สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 15, 2014, 12:12:42 pm



หัวข้อ: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 15, 2014, 12:12:42 pm
ภวังค์ หมายถึง ตามความหมายง่าย ๆ

  ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว หรือ ภาวะหลับลึก ( เหมือนคนไข้ ที่ถูกยานอนหลับ )

  ภวังค์ ในขั้นตอนของจิต ที่ฝึก สมาธิ มีไม่กี่อย่าง แต่ ลำดับของ ภวังค์ ถูกแบ่ง ไว้ 10 ประการ โดยจะให้ความหมายแก่ท่านผู้อ่าน ที่ง่าย ที่สุด ดังนี้

   1.อตีตะภวังคะ  หมายถึง จิตสู่ภาวะหลับ ที่เป็นไปในอดีต
       ( อตีตะ + ภวังคะ )
   2.ภวังคะจลนะ  หมายถึง ิจิตที่พยายามเคลื่อนออกจาก ภวังค์
       ( ภวังคะ + จลนะ )
   3.ภวังคุปัจเฉท  หมายถึง จิตที่ไม่สามารถรับรู้อะไรเลยในภวังค์นั้น
       ( ภวังคะ + อุปัจเฉท )
   4.ปัญจะทวาราวัชชนะ หมายถึง จิตที่นึก และ รู้ ด้วย มโนธาตุ ( มโนทวาราวัชชนะจิต )
       ( ปัญจะ + ทวารา + วัชชนะ )
       
          จิตที่ทำกิจ นึก และ รู้ ใน ทวารทั้ง 5 เป็นกิจในจิต ( อาวัชชนะจิต )
          กิจเห็น                         (ทัสสนกิจ)
          กิจได้ยิน                       (สวนกิจ)
          กิจได้กลิ่น                     (ฆายนกิจ)
          กิจลิ้มรส                       (สายนกิจ)
          กิจรู้โผฏฐัพพารมณ์            (ผุสสนกิจ)
   5.สันตีรณะ หมายถึง จิตต่อเนื่องในปัญจะทวารา ด้วยการพิจารณา ในการรู้
        ( สันตติ + จรณะ )
   6.สัมปฏิจจฉันนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน การน้อมรับอารมณ์ที่พิจารณาไว้แล้ว
        ( สัมมปฏิจจะ+ ฉันนะ )
   7.โวฏฐัพพนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน ที่ถือเอาอารมณ์ ที่พิจารณาไว้แล้ว
         ( วิถี + ฐานะ ( วุฏฐานะ ) + ขณะ )
   8.กามาพจรชวนะ หมายถึง จิตแล่นไปกามาวจร จิต 7 ขณะจิต
         ( กามาวจร + ชวนะ )
   9.ตทาลัมพนะ หมายถึง จิตรับเอาอารมณ์ได้สำเร็จ ( วิบากอารมณ์ คือ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ยินดี ไม่ยินดี เฉย ๆ กลาง )
      ( ตัง + อารัมมณะ )
   10.ภวังคะปาทะ  หมายถึง จิตย้อนกลับไปสู่ ภวังค์เก่าอีก
       ( ภวังคะ + ปท )


    อันนี้นำไว้แบบ พระอภิธรรม เพราะการอธิบาย ภวังคะจิต นั้นมีอธิบาย เฉพาะในแบบ พระอภิธรรม แต่สำหรับสายปฏิบัติ แล้ว ไม่ต้องไปกำหนด เพราะไม่สามารถกำหนดทัน ในภวังค์ แบบนี้ เพราะมันเกิดดับ เป็นล้าน ๆ ครั้ง ซึ่งไม่ใช่แนวปฏิบัติ ดังนั้นอันนี้แค่ปูพื้นฐาน ให้เข้าใจเรื่อง ภวังค์ แบบ สายอภิธรรม ก็เป็นอย่างนั้น

(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xap1/v/t1.0-9/10415651_744695768945213_3001801356501748613_n.jpg?efg=eyJvbGF0Ijo0MH0%3D&oh=32b3cbc57cc5c967129af86abe5bf0e4&oe=55046322)

