปัญญา เป็นการให้ที่มีประโยชน์ มีอานิสงส์มาก มีอานิสงส์ใหญ่ น่าอนุโมทนาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง




ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/QandA_4





ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง.?

โดยพระวินัย พระไม่รับเงินทอง และโดยนโยบายของวัดก็ไม่มีการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า เรื่องสร้างวัดเป็นเรื่องของโยม (คือไม่ใช่งานที่พระจะต้องไปหาเงินหาทองมาสร้าง มาซ่อม โยมทำให้อย่างไรก็อยู่ได้) ดังนั้นคณะกรรมการวัดที่เป็นญาติโยมจึงทำหน้าที่ในการดูแลวัด ซ่อมแซมอาคารสถานที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม และจัดการงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้ในการจัดทำสื่อธรรมะต่างๆ เพื่อแจกแก่ญาติโยมที่มาวัด รวมทั้งดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมวันสำคัญ การดูแลพระอาพาธ การถวายทุนการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณร เป็นต้น

ดังนั้นถ้าท่านต้องการร่วมทำบุญเพื่อกิจเหล่านี้ ก็ให้เห็นเป็นเรื่องที่ญาติโยมมาจัดการกันเอง (อย่างเปิดเผย โปร่งใส) เพื่อเกื้อกูลแก่พระสงฆ์ในการทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนโดยส่วนรวม โดยไม่จำเป็นต้องถวายแก่พระสงฆ์

หากมีเจตนาต้องการถวายปัจจัยเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่ควรแก่สมณะ ก็มีพุทธบัญญัติให้มอบปัจจัยนั้นแก่ไวยยาวัจจกร แล้วแจ้งให้พระสงฆ์ทราบด้วยวาจา หรือเขียนเป็นตัวหนังสือลงในใบปวารณาก็ได้

และก็ควรเน้นย้ำว่า มีหนทางอีกมากที่ชาวพุทธจะทำบุญที่ยิ่งไปกว่าเพียงการถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์หรือแก่วัด ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็นหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องกระทำแต่อย่างใด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ (คุณญานิศา) เพื่อทำความเข้าใจหลักการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมวินัย  โดยติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑-๖๙๔-๒๙๒๘ หรือเพิ่มเพื่อนใน Line ด้วย ID : @watonline



ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/QandA_5
18  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ว่าด้วย "สังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2024, 10:14:45 am
.



ว่าด้วย "สังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะมาถวายสังฆทานและภัตตาหารที่วัด สามารถถวายได้ทุกวันก่อนพระฉันเช้าและฉันเพล ณ ญาณเวศก์ธรรมศาลา โดยพระจะนำสมาทานศีล รับถวายทาน สัมโมทนียกถา (แสดงธรรม) และอนุโมทนากถา (ให้พร) ตามลำดับ
    - ช่วงเช้า เวลาประมาณ ๐๖.๔๕ น.
    - ช่วงเพล เวลาประมาณ ๑๐.๔๕ น.

หากประสงค์ถวายหลังช่วงฉันภัตตาหาร สามารถถวายได้ ดังนี้
    - ช่วงเช้า  ทุกวัน เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. - ๑๐.๓๐ น.
    - ช่วงบ่าย  โดยปกติไม่มีพระมารับสังฆทานเพราะติดกิจทางการศึกษาและงานเผยแผ่

ในวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันสำคัญ อาจมีพระมารับสังฆทาน โดยไม่สามารถยืนยันล่วงหน้า และไม่สามารถนิมนต์พระตามคำขอของญาติโยมที่มาได้

หากญาติโยมต้องการถวายสังฆทานในช่วงที่ไม่มีพระมารับ สามารถนำไปวางถวาย ณ ที่ที่จัดไว้ ด้านข้างพระประธานในอาคารญาณเวศก์ธรรมศาลา (ปิดเวลา ๑๕.๐๐ น.)

คลิกเพื่ออ่านบทความ "ทบทวนเรื่องสังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หมายเหตุ

    1. สาธุชนถวายสังฆทานในเวลาและสถานที่ที่กำหนด
    2. แนะนำให้นำสังฆทานไปวางจุดที่กำหนดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    3. พระภิกษุ ๑ รูป เป็นตัวแทนสงฆ์ แสดงธรรม ให้ศีล ให้พร กล่าวคำถวายสังฆทานร่วมกัน
    4. หากประสงค์จะถวายพระหลายรูป โปรดนิมนต์ล่วงหน้า
    5. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณญาณิศา โทร ๐๘๑-๖๙๔-๒๙๒๘ (ยกเว้นวันพฤหัสบดี)

คำถามที่ถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

    • ในการถวายสังฆทานนั้น อะไรควรถวาย? อะไรไม่ควรถวาย?
    • ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง?


 

ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/offering

.



"ทบทวนเรื่องสังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

 :25: :25: :25:

สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ สิริ โภคานมาสโย : ศรัทธาเอาเสบียงมามัดรวมไว้ สิริดึงดูดโภคสมบัติให้เนืองนองหลั่งไหลมา

ขออนุโมทนาญาติโยม ที่มีจิตศรัทธา ได้มาวัด ทําบุญเจริญกุศลกันมากท่าน หลายกิจกรรม บุญพิธีที่สาธุชนมาทำบ่อยที่สุด ก็คือ สังฆทาน ซึ่งเวลานี้ได้กลายเป็นกระแสนิยม

@@@@@@@

ก. ทำทาน อย่าเสียบุญ

เมื่อสาธุชนมาทําสังฆทาน พระในวัดก็ต้องออกมารับ ญาติโยมมาคณะหนึ่ง หรือแม้เพียงคนหนึ่ง พระก็ต้องออกมารับ ครั้งหนึ่ง บางทีญาติโยมมากันวันหนึ่งอาจถึง ๑๐ ราย ถ้ามีพระมากพอ ก็ฉลองศรัทธาโยมไป แต่เวลานี้ญาติโยมมาถวายสังฆทานบ่อย ขณะที่จํานวนพระลดน้อยลง

อีกทั้งงานวัดและศาสนกิจด้านอื่นที่เพิ่มขึ้นๆ เกินกําลังของพระ จนถึงจุดที่ต้องบอกญาติโยม

พระสงฆ์ในวัดญาณเวศกวัน ขณะนี้มีทั้งหมด ๑๓ รูป เป็นพระเก่า ๑๐ พระใหม่ ๓
    - ในพระเก่า ๑๐ นั้น ชราอายุ ๙๔ ปี ๑ รูป, มีอวัยวะหลายชิ้นชำรุด ๑ รูป ยังหนุ่มแต่อาพทธรุนแรงแทบ เกินไม่ได้ ๑ รูป, น้ําหนัก ลดสิบกิโลอยู่ในโรงพยาบาล ๑ รูป เหลือค่อนข้างปาก ๖ รูป
    - ส่วนพระใหม่ คือ พระนวกะ ๓ รูปนั้น เข้ามาเพื่อบวชเรียน และมีเวลาจํากัด ยิ่ง (ส่วนมากบวชรูปละ ๑ เดือน) กำลังต้องการฝึกศึกษาปฏิบัติกิจวัตรเต็มเวลา

เป็นอันว่า มีพระเท่าที่จะมารับญาติโยม ๖ รูป แต่ที่หนักก็คือ ทุกรูปนี้ต้องแบกงานวัดที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับออกปฏิบัติศาสนกิจนอกวัด เฉพาะอย่างยิ่งไปบรรยายและสอนศีลธรรม ใน ร.ร. ต่างๆ

การศึกษาและเผยแผ่ธรรมนี้ เป็นศาสนกิจหลักตามพระพุทธโอวาท หลักธรรมวินัยบอกว่า ญาติโยมศรัทธา ก็คือมาช่วยหนุนให้พระสงฆ์มีกําลังไปทําศาสนกิจหลักนี่แหละ

ฉะนั้น จะต้องช่วยกันไม่ให้การพบโยมรับสังฆทาน กลายเป็นเหตุบั่นทอนศาสนกิจ แต่ตรงข้ามจะต้องให้สังฆทานและไม่ว่าทานใดๆ เป็นเครื่องช่วยหนุนให้พระมีเรี่ยวแรง และเวลาที่จะศึกษาและเผยแผ่ธรรมได้มากยิ่งขึ้น ให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ให้จงได้ จึงจะเป็นบุญแท้ที่เต็มสมบูรณ์

@@@@@@@

ข. พระได้งาน โยมยิ่งได้บุญ

ถ้ารู้วิธี ทานต้องหนุนศีลภาวนาของโยม และหนุนศาสนกิจของพระ แน่นอน จะทําอย่างไร ก็พลิกใจนิดเดียว พอไปถูกแง่ ก็จะดีทั้งแก่พระศาสนาและแก่โยมศรัทธานั้นเอง

สาธุชนจํานวนมากไปถวายสังฆทานเพื่อให้พ้นเคราะห์ เวลานั้นคือ ใจตกชีวิตอ่อนแอ ก็จะให้บุญช่วย เวลาทําบุญจึงตั้งวางใจ แต่ให้ได้ผลบุญมาช่วยให้หายเคราะห์ ให้เบา หรือโล่งไปที ศรัทธาแบบนี้มีกําลังน้อย แล้วคนที่ใจอ่อนแอก็ไม่มั่นคง หวั่นไหวง่าย เป็นช่องให้เคราะห์ใหม่เข้ามาอีก

จึงต้องตั้งวางจิตให้ถูก จะทําอย่างไร ก็คือ เวลาถวายสังฆทานหรือ ทําบุญอะไร ก็มีสติระลึกนึกเห็นว่า ที่เราถวายทานนี้ๆ คือ เราช่วยให้พระสงฆ์และพระพุทธศาสนา มีกําลังทำศาสนกิจ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เพื่อให้ชีวิต ดีสังคมร่มเย็น ประเทศชาติประชาชนเจริญงอกงาม มีสันติสุข

พอนึกอย่างนี้ ในใจจะเกิดมีพลังขึ้นมาทันที ทําให้ชีวิตเข้มแข็ง นี่คือที่เรียกว่า "สิริ" หรือ "ศรี" ไม่ใช่ศักดิ์ศรีผิดๆ แบบที่จะเอามาข่มหรือแข่งกัน แต่คือ ศักดิ์ศรีแท้ ที่รู้ตัวขึ้นว่า เรานี้มีพลังมีอํานาจ สามารถเกื้อหนุนโอบอุ้มผู้อื่นได้ นี่ก็คือ มีอานาจศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ที่พร้อมจะก้าวหน้าไป ตอนนี้ความอ่อนแอ ท้อแท้ระโหยโรยแรงหมดไป มีแต่ความเข้มแข็งและพลังความมั่นใจ พร้อมที่จะทําการทั้งหลายให้สําเร็จ คนจะพ้นเคราะห์ร้าย และมีโชคดีจริง ต้องตั้งวางจิตถึงขั้นนี้

นี่แหละเข้าพุทธภาษิต ที่ตั้งไว้เป็นหัวข้อข้างบน สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ สิริ โภคานมาสโย ซึ่งแปลว่า "ศรัทธาเอาเสบียงมามัดรวมไว้ สิริดึงดูดโภคสมบัติให้เนืองนองหลั่งไหลมา"

คนไม่มีสิริก็ไม่มีแรงดึงเอาโชคมา จึงต้องรอแรงข้างนอกบันดาล ให้ได้โชคมาที่หนึ่งๆ ทำแล้วทำเล่า ฉะนั้นเมื่อ ศรัทธาพาเราไปถวายสังฆทาน ขากลับต้องให้ได้สิริมาด้วย จะได้ไม่ต้องรอพึ่งแต่พิธี

    วิธีปฏิบัติ

    1. ถวายสังฆทานแท้ ที่ไม่ต้องมีพิธี
    2. ถ้ายังต้องการแบบพิธี นานปีทำสักครั้ง
    3. ขยันหาบุญอื่นที่เหนือกว่าทาน
       (ทั้งหมดนี้ เวลาทำตั้งจิตวางเจตนาให้ถูก)

                                                          พระพรหมคุณาภรณ์ | ๒๑ เมษายน ๒๕๕๐
19  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดผลสำรวจ สุสานโครงกระดูกมนุษย์ยุคหิน เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อน ปวศ.สำคัญของไทย เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2024, 07:39:55 am
.



เปิดผลสำรวจ สุสานโครงกระดูกมนุษย์ยุคหิน กรมศิลป์ ชี้ เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อน ปวศ.สำคัญของไทย

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีการสำรวจพบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ภายในถ้ำเขาค้อม หมู่ที่ 10 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จึงมอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 พบว่า

ถ้ำเขาค้อมตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาหินปูนลูกโดด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล จากการสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์  ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เปลือกหอยน้ำจืดและเปลือกหอยทะเล เป็นต้น




ผลจากการศึกษาวิเคราะห์โบราณวัตถุในเบื้องต้นกำหนดให้เขาค้อมเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ กำหนดอายุราว 3,000 – 6,000 ปีมาแล้ว อ้างอิงผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโร๊ะ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เมื่อปี พ.ศ.2553 ซึ่งพบโครงกระดูกยุคก่อนประวัติศาสตร์ กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ราว 3,000 ปีมาแล้ว

ผลจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีที่ผ่านมาพบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นพื้นที่จังหวัดสตูลเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย โดยสำรวจพบแหล่งโบราณคดีอย่างน้อย 46 แหล่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อประกาศรายชื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า กรมศิลปากรขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมกันปกป้องคุ้มครองและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีของกรมศิลปากรและการพัฒนางานวิชาการต่อไปในอนาคต




















ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4590225
วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 - 13:35 น.   
20  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘ล้มทฤษฎี’ กินไข่ไก่ ‘คอเลสเตอรอลสูง’ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2024, 07:10:59 am
.



‘ล้มทฤษฎี’ กินไข่ไก่ ‘คอเลสเตอรอลสูง’ | จักรกฤษณ์ สิริริน

กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture : USDA) ได้ประกาศ “ถอดคอเลสเตอรอล” ออกจากสารอาหารที่ชาวอเมริกันต้องควบคุม หลังจากค้นพบว่า “คอเลสเตอรอล” จาก “ไข่ไก่” ไม่ว่าจะเป็น HDL LDL รวมถึงไตรกรีเซอไรด์ ที่ได้รับจาก “ไข่ไก่” ไม่สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา” หรือ USDA ได้เปิดผลวิจัยที่น่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ไข่ไก่” เป็นผลจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม คือ ระหว่างกลุ่มคนที่ไม่รับประทานไข่ กลุ่มที่รับประทานไข่ต้ม และกลุ่มที่รับประทานไข่ดาว คนละ 1 ฟองต่อวัน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รับประทาน “เมนูไข่” ดังกล่าว ติดต่อกันประมาณ 2 เดือน

ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 มีระดับ “คอเลสเตอรอล” ไม่ว่าจะเป็น HDL LDL รวมถึงไตรกรีเซอไรด์ “ไม่แตกต่างกัน” การทดลองนี้จึงพิสูจน์ให้เห็นว่า การรับประทาน “ไข่ไก่” ไม่มีความสัมพันธ์กับ “ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด” แต่อย่างใด

ข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าว ได้เปรียบเทียบพลังงานที่ได้จาก “ไข่ไก่” แต่ละประเภท ที่พบว่า “ไข่ต้ม” 1 ฟอง ให้พลังงาน 75 กิโลแคลอรี “ไข่ดาว” 1 ฟอง ให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี และ “ไข่เจียว” 1 ฟอง ให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี

ดังนั้น ไข่ต้มจึงเป็น “เมนูไข่” ที่ให้พลังงานต่ำที่สุด ขณะเดียวกัน “ไข่ต้ม” มีสัดส่วนระหว่าง Omega-6 ต่อ Omega-3 ต่ำที่สุด ซึ่งถือว่าดีต่อสุขภาพ

สรุปผลการวิจัยของ USDA ที่พบว่า “ไข่ไก่” เป็นแหล่งของ Omega-3 ซึ่งมีคุณค่าเทียบเท่าหรือมากกว่าไขมันในปลาแซลมอน และปลาทะเล อุดมด้วยกรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic Acid) และ EPA (Eicosapentaenoic Acid) โดยทั้ง DHA และ EPA มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง สายตา หัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบหลอดเลือด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไข่ไก่” ช่วยในด้านการทำงานของสมอง ผู้ที่บริโภค “ไข่ไก่” เป็นประจำ สมองจะตอบสนองต่อเรื่องต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้นมากกว่า 25% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้บริโภค “ไข่ไก่”