     เอากับมาที่ ภวังค์ แบบ สายปฏิบัติ กันดีกว่า

     ยามใด ที่ผู้ปฏิบัติ ภาวนาเข้าไปสู่ภาวะ แห่งภาวะ กำลังจะเป็นสมาธิ สภาวะจิต นั้นจะเข้าไประงับหยุดทุกครั้ง เพราะสภาวะแห่งสมาธินั้น เป็นสภาวะบังคับ ให้จิตมีการงานน้อยลง เมื่อจิตมีการงานน้อยลง หรือ มีงานเพียงแค่หนึ่งเดียว ในบริกรรม ( วิตก คำภาวนา ) และ การติตามตามอารมณ์ ( วิจาร ความพยายามให้จิตน้อปไปในวิตก ) ในสภาวะทีจิต มีสติ คือ ระลึกได้ในการภาวนา แต่ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวกำลังจะเต็ม สภาวะ ภวังค์จิต ก็จะดีดตัวเข้าสู่การหยุดการทำงาน เรียกว่า สภาวะ ชัตดาวน์ ( อาตมาเรียกว่า สภาวะ สกรีนเซพเวอร์ ) เพื่อที่จะพักจิต ในการพักจิตแบบนี้ จะคล้ายกับการนอนหลับ การเข้าสู่ภวังค์ มีอยู่ สองแบบ

     คือ 1. แบบที่จิตทำงานหนัก คือ มีการรับรู้อารมณ์ ปรุงแต่ง มากมาย ร่างกายก็จะเข้าสภาวะหลับ โดยธรรมชาติแห่งจิต เรียกว่า สภาวะฟื้นฟูจิต หรือ สมอง หรือ กาย อันนี้สภาวะการหลับ

         2. แบบที่จิตทำงานน้อย คือ การภาวนากรรมฐาน ทำให้จิต มีการทำงานเพียงเรื่องเดียว เมื่อการงานขาดในขณะนั้น คือ บริกรรมมันขาด จิต ก็ วูบ เข้าสู่สภาวะหลับ ในสมาธิ เรียกว่า การวูบกึ่งหลับ


       ดังนั้น แบบที่ 1 ไม่มีกลไก ในการแก้ ด้วยกรรมฐาน เพราะว่า เป็นกลไก ของ กาย และ จิต ที่ต้องสัมพันธ์ก่อน อันนั้น ต้องการการพักผ่อน คือ การนอนหลับ

       ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบที่เราจะต้อบรับมือ

 
       วิธีรับมือ ในการนี้ ก็คือ ต้องมอบงานให้แก่จิต อย่าให้ขาด ในงานเรื่องเดียว แต่ต้องมีลำดับของงาน อย่าให้ขาด นั้นก็คือ ลำดับพระกรรมฐาน ดังนั้นคนที่ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กับอาตมา ไม่มีใครตกภวังค์ เลย แต่ ทั้ง 30 นาที 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง จิต เป็นสมาธิ ด้วย ฉันทะ สมาธิ เป็นการแก้ ปรากฏการณ์ ภวังค์ ในตัว

      สรุป ลำดับพระกรรมฐาน จะสามารถแก้เรื่องการตกภวังค์

     


หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 15, 2014, 12:42:34 pm
การรู้เห็น ในสมาธิ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การรู้วิธีรับมือนั้นเป็น...
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=16291 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=16291)


(http://www.madchima.net/images2558/pc158.jpg)


หัวข้อ: ตอนที่ฉันเริ่มฝึก สมาธิ สะเปะ สะปะ มันตกภวังค์ บ่อยมาก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 15, 2014, 06:07:40 pm
"ตอนที่ฉันเริ่มฝึกสมาธิ ตอนที่ยังไม่มีครูนั้น และไม่รู้วิธีการเดินจิต ไม่รู้ลำดับพระกรรมฐาน วันหนึ่ง ๆ ฉันตกภวังค์ หลายครั้ง หลายหน บางครั้งก็รู้ตัว และออกมาได้ บางครั้งก็ไม่รู้ตัว จนมันออกของมันเองการตกภวังค์ ดูเหมือนจะดี เพราะเหมือนได้พักผ่อน แต่เอาเข้าจริง มันเป็นบ่อยมากในการสร้างสมาธิ มันจึงเป็นอุปสรรค กับการทำสมาธิ การหลับ กับการตกภวังค์ ถึงจะคล้ายกัน และก็ไม่เหมือนกัน ซะทีเดียว เวลาฉันหลับ เพราะนิวรณ์ ถีนมิทธะ ครอบงำนั้น ฉันไม่มีสติรู้อะไร เลยรอบด้านมันแต่ ความงุ่นง่วงเท่านั้น แต่ เวลาทีฉันตกภวังค์นั้น มันเหมือนกำลังบริกรรมอยู่ หูได้ยินเสียงรอบข้าง และเหมือนมีความรู้สึกตัวอยู่ เหมือนคนกำลังวิ่งและพลัดตก บ่อยครั้ง อาการจะวูบไป วูบมาในขณะเดียวกัน มันเห็นแสงสว่าง ลาง ๆ เลือน เหมือนจะชัดและไม่ชัด ทั้งหมดนี้ก็เป็น ภวังคะจิต ที่เป็น ภวังคจลนะ คือ จิตรู้และพยายามเคลื่อนออกจากภวังค์ สิ่งที่จะเติมเต็มได้ในขณะนั้น มีวิธีการเดียว คือการเติมสัมปชัญญะ ถ้าพูดอธิบายมันเยิ่นเย้อ มันมีอะไรมาก เมื่อจิตหลุดจากภวังค์ เพื่อไม่ให้จิต ตก ภวังคะปาทะ คือ ภวังค์เดิมอีกครั้ง ให้ผู้ภาวนาอัดปราณ คือ สูดลมหายใจเข้าไปลึก ๆ และ ค่อย ๆ ผ่อน ปราณออก จากนั้นตั้งจิต กลับไปยังฐาน จิต และ บริกรรมใหม่ ถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ ครั้งเข้า จิตจะมีกำลัังต้านภวังคะ เอง แต่อย่างไร ก็ขาดลำดับกรรมฐาน ไม่ได้ เพราะ ภวังคะจิต จะเกิดตอนที่งานของจิตไม่มี นั่นเอง ดังนั้นลำดับพระกรรมฐาน คือ วิตก วิจาร ไม่ควรขาด ต้องศึกษาอุบายวิธี ของครูอาจารย์ ว่ากันตามลำดับขั้นตอน ....."

ข้อความบางส่วนจาก  หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิภขุ

 

(http://www.watpitchvipassana.com/images/books/paripoonnadhamma/0041.png)


หัวข้อ: เมื่อจิต ไม่ตก ภวังค์ จิตก็ก้าวเข้าสู่ สมาธิ ปัจจเวกขณญาณ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 15, 2014, 06:26:39 pm
(http://images.palungjit.org/attachments/13924-%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-28-jpg)

การเข้าไปประจักษ์ ในบริกรรม พุทธานุสสติกรรมฐาน ก็คือ เข้าถึงความเป็น อนุพุทธะ เพื่อรับ สัญญลักษณ์ แห่งพระสาวก การเข้ารับ สัญญลักษณ์ แห่งพระสาวก มีตั้งแต่ พระโสดาบัน ภาษาธรรม เรียกว่า
ธรรมจักษุ ปรากฏ หรือ ดวงตาเห็นธรรมปรากฏ
 ดวงตาเห็นธรรม ในที่นี้ ก็คือ การเข้าประจักษ์ในเนื้อหา แห่ง พระสาวกเบื้องต้น นั่นก็คือ พระโสดาปัตติผล
 

(http://images.thaiza.com/106/106_20130523113212..jpg)

รัศมี เป็น รูปปรมัตถ์ คำว่า รูป ปรมัตถ์ หมายความ รูปที่จริงที่สุด
รูป ประกอบ ด้วย ธาตุ + รัศมี + ลักษณะ + แสงสว่าง
รูป ในสภาวะ สมาธิ ไม่ได้หมายถึง มหาภูตรูปทั้ง สี่ แต่ หมายถึง ธาตุ ทั้ง 6 

(http://sqmagezine.files.wordpress.com/2014/04/serial-pic-astral.jpg)(http://2.bp.blogspot.com/-WMIbrICnIQc/UY35ABuolzI/AAAAAAAAAGo/ptGX-JdFd0E/s1600/auras-deborah-king.jpg)

เวลาที่ใช้ทิพยจักษุ รัศมีทั่วกาย ปรากฏดั่งภาพ เมื่อเห็นรัศมี ก็จะรู้สภาวะ ของผู้นั้น ว่าอยู่สภาวะอารมณ์อะไร ?