นอกจากนี้ “ไข่ไก่” ยังช่วยป้องกัน “โรคสมาธิสั้น” ในเด็ก และยังช่วยลดความเสี่ยงการเป็น “โรคสมองเสื่อม” หรือ “อัลไซเมอร์” ในผู้สูงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกิน “ไข่ไก่” เป็นประจำ ยังมีส่วนช่วยป้องกัน “โรคหัวใจ” ได้อีกด้วย


@@@@@@@

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ตรงกันข้ามกับคำสอน หรือสิ่งที่บอกเล่าต่อๆ กันมาเป็นเวลายาวนานว่า “ไม่ควรบริโภคไข่ไก่มาก” เพราะจะทำให้ “คอเลสเตอรอลสูง” ผลการวิจัยของ “กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา” ข้างต้น จึงเสมือนการ “ล้มทฤษฎี” กินไข่แล้ว “คอเลสเตอรอลสูง” ซึ่งเป็นความเชื่อผิดๆ ที่ส่งทอดกันมาหลายสิบปี ล้มความมั่นใจของผู้ที่เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “คอเลสเตอรอล” ใน “ไข่ไก่” ลงไปอย่างสิ้นเชิง

ทฤษฎีกินไข่แล้วคอเลสเตอรอลสูง เป็นความเชื่อที่ผิดมานาน เพราะคอเลสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
    1. คอเลสเตอรอล 75% ของร่างกาย ถูกสร้างขึ้นที่ตับ จากพลังงานส่วนเกินของร่างกาย
    2. คอเลสเตอรอล 25% ที่เหลือ ได้รับจากกินอาหารโดยตรง

ดังนั้น การลด ละ เลิก การกิน “ไข่ไก่” ไม่ได้ทำให้ “ระดับคอเลสเตอรอล” ต่ำลงแต่อย่างใด ไม่เช่นนั้น “กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา” คงไม่เฉลยบทพิสูจน์ให้เห็นกันว่า “ไข่ไก่” มีคุณค่าทางอาหารเต็มใบแค่ไหน เพราะ “ไข่ไก่” เป็น “แหล่งโปรตีนคุณภาพดี” ย่อยง่าย เด็กกินได้-ผู้ใหญ่กินดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงวัยที่รับประทาน “ไข่ไก่” จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยให้ได้รับวิตามิน+เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ

    - “ไข่ไก่” มี “ลูทีน” ที่ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา และสมอง ที่พบว่า มีความสัมพันธ์กัน คือดวงตาดี สมองจะดี ทำให้เรียนดี
    - “ไข่ไก่” เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยสารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน ไข่ไก่ 1 ฟองมีโปรตีน 7 กรัม ให้พลังงาน 75 กิโลแคลอรี
    - “ไข่ขาว” ประกอบด้วย Ovalbumin, Ovoglobulin และ Phosphoprotein ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบของโปรตีนซึ่งอุดมไปด้วย “กรดอะมิโน 8 ชนิด” ที่จำเป็นต่อร่างกาย
    - “ไข่แดง” ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ โดยไขมันที่มีอยู่มากใน “ไข่แดง” เป็นไขมันประเภทอิ่มตัว
    - “ไข่ไก่” 1 ฟอง มีวิตามิน-แร่ธาตุหลากหลาย อาทิ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินดี ไอโอดีน อิโนซิทอล แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นต้น รวมถึง “โฟเลต” ที่ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือด




โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โคลีน” ใน “ไข่ไก่” นั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญในสารที่เรียกว่า “เลซิติน” ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง และป้องกันภาวะความผิดปกติของระบบประสาท “โคลีน” มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ความสามารถในการเรียนรู้ ช่วยชะลอการสูญเสียความทรงจำในผู้สูงอายุ หรือโรคสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ “โคลีน” ยังช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยชะลอความแก่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไข่ไก่” มี “ซิลิเนียม” สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยชะลอวัย และป้องกันอัลไซเมอร์ ใน “ไข่ไก่” 1 ฟอง มี “ซิลิเนียม” มากถึง 1 ใน 4 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันเลยทีเดียว

“โฟลิก” ใน “ไข่ไก่” ถูกใจเด็กทารกที่ยังไม่มีฟัน และผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันเคี้ยวอาหารประเภทเนื้อสัตว์
“โฟลิก” เป็นสารป้องกันโลหิตจาง และเป็นสารที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไข่ไก่” มีวิตามินบี 6 และบี 5 ช่วยคลายเครียด ควบคุมพลังงาน และรักษาระดับฮอร์โมนทางเพศ ช่วยให้พลังขับเคลื่อนทางเพศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ กิน “ไข่ไก่” ทุกวัน วันละ 1 ฟอง เสริมพลังทางเพศ ชาร์จแบตเต็มทั้งแท่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยให้ไวต่อความรู้สึกทางเพศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพศชายที่ต้องการเพิ่มพลังทางเพศ มักจะนิยมสั่งไข่ลวกกินทุกวัน วันละ 1 ฟอง เหมือนได้ยาโด๊ปราคาถูก หาซื้อง่าย และที่สำคัญก็คือ กิน “ไข่ไก่” ไม่ต้องกลัว “คอเลสเตอรอลสูง” ไม่มีอันตรายต่อหัวใจ และมีประโยชน์ในด้านการเสริมสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย

นอกจากนี้ การรับประทาน “ไข่ไก่” เป็นประจำ ยังช่วยให้สเปิร์มแข็งแรงขึ้น เพราะไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินอี ที่ช่วยบำรุงรักษาเนื้อเยื่อลูกอัณฑะไม่ให้เสื่อมเร็ว รวมทั้งยังเพิ่มปริมาณอสุจิ และช่วยเสริมศักยภาพของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย


@@@@@@@

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า “ไข่ไก่” จะช่วยส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 HDL-Cholesterol, Insulin Sensitivity ไขมัน และกลูโคส เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

กิน “ไข่ไก่” ช่วยให้อิ่มเร็ว หิวช้า ลดความอยากอาหาร ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก

สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งเปลี่ยนให้คำแนะนำในการกิน “ไข่ไก่” จากเดิมที่ห้ามไม่ให้บริโภค “ไข่ไก่” เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ มาเป็นให้บริโภค “ไข่ไก่” วันละ 1 ฟอง

อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่จำเป็นต้องควบคุมไขมันในเลือด ยังไม่ควรรับประทานไข่มากกว่า 3 ฟองต่อสัปดาห์ ดังนั้น การเลือกรับประทาน “ไข่ไก่” แบบใหม่ จะทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และทำให้สุขภาพดีครับ







ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เขียน : ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566
URL : https://www.matichonweekly.com/healthy/article_644584
21  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ความรู้จักพอเป็นยอดแห่งทรัพย์ : 'สุจริตกถา' โดย พระพรหมบัณฑิต เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2024, 09:31:01 am
.



หิริโอตัปปะและศีล ๕ : หลักธรรมป้องกันการทุจริต
โดย พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดีมหาจุฬาฯ เทศน์ "สุจริตกถา"


กล่าวว่า มหาจุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การจัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นโอกาสสำคัญในการแสดงถึงความกตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม โดยมีพระปฐมบรมราชองค์การว่า

"เราจะครองแผ่นโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" คำว่า "โดยธรรม" หมายถึง "สุจริตธรรม" พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องสุจริตธรรมครั้งแรกให้พระเจ้าสุทโทธนะ มีหน้าที่ด้วยความสุจริต มี ๓ ประการ

    ๑. "ไม่บกพร่องต่อหน้าที่" ทำหน้าที่ตนเองให้ที่สุด ร้องให้สุดคำ รำให้สุดแขน ทำให้ดีที่สุด ทำอะไรอย่าให้บกพร่อง
    ๒. "ไม่ละเว้นต่อหน้าที่" ผู้เป็นบิดามารดาไม่ละทิ้งหน้าที่ในการสั่งสอนบุตรของตน เพราะถ้าบุตรเป็นโจร บิดามารดาย่อมมีส่วนโจรด้วยเพราะไม่สั่งสอนบุตร
    ๓. "ไม่ทุจริตต่อหน้าที่" ไม่ใช้หน้าที่ของตนในการทำการทุจริต รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต" อาณาจักรหรือประเทศจะล้มสลายถ้ามีการทุจริต กล่าวว่า "สนิมเกิดแต่เหล็ก จะกัดกินเหล็ก" ซึ่งสภาพในสังคมไทยปัจจุบันมีการทุจริตจำนวนมากเป็นสนิทร้ายต่อประเทศ ลักษณะมือใครยาว สาวได้สาวเอา มีการแย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่

นำไปสู่การขาดความสามัคคีในประเทศชาติ เป็นการละเมิดศีล ๕ ในข้อที่ ๒ คือ ถือเอาสิ่งของจากเจ้าของท่านไม่ได้ให้ ควรงดเว้นด้วยวิรัติ ถือว่าเป็นการงดเว้น ต้องมีหิริ ความละอายแก่ใจ การส่งเสริมในเรื่องศีล ๕ ของมหาเถรสมาคม จึงเป็นการต่อต้านการทุจริตนั่นเอง

@@@@@@@

สมัยอดีตก็มีการทุจริต ทนันชาณิพราหมณ์มีการปล้นพระราชา ฉ้อราษฏร์บังหลวง อ้างพระราชาปล้นประชาชน อ้างว่าจะไปช่วยเหลือประชาชน แต่กลับเอาไปใช้ส่วนตัว อ้างว่าเอาเงินไปเลี้ยงบิดามารดา บุตร และ ณ สวนสัตว์แห่งหนึ่งมีการทุจริตต่อหน้าที่ ในการเลี้ยงเสือ ประชาชนมาดูเสือทำไมเสือไม่อ้วน เสือผอม ทำไมเสือผอมเป็นการตั้งคำถามของประชาชน เพราะอาหารเสือโดนเบียดบัง ผู้อำนวยการสวนสัตว์ส่งผู้ตรวจการ ๓ คน มาตรวจทุจริตทั้ง ๓ คน จึงมีโครงโลกนิติว่าด้วยว่า "เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อมังสา" กล่าวว่า

    เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ มังสา
    นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา ไป่อ้วน
    สองสามสี่นายมา กำกับ กันแฮ
    บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน บาทสิ้นเสือตาย

เสือ หมายถึง ประเทศชาติ รวมถึงประชาชนในชาติ ผู้นำรัฐ ข้าราชการ ต้องประพฤติสุจริตธรรม ประเทศถึงจะอยู่รอด การทุจริตทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซื้อสิทธิ์ขายเสียง ก็ถือว่าเป็นการทุจริต สหประชาชาติจึงประกาศให้วันที่ ๙ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านการทุจริตของโลก ประชาชนต้องไม่สนับสนุนการทุจริต

ธรรมะที่คุ้มครองโลก คือ "หิริและโอตัปปะ" เป็นธรรมะที่ให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นธรรมะฝ่ายขาวคุ้มครองโลก
    หิริ หมายถึง ความละอายต่อบาป ต่อความชั่วทั้งหลาย ไม่นำร่างกายไปเปื้อนกับความสกปรก
    คำว่า โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เปรียบเหมือน ถ่านไฟ อย่าได้ไปเข้าใกล้มันร้อน
    เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่โลกจะสามารถอยู่รอดและปลอดภัย

การงดเว้นการทุจริตก็ต่อเมื่อมีธรรมะ คือ "หิริและโอตตัปปะ" เป็นหลักธรรมป้องกันการทุจริต เพราะเมื่อละอายแก่ใจ ดังคำกล่าวว่า" อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ" เหมือนนางขุตชุตรา เป็นนางสาวใช้ของพระนางสามวดี เบิกเงินไปซื้อดอกไม้ แต่ซื้อเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เธอได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ทำให้กลับตัวกลับใจ มีความหิริภายในใจ เธอพยามสร้างอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์ภายใน "ความรู้จักพอเป็นยอดแห่งทรัพย์"


@@@@@@@

เศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวง ถือว่าเป็นการป้องกันการทุจริต คือ ให้เรารู้จักพอ เพียงพอ ประมาณตนเอง ในการบริหารชีวิต เพราะถ้าไม่พอก็เกิดความโลภ โอตัปปะเป็นความกลัว กลัวต่อการกฎหมายลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ กลัวต่อการตกนรก คนสมัยโบราณกลัวการทุจริต กลัวต่อผลบาปการทุจริต จึงยึด "ทำได้ดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

เราปฏิบัติสุจริตย่อมมีชีวิตที่มีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า มีพราหมณ์คนหนึ่งสมัยพระเจ้าโกศล เขาทดลองว่า ถ้าประพฤติทุจริตจะเป็นอย่างไร.? ด้วยการหยิบเหรียญวันละ ๑ เหรียญ ทำเรื่อยๆ และหยิบเป็นกำมือ จนคนตะโกนว่าจับโจร พระราชาถามว่าทำไมถึงทำแบบนี้ พราหมณ์ตอบว่า เป็นการทดลองการประพฤติผิดว่าจะเป็นอย่างไร พราหมณ์จึงออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า

องค์ในหลวงของเรารักเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติสุจริตธรรม จะทำให้ประเทศของเรามีความ "มั่นคง มั่งคั่ง และสันติสุข" สืบไป





Thank to :-
image : https://www.pinterest.ca/
URL : https://www.mcu.ac.th/news/detail/12803
๑๐/๐๘/๒๐๑๖
22  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขอเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ มจร.วังน้อย เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2024, 08:45:35 am
.



มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มจร.วังน้อย พระนครศรีอยุธยา

ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ  ขอเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ครั้งที่ 10 รับจำนวน 150 รูป/คน เท่านั้น ระหว่างวันที่ 1-4 มิถุนายน  2567 เฉลิมพระเกียรติ วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ณ อาคาร 72 ปี พระวิสุทธาธิบดี (หอฉันชั้น 4)สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กรุณาอ่านก่อนสมัครทุกครั้ง https://shorturl.asia/xvZmo

สมัครเข้าร่วมโครงการ https://plan-vipassana.mcu.ac.th/vi/register.php?id=50

เข้าLINEกลุ่ม กด https://line.me/ti/g/Qdd1K_vA5

ทำบุญสนับสนุนโครงการ https://plan-vipassana.mcu.ac.th/vi/donate/register2.php

ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รับเฉพาะผู้อยู่ร่วมโครงการได้เท่านั้น การสมัครแทนกันให้ถามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมว่าสะดวกหรือเปล่า

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม สถาบันวิปัสสนาธุระ โทร: 035-802-737

พระมหาแสงตะวัน ขนฺติเมธี โทร 06-1935-9836 นายชรัณวัชร์ ลีวัฒนโชตเดชากุล โทร 0621070470

(จองห้องพักอาคาร ๙๒ ปีปัญญานันทะ โทร 0925052870)

https://plan-vipassana.mcu.ac.th/?p=6823











Thank to :  https://www.mcu.ac.th/news/detail/51673
23 พ.ค. 67 | ข่าวมหาวิทยาลัย
23  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “Golden Boy” ประติมากรรมล้ำค่า อายุนับพันปี คือ “พระศิวะ” จริงหรือ? เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2024, 08:34:16 am

 :25: :25: :25:

“Golden Boy” ประติมากรรมล้ำค่า อายุนับพันปี คือ “พระศิวะ” จริงหรือ?


Golden Boy ประติมากรรมสำริดที่ไทยเพิ่งได้รับคืนจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



 :96: :96: :96:

“Golden Boy” คือ“พระศิวะ” จริงหรือ.?

ในที่สุด Golden Boy และประติมากรรมสตรี โบราณวัตถุ 2 รายการที่มีอายุนับพันปี ก็เดินทางกลับสู่เมืองไทยเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางความยินดีของคนไทยทั้งประเทศ พร้อมจัดแสดงในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เมื่อครั้ง Golden Boy จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน นครนิวยอร์ก (The MET) สหรัฐอเมริกา คำอธิบายใต้ประติมากรรมชิ้นนี้ คือ “พระศิวะประทับยืน” ซึ่งในวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ที่มีพิธีรับมอบโบราณวัตถุ 2 รายการ คือ Golden Boy และประติมากรรมสตรี จาก The MET ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จอห์น กาย (John Guy) ภัณฑารักษ์ แผนกศิลปะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก The MET ที่ร่วมในพิธีรับมอบ ก็ได้ระบุว่า Golden Boy คือ “พระศิวะ”

เหตุผลดังกล่าวคืออะไร.?