"เมื่อภาวนา แก้อารมณ์ ก็ทำให้จิตกลับมาตั้งมั่นในบริกรรม ปัคคาหะ และ อุเบกขา ใหม่ วิตก วิจาร ก็ทำงานอีกรอบ เมื่อวิตก วิจาร ทำงาน ลักษณะแห่งปีิติก็เกิด เพราะไม่พลัดเข้าไปในภวังค์ ลักษณะของปีิติ เกิดก็แตกต่างตามฐานจิต เมื่อปีติเกิด สิ่งที่ควรทำก็คือ การไม่ละจาก วิตก วิจาร ไม่ควรละ เพราะจิตเป็น อัปปนาสมาธิ ยังแล่นอยู่ในระหว่าง ขณิกะสมาธิ และ อุปจาระสมาธิ ดังนั้นเมื่อปีติลงในกายมาก กายก็สั่นไหว น้ำตาแตก ขนลุก ขนพอง ร้อนวูบ เหมือนมีตัวมดแมลงไต่ตามตัว เหมือนมีสายฟ้าแลบไปมาในคลองจักษุ กายสั่นระรัว ด้วยอำนาจปีติ ขนพองสยองเกล้า จนกว่า จะไล่ปิีติ ไปถึง หทัยวัตถุได้ ปีติถึงจะสงบลง เพราะในหทัยวัตถุ ลักษณะปีติ ให้ผลเป็น ความเย็นแผ่ซ่าน จากศรีษะ ลงปลายเท้า จากปลายเท้า ขึ้นสู่ศรีษะ เมื่อลักษณะปีติลงที่ หทัยวัตถุ แล้ว ก็บริกรรม พุทโธ ให้แนบแน่นในฐาน ปีติก็จะเบาลง เมื่อปีติเบาลง ให้อธิษฐานต่อเลย ว่าขอรัศมีจงปรากฏ ณ หทัยวัตถุ อันว่า รัศมี นั้น เกิดได้ทุกฐาน ในฐานจิต แต่ ฐาน หทัยวัตถุ เป็นที่รวม อัปปนาจิต โดยตรงครูอาจารย์ นิยมให้ลงรวมรัศมี ที่ฐานจิต หทัยวัตถุ สุขสัญญา ลหุสัญญา เกิดที่หทัยวัตถุ ดังนั้นเมื่ออธิษฐาน พระรัศมีให้ปรากฏที่ฐานจิต หทัยวัตถุ แล้ว หน้าที่ของผู้ภาวนา ต้อง รักษา วิตก วิจาร ไว้จนกว่า นิมิต จะปรากฏ การปรากฏ ของนิมิต นั้น เกิดตามลำดับ คือ โอภาสเกิด รูปบััญญัติเกิด ธาตุเกิด อุปาทายรูปเกิด มโนธาตุเกิด มนายตนะธาตุเกิด รัศมีเกิด อุคคหนิมิตเกิด ทั้งหมดนี้ เกิดตามลำดับ ไม่มีการลัดขั้นตอน แต่ การเกิดแต่ละท่าน แต่ละคนจะไว ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยัน ใน นิมิตที่ได้ ว่า เป็นของแท้(หมายถึงจิตเข้าถึงสัญญลักษณ์ภายใน) หรือ ของเทียม(หมายถึงอุปาทานสร้างเอง) ครูอาจารย์จึงสอบ รัศมี เพราะรัศมี เป็นรูปปรมัตถ์ ดังนั้นจึงต้องตอบว่า ที่หทัยวัตถุปรากฏ รัศมีอะไร กับครูอาจารย์ อันนี้สำหรับครูอาจารย์ ที่ไม่มีเจโตปริยาญาณ หรือ ทิพพจักษุ เข้าไปตรวจก็ต้องฟัง ลูกศิษย์ตอบ แต่ถ้าครูอาจารย์ มี ญาณประการใด ประการหนึ่ง ก็ไมจำเป็นต้องตอบ เพราะท่านจะดูจาก รัศมี จิต ซึ่ง รัศมีจิต จะสะท้อนรูปลักษณ์ออกมาทาง กายภาพ สามารถเห็นได้ ด้วยทิพยจักษุ..... "

่่ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิกขุ





หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 15, 2014, 09:15:20 pm
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ ธันวาคม 15, 2014, 10:34:20 pm
 st11 st12 st12 thk56


  ช่วงนี้มีความรู้สึกว่า เว็บ มัชฌิมา กลับมาแล้ว เพราะพระอาจารย์ เริ่มกลับมาโพสต์ สาระธรรม กรรมฐาน แล้ว ทำให้น่าติดตามมากขึ้นคะ แต่เรื่องที่โพสต์ก็ค่อนข้าง จะสูง และ ลี้ลับเพิ่มขึ้นไปอีก

  ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้ว่า ตนเอง ปฏิบัติผิดพลาด ตรงไหน ตอนนี้ ยิ่งต้องรีบปรับปรุง ตัวเอง ให้ได้ตามลำดับขั้นตอน

   :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ ธันวาคม 15, 2014, 10:37:09 pm
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 26, 2014, 08:32:24 pm
เรื่องการแก้จิตตกภวังค์ของครูบาอาจารย์


หัวข้อ: Re: การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์
เริ่มหัวข้อโดย: suchin_tum ที่ ธันวาคม 28, 2014, 12:15:50 pm
เรื่องจิตตกภวังค์