เขากล่าวว่า ประติมากรรมสำริดกะไหล่ทองรูปพระศิวะในศาสนาฮินดูนี้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นเดียวอย่างไม่ต้องสงสัย และเป็นหนึ่งในประติมากรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดประเภทรูปเคารพ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพการเก็บรักษาเกือบสมบูรณ์

ประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ ทำหน้าที่เป็นรูปเคารพทางศาสนาที่สำคัญในเทวสถาน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะหมายถึง “พระศิวะ” เทพในศาสนาพราหมณ์

“หากพิจารณาจากผ้านุ่งห่มแบบสมพตในภาษาเขมร หรือผ้านุ่งในภาษาไทย มีการตกแต่งรอยผูกที่ชายผ้าด้านหน้า และปมผ้าด้านหลังก็ตกแต่งอย่างสวยงาม สะท้อนเรือนร่างที่สวมใส่อยู่ เครื่องประดับ พาหุรัด กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า กรองคอ และ มงกุฎ เป็นส่วนสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์” ภัณฑารักษ์จาก The MET เผยถึงความงามของ Golden Boy

เขาบอกอีกว่า ประติมากรรม Golden Boy และประติมากรรมสตรี หล่อด้วยกระบวนการสูญขี้ผึ้ง (Lost Wax) โดยมีแกนเหล็กที่ยื่นออกมาจากส่วนมงกุฎถึงเท้า การตกแต่งในขั้นตอนสุดท้ายบนพื้นผิวสำริด ทำได้อย่างประณีตและละเอียด

เมื่อตรวจสอบพระพักตร์ของทั้งพระศิวะและสตรีนั่งชันเข่าโดยละเอียด พบว่า ทั้ง 2 องค์มีการตกแต่งด้วยการฝังแก้ว หินผลึก และโลหะที่แตกต่างกัน คือทองคำและเงิน พระเนตรของพระศิวะล้อมด้วยเงิน และพระเนตรดำอาจเคยมีหินคริสตัลฝังอยู่ หนวดและเคราก็มีร่องรอยการประดับตกแต่งด้วยการฝังวัตถุเช่นเดียวกัน

@@@@@@@

อย่างไรก็ดี แม้ The MET จะตีความว่าเป็น “ประติมากรรมพระศิวะ” แต่กรมศิลปากรก็ระบุว่า ท่าทางของพระหัตถ์ทั้งสองมีความแตกต่างจากประติมากรรมโดยทั่วไป ที่มักจะถือสัญลักษณ์ของพระศิวะ และไม่ปรากฏพระเนตรที่สามบนพระนลาฏ

แล้วบอกอีกว่า Golden Boy จึงอาจหมายถึงรูปบุคคลในสถานะเทพ หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่า ถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ 2 อย่าง คือ เป็นรูปเคารพเพื่อบูชาในศาสนสถานประจำราชวงศ์ หรือเป็นรูปเคารพของบูรพกษัตริย์

อ่านเพิ่มเติม :-

    • ใครคือ “Golden Boy” ? รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย
    • รู้ได้อย่างไร “Golden Boy” เป็นของไทย ไม่ใช่เขมร?
    • น่าสงสัย!? ประติมากรรม “Golden Boy” เก่าแก่กว่ายุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 6





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 22 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132885
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ข้าวมธุปายาส (อาจ)เป็นเช่นไร.? | มาดู "มธุปายาส" ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2024, 06:35:02 am
.



ข้าวมธุปายาส (อาจ)เป็นเช่นไร.? | มาดู "มธุปายาส" ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

บทความในคอลัมน์พินิจอินเดียฉบับนี้มีความพิเศษ เพราะมีนางสาวภัคจิรา ธรรมมานุธรรม นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นนักเขียนรับเชิญร่วมกับผู้เขียนประจำ ด้วยมีจุดประสงค์ที่คณาจารย์ทีมอินเดีย จุฬาฯ ต้องการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานคุณภาพของนิสิตที่ตั้งใจศึกษาค้นคว้าเรื่องอินเดีย ให้ได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน บทความมีเนื้อหาดังนี้

‘ข้าวมธุปายาส’ ปรากฏในพุทธประวัติตอนนางสุชาดาถวายอาหารมื้อสุดท้ายแด่พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่พระองค์จะทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในราตรีวัน 15 ค่ำ เดือนวิสาขะ เมื่อ 2500 กว่าปีที่แล้ว เป็นเรื่องที่น่าสงสัยใคร่ศึกษาให้รู้ว่า ลักษณะที่แท้จริงของข้าวมธุปายาสในพุทธประวัตินั้นเป็นเช่นไรกันแน่ บทความฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะค้นคว้าหาหลักฐานเท่าที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายภาษาบาลีมาแสดงเพื่อตอบคำถามดังกล่าว


@@@@@@@

มธุปายาส เป็นภาษาบาลีประกอบด้วยคำสองคำ กล่าวคือ
    ‘มธุ’ แปลว่า น้ำผึ้ง และ ‘ปายาส’ แปลว่า ข้าวหุงด้วยน้ำนม
    โดยคำว่า ปายาส มาจากคำว่า ‘ปยสฺ’ ที่แปลว่าน้ำนม
    โดยนัยนี้ มธุปายาส จึงแปลว่า ข้าวหุงด้วยน้ำนมใส่น้ำผึ้ง

พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีข้อความตอนหนึ่งในพุทธวงศ์ ขุททกนิกาย ว่า

    “พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์ ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว...”

จะเห็นได้ว่าในพระไตรปิฎกบาลีใช้คำว่า ‘ปายาส’ แทนสิ่งที่พระตถาคตทรงรับและเสวยก่อนการตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในพระไตรปิฎกฉบับนี้ยังมีการใช้คำว่า ‘ปายาส’ อีกหลายแห่ง เช่น สคาถวรรค สังยุตตนิกาย, ชาดก ขุททกนิกาย, อปทาน ขุททกนิกาย

ส่วนคำว่า ‘มธุปายาส’ พบว่ามีใช้แห่งเดียวในเรื่องของพระโคสาลเถระ พบในเถรคาถา ขุททกนิกาย และมีการใช้คำว่า ‘สัปปิปายาส’ ซึ่งแปลว่า ปายาสใส่เนยใส ในหลายแห่ง เช่น สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย, ชาดก ขุททกนิกาย ในบางแห่งยังกล่าวถึงส่วนผสมด้วยว่า “ปรุงข้าวปายาส ด้วยเนยใส”(สปฺปินา ปายาโส)

จากการศึกษาพระไตรปิฎกบาลีทำให้เข้าใจได้ว่า ปายาสทั้งสามอย่าง นี้น่าจะเป็นอาหารชนิดเดียวกันและอาจจะเป็นอาหารอย่างเดียวกัน แต่มีส่วนผสมที่ต่างกัน โดยดูจากคำขยายข้างหน้าที่บอกส่วนผสมของปายาส กล่าวคือ

มธุปายาส คือ ปายาสที่ใส่น้ำผึ้ง สัปปิปายาส คือปายาสที่ใส่เนยใส การกล่าวถึงปายาสโดยไม่มีคำขยายข้างหน้านั้นอาจจะละคำที่แสดงส่วนประกอบไว้ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามเราก็ได้ทราบส่วนประกอบของปายาสว่ามีการเติมน้ำผึ้ง หรือเนยใส และอาจสันนิษฐานได้ว่า ปายาส เป็นอาหารชั้นดี ที่นิยมนำมาถวายแด่พระภิกษุ

@@@@@@@

ในอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย และอรรถกถาภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ กล่าวเรื่องข้าวมธุปายาสในพุทธประวัติไว้ ในอวิทูเรนิทาน ในนิทานกถา ซึ่งเป็นส่วนต้นของคัมภีร์ชาตกัฏฐกถา หรืออรรถกถาของคัมภีร์ชาดก ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้าวมธุปายาสมากที่สุด มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

นางสุชาดา ธิดาของกุฎุมพีในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้กระทำความปรารถนาที่ต้นไทรแห่งหนึ่งว่า ถ้าได้แต่งงานกับผู้ที่มีชาติตระกูลเสมอกันและได้บุตรคนแรกเป็นชาย จะทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์หนึ่งแสนให้ทุกปี ๆ ความปรารถนาของนางสำเร็จแล้ว

เมื่อพระมหาสัตว์กระทำทุกรกิริยาครบ 6 ปี ในวันเพ็ญเดือน 6 นางสุชาดาประสงค์จะทำพลีกรรม ก่อนหน้านั้นนางได้ปล่อยโคนม 1,000 ตัว ให้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าชะเอม ให้โคนม 50 ตัว ดื่มน้ำนมของโคนม 1,000 ตัวนั้น แล้วให้โคนม 250 ตัว ดื่มน้ำนมของโคนม 500 ตัวนั้น นางปรารถนาน้ำนมข้นและมีโอชะจึงได้ให้โคหมุนเวียนดื่มน้ำนมจนกระทั่งเหลือโค 8 ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม 16 ตัวนั้น

ในเช้าตรู่วันวิสาขบูรณมี นางสุชาดาลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ให้รีดนมโคนม 8 ตัวนั้น ลูกโคทั้งหลายยังไม่ได้ไปถึงเต้านมเหล่านั้น แต่พอนำภาชนะใหม่เข้าไปใกล้เต้านมเท่านั้น ธารน้ำนมก็ไหลออกตามธรรมดาของตน

นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์นั้นจึงตักน้ำนมด้วยมือของตนเอง ใส่ลงในภาชนะใหม่แล้วก่อไฟด้วยมือของตนเอง เมื่อกำลังหุงข้าวปายาส ฟองใหญ่ ๆ ตั้งขึ้นไหลวนเป็นทักษิณาวัฏ แม้หยาดสักหยดหนึ่งก็ไม่หกออกภายนอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ตั้งขึ้นจากเตา

สมัยนั้นท้าวจตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตา ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่ เทวดาทั้งหลายรวบรวมโอชะใส่เข้าไปในข้าวปายาสนั้น ด้วยเทวานุภาพของตน เหมือนบุคคลคั้นรวงผึ้งอันติดอยู่ที่ท่อนไม้ แล้วถือเอาแต่น้ำหวานฉะนั้น ในเวลาอื่น ๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในคำข้าว ก็แต่ว่าในวันตรัสรู้และวันปรินิพพาน ใส่โอชะในหม้อเลยทีเดียว

นางสุชาดาคิดจะใส่ข้าวปายาสในถาดทอง จึงให้คนใช้นำถาดทองมีค่าหนึ่งแสนออกมา ประสงค์จะใส่ข้าวปายาสในถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่สุกแล้ว ข้าวปายาสทั้งหมดก็กลิ้งไปประดิษฐานอยู่ในถาดเหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว ข้าวปายาสนั้นเต็มถาดหนึ่งพอดี

นางสุชาดาได้เดินไปยังโคนต้นไทร เปิดฝาเอาสุวรรณภิงคารใส่น้ำอันอบด้วยดอกไม้หอม เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับ นางสุชาดาจึงวางถาดทองข้าวปายาสในพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงทำประทักษิณต้นไม้ ถือถาดเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดที่ฝั่ง เสด็จลงสรงสนานเสร็จแล้วทรงนั่ง ทรงนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงกระทำปั้นข้าว 49 ปั้น ประมาณเท่าจาวตาลสุกจาวหนึ่ง ๆ แล้วเสวยมธุปายาสมีน้ำน้อยทั้งหมด




ข้าวมธุปายาสนั้นได้เป็นอาหารอยู่ได้ตลอด 7 สัปดาห์ และยังมีปรากฏเรื่องข้าวมธุปายาสในพุทธประวัติอยู่ในพุทธวงศ์ ขุททกนิกาย โดยมีการใช้คำว่า “ข้าวปายาสที่ไม่แข้นแข็ง มีรสอร่อยอย่างยิ่ง” (ปายาส อนายาส ปรมมธุร)

จะเห็นได้ว่ามีการใช้ ปายาส และ มธุปายาส เมื่อกล่าวถึงสิ่งเดียวกัน และมีคำขยาย มธุปายาส ด้วยคำว่า มีน้ำน้อย (อปฺโปทกมธุปายาส) นอกจากมีการบอกลักษณะของข้าวมธุปายาสว่ามีน้ำน้อยแล้ว จากลักษณะของการเสวยที่ทรงกระทำปั้นข้าว และ “ข้าวปายาสทั้งหมดก็กลิ้งไปประดิษฐานอยู่ในถาดเหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว” อีกทั้งมีข้อความว่า “ข้าวปายาสที่ไม่แข้นแข็ง” จึงทำให้พอพิจารณาได้ว่าข้าวมธุปายาสไม่ใช่อาหารที่แข็งและเหลวนัก พอจะกลิ้งไปได้เหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว และยังได้ทราบอีกว่าข้าวมธุปายาสทำมาจากนมโคและในการปรุงต้องใช้ความร้อน

อรรถกถาฉบับดังกล่าวได้อธิบายคำว่า มธุปายาส ที่ปรากฏแห่งเดียวในพระไตรปิฎกบาลีในเรื่องของพระโคสาลเถระว่าเป็น “ข้าวปายาส ที่เขาหุงด้วยน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด” และปรากฏคำอธิบายเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกบาลีอีก เช่น “ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย” ในอรรถกถาเรื่องติตถชาดก และ “ข้าวมธุปายาสที่ปรุงด้วยเนยใสเป็นต้น” และ “ข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิ” ในอรรถกถาเรื่องสันถวชาดก เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคำว่า ปายาส และ สัปปิปายาส น่าจะหมายถึงสิ่งเดียวกัน ต่างกันเพียงแค่วิธีการเพิ่มคำขยายเท่านั้น

พบว่าข้าวปายาสที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งหลายมีลักษณะแตกต่างกัน 3 ลักษณะ กล่าวคือ ข้าวปายาสที่ไม่เหลว ข้าวปายาสที่เหลว และข้าวปายาสที่มีรสเปรี้ยว ซึ่งพบว่า กล่าวถึงข้าวปายาสที่ไม่เหลวมากที่สุด

ข้าวปายาสที่ไม่เหลวพบในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎกดังนี้
    “ข้าวปายาสไม่มีน้ำ” (นิรุทกปายาส) ในมหาวรรค ทีฆนิกาย
    “ข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย” (อปฺโปทก มธุปายาส) ในคาถาธรรมบท ขุททกนิกาย
    “ข้าวปายาสมีน้ำน้อย” (อปฺโปทกปายาส) ในอุทาน ขุททกนิกาย
    “ก้อนข้าวปายาส” (ปายาสปิณฺฑ) ในชาดก ขุททกนิกาย

ข้าวปายาสที่เหลวพบในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก มีการใช้คำว่า
    “ข้าวปายาสเปียก” (กิลินฺนปายาส) ใน คาถาธรรมบท ขุททกนิกาย และ
    “เอามือกอบคูถ กินและดื่มมูตรเหมือนคดข้าวปายาส” ในเถรคาถา ขุททกนิกาย

ส่วนข้าวปายาสที่เปรี้ยวพบในอรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค มีการใช้คำว่า
    “ข้าวปายาสเปรี้ยว” (อมฺพิลปายาส)

บางแห่งในอรรถกถามีคำอธิบายถึงส่วนผสมของข้าวปายาสอีก ดังนี้
    “ข้าวปายาสทำด้วยแป้ง” ในปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย
    “ข้าวปายาสอย่างดี ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด” ในมหาวรรค ทีฆนิกาย
    “จัดแจงข้าวปายาสด้วยน้ำนมไม่ผสมน้ำ ด้วยข้าวสารแห่งข้าวสาลีที่ตนฉีกท้องข้าวสาลี ในที่นาประมาณ 8 กรีส จึงใส่น้ำผึ้ง เนยใส น้ำตาลกรวดเป็นต้นในข้าวปายาสนั้น” ในเถรคาถา ขุททกนิกาย
    “เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด ข้าวสารและนมสด...นางเห็นสิ่งเหล่านั้นก็ดีใจว่า เราประสงค์จะถวายทาน และเราก็ได้ไทยธรรมนี้แล้ว ในวันที่สอง ก็จัดทานปรุงมธุปายาสน้ำน้อย” ในวิมานวัตถุ ขุททกนิกาย
    “ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยของที่เจือด้วยเนยใสใหม่ น้ำผึ้งสุกและน้ำตาลกรวด” ในชาดก ขุททกนิกาย

@@@@@@@

ดังแสดงมานี้ จึงพอสรุปได้ว่าข้าวปายาสหรือที่นิยมเรียกว่ามธุปายาส จะประกอบด้วย ข้าว อาจจะเป็นข้าวสาลีหรือข้าวชนิดใด ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัด และมี น้ำนม เนยใส น้ำตาลกรวด น้ำผึ้ง เตรียมขึ้นด้วยวิธีหุงต้ม มีลักษณะที่ไม่แข็งและไม่เหลวมาก สามารถที่จะปั้นเป็นก้อนได้

พระไตรปิฎกบาลีภาษาไทยฉบับอื่นพบว่า มีการแปลคำว่า ปายาส เป็น มธุปายาส เช่น ในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง กรมการศาสนา พุทธศักราช 2521 และ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับสังคายนาในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช 2530 เป็นต้น ในพุทธประวัติภาษาไทยก็กล่าวถึงสิ่งนี้ด้วยคำว่า ข้าวมธุปายาส นั่นเป็นเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยคุ้นเคยอาหารชนิดนี้ในชื่อว่า ข้าวมธุปายาส

ชาวพุทธในสังคมไทย มีประเพณีการกวนข้าวทิพย์ในช่วงวันวิสาขบูชา แล้วนิยมเรียกว่า ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์มีส่วนผสมคือ ข้าว นม น้ำมันพืช น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลกรวด น้ำตาลหม้อ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา ลูกเดือย เมล็ดแตง เมล็ดบัว มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผู้ที่กวนต้องเป็นสาวพรหมจารี นุ่งขาวห่มขาว ข้าวทิพย์มีรสหวาน มีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายกาละแม ลักษณะของข้าวทิพย์ดังกล่าวจึงแตกต่างจากข้าวมธุปายาสที่ปรากฏในพุทธประวัติ ข้าวทิพย์ไม่ได้เน้นรสของนมซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของข้าวปายาส

ในหนังสือพุทธประวัติที่เขียนด้วยภาษาฮินดี ภาษาราชการที่ประเทศอินเดียใช้สื่อสารทั่วไปในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงอาหารที่พระพุทธเจ้าเสวยก่อนการตรัสรู้ จะใช้คำว่า ขีร ซึ่งเป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่ยังนิยมรับประทานทั่วไปในอินเดีย ทำจากข้าวหุงด้วยน้ำนม ใส่น้ำตาล ใส่เครื่องเทศและส่วนผสมอื่น ๆ มี กระวาน หญ้าฝรั่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น อาจใส่ ฆี(घी Ghee ) คือเนยใสด้วยก็ได้ เตรียมขึ้นโดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มแล้วกวนให้ข้นพอประมาณตามแต่ความต้องการ ลักษณะของขนมขีร คล้ายคลึงจนน่าเชื่อว่า ขีรและปายาส อาจเป็นอาหารชนิดเดียวกัน

หากถือตามนัยนี้ ก็อาจกล่าวได้ว่าข้าวมธุปายาสคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดียที่รักษาอัตลักษณ์มาอย่างยาวนานในการให้ความสำคัญแก่น้ำนม อาหารส่วนใหญ่ในอินเดียล้วนมีน้ำนมเป็นส่วนผสมสำคัญ จาก ‘ข้าวมธุปายาส’ หรือ ‘ปายาส’ อาหารในพุทธประวัติ สู่ ‘ขีร’ ขนมหวานที่เรียบง่ายแต่น่าเย้ายวน ผ่านกาลเวลาเนิ่นนานมากว่าสองพันปี ความหอมหวานของข้าวที่หุงด้วยน้ำนมยังไม่จืดจางหายไปจากแผ่นดินอินเดีย ดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งในโลก






Thank to : https://mgronline.com/daily/detail/9610000032227
เผยแพร่: 1 เม.ย. 2561 12:29 | โดย : อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด และนางสาวภัคจิรา ธรรมมานุธรรม สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ ข้าวมธุปายาส หรือ ข้าวทิพย์ เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2024, 05:46:04 am
.



เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ ข้าวมธุปายาส หรือ ข้าวทิพย์



 :25: :25: :25:

การกวนข้าวสำมะปิ หรือ ข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส

เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่จะทำในงานประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวอีสาน ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี

ข้าวสำมะปิ หรือข้าวทิพย์ ในพุทธประวัติเรียกว่า ข้าวมธุปายาส เป็นข้าวทิพย์ที่นางสุชาดา บุตรีกฏุมพี ในสมัยพุทธกาล จัดปรุงขึ้นแล้วนำไปถวายพระมหาบุรุษก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในย่ำรุ่งของคืนนั้นเอง

เหตุนี้ ชาวบ้านจึงเชื่อว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารทิพย์ช่วยให้สมองดี เกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค



ที่มา : Tnews https://www.tnews.co.th/religion/420474/

 
จุดเด่นของข้าวมธุปายาส

จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยกย่อง "มธุปายาส" ว่าเป็น "ข้าวทิพย์" ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้

ที่มาของข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส ครั้งพุทธกาล

ข้าวทิพย์ หมายถึง อาหารวิเศษ สำหรับถวายเทวดา ทำจากอาหาร 108 อย่าง เช่น น้ำนมข้าว ข้าวสาลีเกษตรสาคู เผือก มัน นม เนย ผักผลไม้ มะพร้าว น้ำอ้อย ฯลฯ นำมาบดจนเป็นแป้ง ผสมในน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาล แล้วนำมากวนบนไฟอ่อนๆ จึงเรียกว่า "ประเพณีกวนข้าวทิพย์”
 
ข้าวมธุปายาส เป็นข้าว ที่หุงด้วยน้ำนม อย่างดี ที่นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีหมู่บ้านเสนานิคม ได้นำ ไปบวงสรวงเทพยดาที่ใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทรใหญ่) ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ได้พบพระพุทธองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงได้ข้าวมธุปายาสไปถวาย
 
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว แล้วนางได้กล่าวว่า
    "ขอให้พระองค์ จงประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ เช่นเดียวกับที่ดิฉัน ได้ประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่ดิฉัน ประสงค์แล้ว เถิดเจ้าข้า”
 
ดังนี้. พระองค์ทรงรับ บิณฑบาตนั้นแล้ว, ปั้นก้อนข้าวเป็น 49 ก้อน แล้วฉันจนหมด. อาหารมื้อนี้เอง เป็น อาหารมื้อก่อนการตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า.
 
โดยได้ทรงนำถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสนั้นไปลอยน้ำ และทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ได้สำเร็จและตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้

 

ที่มาภาพ : http://learn2learning.blogspot.com/2014/07/8.html


ประเพณีการกวน “ข้าวสำมะปิ” หรือกวนข้าวทิพย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

การกวนข้าวสำมะปิในปัจจุบันนิยมทำกันในช่วงก่อนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงก่อนออกพรรษา โดยแต่ก่อนจะใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวสำมะปิ เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทย

พิธีกวนข้าวทิพย์ จะเริ่มก่อนวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา
 
แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่าง ๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว
 
การประกอบพิธี

พิธีจะเริ่มประมาณ 4 โมงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เริ่มด้วยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
 
เด็กหญิงพรหมจารีรับศีล 8 เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทอิติปิโส เด็กหญิงจะลุกไปยังบริเวณพิธีกับผู้ชำนาญการ ส่วนคนอื่นจะเข้าไปไม่ได้ เด็กหญิงจะเป็นผู้เริ่มทำทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อไฟ ยกกระทะขึ้นตั้งเตาไฟ แล้วเริ่มกวน กวนไปประมาณ 10 นาที ก็เป็นการเสร็จพิธีการ
 
หลังจากนั้นชาวบ้านจะช่วยกันกวนโดยผลัดกันตลอดคืน บางวัดเสร็จตี 3 ตี 4 จึงเป็นวันที่สนุกสนานของหนุ่มสาวอีกวันหนึ่ง เพราะจะช่วยกันมากวนข้าวทิพย์ มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันเพื่อไม่ให้ง่วงนอน นับเป็นกำลังสำคัญในการกวน ส่วนคนแก่คนเฒ่าส่วนมากจะนอนค้างที่วัด วันรุ่งขึ้นเป็นวันพระมีการทำบุญตักบาตรเป็นการเอิกเกริกถวายข้าวทิพย์แด่พระภิกษุสงฆ์ และแจกจ่ายแบ่งปันกัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญกันทั่วหน้า เป็นอันเสร็จพิธี

แต่ปัจจุบันความเจริญได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้หายไป ชาวบ้านได้ถือเอาความสะดวกเป็นหลัก








Thank to : https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/84809
Posted By มหัทธโน | 28 ก.ย. 63

แหล่งข้อมูล
- หนึ่งในประเพณีออกพรรษา กิน “ข้าวสำมะปิ” หรือ “ข้าวทิพย์” ช่วยให้สมองดี โดย ผู้จัดการออนไลน์
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ข้าวมธุปายาส และการตักบาตรเทโวโรหณะ ในวันออกพรรษา
- พิธีกวนข้าวทิพย์เนื่องในวันออกพรรษา โดย ไทอีสาน
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “คลาสภาษาอังกฤษ” สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร.? เมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:29:53 am


บรรยากาศในห้องเรียนที่จัดการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5


“คลาสภาษาอังกฤษ” สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร? เมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ คนเรียนพูดอังกฤษไม่เป็น

หลายคนน่าจะพอคุ้นชื่อ แอนนา เลียวโนเวนส์ หรือ “แหม่มแอนนา” ครูสอนภาษาอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 4 กันบ้าง ยุคนั้นผู้เรียนส่วนใหญ่คือเจ้าจอมและพระราชธิดาในพระองค์ พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ทรงมีพระราชประสงค์ฝึกหัดคนเพื่อดูแลกิจการบ้านเมือง หนึ่งในนั้นคือต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จึงทรงตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวังขึ้น แล้ว คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ ส่วนคนเรียนก็พูดอังกฤษไม่เป็น

ดร. อาวุธ ธีระเอก เล่าในหนังสือ “ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕” (สำนักพิมพ์มติชน) ตอนหนึ่งว่า

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อราว พ.ศ. 2415 เมื่อ ฟรานซิส จอร์ช แพทเทอร์สัน ครูชาวอังกฤษเดินทางมาสยาม เพื่อเยี่ยมน้าชายคือ หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตันเอม) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างไว้เป็นครู และให้ตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษคู่กับโรงเรียนไทยที่มีอยู่เดิม

โรงเรียนภาษาอังกฤษนี้จัดสอนเจ้านายช่วงเช้า และสอนทหารมหาดเล็กช่วงบ่าย ตอนแรกก็คึกคัก มีนักเรียนมาเรียนกว่า 50 คน แต่ต่อมาส่วนใหญ่เลิกเรียนกลางคัน เจ้านายที่อายุมากหน่อยก็ออกไปทำราชการ ชั้นรองลงมาก็มักถึงเวลาผนวชเป็นสามเณร ส่วนทหารมหาดเล็กก็ต้องเรียนวิชาอื่นมาก จึงมาเรียนภาษาอังกฤษได้น้อยลง

ปีถัดมา นักเรียนจึงเหลือไม่ถึงครึ่ง และเริ่มลดลงเรื่อยๆ ซ้ำยังไม่มีนักเรียนใหม่มาเพิ่ม เมื่อถึงปีที่สามจึงเหลือเพียงนักเรียนเจ้านาย 5 พระองค์ และย้ายที่เรียนไปยัง “หอนิเพธพิทยา” ที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จากนั้นโรงเรียนก็เป็นอันเลิกไป เมื่อครูแพทเทอร์สันเดินทางกลับหลังครบสัญญา 3 ปี

@@@@@@@

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อต่างฝ่ายต่างพูดภาษาของอีกฝ่ายไม่เป็น

คำตอบคือ สมัยนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงทันเรียนภาษาอังกฤษกับ “แหม่มแอนนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่ล่าม พอแปลคำง่ายๆ ได้บ้าง คำศัพท์ที่เกินความรู้ก็ใช้พจนานุกรมที่เรียกว่า “หนังสืออภิธานศัพท์” เข้าช่วย

ผู้สอนใช้หนังสืออภิธานศัพท์ของหมอแมคฟาร์แลนด์ ที่แปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยชี้ให้นักเรียนดูความหมายในภาษาไทย ส่วนผู้เรียนใช้หนังสือ “สัพพะจะนะภาษาไทย” ของสังฆราชปัลเลกัวซ์ ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2397 (สมัยรัชกาลที่ 4) แปลคำภาษาไทยเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

ส่วนเนื้อหาและวิธีการสอน ผู้สอนสอนทั้งภาษาและเนื้อหาวิชาควบคู่กันไป โดยใช้หนังสือและแผนที่ฝรั่งเป็นหลัก วิชาเลขก็ใช้มาตราอังกฤษ ทั้งยังสอนให้รู้ความเป็นไปในต่างประเทศ และสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ เช่น เยอรมนีทำสงครามชนะฝรั่งเศส การเปลี่ยนระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หนึ่งในผู้ที่ทรงเล่าเรียนกับครูแพทเทอร์สัน เห็นว่าวิธีดังกล่าวไม่เพียงแต่ให้หัดแปลความ แต่ให้หัดพูด หัดอ่าน แนะให้เข้าใจความ เป็นประโยชน์ต่อพระองค์อย่างยิ่ง ทำให้ทรงใช้งานภาษาอังกฤษได้จริง

ตอนหลังเมื่อต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ภาษาของกันและกันมากขึ้น การใช้พจนานุกรมช่วยในการสื่อสารระหว่างกันก็ลดน้อยลงไป


อ่านเพิ่มเติม :-

    • แหม่มแอนนา เล่าเรื่องเจ้าจอมในพระปิ่นเกล้าฯ ส่วนใหญ่เป็นหญิงลาว ชี้ สวย-ละมุนกว่าไทย
    • ไฉน “แหม่มแอนนา” ปลื้ม “พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์” พระราชธิดาผู้สิ้นชีพในคุกหลวง
    • “ฮาเร็ม” ของ “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” จากบันทึกแหม่มแอนนา จริงหรือที่สภาพ “น่าเวทนานัก”






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132784
อ้างอิง : ดร. อาวุธ ธีระเอก. ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ :มติชน, 2560
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “วัดสามพระยา” บางขุนพรหม สามพระยานี้มีใครบ้าง.? เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:15:58 am
.

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ที่วัดสามพระยา (ภาพ : ข่าวสดออนไลน์)


“วัดสามพระยา” บางขุนพรหม สามพระยานี้มีใครบ้าง.?

วัดสามพระยา ตั้งอยู่ย่าน “บางขุนพรหม” กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ ที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้ คือ หลวงพ่อพระพุทธเกสร หลวงพ่อพระนั่ง และหลวงพ่อพระนอน วัดนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานนับร้อยปี สร้างโดยขุนนาง 3 พี่น้อง ที่มีตำแหน่งเป็น “พระยา” แล้ว 3 พระยาที่ว่านี้มีใครบ้าง?

วัดสามพระยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ “วัดขุนพรหม” ตั้งตามชื่อ ขุนพรหมรักษา (สารท) ตำแหน่งปลัดกรมทหารในขวา ขุนนางเชื้อสายมอญ ซึ่งเสียชีวิตด้วยไข้ป่าขณะรับราชการสร้างมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

หลังขุนพรหมรักษาสิ้นไปแล้ว หลวงวิสูตรโยธามาตย (ตรุษ) ตำแหน่งในกรมพระตำรวจ ผู้เป็นพี่ชาย จึงยกบ้านและที่ดินของขุนพรหมรักษาสร้างเป็นวัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้น้องชาย ให้ชื่อว่า วัดขุนพรหม บริเวณที่ตั้งวัดนี้ภายหลังเรียกกันว่า บางขุนพรหม

@@@@@@@

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดขุนพรหมอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ลูกหลานของขุนพรหมรักษา ได้แก่
   - พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง) ตำแหน่งเจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง
   - พระยาราชนิกุล (ทองคำ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และ
   - พระยาเทพอรชุน (ทองห่อ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมพระกลาโหม ได้ร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขุนพรหมขึ้นใหม่

เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ทั้งสามจึงพร้อมใจน้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และโปรดพระราชทานนามเป็นอนุสรณ์แก่ผู้บูรณปฏิสังขรณ์ คือ พระยาทั้ง 3 ท่าน ว่า “วัดสามพระยา”


อ่านเพิ่มเติม :-

   • ที่มาชื่อวัดชนะสงคราม และเรื่องเล่า “วังหน้าพระยาเสือ” ถวายเสื้อยันต์บูชาพระ
   • “พระแสงราวเทียน” ของ “วังหน้าพระยาเสือ” สมบัติชาติที่สูญหาย คืนสู่วัดมหาธาตุฯ
   • “วัดชัยชนะสงคราม” เจ้าพระยาบดินทรเดชา ขุนพลคู่พระทัยรัชกาลที่ 3 สร้างเพราะชนะสงครามอะไร






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132790

อ้างอิง :-
- ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551
- ข่าวสดออนไลน์. ขอพร “3 พระประธาน” มงคล-วัดสามพระยา.
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:10:23 am
.



ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล

ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล เพื่อเตือนใจอนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย ดึงคนเข้าวัด และเป็นโบสถ์เพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง

วันที่ 20 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนอินทนินงาม ริมถนนสายตรัง-ย่านตาขาว หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม ผุดไอเดียการทาสีโบสถ์ทั้งหลังด้วยสีธงชาติไทย ทั้งสีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน สื่อความหมายถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

และเพื่อเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย เป็นการปลุกใจให้รักชาติ และยังสามารถดึงคนเข้าวัดด้วยความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ทำนักท่องเที่ยวที่ผ่านไป-มาบนถนนสายดังกล่าว ต่างรู้สึกประทับใจ และแวะเวียนเข้ามาถ่ายภาพโพสต์ลงโซเชียลและเพจต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง




สำหรับโบสถ์หลังนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2555 มีขนาดความยาว 100 เมตร ความกว้าง 30 เมตร สูง 2 ชั้น ใช้เงินก่อสร้างไปแล้วกว่า 20 ล้านบาท แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 50 % ยังไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าและน้ำประปา เนื่องจากวัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น

ภายในเป็นลานกิจกรรม สำหรับให้เยาวชนและประชาชน ได้ใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ และมีพระประธานปางมารสะดุ้งองค์ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ น้ำหนัก 80 ตัน ที่มีดวงตาเป็นนิลสีดำประดิษฐานอยู่ส่วนบริเวณรอบโบสถ์จะมีการสร้างน้ำตก ให้น้ำไหลเวียนได้รอบโบสถ์ เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย






พร้อมกับการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนและสัตว์ เช่น กระรอก กระแต นก และหมาแมว โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคได้ที่ Fb วัดควนอินทนินงาม หรือที่พระครูปลัดเริงชัย หมายเลขโทรศัพท์ 085-8892403

ด้านพระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม กล่าวว่า ที่ตรังไม่มีวัดไหนมีโบสถ์สีธงชาติเต็มรูปแบบเหมือนของทางวัด ที่ตรังคงจะไม่มี ถ้ามีก็มีเฉพาะหลังคา ซึ่งของเราเป็นชั้นแบบสีธงชาติเลย ส่วนใครสนใจให้เปิดติดตามได้ในเน็ตซึ่งอาจจะขึ้นเบอร์วัด ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ของอาตมาคือ 085-8892403





ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8242208
20 พ.ค. 2567 - 15:35 น
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศร่วมกิจกรรม เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:41:43 am
.



“งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศร่วมกิจกรรม

“งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศ กว่า 3,500 รูป/คน เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 19

 “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67”  รัฐบาลพร้อมจัด “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” จัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลโลก ครั้งที่ 19 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2567

ล่าสุดวันนี้ 19 พฤษภาคม 2567 นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยกล่าวต้อนรับผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศ กว่า 3500 รูป/คน ซึ่งเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 19 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา




นายพิชิตกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญสากลของโลก พร้อมสนับสนุนในทุกๆด้านอย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้ยิ่งใหญ่สมกับที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก โดยในปีนี้คณะสงฆ์ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และภาคีเครือข่าย

มีฉันทามติร่วมกันจัดงานวันวิสาขบูชาโลกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจ และความสามัคคี”

    จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานนี้จะสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนและองค์กรชาวพุทธ ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับนานาชาติ.





Thank to : https://www.thansettakij.com/news/general-news/596444
ฐานเศรษฐกิจ | 19 พ.ค. 2567 | 16:40 น.
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แห่สาธุ "องค์ท้าววิรูปักษ์" หนึ่งเดียวระยอง สูง 15 ม. สองมือถือ "สิ่งสำคัญ" มีมน เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:15:14 am
.



แห่สาธุ "องค์ท้าววิรูปักษ์" หนึ่งเดียวระยอง สูง 15 ม. สองมือถือ "สิ่งสำคัญ" มีมนต์ขลัง

ศูนย์รวมความศรัทธา องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร หนึ่งเดียวในจังหวัดระยอง ทำพิธีพุทธาภิเษกสุดยิ่งใหญ่

วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เมื่อเวลา 17.00 น. ที่วัดหนองตะแบก ต.ตาขัน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระเกจิจากวัดต่างๆ ในจังหวัดระยอง รวมถึงพุทธสานิกชน ได้เดินทางมาร่วมพิธี เบิกเนตร องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร หนึ่งเดียวในจังหวัดระยอง

บริเวณปรัมพิธี มีการจัดเรียง พานผลไม้ พวงมาลัยเครื่องเซ่นไหว้จัดไว้อย่างสวยงาม ด้านหน้าพุทธสานิกชนจุดธูป พร้อมกับท่องบทกราบไหว้ไม่ขาดสาย เมื่อมองไปเบื้องหน้าปรากฏ องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15เมตร มือซ้ายถือไม้เท้ามีพญานาคพัน มือขวาถือลูกแก้ว ช่วงองค์เศียรมีพญานาคแผ่ปกป้องรักษา ดูแล้วมีมนต์ขลัง เมื่อพิธีเริ่มขึ้น มีการจุดประทัดเสียงดัง พระสวดมนต์เริ่มพิธี

พระครูสุรภัทร โพธิคุน เจ้าอาวาสวัดหนองตะแบก ให้สัมภาษณ์ว่าที่มาที่ไปที่ทางวัดได้สร้างองค์ท้าววิรูปักษ์นั้น แรกเริ่มมีญาติโยมมาทำบุญแล้วพอกลับไป ได้ไปปรากฏนิมิตรว่าที่วัดมีพญานาคปกครองอยู่ เมื่อนำนิมิตรไปปรึกษาร่างทรงจึงแนะนำว่าต้องสร้างองค์ท้าววิรูปักษ์ไว้ที่วัด เพราะองค์ท้าววิรูปักษ์กับพญานาคคือสิ่งคู่กัน

สำหรับ องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร เมื่อตรวจสอบภายในพื้นที่จังหวัดระยอง พบว่ายังไม่เคยสร้างที่ไหนมาก่อน ทำให้ที่วัดหนองตะแบกเป็นองค์แรกและองค์เดียวในจังหวัดระยอง หากท่านใดมีโอกาสขอเชิญแวะเวียนไป ขอพรได้ที่วัดหนองตะแบก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง



ชมภาพทั้งหมดได้ที : https://www.sanook.com/news/9387782/gallery/





Thank to : https://www.sanook.com/news/9387782/
Sanook! Regional : สนับสนุนเนื้อหา | 19 พ.ค. 67 (13:48 น.)
31  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขอพรองค์พญาเพชรภัทรนาคราชอย่างไร ให้ปังพลิกชีวิต เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:11:09 am
.



ขอพรองค์พญาเพชรภัทรนาคราชอย่างไร ให้ปังพลิกชีวิต

พญานาคที่เป็นองค์นาคาธิบดี ที่ทรงมีฤทธานุภาพสูงส่งให้คุณกับมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หากใครรู้จักวิธีบูชาและขอพรอย่างถูกต้อง

องค์นาคราชที่เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 9 พระองค์ จริงๆในเมืองบาดาลมีกษัตริย์หลายพระองค์มากกว่า 9 แต่ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ที่มีพระบารมีสูง ทรงมีอยู่ 9 พระองค์ นาคาธิบดีเพชรภัทรนาคานาคราชเจ้าคือในทางอิทธิฤทธิ์แล้วพระองค์เป็นรองผู้อาวุโสทั้ง 4 คือ

    - องค์ปู่ภุชงค์นาคราช เป็นนาคราชประจำกายพ่อศิวะ
    - องค์มุจลินนาคราชเป็นพญานาคราชของเจ้าชายสิทธัตถะ ในภัทรกัปนี้เป็นองค์ที่ 4
    - องค์ศรีสุทโธนาคราชเป็นพญานาคประจำพระวรกายของท้าวสักกะหรือพระอินทร์
    - องค์ศรีสัตตนาคราช ราชาแห่งฝั่งลาวที่สร้างไว้ที่นครพนมที่เราไปกราบไหว้กัน เท่านั้น

นอกจากนี้พระองค์ยังมีความพิเศษกว่านาคราชอื่นๆ อย่างไร คือ เป็นพญานาค 9 เศียร มีพระวรกายสีทองมีเกร็ดเป็นแก้วใสดุจเพชรอัญมณี ไม่มีศาสตราวุธใดๆทำอันตรายพระวรกายท่านได้ เป็นองค์มหาจักรพรรดิ 1ใน 9 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งนาคพิภพ 14 ชั้นบาดาล พระองค์มีแก้วดวงจิต แก้วจันทกานต์มีรัศมีที่กว้างไกลมากกว่าผู้อื่น, พระองค์เป็นบุตรขององค์อนันตนาคราช เกิดในตระกูลวิรูปักษ์โขนาคราช(ตาคือท้าววิรูปักษ์โขนาคราช

ซึ่งท่านเป็นเทวดานะ เทวดาที่ปกครองนาคราชพิภพ), พระองค์จุติเป็น โอปาติกะเทพ อยู่ในภูมิเทวดา(คือการเกิดแบบบารมีสูงสุด) กำเนิดจากเพชรนพรัตน์สร้อยพระศอ ของพระศิวะ มีความสามารถเก่งฉกาจระดับต้นๆทั้งสวรรค์และเมืองบาดาลรูปงามเพียบพร้อม (เรียกภาษามนุษย์ก็ รูปหล่อพ่อรวย ตัวเองก็รวย แถมยังเก่งมากความสามารถและบารมี โอ้ยอะไรจะครบเครื่องปานนี้)

@@@@@@@

พระองค์มีชายาทั้งหมด 6 พระองค์ด้วยกันองค์แรกคือพระนางการะเกด ซึ่งเป็นลูกสาวขององค์พระราชทานมาให้เป็นพระชายา แต่อยู่กันได้เพียง 1 สัปดาห์เพราะ พระนาง ขอลาไป บำเพ็ญศีลบารมี ซึ่งท่านก็เห็นดีด้วย เพราะพระองค์ก็มีใจศรัทธาในศาสนาอยู่แล้ว

องค์ที่ 2 พระนางสิรินาเทวีได้พระราชทานจากองค์อัมรินทร์ อยู่กันได้เพียงวาระหนึ่งก็ขอลาไปจำศีลที่สระอโนดาต

องค์ที่ 3 ชื่อพระนางนิรารุจีเป็นนาคี(คือสามัญชน) เหตุได้มาพบเพราะนางกำลังจะโดนครุฑจับกินแต่องค์เพชรภัทรได้เข้าไปช่วยไว้พระนางจึงถวายตัวเป็นบาตรบริจาริกา

องค์ที่ 4 ครีภัตราเทวีเป็นนางรำหลวงที่ท้าวสักกะ ประทานส่งพระนางมาช่วยงานองค์เพชรภัทร และได้เป็นพระชายาในที่สุด

องค์ที่ 5 เป็นกินรี ที่อาศัยแถบริมโขง เหตุเกิดเพราะกำลังโดนครุฑจับกินและพระองค์ก็ไปช่วยไว้ได้อีกเช่นกัน (คนนี้แหละคือชนวนขอเรื่องวุ่น นางแอบร้ายนะ มีวางแผนไว้แล้ว หาจังหวะสบโอกาสให้เจอครุฑและให้พระองค์มาเจอและช่วยนาง)

องค์ที่ 6 พระนางอัญญารินทร์ธสินีมหาเทวี องค์นี้เป็นองค์สุดท้ายและเป็นองค์ที่ปู่เพชรภัทรนาคราชทรงรักมากที่สุด รักด้วยใจเสน่หาและมั่นคงอย่างแท้จริง และเป็นธิดาของปู่ภุชงค์และแม่ย่าศรีปรางตาล


@@@@@@@

เหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวายเพราะ 4 หญิง 1 ชายย่อมเกิดปัญหาและทำให้พระนางอัญญารินทร์ต้องเสียชีวิต และด้วยองค์เพชรภัทรนาคราชทรงมีใจรัก ในพระนางอัญญารินทร์จึงไม่รักใครอีก ขอออกไปทรงบำเพ็ญเพียรบารมี 500 ปี จนสำเร็จเป็นพระโสดาบันและตามหาดวงจิตของพระนางจนทุกวันนี้(รายละเอียดอื่นๆแอดจะมาเล่าให้ฟังในภายหลัง)

ดูความมีเสน่ห์ต้องตาต้องใจท้วมท้นเหลือเกิน ใครบูชาดีๆก็ได้สิ่งนี้ไปด้วย ผู้ใหญ่ก็เมตตาเอ็นดู ให้นู้นให้นี่ ให้กระทั่งพระธิดาอันเป็นที่รักของตนเองเพื่อมาเป็นชายา(ดูเอาเถอะ) ความสามารถ ความเก่งกาจก็มากขนาดที่ครุฑยังแพ้ แสดงว่าด้านความแคล้วคลาดปลอดภัยได้อีกแล้วหนึ่ง เพราะพระวรกายท่านเป็นแก้วเป็นเพชร สิ่งที่ไม่ดีจะเข้ามาทำร้ายไม่ได้ ผู้ที่บูชาท่านก็เช่นกันจะได้พรด้านนี้ด้วย ขอพรท่านในเรื่องนี้คุณไสย หมู่มารไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ เรื่องเงินทอง โชคทรัพย์สิน ขาดเรื่องนี้ได้ยังไง เนื่องด้วยท่านเป็นกษัตริย์แห่งนาคพิภพเจ้าแห่งสมบัติใต้บาดาลผู้ที่ขอพรจะได้พรด้านนี้ด้วย

เรามาดูกันถึงเรื่องจะขอพรอย่างไรองค์ปู่เพชรภัทรนาคราชโปรดคนนิสัยอย่างไรปฏิบัติอย่างไรและจะมอบพรตามคำอธิษฐานให้สำเร็จดั่งใจกับบุคคลที่ปฏิบัติเช่นนั้น

คือท่านชอบคนที่รักษาศีลข้อ 3 อย่างเคร่งครัดเพราะท่านมีกรรมทางด้านความรักมีใจรักมั่นคงกับพระนางอัญญารินทร์ ใครก็ตามที่มีกรรมเรื่องความรักและคนที่รักษาศีลข้อ 3 และหมั่นทำนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา และบูชาขอพรองค์เพชรภัทรนาคราชด้วยจิตศรัทธา มีโอกาสที่จะสมหวังเรื่องความรักสูงมาก เรื่องรักที่ไม่ดีจะไม่เข้ามายุ่ง ได้พบแต่รักที่ดี และสมหวัง

นอกจากนี้ ก่อนที่จะไปไหว้ขอพรท่าน ให้เราถือศีลกินมังสวิรัติ 3 วันเป็นอย่างน้อยก่อนไป เพื่อเป็นการชำระล้าง รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ ท่านชอบบบบบ แล้วพรที่ขอจะสมดั่งประสงค์ เน้นย้ำเรื่องความรัก(ต้องไม่เกินบารมีบุญที่เคยสร้างมาในอดีตและตนเองต้องรักษาการปฏิบัติตามที่แอดได้บอกไปข้างต้นด้วยนะ ถ้าทำไม่ได้แนะนำ บูชาองค์อื่นเลย ไม่เช่นนั้นนอกจากไม่ได้สิ่งที่ขอแล้วยังอาจจะโดนโทษจากท่านด้วย






Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/279731/
Horosociety199 : สนับสนุนเนื้อหา | 18 พ.ค. 67 , (07:00 น.)
32  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี : นตฺถิ ตณฺหาสมา นที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 08:15:48 am
.



แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี  : นตฺถิ ตณฺหาสมา นที
โดย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวไว้แปลความว่า “แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี” คือ ไม่มีแม่น้ำใดที่จะกว้างใหญ่ไพศาลปราศจากขอบเขตเสมอด้วยตัณหา

    ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยาก แบ่งออกเป็นสาม คือ
    กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย
    ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากมี อยากเป็น
    วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไม่มี ไม่เป็น

แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามประการแล้วย่อมจะเห็นว่าครอบคลุมไปกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตไม่ได้จริงๆ ไม่มีเพียงความอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเท่านั้น ยังมีความอยากมีอยากเป็น และความอยากไม่มี ไม่เป็นอีกด้วย อันสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจนั้น มีอยู่เต็มไปทั้งโลกก็ว่าได้ ความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจจึงเต็มไปทั้งโลกเช่นกัน

ดังนั้นจึงพึงเห็นได้ว่า แม้เพียงตัณหาอย่างเดียวคือกามตัณหา ก็มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนักแล้ว เกินกว่าแม่น้ำใดๆ ทั้งหมดแล้ว เมื่อรวมภวตัณหาและวิภวตัณหาเข้าด้วย ก็ย่อมจะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาลเกิน กว่าจะประมาณขอบเขตได้

@@@@@@@

พระพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ความอยากละได้ยากในโลก” แม้พิจารณาก็ย่อมจะเห็นตามความจริงนี้ ความอยากในกามคือ สิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเป็นสิ่งละได้ยากแน่นอน แม้พิจารณาความรู้สึกในใจตนของแต่ละคนก็ย่อมจะเห็นจริง ไม่มีปุถุชนใดจะสามารถละความอยากในกามได้ ไม่ในเรื่องนั้นก็ในเรื่องนี้ ย่อมมีความอยากได้ด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ความอยากมีอยากเป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนคนใดที่สามารถละความอยากมีอยากเป็นได้อย่างง่ายดาย

ทุกคนลองพิจารณาใจตนเองให้เห็นความอยากมีอยากเป็นในใจตน แล้วลองพยายามละความอยากมีอยากเป็นนั้นดู ก็ย่อมจะเห็นว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ยากยิ่ง และสำหรับคนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งยังไม่สามารถจะพยายามทำเสียอีกด้วย มีแต่เพลิดเพลินติดอยู่กับกามตัณหานั้น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนใดสามารถละได้อย่างง่ายดาย

ความอยากมีอยากเป็น กับความอยากไม่มีไม่เป็นนั้น จะกล่าวว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็เกือบได้ เมื่ออยากมีสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมอยากไม่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกัน หรือเมื่อเป็นอย่างหนึ่งก็ย่อมอยากไม่เป็นอีกอย่างหนึ่ง  เหมือนเช่นอยากเป็นคนรวยก็ย่อมอยากไม่เป็นคนจน หรืออยากมีเงินก็ย่อมอยากไม่ไม่มีเงิน เป็นเช่นนี้นั่นเอง ความอยากทั้งสองนี้คือ ภวตัณหาและวิภวตัณหา จึงเรียกได้ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน




แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมจะเห็นว่าเป็นความเกี่ยวเนื่องกันชนิดไม่อาจแยกออกจากกันได้ ทำลายข้อหนึ่งข้อใดได้พร้อมกันทุกข้อ ดังนั้น แม้เห็นโทษของตัณหา ก็ไม่เป็นการบกพร่องที่จะจับข้อหนึ่งข้อใดในใจตนขึ้นพิจารณาหาอุบายทำลายถอนรากถอนโคน ไม่จำเป็นต้องสับสนวุ่นวาย จับข้อนั้นขึ้นพิจารณาพุ่งตรงไปที่ตัณหาข้อหนึ่งข้อใดในสามประการดังกล่าวแล้วก็ได้

กามตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ก็คือ ภวตัณหาอยากมีอยากเป็นนั่นเอง คืออยากได้อยากมีของคนทั้งหลาย ก็ต้องเป็นไปในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากได้ไม่อยากมีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจ ซึ่งกล่าวอีกอย่างก็กล่าวว่า อยากไม่ได้ไม่มีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้ เพราะฉะนั้น แม้จะทำลายตัณหาก็เพียงพิจารณาใจของตนให้เห็นชัดว่ามีความปรารถนาต้องการอย่างไร เพราะนั่นคือ กามตัณหาต้นสายของภวตัณหาและวิภวตัณหา พิจารณาให้เห็นแล้วก็ทำลายเสีย ดับเสีย

ทำไมจึงสมควรดับตัณหาแม้ตั้งปัญหานี้ขึ้น ก็อาจตอบได้ง่ายๆ ว่าเพราะตัณหาเป็นเหตุแห่งความดิ้นรนกระเสือกกระสนไปไม่รู้หยุด มีความเหน็ดเหนื่อยนักหนา ดับตัณหาเสียได้ก็จะหยุดความดิ้นรนได้ หายเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยาก ได้คำตอบนี้แล้ว ผู้มาบริหารจิตควรตั้งคำถามต่อไป ว่าตนมีความต้องการอย่างไร กระเสือกกระสนไป ไม่รู้หยุดเพื่อสนองตัณหาเช่นนั้นหรือ หรือต้องการหยุดสงบอยู่อย่างสบายใจ ก็จะได้คำตอบที่ตรงกันทุกคน จะเกิดกำลังใจ เพียรดับตัณหาด้วยกันทุกคน






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
อ้างอิง : สมเด็จพระญาณสังวร. “พุทธศาสนสุภาษิต.” ศุภมิตร. มีนาคม – เมษายน ๒๕๓๒, หน้า ๒๗-๒๙
ที่มา : เฟซบุ้ค เล่าเรื่อง..วัดบวรฯ
https://www.facebook.com/100069144534492/posts/971387536602284/
33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:44:11 am
.



เณรน้อย 8 ขวบ สอบผ่าน สวด "ปาติโมกข์" รวดเดียวจบใน 55 นาที

"สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ" วัย 8 ขวบ สอบผ่านโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบในเวลา 55 นาที

วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จัดโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสามเณรเข้าร่วมโครงการ 72 รูป มาจากทั้ง 4 ภาค 17 จังหวัด ระหว่างเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2567



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก "โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์-วัดตะโก" แสดงความยินดีกับสามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุเพียง 8 ขวบ วัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ซึ่งได้สอบผ่านเป็น "สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์" โดยใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

อาจารย์ผู้สอบทาน พระมหาใจ เขมจิตโต (ป.ธ.9) ประธานดำเนินโครงการฯ เริ่มสอบเวลา 06.05 น. สอบจบเวลา 07.01 น. ใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที ท่องจบวันที่ 27 เม.ย.2567

นอกจากนี้ยังมี สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี วัดโมลีโลกยาราม สามเณรอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ที่สอบบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เข้าร่วมโครงการในปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยสอบผ่านโครงการนี้แล้ว โดยสอบผ่านเป็นรูปที่ 22 ใช้เวลาสอบ 50 นาที ท่องจบวันที่ 22 เม.ย. 2567 เริ่มสอบเวลา 08.35 น. สอบจบเวลา 9.25 น.



สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ


"ปาติโมกข์" คืออะไร.?

ปาติโมกข์ คือ คัมภีร์เป็นที่รวมพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นพุทธอาณาสำหรับพระสงฆ์ คือ ศีล 227 ข้อ ของภิกษุ และ ศีล 311 ข้อ ของภิกษุณี โดยมีพระพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์สวดในที่ประชุมสงฆทุกกึ่งเดือน เรียกว่า สวดพระปาติโมกข์

สำหรับเนื้อหาปาติโมกข์ เป็นภาษาบาลี ทบทวนศีลภิกษุ 227 ข้อ โดยเมื่อพระรูปทำหน้าที่ กำลังสวดพระปาติโมกข์ จะมีพระอีกรูป ทำหน้าที่ทบทวน คัมภีร์ปาติโมกข์เล่มใหญ่ ตัวหนังสือใหญ่ พิมพ์แบบพับเปิดต่อกันได้ตลอดเล่ม โดยขนาดเล่มใหญ่ทั้งหนา ความยาวไม่นับกันเป็นตัวอักษร แต่นับกันด้วยเวลาที่ใช้สวด สวดอย่างเร็ว ต่อเนื่องไม่ขาดตอน ราวหนึ่งชั่วโมง



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก





Thank to : https://www.thaipbs.or.th/news/content/340081
17 พ.ค. 67 11:02
34  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:30:08 am
.



ชื่นชม สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที

เป็นที่ชื่นชมไม่น้อย กับเรื่องของ สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุ 8 ขวบ จากวัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ที่ สอบผ่านเป็นสามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดโดยวัดตะโก ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ซึ่ง สามเณรวัย 8 ขวบรูปนี้ สามารถสอบผ่าน ใช้เวลาในการสอบ 55 นาที ตั้งแต่เริ่มสอบเวลา 06.05 – 07.01 น. โดยมีคนเข้าไปชื่นชมจำนวนไม่น้อย














ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4580698
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 12:49 น.   
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศน.จัดวิสาขบูชาอาเซียน กระชับสัมพันธ์ไทย-ลาว ด้วยมิติทางศาสนา เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:24:18 am
.



ศน.จัดวิสาขบูชาอาเซียน กระชับสัมพันธ์ไทย-ลาว ด้วยมิติทางศาสนา

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นายชัยพล  สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนา (ศน.) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว (อ.พ.ส.)จัดโครงการจัดงานสัปดาห์ “วิสาขบูชาอาเซียน เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับประเทศอาเซียน ในมิติพระพุทธศาสนา” จ.หนองคาย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ จ.หนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว อย่างยิ่งใหญ่ในฐานะวันสำคัญสากลของโลก

ซึ่งจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สปป. ลาว และมีเครือข่ายพระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ผู้นำศาสนาสมเด็จพระสังฆราช สปป.ลาว และเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย  ร่วมส่งเสริมสัมพันธไมตรีในมิติพุทธศาสนา ซึ่งการร่วมจัดวิสาขบูชากับพระและชาวลาวที่วัดพระธาตุหลวง เสียงจันทน์ เป็นโอกาสดี เพราะต่างก็เป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีการทำบุญตักบาตร ไหว้พระ ทอดผ้าป่าบำรุงพุทธศาสนา เวียนเทียนในฝั่งลาว

รวมทั้งกิจกรรมทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนาของสปป.ลาว  ณ วัดพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ วัดศรีเมือง และวัดองค์ตื้อมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศานิกชนไทยที่ข้ามมากราบไหว้ด้วยความศรัทธา รวมถึงเยี่ยมชมตลาดวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นของลาว ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม




“นอกจากทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว รับฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2567 ยังมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดทำแผนการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมด้านศาสนาของประเทศอาเซียน ร่วมกับศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว ณ วัดพระธาตุหลวง  ซึ่งอยู่บนแนวคิดใช้ศาสนาเชื่อมความสัมพันธ์ ภายใต้โครงการศาสนิกสัมพันธ์ทางศาสนาของอาเซียน 

ซึ่งจะขับเคลื่อนในมิติหลากหลาย ทั้งกิจกรรมร่วมกันทางศาสนา การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒธรรม  การส่งเสริมท่องเที่ยววัดโพธิ์ชัย ฝั่งไทย และข้ามไปวัดพระธาตุหลวง ลาว รวมถึงขยายผลกิจกรรมตักบาตรริมโขงให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยว  ปัจจุบันมีหลายวัดในจังหวัดริมโขงจัดกิจกรรม อาทิ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี เลย“ นายชัยพล กล่าว






อธิบดีศน. กล่าวต่อว่า งานสัปดาห์วิสาขบูชาอาเซียนไทย-ลาว จะกระชับความสัมพันธ์ประชานสองประเทศที่เป็นบ้านพี่เมืองน้อง  เกิดการไปมาหาสู่กันโดยใช้มิติพุทธศาสนานำทาง การทำบุญตักบาตรในวันและเทศกาลสำคัญต่างๆ เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทางศาสนาแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พระสงฆ์ไทย-ลาว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน  เกิดงานและกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านศาสนาของอาเซียน ซึ่งมองว่า ภาคอีสานของไทยมีศักยภาพด้านวิปัสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา จะเป็นพื้นที่สำคัญจัดกิจกรรมวิปัสนาครั้งใหญ่ภายในปีนี้






ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4581583
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 17:18 น.   
36  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 08:21:49 am
.



อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส
     
ร่างกายที่เราต้องใช้อยู่ทุกวัน ในการประกอบภารกิจการงาน มีความจำเป็นจะต้องชำระล้างให้สะอาดด้วยน้ำ ฉันใด  จิตใจก็เช่นกัน จำเป็นต้องชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการเจริญภาวนา ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทเจริญภาวนา อยู่ในหนทางสายกลาง  ให้เราเห็นความสำคัญของการฝึกฝนใจว่า ใจที่ผ่องใส ย่อมเป็นเหตุแห่งความสุข ใจที่ผ่องใสเป็นทางมาแห่งมหากุศล เป็นเครื่องนำสัตวโลกทั้งหลายไปสู่สุคติภูมิ และนำทุกชีวิตไปสู่เป้าหมายอันสูงสุด คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน
     
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในสุมนสูตรว่า   
    “ยถาปิ จนฺโท วิมโล    คจฺฉํ อากาสธาตุยา
     สพฺเพ ตารคเณ โลเก    อาภาย อติโรจติ ฯ     
     ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งหลาย ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งหลายในโลก ด้วยการให้ ฉันนั้น”
     
มนุษย์ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ ต่างก็ปรารถนาความสุขและความสำเร็จในชีวิต อยากเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ สมบัติทั้ง ๓ นี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยบุญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง อย่างน้อยผู้นั้นต้องเริ่มต้นด้วยการให้ คือต้องสามารถเอาชนะความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจให้ได้เสียก่อน เปรียบเสมือนดวงจันทร์ เมื่อพ้นจากเมฆหมอกมาได้ ย่อมปรากฏความสว่างไสว ใจที่หลุดพ้นจากกระแสแห่งความตระหนี่ ก็เช่นเดียวกัน จะใสสว่างเหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศล และสามารถดึงดูดมหาสมบัติที่จะบังเกิดขึ้นได้โดยง่าย 
     
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า  แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้ก็จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงคราวที่บุญส่งผล ก็จะส่งผลเกินควรเกินคาด แม้ตัวเราก็จะอัศจรรย์ในตัวเอง

     
@@@@@@@

*ดังเช่นเรื่องของสามเณรอรหันต์ ที่ในอดีตชาติเคยยากจนมาก่อน แต่ด้วยอานิสงส์ที่ทำบุญชนิดทุ่มสุดใจ เพราะเห็นคุณค่าของบุญยิ่งชีวิต ทำให้บุญลิขิตได้มาเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐี

___________________   
*มก. เล่ม ๔๑ หน้า ๒๕๙

ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมีความกรุณามาโปรดมหาเสนพราหมณ์ เพราะปรารถนาจะให้อริยทรัพย์อันประเสริฐ ติดตัวเขาไปในสังสารวัฏ จึงไปบิณฑบาตหน้าบ้านของพราหมณ์บ่อยๆ พราหมณ์เห็นพระสารีบุตรแล้วคิดว่า “ทรัพย์สมบัติในบ้านของเราไม่มีเลย เครื่องไทยธรรม ที่พอจะใส่บาตรพระก็ไม่มี” จึงไม่กล้าออกมาพบพระเถระ ได้แต่หลบหน้าอยู่ในบ้าน
     
วันหนึ่ง พระเถระก็ได้ไปที่บ้านของพราหมณ์อีก เผอิญเช้าวันนั้น พราหมณ์ได้ข้าวปายาสมาถาดหนึ่งกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบอีกผืนหนึ่ง พอท่านเห็นพระเถระบิณฑบาตผ่านมา ก็คิดว่า
    “ขณะนี้ไทยธรรมของเรามีพร้อม ศรัทธาของเราก็เต็มเปี่ยม เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ก็อยู่ตรงหน้าแล้ว ฉะนั้นเราควรถวายทานแก่พระเถระในวันนี้แหละ” 
    จึงนิมนต์พระเถระให้รับบาตร แล้วน้อมถวายข้าวปายาสลงในบาตรของพระเถระ ด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง
     
ขณะที่พราหมณ์ถวายข้าวไปได้ครึ่งหนึ่ง พระเถระก็ปิดบาตร พราหมณ์จึงกล่าวว่า “ขอท่านอย่าได้อนุเคราะห์กระผมเพียงแค่ชาตินี้เลย ท่านโปรดอนุเคราะห์กระผมในภพชาติเบื้องหน้าด้วยเถิด”  ว่าแล้วก็ถวายอาหารจนหมดถาด พร้อมกับผ้าสาฎกอีกหนึ่งผืน นับตั้งแต่วันนั้น พราหมณ์ก็ตามนึกถึงบุญใหญ่ที่ตนเองได้ทำแบบทุ่มสุดใจเรื่อยมา

     


ด้วยผลแห่งทานบารมีที่ได้ทำบุญถูกทักขิไณยบุคคล เมื่อละโลกไปแล้ว บุญก็ส่งผลให้พราหมณ์ไปเกิดในตระกูลอุปัฏฐากพระเถระ ในเมืองสาวัตถี  ในวันที่ท่านเกิด พวกญาติได้นิมนต์พระเถระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทันทีที่เด็กน้อยได้เห็นพระเถระ ก็ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนได้เกิดมาในตระกูลของมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ก็เพราะอาศัยพระเถระรูปนี้  วันนี้นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐที่จะได้ถวายทานแก่พระเถระอีก 
     
พอพวกญาติจะอุ้มเข้าไปหาพระเถระ เด็กน้อยจึงใช้นิ้วมือเกี่ยวผ้ากัมพลไว้ไม่ยอมปล่อย ญาติเห็นอาการนั้น จึงอุ้มเด็กเข้าไปหาพระเถระพร้อมผ้ากัมพล พอเข้าไปถึงเบื้องหน้าพระเถระ เด็กน้อยก็ปล่อยผ้าให้ตกลงแทบเท้าท่าน  พวกญาติจึงหยิบผ้าผืนนั้นขึ้นมาถวายพระเถระ แล้วพากันตั้งชื่อเด็กน้อยนั้นว่า “ติสสะ” เหมือนชื่อเดิมของพระเถระก่อนที่จะบวช
     
ต่อมาเมื่อติสสะอายุได้เพียง ๗ ปี บุญในตัวของเขาก็เต็มเปี่ยม เห็นทุกข์ภัย ในการเกิดบ่อยๆ จึงขอบวชเป็นสามเณรอยู่กับพระสารีบุตรเถระ  ฝ่ายบิดามารดาก็ไม่ได้ขัดข้องทั้งยังมีจิตยินดีและอนุโมทนา จึงพาไปหาพระสารีบุตรที่วัด 

พระเถระได้ถามเพื่อทดสอบกำลังใจว่า
    “การบรรพชาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน เธอจะอดทนต่อความลำบากได้หรือ” 

ติสสะตอบด้วยความมั่นใจว่า
    “กระผมอดทนได้ และจะทำทุกอย่างตามที่พระอาจารย์สั่งสอน” พระเถระจึงรับเป็นอุปัชฌาย์บวชให้
     
เมื่อออกบวชแล้ว สามเณรได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ด้วยอานิสงส์ ที่เคยถวายทานแด่พระสารีบุตรเถระด้วยความเคารพ โดยไม่มีความตระหนี่ติดค้างอยู่ในใจ ทำให้ชาวเมืองเกิดความรักและศรัทธาในตัวสามเณรมาก จึงชักชวนกันมาถวายทานกันมากมาย

     
@@@@@@@

ในช่วงฤดูหนาว สามเณรได้เห็นเหล่าภิกษุนั่งผิงไฟด้วยความหนาวสั่น จึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งพันรูปเข้าไปบิณฑบาตในเมือง แล้วแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการผ้ากัมพลสำหรับพระภิกษุเพื่อห่มกันหนาว ขณะนั้น มีชายคนหนึ่งเห็นว่า การทำทานไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้ทรัพย์หมดไป เขาจึงเที่ยวป่าวประกาศ ห้ามชาวพระนครไม่ให้มาทำบุญ แต่ด้วยบุญกุศลที่สามเณรได้ทำไว้ดีแล้ว ทำให้ชาวเมืองที่ได้เห็นสามเณรและพระภิกษุจำนวนนับพันรูป เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น ต่างก็ช่วยกันบอกบุญรวบรวมผ้ากัมพลจนครบทั้งหนึ่งพันผืนมาถวายสามเณรได้อย่างอัศจรรย์
     
สามเณรติสสะจึงเป็นที่รักของหมู่พระภิกษุทั้งหลาย และถึงแม้จะมีลาภเกิดขึ้น มีบริวารห้อมล้อมมากมาย แต่สามเณรก็มิได้ยึดติดในสิ่งเหล่านั้น ท่านได้หาโอกาสไปบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าตามลำพัง ตั้งใจปฏิบัติจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
     
เราจะเห็นได้ว่า ชีวิตนี้เราลิขิตเอง เทวดาหรือพรหมไม่สามารถมาลิขิตแทนเราได้ เราปรารถนาจะให้ชีวิตเป็นเช่นไร ก็อยู่ที่เราจะเลือกเดินเอง วิสัยของนักปราชญ์บัณฑิตนั้น แม้จะพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ ท่านก็ไม่ประมาท เพลิดเพลินอยู่เพียงแค่นั้น ยังคงมุ่งหวังจะทำกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป เพื่อให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ที่แท้จริง
     
พวกเรานักสร้างบารมีก็เช่นเดียวกัน ต้องตั้งมั่นในคุณความดี เพื่อสั่งสมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าได้ย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะบุญที่เราทำ จะเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุนให้เราสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากเรายังต้องสร้างบารมีกันเรื่อยไป สร้างกันเป็นทีมใหญ่จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อช่วยเหลือทั้งตัวเองและมวลมนุษยชาติ ให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต คือให้เข้าถึงพระธรรมกายเหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในอิริยาบถใด จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็อย่าลืมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นแหล่งแห่งบุญกุศล เอาบุญใสใสจากการทำใจให้หยุดนิ่ง  เป็นบุญพิเศษที่จะเป็นเหตุให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้  ดังนั้นให้ทุกๆ ท่านตั้งใจหยุดนิ่งกันให้ดี ให้เห็นดวงธรรมชัดใสสว่าง เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน
     




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
URL : https://buddha.dmc.tv/dhamma/11499
37  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วิธีทำ “ข้าวมธุปายาส” แจกสูตร-ส่วนผสม รับวันวิสาขบูชา เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 07:31:45 am
.



วิธีทำ “ข้าวมธุปายาส” แจกสูตร-ส่วนผสม รับวันวิสาขบูชา

แจกสูตร พร้อมส่วนผสม “ข้าวมธุปายาส” หรือ “ข้าวทิพย์” รับวันวิสาขบูชา ตามความเชื่อที่ว่าหากใครได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขสวัสดี

“ข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยมักคุ้นหูกันว่า “ข้าวทิพย์” ถือเป็นอาหารในตำนานพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวิสาขบูชา เนื่องจากก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้รับข้าวที่หุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดาหลังพระองค์ตัดสินใจเดินทางสายกลางแทนการบำเพ็ญทุกรกิริยา

ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำบุญด้วย “ข้าวมธุปายาส” ในวันวิสาขบูชา และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



ข้าวมธุปายาส

โดยเชื่อว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขและบุญกุศลมาให้แก่ตน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี หรือมีสุขภาพดีและสมองปลอดโปร่ง

วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้นำสูตรและเคล็ดลับการทำข้าวมธุปายาสมาฝากทุกคนกัน

ส่วนผสมข้าวมธุปายาส

    1. ข้าวสาร/ข้าวเหนียว
    2. ถั่วดำ/ถั่วแดง/ถั่วแปบ/ถั่วลิสง
    3. งาดำ/งาขาว/งาหอม
    4. น้ำตาลทราย/น้ำตาลปีบ
    5. น้ำอ้อย
    6. มะพร้าวแห้งสำหรับทำน้ำกะทิ
    7. น้ำเปล่า สำหรับคั้นกะทิ
    8. นมสด/นมกระป๋อง
    9. น้ำอ้อยสด
   10. น้ำตาลสด
   11. น้ำผึ้งแท้

วิธีทำข้าวมธุปายาส

    1. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ลงไปแช่ให้พองตัว
    2. ขูด มะพร้าว ให้เพียงพอ แล้ว คั้นกะทิ เตรียมไว้
    3. นำ ถั่ว และ งา มาล้างให้สะอาด
    4. อุ่นกระทะร้อน หม้อ หรือเตาอั้งโล่
    5. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ที่แช่จนพองตัวแล้วมาซาวน้ำให้สะเด็ด เสร็จนำไปนึ่งต่อจนสุก
    6. เมื่อกระทะร้อน ให้เท น้ำกะทิ ลงไป คนจนเดือดแล้วนำ น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และ นม เทลงไป
    7. เมื่อกวนจนน้ำตาล น้ำอ้อยละลายได้ที่แล้ว ให้นำ ข้าวสุก ลงไปคน เพื่อให้ข้าวและกะทิเข้ากันอย่างดี ต่อมาให้ใส่ ถั่ว งา ต่างๆ ลงไป กวนสลับกันไปมาเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นกระทะ เพราะไม่เช่นนั้นข้าวมธุปายาสจะไม่อร่อยเท่าที่ควร
    8. กวนจนได้ที่แล้ว ให้เทลงไปใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


ข้าวมธุปายาส


คำกล่าวถวายข้าวมธุปายาส

โดยส่วนมากแล้วชาวบ้านในแต่ละชุมชนมักจะมารวมตัวกันประกอบพิธีทำข้าวมธุปายาส ซึ่งจะมีสาวพรหมจารีเป็นผู้กวนข้าว หรือมีคนผู้สูงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีล เป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในการประกอบพิธีกรรม จะมีการกล่าวคำถวายข้าวมธุปายาสไปด้วย สามารถดูได้ที่ลิงก์นี้ (คลิก)

ทั้งนี้หากใครที่อยากทำข้าวมธุปายาสเองเพื่อนำไปทำบุญด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ หรืออยากไปร่วมประกอบพิธีก็ทำได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากจะทำเพื่อนำไปกินเอง เป็นอาหารสุขภาพ ข้าวมธุปายาสนี้ก็ถือเป็นอาหารที่อุดมประโยชน์จากข้าว ธัญพืช ถั่ว และนม





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223817
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,13:24 น.


 :25: :25:

การกล่าว คำถวาย ข้าวมธุปายาส

สมภารเจ้าอาวาสหรือปู่อาจารย์ เป็นผู้แทนศรัทธาประชาชนกล่าวคำถวาย ศรัทธาประชาชนที่มาร่วมถวายประณมมือตั้งปณิธานตามปรารถนา ปู่อาจารย์กล่าวเป็นคำร่าย ที่คนโบราณได้รจนาไว้ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

โย สันนิสินโน วรโพธิมูเล มารัง สะเสนัง มหันติ๋ง วิชะโย สัมโพธิมาคัจฉิวะ อนันตะญาโน โย โลกกุดตะโม ตัง ปะนะมามิ

พุทธัง ตัง ปะนะมามิ ธัมมัง ตัง ปะนะมามิ สังฆัง ตัง ปะนะมามิ คุณสาครันตัง นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง นะมามิ สังฆัง มุนิราชะสาวะกัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สุณัณตุ โภนโต เทวทัสสะโน อนุโมทะนามิมัง เอกุนปัญญาสะวจัตตา ปิณฑานิ ยาวะ เทวะปริสายะ วิโนทยา มะยะ กาตานีติ

    สาธุ โอกาสะ  ข้าแต่สะหรี่สัพพัญญู
    พระพุทธเจ้า  ตนสร้างโพธิสมภาร
    มานานว่าได้สี่สูงขัย  ปลายแสนมหากัปป์
    จึงจักได้ตรัส  ผญาสัพพัญญู
    นั่งเหนือแท่นแก้ว  แทบเค้าไม้มหาโพธิรุกขา
    มีหมู่อะระหันตาสาวะกะเจ้าตั้งแปด  นั่งแวดล้อมเป็นบริวาร
    ดูรุ่งเรื่องงามเป็นมหามังคละอันประเสริฐ  ล้ำเลิศกว่านระและเทวา
    บุคคลผู้ใดมีศรัทธาสักการะบูชา  ด้วยข้าวน้ำโภชนาหาร
    แลข้าวตอกดอกไม้ทังมวล  ก็จึงจักได้พ้นจากทุกข์แล้วได้เถิงสุข
    อันมีในชั้นฟ้าและเมืองคน  มีเนรพานเจ้าเป็นยอด เที่ยงแท้ดีหลี
   
    บัดนี้หมายมี  สมณศรัทธาและมูลศรัทธา
    ผู้ข้าทั้งหลาย  ชุตนชุองค์ชุผู้ชุคน
    ก็ได้ตกแต่งพร้อมน้อมนำมา  ยังข้าว ๔๙ ก้อน
    และปานิยังน้ำกิน  เอามารูปนาตั้งไว้
    ในสมุขีกลางคลอง  ส่องหน้าแห่งองค์
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อสวะซวาง
    วางเวนเคนหื้อเป็นทาน  แก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จุ่งจักอว่ายหน้า  ปฏิคคาหกะรับเอา
    ยังข้าว ๔๙ ก้อน  และปานิยังน้ำกิน
    พยัญชนะของไขว่  ทั้งหลายมวลถ้วนฝูงนี้ แท้ดีหลี
    ด้วยผู้ข้าจักวางเวน  ตามพระบาลีว่า

    สารโอกาสะ มะยัมภันเต  อิมานิ ปถมัง
    โพธิบังงังกัง ทุติยัง  อะนิมิสสะกัง
    ตะติยัง จังกมะเสฏฐัง  จตุตถัง รัตนฆะรัง
    ปัญจะมัง อัชชะปาลัญจะ  ฉัฏฐมุจจลินกัญจะ สัตตะมัง ราชายะตะนัง

    เอกัสมิง ฐาเน เอเตสัตตเหยัตตกัง วโรพุทโธ วสิ
    เอกนปัญญาสะ นวจัตตาพิสะ สัพพะหิตัง

    ติรัตนพุทธะ จุฬะมณี สิงกุตตะระ บุปผาลาชา
    ติรัตนพุทธะ ธัมมะ สังฆะ

    มหาโพธิ จุฬะมณี สิงกุตตะระ สรีระธาตุ
    ศิริวิหาระ สัจจะคันธะ สมันตา คุตตะ
    สะยัง ภาชนัง ฐเปตวา มัณฑะเร ติรัตตะนัส

    ทุติยัมปิ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ
   
    ตติยัมปิ สาธุโอกาส มะยังภันเต ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ

อิทัง โน เอกูนะปัญญาสะ นวจัตตาฬีสะ สัมมาสัมพุทธัสสะ อยัง มหาปูชโก อนุกัมปัง อุปทายะ ทีฆะรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานายะปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

@@@@@@@

เสร็จแล้วนำเอาข้าวมธุปายาส เข้าประเคนพระประธานเป็นเสร็จพิธี

ข้าวมธุปายาสนี้ เรียกว่าข้าวทิพย์ ประชาชนเชื่อกันว่าหากใครได้รับประธานจะมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี จึงนิยมแบ่งกันรับประทาน หากเด็กๆ ได้รับประธาน ก็จะทำให้ผิวพรรณน่ารัก มีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง นิยมทำเป็นประเพณีตราบเท่าทุกวันนี้


 :96: :96: :96:

หมายเหตุ : ไม่ยืนยันความถูกต้อง ห้ามนำไปอ้างอิง ผู้รู้ช่วยตรวจสอบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง





ขอบคุณที่มา : https://www2.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=2172&filename=index
38  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:27:35 am
.



ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา

รู้ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่นางสุชาดาถวายพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ แม้จะมีเรื่องแก้บนมาเกี่ยว แต่ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

อาหารหนึ่งชนิดที่เกี่ยวพันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกลายเป็นประเพณีที่ผู้คนมักทำถวายในเทศกาลสำคัญ ที่เราอยากพามารู้จักในวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 คือ “ข้าวมธุปายาส” แต่ทำไมถึงต้อง “ข้าวมธุปายาส” วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้รู้กัน

@@@@@@@

ประวัติข้าวมธุปายาส

“ข้าวมธุปายาส” นั้นมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเดือนเพ็ญวิสาขะหรือวันเพ็ญเดือนหก

พระองค์ได้รับข้าวหุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดา ภรรยาของคฤหบดีเมืองมคธนำมาถวายเพื่อการบูชาเทพยดา ณ ต้นโพธิพฤกษ์

โดยมีความเป็นมาเกิดขึ้นเมื่อครั้นวันหนึ่ง ภรรยาของคฤหบดีในเมืองราชคฤห์ ปรารถนาอยากได้บุตรชายไว้สืบสกุลสักคน เพราะแต่งงานหลายปีแล้วยังไม่มีบุตร เมื่อนางและภรรยาพากันไปอาบน้ำในแม่น้ำเนรัญชราได้เดินผ่านต้นศรีมหาโพธิพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขากว้างร่มใบหนา ใต้ร่มมีทรายขาวสะอาด ประดุจเงินดูแล้วน่านั่งนอนใต้ต้นไม้มาก

นางจึงมีความคิดว่าต้นไม้นี้น่าจะมีเทพารักษ์สิงสถิตอยู่แน่นอน เมื่อคิดดังนั้นนางจึงเข้าไปกราบที่โคนต้นไม้ แล้วพูดว่า “ข้าแด่เทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธิฤทธิ์ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไม้นี้ ดิฉันขอความกรุณาจากท่านช่วยดลบันดาลให้มีบุตรสักคนเถิด เพื่อจะให้เขาสืบสกุลต่อไป ข้าแต่เทวะหากท่านให้ดิฉันสมปรารถนาแล้ว ดิฉันจะนำเอาข้าวมธุปายาสมาแก้บนสังเวยท่านเป็นสัจกิริยา”

เมื่อนางอธิษฐานเสร็จ กลับไปอยู่กับสามีไม่นานก็ตั้งครรภ์  เมื่อครบกำหนดนางก็คลอดลูกเป็นผู้ชายมีลักษณะงดงามสมส่วนตามลักษณะผู้มีบุญ เมื่อคลอดลูกโดยสวัสดิภาพและมีความสมบูรณ์อย่างนี้ นางสุชาดารำลึกถึงคำอธิษฐานที่นางได้ขอกับเทพยดา จึงทำการหุงข้าวมธุปายาส ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ถั่ว งา น้ำตาล น้ำผึ้ง มะพร้าว เป็นต้น ทำอย่างประณีตแล้วใส่ถาดทองประดับด้วยดอกไม้อย่างสวยงามเดินทางออกจากบ้านพร้อมด้วยทาสีมุ่งสู่ต้นโพธิพฤกษ์

ขณะนั้นพระพุทธเจ้ามีดำริว่าจะบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู้ ณ ต้นโพธิพฤกษ์และประทับนั่งโคนต้นไม้หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก นางสุชาดาและนางทาสีมาถึงได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นรุกขเทพเจ้าจำแลงเพศ เกิดความเลื่อมใสจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวายแก้สัจกิริยาท่านได้บนบานไว้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสขอบคุณต่อนาง และบอกแก่นางว่าพระองค์ท่านมิได้เป็นเทพยดา แต่เป็นมนุษย์คือเป็นกษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม นางสุชาดาทราบเรื่องแล้ว ก็กราบถวายบังคมลากลับบ้านเรือนของตน

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำเอาข้าวจากถาดมาทรงทำเป็นก้อนๆ นับจำนวนได้ 49 ก้อน ให้เป็นเครื่องรำลึกถึงวันที่ทรงบำเพ็ญทุกกิริยา เสวยข้าวมธุปายาส 49 ก้อนนั้นหมดแล้ว ทรงนำถาดไปทรงอธิฐานในแม่น้ำเนรัญชรา และทรงอธิฐานว่าถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป

เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยรำลึกถึงพระพุทธองค์และเหตุการณ์สำคัญนี้ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำข้าวมธุปายาสในวันวิสาขบูชา เกิดเป็น “ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันคุ้นหูว่า “ประเพณีกวนข้าวทิพย์” โดยเชื่อกันว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำความสุขสวัสดีและบุญกุศลแก่ตน



ข้าวมธุปายาส


“ข้าวมธุปายาส” ความหมายเดียวเรียกได้หลายชื่อ

ข้าวมธุปายาสมีชื่อหลายชื่อที่นิยมเรียกกัน แตกต่างกันในท้องถิ่นและประเทศต่างๆ ส่วนมากปรากฏชื่อคือ

    • ข้าวมธุปายาส - ข้าวหุง หรือกวนด้วยน้ำผึ้ง
    • ข้าวยาคู - ข้าวต้มที่ใส่เกลือและน้ำตาล ทำเป็นชนิดเค็มและชนิดหวาน
    • ข้าววิตู - ข้าวกวนด้วยน้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา ทำเป็นผงและก้อน
    • ข้าวกระยาสารท - ข้าวกวนด้วย น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา แปะแซ ทำเป็นก้อน เป็นแผ่น นิยมมีในงานเทศกาลอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนในประเพณีเดือน 10 ของภาคกลาง
    • ข้าวกระยาทิพย์/ข้าวทิพย์ - ข้าวที่กวนด้วยพิธีกรรม ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา น้ำนม ทำให้เป็นก้อนโดยให้หญิงพรหมจารีกวน ถือว่าเป็นข้าวศักดิสิทธิ์ ใครได้รับประทานย่อมจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความสุขสวัสดีตลอดไป
    • ข้าวซอมต่อหลวง - ข้าวมธุปายาสของชาวไทยใหญ่ นิยมกวนข้าวนี้เมื่อเดือนยี่เหนือถวายพระพุทธในตอนเช้ามืด เรียกว่า “ต่างซอมต่อหลวง”
    • ข้าวพระเจ้าหลวง - การเรียกชื่อข้าวมธุปายาสของชาวภาคเหนือ นิยมถวายในคราวเทศกาลใหญ่ๆ เช่น เดือนยี่เป็ง เดือนสี่เป็ง เดือนแปดเป็ง เป็นต้น โดยมากจะกวนข้าวในรั้วราชวัตรและให้หญิงพรหมจารี หรือผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีลห้า ถึงศีลแปดเป็นผู้กวนในพิธีนั้น ถวายพระพุทธตอนเช้า เรียกว่าใส่บาตรข้าวพระเจ้าหลวง

@@@@@@@

ความสำคัญของการถวายข้าวมธุปายาส

การถวายข้าวมธุปายาส มีความสำคัญดังนี้

    • เป็นการปฏิบัติตามพุทธประเพณี
    • เป็นการบูชาพระเจ้าในวันเพ็ญเดือนยี่ เดือนสี่และวิสาขบูชา
    • เป็นการรำลึกถึงวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • เป็นการสร้างสามัคคีในกลุ่มชน เนื่องจากมีการประกอบพิธีกรรมด้วย
    • เป็นการเรียนรู้ในการทำขนมหรือข้าวมธุปายาส
    • เป็นการถวายผลิตผลที่คนในท้องถิ่นช่วยกันสร้างขึ้นมา
    • เป็นการอนุรักษ์ประเพณีและศิลปะที่บรรพบุรุษสร้างไว้ยืนยงอยู่ตลอดไป



รูปภาพพระ เนื่องในวันวิสาขบูชา


ข้าวมธุปายาสถวายเป็นพุทธบูชาได้เมื่อไร

ในประเทศไทยนอกเหนือจากวันวิสาขบูชาข้าวมธุปายาสยังนิยมถวายในงานเทศกาลสำคัญๆ หลายคราวด้วยกัน คือ
          1. ประพฤติยี่เป็ง
          2. ประเพณีเดือนสี่
          3. ประเพณีปอยหลวง

ทำไมต้องมีประเพณีข้าวมธุปายาส

ในงานประเพณีสำคัญๆ ชาวบ้านหลายชุมชนจะนิยมกวนข้าวมธุปายาสเพื่อสร้างเสริมศรัทธาแก่ประชาชนผู้มาร่วมงาน และทางวัดจะนิยมแจกจ่ายข้าวมธุปายาสแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงกัน เพื่อสร้างความสุขสวัสดีและความสามัคคีให้เกิดในกลุ่มชนด้วย

ข้าวมธุปายาสจึงถือเป็นเครื่องระลึกถึงการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของวันวิสาขบูชา ด้วยเหตุนี้ในช่วงใกล้เทศกาลดังกล่าวจึงอยากชวนให้ทุกคนระลึกถึงไปพร้อมกัน






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง และ มหาลัยราชภัฏเทพสตรี
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223760
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,10:24น.
39  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่งคืน “โกลเด้นบอย” สมบัติชาติ ถึงไทย 20 พ.ค. 67 หลังถูกลักลอบขายต่างประเทศ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:08:11 am
.



ส่งคืน “โกลเด้นบอย” สมบัติชาติ ถึงไทย 20 พ.ค. 67 หลังถูกลักลอบขายต่างประเทศ

“โกลเด้นบอย” (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ อายุราว 900-1,000 ปี ในพิพิธภัณฑ์ฯ สหรัฐอเมริกา ส่งคืนถึงไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังทีมงานคนไทยใช้เวลาทวงคืนมายาวนาน พร้อมจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานพระนคร “กรมศิลปากร” เตรียมระดมผู้เชี่ยวชาญศึกษาเพิ่ม เพราะเป็นความรู้ใหม่ประวัติศาสตร์ไทย



นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น ที่จัดแสดงอยู่ใน The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา จะส่งคืนให้ไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. 67 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และจะมีกระบวนการผ่านการตรวจสอบของกรมศุลกากร จากนั้นจะนำมาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ



จากนั้นจะมีการแถลงข่าวในวันอังคารที่ 21 พ.ค. 67 ถึงความสำเร็จในการนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญกลับคืนมาจากต่างประเทศได้ และมีการให้ความรู้กับประชาชน หลังจากนั้น “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น จะเปิดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

โบราณวัตถุทั้ง 2 ชิ้น เมื่อสหรัฐฯ ส่งคืนมายังไทยแล้ว ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะ “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) จะเป็นความรู้ใหม่ทางวิชาการของไทย จึงต้องศึกษาทั้งส่วนผสม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหล่อและขึ้นรูปแบบโบราณ




ทั้งนี้ จากข้อมูลเดิมระบุว่า (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ มีอายุราว 900-1,000 ปี พิพิธภัณฑ์ฯ ในสหรัฐอเมริกา ที่ส่งคืนไทย ถือเป็นจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์สำคัญของ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” เชื่อมโยงกับพื้นที่ราบสูงโคราช แต่การทวงคืนครั้งนี้เกือบจะหลุดมือ โชคดีที่นักโบราณคดีไทยไปเจอชุมชนที่ขุดค้นพบ ชี้รอยตำหนิสำคัญ ทำให้อเมริกายอมส่งคืนไทย ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญในการทวงคืนชิ้นอื่นๆ ที่ถูกขโมยไป

สอดคล้องกับข้อมูลที่ไทยรัฐออนไลน์ เคยสัมภาษณ์ ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี หนึ่งในทีมติดตามทวงคืนวัตถุโบราณ กล่าวว่า โบราณวัตถุ 2 ชิ้น ที่ The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งคืนให้ไทย เกือบไม่ได้คืน เนื่องจากหาหลักฐานไปยืนยันไม่ได้ในช่วงแรก ขณะที่กัมพูชามีคณะทำงานทวงคืนที่ติดตามอยู่ตลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้นำเสนอกับกรมศิลปากร และได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ไปหาข้อมูลนำไปยืนยันกับสหรัฐอเมริกา




ประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่รู้จักในชื่อ Golden Boy มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปี มีความสูง 129 ซม. เป็นวัตถุโบราณชิ้นสำคัญที่กัมพูชาพยายามนำหลักฐานมายืนยันกับสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นวัตถุโบราณที่มีความงดงาม แต่ไทยก็หาหลักฐานไปยืนยันจนพบว่าเคยมีการขุดค้นพบ Golden Boy อยู่ในปราสาทโบราณ กลางชุมชนบ้านยางโป่งสะเดา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เมื่อเห็นรูปภาพ ก็ระบุชัดเจนว่ามีครอบครัวหนึ่งในชุมชนเป็นผู้ขุดค้นพบเมื่อปี 2518




จากนั้นได้ขายประติมากรรมสัมฤทธิ์ Golden Boy ให้กับพ่อค้าวัตถุโบราณชาวต่างชาติ ราคา 1 ล้านบาท หลังขายได้ช่วงปี 2518 ทั้งหมู่บ้านจัดงานฉลองใหญ่ 3 วัน 3 คืน สิ่งนี้ทำให้มีพยานบุคคลในหมู่บ้านที่เกิดทันยุคนั้น ระบุได้ถึงการขายโบราณวัตถุดังกล่าว ดังนั้นเรื่องเล่านี้ทำให้คนในหมู่บ้านจำได้แม่น

                                           




Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2786363
17 พ.ค. 2567 , 12:09 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > THE ISSUE > ไทยรัฐออนไลน์
บทความโดย : ไทยรัฐออนไลน์ / ทีมข่าวเจาะประเด็น
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อุตรดิตถ์จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" ครั้งที่ 69 ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 05:58:36 am
.



อุตรดิตถ์จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" ครั้งที่ 69 ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

จ.อุตรดิตถ์ จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" หนึ่งเดียวในโลกแห่งแรกในไทย ครั้งที่ 69 เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัด ที่จัดช่วงสัปดาห์วิสาขบูชา รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ค. 67

เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่  16 พฤษภาคม 2567 ที่บริเวณวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รอง ผวจ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วย นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และนายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รอง นายก อบจ.อุตรดิตถ์ ร่วมแถลงข่าว การจัดงานประเพณี “อัฏฐมีบูชา”

ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกและแห่งแรกในประเทศไทย ต่อเนื่องมาปีนี้เป็นครั้งที่ 69 ที่พร้อมยกระดับให้มีความยิ่งใหญ่ ประจำปี 2567 เริ่มงานวันที่ 22-30 พฤษภาคมนี้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทอผ้าห่มองค์พระบรมธาตุ สักการะหลวงพ่อพระประธานเฒ่า โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ร่วมงานดังกล่าว

นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า สำหรับงานประเพณีอัฏฐมีบูชา เป็นงานประเพณีสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสัปดาห์วิสาขบูชาและอัฏฐมีบูชา ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และสืบสานประเพณีอัฏฐมีบูชาให้คงอยู่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา




นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย ได้มีการจัดงานอัฏฐมีบูชา การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจำลอง ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อแน่นเป็นเจ้าอาวาส

หลังจากหลวงพ่อแน่นมรณภาพ มิได้มีการจัดงานนี้อีกเลย จวบจนราวปีพุทธศักราช 2502 พระครูสถิตพุทธคุณ เจ้าคณะตำบลทุ่งยั้งในสมัยนั้น ได้เห็นความสำคัญของวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวเมืองทุ่งยั้งได้ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ จึงได้ชักชวนคณะศรัทธา อุบาสก อุบาสิกา ริเริ่มฟื้นฟูประเพณีอัฏฐมีบูชา ของชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวต่อว่า ชาวบ้านทุ่งยั้งที่มีความรู้ในการจักสานพระพุทธเจ้าจำลอง จะร่วมกันสานองค์พระฯ ด้วยไม้ไผ่ ประทับในท่าสีหไสยาสน์ ขนาด 9 ศอก นุ่งห่มด้วยจีวร พร้อมบรรจุในโลงแก้ว และจัดสร้างเมรุมาศจำลอง โดยการใช้ไม้ไผ่ 6 ต้น นำมาเป็นโครงสร้าง ประดับตกแต่งด้วยกระดาษฉลุลายสวยงาม




จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอเชิญนักท่องเที่ยว มาร่วมเที่ยวงานประเพณีอัฏฐมีบูชา ครั้งที่ 69 ซึ่งในปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี ภายในงาน เชิญร่วมทอผ้าห่มพระบรมธาตุ เชิญร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุ ด้วยน้ำสรงพระราชทาน การเวียนเทียนวิสาขปุรณมี ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม และชม ชิม ช็อป เลือกซื้อสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ในตลาดวิถีชมชุนคนทุ่งยั้ง พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตอาหารและมรดกภูมิปัญญา การร้อยพวงดอกไม้ การร่วมบุญร่วมกุศลในพิธีห่มผ้าพระบรมธาตุ การถวายสลากภัต

ไฮไลต์สำคัญในพิธีเปิดงานในวันที่ 22 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา ชมการรำถวายพระบรมธาตุ 999 คน และเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุร่วมกัน พร้อมกับชมแสงสีเสียงมินิ “ตำนานเมืองทุ่งยั้งและเวียงเจ้าเงาะ” และในวันสุดท้ายของงานวันอัฐมีบูชา 30 พฤษภาคม เชิญชมขบวนแห่ทางศิลปวัฒนธรรม ขบวนเครื่องสักการะและขบวนเทิดพระเกียรติ จาก 9 อำเภอ ร่วมสรงน้ำและห่มผ้าพระบรมธาตุ

พร้อมกันนี้ ชมการแสดง แสง สี เสียง “พิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง” รวมถึงเลือกซื้อเลือกหาทุเรียนหลงหลินลับแลมาทานได้ตลอดช่วงงาน ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปร่วมงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวในโลก งานประเพณีอัฐมีบูชาจังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 69 อย่าลืมพร้อมใจกันแต่งชุดขาว ไปร่วมงานประเพณีอัฐมีบูชา ในวันที่ 22-30 พฤษภาคม 2567 ที่วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์.







Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2786396
17 พ.ค. 2567 ,14:30 น. | ข่าว > ทั่วไทย > เศรษฐกิจท้องถิ่น > ไทยรัฐออนไลน์
หน้า: [1] 2 3 ... 711